Home > สงครามการค้า

จากสงครามการค้าสู่ GSP แผลกดทับคุกคามเศรษฐกิจไทย

สถานการณ์ทางเศรษฐกิจของไทยในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2562 นอกจากจะปราศจากสัญญาณบวกที่จะมาช่วยกระตุ้นให้เกิดความตื่นตัวกระเตื้องขึ้นในระยะสั้นแล้ว ดูเหมือนว่าในระยะยาวที่ถัดออกไปสภาพเศรษฐกิจไทยโดยรวมก็ถูกกระหน่ำด้วยปัจจัยลบและความเสี่ยงที่ฉุดรั้งทั้งความเชื่อมั่นและศักยภาพในการพัฒนาที่น่ากังวลไม่น้อยเลย ภาวะชะลอตัวลงอย่างต่อเนื่องของเศรษฐกิจไทยตลอดช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา มักได้รับการอธิบายจากภาครัฐว่าเป็นผลมาจากปัจจัยภายนอกว่าด้วยข้อพิพาททางการค้าระหว่างจีนและสหรัฐอเมริกา ซึ่งทำให้เกิดภาวะชะลอตัวทางเศรษฐกิจแผ่กว้างไปทั่วทุกมุมของโลก แม้ว่าเศรษฐกิจไทยจะยังมีพื้นฐานที่ดี และกำลังดำเนินไปบนหนทางที่ถูกต้องเหมาะสมตามแนวทางและวิสัยทัศน์ที่รัฐบาลได้กำหนดวางไว้ตั้งแต่เมื่อ 5-6 ปีที่ผ่านมา และเป็นไปตามทิศทางการพัฒนาของยุทธศาสตร์ระยะยาวอีก 20 ปีข้างหน้าก็ตาม ตัวเลขการขยายตัวเติบโตทางเศรษฐกิจที่มีแนวโน้มลดต่ำลงอย่างต่อเนื่องในแต่ละไตรมาสในลักษณะที่พร้อมสร้างปรากฏการณ์จุดต่ำสุดใหม่ครั้งแล้วครั้งเล่า ได้รับการอธิบายว่ายังเป็นตัวเลขที่สะท้อนการขยายตัวอยู่แต่น้อยลงเมื่อเทียบกับช่วงก่อนหน้าเท่านั้น และไม่ใช่สิ่งที่ควรวิตกกังวลมากนัก เพราะรัฐบาลดำเนินนโยบายเศรษฐกิจมาถูกทางแล้ว และผู้ประกอบการรวมถึงประชาชนควรปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์มากกว่าที่จะเรียกร้องมาตรการความช่วยเหลือจากรัฐ กรณีที่ว่านี้ ส่งผลทำให้ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคจากการสำรวจในแต่ละเดือน ลดต่ำลงอย่างต่อเนื่อง โดยในเดือนตุลาคม 2562 ที่ผ่านมาดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคทุกรายการปรับตัวลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 8 และอยู่ในจุดต่ำสุดในรอบ 18 ปี แม้ว่าจะมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐที่โหมประโคมออกมาอย่างหนักก็ตาม เหตุปัจจัยที่ปรากฏจริงอยู่เบื้องหน้าไม่สามารถฉุดรั้งความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์เศรษฐกิจทั้งใน-นอกประเทศได้ ที่พร้อมจะนำไปสู่ความไม่เชื่อมั่นในศักยภาพและความสามารถของกลไกภาครัฐในการผลักดันมาตรการและนโยบายเศรษฐกิจอย่างมีประสิทธิภาพ และกลายเป็นเงื่อนไขว่าด้วยความกังวลใจในเสถียรภาพทางการเมืองในอนาคต ดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับเศรษฐกิจโดยรวมในระดับ 57.9 ดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับโอกาสหางานทำโดยรวมในระดับ 67.0 และดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับรายได้ในอนาคตซึ่งอยู่ที่ระดับ 87.3 สะท้อนการปรับตัวลดลงทุกรายการ เมื่อเทียบกับดัชนีในเดือนกันยายน ที่อยู่ในระดับ 59.3 68.5 และ 88.9 ตามลำดับ ขณะที่ดัชนีซึ่งอยู่ในระดับต่ำกว่าปกติและถอยห่างจากระดับที่ 100 แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนถึงความรู้สึกและจิตวิทยาของสังคมว่าผู้บริโภคไม่มีความมั่นใจเกี่ยวกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ โอกาสในการหางานทำ และรายได้ในอนาคตเพิ่มมากขึ้นทุกขณะ ความเป็นไปดังกล่าวส่งผลให้ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในปัจจุบันปรับตัวลดลงจากระดับ 47.9 มาอยู่ที่ระดับ 46.5

Read More

อุตสาหกรรมยานยนต์กระอัก พิษสงครามการค้า-เศรษฐกิจโลกทรุด

แม้พิษจากสงครามการค้าระหว่างสองประเทศมหาอำนาจอย่างจีนและสหรัฐฯ ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง จะสร้างผลกระทบเป็นวงกว้างและในหลายระนาบต่อประเทศคู่ค้า โดยที่ทั้งสองประเทศจะให้เหตุผลในการฟาดฟันกันด้วยกลยุทธ์ทางภาษีว่า ต้องการทวงถามความยุติธรรมทางการค้าระหว่างกันก็ตาม กระนั้นไทยในฐานะประเทศคู่ค้าและไม่ได้มีบทบาทสำคัญในศึกการค้าครั้งนี้กลับได้รับผลกระทบไม่น้อย เมื่อสินค้าหลายชนิดถูกชะลอการสั่งซื้อ นั่นทำให้ตัวเลขการส่งออกของไทยลดลงอย่างน่าใจหาย ผลกระทบเป็นระลอกคลื่นนี้สะท้อนกลับมาภายในประเทศอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ แน่นอนว่า ไม่ใช่เพียงปัจจัยภายนอกจากสงครามการค้าเท่านั้นที่ส่งผลต่อเศรษฐกิจไทยโดยรวม เมื่อปัจจัยภายในประเทศอย่างกำลังซื้อของคนไทยที่ลดลง ความขัดแย้งทางการเมืองที่ส่งผลต่อความไม่มั่นใจของนักลงทุน หนี้ครัวเรือนที่พุ่งสูงขึ้น และความเข้มงวดของสถาบันการเงินในการอนุมัติสินเชื่อ เป็นมูลเหตุที่ดูจะซ้ำเติมให้สถานการณ์แย่ลง แม้ว่าภาครัฐจะพยายามหาแนวทางการแก้ปัญหาด้วยการเติมเงินเข้ามาในระบบ โดยมุ่งหวังให้ฟันเฟืองทางเศรษฐกิจทุกตัวสามารถขับเคลื่อนไปข้างหน้าได้บ้าง ทว่า ผลที่ได้รับกลับเป็นเพียงการสปาร์กให้เครื่องยนต์ติดและทำงานได้เพียงระยะสั้นๆ เท่านั้น และสิ่งที่น่ากังวลใจในเวลานี้ น่าจะเป็นภาคการผลิตที่เริ่มแสดงอาการของปัญหาชัดเจนขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งอุตสาหกรรมยานยนต์ที่ยอดการผลิตและยอดการส่งออกลดลง โดยสุรพงษ์ ไพสิฐพัฒนพงษ์ โฆษกกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า สถานการณ์ในภาคอุตสาหกรรมยานยนต์ในช่วงเวลาที่เหลือของปีนี้ยังน่าเป็นห่วง โดยเฉพาะยอดการผลิตและการส่งออกรถยนต์ของไทยในปีนี้มีโอกาสที่จะหลุดจากเป้าหมายเดิม หลังมีปัจจัยลบรุมเร้าทั้งในและต่างประเทศ โดยเฉพาะปัญหาจากสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับจีน รวมไปถึงการขึ้นภาษีนำเข้ารถยนต์ที่ผลิตจากยุโรป ที่ทำให้ยอดขายรถยนต์ทั่วโลกรวมถึงไทยปรับตัวลดลง ทว่าข้อมูลที่น่าสนใจคือรายงานยอดขายรถยนต์ของโลกในช่วง 5 เดือนแรกของปีนี้ ติดลบ 5.7 เปอร์เซ็นต์ และมียอดการผลิตติดลบ 5.8 เปอร์เซ็นต์ และสำหรับประเทศไทยตัวเลขการส่งออกรถยนต์ในเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ติดลบ 20 เปอร์เซ็นต์ โดยยอดส่งออกรถยนต์สำเร็จรูปเดือนสิงหาคม 2562 อยู่ที่ 81,549 คัน ลดลง 20.45

Read More

Rare earth หมัดเด็ดของสีจิ้นผิง? ในศึกสงครามการค้า

หากติดตามข่าวความเคลื่อนไหวของสองประเทศมหาอำนาจอย่างสหรัฐฯ และจีน ที่ตอบโต้กันบนเวทีโลก โดยเฉพาะประเด็นการตั้งกำแพงภาษีสินค้านำเข้าตั้งแต่กลางปีที่ผ่านมา จะเห็นได้ว่าแต่ละยกในศึกครั้งนี้ดูจะไม่มีใครยอมใคร แม้ว่าทั้งสองจะมีโอกาสได้จับมือกันต่อหน้ากล้อง พบปะพูดคุยกันอยู่บ้าง รวมไปถึงการหารือเพื่อเจรจาในข้อตกลงการค้าระหว่างประเทศ อีกทั้งกระแสข่าวที่ถูกตีแผ่ว่า มีความเป็นไปได้ว่าทั้งสองประเทศอาจบรรลุข้อตกลงระหว่างกันในการยุติความขัดแย้งครั้งนี้ ทว่า จนถึงขณะนี้ข้อตกลงที่ทั้งสองฝ่ายจะทำร่วมกันเพื่อยุติสงครามการค้าครั้งนี้ กลับไม่มีท่าทีที่จะประสบความสำเร็จแต่อย่างใด ความล้มเหลวที่เกิดขึ้นกับความพยายามที่จะทำข้อตกลงร่วมกันกลายเป็นภาพชินตาของผู้คนทั่วโลก และท้ายที่สุด จากสงครามการค้าทรานฟอร์มสู่สงครามเทคโนโลยี เมื่อโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ หงายไพ่ใบใหม่เพื่อกดดันจีนด้วยการเล่นงานบริษัทหัวเว่ย โดยมีกูเกิลขานรับนโยบายนี้ทันที ซึ่งจะส่งผลให้โทรศัพท์เคลื่อนที่ของหัวเว่ยไม่สามารถอัพเดตหรือเข้าถึงแอปยอดนิยมอย่างกูเกิลได้ นโยบายดังกล่าวสร้างความวิตกกังวลอย่างมากให้แก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง ทั้งบริษัทคู่ค้ากับหัวเว่ย ผู้บริโภคที่ใช้งานโทรศัพท์เคลื่อนที่ของหัวเว่ย ทว่า ความกังวลนี้ไม่ได้เกิดขึ้นกับซีอีโอของหัวเว่ยแต่อย่างใด เมื่อ Ren Zhengfei กล่าวเพียงว่า หัวเว่ยจะไม่ได้รับผลกระทบจากการประกาศแบนของสหรัฐฯ และนักการเมืองสหรัฐฯ ประเมินความสามารถของหัวเว่ยต่ำเกินไป แม้ว่าคำสั่งดังกล่าวจะถูกระงับไว้เป็นการชั่วคราวอย่างน้อย 90 วัน โดยสหรัฐฯ ให้เหตุผลว่า เพื่อไม่ให้เกิดสภาวะสะดุดระหว่างบริษัทเอกชนสัญชาติอเมริกาที่ทำธุรกิจกับหัวเว่ย ที่ผ่านมา นโยบายและมาตรการต่างๆ ของสหรัฐฯ จะเป็นสิ่งที่ประเทศคู่ค้าไม่ยอมรับ และมีการโต้กลับในรูปแบบที่ไม่แตกต่างกัน เช่น เมื่อสหรัฐฯ ปรับอัตราการเรียกเก็บภาษีสินค้านำเข้าจากจีน ขณะที่จีนไม่นิ่งนอนใจและขึ้นอัตราการเรียกเก็บภาษีสินค้านำเข้าจากสหรัฐฯ ในอัตราที่เท่าเทียมกัน และเมื่อสหรัฐฯ ปรับหมากเดินเกม รวมไปถึงเป็นผู้เปลี่ยนหน้าเกมในศึกครั้งนี้ จากสงครามการค้า สู่สงครามเทคโนโลยี โดยมุ่งเล่นงานที่บริษัทหัวเว่ย ในมุมมองของนักการเมืองฟากฝั่งโดนัลด์

Read More

สงครามการค้าจีน-สหรัฐฯ กับหมากตัวใหม่ของทรัมป์

การฟาดฟันด้วยกำแพงภาษีระหว่างจีนกับสหรัฐฯ เริ่มขึ้นตั้งแต่กลางปี พ.ศ. 2561 ภายใต้การนำทัพของประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ ซึ่งสหรัฐฯ เพิ่มอัตราภาษีสินค้านำเข้าจากจีนเป็น 25% มูลค่า 34,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และทำให้จีนต้องตอบโต้กลับด้วยอัตราภาษีนำเข้าจากสหรัฐฯ ด้วยมูลค่าที่เท่ากัน การตอบโต้กันระหว่างสองประเทศยังคงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าจะมีการพูดคุยเจรจาระหว่างสองผู้นำยามที่ต้องเข้าร่วมประชุมในระดับนานาชาติ แต่ดูเหมือนว่าการเจรจาในแต่ละครั้งจะให้ผลที่หาความแน่นอนไม่ได้ นโยบายการปรับขึ้นภาษีสินค้านำเข้าจากจีน หรือจากประเทศคู่ค้าอื่นๆ ของสหรัฐฯ นั้น ส่วนหนึ่งมาจากนโยบายในช่วงหาเสียงของทรัมป์ ที่ต้องการสร้างงานให้เกิดขึ้นในประเทศ ภายใต้แนวความคิดที่ว่า “America First” ด้วยหวังว่าผู้ประกอบการจะย้ายฐานการผลิตเข้ามาในสหรัฐฯ จากมาตรการดังกล่าวที่สหรัฐฯ ประกาศใช้ ส่งผลให้มีผู้ประกอบการบางรายกำลังตัดสินใจที่จะย้ายฐานการผลิตมายังสหรัฐฯ ทว่าก็ยังไม่ใช่ทั้งหมด นอกจากนี้ การขึ้นอัตราภาษีสินค้านำเข้าของสหรัฐฯ เป็นเพราะความต้องการที่จะสร้างสมดุลทางการค้า เพราะก่อนหน้านี้สหรัฐฯ มีปัญหาการขาดดุลการค้า โดยทรัมป์มองว่าสหรัฐฯ ไม่ได้รับความเป็นธรรมเรื่องการค้าระหว่างประเทศ และอีกเหตุผลหนึ่งที่ทรัมป์ยังคงดำเนินการสร้างกำแพงภาษีอย่างต่อเนื่อง น่าจะเป็นเพราะความพยายามสร้างผลงานก่อนการเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้นในศักราชหน้า จนถึงตอนนี้สหรัฐฯ รีดอัตราภาษีสินค้านำเข้าจากจีนเพิ่มขึ้นคิดเป็นมูลค่าราว 250,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และการโต้กลับของจีนด้วยการเรียกเก็บภาษีสินค้านำเข้าจากสหรัฐฯ เป็นมูลค่ารวม 110,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ถึงจุดนี้ การรีดภาษีสินค้านำเข้าจากจีนของสหรัฐฯ ดูจะยังไม่สิ้นสุดลงง่ายๆ แม้ทั้งสองฝ่ายจะมีความพยายามเจรจาเพื่อหาข้อยุติกรณีพิพาทดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง และสหรัฐฯ อาจเรียกเก็บภาษีสินค้านำเข้าในอัตราที่สูงขึ้น

Read More

จับตาเศรษฐกิจจีนทรุด ระวังอาฟเตอร์ช็อกทั่วโลก

เป็นที่ทราบกันดีกว่า จีน เป็นหนึ่งในประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจของโลก รองจากสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีมูลค่าทางเศรษฐกิจประมาณ 13 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 1 ใน 3 ของเศรษฐกิจโลก ทว่าตั้งแต่กลางปี 2018 เป็นต้นมา เศรษฐกิจในประเทศจีนส่งสัญญาณการชะลอตัวอย่างเห็นได้ชัด สาเหตุหนึ่งที่สร้างแรงสั่นสะเทือนต่อเศรษฐกิจจีน คือ การต่อกรกับสหรัฐฯ ในสงครามการค้า แม้ว่าจีนจะอยู่ในฐานะประเทศมหาอำนาจอันดับสองรองจากสหรัฐฯ ทว่าอำนาจเจรจาต่อรองที่จีนมีไม่สามารถสร้างความได้เปรียบให้แก่ตัวเองได้เลย เมื่อมูลค่าการนำเข้าสินค้าจีนของสหรัฐฯ มีมูลค่าสูงถึง 5 แสนล้านดอลลาร์ แต่เมื่อพิจารณามูลค่าการนำเข้าสินค้าสหรัฐฯ ของจีนนั้น มีเพียง 2 แสนล้านดอลลาร์ นี่เองที่เป็นข้อจำกัดของจีนในการที่จะโต้ตอบสหรัฐฯ ด้วยกำแพงภาษี แม้ล่าสุดการเจรจาการค้าระหว่างประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา โดนัลด์ ทรัมป์ และประธานาธิบดี สีจิ้นผิง เมื่อสัปดาห์สุดท้ายของเดือนกุมภาพันธ์ จะได้ข้อสรุปว่า สหรัฐฯ จะเลื่อนการปรับเพิ่มอัตราภาษีนำเข้าสินค้าจากจีนมูลค่า 2 แสนล้านดอลลาร์ เป็น 25 เปอร์เซ็นต์ จากเดิม 10 เปอร์เซ็นต์ ออกไปจากกำหนดเดิมที่จะมีการบังคับใช้ในวันที่ 1 มีนาคม ซึ่งทรัมป์ได้ทวีตข้อความว่า

Read More

ข้อพิพาทการค้าจีน-สหรัฐฯ สุดทางเมื่อต่างสูญเสีย?

ประเด็นข้อพิพาททางการค้าระหว่างจีนและสหรัฐอเมริกา ที่เคลื่อนไหวตอบโต้กันอย่างหนักหน่วงในช่วงที่ผ่านมา ทั้งในมิติของการตั้งกำแพงภาษีสินค้านำเข้าเพื่อให้เอกชนในสหรัฐฯ สามารถแข่งขันราคาสินค้าภายในประเทศกับสินค้านำเข้าจากจีนหรือแม้กระทั่งความพยายามที่จะปรับเปลี่ยนข้อปฏิบัติด้านทรัพย์สินทางปัญญา และการอุดหนุนอุตสาหกรรมและโครงสร้างภาษีแล้ว ดูเหมือนว่าสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างจีน-สหรัฐอเมริกา กำลังถูกกระทำให้ปริห่างออกจากกันมากขึ้นไปอีก เมื่อปรากฏว่าทางการแคนาดาเข้าควบคุมและจับกุม เหมิง หวันโจว ที่มีสถานะเป็นทั้ง CFO ของบริษัท HUAWEI และบุตรสาวของ เหริน เจิ้งเฟย ประธานและผู้ก่อตั้ง HUAWEI เมื่อต้นเดือนธันวาคมที่ผ่านมา มูลเหตุของการจับกุมตัว เหมิง หวันโจว เกิดขึ้นจากข้อกล่าวหาที่ว่า HUAWEI นำบริษัทลูกในนาม Skycom ประกอบธุรกรรมอำพรางเมื่อปี 2013 ในการจำหน่ายสินค้าโทรคมนาคมให้กับประเทศอิหร่าน ประเทศที่ถูกทางการสหรัฐฯ ดำเนินมาตรการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจอยู่ โดยในการจับกุมดำเนินคดีในครั้งนี้ อาจทำให้ เหมิง หวันโจว ถูกส่งตัวในฐานะผู้ร้ายข้ามแดนไปยังสหรัฐอเมริกา และหากได้รับการพิจารณาตัดสินว่ามีความผิดจริงมีโอกาสที่จะโดนจำคุกสูงสุดถึง 30 ปี ในรายงานของสำนักงานอัยการ ทางการแคนาดาระบุว่า เหมิง หวันโจว มีส่วนเกี่ยวข้องกับการทำธุรกรรมด้วยการขายอุปกรณ์โทรคมนาคมให้แก่อิหร่าน ผ่านบริษัท Skycom ซึ่งเป็นบริษัทลูกแบบลับๆ ของ HUAWEI ในฮ่องกง ข้อเท็จจริงที่น่าสนใจประการหนึ่งก็คือ อาณาจักรธุรกิจของ HUAWEI

Read More

อุตสาหกรรมไทย โอกาสในสงครามการค้า

ท่ามกลางสถานการณ์สงครามการค้าที่อุบัติขึ้นอย่างต่อเนื่องของสองชาติมหาอำนาจทางเศรษฐกิจระหว่างสหรัฐอเมริกากับจีน ก่อให้เกิดผลกระทบในเชิงลบที่ไม่ได้เกิดขึ้นกับทั้งสองประเทศเท่านั้น หากแต่ผลกระทบเชิงลบยังขยายวงกว้างไปยังประเทศคู่ค้าอื่นๆ ที่แม้ว่าจะพยายามหาหนทางหรือกลยุทธ์ในการหลบหลีกรัศมีของห่ากระสุนจากสงครามนี้แล้วก็ตาม จากนโยบาย “American First” ที่ โดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ใช้เป็นนโยบายหลักในการบริหารประเทศ แม้จะเป็นไปเพื่อผลลัพธ์ที่ดีต่อพลเมืองอเมริกัน และได้รับแรงสนับสนุนจากผู้ที่เห็นดีเห็นงามอยู่บ้าง ในทางกลับกันนโยบายดังกล่าวสร้างความไม่พอใจจากผู้ประกอบธุรกิจนำเข้าและส่งออกสินค้า รวมไปถึงประเทศคู่ค้า เพราะมาตรการขึ้นภาษีนำเข้า ซึ่งเป็นหนึ่งในมาตรการสำคัญของนโยบาย “American First” การสาดกระสุนทางภาษีในสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีนเกิดขึ้นหลายระลอก แน่นอนว่าในทุก สงครามย่อมต้องมีฝ่ายได้รับบาดเจ็บ ผู้ประกอบการจากหลายอุตสาหกรรมต้องแสวงหากลยุทธ์เพื่อหวังจะลดทอนผลกระทบให้ได้มากที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งอุตสาหกรรมยานยนต์ในจีน ที่ตกอยู่ท่ามกลางดงกระสุนของสงครามนี้อย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ เพราะค่ายรถยนต์ที่มีฐานการผลิตอยู่ในจีนได้รับผลกระทบจากการขึ้นภาษีทั้งสองทาง มาตรการขึ้นภาษีของทั้งสองประเทศในอุตสาหกรรมยานยนต์ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตรถยนต์มีราคาสูงขึ้น และกำไรลดน้อยลง เมื่อยังไม่มีใครให้คำตอบได้ว่าสงครามการค้าระหว่างสองประเทศนี้จะสิ้นสุดลงเมื่อใด ทางออกที่มีอาจจะจำกัดอยู่เพียงแค่การย้ายฐานการผลิตไปประเทศอื่น ไม่ว่าจะเป็นย้ายฐานการผลิตไปยังสหรัฐอเมริกา เพื่อหลีกเลี่ยงภาษี ซึ่งทางออกนี้โดนัลด์ ทรัมป์ จะชี้นำไว้จากนโยบาย American First โดยมุ่งหวังที่จะสร้างงานให้แก่คนอเมริกัน และแน่นอนว่า ประเทศในกลุ่มเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรืออาเซียน อาจจะเป็นอีกทางเลือกที่น่าสนใจสำหรับการสร้างฐานการผลิตรถยนต์ หรือขยายฐานการผลิตในกรณีที่ค่ายรถยนต์มีฐานการผลิตอยู่แล้วในภูมิภาคนี้ อย่างไรก็ตาม บริษัทผู้ประกอบการรถยนต์จำนวนหนึ่งที่มีฐานลูกค้าอยู่ในอเมริกา เลือกที่จะย้ายฐานการผลิตไปยังอเมริกาแทน เพื่อหลีกเลี่ยงภาษี ซึ่งจะทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น และส่งผลให้กำไรลดลง หากจะมองว่ามาตรการขึ้นภาษีของนโยบาย “American First” เป็นการบีบบังคับประเทศคู่ค้าเพื่อให้ตกลงในเงื่อนไขที่โดนัลด์ ทรัมป์ สร้างขึ้นก็ดูจะไม่ผิดนัก เพราะเมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา มีการทำข้อตกลงระหว่างสหรัฐฯ และเม็กซิโกเกี่ยวกับอุตสาหกรรมยานยนต์ว่า

Read More

สงครามการค้ายกที่สอง กระทบเศรษฐกิจไทย เศรษฐกิจโลก?

ความเคลื่อนไหวของ 2 ชาติมหาอำนาจอย่างสหรัฐอเมริกาและจีน ที่ตอบโต้กันชนิดที่เรียกได้ว่า หมัดต่อหมัด กับการตั้งกำแพงภาษีสินค้านำเข้า แรงเหวี่ยงหมัดที่ 2 ประเทศสร้างขึ้นก่อให้เกิดความวิตกกังวลไม่น้อยกับนานาประเทศคู่ค้า หลายฝ่ายจับตามองว่าสงครามการค้าที่เกิดขึ้นในครั้งนี้จะยุติลงเมื่อใด และจะมีบทสรุปอย่างไร แม้ว่าหลายเดือนก่อนหน้าจะมีความพยายามอย่างยิ่งยวดในการเจรจาเพื่อหาข้อยุติสงครามการค้าของทั้ง 2 ประเทศ แต่น่าแปลก ในขณะที่การเจรจายังดำเนินไปตามครรลองที่ควรจะเป็น และยังไม่มีบทสรุปใดๆ ออกมา ผู้นำอย่างประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ กลับประกาศอัตราเรียกเก็บภาษีนำเข้าสินค้าจากจีนในอัตรา 25 เปอร์เซ็นต์ ครั้งแรกเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม นับเป็นหมัดแรกที่สหรัฐฯ เหวี่ยงเข้าใส่จีน การเรียกเก็บภาษีนำเข้าครั้งนั้นนับเป็นมูลค่า 34,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณ 1.1 ล้านล้านบาท จากสินค้าจำนวน 818 รายการ และหลังจากนั้นอีก 2 สัปดาห์ ทรัมป์เดินหน้าประกาศเรียกเก็บภาษี 25 เปอร์เซ็นต์ เป็นมูลค่า 16,000 ล้านดอลลาร์ จากสินค้า 282 รายการ แน่นอนว่า จีน ที่ได้ชื่อว่าเป็นมหาอำนาจในซีกโลกตะวันออก คงไม่นิ่งเฉยรอให้สหรัฐฯ

Read More

สงครามการค้าอุบัติ กระทบส่งออกไทย?

ฟันเฟืองตัวสำคัญในระบบเศรษฐกิจของไทยอย่างการส่งออก ที่หลายคนให้ความเชื่อมั่นว่าจะเป็นกำลังหลักที่ทำให้เกิดเสถียรภาพและแรงผลักสำคัญทำให้เศรษฐกิจไทยยังคงขับเคลื่อนไปข้างหน้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งอัตราการขยายตัวที่มีความต่อเนื่องอยู่ในระดับที่ดีนับตั้งแต่ต้นปี แม้ว่าจะเป็นรูปแบบการค้าที่ขาดดุลในรอบ 43 เดือนก็ตาม หากแต่สภาพการณ์ที่ดำเนินมาอย่างต่อเนื่องจึงไม่น่าแปลกที่หลายฝ่ายยังคงมองว่า การส่งออกของไทยน่าจะยังมีแรงเหวี่ยงที่ดีในช่วงครึ่งปีที่เหลือ แม้จะต้องจับตามองต่อประเด็นการเกิดสงครามการค้าระหว่าง 2 ประเทศมหาอำนาจอย่างจีนและสหรัฐฯ ที่ก่อนหน้านี้ดูเหมือนจะเป็นช่วงที่คลื่นลมสงบ เพราะเหตุผลจากการให้คำมั่นสัญญาว่าจะไม่ตอบโต้ทางการค้าระหว่างกันเพิ่มขึ้น ทำให้บรรดานักธุรกิจส่งออก ศูนย์วิจัย ที่ต่างลุ้นว่าทิศทางการค้าระหว่างประเทศจะเป็นอย่างไรนั้น เบาใจอยู่ช่วงเวลาหนึ่ง ทว่าห้วงยามนี้คลื่นลมที่เคยสงบตามคำมั่นสัญญา กลับเริ่มแสดงสัญญาณบางอย่าง เพราะเมื่อต้นเดือนกรกฎาคม โดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ประกาศเรียกเก็บภาษีนำเข้าสินค้าจากจีนในอัตรา 25 เปอร์เซ็นต์ วงเงิน 3.4 หมื่นล้านดอลลาร์ ซึ่งเป็นมาตรการโต้กลับจีน ขณะที่รัฐบาลปักกิ่งเตรียมเรียกเก็บภาษีสินค้านำเข้าจากสหรัฐฯ ในอัตราและวงเงินเดียวกัน ซึ่งเป้าหมายอยู่ที่สินค้าเกษตร รถยนต์ นับว่าการรีดภาษีของทั้งสองประเทศเป็นการเปิดศึกแลกหมัดอย่างเต็มรูปแบบ แน่นอนว่าสงครามการค้าที่มีชนวนเหตุมาจากสหรัฐฯ และจีน ทำให้สถานการณ์ส่งออกของไทยได้รับผลกระทบอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ เมื่อสินค้าส่งออกของไทยจำนวนไม่น้อยที่อยู่ในวงจรการค้าโลก กระทั่งล่าสุดกระทรวงพาณิชย์สั่งจับตาสถานการณ์นี้เป็นพิเศษ โดยเฉพาะกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศที่มีหน้าที่โดยตรง การงัดมาตรการทางภาษีตอบโต้กันระหว่างสหรัฐฯ และจีน ทำให้ไทยต้องรักษาฐานที่มั่นซึ่งเป็นตลาดค้าเดิม และยังต้องหามาตรการอื่นๆ มารองรับหากสถานการณ์ไม่สู้ดี นั่นคือการมองหาตลาดใหม่สำหรับสินค้าที่ได้รับผลกระทบจากสงครามการค้าในครั้งนี้ ขณะที่รองอธิบดีกรมการส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ สุพพัต อ่องแสงคุณ อธิบายแนวทางว่า “สถานการณ์สงครามการค้านี้ ต้องมอนิเตอร์เป็นรายกลุ่ม และต้องพยายามรักษาแรงเหวี่ยงของการส่งออกในทุกตลาด” นอกจากนี้กรมการส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศยังได้พิจารณาตลาดใหม่ไว้สำหรับสถานการณ์สงครามการค้าที่อาจกระทบไทยในอนาคต เช่น ตลาดตะวันออกกลาง

Read More