Home > Suwatcharee Pormbunmee (Page 26)

เศรษฐกิจไทยอ่วม ส่งออกติดลบ อสังหาฯ ชะลอตัว

แม้ว่าการเลือกตั้งทั่วไปของไทยจะจบและสิ้นสุดไปราวเดือนเศษ ทว่าความชัดเจนที่หลายฝ่ายตั้งตารอคอย ว่าใครจะได้เป็นผู้จัดตั้งรัฐบาล ดูเหมือนคำตอบยังถูกหมอกควันปกคลุม และยังเป็นปริศนาอยู่ในขณะนี้ คำถามที่ยังไม่มีคำตอบมีผลต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติอยู่พอสมควร เพราะนักลงทุนส่วนใหญ่ต้องการให้เกิดความต่อเนื่อง และแนวนโยบายของภาครัฐที่มีต่อเศรษฐกิจ การลงทุน แม้ว่าสถานการณ์เศรษฐกิจไทยที่มีแนวโน้มชะลอตัวลง ส่วนหนึ่งจะมีปัจจัยมาจากการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยภายนอกประเทศที่มีผลโดยตรงต่อความเป็นไปทางเศรษฐกิจไทยด้วยเช่นกัน นั่นคือ สถานการณ์เศรษฐกิจโลก เมื่อไทยยังต้องพึ่งพิงทิศทางของเศรษฐกิจโลก ที่มีจีนและสหรัฐฯ ที่เป็นเสมือนผู้กำหนดทิศทางกระแสลมทางเศรษฐกิจ ทั้งจากมาตรการทางภาษีการค้าที่ทั้งสองประเทศยังหาข้อสรุปไม่ได้ แม้ว่าจะมีการผ่อนปรนมาตรการภาษีในบางช่วงหลังจากมีการประชุมเจรจาข้อตกลงกัน ทว่า การค้าโลกก็ดำเนินไปในทิศทางที่ชะลอตัวลง ซึ่งส่งผลให้ตัวเลขการส่งออกของประเทศคู่ค้าลดลงและถึงขั้นติดลบ โดยตัวเลขการส่งออกของไทยในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา มีมูลค่าอยู่ที่ 21,440.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงร้อยละ 4.9 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันกับปีที่ผ่านมา ทำให้ตัวเลขการส่งออกสินค้าไทยในไตรมาสแรกของปี 2562 ลดลงร้อยละ 1.6 ทั้งนี้ ก็เป็นไปตามการคาดการณ์ของศูนย์วิจัยกสิกรไทย ที่ได้คาดไว้ว่า ปัจจัยหลักที่ทำให้การส่งออกของไทยลดลง มาจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก เมื่อตลาดคู่ค้าสำคัญของไทยอย่างสหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป (28 ประเทศ) และจีน ล้วนหดตัว ยกเว้นการส่งออกไปยังตลาดญี่ปุ่นที่ยังมีการขยายตัวได้ดีร้อยละ 7.4 ในเดือนมีนาคม 2562 จากการส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าและไก่แปรรูปเป็นสำคัญ นอกจากนี้ ยอดขายคอมพิวเตอร์โลกที่ปรับตัวลดลงในช่วงไตรมาส 1/2562 มีส่วนสำคัญที่ทำให้การส่งออกเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบของไทยในเดือนมีนาคม 2562 ติดลบมากถึงร้อยละ

Read More

EEC เนื้อหอม ญี่ปุ่น-จีน แห่ลงทุน

ในห้วงยามที่ไทยกำลังเข้าสู่ช่วงเวลาแห่งการรอคอยรัฐบาลใหม่ที่มาจากการเลือกตั้ง ทั้งประชาชนที่คาดหวังว่ารัฐบาลชุดใหม่จะสามารถแก้ปัญหาเศรษฐกิจ ภาคเอกชนที่หวังให้การขับเคลื่อนในระบบเศรษฐกิจยังคงดำเนินต่อไปด้วยอัตราเร่งเดิมหรือดีกว่าปัจจุบัน และแน่นอนว่า ความคาดหวังกับรัฐบาลชุดใหม่ไม่ได้จำกัดวงอยู่แค่เฉพาะคนไทยเท่านั้น เมื่อนักลงทุนและหอการค้าต่างชาติ ส่งสัญญาณให้ภาครัฐของไทยรับรู้ว่า ต้องการเห็นความมั่นคง ความมีเสถียรภาพ และที่สุดคือนโยบายที่เอื้อประโยชน์ให้แก่นักลงทุนต่างชาติ ที่สร้างให้เกิดความต่อเนื่องในการลงทุน ปัจจุบันไทยถูกจับตามองจากนักลงทุนในฐานะที่เป็นประเทศน่าลงทุน โดยเฉพาะในภาคอุตสาหกรรม เมื่อรัฐบาลปัจจุบันพยายามเร่งเครื่องเดินหน้าปลุกปั้นพื้นที่ภาคตะวันออกของไทยให้เป็นหมุดหมายปลายทางสำหรับการลงทุนภาคอุตสาหกรรม ในโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือ EEC แม้ว่าขณะนี้โครงการ EEC จะยังอยู่ในระหว่างการพัฒนา ทว่าการโรดโชว์ของภาครัฐ ที่ออกไปนำเสนอพื้นที่ EEC ให้ต่างชาติได้รับทราบข้อมูลความคืบหน้าและความเป็นไปของโครงการ โดยคาดหวังว่าการพัฒนาภาคอุตสาหกรรมจะเป็นอีกหนึ่งแรงกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยให้ทะยานไปข้างหน้าหลังจากที่หยุดนิ่งอยู่กับที่และเหมือนจะถอยหลังอยู่ในที และดูเหมือนว่าความพยายามในการผลักดันและโปรโมตโครงการ EEC จะสัมฤทธิผล เมื่อกลินท์ สารสิน ประธานกรรมการหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ในปี 2561 ตัวเลขการลงทุนอันดับ 1 คือนักลงทุนจากญี่ปุ่น ด้วยมูลค่าการลงทุนสูงกว่า 100,000 ล้านบาท หรือร้อยละ 46 ของการลงทุนในพื้นที่ EEC ทั้งหมด นอกจากนี้ยังมีการยื่นขอส่งเสริมการลงทุนจำนวน 334 โครงการ หรือร้อยละ 32 ของโครงการลงทุนจากต่างชาติทั้งหมด ทั้งนี้ อุตสาหกรรมที่จะเข้ามาลงทุนในไทยได้แก่ การผลิตรถยนต์ไฟฟ้าแบบผสม หรือไฮบริด เครื่องปรับอากาศ

Read More

โซลาร์เซลล์ครัวเรือน แสงสะท้อนความตื่นตัวของภาครัฐ

ในที่สุดนโยบายพลังงานทดแทนของรัฐบาลชุดปัจจุบันมีความชัดเจนขึ้น เมื่อกระทรวงพลังงานจัดทำกรอบนโยบายโครงการโซลาร์ภาคประชาชนเสร็จสิ้นเมื่อปีที่ผ่านมา อีกทั้งยังออกข้อกำหนดกฎระเบียบเพื่อออกเป็นประกาศสำหรับการซื้อขายไฟฟ้า โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นภาคครัวเรือนทั่วประเทศ เมื่อวันที่ 20 มีนาคม ที่ผ่านมา คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) เปิดตัวโครงการ “โซลาร์ภาคประชาชน” นำร่อง 100 เมกะวัตต์แรกที่เจ้าของบ้านและอาคารที่อยู่อาศัยซึ่งเข้าร่วมโครงการ โดยการไฟฟ้าฝ่ายผลิตจะรับซื้อในส่วนที่เหลือใช้เข้าสู่ระบบในราคาไม่เกิน 1.68 บาทต่อหน่วย ซึ่งมีระยะเวลารับซื้อ 10 ปี พร้อมเปิดโอกาสให้ผู้สนใจลงทะเบียนและรับข้อเสนอในเดือนพฤษภาคม 2562 การเปิดตัวโครงการของกระทรวงพลังงานน่าจะทำให้ประชาชนจำนวนไม่น้อยที่ตระหนักและเห็นคุณค่าของพลังงานทางเลือกและดำเนินการติดตั้งแผงโซลาร์บนหลังคาบ้านของตัวเองยิ้มออก เมื่อโครงการดังกล่าวเป็นการแสดงให้เห็นถึงความตื่นตัวของภาครัฐต่อนโยบายพลังงานทดแทน ทั้งที่ก่อนหน้านี้ ท่าทีของกระทรวงพลังงานสร้างความไม่พอใจให้แก่นักลงทุนไม่น้อย เมื่อภาครัฐกลับลำให้ชะลอการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนในช่วงเวลา 5 ปี (พ.ศ. 2562-2565) โดยมีเหตุผลว่า กำลังการผลิตไฟฟ้าเพียงพอต่อความต้องการแล้ว ซึ่งดูจะสวนทางกับความพยายามที่จะก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานถ่านหิน ความไม่พอใจของนักลงทุนที่เกิดขึ้นน่าจะมาจากก่อนหน้านี้มีการออกนโยบายของภาครัฐเกี่ยวกับพลังงานทดแทน ที่ภาครัฐเคยประกาศใช้แผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก พ.ศ. 2558-2579 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ประเทศไทยสามารถพัฒนาพลังงานทดแทนให้เป็นพลังงานหลักของประเทศทดแทนการนำเข้าน้ำมันได้ในอนาคต เสริมสร้างความมั่นคงด้านพลังงานของประเทศ สนับสนุนอุตสาหกรรมการผลิตเทคโนโลยีพลังงานทดแทนในประเทศ และเพื่อวิจัยพัฒนาส่งเสริมเทคโนโลยีพลังงานทดแทนสัญชาติไทยให้สามารถแข่งขันในตลาดสากล นั่นทำให้นักลงทุนจำนวนไม่น้อยเริ่มหันมาลงทุนกับโครงการพลังงานทางเลือก ทั้งพลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม พลังงานน้ำ แต่ทุกอย่างต้องหยุดชะงัก นักวิเคราะห์หลายคนให้ความเห็นต่อกรณีดังกล่าวและใช้คำว่า “ความแน่นอนคือความไม่แน่นอน” เพื่อปลอบใจตัวเอง ทั้งนี้ ศิริ จิระพงษ์พันธ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยรายละเอียดเกี่ยวกับโครงการโซลาร์ภาคประชาชนว่า

Read More

เอกชนหวังรัฐบาลใหม่ สร้างเสถียรภาพเศรษฐกิจไทย

หลังการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตยในรอบ 8 ปีของไทยผ่านพ้นไปไม่กี่วัน ดูเหมือนสถานการณ์การเมืองไทยที่มักจะถูกยึดโยงไว้กับความมั่นคงด้านอื่นๆ ทั้งเศรษฐกิจระดับมหภาค จุลภาค อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว การลงทุน ด้วยว่าเสถียรภาพทางการเมืองจะสร้างความมั่นใจจนไปถึงสามารถกระตุ้นสัญญาณชีพของเศรษฐกิจไทยได้ หลายฝ่ายเรียกร้องให้ไทยมีการเลือกตั้งในเร็ววัน ด้วยหวังว่ารัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งนั้นจะสามารถเปลี่ยนหน้าเศรษฐกิจได้ คงไม่ต่างอะไรกับนักพนันที่วาดฝันว่าไพ่ในมือของตนจะเปลี่ยนแต้มในยามเข้าตาจนให้สร้างความได้เปรียบมากขึ้น แม้บางส่วนจะเห็นต่างว่า รัฐบาลทหารมีข้อดีอยู่บ้าง นั่นคือความสงบภายใต้กฎหมายข้อบังคับที่ถูกประกาศใช้ ขณะเดียวกันภายใต้สถานการณ์ความสงบที่ฉาบไล้อยู่เบื้องหน้านั้น กลับซ่อนเร้นคลื่นใต้น้ำที่รอวันกระเพื่อม และถึงวันนี้ผลการเลือกตั้งที่ถูกเปิดเผยออกมาเกือบครบร้อยเปอร์เซ็นต์ หลายพรรคที่ได้คะแนนเสียงเป็นอันดับหนึ่ง อันดับสอง กำลังพยายามอย่างหนักที่จะจับขั้วการเมืองเพื่อจัดตั้งรัฐบาล แน่นอนว่าถึงเวลานี้ยังไม่มีใครให้คำตอบได้ว่า รัฐบาลใหม่ที่กำลังจะเกิดขึ้น จะเป็นไปในรูปแบบใด เพราะความเป็นไปได้มีทั้งรัฐบาลผสมเสียงข้างมาก รัฐบาลผสมเสียงข้างน้อย หรือท้ายที่สุดจบที่รัฐบาลเฉพาะกาล แต่ถึงแม้จะยังไม่มีความแน่นอนในสถานการณ์การเมือง ทว่า ภาคเอกชนกลับแสดงความคิดความเห็น ที่เต็มไปด้วยความคาดหวังว่ารัฐบาลใหม่ที่กำลังเกิดขึ้นน่าจะนำพาให้เศรษฐกิจไทยดำเนินไปข้างหน้าได้ ธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย แสดงความเห็นเกี่ยวกับประเด็นการเมืองว่า “การเลือกตั้งอาจได้รัฐบาลผสม ซึ่งทำให้เกิดการยุบสภาบ่อยครั้ง แต่หากรัฐบาลใหม่มีนโยบายที่ชัดเจนและต่อเนื่อง เศรษฐกิจน่าจะขับเคลื่อนไปได้ แต่อาจไม่ใช่ทิศทางที่สูงมาก การเติบโตของประเทศในช่วงระยะเวลา 1-2 ปีนี้ จะขยายตัวอยู่ในกรอบใกล้เคียง 4 เปอร์เซ็นต์ น่าจะมีโอกาสฟื้นตัวและเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจ” หากดูตัวเลขการขยายตัวของ GDP ในห้วงยามที่ คสช. เข้ามาบริหารประเทศด้วยทัศนคติที่เป็นกลาง ต้องยอมรับว่าความสงบที่เกิดขึ้นภายในบ้านเมืองทำให้ไทยก้าวห่างจาก “คนป่วยแห่งเอเชีย” และทำให้ GDP

Read More

ภาคเกษตรวิกฤตหนัก ภัยแล้ง-ราคาตก ฉุดเศรษฐกิจไทย

หลังจากกรมอุตุฯ ประกาศการเข้าสู่ฤดูร้อนอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา แต่ดูเหมือนว่าในช่วงเวลาดังกล่าวสถานการณ์ความเป็นไปที่เกิดขึ้นในประเทศหลายระนาบ ดูจะร้อนระอุเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว ทั้งสถานการณ์การเมืองที่ไทยกำลังเดินหน้าเข้าสู่การเลือกตั้ง สถานการณ์เศรษฐกิจไทยที่นับวันกราฟการเติบโตจะค่อยๆ ไต่ลงอย่างไม่อาจต้านทาน ด้วยผลกระทบทั้งจากภายนอกประเทศและในประเทศ อุณหภูมิในประเทศที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปี ยิ่งสร้างความวิตกกังวลให้แก่บรรดาเกษตรกรและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องไม่น้อย เพราะนั่นเป็นสัญญาณบ่งบอกว่า “ภัยแล้ง” ปีนี้เดินทางมาถึงเร็วกว่าปกติและอาจจะยาวนานขึ้น โดยเฉพาะปีนี้ที่อุณหภูมิจะสูงขึ้นจากค่าปกติ 1-2 องศาเซลเซียส การประกาศของกรมอุตุนิยมวิทยา นอกจากประชาชนต้องเตรียมพร้อมรับมือสภาพอากาศที่ร้อนอบอ้าวแล้ว เกษตรกรจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องตั้งรับเพื่อให้พร้อมกับสถานการณ์ภัยแล้งที่ดูเหมือนจะกระหน่ำซ้ำเติมสภาพความแร้นแค้นให้หนักหน่วงขึ้น หากไร้ซึ่งความพร้อม นอกเหนือไปจากสภาพอากาศที่เป็นอุปสรรคต่อการเพาะปลูกแล้ว ปริมาณน้ำในเขื่อนปีนี้น่าจะสร้างความวิตกกังวลให้ไม่น้อย เมื่อกรมชลประทานเปิดเผยรายงานสถานภาพน้ำในเขื่อนต่างๆ (ข้อมูลล่าสุดวันที่ 13 มีนาคม 2562) ปริมาณน้ำที่ใช้การได้ในเขื่อนทั้งประเทศลดลง 13 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันกับปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะเขื่อนในภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เขื่อนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่มีปริมาณน้ำน้อยเข้าขั้นวิกฤต คือ เขื่อนอุบลรัตน์ มีปริมาณน้ำน้อยกว่า 30 เปอร์เซ็นต์ รนก. (ระดับน้ำเก็บกักของอ่างฯ) และเขื่อนในภาคกลาง ได้แก่ เขื่อนกระเสียว เขื่อนทับเสลา ขณะที่เขื่อนที่มีปริมาณน้ำน้อย คือที่ระดับ 30-50 เปอร์เซ็นต์ รนก. ได้แก่ เขื่อนคลองสียัด เขื่อนขุนด่านปราการชล เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ เขื่อนลำแซะ

Read More

จับตาเศรษฐกิจจีนทรุด ระวังอาฟเตอร์ช็อกทั่วโลก

เป็นที่ทราบกันดีกว่า จีน เป็นหนึ่งในประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจของโลก รองจากสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีมูลค่าทางเศรษฐกิจประมาณ 13 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 1 ใน 3 ของเศรษฐกิจโลก ทว่าตั้งแต่กลางปี 2018 เป็นต้นมา เศรษฐกิจในประเทศจีนส่งสัญญาณการชะลอตัวอย่างเห็นได้ชัด สาเหตุหนึ่งที่สร้างแรงสั่นสะเทือนต่อเศรษฐกิจจีน คือ การต่อกรกับสหรัฐฯ ในสงครามการค้า แม้ว่าจีนจะอยู่ในฐานะประเทศมหาอำนาจอันดับสองรองจากสหรัฐฯ ทว่าอำนาจเจรจาต่อรองที่จีนมีไม่สามารถสร้างความได้เปรียบให้แก่ตัวเองได้เลย เมื่อมูลค่าการนำเข้าสินค้าจีนของสหรัฐฯ มีมูลค่าสูงถึง 5 แสนล้านดอลลาร์ แต่เมื่อพิจารณามูลค่าการนำเข้าสินค้าสหรัฐฯ ของจีนนั้น มีเพียง 2 แสนล้านดอลลาร์ นี่เองที่เป็นข้อจำกัดของจีนในการที่จะโต้ตอบสหรัฐฯ ด้วยกำแพงภาษี แม้ล่าสุดการเจรจาการค้าระหว่างประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา โดนัลด์ ทรัมป์ และประธานาธิบดี สีจิ้นผิง เมื่อสัปดาห์สุดท้ายของเดือนกุมภาพันธ์ จะได้ข้อสรุปว่า สหรัฐฯ จะเลื่อนการปรับเพิ่มอัตราภาษีนำเข้าสินค้าจากจีนมูลค่า 2 แสนล้านดอลลาร์ เป็น 25 เปอร์เซ็นต์ จากเดิม 10 เปอร์เซ็นต์ ออกไปจากกำหนดเดิมที่จะมีการบังคับใช้ในวันที่ 1 มีนาคม ซึ่งทรัมป์ได้ทวีตข้อความว่า

Read More

ทิศทางตลาดอสังหาฯ ปี 62 ความท้าทายหรือวิกฤต

นับตั้งแต่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศใช้มาตรการ Loan-to-Value หรือ LTV ซึ่งเป็นมาตรการควบคุมสินเชื่อบ้านหรือการอนุมัติสินเชื่อต่อมูลค่าหลักประกัน เพื่อหวังจะลดปัญหาฟองสบู่ในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต มาตรการ LTV ที่แบงก์ชาติประกาศใช้ในวันที่ 1 เมษายน 2562 นั้นน่าจะมีสาเหตุมาจากการที่ปี 2561 มีผู้ประกอบการเปิดตัวคอนโดมิเนียมมากกว่า 60,000 หน่วย และนี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่แบงก์ชาติใช้มาตรการนี้ เพราะครั้งที่เกิดวิกฤตการเงินในภูมิภาคเอเชียเมื่อปี 2540 แบงก์ชาติเคยใช้นโยบาย Macroprudential ซึ่งมีด้วยกัน 3 มาตรการ 1. กำหนดอัตราส่วนเงินให้สินเชื่อต่อมูลค่าหลักประกัน Loan-to-Value หรือ LTV ในภาคอสังหาฯ 2. มาตรการด้าน Debt-to-Income เพื่อกำหนดเพดานวงเงินบัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคล และ 3. มาตรการดำรงเงินกองทุนส่วนเพิ่มสำหรับธนาคารพาณิชย์ที่มีความสำคัญเชิงระบบ (Domestic Systemically Important Banks:D-SIBs) ในอดีตแบงก์ชาติเคยประกาศใช้มาตรการนี้มาแล้ว 4 ครั้ง คือ ในปี 2546 ปี 2552 ปี 2554 และปี

Read More

เงินบาทแข็งค่า ปัจจัยฉุดส่งออกทรุดตัว

อีกครั้งที่ “การส่งออก” ฟันเฟืองตัวสำคัญของเศรษฐกิจไทยถูกพูดถึงภายใต้นัยที่แสดงถึงความวิตกกังวล ซึ่งอาจจะเป็นเพราะปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการส่งออก ทั้งในเรื่องของศักยภาพในการผลิตสินค้าที่มีมูลค่าเพิ่ม ค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมไปถึงสถานการณ์เศรษฐกิจการค้าโลก เมื่อพิจารณาจากผลงานการส่งออกของไทยตลอดทั้งปี 2561 ที่มีอัตราการขยายตัว 6.7% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า ทว่าในบางเดือนพิษจากสงครามการค้ากลับส่งผลให้การส่งออกของไทยติดลบหลายครั้ง ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทยเปิดเผยว่า การส่งออกของไทยมีการขยายตัวต่ำกว่าหลายประเทศอย่างมีนัยสำคัญ เมื่อพิจารณาจากโครงสร้างการส่งออกของไทย จะเห็นได้ว่าการส่งออกสินค้าขั้นกลางมีสัดส่วนสูงสุดในการส่งออกของไทยทั้งหมด แสดงให้เห็นว่าการเชื่อมโยงห่วงโซ่อุปทานกับประเทศต่างๆ มีความสำคัญต่อการค้าไทย ขณะที่ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่าการส่งออกสินค้าขั้นกลางของไทยเริ่มส่งสัญญาณการชะลอตัวและมีสัดส่วนลดลง ในขณะที่สัดส่วนการส่งออกสินค้าขั้นสุดท้ายกลับสูงขึ้น ในทางตรงกันข้าม การส่งออกสินค้าของเวียดนามและฟิลิปปินส์ขยายตัวได้ดีและเข้ามาแย่งส่วนแบ่งตลาดของไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ แสดงให้เห็นว่าไทยสูญเสียความสามารถในการแข่งขันและมีบทบาทที่ลดลงในห่วงโซ่อุปทานของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ส่งผลให้ไทยเสียโอกาสที่จะกอบโกยรายได้จากอุตสาหกรรมแนวนี้ที่มีแนวโน้มเติบโตได้อย่างต่อเนื่องในอนาคต ทั้งนี้ การที่เวียดนามและฟิลิปปินส์เข้ามามีส่วนร่วมในห่วงโซ่อุปทานแทนที่ไทย ส่วนหนึ่งน่าจะเป็นเพราะไทยไม่สามารถแข่งขันด้านค่าแรงได้ เป็นเหตุให้ไทยไม่สามารถดึงดูดนักลงทุนให้มาลงทุนสร้างฐานการผลิตในไทยได้ และแม้ว่าไทยจะมีสัดส่วนการส่งออกสินค้าขั้นสุดท้ายมากขึ้น แต่ปัจจุบันสินค้าขั้นสุดท้ายที่ไทยผลิตส่วนมากมีมูลค่าเพิ่มไม่สูงนัก เพราะไทยยังไม่มีศักยภาพมากพอที่จะสามารถผลิตสินค้าขั้นสุดท้ายที่ต้องใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีขั้นสูงดังเช่นประเทศพัฒนาแล้ว ซึ่งประเด็นนี้ แม้ว่าภาครัฐกำลังเร่งเครื่องอย่างหนักที่จะผลักดันให้ไทยกลายเป็นประเทศอุตสาหกรรม 4.0 ที่เน้นเรื่องนวัตกรรมและเทคโนโลยีเป็นสำคัญ และแน่นอนว่ากว่าเป้าหมายที่ไทยตั้งไว้จะบรรลุ การส่งออกสินค้าขั้นกลางอาจถูกแย่งส่วนแบ่งตลาดไปมากพอสมควร เมื่อไทยยังไม่สามารถพัฒนาศักยภาพการผลิตสินค้าขั้นสุดท้ายที่มีมูลค่าเพิ่มสูงได้ การแข็งค่าของเงินบาทสร้างความวิตกกังวลให้แก่ผู้ประกอบการไทยไม่น้อย โดยภาคเอกชนมองว่า แนวโน้มที่ค่าเงินบาทแข็งค่าอย่างต่อเนื่องนี้จะกระทบต่อขีดความสามารถในการแข่งขันการส่งออกของไทย และต้องการให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเข้ามาควบคุมดูแลให้อยู่ในภาวะที่สมดุล ทว่า ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) วิรไท สันติประภพ มองว่า การแข็งค่าขึ้นของเงินบาท มีสาเหตุหลักจากค่าเงินดอลลาร์สหรัฐที่อ่อนค่าลง เพราะปัจจัยในประเทศสหรัฐฯ เช่นการเมือง การปิดตัวของรัฐบาล หรือ Government

Read More

บทเรียนจากฝุ่นพิษ ถึงเวลาพลังงานสะอาด?

คนไทยเริ่มต้นศักราชใหม่ด้วยความอึมครึมอยู่ไม่น้อย ทั้งสถานการณ์การเมืองที่ยังไม่กระจ่างชัด สภาวะเศรษฐกิจไทยที่ดูดีเพียงตัวเลขในรายงานสรุปผลประจำปี และการคาดการณ์ในแนวบวกไว้ล่วงหน้า แต่ที่สร้างความหวั่นวิตกให้ประชาชนคนไทยในห้วงยามนี้ เห็นจะเป็นปัญหามลพิษฝุ่น PM2.5 ซึ่งกลายเป็นประเด็นทางสังคมให้หลายฝ่ายได้ถกเถียงกันว่าสถานการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นและส่งผลกระทบต่อสุขภาพของผู้คนแล้วนั้น เข้าขั้น “วิกฤต” หรือยัง สถานการณ์ฝุ่น PM2.5 ที่ปรากฏเป็นภาพชัดตั้งแต่ช่วงเดือนมกราคมที่ผ่านมานั้น มีข้อเท็จจริงบางประการที่อาจถูกลืมเลือนหรือเพิกเฉย นั่นคือปัญหาฝุ่นพิษนั้นเคยเกิดขึ้นในสภาพแวดล้อมของไทยมาก่อนหน้า โดยเฉพาะพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล รวมไปถึงเมืองใหญ่ในต่างจังหวัด ทว่า ปี พ.ศ.2562 ปัญหามลพิษฝุ่น PM2.5 กลับฉายภาพชัดเจนมากขึ้น ส่วนหนึ่งน่าจะมาจากภาครัฐได้ทำการติดตั้งเครื่องตรวจวัดมาตรฐานฝุ่น PM2.5 โดยในปีนี้มีการติดตั้งเพิ่มเติมอีก 30 จุด ขณะที่ปีที่ผ่านมามีการติดตั้งไปเพียง 4 จุดเท่านั้น และตัวเลขจากเครื่องวัดมาตรฐานฝุ่น PM2.5 เป็นข้อมูลสำคัญที่ถูกเปิดเผยต่อสาธารณะ อันนำมาซึ่งความตื่นตระหนก ขณะที่อีกเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ปัญหามลพิษฝุ่น PM2.5 ทวีความรุนแรงมากขึ้น น่าจะมาจากการละเลยที่จะใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อมและสภาพอากาศของทุกฝ่าย ฝุ่น PM2.5 เกิดจากหลายสาเหตุ ทั้งการเผาไหม้ของเครื่องยนต์ดีเซล โรงงานอุตสาหกรรม การเผาวัชพืชทางการเกษตรในที่โล่ง การผลิตไฟฟ้า ปฏิกิริยาทางเคมีในอากาศ แม้ว่าแนวทางการแก้ไขปัญหาของภาครัฐในเบื้องต้นจะอยู่ที่ปลายเหตุเสียเป็นส่วนใหญ่ ทั้งการฉีดน้ำเพื่อหวังลดค่าฝุ่น PM2.5 การทำฝนหลวง หรือการเสนอแนวความคิดที่จะให้รถยนต์วิ่งวันคู่วันคี่ ทั้งหมดทั้งมวลดูจะห่างไกลจากคำว่า “การแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน” มากนัก แน่นอนว่า

Read More

เซ็นทรัลภูเก็ตผุดธีมปาร์ค กลยุทธ์สู้ศึก E-Commerce

ภาพรวมการเติบโตของตลาด E-Commerce ในไทยเติบโตอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งสอดคล้องกับพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป ส่งผลให้ไทยกลายเป็นตลาดใหญ่ที่ทำให้ทุนจากต่างชาติตบเท้าเข้ามาทำตลาดในไทยอย่างคึกคัก ซึ่ง Priceza เปิดเผยข้อมูลสำคัญนี้ในงาน Priceza E-Commerce Trend 2019: The Infinity of E-Commerce Wars 2019 โดยหากพิจารณาจากข้อมูลการซื้อขายของ Priceza นับตั้งแต่ปี 2016 มีอัตราการซื้อต่อการเข้าชม 1.72 เปอร์เซ็นต์ ในปี 2017 เพิ่มขึ้นเป็น 2.81 เปอร์เซ็นต์ และปี 2018 (ข้อมูลถึงเดือนพฤศจิกายน) เพิ่มขึ้นเป็น 3.06 เปอร์เซ็นต์ โดยมูลค่าตลาด E-Commerce ไทยในปี 2560 มีมูลค่าประมาณ 1.5 แสนล้านบาท ขณะที่ในปี 2561 มีการคาดการณ์ว่าตลาด E-Commerce จะขยายตัวได้ 20-23 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งด้วยพฤติกรรมของผู้บริโภคที่นิยมการชอปปิ้งออนไลน์ น่าจะทำให้ในปี

Read More