Home > ภัยแล้ง

วิกฤตภัยแล้ง 2563 บททดสอบการบริหารภาครัฐ

ท่ามกลางสถานการณ์และปัจจัยลบหลากหลายที่แวดล้อมและรุมเร้ารัฐนาวาประยุทธ์ 2 ซึ่งไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะความเป็นไปของภาวะเศรษฐกิจที่ตกต่ำลงอย่างต่อเนื่องและยังไม่มีบทสรุปว่าจะหยุดที่ห้วงเหวลึกระดับใด ประกอบกับสถานการณ์ระดับนานาชาติที่เพิ่มน้ำหนักเป็นปัจจัยลบคุกคามหนักหน่วงขึ้นไปอีก หรือแม้กระทั่งกรณีว่าด้วยเสถียรภาพทางการเมืองที่กำลังสั่นคลอนจากเหตุของการพิจารณาและลงมติเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีที่เนิ่นช้ายาวนานกว่าที่ควรจะเป็นแล้ว ภาวะภัยแล้งที่ดูจะมาถึงเร็วกว่าทุกปีและมีแนวโน้มที่จะส่งผลกระทบหนักหน่วงไปทั่วทุกภูมิภาคกำลังเป็นอีกหนึ่งในปัจจัยลบที่คุกคามเศรษฐกิจและสังคมไทยอย่างกว้างขวาง เพราะวิกฤตภัยแล้งในครั้งนี้ไม่ได้ส่งผลกระทบจำกัดเฉพาะต่อเกษตรกรผู้ประกอบการในภาคเกษตรกรรมที่เป็นฐานรากของสังคมไทยและมีภาพลักษณ์เป็นกลุ่มประชากรที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกลเช่นในอดีตที่ผ่านมาซ้ำแล้วซ้ำเล่าเท่านั้น หากแต่วิกฤตภัยแล้งที่เริ่มขึ้นตั้งแต่ต้นปี 2563 นี้ ยังส่งผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของประชาชนในเขตชุมชนเมืองหรือแม้กระทั่งในเขตกรุงเทพมหานคร เมืองหลวงของประเทศด้วย การขาดแคลนน้ำดิบเพื่อนำมาผลิตน้ำประปาของการประปานครหลวง (กปน.) จนเป็นเหตุให้ต้องร้องขออนุญาตเจาะบ่อบาดาลเพื่อนำน้ำบาดาลไปใช้ผลิตน้ำประปาใน 4 พื้นที่ ประกอบด้วยพื้นที่ บางเขน มีนบุรี ลาดกระบัง และสมุทรปราการ โดยเป็นบ่อขนาด 10 นิ้ว จำนวน 4 บ่อ ความลึกของบ่อตั้งแต่ 350-600 เมตร ซึ่งกรมทรัพยากรน้ำบาดาล ได้อนุญาตในเบื้องต้นแล้วจำนวน 3 บ่อ คือที่บางเขน มีนบุรี ลาดกระบัง ส่วนสมุทรปราการยังอยู่ในขั้นตอนการพิจารณา ข้อเท็จจริงที่น่าสนใจจากกรณีดังกล่าวก็คือ แม้การเจาะน้ำบาดาลแต่ละบ่อจะสามารถนำน้ำบาดาลไปผลิตเป็นน้ำประปาได้เดือนละ 53,760 ลบ.ม. มีประชาชนได้รับประโยชน์กว่า 5 พันครัวเรือน แต่การที่การประปานครหลวงขออนุญาตเจาะบ่อบาดาลในครั้งนี้ ถือเป็นครั้งแรกที่มีการขอใช้น้ำใต้ดินหรือน้ำบาดาลไปใช้ผลิตเป็นน้ำประปา ซึ่งสะท้อนภาพการขาดแคลนทรัพยากรน้ำบนดินได้ชัดเจนที่สุด ก่อนหน้านี้ คุณภาพของน้ำประปาที่การประปานครหลวงผลิตและแจกจ่ายไปยังครัวเรือนในเขตพื้นที่บริการ ได้รับการตั้งคำถามอย่างหนักเมื่อพบว่าน้ำประปามีค่าความเค็มเกินมาตรฐานจากผลของการขาดแคลนน้ำจากภาวะภัยแล้งและเผชิญกับปัญหาน้ำทะเลหนุนสูง โดยนํ้าประปาของ กปน.

Read More

แล้ง-ล่ม-ท่วม ซ้ำซาก ความล้มเหลวของการจัดการ “น้ำ”

ภาพแห่งความพลิกผันระหว่างการลงพื้นที่เพื่อสำรวจภัยแล้งและการเร่งระดมสรรพกำลังเพื่อบรรเทาสาธารณภัยจากเหตุน้ำท่วมฉับพลันในหลายพื้นที่ของประเทศไทยในช่วงเวลาไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา ดูจะเป็นประหนึ่งภาพแห่งความตัดกันของสถานการณ์ที่สะท้อนความสามารถในการบริหารจัดการน้ำของประเทศไทยได้ดีไม่น้อยเลย ข้อเท็จจริงที่ทุกฝ่ายในสังคมตระหนักก็คือ น้ำเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่มีความสำคัญต่อการดำรงชีวิต และการพัฒนาทางเศรษฐกิจ การบริหารจัดการน้ำทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพอย่างเป็นรูปธรรมทั้งในระยะสั้นและระยะยาวจึงเป็นสิ่งที่หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย และชุมชนในลุ่มน้ำ ควรต้องร่วมกันทบทวนและปรับปรุงกระบวนการจัดการน้ำให้มีความเหมาะสมกับกาลปัจจุบัน ด้วยแนวคิดของนโยบายที่ตั้งอยู่บนฐานแห่งความเป็นจริง และสามารถปฏิบัติได้โดยอาศัยข้อมูล ความรอบรู้ และสติปัญญาของผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายที่เข้าใจในรากเหง้าแห่งปัญหา ความขาดไร้ซึ่งเอกภาพในการบริหารจัดการทั้งในระดับนโยบายและระดับปฏิบัติ รวมถึงการขาดข้อมูลในการวางแผน การตัดสินใจสั่งการ ขาดกฎหมาย แผนแม่บท และองค์กรที่กํากับดูแลในภาพรวมการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำทั้งระบบ กลายเป็นอุปสรรคสำคัญที่ทําให้สังคมไทยไม่สามารถบริหารจัดการทั้งก่อนการเกิดภัย ระหว่างเกิดภัย และหลังการเกิดภัย ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และก่อให้เกิดปัญหาในการบริหารจัดการน้ำที่ดำเนินมาอย่างซ้ำซาก ประหนึ่งว่าสังคมไทยแห่งนี้ขาดองค์ความรู้ในการเรียนรู้และเก็บรับบทเรียนเพื่อการพัฒนาไปโดยปริยาย ความพยายามในการจัดตั้งสำนักงานบริหารจัดการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ตามคำสั่ง คสช. ที่ 46/2560 เมื่อเดือนตุลาคม 2560 หรือกว่าสองปีล่วงมาแล้ว เพื่อเป็นหน่วยงานในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำของประเทศให้มีประสิทธิภาพ สมดุล เป็นธรรม และสามารถแก้ไขปัญหาได้ทั้งระบบ ควบคู่กับการปรับปรุง ทบทวน กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ ด้านทรัพยากรน้ำ การพัฒนาองค์กรการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำทุกระดับ และการจัดทําแผนการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ การติดตามและประเมินผล การพัฒนาระบบ ฐานข้อมูล แต่นั่นก็ดูจะเป็นเพียงกระบวนการเริ่มต้นของกลไกราชการที่ยังไม่มีสิ่งใดให้ได้จับต้องเป็นชิ้นเป็นอัน นอกเหนือจากการโอนย้ายบุคลากรจากหน่วยงานที่มีอยู่เดิมมารวมกันไว้ในที่แห่งเดียวกัน การเกิดมีขึ้นของสำนักงานบริหารจัดการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.)

Read More

ภาคเกษตรวิกฤตหนัก ภัยแล้ง-ราคาตก ฉุดเศรษฐกิจไทย

หลังจากกรมอุตุฯ ประกาศการเข้าสู่ฤดูร้อนอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา แต่ดูเหมือนว่าในช่วงเวลาดังกล่าวสถานการณ์ความเป็นไปที่เกิดขึ้นในประเทศหลายระนาบ ดูจะร้อนระอุเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว ทั้งสถานการณ์การเมืองที่ไทยกำลังเดินหน้าเข้าสู่การเลือกตั้ง สถานการณ์เศรษฐกิจไทยที่นับวันกราฟการเติบโตจะค่อยๆ ไต่ลงอย่างไม่อาจต้านทาน ด้วยผลกระทบทั้งจากภายนอกประเทศและในประเทศ อุณหภูมิในประเทศที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปี ยิ่งสร้างความวิตกกังวลให้แก่บรรดาเกษตรกรและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องไม่น้อย เพราะนั่นเป็นสัญญาณบ่งบอกว่า “ภัยแล้ง” ปีนี้เดินทางมาถึงเร็วกว่าปกติและอาจจะยาวนานขึ้น โดยเฉพาะปีนี้ที่อุณหภูมิจะสูงขึ้นจากค่าปกติ 1-2 องศาเซลเซียส การประกาศของกรมอุตุนิยมวิทยา นอกจากประชาชนต้องเตรียมพร้อมรับมือสภาพอากาศที่ร้อนอบอ้าวแล้ว เกษตรกรจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องตั้งรับเพื่อให้พร้อมกับสถานการณ์ภัยแล้งที่ดูเหมือนจะกระหน่ำซ้ำเติมสภาพความแร้นแค้นให้หนักหน่วงขึ้น หากไร้ซึ่งความพร้อม นอกเหนือไปจากสภาพอากาศที่เป็นอุปสรรคต่อการเพาะปลูกแล้ว ปริมาณน้ำในเขื่อนปีนี้น่าจะสร้างความวิตกกังวลให้ไม่น้อย เมื่อกรมชลประทานเปิดเผยรายงานสถานภาพน้ำในเขื่อนต่างๆ (ข้อมูลล่าสุดวันที่ 13 มีนาคม 2562) ปริมาณน้ำที่ใช้การได้ในเขื่อนทั้งประเทศลดลง 13 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันกับปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะเขื่อนในภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เขื่อนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่มีปริมาณน้ำน้อยเข้าขั้นวิกฤต คือ เขื่อนอุบลรัตน์ มีปริมาณน้ำน้อยกว่า 30 เปอร์เซ็นต์ รนก. (ระดับน้ำเก็บกักของอ่างฯ) และเขื่อนในภาคกลาง ได้แก่ เขื่อนกระเสียว เขื่อนทับเสลา ขณะที่เขื่อนที่มีปริมาณน้ำน้อย คือที่ระดับ 30-50 เปอร์เซ็นต์ รนก. ได้แก่ เขื่อนคลองสียัด เขื่อนขุนด่านปราการชล เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ เขื่อนลำแซะ

Read More