Home > 2017 > กันยายน

แก้วสารพัดนึกชื่อ EEC และคาถาเสื่อมมนต์ไทยแลนด์ 4.0

หากตั้งประเด็นคำถามว่ารัฐบาลภายใต้การกำกับดูแลของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) มีนโยบายเศรษฐกิจ หรือจัดวางน้ำหนักในการพัฒนาประเทศไว้ที่เรื่องใด เชื่อว่า โครงการเพื่อพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก หรือ Eastern Economic Corridor (EEC) คงเป็นโครงการที่ผุดขึ้นในกระแสสำนึกอย่างทันที ด้วยเหตุที่สื่อประชาสัมพันธ์ภาครัฐต่างโหมประโคมโครงการที่ว่านี้ อย่างต่อเนื่องและเป็นประหนึ่งโครงการแห่งความหวังว่าจะช่วยฉุดลากเศรษฐกิจไทยในห้วงเวลานับจากนี้ให้หลุดพ้นจากหุบเหวของความตกต่ำที่ต่อเนื่องมาอย่างยาวนานเสียที แม้ว่าในความเป็นจริงโครงการที่ว่านี้ไม่ได้มีอะไรใหม่มากไปกว่าการพัฒนาพื้นที่จังหวัดฉะเชิงเทรา-ชลบุรี-ระยอง ซึ่งในด้านหนึ่งก็คือ การสานต่อและเติมเต็มโครงการอีสเทิร์นซีบอร์ด ที่ดำเนินมาเมื่อ 40 กว่าปีก่อน ให้มีความสดใหม่เพิ่มขึ้นและขยับให้ EEC เป็นประหนึ่งข้อต่อเชื่อมที่จะทำให้โครงการอีสเทิร์นซีบอร์ดเสร็จสมบูรณ์เต็มตามเป้าประสงค์ ภายใต้แผนการพัฒนา EEC รัฐบาลโดยกระทรวงอุตสาหกรรม ได้จัดวางแผนงานเพื่อการพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก ไว้ 8 แผนงาน ประกอบด้วย การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การพัฒนาสนามบินอู่ตะเภา ท่าเรือสัตหีบและบริการลอจิสติกส์ต่อเนื่อง การพัฒนาอุตสาหกรรมเป้าหมาย การพัฒนาการท่องเที่ยวในพื้นที่ การพัฒนาศูนย์กลางการเงิน การพัฒนาบุคลากร การศึกษา การวิจัย และเทคโนโลยี การพัฒนาเมืองใหม่ ฉะเชิงเทรา-พัทยา-ระยอง และที่ดูจะให้ความสำคัญมากก็คือ การประชาสัมพันธ์และสร้างความเข้าใจกับประชาชนในพื้นที่อันจะเป็นประโยชน์ต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศ และเชื่อว่าจะช่วยเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันของประเทศโดยรวม โดยก่อนหน้านี้ คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2560 จำนวน 212

Read More

ยักษ์คอนโดแข่ง “แม็กเนต” “พฤกษา” จับ “สตาร์บัคส์-เซเว่น”

เข้าโค้งสุดท้ายของปี 2560 ตลาดอสังหาริมทรัพย์ โดยเฉพาะกลุ่มคอนโดมิเนียมนอกจากเร่งเปิดตัวโครงการใหม่รับภาวะเศรษฐกิจที่คาดว่าจะเริ่มฟื้นตัวอย่างชัดเจนในไตรมาส 4 แล้ว กลยุทธ์การเพิ่ม “แม็กเนต” เพื่อสร้างคอมมูนิตี้กลายเป็นจุดขายที่บรรดาค่ายยักษ์ใหญ่หันมาจับและแย่งชิงพันธมิตรระดับ “บิ๊กแบรนด์” เข้ามาเสริมความแข็งแกร่ง ทั้งร้านสะดวกซื้อ ร้านกาแฟ หรือแม้กระทั่งโรงพยาบาลยักษ์ใหญ่ ล่าสุด บริษัท พฤกษา เรียลเอสเตท จำกัด (มหาชน) ประกาศจับมือกับแบรนด์กาแฟชั้นนำระดับโลกอย่างร้าน Starbucks เข้ามาเปิดสาขาใหม่ภายในโครงการ “แชปเตอร์วัน อีโค รัชดา-ห้วยขวาง” โดยวางคอนเซ็ปต์เดียวกับการออกแบบคอนโดมิเนียมโครงการ “แชปเตอร์วัน อีโค รัชดา-ห้วยขวาง” สไตล์ Scandinavians กลายเป็นร้านกาแฟสตาร์บัคส์แบบ Scandinavians เป็นแห่งแรกในเมืองไทย แน่นอนว่า มีความเป็นไปได้ที่ “สตาร์บัคส์” จะเข้าไปเปิดสาขาในโครงการคอนโดมิเนียมในเครือพฤกษาเพิ่มขึ้น ซึ่งถือเป็นกลยุทธ์ “วิน-วิน” เนื่องจากพฤกษาต้องการเจาะขยายตลาดระดับพรีเมียมมากขึ้น ส่วนสตาร์บัคส์จะได้ลูกค้าประจำที่มีกำลังซื้อสูง ประเสริฐ แต่ดุลยสาธิต ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจพฤกษาเรียลเอสเตท-พรีเมียม บริษัท พฤกษา เรียลเอสเตท จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า

Read More

“ศุภาลัย” โดดชิงแลนด์มาร์ก ตัดหน้า “วัน แบงค็อก”

ในที่สุด บริษัท ศุภาลัย จำกัด (มหาชน) สามารถเอาชนะศึกประมูลซื้อที่ดินสถานทูตออสเตรเลีย เนื้อที่ 7 ไร่ 3 งาน 82 ตารางวา บนถนนสาทร ติดถนนสวนพลู มูลค่าที่ดิน 4,600 กว่าล้านบาท หรือคิดเป็น ตร.ว. ละ 1.45 ล้านบาท ฝ่าด่านคู่แข่งที่มีทั้งบริษัทยักษ์ใหญ่ในตลาดหลักทรัพย์ฯ และสถาบันการเงินนับสิบราย เบื้องต้น นายประทีป ตั้งมติธรรม ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ศุภาลัย จำกัด (มหาชน) วางแผนพลิกโฉมที่ดินแปลงดังกล่าวเป็นโครงการขนาดใหญ่ และหมายมั่นปั้นเป็นแลนด์มาร์กใหม่ในย่านถนนสาทร-สีลม ซึ่งจะประกอบด้วยอาคารชุดพักอาศัยหรือคอนโดมิเนียมระดับเกรดเอ อาคารสำนักงานให้เช่า ซึ่งรวมถึงรูปแบบโครงการมิกซ์ยูส มูลค่าโครงการรวม 17,000-20,000 ล้านบาท หากวิเคราะห์เฉพาะจุดที่ตั้งของที่ดินสถานทูตออสเตรเลีย มีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ากว้าง 70 เมตร และลึกประมาณ 160 เมตร ติดถนนสาทรใต้ ซึ่งถือเป็นถนนสายสำคัญ และทำเลทองในย่านธุรกิจที่มีศักยภาพด้านการพัฒนาสูง ด้านหลังมีถนนที่สามารถออกซอยสวนพลูได้

Read More

ศึกฟาสต์ฟู้ด แมค-เคเอฟซี เมื่อ “เมเจอร์” ต้องชน “ไทยเบฟ”

สมรภูมิฟาสต์ฟู้ดพลิกโฉมครั้งใหญ่และกลายเป็นสงครามกลุ่มทุนไทยเต็มรูปแบบ โดยเฉพาะคู่แข่งตลอดกาลอย่าง “เคเอฟซี” และ “แมคโดนัลด์” เมื่อบริษัทไทยเบฟเวอเรจของนายเจริญ สิริวัฒนภักดี ทุ่มทุนกว่า 11,300 ล้านบาท ซื้อกิจการร้านเคเอฟซี 240 แห่ง และร้านที่กำลังเปิดใหม่ในประเทศไทยจากบริษัท ยัม เรสเทอรองตส์ อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) จำกัด เพื่อสร้างเน็ตเวิร์กรุกขยายธุรกิจร้านอาหาร ขณะที่กิจการร้านแมคโดนัลด์ในประเทศไทยอยู่ภายใต้การบริหารของบริษัท แมคไทย จำกัด มี นายวิชา พูลวรลักษณ์ จากค่ายเมเจอร์ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป ผู้นำธุรกิจโรงภาพยนตร์ และกลุ่มพันธมิตร ถือหุ้นใหญ่กว่า 70% โดยกลุ่มนายวิชากระโดดซื้อหุ้นจากผู้ถือหุ้นเดิมที่เป็นกลุ่มต่างประเทศเมื่อปี 2549 เคเอฟซีในฐานะแบรนด์ร้านอาหารจานด่วนอันดับหนึ่งในประเทศไทย โดยวัดจากส่วนแบ่งและจำนวนสาขา ยังมีผู้ถือสิทธิ์แฟรนไชส์อีก 2 ราย คือ บริษัท เซ็นทรัล เรสตอรองส์ กรุ๊ป จำกัด (ซีอาร์จี) ในกลุ่มเซ็นทรัล ซึ่งเป็นพาร์ตเนอร์ของยัมฯ มายาวนานกว่า 30 ปี มีประสบการณ์ในธุรกิจอาหาร

Read More

สกว.หนุนสมาร์ทฟาร์มมิ่ง สร้างมูลค่าเพิ่มสินค้าเกษตร

วัฏจักรของปัญหาว่าด้วยผลผลิตทางการเกษตรล้นตลาด คุณภาพไม่ได้มาตรฐาน ราคาตกต่ำ แต่ในขณะที่บางช่วงผลผลิตที่ได้กลับไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้บริโภค สิ่งเหล่านี้ยังคงเป็นประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้นในภาคการเกษตร อันเป็นอีกหนึ่งฟันเฟืองขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไทย ความพยายามแก้ปัญหาดังกล่าวจึงเกิดขึ้นในทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) เป็นอีกหนึ่งหน่วยงานที่พยายามคิดค้นหาวิธีการแก้ปัญหาและพัฒนาต่อยอด ผ่านการสนับสนุนทุนวิจัยอย่างต่อเนื่อง ให้เกิดองค์ความรู้ ตลอดจนนวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อนำผลการวิจัยที่ได้มาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมในหลากหลายมิติ ย้อนกลับไปเมื่อหลายปีก่อน ตลาดผลไม้ได้ทำความรู้จักกับมะม่วงสายพันธุ์ใหม่ที่เข้ามาสร้างสีสันให้กับตลาด ในชื่อ “มะม่วงมหาชนก” มะม่วงพันธุ์เฉพาะของไทย ที่เกิดจากการผสมข้ามสายพันธุ์ระหว่างมะม่วงพันธุ์ซันเซทของอเมริกากับพันธุ์หนังกลางวันของไทย จนได้มะม่วงที่มีลักษณะเด่นแตกต่างจากมะม่วงในท้องตลาด มะม่วงมหาชนกมีลักษณะผลกลมยาว ปลายงอน ผลใหญ่ กลิ่นหอมมีเอกลักษณ์ ผลเมื่อสุกมีสีแดงสวยงาม รสชาติหวานหอม เนื้อไม่เละ เป็นที่ต้องการของทั้งผู้บริโภคชาวไทยและต่างชาติ และเป็นผลไม้ที่มีอนาคตไกลสำหรับการส่งออก ในขณะนั้นปริมาณการส่งออกมะม่วงมหาชนกเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งตลาดประเทศญี่ปุ่น ที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างสูง ทั้งแบบผลสุกและแปรรูป ระยะต่อมาความนิยมในมะม่วงมหาชนกกลับลดลง เหตุเพราะพบปัญหาสีของผลที่สุกแล้วกลับไม่เป็นสีแดงอันเป็นเอกลักษณ์ของมะม่วงมหาชนก เหมือนที่เคยเป็นมา ทำให้ผู้บริโภคลดความนิยมลง ทั้งที่เป็นมะม่วงที่ปลูกง่าย ให้ผลเร็ว ทนต่อโรคและแมลง ให้ผลตอบแทนต่อต้นสูง และอุดมด้วยคุณค่าทางอาหาร จากปัญหาดังกล่าวจึงนำไปสู่การศึกษาวิจัย “ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดสีแดงและปริมาณสารสกัดแอนโทไซยานินอันเป็นสารต้านอนุมูลอิสระในมะม่วงมหาชนก” ของ ผศ.ดร.พีระศักดิ์ ฉายประสาท คณะเกษตรศาสตร์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยนเรศวร เพื่อแก้ปัญหาให้กับเกษตรกร รวมถึงพัฒนาและสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับมะม่วงมหาชนก อันจะนำไปสู่การต่อยอดการผลิตเชิงพาณิชย์ ซึ่งการวิจัยครั้งนี้ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) จากการวิจัยพบว่า

Read More

ธุรกิจพลังงาน: ทางเลือกเพื่อทดแทนหรือกระแสทุน?

ในช่วง 3-5 ปีที่ผ่านมา ประเด็นว่าด้วยการขยายตัวเข้าสู่ธุรกิจพลังงานทดแทนของบรรษัทใหญ่น้อย ทั้งที่เป็นธุรกิจจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ หรือการรุกคืบเข้ามาขยายธุรกิจของกลุ่มทุนใหญ่เพื่อแสวงหาช่องทางรายได้ใหม่ในอนาคต หลังจากที่ธุรกิจเดิมเริ่มส่อเค้าว่ากำลังเดินทางเข้าสู่หนทางตัน กลายเป็นประเด็นที่หลายฝ่ายให้ความสนใจไม่น้อยเลย ภายใต้ข้อเท็จจริงที่ว่ารัฐไทยพยายามส่งเสริมให้ประเทศไทยพึ่งพาการใช้พลังงานทดแทนมากขึ้น โดยก่อนหน้านี้ กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงานได้กำหนดแผนพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก พ.ศ.2558-2579 หรือ AEDP: 2015 (Alternative Energy Development Plan: AEDP 2015) ซึ่งนับเป็นกรอบโครงในการพัฒนาพลังงานที่มีระยะยาวถึง 20 ปี ภายใต้วัตถุประสงค์ เพื่อให้ประเทศไทยสามารถพัฒนาพลังงานทดแทนให้เป็นพลังงานหลักของประเทศทดแทนการนำเข้าน้ำมันได้ในอนาคต เสริมสร้างความมั่นคงด้านพลังงานของประเทศ สนับสนุนอุตสาหกรรมการผลิตเทคโนโลยีพลังงานทดแทนในประเทศ และเพื่อวิจัยพัฒนาส่งเสริมเทคโนโลยีพลังงานทดแทนสัญชาติไทยให้สามารถแข่งขันในตลาดสากล ควบคู่กับการกำหนดยุทธศาสตร์ส่งเสริมการพัฒนาพลังงานทดแทนตามแผน AEDP 6 ประเด็น ประกอบด้วย การส่งเสริมให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการผลิตและการใช้พลังงานทดแทนอย่างกว้างขวาง การปรับมาตรการจูงใจสำหรับการลงทุนจากภาคเอกชนให้เหมาะสมกับสถานการณ์ การแก้ไขกฎหมาย และกฎระเบียบที่ยังไม่เอื้อต่อการพัฒนาพลังงานทดแทน การปรับปรุงระบบโครงสร้างพื้นฐาน เช่น ระบบสายส่ง สายจำหน่ายไฟฟ้า รวมทั้งการพัฒนาสู่ระบบ Smart Grid การประชาสัมพันธ์ และสร้างความรู้ความเข้าใจต่อประชาชน การส่งเสริมให้งานวิจัยเป็นเครื่องมือในการพัฒนาอุตสาหกรรมพลังงานทดแทนแบบครบวงจร หากแต่เป้าหมายในการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนตาม AEDP: 2015 กลับมีสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนในภาพรวมอยู่ที่เพียงร้อยละ 20

Read More

บ้านปูจับธุรกิจปลายน้ำ เดินหมากด้วยพลังงานแสงอาทิตย์

ความแข็งแกร่งของบริษัทบ้านปูดูจะเป็นที่ประจักษ์ต่อสายตานักลงทุนทั้งชาวไทยและต่างชาติไม่น้อย ด้วยชื่อชั้นการเป็นบริษัทที่ประกอบธุรกิจด้านพลังงานจากถ่านหิน น่าจะสามารถเรียกได้ว่าเป็นมือวางอันดับต้นๆ ในแวดวงธุรกิจพลังงาน กระนั้นเมื่อวันที่ 28 สิงหาคม ที่ผ่านมา การเปิดตัวบริษัทลูกที่ถือว่าเป็นน้องใหม่แห่งวงการธุรกิจพลังงานอย่างบริษัท บ้านปู อินฟิเนอร์จี จำกัด ในฐานะผู้ให้บริการด้านการวางระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์แบบครบวงจร “ถ้าเปรียบบริษัทบ้านปู เป็นเหมือนลูกชาย บริษัท บ้านปู อินฟิเนอร์จี ก็เป็นเหมือนลูกสาว” สมฤดี ชัยมงคล กรรมการบริษัท บ้านปู อินฟิเนอร์จี จำกัด กล่าวในพิธีเปิด แม้ว่านัยหนึ่งของการเบนเข็มธุรกิจของบ้านปูมาให้ความสำคัญในธุรกิจพลังงานแสงอาทิตย์มากขึ้น จะสอดคล้องกับนโยบายด้านพลังงานของรัฐบาล ที่มีแผนว่าจะพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก โดยแผนดังกล่าวเริ่มตั้งแต่ พ.ศ.2558-2579 (Alternative Energy Development plan: AEDP 2015) ซึ่งกระทรวงพลังงานได้ตั้งเป้าเพิ่มการใช้พลังงานทดแทนโดยรวมของประเทศจาก 13.9 เปอร์เซ็นต์ในปัจจุบัน เป็น 30 เปอร์เซ็นต์ภายในปี 2579 กระนั้นอีกนัยหนึ่งที่น่าขบคิดว่า นี่อาจจะเป็นเหตุผลสำคัญที่เป็นต้นกำเนิดของบริษัท บ้านปู อินฟิเนอร์จี นั่นเพราะการขาดทุนสูงถึง 1,534 ล้านบาท ในปี 2558

Read More

มองสัมพันธ์ จีน-อินเดีย ผ่าน BRICS Summit

การประชุมสุดยอดผู้นำกลุ่มประเทศ BRICS เมื่อต้นเดือนกันยายนที่ผ่านมา ในด้านหนึ่งอาจได้รับการประเมินจากผู้นำและสื่อบางประเทศว่ามีความสำคัญในฐานะที่ได้เข้าร่วมในการประชุมประเทศคู่สนทนาระหว่างผู้นำกลุ่มประเทศ BRICS กับประเทศตลาดเกิดใหม่และประเทศกำลังพัฒนา (Dialogue between Emerging Market Economies and Developing Countries : EMDCD) หากแต่ภายใต้กรอบโครงที่ใหญ่กว่านั้น BRICS Summit กำลังเป็นเวทีที่สองมหาอำนาจในเอเชีย ทั้งจีนและอินเดีย ต่างสำแดงพลัง และสร้างสมดุลใหม่ให้เกิดขึ้น แม้ว่า BRICS จะประกอบส่วนด้วย บราซิล รัสเซีย อินเดีย จีน และแอฟริกาใต้ แต่ความสนใจหลักจากการประชุมในครั้งนี้ ดูจะพุ่งประเด็นหลักไปที่บทบาทของจีนในการประกาศยุทธศาสตร์เชิงรุกผ่านกลไกของ EMDCD และท่าทีของจีนต่อความสัมพันธ์ทวิภาคีที่มีต่ออินเดีย มหาอำนาจอีกรายหนึ่งที่กำลังแสดงพลังคัดง้างบทบาทของจีนอย่างเห็นได้ชัด แม้ว่าจะอยู่ร่วมในกรอบความร่วมมือ BRICS ด้วยกันก็ตาม ความพยายามที่จะเพิ่มพูนและแข่งขันการมีบทบาทของจีนและอินเดียในเวทีเศรษฐกิจการเมืองโลกไม่ใช่เรื่องที่เพิ่งเกิดขึ้น หากมีประวัติศาสตร์และพัฒนาการที่ต่อเนื่องยาวนาน ท่ามกลางความสัมพันธ์ที่อาจเรียกได้ว่าทั้งรักทั้งชัง ที่ดำเนินไปด้วยความร่วมมือและขัดแย้งอยู่เป็นระยะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อจีนริเริ่มยุทธศาสตร์ Belt and Road Initiative (BRI) ตั้งแต่เมื่อช่วงปลายปี 2013 ซึ่งต่อมาได้รับการขนานนามในฐานะ The One

Read More

ดีลิเวอรี่แข่งเดือด “ซูเปอร์สโตร์-ตลาดสด” เปิดศึก

แม้มูลค่าตลาด E-Commerce ในประเทศไทยยังเติบโตไม่ถึง 15% ต่อปี และมีมูลค่าอย่างเป็นทางการราว 50,000 ล้านบาท หรือแค่ 1-2% ของมูลค่าค้าปลีกรวม แต่คาดการณ์อีก 3-5 ปีข้างหน้ามูลค่าตลาดจะเพิ่มขึ้นถึงขั้นก้าวกระโดดหลายเท่าตามการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว ทั้งด้านเทคโนโลยี นวัตกรรมและการเดินหน้านโยบาย “ไทยแลนด์ 4.0” ของรัฐบาล เฉพาะ 1-2 ปีนี้ หากสำรวจตลาดสินค้าออนไลน์พบว่า สินค้าแฟชั่น เครื่องสำอาง และสินค้าอุปโภคบริโภคยังได้รับความนิยมสูงสุดบนช่องทางออนไลน์ แต่เทรนด์ใหม่ที่กำลังเกิดขึ้น คือ สินค้าประเภทอาหารสดและอาหารพร้อมรับประทานกำลังกลายเป็นสินค้ายอดนิยมในช่องทางออนไลน์เพิ่มมากขึ้น ข้อมูลจาก LINE ประเทศไทย เจ้าของบริการ “ไลน์ แมน” (LINE MAN) สะท้อนให้เห็นชัดเจน เพราะบริการ 4 ประเภทของไลน์แมน คือ บริการสั่งซื้ออาหาร (Food Delivery) บริการรับ-ส่งสิ่งของ (Messenger) บริการสั่งสินค้าผ่านร้านสะดวกซื้อ (Convenience Goods) และบริการรับส่งสิ่งของผ่านไปรษณีย์ (Postal)

Read More

“เทสโก้” ดิ้นปรับโฉม ดัน “ไฟน์เนส” เจาะพรีเมียม

“เทสโก้ โลตัส” ประกาศปรับภาพลักษณ์แผนกอาหารสดครั้งใหญ่ โดยจะประเดิมสาขาไฮเปอร์มาร์เกต สุขุมวิท 50 เผยโฉม “นิวลุค” แห่งแรกเป็นต้นแบบในวันที่ 7 กันยายนนี้ ก่อนขยายไปยังสาขาอื่นๆ ด้วย 2 จุดขายหลัก คือ เน้นความพรีเมียมและกลุ่มสินค้านำเข้า ความเคลื่อนไหวของยักษ์ใหญ่ซูเปอร์สโตร์ครั้งนี้ส่งสัญญาณความพยายามอย่างต่อเนื่องที่จะขยายฐานลูกค้ากลุ่มกำลังซื้อสูง เพื่อกระจายความเสี่ยงจากพิษเศรษฐกิจที่ยังเจอปัญหาหนี้ครัวเรือนพุ่งสูงไม่หยุดและในภาวะสงครามการแข่งขันอย่างรุนแรง ลด แลก แจก แถม แม้ดึงดูดกลุ่มลูกค้าได้ แต่กลายเป็นโปรโมชั่นไม่ต่างจากคู่แข่งและยิ่งกดดันเรื่องการทำรายได้ ที่สำคัญ การทุ่มงบจัดแคมเปญตัดราคาสินค้ากลับไม่ได้กระตุ้นความถี่หรือยอดจับจ่ายต่อบิลสูงขึ้น เนื่องจากกลุ่มลูกค้า โดยเฉพาะระดับล่างถึงกลางเปลี่ยนพฤติกรรม ลดความถี่ เลือกซื้อเฉพาะสินค้าจำเป็น จำนวนน้อยชิ้นและขนาดเล็กลงไปด้วย ข้อมูลล่าสุดจากบริษัท กันตาร์ เวิล์ดพาแนล (ไทยแลนด์) หรือ KWP บริษัทวิจัยพฤติกรรมการจับจ่ายของผู้บริโภคในเชิงลึก ระบุผลวิจัยพฤติกรรมการจับจ่ายของผู้บริโภคเกี่ยวกับการซื้อเพื่อใช้ในบ้านและไลฟ์สไตล์การบริโภคนอกบ้าน โดยใช้ฐานผู้บริโภคตัวอย่างกว่า 4,000 กลุ่มครัวเรือนทั่วประเทศในช่วงครึ่งปีแรก พบว่า ผู้บริโภคชะลอจับจ่ายต่ำสุดในรอบ 10 ปี และคนไทยไม่มีความเชื่อมั่นในระบบเศรษฐกิจเลย เนื่องจากเกิดปัจจัยลบหลายอย่าง ทั้งผลกระทบจากน้ำท่วมใหญ่ ปัญหาการเมือง และปัญหาเศรษฐกิจต่างๆ โดยเฉพาะราคาพืชผลทางการเกษตรยังตกต่ำ

Read More