Home > 2015 > ธันวาคม

Uber ร่วมกับมูลนิธิเมาไม่ขับ ดึงคนเมาแล้วขับออกจากท้องถนนในกรุงเทพมหานครช่วงเทศกาล

  Uber ร่วมกับ มูลนิธิ เมาไม่ขับ รวมพลังช่วยลดจำนวนผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุซึ่งมีสาเหตุมาจากการเมาแล้วขับขี่ยานพาหนะในช่วงเทศกาลที่จะถึงนี้ ประเทศไทยมีสถิติผู้เสียชีวิตบนท้องถนนที่มีสาเหตุมาจากการดื่มแอลกอฮอล์มากที่สุดเป็นอันดับสองของโลก จากการรายงานขององค์การอนามัยโลก หรือ WHO พบว่าร้อยละ 26 ของการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนท้องถนนเกิดจากการเมาแล้วขับทั้งสิ้น ซึ่งเป็นการสูญเสียชีวิตจำนวนมากที่ไม่น่าจะเกิดขึ้นในแต่ละปี โดยช่วงเวลาที่เกิดอุบัติเหตุพบว่าเป็นช่วงกลางคืนโดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์ในขณะที่เดินทางกลับบ้านหลังจากดื่มสังสรรค์ ในขณะที่รถขนส่งสาธารณะได้หยุดให้บริการ หรือมีการให้บริการในช่วงเวลาที่จำกัด และจำนวนรถแท็กซี่ที่มีให้บริการมีจำนวนไม่มากในช่วงกลางดึก การร่วมมือครั้งนี้จะนำเทคโนโลยีเครื่องวัดระดับแอลกอฮอล์แบบดิจิตัลสู่แหล่งท่องเที่ยวยามราตรีในย่านทองหล่อระหว่างเดือนธันวาคมและมกราคมปีหน้า ควบคู่กับวิธีลดการเมาแล้วขับได้ทันที เนื่องจาก Uber จะให้บริการส่งผู้โดยสารกลับบ้านโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายด้วย โดยประเทศไทยจะเป็นประเทศที่สามในโลกที่เริ่มใช้จุดบริการนี้ ถัดจากประเทศแคนาดาและเวียดนาม เมื่อชาวกรุงเทพฯ ที่ออกไปร่วมงานเลี้ยงงานสังสรรค์ต้องการที่จะกลับบ้าน เขาสามารถตรวจสอบปริมาณแอลกอฮอล์ในร่างกายได้โดยการใช้หลอดเป่าลมเข้าไปที่เครื่องวัดระดับแอลกอฮอล์แบบดิจิตัลที่จุดให้บริการ หลังจากนั้นเครื่องจะแจ้งปริมาณแอลกอฮอล์ที่ตรวจพบว่ามีปริมาณมากหรือน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนด ซึ่งจะเป็นการตรวจสอบระดับแอลกอฮอล์ที่เสมือนกับการตรวจของเจ้าหน้าที่เพื่อหลีกเลี่ยงอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นจากการเมาแล้วขับขี่ยานพาหนะ หากพบว่าปริมาณที่ตรวจพบเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด Uber ร่วมกับ มูลนิธิเมาไม่ขับ จะเชื่อมต่อผู้ที่ใช้เครื่องเข้ากับบริการเรียกรถของอูเบอร์ ให้ผู้ที่ตรวจระดับแอลกอฮอล์เกินกำหนด กลับบ้านได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายในวงเงินค่าโดยสารสูงสุด 200 บาท ซึ่งบริการนี้สามารถใช้ได้ทั้งผู้ที่ใช้งาน Uber เป็นประจำ และผู้ที่เริ่มใช้งานใหม่ Uber เชื่อมั่นเป็นอย่างยิ่งว่า ความร่วมมือครั้งนี้ จะมีส่วนช่วยสร้างความตระหนักให้กับผู้ที่ดื่มสังสรรค์ในช่วงเทศกาลเป็นอย่างมาก และช่วยให้เกิดความรับผิดชอบต่อสังคม โดยไม่ขับรถในขณะมึนเมา นายชาน พาร์ค ผู้จัดการทั่วไป ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ Uber กล่าวในงานแถลงข่าวครั้งนี้ว่า “มีหลายชีวิตที่ต้องสูญเสียไปจากคนที่เมาแล้วขับ

Read More

ยูกิ ขุมกำลังใหม่ของสิงห์ กับธุรกิจนอนแอลกอฮอลล์

  ท่วงทำนองการก้าวเดินบนเส้นทางสายธุรกิจของ สิงห์ คอร์เปอเรชั่น ดูเหมือนจะดำเนินไปในทิศทางที่ไม่แตกต่างจากคู่แข่งอื่นๆ มากนัก เมื่อยังต้องฟาดฟันกันด้วยกลยุทธ์เพื่อผลักดันให้ผลิตภัณฑ์หลักของบริษัทอย่างเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์ติดอันดับต้นๆ ของความต้องการของผู้บริโภค เพื่อหวังมาร์เก็ตแชร์ของตลาดให้ได้มากที่สุด หากแต่เมื่อมองย้อนไปเมื่อปลายปี 2557 การขยับตัวของบริษัทยักษ์ใหญ่อย่างสิงห์ที่ดูเหมือนเป็นการปรับกลยุทธ์ที่ชัดเจนขึ้น เมื่อธุรกิจนอนแอลกอฮอลล์ถูกให้ความสำคัญและเป็นหมากตัวสำคัญในเกมการแข่งขันของสิงห์มากขึ้น ประกอบกับหมุดหมายในเรื่องของรายได้ที่ต้องการสูงขึ้นในสภาวะเศรษฐกิจอย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน เริ่มตั้งแต่ “สิงห์ ปาร์ค” จับมือกับผู้ผลิตชาเขียวจากญี่ปุ่นอย่าง “มารุเซ็น ที เจแปน” ปั้นแบรนด์ชาเขียวแบบมัทฉะ ที่จะเน้นการส่งออกต่างประเทศมากกว่าการทำตลาดในประเทศ ถัดมาคือการร่วมมือกันระหว่าง บริษัท วราฟู๊ดส์ ในเครือสิงห์ คอร์เปอเรชั่น และบริษัท ดอยช้าง คอฟฟี่ ออริจินอล ซึ่งตั้งบริษัทร่วมทุนในชื่อบริษัท DVS 2014 จำกัด โดยจะเน้นไปที่ธุรกิจกาแฟและยังขยายไปสู่รีเทลมากขึ้น และล่าสุดที่เพิ่งเปิดตัวผลิตภัณฑ์ไปหมาดๆ แม้ว่าจะเปิดบริษัทร่วมทุนกันไปตั้งแต่ต้นปีแล้วก็ตามระหว่าง บริษัท สิงห์ คอร์เปอเรชั่น บริษัท เฮสโก ฟู้ด อินดัสทรี และบริษัท ซังโกะ เซกะ ผู้ผลิตและจำหน่ายขนม Sambe (เซมเบ้) ขนมอบกรอบที่มียอดขายอันดับ 1

Read More

ขวบปีแรกของสิงห์-มารุเซ็น ผลผลิตใหม่จากยอดชา

 ระยะเวลาหนึ่งปีที่สิงห์-มารุเซ็น เปิดตัวและก่อตั้งโรงงานสำหรับผลิตชาเขียวญี่ปุ่น แม้ว่าในเวลานั้นผู้บริหารอย่างพงษ์รัตน์ เหลืองธำรงเจริญ จะไม่สามารถให้รายละเอียดที่เกี่ยวกับสินค้าและผลิตภัณฑ์ได้มากนัก หากแต่ในห้วงเวลานี้สิงห์คงจะสามารถพูดได้เต็มปากเต็มคำมากขึ้นเมื่อ สิงห์-มารุเซ็น พร้อมที่จะส่งผลิตภัณฑ์ที่เรียกว่า “ความภาคภูมิใจจากดินแดนเชียงราย” ออกสู่ตลาดเสียที ซึ่งความภูมิใจนั้นน่าจะมาจากการเพาะปลูกและผลิตชาเขียวญี่ปุ่นนอกประเทศญี่ปุ่นเป็นครั้งแรกบนที่ดินของ สิงห์ ปาร์ค เชียงราย การเติบโตของสิงห์-มารุเซ็น ดูเหมือนจะส่งผลให้ผู้บริหารมือใหม่อย่าง พงษ์รัตน์ เหลืองธำรงเจริญ กรรมการผู้จัดการ บริษัท มารุเซ็น ฟู้ด (ประเทศไทย) จำกัด แสดงวิสัยทัศน์ได้ชัดเจนขึ้น พร้อมทั้งเปิดเผยถึงเป้าหมายของบริษัทว่าจะมีการเริ่มส่งออกผลิตภัณฑ์ชาเขียวไปยังตลาดต่างประเทศ ซึ่งตลาดหลักจะอยู่ที่ภูมิภาคอาเซียน แต่ยกเว้นประเทศญี่ปุ่น ซึ่งมารุเซ็น ที เจแปน จะทำการตลาดเอง รวมไปถึงแนวทางการทำตลาดของชาเขียวมารุเซ็น จะเน้นไปที่กลุ่มเป้าหมายหลัก 2 กลุ่ม โดยกลุ่มแรกคือ ธุรกิจ B2B ประกอบด้วยกลุ่มโฮเรก้า (HoReCa) โรงแรม ภัตตาคาร ร้านอาหาร และธุรกิจรับจัดเลี้ยง ซึ่งในกลุ่มนี้จะส่งผลิตภัณฑ์ชาเขียวมัทฉะ หรือชาเขียวชนิดผง (Matcha) สำหรับกลุ่มที่สองคือ กลุ่มผู้บริโภคทั่วไป B2C ซึ่งจำหน่ายสินค้าผ่านช่องทางค้าปลีก เช่น ท็อป

Read More

150 ปีโคลัมโบ

 ตลอดทั้งเดือนธันวาคม ต้องถือว่าเป็นช่วงเวลาที่อุดมไปด้วยกิจกรรมมากมายและหลากหลายมิติให้ได้ร่วมรำลึกและเฉลิมฉลองจริงๆ นะคะ ไม่เว้นแม้แต่ผู้คนในสังคมศรีลังกาโดยเฉพาะชาวกรุงโคลัมโบ ที่มีเหตุให้ได้เฉลิมฉลองด้วยเช่นกัน เพราะในปีนี้ถือเป็นปีที่ 150 ของการก่อตั้ง Colombo Municipal Council ที่นอกจากจะมีมิติของการรำลึกร่องรอยอดีตเมื่อครั้งยังอยู่ภายใต้อาณานิคมของอังกฤษแล้ว โคลัมโบยังถือให้ปีนี้เป็นประหนึ่งหลักไมล์เริ่มต้นสำหรับการพัฒนาที่อุดมด้วยพลวัตไปสู่หมุดหมายใหม่ที่ไกลออกไปข้างหน้า ภายใต้คำขวัญที่ว่า “Colombo marvel of cohesion” ไม่เพียงแต่สะท้อนการยอมรับความหลากหลายที่ดำเนินอยู่ในพหุสังคมแห่งนี้เท่านั้น หากแต่ยังพยายามนำความแตกต่างที่ซุกซ่อนพลังแห่งการสร้างสรรค์ออกมาอำนวยประโยชน์ช่วยผลักดันบริบทใหม่ๆ ให้เกิดขึ้นกับสังคมด้วย ภาพตราสัญลักษณ์เฉลิมฉลอง 150 ปีของโคลัมโบ ซึ่งดูเรียบง่ายแฝงไว้ด้วยนัยความหมายที่สังคมศรีลังกามุ่งหวัง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการก้าวไปสู่อนาคตครั้งใหม่ที่เต็มไปด้วยโอกาสที่เรืองรองและสันติภาพความสงบสุขของสังคมที่เป็นประเด็นฉุดรั้งความจำเริญของศรีลังกามาอย่างยาวนาน การเฉลิมฉลองที่หน้าอาคารที่ทำการของเมืองโคลัมโบ หรือ Colombo Town Hall ดำเนินไปอย่างต่อเนื่องนับสัปดาห์ในช่วง 9-15 ธันวาคมที่ผ่านมา ท่ามกลางการดูแลรักษาความปลอดภัยไม่ให้เกิดเหตุร้ายไม่พึงประสงค์ ควบคู่กับเวทีสันทนาการและการประกาศวิสัยทัศน์เพื่อการพัฒนาโคลัมโบไปสู่อนาคต ข้อเท็จจริงที่น่าสนใจก็คือ ในช่วงเวลา 3-5 ปีที่ผ่านมา โคลัมโบเติบโตด้วยอัตราเร่งที่ทำให้หลายฝ่ายต่างเฝ้ามองด้วยสายตาที่ทั้งฉงนฉงายระคนกับการแสวงหาโอกาสในการเข้าเป็นส่วนหนึ่งในพัฒนาการที่ว่านี้อย่างไม่ลดละ การเกิดขึ้นของกลุ่มอาคารสูงและโครงการพัฒนาที่ดินขนาดใหญ่ ผุดพรายเข้าเบียดแทรกไม่เฉพาะกับพื้นที่รกร้างที่ถูกทิ้งอย่างไร้ประโยชน์ในช่วงก่อนหน้านี้เท่านั้น หากยังรุกคืบเข้าสู่ย่านชุมชนเก่าที่ถูกเรียกขานว่าสลัมเมือง ที่ย่อมต้องมีผลต่อการบริหารจัดการและจัดหาที่อยู่ใหม่ให้กับกลุ่มประชากรเหล่านี้ไปพร้อมกันด้วย การผนึกผสานพัฒนาการครั้งใหม่ดำเนินไปท่ามกลางความพยายามเก็บรักษาและอนุรักษ์ความรุ่งเรืองครั้งเก่าได้อย่างลงตัว ซึ่งสะท้อนหลักคิดในมิติของรากวัฒนธรรมที่ดำเนินสืบเนื่องผ่านการเปลี่ยนแปลงในแต่ละช่วงเวลาได้เป็นอย่างดี ในช่วงระยะ 2-3 ปีที่ผ่านมาโคลัมโบได้เปิดรับโครงการลงทุนและพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ขนาดใหญ่หลากหลายโครงการ ซึ่งแต่ละโครงการก็ล้วนมีเข็มมุ่งที่จะเป็นสุดยอดแห่งโครงการไม่เฉพาะในบริบทของศรีลังกาเท่านั้น หากแต่ยังวางเป้าให้เป็นที่สุดแห่งโครงการในระดับภูมิภาคเอเชียใต้อีกด้วย แม้ว่าความเป็นไปของโคลัมโบในด้านหนึ่งจะผูกพันกับยุทธศาสตร์การพัฒนาของรัฐบาลศรีลังกาในภาพรวมอย่างยากที่จะแยกออก แต่นั่นก็มิได้หมายความว่าปรากฏการณ์เหล่านี้จะสำเร็จลุล่วงได้หากปราศจากศักยภาพของโคลัมโบและการบริหารจัดการในระดับท้องถิ่นที่มีประสิทธิภาพในการแบกรับภารกิจสำคัญนี้ ความทะเยอทะยานของนักลงทุนที่ประกอบส่วนกับวิสัยทัศน์และยุทธศาสตร์การจัดวางตำแหน่งของศรีลังกาในระดับภูมิภาคของผู้นำ ส่งผลให้โคลัมโบและศรีลังกาโดยรวมกลายเป็นจุดสนใจในการพัฒนาและคงความสำคัญในเชิงยุทธศาสตร์ในระดับนานาชาติอย่างต่อเนื่อง ทิศทางที่กำลังดำเนินไปของโคลัมโบ จึงไม่ได้ถูกจำกัดให้อยู่ท่ามกลางรากฐานที่อุดมด้วยสีสันแห่งประวัติศาสตร์ที่ยาวนานเท่านั้น หากโคลัมโบ กำลังก้าวสู่บริบทใหม่ของการพัฒนาที่พร้อมจะเป็นศูนย์กลางแห่งอนาคตครั้งใหม่ ที่น่าจับตาดูไม่น้อย ฉากแห่งความเรืองรองและมั่งคั่งที่กำลังรอคอยโคลัมโบอยู่เบื้องหน้ากำลังเป็นประหนึ่งความท้าทายครั้งใหม่ว่า

Read More

ส่องสมรภูมิค้าปลีกไทย ขุมทรัพย์หรือกับดักธุรกิจ

 ศักราชใหม่ปี 2559 ได้เริ่มขึ้นแล้ว และถ้อยวลีที่ว่า “ยุ่งเหยิงเหมือนลิงแก้แห” กำลังปรากฏภาพให้เห็นประจักษ์ชัดเจนขึ้นเป็นลำดับ และกำลังส่งผลกระทบแผ่ซ่านไปทั่วทั้งองคาพยพของสังคม  เพราะไม่เพียงแต่จะมีประเด็นให้ต้องขบคิดในเชิงสังคมการเมืองที่ดูเหมือนจะหาทางออกและจัดวางหนทางไปสู่การปฏิรูปที่เป็นรูปธรรมชัดเจนได้อย่างยากลำบากแล้ว ภาวะชะลอตัวทางเศรษฐกิจที่ยาวนานก็ยังไม่ปรากฏสัญญาณเชิงบวกให้ได้ขานรับกันมากนัก กรณีดังกล่าวนี้ส่งผลต่อบรรยากาศและสังคมจิตวิทยาอย่างกว้างขวางและกำลังขยายไปสู่ภาวะชะลอตัวในภาคธุรกิจอุตสาหกรรมหลากหลายอย่างต่อเนื่องไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน ธุรกิจค้าปลีกไทยที่เคยมีอัตราการเติบโตแข็งแกร่งได้รับการระบุว่าเป็นจักรกลสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ และเป็นประหนึ่งดัชนีบ่งชี้และสะท้อนทิศทางของเศรษฐกิจว่าดำเนินไปในทิศทางใด กำลังเผยให้เห็นข้อเท็จจริงและแนวโน้มความเชื่อมั่นที่กำลังจะมีขึ้นในอนาคตอย่างยากจะปฏิเสธ ความมุ่งหมายของภาคธุรกิจเอกชนในการกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยมาตรการของรัฐในช่วงไตรมาสที่ 4 ดูเหมือนจะไม่ได้ประโยชน์โพดผลตามที่คาดหวังเท่าใดนัก เพราะการหมุนเวียนของระบบเศรษฐกิจจากมาตรการของรัฐกว่าจะเริ่มปรากฏผลก็ต้องรอไปอีกอย่างน้อย 3-6 เดือนข้างหน้า และมีแนวโน้มว่าจะไม่สามารถประคับประคองสถานการณ์ใดๆ ไว้ได้ ความตกต่ำลงของราคาพืชผลทางการเกษตรประกอบกับภาวะหนี้ครัวเรือน อาจทำให้ผู้บริโภคระดับกลาง-ล่างได้รับผลกระทบในมิติของกำลังซื้อ ในขณะที่ลูกค้ากลุ่มกลาง-บน ซึ่งแม้จะมีกำลังซื้อล้นเกินแต่ก็เป็นเพียงกลุ่มประชากรบนยอดพีระมิด ที่ไม่ได้หนุนนำพลวัตในระบบเศรษฐกิจมากนัก ความเป็นไปในธุรกิจค้าปลีกท่ามกลางภาวะที่ขาดปัจจัยบวกหรือตัวแปรที่จะมากระตุ้นธุรกิจอุตสาหกรรมให้กลับมาเติบโตเช่นในอดีต ได้รับการเติมเต็มด้วยมาตรการระยะสั้น จากกระทรวงการคลังที่เสนอคณะรัฐมนตรี เพื่อพิจารณามาตรการภาษีเพื่อการกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงปลายปี 2558 จำนวน 1 มาตรการ  มาตรการที่ว่านี้คือการยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สำหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการในระหว่างวันที่ 25-31 ธันวาคม 2558 จากผู้ประกอบกิจการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 15,000 บาท โดยให้ผู้มีเงินได้ต้องมีหลักฐานการซื้อสินค้าหรือรับบริการเป็นใบกำกับภาษีเต็มรูปแบบตาม ม.86/4 แห่ง ป.รัษฎากร แต่ไม่รวมถึงการซื้อสุรา เบียร์ ไวน์ ยาสูบ น้ำมันและก๊าซสำหรับเติมยานพาหนะ รถยนต์ รถจักรยานยนต์ เรือ นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่กลไกภาครัฐพยายามส่งสัญญาณกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยมาตรการระยะสั้น เพราะก่อนหน้านี้ กระทรวงการคลังได้ออกมาตรการสำหรับวันที่

Read More

2559 จุดเปลี่ยนค้าปลีกไทย จุดจบไฮเปอร์มาร์เก็ต?

 ความเคลื่อนไหวในแวดวงธุรกิจไทยในช่วงปลายปี 2558 ต่อเนื่องสู่ศักราชใหม่ปี 2559 นอกจากจะปกคลุมด้วยเรื่องการประมูลคลื่นความถี่ 900 เมกะเฮิรตซ์ ซึ่งเชื่อว่าอาจส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์ในธุรกิจสื่อสารโทรคมนาคมในระยะถัดจากนี้ไม่น้อยแล้ว ธุรกิจค้าปลีกไทยก็คงเป็นอีกสมรภูมิหนึ่งที่มีความเคลื่อนไหวน่าสนใจติดตามและกำลังขับเคลื่อนเข้าสู่จุดเปลี่ยนผ่านครั้งใหญ่ ซึ่งอาจส่งผลให้ความเป็นไปของธุรกิจที่เคยเชื่อกันว่าเป็นจักรกลสำคัญในการสนับสนุนและผลักดันการขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้ขยายตัวยิ่งขึ้นนี้ถึงคราเสื่อมมนตร์เลยทีเดียว เพราะหากประเมินจากโครงสร้างเศรษฐกิจไทยเมื่อปี 2556 ซึ่งธุรกิจการค้าปลีกและค้าส่งมีมูลค่ารวมกว่า 1.5 ล้านล้านบาท และมีสัดส่วนเป็นอันดับ 2 หรือร้อยละ 13.4 รองจากภาคอุตสาหกรรมที่มีสัดส่วนสูงสุดร้อยละ 38.1 และมีการจ้างงานมากเป็นอันดับ 3 รองจากภาคเกษตรและอุตสาหกรรม หรือมีจำนวนแรงงานกว่า 4 ล้านราย จากการจ้างงานของคนไทยอยู่ที่ 38 ล้านคนแล้ว ภาวะเศรษฐกิจไทยและธุรกิจค้าปลีกของไทยในช่วงเวลานับจากนี้อาจเรียกได้ว่าอยู่ในช่วงขาลงหรือพ้นจากยุครุ่งเรืองไปแล้ว แม้ว่าก่อนหน้านี้นักวิเคราะห์และคาดการณ์จำนวนไม่น้อยจะเชื่อว่าสถานการณ์โดยรอบจะเอื้อให้ธุรกิจค้าปลีกไทยสามารถเติบโตต่อเนื่องและขยายตัวในอัตราเฉลี่ยสูงถึงร้อยละ 7-8 ต่อปี หากแต่สถานการณ์ที่ปรากฏขึ้นอยู่จริงเบื้องหน้ากลับพบว่า ธุรกิจค้าปลีกโดยรวมในปี 2558 ที่ผ่านมามีอัตราการเติบโตเพียงร้อยละ 3.2 จากเดิมที่มีอัตราการเติบโตเฉลี่ยอยู่ในระดับร้อยละ 5 ตลอดช่วงเวลาจากปี 2553-2557  เหตุปัจจัยที่ทำให้ธุรกิจค้าปลีกเดินทางมาถึงจุดที่ตีบตันในด้านหนึ่งเกิดขึ้นจากข้อเท็จจริงที่ว่าภาวะเศรษฐกิจและกำลังซื้อที่ชะลอตัวส่งผลกระทบโดยตรงต่อธุรกิจค้าปลีก โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับกลุ่มผู้บริโภคเป้าหมายที่อยู่ในระดับกลางและล่างซึ่งถือเป็นฐานผู้บริโภคหลักของธุรกิจนี้ สำนักวิจัยและคาดการณ์ทางเศรษฐกิจจำนวนไม่น้อยต่างประเมินทิศทางของธุรกิจค้าปลีกไทยในช่วงปี 2559 ว่าจะเติบโตขึ้นเพียงเล็กน้อยและอาจชะลอตัวต่ำกว่าปีก่อนหน้าด้วยซ้ำ ซึ่งเป็นประหนึ่งสัญญาณเตือนภัย ที่ดูจะมีความจริงจังและมีน้ำหนักมากกว่าการโหมประโคมข่าวผลงานไร้ราคาที่พยายามอวดอ้างกันเสียอีก ฐานลูกค้าระดับ กลาง-ล่าง ซึ่งถือเป็นกลไกหลักในการอุ้มชูธุรกิจค้าปลีกไทยให้จำเริญเติบโตมาอย่างต่อเนื่องยาวนานกำลังถูกข้อเท็จจริงจากสภาพเศรษฐกิจกัดกร่อนและทำลายให้อ่อนแอลงอย่างต่อเนื่อง และอยู่ในภาวะที่ด้อยหรือไม่มีกำลังซื้อ จากผลของปัญหาหนี้ครัวเรือนที่ยังอยู่ในระดับสูง ขณะที่ประชากรในกลุ่มนี้ส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากราคาพืชผลทางการเกษตรตกต่ำทำให้รายได้ลดลงอีกด้วย ธุรกิจค้าปลีกในกลุ่มซูเปอร์สโตร์

Read More

คลื่นความถี่ไม่มีพรมแดน

 ข่าวการประมูลคลื่นความถี่ในประเทศไทยเมื่อไม่นานมานี้ คงต้องถือเป็นข่าวใหญ่ประจำปี ซึ่งอาจจะมีผลต่อเนื่องไปสู่การปรับภูมิทัศน์ของอุตสาหกรรมสื่อสารโทรคมนาคมของไทยในอนาคตไม่น้อย แต่สำหรับศรีลังกาประเทศที่มีประชากรประมาณ 21 ล้านคนบนพื้นที่ 6.56 หมื่นตารางกิโลเมตรแห่งนี้ ประเด็นว่าด้วยเทคโนโลยี 2G หรือ 3G ดูจะเป็นสิ่งที่โพ้นไปจากความสนใจในการสนทนามานานแล้ว โดยศรีลังกานับเป็นประเทศแรกๆ ในภูมิภาคเอเชียใต้ที่ได้รับบริการจากระบบ 4G-LTE มาตั้งแต่เมื่อปี 2012-2013 แล้ว ตัวเลขที่น่าสนใจจากการสำรวจในช่วงปีที่ผ่านมาก็คือ ศรีลังกามีจำนวนคู่สายของโทรศัพท์ติดตั้งตามบ้าน (fixed landline) อยู่เพียง 2.6 ล้านเลขหมาย ซึ่งถือเป็นความเข้มข้น (teledensity) ในสัดส่วน 13: 100 หลังคาเรือนซึ่งถือว่าอยู่ในระดับที่ค่อนข้างน้อยมาก หากแต่จำนวนหมายเลขโทรศัพท์เคลื่อนที่ของศรีลังกากลับมีมากถึง 22 ล้านเลขหมาย ซึ่งทำให้สัดส่วนของประชากรต่อจำนวนผู้ใช้บริการมีสัดส่วนเป็น 100:107 ซึ่งสะท้อนภาพการเติบโตของตลาดโทรศัพท์เคลื่อนที่ของศรีลังกาได้เป็นอย่างดี ความเป็นไปของตลาดโทรศัพท์เคลื่อนที่หรือโทรศัพท์มือถือในศรีลังกาในด้านหนึ่งเป็นภาพสะท้อนการแข่งขันของผู้ประกอบการระดับภูมิภาคที่มีนัยความหมายกว้างไกลชวนให้สนใจติดตาม เพราะด้วยขนาดของตลาดที่ดูเหมือนจะจำกัดอยู่ด้วยประชากร 20 ล้านคนนี้ กลับปรากฏว่าสมรภูมิโทรศัพท์มือถือของศรีลังกากลายเป็นสนามแข่งขันที่มีผู้สนใจเข้าลงทุนอย่างต่อเนื่อง Sri Lanka Telecom ซึ่งมีสถานะวิสาหกิจของรัฐและเป็นผู้ดูแลโครงข่ายโทรคมนาคมหลักของประเทศ เป็นผู้ให้บริการที่ครอบคลุมทั้ง fixed line และโทรศัพท์เคลื่อนที่ในนาม Mobitel ซึ่งถือเป็นผู้ประกอบการโทรศัพท์เคลื่อนที่รายแรกๆ ของศรีลังกา มาตั้งแต่เมื่อปี

Read More

คอมมูนิตี้มอลล์ สมรภูมิของผู้เล่นใหม่

 ขณะที่บรรดายักษ์ค้าปลีกกำลังพุ่งเป้าสร้างอาณาจักร “มิกซ์ยูส” เงินทุนหลายหมื่นล้าน ดูเหมือนว่าตลาดคอมมูนิตี้มอลล์ หรือศูนย์การค้าชุมชนยังเป็นสมรภูมิของผู้เล่นหน้าใหม่ที่เข้ามาทดสอบฝีมืออย่างต่อเนื่อง จนถือเป็นกลุ่มค้าปลีกที่มีอัตราขยายตัวสูงสุดในช่วงหลายปีที่ผ่านมา โดยล่าสุดมีพื้นที่รวมทั้งในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลมากกว่า 1.1 ล้านตารางเมตร เพิ่มขึ้นจากปี 2550 เกือบ 4 เท่าตัว ปี 2559 ยังคาดอีกว่าจะมีผู้ประกอบการต่อคิวเปิดโครงการใหม่นับสิบราย ไม่รวมกลุ่มทุนขนาดใหญ่ที่พยายามขยายไลน์ผูกขาดธุรกิจรีเทลทุกเซกเมนต์ อย่าง “ทีซีซีแลนด์” ของ เจริญ สิริวัฒนภักดี หลังปรับกระบวนทัพหลายรอบ และวางแผนลงทุนระยะ 5 ปีข้างหน้า  ทุ่มเม็ดเงินมากกว่า 10,000 ล้านบาท เพื่อสยายปีกธุรกิจรีเทลในเครือ  ทั้ง “เอเชียทีค เดอะ ริเวอร์ฟร้อนท์” ที่เดิมเริ่มต้นจากคอมมูนิตี้มอลล์ และขยายสู่โครงการมิกซ์ยูสเจาะทำเลเมืองท่องเที่ยว ปรับโฉมศูนย์การค้าอีก 3 แบรนด์ ได้แก่ ศูนย์การค้าเกตเวย์ ศูนย์การค้าเซ็นเตอร์พอยท์ ออฟ สยามสแควร์ และศูนย์การค้าพันธุ์ทิพย์ ขณะที่เปิดตัว “บ็อกซ์ สเปซ” เพื่อรุกตลาดคอมมูนิตี้มอลล์อย่างจริงจัง สำหรับแบรนด์ บ๊อกซ์

Read More

น้ำมีคุณมากกว่าที่เคยคิด

 Column: Well-being จากข้อเท็จจริงที่ว่า ร้อยละ 70 ของร่างกายคนประกอบด้วยน้ำ ทำให้เราเห็นความสำคัญของน้ำเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากส่วนต่างๆ ของร่างกายมีน้ำหล่อเลี้ยงอยู่ทุกหนแห่ง น้ำในร่างกายแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ น้ำที่ประกอบอยู่ในเซลล์ร้อยละ 60 ที่อยู่นอกเซลล์ประมาณร้อยละ30 และที่อยู่ในเนื้อเยื่อ หรือเลือดอีกร้อยละ 10 ทำให้มนุษย์ต้องการน้ำวันละประมาณ 2–3 ลิตร โดยมีการขับน้ำออกจากร่างกายในลักษณะของปัสสาวะ เหงื่อ อุจจาระ และลมหายใจ ซึ่งจะขับออกทางปัสสาวะวันละประมาณครึ่งลิตร ถึง 2.3 ลิตร น้ำที่ร่างกายต้องการต่อวันเพื่อสร้างความสมดุลก็คือน้ำที่ดื่มเข้าไปกับที่ขับถ่ายออกจากร่างกายต่อวัน ควรจะเท่ากันในสภาวะปกติ ถ้ามีการออกกำลังกาย ร่างกายจะเสียน้ำมากขึ้นทั้งจากเหงื่อและกล้ามเนื้อ จึงทำให้ต้องดื่มน้ำมากขึ้น ปริมาณน้ำในร่างกาย ถ้าลดลงเพียง 2% ร่างกายจะเริ่มทำงานสับสน ถ้าขาดน้ำถึง 5% การทำงานของร่างกายจะบกพร่องผิดปกติไปถึง 30% ถ้าเสียน้ำมากกว่านี้โดยไม่แก้ไข ร่างกายจะหมดกำลัง รู้สึกเวียนศีรษะ อาจถึงหมดสติและเสียชีวิตได้ เมื่อร่างกายเริ่มขาดน้ำจะรู้สึกว่าน้ำลายแห้งและเกิดความไม่สมดุล โดยการขาดน้ำจะกระตุ้นให้สมองส่วนล่าง (Hypothalamus) ทำงาน ทำให้เกิดความรู้สึกกระหายน้ำ ซึ่งเป็นสิ่งชี้ว่าร่างกายต้องการน้ำ นอกจากเป็นส่วนประกอบที่สำคัญยิ่งของร่างกายแล้ว

Read More

สงคราม “มิกซ์ยูส” 6 ยักษ์ชิงฮับค้าปลีก

 เร็วๆ นี้ อิคาโน่กรุ๊ปและกลุ่มผู้ร่วมทุน “เมกาบางนา” จะออกมาเปิดเผยรายละเอียดและความคืบหน้าของโครงการ “เมกาซิตี้” ที่จะขยายเพิ่มอีก 150 ไร่ หลังซุ่มเงียบนานนับปี เช่นเดียวกับเหล่ายักษ์ค้าปลีกที่เร่งผลักดันบิ๊กโปรเจกต์ ซึ่งจะพลิกโฉมสมรภูมิค้าปลีกไทยแนวใหม่สู่โครงการมิกซ์ยูส รูปแบบ “เมือง” เพื่อช่วงชิงการเป็น “ฮับ” อย่างดุเดือด ประเมินกันว่า ปี 2559 จำนวนพื้นที่ค้าปลีกจะเพิ่มขึ้นอีก 300,000 ตารางเมตร และปี 2560 จะเพิ่มขึ้นอีก 500,000  ตร.ม. เนื่องจากมีทั้งความต้องการพื้นที่ค้าปลีกของแบรนด์ต่างชาติและโครงการมิกซ์ยูสเริ่มเปิดตัว ซึ่งเป็นผลจากการขยายตัวของโครงการที่อยู่อาศัย เกิดชุมชนใหม่ รวมถึงกลุ่มชาวต่างชาติที่จะหลั่งไหลเข้ามาหลังเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) และการพัฒนาโครงข่ายการคมนาคมชุดใหญ่ของรัฐบาล ก่อนหน้านี้ คริสเตียน โอลอฟสัน ประธานกรรมการบริหารและผู้จัดการศูนย์การค้าเมกาบางนา บริษัท เอสเอฟ ดีเวลอปเมนท์ จำกัด เคยให้รายละเอียดของ “เมกาซิตี้” ว่าเป็นโครงการมิกซ์ยูส เพื่อปลุกทำเล “ดาวน์ทาวน์” ใหม่ย่านชานเมืองและสร้าง “ฮับ” ให้ทุกคนใช้ชีวิตอยู่ได้อย่างครบวงจร ทั้งอยู่อาศัย ทำงาน

Read More