Home > PM 2.5

โลตัส ร่วมกับ กทม. สนับสนุนแคมเปญลดฝุ่น PM 2.5 “รถคันนี้ลดฝุ่น” เพียงโชว์สติกเกอร์ รับสิทธิ์เพิ่มเวลาจอดรถฟรี

โลตัส ร่วมกับ กทม. สนับสนุนแคมเปญลดฝุ่น PM 2.5 “รถคันนี้ลดฝุ่น” เพียงโชว์สติกเกอร์ รับสิทธิ์เพิ่มเวลาจอดรถฟรี ที่ห้างโลตัส 10 สาขา ในกรุงเทพ โลตัส ร่วมกับ กรุงเทพมหานคร (กทม.) สนับสนุนแคมเปญลดฝุ่น PM 2.5 “รถคันนี้ลดฝุ่น” หลัง กทม. ประกาศเชิญชวนประชาชน ตรวจสอบสภาพยานยนต์ เปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องและไส้กรองเพื่อลดการปล่อยค่าฝุ่นในอากาศ พร้อมแจกสติกเกอร์ ‘รถคันนี้#ลดฝุ่น’ ให้กับผู้เข้ารับบริการ เพื่อรับสิทธิ์พิเศษจอดรถฟรี 4 ชั่วโมงแรก ในโลตัสไฮเปอร์มาร์เก็ตที่เข้าร่วมแคมเปญ 10 สาขา ตั้งแต่วันนี้ – 29 กุมภาพันธ์ 2567 นี้ เพื่อกระตุ้นการมีส่วนร่วมลดฝุ่น PM 2.5 จากยานยนต์บนท้องถนน เพิ่มอากาศบริสุทธิ์ให้คนกรุง สอดคล้องกับนโยบายการพัฒนาที่ความยั่งยืน ครอบคลุมมิติด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และการกำกับดูแลกิจการ (หรือ

Read More

สร้างเกราะป้องกันให้ปอด เพราะโควิดยังไม่จบ และ PM 2.5 ก็มาเหมือนนัดกันไว้

ช่วงนี้อากาศเปลี่ยนแปลงบ่อยเดี๋ยวร้อนเดี๋ยวหนาว อีกทั้งโควิด-19 ที่อยู่กับเรามาเกือบ 2 ปี ก็ปรับเปลี่ยนตัวเองอยู่ตลอดเวลาจนคาดเดาไม่ถูกว่าจะจบลงเมื่อไหร่ นอกจากนั้น PM 2.5 ฝุ่นจิ๋วตัวร้ายที่ส่งผลกระทบต่อร่างกายก็มาเป็นประจำทุกปีประหนึ่งนัดกันไว้ ทำให้เราต้องดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงอยู่เสมอเพื่อเป็นเกราะป้องกันให้กับตัวเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “ปอด” อวัยวะสำคัญของระบบทางเดินหายใจ ดังที่ทราบกันดีกว่า “ปอด” เป็นอวัยวะหนึ่งในระบบทางเดินหายใจที่สำคัญมาก ทำหน้าที่กรองอากาศและแลกเปลี่ยนก๊าซออกซิเจนที่หายใจเข้าแล้วปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกมา ซึ่งต้องทำอยู่ตลอดเวลาไม่สามารถหยุดได้ตราบเท่าที่ยังต้องหายใจ นอกจากนั้น ยังมีหน้าที่อื่นๆ ทั้งควบคุมและขับสารต่างๆ อย่างแอลกอฮอล์ออกจากระบบเลือด ควบคุมสมดุลความเป็นกรด-ด่างในเลือด กรองลิ่มเลือดเล็กๆ ที่ตกตะกอนออกจากเส้นเลือดดำ ปกป้องและรับแรงกระแทกที่จะทำอันตรายต่อหัวใจ การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่ส่งผลโดยตรงต่อการทำงานของปอด ทำให้หลายคนหันมาใส่ใจดูแลและสร้างความแข็งแรงของปอดมากขึ้นเพื่อให้รอดจากเชื้อไวรัสโควิด ซึ่งท้ายที่สุดแล้วโควิด-19 อาจจะกลายเป็นโรคประจำถิ่นไปในที่สุด ประกอบกับสภาพอากาศเมืองไทยที่เปลี่ยนแปลงและฝุ่น PM 2.5 ที่ต้องพบเจอเป็นประจำล้วนแต่ส่งผลโดยตรงต่อปอดทั้งสิ้น “ผู้จัดการ 360 องศา” จึงได้รวบรวมวิธีการสร้างความแข็งแรงให้กับปอดมาฝาก เพื่อเตรียมความพร้อมและสร้างความแข็งแรงให้กับปอดของเราในระยะยาว วิธีดูแลปอดให้แข็งแรงสุขภาพดี 1. หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่และเข้าใกล้ควันบุหรี่ แน่นอนว่าการสูบบุหรี่และควันบุหรี่คือตัวการทำร้ายปอดตัวฉกาจ และยังสร้างความระคายเคืองต่ออวัยวะอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นช่องปาก ลำคอ หลอดลม และอวัยวะภายใน ดังนั้นถ้าอยากให้ปอดมีสุขภาพดีควรงดสูบบุหรี่และหลีกเลี่ยงควันบุหรี่ เพื่อถนอมปอดไม่ให้ทำงานหนักเกินความจำเป็น 2. บริหารปอดด้วยการหายใจลึกๆ หายใจให้อิ่ม

Read More

แสนสิริ รุกหน้า รายแรกของอสังหาฯไทย ใช้นวัตกรรม “เครื่องฆ่าเชื้อโรคในอากาศ” ต้านโควิด

แสนสิริ รุกหน้า รายแรกของอสังหาฯไทย ใช้นวัตกรรม “เครื่องฆ่าเชื้อโรคในอากาศ” ต้านโควิด ในสำนักงานขายโครงการแนวราบ และ “เครื่องฟอกอากาศ ฆ่าเชื้อและกรองฝุ่น PM 2.5” ในสำนักงานขายโครงการคอนโดมิเนียม สร้างความมั่นใจ ปลอดภัยและอุ่นใจสูงสุดให้กับลูกค้าแสนสิริ ภายใต้มาตรการ Sansiri Care นายอุทัย อุทัยแสงสุข ประธานผู้บริหารสายงานปฏิบัติการ บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า แสนสิริให้ความสำคัญสูงสุดกับการดูแลความสะอาด สร้างความปลอดภัยและอุ่นใจแบบเต็มขั้นให้กับลูกค้าและครอบครัวแสนสิริ เราดูแลและเฝ้าระวังการระบาดของโควิด-19 อย่างใกล้ชิด พร้อมประเมินสถานการณ์และวางแผนรับมือที่เหมาะสมตลอดมา โดยคุมเข้มด้วยนโยบาย “Sansiri Care…เพราะเราห่วงใย” กับ 3 มาตรการป้องกัน ดูแล และรับมือ เพื่อสร้างความมั่นใจด้านความสะอาดและปลอดภัยสูงสุดให้กับลูกบ้านในโครงการที่อยู่อาศัยและลูกค้าที่สนใจโครงการแสนสิริ “ล่าสุด เพื่อยกระดับเพิ่มการดูแลความปลอดภัยและความอุ่นใจสูงสุด! แสนสิริยังเป็นอสังหาริมทรัพย์รายแรกในไทยที่ติดตั้ง นวัตกรรมเครื่องฆ่าเชื้อโรคในอากาศ “UV Care 254 Airflow” เทคโนโลยีใหม่ที่สามารถฆ่าเชื้อโรคในอากาศ เชื้อไวรัสต่าง ๆ  รวมถึงเชื้อไวรัสโคโรนาหรือโควิด-19

Read More

3เอ็ม ตอบรับเทรนด์สุขภาพ ชูเทคโนโลยีแผ่นดักจับสิ่งแปลกปลอมในอากาศ สู้ฝุ่น PM 2.5

3เอ็ม ตอบรับเทรนด์สุขภาพ ชูเทคโนโลยีแผ่นดักจับสิ่งแปลกปลอมในอากาศ สู้ฝุ่น PM 2.5 ตัวช่วยสร้างอากาศบริสุทธิ์ 3เอ็ม ยกระดับคุณภาพชีวิตคนไทยด้วยอากาศบริสุทธิ์ 3M แผ่นดักจับสิ่งแปลกปลอมในอากาศ ป้องกันฝุ่น PM 2.5 ด้วยการนำเทคโนโลยีเส้นใยโพลิโพรพิลีนที่ผ่านกระบวนการชาร์จไฟฟ้าสถิตแบบถาวร ดักจับอนุภาคขนาดเล็กในอากาศเพิ่มประสิทธิภาพได้ถึง 93% ใช้ร่วมกับเครื่องปรับอากาศทุกรุ่นทุกยี่ห้อ ในราคาหลักร้อย ตัวช่วยสร้างอากาศบริสุทธิ์ที่ทุกบ้านต้องมี ท่ามกลางสถานการณ์วิกฤตฝุ่น PM 2.5 ที่กลับมามีปริมาณเกินค่ามาตรฐานหนาแน่นเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง นับเป็นภัยเงียบใกล้ตัวที่มองด้วยตาเปล่าไม่เห็น ลอยฟุ้งกระจายอยู่ทุกที่ทั้งนอกบ้านและภายในบ้าน เมื่อสะสมเข้าไปในร่างกายเป็นประจำ อาจจะเพิ่มความเสี่ยงเป็นโรคเรื้อรังต่างๆโดยไม่รู้ตัว เช่นโรคภูมิแพ้ หอบหืด หรือกระทั่งมะเร็งปอด ซึ่งจากข้อมูลสถิติจากองค์การอนามัยโลก (WHO) ระบุว่ามีผู้เสียชีวิตจากมลพิษทางอากาศมากกว่า 3 ล้านคนต่อปีทั่วโลก ด้วยเหตุนี้การรับมือกับฝุ่นพิษ PM 2.5 จึงเป็นเรื่องที่สำคัญที่ทุกคนไม่ควรมองข้ามและจะต้องป้องกันไว้แต่เนิ่นๆ นายสุธี ตั้งวงศ์กิจ Senior Country Business Leader บริษัท 3เอ็ม ประเทศไทย จำกัด เปิดเผยว่า ในปัจจุบันคนส่วนมากใช้เวลาอยู่บ้านมากขึ้น รวมไปถึงเทรนด์พฤติกรรมผู้บริโภคปัจจุบันให้ความสนใจและให้ความสำคัญในเรื่องของการดูแลสุขภาพ

Read More

3เอ็ม จัดกิจกรรมอากาศดีสร้างได้ด้วย “แผ่นดักจับสิ่งแปลกปลอมในอากาศ” ป้องกันฝุ่น PM 2.5 นำร่อง 2 โรงเรียน ในเขต กทม.

3เอ็ม ห่วงใยสุขภาพเด็กไทย จัดกิจกรรมอากาศดีสร้างได้ด้วย “แผ่นดักจับสิ่งแปลกปลอมในอากาศ” ป้องกันฝุ่น PM 2.5 นำร่อง 2 โรงเรียน ในเขต กทม. เป็นเวลากว่า 2 ปีแล้ว ที่ฝุ่นพิษ PM. 2.5 เข้ามาอยู่ในชีวิตของคนไทย สร้างผลกระทบต่อคุณภาพอากาศในชีวิตเป็นประจำ แม้ในระหว่างปีที่สถานการณ์เบาบางจนมองไม่เห็นชั้นฝุ่นละอองที่มีขนาดเล็กจิ๋ว แต่ PM 2.5 ไม่ได้จากไปไหน ยังเพิ่มขึ้นสูงเกินค่ามาตรฐาน ปกคลุมในหลายพื้นที่ทั่วประเทศ โดยเฉพาะในเขตพื้นที่ย่านใจกลางเมืองที่วิกฤตหนักซึ่งสามารถพบเห็นในรูปแบบของหมอกควัน ทำให้สภาพอากาศเต็มไปด้วยเชื้อโรคและฝุ่นพิษที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพที่ไม่ควรมองข้าม 3เอ็ม ประเทศไทย ในฐานะผู้นำด้านวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมที่มุ่งสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์คุณภาพสูงเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของทุกคน มีหนึ่งในผลิตภัณฑ์ที่โดดเด่นในตลาดนั้นคือ 3เอ็ม แผ่นดักจับสิ่งแปลกปลอมในอากาศ เพราะฝุ่น PM2.5 มีอยู่รอบตัว ทั้งในอาคาร บ้านเรือน ฟุ้งกระจายอยู่ทั่วไปในชีวิตประจำวันของทุกคน ส่งผลให้ร่างกายอ่อนแอ เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ ที่น่าเป็นห่วงก็คือสุขภาพกลุ่มเด็กเล็กและเด็กวัยเรียน หากได้รับฝุ่น PM 2.5 อย่างต่อเนื่องจะเกิดการสะสมและอาจกลายเป็นปัญหาสุขภาพที่ส่งผลต่อพัฒนาการ และยังทำให้มีความเสี่ยงต่อโรคเรื้อรังในระยะยาว เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ รวมทั้งส่งผลต่อพัฒนาการทางระบบประสาทและความสามารถทางปัญญาของเด็กในอนาคตได้ เพื่อเป็นการต่อยอดความห่วงใย

Read More

ฝุ่นพิษ PM 2.5 กลับมาวิกฤต!! อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพและดวงตา

ช่วงนี้สถานการณ์ฝุ่นพิษ PM 2.5 ได้กลับมาส่งผลกระทบต่อสุขภาพและดวงตาของประชาชนอีกครั้ง ทั้งยังเพิ่มขึ้นสูงเกินค่ามาตรฐานปกคลุมในหลายพื้นที่ทั่วประเทศ โดยเฉพาะในเขตพื้นที่ย่านใจกลางเมืองที่วิกฤตหนัก ซึ่งเราสามารถพบเห็นกันในรูปแบบของหมอกควัน ที่ทำเอาหลายคนกังวลใจในสภาพอากาศที่เต็มไปด้วยเชื้อโรคและฝุ่นพิษที่เป็นอันตราย และเป็นภัยใกล้ตัวต่อร่างกายที่ไม่ควรมองข้าม จักษุแพทย์แห่ง “แว่นท็อปเจริญ” โดย นายแพทย์นพวุฒิ ตรีพรชัยศักดิ์ จึงได้รวบรวมวิธีการดูแลสุขภาพและดวงตามาเน้นย้ำกันอีกครั้งดังนี้ “นอกจากสถานการณ์ไวรัสอันตรายที่เกิดขึ้นทั่วโลกแล้ว ฝุ่นละอองหรือฝุ่นพิษ PM2.5 ในบ้านเราก็ยังเป็นสิ่งที่ต้องเฝ้าระวังให้มาก โดยเฉพาะแหล่งชุมชนที่มีประชากรอาศัยอยู่หนาแน่น มีปริมาณความหนาแน่นจากการเผาไหม้ไอเสียรถยนต์ มีควันจากโรงงานอุตสาหกรรมหรือการเผาขยะในพื้นที่กลางแจ้ง ฝุ่นละอองที่มีค่า PM 2.5 ในปริมาณสูง จะส่งผลทำให้ร่างกายของมนุษย์มีปฏิกิริยากับมลภาวะนี้ได้ชัดเจน ทั้งระบบทางเดินหายใจ ผิวหนัง โดยเฉพาะดวงตา จึงควรระมัดระวังในกลุ่มเสี่ยงทั้งวัยเด็กเล็ก ผู้สูงวัย หรือผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคระบบทางเดินหายใจและหลอดเลือดหัวใจ หอบหืด ภูมิแพ้ ฯลฯ อาจส่งผลให้รู้สึกหายใจลำบาก แสบคันจมูก คันคอ เมื่อสูดฝุ่นเข้าไปสะสมในหลอดลมหรือปอดนานๆ จะส่งผลต่อสุขภาพและเสี่ยงต่อโรคมะเร็งปอดได้ นอกจากนี้ อาจเกิดอาการระคายเคืองหรือแสบคันตาได้ เนื่องจากฝุ่นดังกล่าวที่ลอยอยู่ในอากาศมีอนุภาคเล็กมากกว่า 2.5 ไมครอน จนเราไม่สามารถมองเห็นได้ชัดเจน ฝุ่นละอองจึงสามารถเข้าสู่ร่างกายและดวงตาได้มากกว่าฝุ่นขนาดใหญ่หลายเท่า ซึ่งมีความอันตรายต่อสุขภาพดวงตาเป็นอย่างมาก”

Read More

จากเถ้าธุลีสู่ฝุ่นพิษ PM2.5 ภัยคุกคามต่อชีวิตประจำวัน

สถานการณ์ปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอนหรือที่เรียกขานกันในนามฝุ่นพิษ PM2.5 ที่มีค่าเกินมาตรฐานได้แปลงสภาพจากเรื่องเล็กน้อยกลายเป็นปัญหาเรื้อรังที่ขยายตัวออกไปอย่างที่ยังไม่อาจหาบทสรุปสุดท้ายได้ว่าจะสิ้นสุดลงด้วยมาตรการและแนวทางการแก้ไขปัญหาที่มีรูปธรรมในทางปฏิบัติจากกลไกภาครัฐได้อย่างไร ตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมาปัญหาฝุ่นพิษขนาดเล็กน้อยได้เข้าสู่การรับรู้ของสังคมไทยมาเป็นระยะและถูกทำให้มีฐานะเป็นมลภาวะที่เกิดขึ้นตามฤดูกาลในช่วงหน้าแล้งโดยระบุว่าสาเหตุหลักเกิดจากปัญหาการเผาในที่โล่งแจ้งในกระบวนการผลิตของเกษตรกร ขณะที่กลไกภาครัฐนับตั้งแต่ยุคของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ในรัฐบาลประยุทธ์ 1 ได้เคยออกมาตรการแก้ปัญหาฝุ่นพิษ PM2.5 .ในฐานะที่เป็นวาระแห่งชาติ ที่ประกอบส่วนด้วยมาตรการระยะเร่งด่วน มาตรการระยะกลางและมาตรการระยะยาว หากแต่ดูเหมือนว่าคำสั่งของหัวหน้าคณะ คสช. การสั่งการของนายกรัฐมนตรีและมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในช่วงที่ผ่านมากลับไม่สามารถนำมาซึ่งการขับเคลื่อนเพื่อการแก้ไขปัญหาได้อย่างจริงจังและอย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาด มิหนำซ้ำสถานการณ์ฝุ่นพิษกลับทวีความรุนแรงจนคุกคามการดำเนินชีวิตปกติประจำวันของผู้คนในสังคมไทยในลักษณะที่แพร่กว้างและหนักหน่วงขึ้นอีกด้วย การตระหนักรู้ถึงปัญหาฝุ่นพิษ PM2.5 และความพยายามของกลไกภาครัฐในการแก้ไขปัญหาในช่วงที่ผ่านมาอาจเห็นได้จากการสั่งการของหัวหน้าคณะ คสช. นับตั้งแต่เมื่อช่วงปลายปี 2561 ที่ระบุให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมถึงกรุงเทพมหานคร เร่งดำเนินการควบคุมดูแลเพื่อบรรเทาปัญหาเฉพาะหน้า และให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นหน่วยงานหลักร่วมกับกระทรวงมหาดไทย กระทรวงสาธารณสุข กรุงเทพมหานคร และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งหน่วยงานในฝ่ายตำรวจ ทหาร เร่งรัดกำหนดมาตรการเพื่อดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหามลภาวะในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ให้เกิดผลเป็นรูปธรรมและมีความยั่งยืนต่อไป ความยั่งยืนของการป้องกันและแก้ไขปัญหาภายหลังการสั่งการดังกล่าวนอกจากจะไม่ได้ช่วยบรรเทาสถานการณ์ให้เบาบางลงแล้ว ข้อเท็จจริงที่ปรากฏกลับกลายเป็นว่ารัฐต้องเร่งสั่งการเพิ่มเติมให้การดำเนินการของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการแก้ไขปัญหามลภาวะดังกล่าวให้เกิดผลเป็นรูปธรรมโดยเร็วและให้เป็นไปตามหลักปฏิบัติสากล โดยคำนึงถึงผลกระทบต่อประชาชน รวมทั้งผลกระทบด้านเศรษฐกิจและสังคมด้วย ขณะเดียวกันในช่วงต้นปี 2562 ยังสั่งการให้กระทรวงพลังงานเป็นหน่วยงานหลักร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งกระทรวงคมนาคม กระทรวงศึกษาธิการ กรมประชาสัมพันธ์ เร่งดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องเพื่อรณรงค์ให้ประชาชนใช้น้ำมันไบโอดีเซลเกรดพิเศษ B20 แทนน้ำมันดีเซลให้มากยิ่งขึ้นเพื่อลดภาวะการเกิดมลพิษและฝุ่นละอองขนาดเล็กในอากาศ รวมทั้งให้เร่งรัดจัดให้มีจุดบริการประชาชนในการปรับแต่งเครื่องยนต์ที่ใช้น้ำมันดีเซลให้สามารถรองรับน้ำมันไบโอดีเซลเกรดพิเศษ B20 ได้ พัฒนาการในการแก้ไขปัญหาฝุ่นพิษ PM2.5

Read More

บทเรียนจากฝุ่นพิษ ถึงเวลาพลังงานสะอาด?

คนไทยเริ่มต้นศักราชใหม่ด้วยความอึมครึมอยู่ไม่น้อย ทั้งสถานการณ์การเมืองที่ยังไม่กระจ่างชัด สภาวะเศรษฐกิจไทยที่ดูดีเพียงตัวเลขในรายงานสรุปผลประจำปี และการคาดการณ์ในแนวบวกไว้ล่วงหน้า แต่ที่สร้างความหวั่นวิตกให้ประชาชนคนไทยในห้วงยามนี้ เห็นจะเป็นปัญหามลพิษฝุ่น PM2.5 ซึ่งกลายเป็นประเด็นทางสังคมให้หลายฝ่ายได้ถกเถียงกันว่าสถานการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นและส่งผลกระทบต่อสุขภาพของผู้คนแล้วนั้น เข้าขั้น “วิกฤต” หรือยัง สถานการณ์ฝุ่น PM2.5 ที่ปรากฏเป็นภาพชัดตั้งแต่ช่วงเดือนมกราคมที่ผ่านมานั้น มีข้อเท็จจริงบางประการที่อาจถูกลืมเลือนหรือเพิกเฉย นั่นคือปัญหาฝุ่นพิษนั้นเคยเกิดขึ้นในสภาพแวดล้อมของไทยมาก่อนหน้า โดยเฉพาะพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล รวมไปถึงเมืองใหญ่ในต่างจังหวัด ทว่า ปี พ.ศ.2562 ปัญหามลพิษฝุ่น PM2.5 กลับฉายภาพชัดเจนมากขึ้น ส่วนหนึ่งน่าจะมาจากภาครัฐได้ทำการติดตั้งเครื่องตรวจวัดมาตรฐานฝุ่น PM2.5 โดยในปีนี้มีการติดตั้งเพิ่มเติมอีก 30 จุด ขณะที่ปีที่ผ่านมามีการติดตั้งไปเพียง 4 จุดเท่านั้น และตัวเลขจากเครื่องวัดมาตรฐานฝุ่น PM2.5 เป็นข้อมูลสำคัญที่ถูกเปิดเผยต่อสาธารณะ อันนำมาซึ่งความตื่นตระหนก ขณะที่อีกเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ปัญหามลพิษฝุ่น PM2.5 ทวีความรุนแรงมากขึ้น น่าจะมาจากการละเลยที่จะใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อมและสภาพอากาศของทุกฝ่าย ฝุ่น PM2.5 เกิดจากหลายสาเหตุ ทั้งการเผาไหม้ของเครื่องยนต์ดีเซล โรงงานอุตสาหกรรม การเผาวัชพืชทางการเกษตรในที่โล่ง การผลิตไฟฟ้า ปฏิกิริยาทางเคมีในอากาศ แม้ว่าแนวทางการแก้ไขปัญหาของภาครัฐในเบื้องต้นจะอยู่ที่ปลายเหตุเสียเป็นส่วนใหญ่ ทั้งการฉีดน้ำเพื่อหวังลดค่าฝุ่น PM2.5 การทำฝนหลวง หรือการเสนอแนวความคิดที่จะให้รถยนต์วิ่งวันคู่วันคี่ ทั้งหมดทั้งมวลดูจะห่างไกลจากคำว่า “การแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน” มากนัก แน่นอนว่า

Read More