Home > Economic

ภาคเอกชน-ประชาชนเชื่อมั่นบวก เข็นจีดีพีไทยขึ้นภูเขา

นโยบายเปิดประเทศ และการปลดล็อกมาตรการต่างๆ ที่เคยนำมาใช้ในช่วงการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 เป็นสิ่งที่หลายฝ่ายรอคอย ทั้งภาคเอกชนและประชาชน จากมุมมองที่ว่านโยบายและมาตรการที่รัฐบาลพึงใช้ในยามนี้น่าจะเป็นการสร้างให้เกิดแรงขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจในช่วงปลายปีได้เป็นอย่างดี เมื่อดูจากจำนวนเที่ยวบินที่เกิดขึ้นในวันที่เปิดประเทศ (1 พ.ย. 2564) พบว่ามีสายการบินแจ้งทำการบินประมาณ 260 เที่ยวบิน และเป็นเที่ยวบินระหว่างประเทศ 91 เที่ยวบิน มีผู้โดยสารเดินทางมาที่สนามบินสุวรรณภูมิจำนวน 20,083 คน ซึ่งเป็นผู้โดยสารระหว่างประเทศ 6,613 คน นอกจากนี้ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิยังคาดการณ์ว่าตลอดเดือนพฤศจิกายนน่าจะมีเที่ยวบินประมาณ 12,133 เที่ยวบิน เป็นเที่ยวบินระหว่างประเทศ 6,501 เที่ยวบิน สำหรับผู้โดยสารคาดว่าจะมีมากกว่า 7 แสนคน ผู้โดยสารระหว่างประเทศอาจจะมีประมาณ 2.7 แสนคน แม้ว่าการเดินทางของประชาชน กิจกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากภาคเอกชนหลังประกาศใช้นโยบายดังกล่าว เสมือนเป็นการคลายความอัดอั้นของคนไทยจำนวนหนึ่ง แต่ต้องยอมรับว่าพฤติกรรมของผู้บริโภค และผู้ประกอบการส่วนหนึ่งเกิดจากความความเชื่อมั่นในมาตรการของรัฐที่เป็นองค์ประกอบสำคัญ แน่นอนว่าส่งผลโดยตรงต่อการขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจทุกระดับในท้ายที่สุด นายสนั่น อังอุบลกุล ประธานกรรมการหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ในฐานะประธานคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ประกอบด้วย สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสมาคมธนาคารไทย เปิดเผยว่า

Read More

เศรษฐกิจไทยยังเปราะบาง เร่งรัฐวางมาตรการฉุกเฉิน

สถานการณ์ทางเศรษฐกิจไทยในยุคหลังการแพร่ระบาดของ COVID-19 ที่ดำเนินต่อเนื่องมายาวนานกว่า 1 ปียังเป็นไปท่ามกลางความเปราะบางและไร้สัญญาณบวกที่จะพลิกฟื้นกลับมาโดยง่าย ขณะเดียวกันรายได้ครัวเรือนที่ปรับลดลง โดยเฉพาะกลุ่มครัวเรือนรายได้น้อยที่ยังไม่ฟื้นตัวจากการระบาดรอบก่อนและได้รับผลกระทบเพิ่มเติม ทำให้ต้องติดตามคุณภาพหนี้ในภาคครัวเรือนที่อาจด้อยลงในระยะต่อไป ผลกระทบจากการแพร่ระบาด COVID-19 ทำให้ภาคธุรกิจมีรายได้ลดลงและมีฐานะการเงินเปราะบางมากขึ้น โดยเฉพาะธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยวและบริการที่ยังไม่ฟื้นตัวจากการระบาดของโรค ขณะที่ธุรกิจ SMEs ประสบปัญหาความเสี่ยงด้านเครดิตที่ปรับสูงขึ้น ส่งผลให้สถาบันการเงินปล่อยสินเชื่อให้กลุ่มธุรกิจดังกล่าวน้อยลง และอาจทำให้ธุรกิจมีปัญหาขาดสภาพคล่องมากขึ้น บางธุรกิจมีโอกาสผิดนัดชำระหนี้และต้องยุติกิจการไปโดยปริยาย รายงานตัวเลขจีดีพีไตรมาส 4 ปี 2563 ของไทยยังติดลบเพิ่มอีกร้อยละ 4.2 จากไตรมาส 3 ที่ติดลบในระดับร้อยละ 6.4 ส่งผลให้จีดีพีปี 2563 ติดลบร้อยละ 6.1 ซึ่งเป็นอัตราการเติบโตที่ย่ำแย่ที่สุดในรอบ 22 ปีนับตั้งแต่เกิดวิกฤตต้มยำกุ้งในปี 2540 ซึ่งผลกระทบจาก COVID-19 ทำให้กระทบต่อภาคการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจในประเทศ ส่วนจีดีพีปี 2564 คาดว่าจะขยายตัวได้ที่ระดับร้อยละ 2.5-3.5 หรือเฉลี่ยที่ร้อยละ 3 ลดลงจากคาดการณ์เดิมที่ประเมินไว้ในระดับ 3.5-4.5 ประเด็นดังกล่าวสะท้อนความชัดเจนว่าเศรษฐกิจไทยยังไม่กลับเข้าสู่ศักยภาพเต็มที่ และยังมีปัญหาความเสี่ยงอยู่มาก รวมถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นในไตรมาส 1 ปีนี้ด้วย ซึ่งปัจจัยที่สนับสนุนให้เศรษฐกิจไทยขยายตัวในระดับร้อยละ

Read More

พินิจปัจจัยฟื้นตัวเศรษฐกิจไทย ส่งจีดีพีไทยติดลบน้อยลง

เศรษฐกิจไทยเดินทางมาถึงเดือนสุดท้ายของศักราช พร้อมกับรอยแผลที่บาดลึกจนเกิดแผลเป็น ที่แน่นอนแล้วว่า ผลพวงนั้นจะยังคงตามติดไปจนถึงศักราชใหม่อย่างไม่อาจเลี่ยง วิกฤตจากเชื้อไวรัสโควิดสร้างบาดแผลให้เกิดขึ้นกับผู้คนจำนวนไม่น้อย ผู้ประกอบการตั้งแต่รายเล็กจนถึงรายใหญ่ ต้องเผชิญกับความยากเข็ญในช่วงที่ผ่านมา หากสายป่านยาวอาจจะพอใช้ให้ยืนระยะต่อไปได้ ขณะที่ผู้ประกอบการบางรายจำเป็นต้องหยุดดำเนินกิจการชั่วคราวหรืออาจถาวร ด้านตลาดแรงงานไทยประสบปัญหาจากวิกฤตนี้ไม่ต่างกัน ข่าวเลิกจ้าง ลดค่าแรง ลดเวลาทำงาน ที่ปรากฏให้เห็นแบบรายวัน ส่งผลต่อรายได้ของประชาชนแทบทั้งสิ้น แน่นอนว่าปัจจัยด้านรายได้นี้กระทบต่อความสามารถในการดำรงชีวิต การจับจ่ายใช้สอย การชำระหนี้ อันนำมาซึ่งหนี้เสีย และกำลังซื้อของภาคประชาชนที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง สถานการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมในปีนี้ค่อยๆ ไต่ระดับลงจนกระทั่งติดลบในที่สุด แม้ไทยจะไม่ใช่ประเทศเดียวที่ต้องเผชิญกับวิกฤตทางเศรษฐกิจ ขณะที่ตัวเลขและจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ในประเทศไทยค่อยๆ ลดจำนวนลง และเจ้าหน้าที่ด้านสาธารณสุขไทยสร้างชื่อด้วยการควบคุมเชื้อไวรัสให้อยู่ในวงจำกัดได้เป็นอย่างดี ด้านรัฐบาลพยายามเร่งออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในทุกระดับฟันเฟือง และประชาชนส่วนใหญ่สามารถปรับตัวและเรียนรู้ที่จะอยู่รอดในวิกฤตที่เชื้อไวรัสยังคงมีอยู่และรอคอยวัคซีนด้วยความหวังที่จะทำให้วิกฤตนี้สิ้นสุดลง บริษัทผลิตวัคซีนเร่งพัฒนา ทดสอบ และผลิตเพื่อนำออกมาใช้กับประชากรโลก หลายประเทศที่มีบทบาทสำคัญต่อเศรษฐกิจโลกอยู่ในสภาวการณ์ที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง เช่น จีน ที่มีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ขณะที่อีกหลายประเทศควบคุมสถานการณ์ของเชื้อไวรัสในประเทศตัวเองได้ดีพอสมควร ปัจจัยต่างๆ ที่เกิดขึ้นทำให้ EIC หรือ ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ ปรับประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2020 เป็นหดตัวน้อยลงที่ -6.5% จากเดิมคาดว่า -7.8% มูลเหตุมาจากเศรษฐกิจไทยฟื้นตัวเร็วกว่าที่คาดไว้ในช่วงไตรมาส 3 ปี 2020 โดยจากข้อมูล GDP ในช่วงไตรมาส 3

Read More

อนาคตส่งออกไทย ความหวังในปีหนู

ความสิ้นหวังเกี่ยวกับสถานการณ์ส่งออกไทยในปี 2562 ที่ดูจะเลวร้ายกว่าที่ทุกฝ่ายคาดการณ์ โดยเฉพาะเมื่อพิจารณาจากข้อเท็จจริงที่ว่า การส่งออกไทยในปีหมูจะอยู่ในอัตราที่ติดลบหดตัวลงไม่น้อยกว่าร้อยละ 2.5-3.0 โดยการส่งออกสินค้าในเดือนธันวาคม เดือนสุดท้ายของปี 2562 มีแนวโน้มที่จะหดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 5 ขณะที่มูลค่าการส่งออกของไทยช่วง 11 เดือนแรกปี 2562 ว่า ยังติดลบต่อเนื่องที่ระดับร้อยละ 2.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมีมูลค่าการส่งออกรวม 227,090.3 ล้านเหรียญสหรัฐ ส่วนการส่งออกในเดือนพฤศจิกายนล่าสุด มีมูลค่ารวม 19,657 ล้านเหรียญสหรัฐ ติดลบร้อยละ 7.39 กลายเป็นข้อบ่งชี้ถึงความตกต่ำทางเศรษฐกิจไทยอย่างยากปฏิเสธ และเกินกว่าที่จะเยียวยาได้ทัน การส่งออกสินค้าของไทยในเดือนพฤศจิกายน 2562 ที่มีมูลค่ารวมอยู่ที่ 19,657 ล้านเหรียญสหรัฐ นับเป็นมูลค่าการส่งออกที่อยู่ในระดับต่ำกว่า 20,000 ล้านเหรียญสหรัฐ เป็นครั้งแรกในรอบ 7 เดือน และนับเป็นการหดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 นับตั้งแต่เดือนสิงหาคมที่ผ่านมา โดยติดลบระดับร้อยละ 7.4 ซึ่งนับเป็นการหดตัวมากที่สุดในรอบ 43 เดือน (ตั้งแต่เดือนเมษายน 2559 เป็นต้นมา)

Read More

จับชีพจรอสังหาริมทรัพย์ บน 3 มาตรการกระตุ้นของรัฐ

ความซบเซาของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ดูจะเป็นอีกหนึ่งในความกังวลใจทางเศรษฐกิจของไทย หลังจากที่พบว่านอกจากปริมาณบ้านและที่อยู่อาศัยจะมีอยู่อย่างล้นเกินความต้องการของตลาดแล้ว กำลังซื้อของผู้บริโภคยังหดหายจากผลของภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว จนเป็นเหตุให้ผู้ประกอบการจำนวนหนึ่งต้องปิดหรือเลื่อนการเปิดโครงการลงทุนใหม่ๆ ออกไป ปัจจัยหนึ่งที่ถูกระบุว่าเป็นเหตุแห่งการชะลอตัวในตลาดอสังหาริมทรัพย์ในช่วงที่ผ่านมาอยู่ที่การประกาศเกณฑ์การกำกับดูแลสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยใหม่ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ที่มีการปรับเกณฑ์ด้านอัตราส่วนสินเชื่อต่อมูลค่าหลักประกัน หรือ LTV ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2562 และจำนวนเงินในการวางเงินดาวน์เปลี่ยนไป ขณะที่ธนาคารที่จะปล่อยสินเชื่อถูกควบคุมให้ปล่อยวงเงินกู้รวมที่เกี่ยวกับบ้านไม่เกินร้อยละ 100 ของหลักทรัพย์ที่ค้ำประกัน ผลของประกาศดังกล่าวสะท้อนออกมาเป็นตัวเลขยอดการโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลซึ่งเป็นตลาดหลัก ในช่วงไตรมาสที่ 1 ปี 2562 ที่มีจำนวนหน่วยการโอนปรับตัวสูงขึ้นร้อยละ 13.5 และมีมูลค่ารวมกว่า 1.33 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า ซึ่งเป็นการเร่งโอนกรรมสิทธิ์ก่อนที่เกณฑ์ LTV จะมีผลบังคับใช้ ขณะที่ในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี 2562 ยอดการโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยในกรุงเทพฯ-ปริมณฑล มีจำนวนหน่วยการโอนลดลงร้อยละ 18.9 และมีมูลค่าลดลงร้อยละ 16.5 จากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน แม้ว่าต่อมาในวันที่ 7 พฤษภาคม 2562 คณะรัฐมนตรีจะพยายามบรรเทาผลกระทบธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ด้วยการออกมาตรการลดค่าธรรมเนียมการโอนและจดจำนองเหลือร้อยละ 0.01 สำหรับที่อยู่อาศัยราคาไม่เกิน 1

Read More

ยุคเข็ญเศรษฐกิจไทย กลไกรัฐหมดแรงขับเคลื่อน

ความเป็นไปของเศรษฐกิจไทยในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีหมู 2562 ดูจะไม่ปรากฏสัญญาณบวกหรือกระเตื้องขึ้นตามที่กลไกรัฐคาดหวัง หากแต่ยังอยู่ในทิศทางตรงกันข้ามและถูกถมทับด้วยปัจจัยลบ ที่ก่อให้เกิดความกังวลใจอย่างกว้างขวางว่าเศรษฐกิจไทยในห้วงเวลานับจากนี้จะเดินหน้าเข้าสู่จุดวิกฤต และเผชิญกับภาวะที่ไม่พึงประสงค์ที่กำลังคืบใกล้เข้ามา แม้ว่าตลอดระยะเวลา 5-6 ปีที่ผ่านมา รัฐนาวา ภายใต้การนำของ ประยุทธ์ จันทร์โอชา จะพยายามโหมประโคมและระบุว่าเศรษฐกิจไทยอยู่ในภาวะที่ฟื้นตัวขึ้นจากความซบเซา และกำลังดำเนินไปอย่างราบรื่นภายใต้เป้าหมายทางยุทธศาสตร์ หากแต่ข้อเท็จจริงที่ปรากฏอยู่เบื้องหน้ากลับกลายเป็นการปรับลดต่ำลงของตัวเลขสำคัญทางเศรษฐกิจ จนเป็นเหตุให้คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ต้องมีการปรับลดประมาณการและคาดการณ์การขยายตัวทางเศรษฐกิจ หรือ จีดีพี ลงมาอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี ก่อนที่ล่าสุดจะปรับลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 2.6 ทั้งที่รัฐบาลจะทุ่มเทเงินงบประมาณจำนวนกว่า 3 แสนล้านบาทด้วยหวังว่าจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี แต่ดูเหมือนว่าความพยายามดังกล่าวจะอยู่ไกลจากเป้าหมายที่วางไว้ ก่อนหน้านี้ รัฐบาลไทยได้กำหนดเป้าหมายการเติบโตทางเศรษฐกิจของปี 2562 ไว้ที่การเติบโตร้อยละ 3 พร้อมกับการดำเนินมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจแบบลดแลกแจกแถมสารพัด แต่ดูเหมือนว่ามาตรการของรัฐเหล่านี้จะไม่ได้ส่งผลในเชิงบวกมากนัก ขณะที่ผลการสำรวจความเห็นของประชาชนโดยสวนดุสิตโพล พบว่าประชาชนกว่าร้อยละ 65.54 ระบุว่ารัฐบาลแก้ปัญหาเศรษฐกิจไม่ได้ และทำให้เกิดปัญหาข้าวของแพง และมีปัญหาการว่างงาน กลายเป็นปัญหาเศรษฐกิจที่รุมเร้าในปัจจุบัน ประเด็นที่น่าสนใจจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำที่ดำเนินอยู่ในปัจจุบัน ประการหนึ่งอยู่ที่การประเมินปัญหาที่รุมเร้าว่าหากมองว่าเศรษฐกิจย่ำแย่ ก็จะเกิดความรู้สึกรับรู้ว่าย่ำแย่ และนำไปสู่ความรู้สึกโดยรวมที่ไม่ดีขาดความมั่นใจ จนนำไปสู่ภาวะชะลอตัวในการบริโภคและการลงทุน ซึ่งทัศนะเช่นว่านี้ทำให้กลไกรัฐดูจะไม่ได้ยืนอยู่บนตรรกะและข้อเท็จจริงของสภาพที่เผชิญอยู่ และพยายามเน้นย้ำว่าเศรษฐกิจไทยยังไปได้ ทั้งที่สถานการณ์โดยรวมไม่ได้เป็นไปตามที่เอ่ยอ้างเช่นนั้น การออกมายอมรับของ สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี ว่าเศรษฐกิจไทยซึ่งเคยขับเคลื่อนด้วยการส่งออก

Read More

จากสงครามการค้าสู่ GSP แผลกดทับคุกคามเศรษฐกิจไทย

สถานการณ์ทางเศรษฐกิจของไทยในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2562 นอกจากจะปราศจากสัญญาณบวกที่จะมาช่วยกระตุ้นให้เกิดความตื่นตัวกระเตื้องขึ้นในระยะสั้นแล้ว ดูเหมือนว่าในระยะยาวที่ถัดออกไปสภาพเศรษฐกิจไทยโดยรวมก็ถูกกระหน่ำด้วยปัจจัยลบและความเสี่ยงที่ฉุดรั้งทั้งความเชื่อมั่นและศักยภาพในการพัฒนาที่น่ากังวลไม่น้อยเลย ภาวะชะลอตัวลงอย่างต่อเนื่องของเศรษฐกิจไทยตลอดช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา มักได้รับการอธิบายจากภาครัฐว่าเป็นผลมาจากปัจจัยภายนอกว่าด้วยข้อพิพาททางการค้าระหว่างจีนและสหรัฐอเมริกา ซึ่งทำให้เกิดภาวะชะลอตัวทางเศรษฐกิจแผ่กว้างไปทั่วทุกมุมของโลก แม้ว่าเศรษฐกิจไทยจะยังมีพื้นฐานที่ดี และกำลังดำเนินไปบนหนทางที่ถูกต้องเหมาะสมตามแนวทางและวิสัยทัศน์ที่รัฐบาลได้กำหนดวางไว้ตั้งแต่เมื่อ 5-6 ปีที่ผ่านมา และเป็นไปตามทิศทางการพัฒนาของยุทธศาสตร์ระยะยาวอีก 20 ปีข้างหน้าก็ตาม ตัวเลขการขยายตัวเติบโตทางเศรษฐกิจที่มีแนวโน้มลดต่ำลงอย่างต่อเนื่องในแต่ละไตรมาสในลักษณะที่พร้อมสร้างปรากฏการณ์จุดต่ำสุดใหม่ครั้งแล้วครั้งเล่า ได้รับการอธิบายว่ายังเป็นตัวเลขที่สะท้อนการขยายตัวอยู่แต่น้อยลงเมื่อเทียบกับช่วงก่อนหน้าเท่านั้น และไม่ใช่สิ่งที่ควรวิตกกังวลมากนัก เพราะรัฐบาลดำเนินนโยบายเศรษฐกิจมาถูกทางแล้ว และผู้ประกอบการรวมถึงประชาชนควรปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์มากกว่าที่จะเรียกร้องมาตรการความช่วยเหลือจากรัฐ กรณีที่ว่านี้ ส่งผลทำให้ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคจากการสำรวจในแต่ละเดือน ลดต่ำลงอย่างต่อเนื่อง โดยในเดือนตุลาคม 2562 ที่ผ่านมาดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคทุกรายการปรับตัวลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 8 และอยู่ในจุดต่ำสุดในรอบ 18 ปี แม้ว่าจะมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐที่โหมประโคมออกมาอย่างหนักก็ตาม เหตุปัจจัยที่ปรากฏจริงอยู่เบื้องหน้าไม่สามารถฉุดรั้งความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์เศรษฐกิจทั้งใน-นอกประเทศได้ ที่พร้อมจะนำไปสู่ความไม่เชื่อมั่นในศักยภาพและความสามารถของกลไกภาครัฐในการผลักดันมาตรการและนโยบายเศรษฐกิจอย่างมีประสิทธิภาพ และกลายเป็นเงื่อนไขว่าด้วยความกังวลใจในเสถียรภาพทางการเมืองในอนาคต ดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับเศรษฐกิจโดยรวมในระดับ 57.9 ดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับโอกาสหางานทำโดยรวมในระดับ 67.0 และดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับรายได้ในอนาคตซึ่งอยู่ที่ระดับ 87.3 สะท้อนการปรับตัวลดลงทุกรายการ เมื่อเทียบกับดัชนีในเดือนกันยายน ที่อยู่ในระดับ 59.3 68.5 และ 88.9 ตามลำดับ ขณะที่ดัชนีซึ่งอยู่ในระดับต่ำกว่าปกติและถอยห่างจากระดับที่ 100 แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนถึงความรู้สึกและจิตวิทยาของสังคมว่าผู้บริโภคไม่มีความมั่นใจเกี่ยวกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ โอกาสในการหางานทำ และรายได้ในอนาคตเพิ่มมากขึ้นทุกขณะ ความเป็นไปดังกล่าวส่งผลให้ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในปัจจุบันปรับตัวลดลงจากระดับ 47.9 มาอยู่ที่ระดับ 46.5

Read More

ภาวะเศรษฐกิจไทย เมื่อถึงคราวเครื่องยนต์ดับ!

สถานการณ์ทางเศรษฐกิจไทยช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2562 นอกจากจะปราศจากสัญญาณเชิงบวกที่จะช่วยผลักดันให้เกิดความหวังว่าด้วยการฟื้นตัวอย่างที่หลายฝ่ายเฝ้าติดตามแล้ว ดูเหมือนว่าผลกระทบว่าด้วยการชะลอตัวลงของเศรษฐกิจทั้งภายในประเทศและระดับนานาชาติ ยังมีผลให้ภาคการผลิตของไทยได้รับผลกระทบต่อเนื่องจนอาจจะเป็นเหตุให้เกิดการจ้างงานในอนาคตอันใกล้นี้ด้วย การส่งออกของไทยที่ตกต่ำลงจะอยู่ในภาวะติดลบต่อเนื่องในระดับร้อยละ 1.5-2.0 ส่งผลให้เกิดภาวะชะลอตัวในการจ้างแรงงานในภาคการผลิต โดยเฉพาะการผลิตเพื่อการส่งออก โลจิสติกส์ ค้าปลีกและค้าส่ง ที่ส่งสัญญาณชะลอตัวจากช่วงเดียวกันของปีก่อนอย่างมาก สัญญาณการจ้างงานที่ลดต่ำลง ในด้านหนึ่งเป็นผลมาจากการที่ผู้ประกอบการบางส่วนปรับเปลี่ยนเทคโนโลยีการผลิต ไปสู่กระบวนการผลิตที่มีวิทยาการสูงขึ้น รวมถึงการใช้หุ่นยนต์หรือ AI เข้ามาประกอบส่วน ซึ่งกรณีเช่นว่านี้กลายเป็นความเสี่ยงต่อตลาดแรงงานโดยเฉพาะนักศึกษาจบใหม่ที่กำลังจะเข้าสู่ระบบในช่วงเดือนมีนาคมถึงเมษายน 2563 อีกประมาณ 5.24 แสนคน ซึ่งกำลังจะกลายเป็นอีกหนึ่งในมิติของปัญหาทางเศรษฐกิจสังคมที่สังคมไทยจะต้องเผชิญ เพราะจะทำให้สังคมไทยต้องแบกหนักและประสบปัญหาภาวะว่างงานสูงขึ้น ขณะที่กลไกรัฐจำเป็นต้องออกมาตรการประคับประคองสถานการณ์และกระตุ้นเศรษฐกิจเพื่อให้เกิดการบริโภคภายในก่อนที่จะทรุดหนักไปมากกว่านี้ ความหนักหน่วงของสถานการณ์การเลิกจ้างแรงงานสามารถประเมินได้จากสัญญาณจากมาตรการขึ้นต้นว่าด้วยการเริ่มไม่รับพนักงานใหม่เพิ่มเข้าสู่กระบวนการผลิตแทนตำแหน่งที่ว่าง การใช้หุ่นยนต์หรือเครื่องจักรอัตโนมัติในกระบวนการผลิตมากขึ้น ไปสู่การเลิกจ้างบริษัทภายนอกเกี่ยวกับแรงงาน การลดค่าล่วงเวลา การลดชั่วโมงการทำงาน ไปจนสู่การปิดไลน์การผลิต และการปิดสาขาหรือโรงงานการผลิตที่ไม่จำเป็น จนถึงการปลดออกแรงงานในที่สุด ข้อเท็จจริงที่น่าสนใจเกี่ยวกับตลาดแรงงานไทยในห้วงเวลาปัจจุบันอยู่ที่แรงงานไทยในทุกภาคการผลิตมีอยู่ประมาณ 37.6 ล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ 56.5 ของประชากรทั้งหมด ขณะที่กลไกการขับเคลื่อนเศรษฐกิจหลักทั้งการส่งออก การลงทุน การบริโภคลดลง มีเพียงภาคการท่องเที่ยวที่เติบโตในปี 2562 ซึ่งกลายเป็นปัจจัยกดดันการจ้างงานปีนี้และต่อเนื่องถึงปี 2563 โดยเฉพาะช่วงไตรมาสแรกถึงไตรมาสสองของปีหน้าอีกด้วย ปัจจัยลบที่จะมีผลต่อตลาดแรงงานในระยะต่อไป นอกเหนือจากการเริ่มเข้าสู่ยุคดิจิทัลที่เน้นเทคโนโลยีแทนคนเพิ่มขึ้นแล้ว เงื่อนไขการส่งเสริมการลงทุนที่เน้นอุตสาหกรรมเป้าหมายที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง รวมถึงเศรษฐกิจโลกที่อยู่ในวัฏจักรชะลอตัว กำลังจะส่งผลให้เกิดการว่างงานอย่างกว้างขวาง แต่ด้วยเหตุที่แรงงานไทยจำนวนไม่น้อยเป็นแรงงานนอกระบบ ทำให้ดูเหมือนว่าประเทศไทยมีอัตราการว่างงานอยู่ในเกณฑ์ต่ำ

Read More

จับตาอนาคตเศรษฐกิจไทย แข่งขันดุเดือด-โอกาสลดลง?

การเดินทางเข้าสู่ไตรมาสสุดท้ายของปี 2562 ด้วยสถานการณ์ที่เรียกได้ว่าหืดจับ เมื่อเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของไทยต้องแขวนและฝากความหวังไว้กับความเป็นไปของเศรษฐกิจโลก และประเทศคู่ค้า รวมไปถึงต้องพึ่งพาอาศัยนักลงทุนจากต่างชาติ ที่จะช่วยให้ฟันเฟืองในระบบหมุนไปได้ตามครรลองที่พึงจะเป็น ตลอดระยะเวลาที่ไทยถูกนำพาและบริหารประเทศด้วยรัฐบาลทหาร กระทั่งการเลือกตั้งเกิดขึ้น เราไม่อาจหลีกหนีข้อเท็จจริงที่ว่า การเข้ามาบริหารประเทศของรัฐบาลทหารในช่วงที่การเมืองกำลังระอุนั้น นำมาซึ่งความสงบเรียบร้อย ทว่า อีกความจริงที่ไม่อาจหลีกหนีได้เช่นกัน คือความง่อนแง่นของเสถียรภาพทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง กระนั้นหากจะโยนความผิดไปที่การบริหารประเทศของรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เพียงอย่างเดียวดูจะไม่ยุติธรรมนัก เมื่อความเป็นจริงคือ เศรษฐกิจของประเทศไทยจะขับเคลื่อนไปข้างหน้าได้ จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องพึ่งพาอาศัยแรงขับจากปัจจัยภายนอกเป็นส่วนใหญ่ ทั้งด้านการท่องเที่ยว ที่ต้องอาศัยตลาดนักท่องเที่ยวต่างชาติ ภาคการส่งออกที่ปัจจุบันได้รับผลกระทบจากสงครามการค้าที่ยังยืดเยื้อ แม้จะไม่ร้อนแรงดุเดือดเท่าในระยะแรก แต่ก็สร้างบาดแผลลึกให้กับอุตสาหกรรมการส่งออกของไทยไม่น้อย หรือด้านการลงทุน ที่นักลงทุนส่วนใหญ่เฝ้ารอสัญญาณความมั่นคงของรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง รวมไปถึงนโยบายสำคัญที่จะมีส่วนในการตัดสินใจ ที่จะเลือกและย้ายฐานการผลิตมายังประเทศไทย คล้ายกับว่าในห้วงยามนี้ ไทยยังต้องเผชิญคลื่นลมพายุที่ถาโถมเข้ามาอย่างต่อเนื่อง เพราะนอกจากต้องแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นภายในประเทศ ที่พร้อมใจกันดาหน้าเข้ามาอย่างไม่หยุดหย่อนแล้ว ยังต้องระดมสรรพกำลังเพื่อหาทางออกบนเวทีโลก เมื่อมีการแข่งขันนัดสำคัญรออยู่ ประเด็นที่น่าขบคิดในเวลานี้คือ ทิศทางและอนาคตของอุตสาหกรรมไทยจะดำเนินไปอย่างไร เมื่อไทยเริ่มมีคู่แข่งที่หลายคนให้คำจำกัดความว่า “โตเงียบ” อย่างประเทศเวียดนาม ข่าวคราวจากหลากหลายช่องทางให้ข้อมูลไปในทิศทางเดียวกันว่า เวลานี้ เวียดนามกำลังเนื้อหอม และเป็นที่หมายตาของนักลงทุน ทั้งนักลงทุนหน้าใหม่รวมไปถึงนักลงทุนที่ต้องการย้ายฐานการผลิตออกจากประเทศคู่ค้าสงคราม เพื่อหลีกหนีผลกระทบจากการปรับขึ้นภาษีของทั้งจีนและสหรัฐฯ เหตุผลหลักๆ ที่เวียดนามสามารถก้าวขึ้นมายืนบนเวทีโลกและพร้อมจะแข่งขันกับประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคอาเซียน ในฐานะประเทศอุตสาหกรรมเกิดใหม่ คือเรื่องอัตราค่าแรงขั้นต่ำ ปัจจุบันอัตราค่าแรงขั้นต่ำในประเทศเวียดนามคือ 160,000 ดอง ถึง 230,000 ดอง

Read More

เศรษฐกิจไทยปลายปี 62 ดำดิ่งสู่จุดต่ำสุดใหม่?

ความเป็นไปของภาวะเศรษฐกิจไทยในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2562 ยังคงดำเนินไปอย่างไร้สัญญาณบวกที่จะส่งผลให้เกิดการกลับตัวทะยานขึ้น หลังจากที่ต้องตกอยู่ในภาวะถดถอยและทรุดตัวต่ำลงอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ดัชนีชี้วัดทางเศรษฐกิจเกือบทุกชนิดที่ใช้อ้างอิงก็บ่งชี้ไปในทิศทางที่ไม่ได้เอื้ออำนวยให้เกิดความมั่นใจในการเผชิญหน้ากับอนาคตที่กำลังจะคืบคลานเข้ามา ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในช่วงที่ผ่านมา ได้ปรับตัวลดลงอย่างหนัก โดยในเดือนสิงหาคม 2562 พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคทุกรายการปรับตัวลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 6 แม้ว่ารัฐบาลจะพยายามเร่งเร้ามาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจภายใต้มูลค่าของงบประมาณกว่า 3.16 แสนล้านบาท เหตุที่เป็นดังนั้นก็เนื่องเพราะผู้บริโภคยังมีความกังวลเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจไทยที่ยังฟื้นตัวช้าและกำลังซื้อของประชาชนยังไม่ฟื้นตัวขึ้นมากนัก ขณะเดียวกัน ผู้บริโภคยังมีความกังวลเกี่ยวกับเสถียรภาพทางการเมืองทั้งในปัจจุบันและในอนาคต ประกอบกับสถานการณ์ความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลกเนื่องจากข้อพิพาททางการค้าระหว่างสหรัฐอเมริกาและจีนที่มีความรุนแรงมากขึ้น ประเด็นที่น่าสนใจจากตัวเลขดัชนีความเชื่อมั่นที่สะท้อนออกมาครั้งล่าสุดอยู่ที่ดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับเศรษฐกิจโดยรวมซึ่งอยู่ในระดับ 60.9 ดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับโอกาสหางานทำโดยรวมที่ระดับ 69.7 และดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับรายได้ในอนาคตอยู่ที่ระดับ 90.4 ซึ่งถือเป็นการปรับตัวลดลงในทุกรายการ เมื่อเทียบกับดัชนีในเดือนกรกฎาคม ที่อยู่ในระดับ 62.2 70.9 และ 91.9 ตามลำดับ โดยดัชนีความเชื่อมั่นที่ยังอยู่ในระดับต่ำกว่าปกติ (ที่ระดับ 100) แสดงให้เห็นว่าผู้บริโภคยังไม่มีความมั่นใจเกี่ยวกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ โอกาสในการหางานทำ และรายได้ในอนาคตมากนัก การปรับตัวลดลงของดัชนีในทุกรายการอย่างต่อเนื่องนี้ ส่งผลให้ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภค (Consumer Confidence Index: CCI) ปรับตัวลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 6 และอยู่ในระดับต่ำสุดในรอบ 33เดือน นับตั้งแต่เดือนธันวาคม 2559 เป็นต้นมา จากระดับ 75.0

Read More