Home > สถานการณ์เศรษฐกิจไทย

ค่าครองชีพ-เงินเฟ้อเพิ่ม เศรษฐกิจโลกชะลอตัว ไทยรับศึกรอบด้าน

บทวิเคราะห์และการประเมินจากนักวิทยาศาสตร์ นักไวรัสวิทยา เกี่ยวกับการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอน เป็นไปในทิศทางเดียวกันว่า นี่อาจเป็นจุดสิ้นสุดของโรคร้ายและนำไปสู่การเป็นโรคประจำถิ่นในที่สุด ถือเป็นความหวังที่ค่อยๆ เรืองรองของประชากรโลก ที่จะได้กลับเข้าสู่สภาวะปกติ หรือกลับมาดำเนินชีวิตได้ตามเดิม ทว่า ปัจจุบันดูเหมือนปัญหาใหม่กำลังเริ่มขึ้น โดยเฉพาะคนไทยที่กำลังต้องรับมือกับภาระทางเศรษฐกิจที่ดูจะทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ในสายตาของประชาชนในระดับฐานรากอาจมองว่าสถานการณ์ครั้งนี้เริ่มเข้าขั้นวิกฤต สถานการณ์ข้าวยากหมากแพงที่กำลังเกิดขึ้นในห้วงยามนี้ ดูเหมือนจะเป็นการซ้ำเติมความชอกช้ำที่ยังไม่ทันจางหายไป ให้มีอาการทรุดหนักลงอีก เมื่อสินค้าอุปโภคบริโภคหลายรายการทยอยขึ้นราคาอย่างต่อเนื่อง เช่นที่กำลังเป็นประเด็นถกเถียงกันตั้งแต่เริ่มต้นศักราชใหม่คือ ปัญหาเนื้อหมูราคาแพง ชนิดที่ว่าร้านอาหารจำนวนไม่น้อยที่ต้องขอยุติกิจการชั่วคราวเพราะไม่อาจแบกรับต้นทุนจากเนื้อหมูไหว และไม่ต้องการที่จะผลักภาระให้แก่ผู้บริโภคที่อยู่ปลายน้ำได้ ในขณะที่ผู้บริโภคเองมีตัวเลือกที่หลีกเลี่ยงการบริโภคเนื้อหมูได้ นอกจากเนื้อหมูที่ปรับราคาสูงขึ้นแล้ว สินค้าอื่นๆ ต่างทยอยปรับราคาไปแล้วเช่นกัน เช่น ไข่ไก่ น้ำมันพืช เครื่องปรุงรส นอกจากสินค้าอุปโภคบริโภคแล้ว ประชาชนยังต้องแบกรับค่าสาธารณูปโภคและค่าเดินทางที่ปรับขึ้นมาแล้ว เช่น ค่าไฟฟ้า และค่าน้ำมัน ค่าขนส่งสาธารณะ ศูนย์วิจัยกสิกรไทยสำรวจพบว่า คนกรุงเทพฯ ที่มีรายได้ต่ำกว่า 15,000 ต่อเดือน เป็นกลุ่มที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด เมื่อเทียบกับกลุ่มรายได้อื่น ซึ่งราว 36% มองว่า มีค่าใช้จ่ายปรับเพิ่มขึ้นกว่า 20% เมื่อเทียบกับช่วงปลายปีก่อนที่จะมีการปรับขึ้นราคาสินค้าต่างๆ ขณะที่คนกรุงเทพฯ ที่มีรายได้ปานกลางถึงสูงจะได้รับผลกระทบที่น้อยกว่าโดยเปรียบเทียบและสามารถรับมือกับสถานการณ์ดังกล่าวได้มากกว่า ทั้งนี้ ค่าครองชีพที่ทยอยปรับสูงขึ้น ส่งผลให้ในระยะสั้น คนกรุงเทพฯ

Read More

แมนพาวเวอร์กรุ๊ป ออกโรงแนะแรงงานรับมือ ฝ่าเศรษฐกิจซบ-จีดีพีโตต่ำ 2%

แมนพาวเวอร์กรุ๊ป ออกโรงแนะแรงงานรับมือ ฝ่าเศรษฐกิจซบ-จีดีพีโตต่ำ 2% ภาคธุรกิจส่งสัญญาณชะลอตัว ผู้ประกอบการรัดเข็มขัด หวั่นสะเทือนตลาดแรงงานปีนี้ จากสถานการณ์เศรษฐกิจของประเทศไทยและทั่วโลกตั้งแต่ปลายปี 62 จนถึงไตรมาสแรกปี 63 เมื่อเทียบกับช่วง 10 ปีที่ผ่านมาอัตราเติบโตเฉลี่ยของเศรษฐกิจไทย อยู่ที่ 3.3% แต่ในปีที่ผ่านมากับปี 63 มีการส่งสัญญาณชะลอตัวโดยมีปัจจัยจากเศรษฐกิจโลกและในประเทศ โดยข้อมูลล่าสุดจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ระบุปัจจัยลบที่ส่งผลต่อเศรษฐกิจประเทศไทยในปีนี้ มี 3 ปัจจัยหนักๆ ได้แก่ การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ หรือ โควิด19 อีกปัจจัยจะเป็นเรื่องภาวะภัยแล้ง และความล่าช้าของงบประมาณปี 63 ทำให้เศรษฐกิจไทยปีนี้อาจขยายตัวต่ำกว่าปีที่ผ่านมา นอกจากนี้ ยังจะต้องติดตามต่ออีกว่าการแพร่ระบาดของ โควิด19 จะกินระยะเวลาอีกนานแค่ไหน หากสถานการณ์ยังยืดเยื้อต่อเนื่องก็จะมีความเสี่ยงที่เศรษฐกิจไทยปีนี้อาจขยายตัวต่ำกว่า 2% สำหรับกลุ่มธุรกิจที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดจากปัจจัยลบโดยเฉพาะโรคระบาดก็คือ ธุรกิจท่องเที่ยวซึ่งในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาประเทศไทยมีรายได้เฉลี่ยปีละ 2.9 ล้านล้านบาทคิดเป็น 20% ของจีดีพีเกี่ยวข้องกับทั้งโรงแรม ภัตตาคาร ค้าปลีก ขนส่ง และอื่นๆ คิดเป็น

Read More

จับตาค่าเงินบาท ปัจจัยลบเศรษฐกิจไทย?

ความกังวลใจว่าด้วยเรื่องเศรษฐกิจไทยตลอดช่วงปีที่ผ่านมา ประเด็นหนึ่งที่ได้รับการกล่าวถึงดูจะอยู่ที่การเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทที่ปรับตัวแข็งค่าขึ้นอย่างมาก จนมาอยู่ในระดับแข็งค่ามากเป็นประวัติการณ์ในรอบ 6 ปีเมื่อช่วงวันสุดท้ายก่อนสิ้นปี 2562 และทำให้หลายฝ่ายพุ่งเป้าความสนใจจับตาการเคลื่อนไหวค่าเงินบาทในช่วงปี 2563 ว่าจะมีทิศทางอย่างไร พร้อมกับประเมินผลกระทบที่กำลังจะเกิดขึ้นนับจากนี้ ค่าเงินบาทที่แข็งค่าอย่างต่อเนื่องจนมาอยู่ที่ระดับต่ำกว่า 30 บาทต่อ 1 เหรียญสหรัฐในช่วงวันที่ 30-31 ธันวาคม 2562 และในวันที่ 1 มกราคม 2563 จากระดับ 29.92 มาสู่ระดับ 29.87 และที่ระดับ 29.71 บาทต่อ 1 เหรียญสหรัฐตามลำดับ ได้รับการอธิบายจากธนาคารแห่งประเทศไทยว่าเป็นผลที่เกิดจากการเร่งทำธุรกรรมก่อนสิ้นปีของผู้ประกอบการบางรายในสภาวะที่ตลาดมีสภาพคล่องต่ำ ความต้องการซื้อและขายเงินตราต่างประเทศไม่สมดุลในช่วงก่อนวันหยุดสิ้นปี นอกจากนี้ ยังเป็นผลจากการอ่อนค่าของเงินดอลลาร์สหรัฐเทียบกับสกุลเงินภูมิภาคในช่วงปลายปีด้วย อย่างไรก็ดี ค่าเงินบาทมีทิศทางและแนวโน้มที่จะแข็งค่าขึ้นต่อเนื่อง ภายใต้ปัจจัยหลักมาจากโครงสร้างของประเทศไทยที่อยู่ในภาวะเกินดุลเดินสะพัด ขณะเดียวกันรายได้หลักของประเทศที่เดิมได้รับจากการส่งออกและการท่องเที่ยว ทำให้ประเด็นค่าเงินบาทแข็งค่าเป็นสิ่งที่ภาครัฐ เอกชน และประชาชนที่ทำธุรกิจเกี่ยวเนื่องกันจับตามองเป็นพิเศษ ทิศทางค่าเงินบาทไทยในปี 2563 ได้รับการคาดหมายว่าจะปรับตัวแข็งค่าขึ้นอีกเล็กน้อย โดยตลอดปี 2562 ที่ผ่านมาค่าเงินบาทปรับตัวแข็งค่าขึ้นถึงร้อยละ 7-8 ซึ่งเป็นการแข็งค่าขึ้นกว่าปกติแล้ว ขณะที่นักวิเคราะห์บางสำนักประเมินว่าเมื่อถึงสิ้นปี 2563 ค่าเงินบาทมีโอกาสแข็งค่าไปถึงระดับ

Read More

ส่งออกติดลบ ฟันเฟืองเศรษฐกิจไทยตัวไหนทำงาน

สงครามการค้าระหว่างสหรัฐอเมริกากับจีนดูจะยังหลอกหลอน และสร้างผลกระทบเป็นวงกว้างให้แก่อุตสาหกรรมการส่งออกของไทย ที่เป็นเสมือนฟันเฟืองสำคัญในระบบเศรษฐกิจ หากจะพินิจพิเคราะห์กันอย่างรอบด้านด้วยใจเป็นธรรมแล้ว สถานการณ์เศรษฐกิจไทยที่กำลังถดถอยอยู่ในขณะนี้ ไทยไม่ได้เป็นประเทศเดียวที่กำลังเผชิญกับสถานการณ์อันเลวร้าย ท่ามกลางเศรษฐกิจโลกที่อยู่ในภาวะชะลอตัว และอีกหลายประเทศทั่วโลกกำลังประสบกับวิกฤตที่ไม่ต่างกันเท่าใดนัก แต่สำหรับระบบเศรษฐกิจไทยที่มีฟันเฟืองขับเคลื่อนให้เดินไปข้างหน้าได้เพียงไม่กี่ตัว ทำให้หลายฝ่ายแสดงความวิตกกังวลว่า ไทยจะหลุดพ้นจากสถานการณ์ที่ยากลำบากนี้ไปได้อย่างไร เมื่อสถานการณ์ส่งออกของไทยอยู่ในภาวะติดลบและขาดดุลในรอบหลายปี นอกจากนี้ ยังมีการคาดการณ์จากมหาวิทยาลัยหอการค้าไทยว่า ส่งออกไทยในช่วงครึ่งปีหลังจะติดลบ 0.64 เปอร์เซ็นต์ โดยคาดว่ามูลค่าการส่งออกทั้งปี 2562 มีมูลค่า 251,338 ล้านเหรียญสหรัฐ และปัจจัยที่ส่งผลต่อการส่งออกไทยคือ สถานการณ์เศรษฐกิจโลกที่เข้าสู่ภาวะชะลอตัว สงครามการค้าระหว่างจีนกับสหรัฐฯ อัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาทของไทยที่ยังมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่อง การทำเอฟทีเอระหว่างเวียดนามและสหภาพยุโรป ที่น่าจะมีผลกระทบต่อการส่งออกของไทย และกรณี Brexit ห้วงยามนี้ฟันเฟืองการส่งออกของไทยที่เคยเป็นหัวใจสำคัญในการขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจไทยดูจะอ่อนประสิทธิภาพลง และหากจะพิจารณาฟันเฟืองตัวอื่นๆ ทั้งอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว การเกษตร และภาคอุตสาหกรรมล้วนแล้วแต่อยู่ที่ย่ำแย่จนถึงติดลบ แม้จะมีการขยายตัวอยู่บ้างในบางอุตสาหกรรม ทว่าเมื่อพิจารณาตัวเลขการขยายตัวยังไม่เป็นที่น่าพอใจเท่าใดนัก ซึ่งสำนักงานเศรษฐกิจการคลังเปิดเผยข้อมูลตัวเลข รายได้เกษตรกรที่แท้จริงในช่วงเดือนเมษายนหดตัว -3.0 เปอร์เซ็นต์ จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเติบโตเพียง 3.3 เปอร์เซ็นต์ มูลค่าการส่งออกหดตัว -2.6 เปอร์เซ็นต์ ก่อนหน้านี้หลายฝ่ายให้ความเห็นว่า ความล่าช้าในการจัดตั้งรัฐบาลเป็นหนึ่งเหตุผลสำคัญที่ทำให้นักลงทุนขาดความเชื่อมั่น แต่เวลานี้คงต้องพิจารณากันใหม่ว่า เมื่อรัฐบาลจัดตั้งเรียบร้อยแล้วจะยังสามารถเรียกความเชื่อมั่นให้แก่นักลงทุนได้หรือไม่ เมื่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2562 มีมติเห็นชอบแต่งตั้ง พล.อ.ประยุทธ์

Read More

จีดีพี หดตัว-อสังหาฯ ซบเซา สัญญาณร้ายเศรษฐกิจไทย

ความเป็นไปของเศรษฐกิจไทยที่สะท้อนผ่านตัวเลขการเติบโตทางเศรษฐกิจล่าสุด ดูจะเป็นประจักษ์พยานและดัชนีชี้วัดความสำเร็จ-ล้มเหลวของการบริหารงานด้านเศรษฐกิจของรัฐบาลคณะรักษาความสงบห่งชาติ (คสช.) ในช่วงระยะเวลาตลอด 5 ปีหลังเข้ายึดอำนาจเมื่อเดือนพฤษภาคม 2557 และมีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนผ่านไปสู่สถานะใหม่ในรัฐบาลชุดหน้า หลังสิ้นวาระลงจากผลของการเลือกตั้งและการเปิดประชุมรัฐสภาที่จะมีขึ้นในเร็ววันนี้ ความตกต่ำย่ำแย่ทางเศรษฐกิจที่ได้รับการแถลงยืนยันโดยสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่งระบุว่า การเจริญเติบโตของเศรษฐกิจไทย (จีดีพี) ในช่วงไตรมาส 1/2562 เติบโตในระดับร้อยละ 2.8 ซึ่งนับเป็นการเติบโตในอัตราที่ต่ำที่สุดในรอบ 17 ไตรมาส บ่งบอกถึงทิศทางเศรษฐกิจไทยในช่วงการบริหารงานของ คสช. ที่ผ่านมาได้เป็นอย่างดี แม้ว่าตลอดระยะเวลาก่อนหน้ากลไกรัฐจะพยายามสื่อสารกับสาธารณะว่าเศรษฐกิจไทยกำลังฟื้นตัวและอยู่ในสภาพที่ดีขึ้นก็ตาม ความจำเริญแบบถดถอยลงทางเศรษฐกิจไทยในลักษณะที่เกิดขึ้นดังกล่าว ส่งผลให้ต้องมีการปรับลดประมาณการทางเศรษฐกิจลงอีก จากเดิมที่คาดว่าจะคงการเติบโตตลอดทั้งปีไว้ได้ที่ระดับร้อยละ 4 มาเหลือเพียงการเติบโตในระดับร้อยละ 3.3-3.8 ในปี 2562 เท่านั้น ยังไม่นับรวมปัจจัยอื่นๆ ที่อาจฉุกกระชากให้ต้องมีการปรับลดเป้าการเติบโตอีกสำหรับอนาคต มูลเหตุสำคัญที่ทำให้จีดีพีของไทยในไตรมาส 1/2562 ตกต่ำกว่าที่หลายฝ่ายคาดการณ์ไว้ ได้รับการอธิบายในลักษณะที่เกือบจะกลายเป็นสูตรสำเร็จว่าเป็นผลจากการที่การส่งออกของไทยชะลอตัวลงจากแรงกดดันของสงครามทางการค้าระหว่างจีนและสหรัฐอเมริกา ควบคู่กับการลงทุนภาครัฐที่ชะลอตัวลง ขณะเดียวกันก็คาดหวังว่า ปัจจัยทางการเมืองว่าด้วยการจัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่ จะช่วยให้เกิดการผลักดันการเบิกจ่ายงบประมาณครั้งใหม่ ที่อาจช่วยคลี่คลายสถานการณ์ตกต่ำทางเศรษฐกิจนี้ได้บ้าง ข้อเท็จจริงที่น่าสนใจประการหนึ่งที่เกิดขึ้นก็คือการขยายตัวทางเศรษฐกิจไทยในระดับร้อยละ 2.8 ในไตรมาส 1/2562 ที่ฉุดให้คาดว่าตลอดทั้งปีเศรษฐกิจไทยจะเติบโตในระดับร้อยละ 3.3-3.8 นับเป็นการขยายตัวเติบโตในระดับต่ำที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศเพื่อนบ้านอาเซียนประเทศอื่นๆ ซึ่งขยายตัวในระดับเฉลี่ยร้อยละ

Read More

ค่าใช้จ่ายเปิดเทอมใหม่ ภาระหนักครัวเรือนไทย?

ภายใต้สถานการณ์ทางการเมืองที่ยังไร้ข้อสรุปว่าด้วยการเกิดมีขึ้นของรัฐบาลชุดใหม่ภายหลังการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อปลายเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ซึ่งจนถึงขณะปัจจุบันคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ที่ได้วางกรอบงบประมาณจัดการเลือกตั้งไว้สูงถึง 5,800 ล้านบาท ยังไม่สามารถดำเนินการประกาศผลการเลือกตั้งอย่างเป็นทางการได้ และกลายเป็นประหนึ่งกับดักหลุมพรางที่ทำให้องคาพยพของสังคมด้านอื่นต้องตกอยู่ในภาวะชะงักงันของหล่มปลักไปด้วยโดยปริยาย ก่อนหน้านี้นักธุรกิจและบรรดาผู้สันทัดกรณีทางเศรษฐกิจต่างโหมประโคมความมั่นใจว่าภายหลังการเลือกตั้งซึ่งควรจะติดตามมาด้วยความชัดเจนของการจับขั้วทางการเมืองและการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ ภายหลังยุคสมัยของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เศรษฐกิจไทยน่าจะกระเตื้องขึ้นได้พร้อมกับความมั่นใจของผู้ประกอบการลงทุนต่างชาติ หากแต่ข้อเท็จจริงที่ปรากฏในปัจจุบันคือ เศรษฐกิจไทยกำลังถอยหลังอย่างที่ไม่รู้ว่าจะไปสิ้นสุดที่ใด ทัศนะเช่นว่านี้ย่อมไม่ใช่คำกล่าวหาที่เลื่อนลอย หากแต่เป็นข้อเท็จจริงที่ผู้ควบคุมกลไกอำนาจรัฐในห้วงปัจจุบันตระหนักและพยายามประคับประคองสถานการณ์ด้วยหวังว่าหากมีโอกาสกลับมามีบทบาทอีกครั้งจะสามารถเอ่ยอ้างต่อยอดผลงานที่เป็นประหนึ่งฟองครีมที่อยู่บนผืนหน้าเค้กที่ประดับประดาด้วยสิ่งเล็กน้อยที่ทำให้ความขมขื่นของสังคมกลายเป็นความหอมหวานที่เคลือบแฝงด้วยภัยร้ายในระยะยาว ความพยายามที่จะนำเสนอมาตรการพยุงเศรษฐกิจรอบใหม่ในช่วงรอยต่อของรัฐบาล คสช. กับรัฐบาลชุดใหม่ที่ยังมองไม่เห็นว่าจะมีรูปร่างหน้าตาอย่างไร ที่ดำเนินผ่านมาตรการภาษีว่าด้วยการหักลดหย่อนดอกเบี้ยเงินกู้ที่อยู่อาศัย เพื่อกระตุ้นธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ รวมไปถึงการควมคุมราคาสินค้า หรือแม้กระทั่งการแจกคูปองการท่องเที่ยว ภายใต้แนวคิดที่ว่ามาตรการเหล่านี้จะช่วยรักษาโมเมนตัมทางเศรษฐกิจให้ไม่ชะลอตัวลงมากไปกว่าที่เป็นอยู่ มาตรการที่ฝ่ายควบคุมกลไกอำนาจอยู่ในปัจจุบันเชื่อว่าจะรักษาการเติบโตของเศรษฐกิจไว้ได้ในระดับที่เรียกว่า “ไฮอิมแพ็กต์” แต่ไม่ถึงกับต้องใช้ยาแรงนี้ เน้นไปที่มาตรการที่เกี่ยวข้องกับด้านการบริโภค การกระตุ้นการท่องเที่ยว การลงทุน ด้านอสังหาริมทรัพย์ และการใช้จ่ายของประชาชนที่ยากจน เกิดขึ้นควบคู่กับปัจจัยเศรษฐกิจโลกที่กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) เพิ่งปรับลดประมาณการขยายตัว มีผลกระทบต่อการส่งออกของไทย ซึ่งทำให้ต้องออกมาตรการมาพยุงในช่วงรอยต่อในครั้งนี้ ในขณะเดียวกันก็เร่งผลักดันกฎหมายสรรพากรที่จะช่วยให้จัดเก็บภาษีค้าขายออนไลน์ให้ได้มากขึ้น เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับรัฐ ข้อเท็จจริงที่น่าสนใจก็คือสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ประเมินว่าเศรษฐกิจไทยช่วงไตรมาสแรกกับไตรมาส 2 ปีนี้จะเติบโตเพียงร้อยละ 3 ซึ่งทำให้รัฐจำเป็นต้องพยุงการเติบโตไว้ หากปล่อยให้ชะลอลงมาก เวลาจะดึงขึ้นต้องใช้ทรัพยากรมาก และนำมาสู่มาตรการเบื้องต้น ทั้งมาตรการด้านการบริโภค เงินอุดหนุนให้ท่องเที่ยวเมืองรอง และการให้หักลดหย่อนภาษีกรณีค่าใช้จ่ายจากการท่องเที่ยวทั่วประเทศ ขณะที่มาตรการด้านการใช้จ่ายของประชาชน จะมีมาตรการด้านภาษีเพื่อกระตุ้นการใช้จ่ายภายในประเทศ ไม่ว่าจะเป็นการใช้จ่ายสำหรับซื้อเสื้อผ้า เครื่องใช้

Read More

เศรษฐกิจไทยอ่วม ส่งออกติดลบ อสังหาฯ ชะลอตัว

แม้ว่าการเลือกตั้งทั่วไปของไทยจะจบและสิ้นสุดไปราวเดือนเศษ ทว่าความชัดเจนที่หลายฝ่ายตั้งตารอคอย ว่าใครจะได้เป็นผู้จัดตั้งรัฐบาล ดูเหมือนคำตอบยังถูกหมอกควันปกคลุม และยังเป็นปริศนาอยู่ในขณะนี้ คำถามที่ยังไม่มีคำตอบมีผลต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติอยู่พอสมควร เพราะนักลงทุนส่วนใหญ่ต้องการให้เกิดความต่อเนื่อง และแนวนโยบายของภาครัฐที่มีต่อเศรษฐกิจ การลงทุน แม้ว่าสถานการณ์เศรษฐกิจไทยที่มีแนวโน้มชะลอตัวลง ส่วนหนึ่งจะมีปัจจัยมาจากการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยภายนอกประเทศที่มีผลโดยตรงต่อความเป็นไปทางเศรษฐกิจไทยด้วยเช่นกัน นั่นคือ สถานการณ์เศรษฐกิจโลก เมื่อไทยยังต้องพึ่งพิงทิศทางของเศรษฐกิจโลก ที่มีจีนและสหรัฐฯ ที่เป็นเสมือนผู้กำหนดทิศทางกระแสลมทางเศรษฐกิจ ทั้งจากมาตรการทางภาษีการค้าที่ทั้งสองประเทศยังหาข้อสรุปไม่ได้ แม้ว่าจะมีการผ่อนปรนมาตรการภาษีในบางช่วงหลังจากมีการประชุมเจรจาข้อตกลงกัน ทว่า การค้าโลกก็ดำเนินไปในทิศทางที่ชะลอตัวลง ซึ่งส่งผลให้ตัวเลขการส่งออกของประเทศคู่ค้าลดลงและถึงขั้นติดลบ โดยตัวเลขการส่งออกของไทยในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา มีมูลค่าอยู่ที่ 21,440.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงร้อยละ 4.9 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันกับปีที่ผ่านมา ทำให้ตัวเลขการส่งออกสินค้าไทยในไตรมาสแรกของปี 2562 ลดลงร้อยละ 1.6 ทั้งนี้ ก็เป็นไปตามการคาดการณ์ของศูนย์วิจัยกสิกรไทย ที่ได้คาดไว้ว่า ปัจจัยหลักที่ทำให้การส่งออกของไทยลดลง มาจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก เมื่อตลาดคู่ค้าสำคัญของไทยอย่างสหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป (28 ประเทศ) และจีน ล้วนหดตัว ยกเว้นการส่งออกไปยังตลาดญี่ปุ่นที่ยังมีการขยายตัวได้ดีร้อยละ 7.4 ในเดือนมีนาคม 2562 จากการส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าและไก่แปรรูปเป็นสำคัญ นอกจากนี้ ยอดขายคอมพิวเตอร์โลกที่ปรับตัวลดลงในช่วงไตรมาส 1/2562 มีส่วนสำคัญที่ทำให้การส่งออกเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบของไทยในเดือนมีนาคม 2562 ติดลบมากถึงร้อยละ

Read More

ส่องเทศกาลกินเจ 2561 สะท้อนทิศทางเศรษฐกิจไทย

เทศกาลถือศีลกินเจเวียนมาถึงอีกครั้ง ท่ามกลางสภาวะเศรษฐกิจที่มีความเห็นต่าง โดยฝั่งรัฐบาลมองว่าสถานการณ์เศรษฐกิจในปี 2561 ส่งสัญญาณดีขึ้น มองเห็นการฟื้นตัว ประกอบกับการลงทุนภาครัฐที่ขยายวงกว้างมากขึ้น หากจะมองเช่นนั้นคงไม่ผิดนัก เมื่อพิจารณาจากโครงการที่ภาครัฐลงทุนโดยเฉพาะโครงสร้างพื้นฐาน อันจะนำมาซึ่งการลงทุนของภาคเอกชน ขณะที่ภาคประชาชนกลับเห็นต่างออกไป ซึ่งสะท้อนออกมาทางผลสำรวจของศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และแม้ว่าตัวเลขความเชื่อมั่นจะลดลงไปเพียงเล็กน้อย แต่นั่นหมายถึงสัญญาณบางอย่างที่ภาครัฐไม่ควรเพิกเฉย โดยผลสำรวจความเชื่อมั่นเกี่ยวกับเศรษฐกิจไทยในช่วงเดือนกันยายน 2561 พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคปรับตัวลดลงเป็นครั้งแรกในรอบ 4 เดือน เนื่องจากผู้บริโภครู้สึกว่าราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้นส่งผลให้อำนาจซื้อลดน้อยลง ประกอบกับราคาพืชผลทางการเกษตรหลายรายการยังมีราคาต่ำ นักท่องเที่ยวจีนที่เข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทยลดน้อยลง และสถานการณ์สงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับจีนที่เริ่มรุนแรงมากขึ้น ส่งผลให้กำลังซื้อในปัจจุบันชะลอตัวลง และความเชื่อมั่นในอนาคตปรับตัวลดลง โดยดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเกี่ยวกับเศรษฐกิจโดยรวมในเดือนกันยายน ลดลงจากระดับ 70.2 ในเดือนที่ผ่านมาสู่ระดับ 69.4 ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเกี่ยวกับเศรษฐกิจในอนาคต (ใน 6 เดือนข้างหน้า) ของเดือนกันยายน 2561 ปรับตัวลดลงจากระดับ 88.3 มาอยู่ที่ระดับ 87.2 แม้ว่าส่วนหนึ่งของปัจจัยที่มีผลต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภค จะมาจากปัจจัยภายนอกประเทศ กระนั้นยังมีสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในประเทศที่เป็นตัวฉุดความเชื่อมั่นและกลายเป็นปัจจัยลบต่อเศรษฐกิจไทยได้ไม่มากก็น้อย โดยเฉพาะเหตุร้ายที่เกิดขึ้นกับนักท่องเที่ยวต่างชาติในไทย ซึ่งถึงเวลานี้คาดว่าคงต้องใช้เวลาในการเรียกความเชื่อมั่นจากนักท่องเที่ยวอีกพอสมควร ขณะที่เทศกาลกินเจปี 2561 มีการเปิดเผยตัวเลขเม็ดเงินที่จะสะพัดในช่วงนี้ทั้งจากศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และศูนย์วิจัยกสิกรไทย โดยด้านหอการค้าไทยเปิดเผยว่า เทศกาลกินเจปีนี้ น่าจะมีเงินสะพัดมูลค่า 4.6 หมื่นล้านบาท นับเป็นมูลค่าที่สูงสุดเป็นประวัติการณ์

Read More

ครม. ใหม่ ส่งท้ายปีระกา บนความคาดหวังแห่งปีจอ

การปรับคณะรัฐมนตรีภายใต้การกำกับดูแลของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ในนาม “ประยุทธ์ 5” แม้จะมีการปรับเปลี่ยนรวมมากถึง 18 ตำแหน่ง หากแต่ดูเหมือนว่าจะไม่ได้สะท้อนภาพความแตกต่างในเชิงนโยบายหรือมาตรการในการนำพาประเทศไปสู่หนทางใหม่ และดูจะเป็นเพียงการปรับเพื่อผลัดเปลี่ยนบุคคลเข้าดำรงตำแหน่งเท่านั้น ขณะเดียวกันการปรับ ครม. ครั้งล่าสุดยังได้รับการประเมินว่าเป็นความพยายามของประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่จะกอบกู้ศรัทธาและความเชื่อมั่นของรัฐบาลที่กำลังทรุดตัวตกต่ำต่อเนื่อง รวมถึงความพยายามที่จะปูทางไปสู่การสานต่อเพื่อการดำรงอยู่ในอำนาจภายหลังการเลือกตั้งที่คาดว่าจะมีขึ้นในช่วงปลายปี 2561 อีกด้วย คณะรัฐมนตรีชุดใหม่ที่พยายามลดทอนจำนวนขุนทหารและเติมเต็มเข้ามาด้วยบุคลากรภาคพลเรือนและนักวิชาการ อาจช่วยให้ภาพลักษณ์ของรัฐบาลดูดีขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับคณะรัฐมนตรีชุดก่อนหน้า หากแต่ในความเป็นจริง กรณีดังกล่าวกลับสะท้อนภาพความล้มเหลวและปัญหาในการบริหารจัดการที่ดำเนินมากว่า 3 ปีของ คสช. ไปในคราวเดียวกัน กระนั้นก็ดี การฝากความหวังไว้กับทีมเศรษฐกิจที่มีสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ เป็นหัวเรือใหญ่ และยังดำเนินนโยบายเศรษฐกิจตามกรอบโครงนโยบายและความคิดเดิม ทำให้เกิดคำถามว่า ประเด็นปัญหาทางเศรษฐกิจที่สังคมไทยเผชิญอยู่ในขณะนี้ ได้รับการประเมินบนพื้นฐานของข้อเท็จจริงอย่างไร และจะดำเนินไปสู่หนไหน แม้ว่าการปรับคณะรัฐมนตรีครั้งล่าสุดจะเป็นประจักษ์พยานว่าสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ ยังคงมีบทบาทนำ และ คสช. สมัครใจที่จะเชื่อฝีมือของขุนพลทางเศรษฐกิจรายนี้อย่างมากก็ตาม ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมารัฐบาล คสช. พยายามฉายภาพรวมตัวเลขทางเศรษฐกิจที่ประกอบส่วนไปด้วยมูลค่าการส่งออกและรายได้จากการท่องเที่ยว ในฐานะที่เป็นผลงานเชิดหน้าชูตารัฐบาลมาอย่างต่อเนื่อง หากแต่การปรับคณะรัฐมนตรีครั้งล่าสุดกลับมีการปรับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา ให้พ้นจากตำแหน่ง คำถามที่ติดตามมาจึงอยู่ที่ว่ารัฐมนตรีที่ถูกปรับออกนี้ มีประเด็นว่าด้วยความฉ้อฉลไม่โปร่งใส หรือเป็นการยอมรับไปโดยปริยายของรัฐบาลว่า ตัวเลขและผลงานที่พยายามเอ่ยอ้างมาโดยตลอดนั้นเป็นเพียงการปรับขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจโลกที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ขณะที่การท่องเที่ยวก็สดใสจากเทรนด์ของโลก ไม่ได้เกิดขึ้นจากความสามารถในการบริหารจัดการของภาครัฐแต่อย่างใด ประเด็นที่น่าสนใจในเชิงเศรษฐกิจที่สำคัญมากอีกประการหนึ่ง อยู่ที่มูลค่าการลงทุนจากต่างประเทศที่รัฐบาลพยายามโหมประโคมและมอบสิทธิประโยชน์พิเศษเพื่อเชิญชวนนักลงทุนให้เข้ามาลงทุนในไทยมากขึ้น

Read More

จับสัญญาณบวกเศรษฐกิจไทย ครึ่งปีหลัง 2560 กำลังจะฟื้นตัว

ความพยายามของกลไกภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่จะโหมประโคมสัญญาณบวกทางเศรษฐกิจไทยในช่วงที่ผ่านมา ดูจะได้รับการขานรับในระดับที่น่าสนใจไม่น้อยเลย โดยเฉพาะการคาดหมายที่เกิดขึ้นจากข้อเท็จจริงที่ว่าในช่วงที่ผ่านมาภาพรวมเศรษฐกิจยังไม่ค่อยดีนัก แต่มี 3 ปัจจัยหลักที่อาจช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงเวลานับจากนี้ให้กระเตื้องขึ้นมาบ้าง โดยหลายฝ่ายเชื่อว่าเศรษฐกิจไทยได้ผ่านจุดต่ำสุดมาแล้ว 3 ปัจจัยหรือสัญญาณเชิงบวกที่ได้รับการกล่าวถึงในด้านหนึ่งอยู่ที่การคาดการณ์ว่าจะมีการจับจ่ายใช้สอยจากงบประมาณภาครัฐมากขึ้น โดยเฉพาะงบประมาณการก่อสร้างสาธารณูปโภคพื้นฐาน หลังจากที่ก่อนหน้านี้มีความพยายามที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจอยู่เป็นระยะ ซึ่งอาจได้ผลระยะสั้นและเป็นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า รวมถึงปัจจัยว่าด้วยการส่งออกที่มีตัวเลขในช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมาบ่งชี้แนวโน้มเชิงบวกในหลายกลุ่มอุตสาหกรรม และมีการนำเข้าวัตถุดิบมาผลิตเพื่อส่งออกเพิ่มขึ้น ขณะที่ภาพรวมของการค้าชายแดนมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้น โดยเมียนมา กัมพูชา สปป.ลาว มีการนำเข้าสินค้าจากไทยมากขึ้น ก่อนหน้านี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทยได้ปรับประมาณการการเติบโตของเศรษฐกิจไทยปี 2560 อยู่ที่ 3.4% จากการส่งออกและการใช้จ่ายภาคครัวเรือนที่หนุนเศรษฐกิจไทยในช่วงครึ่งปีแรกให้โตกว่าที่คาด ในขณะที่เศรษฐกิจไทยในครึ่งปีหลังยังมีความท้าทาย จากแนวโน้มราคาน้ำมันที่โน้มอ่อนลง ส่งผลต่อการขยายตัวของมูลค่าการส่งออกที่คาดว่าจะช้าลงกว่าในช่วงครึ่งปีแรก รายได้เกษตรกรที่เริ่มชะลอลงจากผลผลิตที่ออกมาสู่ตลาดมาก โดยการใช้จ่ายภาครัฐและการท่องเที่ยวยังคงเป็นแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจในปี 2560 พร้อมกับระบุว่าการประกาศใช้ พ.ร.ก. การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560 ในช่วงที่ผ่านมา น่าจะส่งผลกระทบในปี 2560 ในขอบเขตจำกัด หรือคิดเป็นมูลค่าทางเศรษฐกิจประมาณ 12,400 ล้านบาท จากการที่ยืดระยะเวลาการบังคับใช้กฎหมายให้ทอดยาวออกไปอีก 6 เดือน ซึ่งน่าจะเพียงพอให้แรงงานต่างด้าวหมุนเวียนกันไปจัดการเรื่องเอกสารใบอนุญาตทำงานได้ โดยไม่ทำให้ธุรกิจต้องหยุดชะงักยาวนาน โดยเบื้องต้นประเมินผลกระทบที่จะส่งผ่านไปที่ตัวเลข GDP ราว 0.03% แต่ข้อเท็จจริงสำหรับผู้ประกอบการอีกด้านหนึ่ง

Read More