Home > การส่งออก

ส่งออกไทยโต อานิสงส์จากตลาดโลกฟื้น สวนทางการค้าในประเทศ

แม้การพึ่งพาตลาดต่างชาติมากเกินไปจะส่งผลเสียเชิงโครงสร้างเศรษฐกิจไทย เมื่อยามที่เกิดวิกฤตเช่นปัจจุบัน ที่โลกกำลังเผชิญหน้าและต่อสู้กับสงครามไวรัส ทว่า การฟื้นตัวของตลาดโลกในหลายประเทศในเวลาอันรวดเร็วกลับส่งผลดีต่อภาคการส่งออกของไทยในหลายมิติ โดยเฉพาะจีนที่เอาชนะโควิด-19 ได้ในเวลาไม่นาน และเริ่มขับเคลื่อนเศรษฐกิจในประเทศของตัวเอง ซึ่งนั่นไม่เพียงแต่จะสร้างแรงกระเพื่อมในระบบเศรษฐกิจของประเทศตัวเองเท่านั้น แต่ยังแผ่อานิสงส์ไปสู่ประเทศอื่นๆ ที่เป็นคู่ค้าสำคัญอีกด้วย ในเวลานี้อุตสาหกรรมที่กลายเป็นฟันเฟืองตัวสำคัญในระบบเศรษฐกิจไทยคือ ภาคการส่งออก ที่แม้ว่าจะทำงานอย่างหนักแต่เมื่อเห็นผลลัพธ์แล้วคงพอหายใจหายคอได้ เพราะยามนี้ภาคการลงทุนหรือภาคการท่องเที่ยวยังไม่สามารถสร้างรายได้แก่ไทยได้อย่างที่เคยเป็นมา และยังไม่มีคำตอบว่าเครื่องจักรสำคัญนี้จะสามารถกลับมาเดินเครื่องแบบเต็มสูบได้อีกครั้งเมื่อไหร่ แม้ว่าภาคการท่องเที่ยวไทย ที่กำลังพยายามอย่างหนักและน่าจะฝากความหวังไว้ได้กับโครงการภูเก็ตแซนด์บ็อกซ์ ทว่า เงื่อนไขสำคัญที่จะทำให้โครงการนี้ประสบความสำเร็จ คือการไม่มีผู้ติดเชื้อในจังหวัดภูเก็ตสูงเกินกว่า 90 รายต่อวัน นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยแวดล้อมที่น่าเป็นกังวลว่าอาจจะส่งผลต่อความปลอดภัยของนักท่องเที่ยวในจังหวัด นั่นคือการชุมนุมทางการเมือง ที่อาจสร้างความเสียหายและกระทบต่อโครงการนำร่องครั้งนี้ รายงานสรุปจากศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ เปิดเผยว่า ตัวเลขภาคการส่งออกในเดือนมิถุนายนขยายตัวสูงตามการค้าโลกที่ปรับเพิ่มต่อเนื่องและฐานต่ำในระยะต่อไป ส่งออกยังมีแนวโน้มขยายตัวได้ แต่ยังต้องจับตาความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้น โดยมูลค่าการส่งออกเดือนมิถุนายน 2021 ขยายตัวถึง 43.8% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันกับปีก่อนหน้า นับเป็นอัตราการขยายตัวที่สูงสุดในรอบ 11 ปี และหากหักทองคำการส่งออกจะขยายตัว 43.4% ทำให้ในช่วงครึ่งแรกของปี 2021 มูลค่าการส่งออกขยายตัวที่ 15.5% และหากไม่รวมทองคำการส่งออกจะเติบโตถึง 22.4% ด้านการส่งออกรายสินค้าพบว่าการส่งออกสินค้าสำคัญทุกประเภทมีการขยายตัว โดยสินค้าสำคัญที่ขยายตัวสูง ได้แก่ รถยนต์และส่วนประกอบ ผลไม้สดแช่เย็น แช่แข็งและแห้ง ผลิตภัณฑ์ยาง

Read More

จับตาอนาคตเศรษฐกิจไทย แข่งขันดุเดือด-โอกาสลดลง?

การเดินทางเข้าสู่ไตรมาสสุดท้ายของปี 2562 ด้วยสถานการณ์ที่เรียกได้ว่าหืดจับ เมื่อเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของไทยต้องแขวนและฝากความหวังไว้กับความเป็นไปของเศรษฐกิจโลก และประเทศคู่ค้า รวมไปถึงต้องพึ่งพาอาศัยนักลงทุนจากต่างชาติ ที่จะช่วยให้ฟันเฟืองในระบบหมุนไปได้ตามครรลองที่พึงจะเป็น ตลอดระยะเวลาที่ไทยถูกนำพาและบริหารประเทศด้วยรัฐบาลทหาร กระทั่งการเลือกตั้งเกิดขึ้น เราไม่อาจหลีกหนีข้อเท็จจริงที่ว่า การเข้ามาบริหารประเทศของรัฐบาลทหารในช่วงที่การเมืองกำลังระอุนั้น นำมาซึ่งความสงบเรียบร้อย ทว่า อีกความจริงที่ไม่อาจหลีกหนีได้เช่นกัน คือความง่อนแง่นของเสถียรภาพทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง กระนั้นหากจะโยนความผิดไปที่การบริหารประเทศของรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เพียงอย่างเดียวดูจะไม่ยุติธรรมนัก เมื่อความเป็นจริงคือ เศรษฐกิจของประเทศไทยจะขับเคลื่อนไปข้างหน้าได้ จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องพึ่งพาอาศัยแรงขับจากปัจจัยภายนอกเป็นส่วนใหญ่ ทั้งด้านการท่องเที่ยว ที่ต้องอาศัยตลาดนักท่องเที่ยวต่างชาติ ภาคการส่งออกที่ปัจจุบันได้รับผลกระทบจากสงครามการค้าที่ยังยืดเยื้อ แม้จะไม่ร้อนแรงดุเดือดเท่าในระยะแรก แต่ก็สร้างบาดแผลลึกให้กับอุตสาหกรรมการส่งออกของไทยไม่น้อย หรือด้านการลงทุน ที่นักลงทุนส่วนใหญ่เฝ้ารอสัญญาณความมั่นคงของรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง รวมไปถึงนโยบายสำคัญที่จะมีส่วนในการตัดสินใจ ที่จะเลือกและย้ายฐานการผลิตมายังประเทศไทย คล้ายกับว่าในห้วงยามนี้ ไทยยังต้องเผชิญคลื่นลมพายุที่ถาโถมเข้ามาอย่างต่อเนื่อง เพราะนอกจากต้องแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นภายในประเทศ ที่พร้อมใจกันดาหน้าเข้ามาอย่างไม่หยุดหย่อนแล้ว ยังต้องระดมสรรพกำลังเพื่อหาทางออกบนเวทีโลก เมื่อมีการแข่งขันนัดสำคัญรออยู่ ประเด็นที่น่าขบคิดในเวลานี้คือ ทิศทางและอนาคตของอุตสาหกรรมไทยจะดำเนินไปอย่างไร เมื่อไทยเริ่มมีคู่แข่งที่หลายคนให้คำจำกัดความว่า “โตเงียบ” อย่างประเทศเวียดนาม ข่าวคราวจากหลากหลายช่องทางให้ข้อมูลไปในทิศทางเดียวกันว่า เวลานี้ เวียดนามกำลังเนื้อหอม และเป็นที่หมายตาของนักลงทุน ทั้งนักลงทุนหน้าใหม่รวมไปถึงนักลงทุนที่ต้องการย้ายฐานการผลิตออกจากประเทศคู่ค้าสงคราม เพื่อหลีกหนีผลกระทบจากการปรับขึ้นภาษีของทั้งจีนและสหรัฐฯ เหตุผลหลักๆ ที่เวียดนามสามารถก้าวขึ้นมายืนบนเวทีโลกและพร้อมจะแข่งขันกับประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคอาเซียน ในฐานะประเทศอุตสาหกรรมเกิดใหม่ คือเรื่องอัตราค่าแรงขั้นต่ำ ปัจจุบันอัตราค่าแรงขั้นต่ำในประเทศเวียดนามคือ 160,000 ดอง ถึง 230,000 ดอง

Read More

ส่งออกติดลบ ฟันเฟืองเศรษฐกิจไทยตัวไหนทำงาน

สงครามการค้าระหว่างสหรัฐอเมริกากับจีนดูจะยังหลอกหลอน และสร้างผลกระทบเป็นวงกว้างให้แก่อุตสาหกรรมการส่งออกของไทย ที่เป็นเสมือนฟันเฟืองสำคัญในระบบเศรษฐกิจ หากจะพินิจพิเคราะห์กันอย่างรอบด้านด้วยใจเป็นธรรมแล้ว สถานการณ์เศรษฐกิจไทยที่กำลังถดถอยอยู่ในขณะนี้ ไทยไม่ได้เป็นประเทศเดียวที่กำลังเผชิญกับสถานการณ์อันเลวร้าย ท่ามกลางเศรษฐกิจโลกที่อยู่ในภาวะชะลอตัว และอีกหลายประเทศทั่วโลกกำลังประสบกับวิกฤตที่ไม่ต่างกันเท่าใดนัก แต่สำหรับระบบเศรษฐกิจไทยที่มีฟันเฟืองขับเคลื่อนให้เดินไปข้างหน้าได้เพียงไม่กี่ตัว ทำให้หลายฝ่ายแสดงความวิตกกังวลว่า ไทยจะหลุดพ้นจากสถานการณ์ที่ยากลำบากนี้ไปได้อย่างไร เมื่อสถานการณ์ส่งออกของไทยอยู่ในภาวะติดลบและขาดดุลในรอบหลายปี นอกจากนี้ ยังมีการคาดการณ์จากมหาวิทยาลัยหอการค้าไทยว่า ส่งออกไทยในช่วงครึ่งปีหลังจะติดลบ 0.64 เปอร์เซ็นต์ โดยคาดว่ามูลค่าการส่งออกทั้งปี 2562 มีมูลค่า 251,338 ล้านเหรียญสหรัฐ และปัจจัยที่ส่งผลต่อการส่งออกไทยคือ สถานการณ์เศรษฐกิจโลกที่เข้าสู่ภาวะชะลอตัว สงครามการค้าระหว่างจีนกับสหรัฐฯ อัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาทของไทยที่ยังมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่อง การทำเอฟทีเอระหว่างเวียดนามและสหภาพยุโรป ที่น่าจะมีผลกระทบต่อการส่งออกของไทย และกรณี Brexit ห้วงยามนี้ฟันเฟืองการส่งออกของไทยที่เคยเป็นหัวใจสำคัญในการขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจไทยดูจะอ่อนประสิทธิภาพลง และหากจะพิจารณาฟันเฟืองตัวอื่นๆ ทั้งอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว การเกษตร และภาคอุตสาหกรรมล้วนแล้วแต่อยู่ที่ย่ำแย่จนถึงติดลบ แม้จะมีการขยายตัวอยู่บ้างในบางอุตสาหกรรม ทว่าเมื่อพิจารณาตัวเลขการขยายตัวยังไม่เป็นที่น่าพอใจเท่าใดนัก ซึ่งสำนักงานเศรษฐกิจการคลังเปิดเผยข้อมูลตัวเลข รายได้เกษตรกรที่แท้จริงในช่วงเดือนเมษายนหดตัว -3.0 เปอร์เซ็นต์ จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเติบโตเพียง 3.3 เปอร์เซ็นต์ มูลค่าการส่งออกหดตัว -2.6 เปอร์เซ็นต์ ก่อนหน้านี้หลายฝ่ายให้ความเห็นว่า ความล่าช้าในการจัดตั้งรัฐบาลเป็นหนึ่งเหตุผลสำคัญที่ทำให้นักลงทุนขาดความเชื่อมั่น แต่เวลานี้คงต้องพิจารณากันใหม่ว่า เมื่อรัฐบาลจัดตั้งเรียบร้อยแล้วจะยังสามารถเรียกความเชื่อมั่นให้แก่นักลงทุนได้หรือไม่ เมื่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2562 มีมติเห็นชอบแต่งตั้ง พล.อ.ประยุทธ์

Read More

พิษค่าบาทแข็ง ท่องเที่ยวซบ-ส่งออกฟุบ

แม้ว่าพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ในนามประยุทธ์ 2/1 จะส่งผลให้สถานการณ์แห่งความคลุมเครือทางการเมืองไทยคลี่คลายไปในระดับหนึ่ง หากแต่ในอีกด้านหนึ่งสถานการณ์ทางเศรษฐกิจของไทยดูจะยังเผชิญกับวิบากกรรมและความผันผวนไม่แน่นอนที่พร้อมจะส่งผลกระทบเป็นวิกฤตการณ์ครั้งใหม่ได้ไม่ยาก ปัจจัยว่าด้วยค่าเงินบาทที่แข็งค่าเป็นประวัติการณ์ และเป็นไปด้วยอัตราเร่งอย่างผิดปกติ ไม่เพียงแต่จะกดดันให้การส่งออกของไทยที่อยู่ในภาวะชะลอตัวมาในช่วงก่อนหน้านี้ ถูกโหมกระหน่ำด้วยปัจจัยลบด้านราคาเมื่อเปรียบเทียบกับสินค้าจากคู่แข่งขันในระดับภูมิภาคยิ่งขึ้นไปอีก โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์จากประเทศเวียดนาม หรือแม้กระทั่งอินเดีย กรณีดังกล่าวดูจะเห็นได้ชัดจากตัวเลขการส่งออกข้าวในช่วงครึ่งปี 2562 ที่ผ่านมา ซึ่งพบว่ามีปริมาณลดลงถึงร้อยละ 12 เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า แม้ว่าระหว่างเดือนมกราคมถึงมิถุนายนที่ผ่านมา ประเทศไทยส่งออกข้าวไปแล้ว 4.2 ล้านตัน แต่คำสั่งซื้อในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา มีแนวโน้มลดต่ำลงเหลือเพียงไม่ถึง 6 แสนตันต่อเดือน และทำให้ประมาณการว่าด้วยการส่งออกข้าวของไทยที่ตั้งเป้าหมายไว้ที่ 9.5 ล้านตันหรือเฉลี่ยที่ระดับ 8 แสนตันต่อเดือนดูจะเป็นไปได้ยากยิ่งขึ้น ข้อเท็จจริงที่น่าสนใจก็คือประมาณการส่งออกข้าวที่ 9.5 ล้านตันในปี 2562 นี้ เป็นประมาณการที่ปรับลดลงจากยอดการส่งออกเมื่อปี 2561 ซึ่งอยู่ที่ 11 ล้านตัน ขณะที่ภายใต้สถานการณ์ที่ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่องนี้ ทำให้ผู้ประกอบการส่งออกข้าวประเมินว่าอาจมีการปรับลดเป้าหมายการส่งออกข้าวในปีนี้ให้อยู่ในระดับ 9 ล้านตัน เพื่อให้สอดรับกับข้อเท็จจริงที่ดำเนินอยู่ ตัวเลขการส่งออกข้าวที่ลดต่ำลงอย่างมีนัยสำคัญ อยู่ที่การส่งออกไปยังประเทศจีน ซึ่งแม้ว่าในช่วงครึ่งปีแรกของ 2562 ไทยจะส่งออกข้าวไปยังจีนรวมเป็นมูลค่า 3.7 พันล้านบาท

Read More

เงินบาทแข็งค่า ปัจจัยฉุดส่งออกทรุดตัว

อีกครั้งที่ “การส่งออก” ฟันเฟืองตัวสำคัญของเศรษฐกิจไทยถูกพูดถึงภายใต้นัยที่แสดงถึงความวิตกกังวล ซึ่งอาจจะเป็นเพราะปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการส่งออก ทั้งในเรื่องของศักยภาพในการผลิตสินค้าที่มีมูลค่าเพิ่ม ค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมไปถึงสถานการณ์เศรษฐกิจการค้าโลก เมื่อพิจารณาจากผลงานการส่งออกของไทยตลอดทั้งปี 2561 ที่มีอัตราการขยายตัว 6.7% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า ทว่าในบางเดือนพิษจากสงครามการค้ากลับส่งผลให้การส่งออกของไทยติดลบหลายครั้ง ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทยเปิดเผยว่า การส่งออกของไทยมีการขยายตัวต่ำกว่าหลายประเทศอย่างมีนัยสำคัญ เมื่อพิจารณาจากโครงสร้างการส่งออกของไทย จะเห็นได้ว่าการส่งออกสินค้าขั้นกลางมีสัดส่วนสูงสุดในการส่งออกของไทยทั้งหมด แสดงให้เห็นว่าการเชื่อมโยงห่วงโซ่อุปทานกับประเทศต่างๆ มีความสำคัญต่อการค้าไทย ขณะที่ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่าการส่งออกสินค้าขั้นกลางของไทยเริ่มส่งสัญญาณการชะลอตัวและมีสัดส่วนลดลง ในขณะที่สัดส่วนการส่งออกสินค้าขั้นสุดท้ายกลับสูงขึ้น ในทางตรงกันข้าม การส่งออกสินค้าของเวียดนามและฟิลิปปินส์ขยายตัวได้ดีและเข้ามาแย่งส่วนแบ่งตลาดของไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ แสดงให้เห็นว่าไทยสูญเสียความสามารถในการแข่งขันและมีบทบาทที่ลดลงในห่วงโซ่อุปทานของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ส่งผลให้ไทยเสียโอกาสที่จะกอบโกยรายได้จากอุตสาหกรรมแนวนี้ที่มีแนวโน้มเติบโตได้อย่างต่อเนื่องในอนาคต ทั้งนี้ การที่เวียดนามและฟิลิปปินส์เข้ามามีส่วนร่วมในห่วงโซ่อุปทานแทนที่ไทย ส่วนหนึ่งน่าจะเป็นเพราะไทยไม่สามารถแข่งขันด้านค่าแรงได้ เป็นเหตุให้ไทยไม่สามารถดึงดูดนักลงทุนให้มาลงทุนสร้างฐานการผลิตในไทยได้ และแม้ว่าไทยจะมีสัดส่วนการส่งออกสินค้าขั้นสุดท้ายมากขึ้น แต่ปัจจุบันสินค้าขั้นสุดท้ายที่ไทยผลิตส่วนมากมีมูลค่าเพิ่มไม่สูงนัก เพราะไทยยังไม่มีศักยภาพมากพอที่จะสามารถผลิตสินค้าขั้นสุดท้ายที่ต้องใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีขั้นสูงดังเช่นประเทศพัฒนาแล้ว ซึ่งประเด็นนี้ แม้ว่าภาครัฐกำลังเร่งเครื่องอย่างหนักที่จะผลักดันให้ไทยกลายเป็นประเทศอุตสาหกรรม 4.0 ที่เน้นเรื่องนวัตกรรมและเทคโนโลยีเป็นสำคัญ และแน่นอนว่ากว่าเป้าหมายที่ไทยตั้งไว้จะบรรลุ การส่งออกสินค้าขั้นกลางอาจถูกแย่งส่วนแบ่งตลาดไปมากพอสมควร เมื่อไทยยังไม่สามารถพัฒนาศักยภาพการผลิตสินค้าขั้นสุดท้ายที่มีมูลค่าเพิ่มสูงได้ การแข็งค่าของเงินบาทสร้างความวิตกกังวลให้แก่ผู้ประกอบการไทยไม่น้อย โดยภาคเอกชนมองว่า แนวโน้มที่ค่าเงินบาทแข็งค่าอย่างต่อเนื่องนี้จะกระทบต่อขีดความสามารถในการแข่งขันการส่งออกของไทย และต้องการให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเข้ามาควบคุมดูแลให้อยู่ในภาวะที่สมดุล ทว่า ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) วิรไท สันติประภพ มองว่า การแข็งค่าขึ้นของเงินบาท มีสาเหตุหลักจากค่าเงินดอลลาร์สหรัฐที่อ่อนค่าลง เพราะปัจจัยในประเทศสหรัฐฯ เช่นการเมือง การปิดตัวของรัฐบาล หรือ Government

Read More

สงครามการค้าอุบัติ กระทบส่งออกไทย?

ฟันเฟืองตัวสำคัญในระบบเศรษฐกิจของไทยอย่างการส่งออก ที่หลายคนให้ความเชื่อมั่นว่าจะเป็นกำลังหลักที่ทำให้เกิดเสถียรภาพและแรงผลักสำคัญทำให้เศรษฐกิจไทยยังคงขับเคลื่อนไปข้างหน้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งอัตราการขยายตัวที่มีความต่อเนื่องอยู่ในระดับที่ดีนับตั้งแต่ต้นปี แม้ว่าจะเป็นรูปแบบการค้าที่ขาดดุลในรอบ 43 เดือนก็ตาม หากแต่สภาพการณ์ที่ดำเนินมาอย่างต่อเนื่องจึงไม่น่าแปลกที่หลายฝ่ายยังคงมองว่า การส่งออกของไทยน่าจะยังมีแรงเหวี่ยงที่ดีในช่วงครึ่งปีที่เหลือ แม้จะต้องจับตามองต่อประเด็นการเกิดสงครามการค้าระหว่าง 2 ประเทศมหาอำนาจอย่างจีนและสหรัฐฯ ที่ก่อนหน้านี้ดูเหมือนจะเป็นช่วงที่คลื่นลมสงบ เพราะเหตุผลจากการให้คำมั่นสัญญาว่าจะไม่ตอบโต้ทางการค้าระหว่างกันเพิ่มขึ้น ทำให้บรรดานักธุรกิจส่งออก ศูนย์วิจัย ที่ต่างลุ้นว่าทิศทางการค้าระหว่างประเทศจะเป็นอย่างไรนั้น เบาใจอยู่ช่วงเวลาหนึ่ง ทว่าห้วงยามนี้คลื่นลมที่เคยสงบตามคำมั่นสัญญา กลับเริ่มแสดงสัญญาณบางอย่าง เพราะเมื่อต้นเดือนกรกฎาคม โดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ประกาศเรียกเก็บภาษีนำเข้าสินค้าจากจีนในอัตรา 25 เปอร์เซ็นต์ วงเงิน 3.4 หมื่นล้านดอลลาร์ ซึ่งเป็นมาตรการโต้กลับจีน ขณะที่รัฐบาลปักกิ่งเตรียมเรียกเก็บภาษีสินค้านำเข้าจากสหรัฐฯ ในอัตราและวงเงินเดียวกัน ซึ่งเป้าหมายอยู่ที่สินค้าเกษตร รถยนต์ นับว่าการรีดภาษีของทั้งสองประเทศเป็นการเปิดศึกแลกหมัดอย่างเต็มรูปแบบ แน่นอนว่าสงครามการค้าที่มีชนวนเหตุมาจากสหรัฐฯ และจีน ทำให้สถานการณ์ส่งออกของไทยได้รับผลกระทบอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ เมื่อสินค้าส่งออกของไทยจำนวนไม่น้อยที่อยู่ในวงจรการค้าโลก กระทั่งล่าสุดกระทรวงพาณิชย์สั่งจับตาสถานการณ์นี้เป็นพิเศษ โดยเฉพาะกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศที่มีหน้าที่โดยตรง การงัดมาตรการทางภาษีตอบโต้กันระหว่างสหรัฐฯ และจีน ทำให้ไทยต้องรักษาฐานที่มั่นซึ่งเป็นตลาดค้าเดิม และยังต้องหามาตรการอื่นๆ มารองรับหากสถานการณ์ไม่สู้ดี นั่นคือการมองหาตลาดใหม่สำหรับสินค้าที่ได้รับผลกระทบจากสงครามการค้าในครั้งนี้ ขณะที่รองอธิบดีกรมการส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ สุพพัต อ่องแสงคุณ อธิบายแนวทางว่า “สถานการณ์สงครามการค้านี้ ต้องมอนิเตอร์เป็นรายกลุ่ม และต้องพยายามรักษาแรงเหวี่ยงของการส่งออกในทุกตลาด” นอกจากนี้กรมการส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศยังได้พิจารณาตลาดใหม่ไว้สำหรับสถานการณ์สงครามการค้าที่อาจกระทบไทยในอนาคต เช่น ตลาดตะวันออกกลาง

Read More

ไตรมาสแรกส่งออกไทยพุ่ง หวังทั้งปีโตต่อเนื่องไร้ผันผวน

แม้ว่ากรมอุตุฯ จะประกาศว่าไทยเข้าสู่ฤดูฝนอย่างเป็นทางการไปเมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา หากแต่สถานการณ์เหตุบ้านการเมือง และเศรษฐกิจโดยรวมยังคงร้อนระอุคุกรุ่น และนับวันดูจะยิ่งทวีความร้อนแรงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งการปรับราคาก๊าซหุงต้ม การปรับอัตราค่าไฟฟ้าที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นตามกลไกของตลาดโลก ส่งผลให้ผู้ประกอบการขนส่งออกมาเรียกร้องขอปรับขึ้นค่าโดยสาร และทั้งหมดทั้งมวลย่อมส่งผลทั้งทางตรงและทางอ้อมสู่ประชาชนรากหญ้าตาดำๆ อย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ คนหาเช้ากินค่ำต้องพยายามอยู่ให้รอดในสภาวการณ์เช่นนี้ แม้ภาครัฐจะพยายามออกมาแจกแจงแถลงไขต่อประเด็นการปรับขึ้นราคาสินค้าอุปโภคบริโภคว่า “กระทบน้อย” ความกังวลต่อเรื่องเศรษฐกิจและปากท้อง ทั้งจากแง่มุมของประชาชนและภาครัฐดูจะสวนทางกันไม่น้อย เมื่อล่าสุด หัวหน้าที่ปรึกษาเศรษฐกิจของรัฐบาลอย่าง ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ เปิดเผยตัวเลข GDP ในไตรมาสแรกว่าสูงถึง 4.8% ซึ่งตัวเลขดังกล่าวน่าจะดึงดูดและเร่งนักลงทุนที่กำลังอยู่ในช่วงตัดสินใจว่าจะลงทุนในไทยดีหรือไม่ ขณะที่แง่มุมจากผู้ประกอบการขนาดเล็ก หรือประชาชนทั่วไปกลับเห็นต่าง และมองว่าเศรษฐกิจไทยดีจริงแต่แค่ในระดับบนเท่านั้น คล้ายกับว่าเม็ดเงินที่วิ่งอยู่ในระบบเศรษฐกิจจริงๆ ไม่อาจหยั่งรากถึงในระดับล่างได้เลย ขณะที่ฟันเฟืองในระบบเศรษฐกิจของไทยกำลังอยู่ในช่วงเวลาแห่งความผันผวน หากแต่ฟันเฟืองที่ยังคงขับเคลื่อนได้ดี ยังคงเป็นฟันเฟืองตัวเดิมอย่างการท่องเที่ยว และการส่งออก โดยเฉพาะการส่งออกที่มีอัตราการเติบโตอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ต้นปี กระทั่งกระทรวงพาณิชย์เปิดเผยรายงานตัวเลขการส่งออกไทยในเดือนเมษายน 2561 ว่ามีการขยายตัวอย่างต่อเนื่องสูงถึง 12.3 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งนับเป็นการเติบโตอย่างต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 14 ซึ่งมูลค่าการส่งออกมีมูลค่า 18,945.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ อย่างไรก็ตาม การค้าระหว่างประเทศในเดือนเมษายนนี้กลับเป็นการค้าที่ขาดดุล ซึ่งเป็นการขาดดุลในรอบ 43 เดือน เมื่อตัวเลขการนำเข้าในเดือนเมษายนอยู่ที่ 20,229 ล้านดอลลาร์ ขยายตัวถึง 20.4

Read More

ส่งออกตัวแปรสำคัญ ฉุดเศรษฐกิจไทยครึ่งปีหลังฟื้น?

สัญญาณการขยายตัวการส่งออกในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2559 ที่กลับมาเป็นบวก โดยเพิ่มขึ้นทั้งด้านของราคาและปริมาณ นับเป็นอานิสงส์ที่ส่งต่อมายังไตรมาสแรกของปี 2560 ที่ทำให้ผู้ประกอบการหายใจได้สะดวกขึ้น โดยเฉพาะตัวเลขการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมเดือนมีนาคม 2560 ที่สำนักวิจัยเศรษฐกิจอุตสาหกรรมระบุว่า การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม (ไม่รวมทองคำ) มีการขยายตัวร้อยละ 10.2 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน โดยสินค้าที่มีการส่งออกขยายตัวดี เช่น เครื่องปรับอากาศ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบแผงวงจรไฟฟ้า เม็ดพลาสติกและผลิตภัณฑ์ยาง ด้านตลาดส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม (ไม่รวมทองคำ) มีการขยายตัวในระดับดีในหลายตลาด อาทิ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น จีน สหภาพยุโรป และประเทศในกลุ่ม CLMV ขณะที่การส่งออกไปอาเซียนกลับหดหัวลง ดังนั้น ภาพรวมการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม (ไม่รวมทองคำ) ในไตรมาส 1 ปี 2560 จึงมีการขยายตัวร้อยละ 6.2 ซึ่งได้รับแรงสนับสนุนจากการส่งออกไปตลาดสหรัฐฯ จีน สหภาพยุโรป และ CLMV ที่ขยายตัว การส่งออกที่ขยายตัวเร่งขึ้นต่อเนื่องนับตั้งแต่ไตรมาสสุดท้ายของปี 2559 สอดคล้องกับภาคอุตสาหกรรมการผลิตในประเทศไทยที่ปรับตัวดีขึ้น การเติบโตของตัวเลขส่งออกน่าจะเป็นตัวแปรสำคัญที่ทำให้ GDP ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศช่วงไตรมาสแรก ปี

Read More