Home > Suwatcharee Pormbunmee (Page 27)

ภาวะเศรษฐกิจไทยปีหน้า ธปท. เตือน 3 ปัจจัยเสี่ยง

ช่วงเวลาไตรมาสสุดท้ายของศักราชนี้ดูจะดำเนินไปด้วยจังหวะเร้าที่ถูกกระตุ้นให้เกิดการขับเคลื่อนไปในทิศทางที่หลายฝ่ายตั้งความหวัง เพราะหากผลสรุปตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวม การขยายตัวด้านการส่งออก การลงทุนภาคเอกชน เป็นบวก นั่นหมายความว่า ความพยายามอย่างสุดกำลังในเฮือกสุดท้ายของภาครัฐสัมฤทธิผลอย่างเหลือเชื่อ แม้ว่าทีมเศรษฐกิจของรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จะออกมาแสดงความคิดเห็นต่อสถานการณ์เศรษฐกิจไทยหลายต่อหลายครั้งว่า ทิศทางเศรษฐกิจไทยไร้ปัญหา และยังมีกำลังขับเคลื่อนที่ดีขึ้น กระนั้นถ้อยแถลงของภาครัฐดูจะย้อนแย้งกับสถานการณ์ความเป็นจริงที่เกิดขึ้น เมื่อกระแสเสียงบ่นจากชาวบ้านร้านตลาดกลับเห็นต่าง พร้อมกับโอดครวญถึงความยากลำบากในการทำมาค้าขายในสถานการณ์ปัจจุบัน เป็นไปได้หรือไม่ว่า ความพยายามของภาครัฐที่พยายามขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย และหวังให้ฟันเฟืองทุกตัวหมุนไปพร้อมๆ กันนั้น เป็นเพียงภาพฝันที่สร้างขึ้นเพื่อปลุกปลอบตัวเองไปวันๆ ล่าสุด วิรไท สันติประภพ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) แสดงทัศนะเกี่ยวกับทิศทางเศรษฐกิจไทยในศักราชหน้า ในงานสัมมนาเศรษฐกิจประจำปี 2561 ว่า “แม้เศรษฐกิจไทยจะสะท้อนการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง กระนั้นยังต้องเฝ้าระวัง 3 ปัจจัยเสี่ยง ได้แก่ มาตรการกีดกันทางการค้า ความผันผวนตลาดเงินตลาดทุนโลก และวัฏจักรดอกเบี้ยที่จะปรับขึ้น” แม้ว่าก่อนหน้านี้ ภาคการส่งออกของไทยจะได้รับผลกระทบจากสงครามทางการค้าระหว่างจีนและสหรัฐฯ อยู่บ้าง แต่ดูเหมือนว่าความขัดแย้งระหว่าง 2 ประเทศมหาอำนาจจะไม่ได้สร้างผลเสียต่อภาคส่งออกของไทยไปเสียทั้งระบบ จะมีก็เพียงสินค้าประเภทเครื่องใช้ไฟฟ้า กลุ่มซัปพลายเชน ของไทยที่อาจจะติดร่างแหจากมาตรการกีดกันทางการค้าครั้งนี้ เวลานี้แม้สงครามการค้าจะยังไม่สิ้นสุด แต่ไทยอาจได้รับอานิสงส์ โดยเฉพาะด้านการลงทุนในสินค้าที่ใช้เทคโนโลยีซับซ้อน เพราะไทยนับว่ามีศักยภาพในการแข่งขันที่ค่อนข้างสูงในเวทีโลก นอกจากนี้สินค้าที่ไทยมีความได้เปรียบทางด้านวัตถุดิบอย่างการแปรรูปยางพารา ซึ่งจีนนำเข้าวัตถุดิบจากไทยเพื่อไปผลิตต่อและส่งออกไปสหรัฐฯ อาจมีการย้ายฐานการผลิตมาไทยเพิ่มมากขึ้น โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่า ผลบวกทางตรงของการกระจายฐานการผลิตสินค้าขั้นปลายน้ำ และสินค้าขั้นกลางที่ซับซ้อนในไทยกับการกระจายการลงทุนในกลุ่มสินค้าที่ไทยมีความได้เปรียบด้านวัตถุดิบโดยตรง ไม่ว่าจะเป็นบรรษัทต่างชาติที่ประกาศเจตนารมณ์แล้ว และบางส่วนที่มีแนวโน้มย้ายฐานมาไทยเพิ่มจากสงครามการค้าอาจช่วยเพิ่มมูลค่า FDI

Read More

บีทีเอส-ซีพี สู้ศึกชิงสัมปทาน ไฮสปีดเทรนเชื่อม 3 สนามบิน

โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมต่อ 3 สนามบิน ระหว่างดอนเมือง สุวรรณภูมิ กับอู่ตะเภา เป็นหนึ่งในโครงการลงทุนของภาครัฐในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานโดยเฉพาะในพื้นที่ดังกล่าวมีความเกี่ยวข้องและเชื่อมโยงกับ “โครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก” ส่วนหนึ่งของนโยบายสำคัญที่รัฐบาลวาดหวัง ว่าจะเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญของเศรษฐกิจไทย เท่ากับว่าโครงการดังกล่าวคืออีกหนึ่งปฐมบทของการลงทุนในพื้นที่ภาคตะวันออกก็ว่าได้ โครงการไฮสปีดเทรนถูกจับตามองทั้งจากนักลงทุนภายในและภายนอกประเทศ นับตั้งแต่กระทรวงคมนาคมและการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยรายละเอียดโครงการ กระทั่งวันที่ 18 มิถุนายน 2561 ซึ่งเป็นวันแรกที่ รฟท. เปิดขายเอกสารประมูลโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ในเวลานั้นมีเอกชน 7 ราย ที่เข้าซื้อซองประมูล เช่น บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด (CP), บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน), บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ (ITD), บมจ.ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น (UNIQ), บริษัท เอนเนอร์ยี่คอมเพล็กซ์ จำกัด, บริษัท อิโตชู

Read More

ปัจจัยทัวร์จีน ดัชนีชี้วัด GDP ไทย

ภาพนักท่องเที่ยวจีนที่เดินกันขวักไขว่ตามสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญของไทย เช่น พระบรมมหาราชวัง ในกรุงเทพฯ หรือจังหวัดใหญ่ๆ อย่างเชียงใหม่ และภูเก็ต ที่นักท่องเที่ยวจำนวนมากเลือกเป็นจุดหมายปลายทาง กลายเป็นภาพจำไปแล้วสำหรับคนไทย เมื่อช่วงเวลาหนึ่งจำนวนนักท่องเที่ยวจีนเพิ่มขึ้นในเวลาอันรวดเร็ว เมืองไทยได้รับความสนใจและกลายเป็น destination ของนักท่องเที่ยวจีน อาจจะมาจากภาพยนตร์เรื่อง Lost in Thailand ที่ฉายในไทยครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.2556 นับเป็นการจุดพลุการท่องเที่ยวตามรอยภาพยนตร์เรื่องดังกล่าว นอกจากนี้ยังมีเหตุผลอื่นๆ ประกอบ ทั้งค่าใช้จ่ายในการท่องเที่ยวไทยที่ราคาไม่แพง ภาคการบริการในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวได้มาตรฐานเป็นที่ยอมรับในระดับสากล หรือที่นักท่องเที่ยวจีนเคยให้เหตุผลน่าฟังว่า “คนไทยใจดี” ตลอดระยะเวลา 5 ปีที่นักท่องเที่ยวจีนค่อยๆ เพิ่มจำนวนมากขึ้นนั้น ด้านหนึ่งต้องยอมรับว่านอกจากจะเป็นการกระพือชื่อเสียงการเป็นเมืองท่องเที่ยวและสร้างความนิยมให้กับเมืองไทยแล้ว สิ่งที่ตามมาคือเรื่องรายได้ที่เพิ่มขึ้น ทั้งในแง่ของผู้ประกอบการท่องเที่ยว และแน่นอนว่านั่นคือรายได้ของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวด้วยเช่นกัน หากดูจากสถิติเมื่อปี 2560 จำนวนนักท่องเที่ยวจีนที่เดินทางมาเที่ยวในประเทศไทยมีจำนวน 9,805,753 คน และสร้างรายได้มากถึง 524,451.03 ล้านบาท นับว่าทั้งจำนวนนักท่องเที่ยวและรายได้จากนักท่องเที่ยวจีนถือเป็นอันดับหนึ่งของชาวต่างชาติที่เดินทางเข้าประเทศไทยมากที่สุด และนั่นทำให้ในปี 2561 ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนตั้งเป้าหมายจำนวนนักท่องเที่ยวจีนที่จะเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในไทยสูงถึง 10.5 ล้านคน กระทั่งโศกนาฏกรรมเรือฟินิกซ์ล่มที่จังหวัดภูเก็ต กลายเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญที่ลดทอนความเชื่อมั่นในสวัสดิภาพของนักท่องเที่ยวที่มีต่อเมืองไทยลง จำนวนนักท่องเที่ยวจีนจึงค่อยๆ ลดจำนวนลง นอกจากนี้ยังมีสาเหตุอื่นๆ ที่ทำให้จำนวนนักท่องเที่ยวเปลี่ยนเส้นทางไปยังประเทศอื่นในเอเชีย เช่น เรื่องโรคไข้เลือดออกระบาด พฤติกรรมไม่เหมาะสมของเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยของสนามบิน

Read More

การท่องเที่ยวทรุด ฉุดเศรษฐกิจไทยร่วง?

เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าฟันเฟืองที่ช่วยให้เศรษฐกิจไทยสามารถขับเคลื่อนไปข้างหน้าได้นั้นมีอยู่เพียงไม่กี่อย่าง เช่น การส่งออก และการท่องเที่ยว และหลายครั้งที่สถานการณ์ทำให้เราประจักษ์ชัดว่าการท่องเที่ยวของไทยมีบทบาทสำคัญอย่างมากต่อรากฐานทางเศรษฐกิจในทุกระดับ ทุกๆ ภาครัฐและเอกชนของไทยจะตั้งเป้าหมายเกี่ยวกับการท่องเที่ยวว่าในแต่ละปีจะต้องมีรายได้ที่เกิดจากการท่องเที่ยวเท่าไหร่ รวมไปถึงจำนวนนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามาประเทศไทยและบทสรุปทั้งเรื่องจำนวนนักท่องเที่ยวและรายได้ในแต่ละปีที่ออกมามักสูงกว่าเป้าหมายที่ได้คาดการณ์เอาไว้ ทว่า ในปีนี้โดยเฉพาะห้วงเวลานี้กลับแตกต่างออกไปทั้งจำนวนนักท่องเที่ยวที่เริ่มปรับตัวลดจำนวนลงแม้จะยังไม่ใช่จำนวนที่มากมายนัก แต่กลับสร้างความตระหนกให้ผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวไม่น้อย ไม่ว่าจะเป็นผู้ประกอบการธุรกิจโรงแรม ร้านอาหาร บริษัททัวร์ ธุรกิจรถทัวร์ เรือนำเที่ยว หรือธุรกิจอื่นที่ล้วนแต่อยู่ในห่วงโซ่ย่อมได้รับผลกระทบแห่งระลอกคลื่นนี้เช่นกัน เมื่อกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา แถลงข่าว รายงานสถานการณ์การท่องเที่ยวเดือนกันยายน 2561 ว่ามีจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติจำนวน 2,655,562 คน โดยจำนวนนี้เป็นนักท่องเที่ยวจากภูมิภาคเอเชียตะวันออกมากที่สุด 1,948,414 คน รองลงมา ได้แก่ นักท่องเที่ยวจากภูมิภาคยุโรป เอเชียใต้ อเมริกา ตะวันออกกลาง โอเชียเนีย และแอฟริกา ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา มีอัตราการขยายตัว 2.13 เปอร์เซ็นต์ กระนั้นอัตราการขยายตัวดังกล่าว เป็นการขยายตัวในทิศทางที่ลดลง 0.3 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า ปัจจัยหลายอย่างที่ส่งผลให้จำนวนนักท่องเที่ยวลดลงมีทั้งเรื่องของฤดูกาล ที่เป็นช่วงฤดูฝน นอกจากนี้ยังมีปัจจัยแวดล้อมอื่นๆ ที่หลายคนกำลังจับตาและให้ความสำคัญอย่างยิ่ง คือ ความปลอดภัยต่อสวัสดิภาพของนักท่องเที่ยว โศกนาฏกรรมเรือฟินิกซ์ล่มที่จังหวัดภูเก็ต ดูจะเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญ เมื่อเหตุการณ์ครั้งนั้นมีนักท่องเที่ยวจีนเสียชีวิตมากถึง 47 ราย

Read More

มาตรการใหม่แบงก์ชาติ สัญญาณเตือน “ฟองสบู่อสังหาฯ”

สถานการณ์อสังหาริมทรัพย์ไทยกำลังมีประเด็นที่น่าสนใจ และน่าจับตามองไม่น้อย ทั้งจากฝั่งของผู้ซื้อเพื่อเป็นที่อยู่อาศัย นักเก็งกำไร และผู้ประกอบการอสังหาฯ เมื่อธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เตรียมประกาศใช้มาตรการ Loan to Value (LTV) คือการลดวงเงินสินเชื่อต่อมูลค่าที่อยู่อาศัยลง เพื่อหวังจะคัดกรองคุณภาพของลูกหนี้ และป้องกันการเกิดปัญหาหนี้เสียเพิ่มมากขึ้น เหตุผลของการพิจารณาประกาศใช้มาตรการ LTV ของ ธปท. น่าจะมาจากอัตราการเติบโตของจำนวนที่อยู่อาศัยทั้งแนวตั้งและแนวราบที่มีผู้ประกอบการหน้าเก่าและหน้าใหม่ประกาศเปิดตัวโครงการอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ไตรมาสแรก ซึ่งคงไม่ใช่เรื่องที่ชวนให้แปลกใจแต่อย่างใด ที่จะมีจำนวนโครงการที่อยู่อาศัยเพิ่มจำนวนมากขึ้น เมื่อนักลงทุนกระโจนเข้ามาเล่นในตลาดนี้ เพื่อหวังจะแย่งชิงส่วนแบ่งทางการตลาด เมื่อมูลค่าการซื้อขายอสังหาฯ ในไทยปี 2560 มีมูลค่าสูงถึง 576,396 ล้านบาท โดยแบ่งเป็นผู้ซื้อชาวไทย 80 เปอร์เซ็นต์ และผู้ซื้อชาวต่างชาติ 20 เปอร์เซ็นต์ นอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่นที่มีส่วนให้การเติบโตของโครงการที่อยู่อาศัยมีอัตราการขยายตัวสูงขึ้น โดยเฉพาะที่อยู่อาศัยประเภทคอนโดมิเนียม นั่นคือ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐ การขยายเส้นทางรถไฟฟ้าจากในเมืองหลวงสู่รอบนอก ทำให้บรรดาผู้ประกอบการต่างกว้านซื้อที่ดินสำหรับก่อสร้างโครงการที่อยู่อาศัยแนวตั้ง ด้วยระยะเวลาการก่อสร้างเพียงไม่นาน ที่อยู่อาศัยอย่างคอนโดมิเนียมผุดขึ้นราวดอกเห็ดหน้าฝน ทั้งนี้เกณฑ์การปล่อยสินเชื่อที่แบงก์ชาติเตรียมจะประกาศใช้ใหม่ ในกรณีการกู้ซื้อที่อยู่อาศัยราคา 10 ล้านบาทขึ้นไป หรือการกู้ซื้อที่อยู่อาศัยหลังที่ 2 ขึ้นไป ต้องวางเงินดาวน์อย่างน้อย 20 เปอร์เซ็นต์ ของมูลค่าหลักประกัน โดยเงื่อนไขเดิมสำหรับการกู้ซื้อที่อยู่อาศัยหลังที่

Read More

ส่องเทศกาลกินเจ 2561 สะท้อนทิศทางเศรษฐกิจไทย

เทศกาลถือศีลกินเจเวียนมาถึงอีกครั้ง ท่ามกลางสภาวะเศรษฐกิจที่มีความเห็นต่าง โดยฝั่งรัฐบาลมองว่าสถานการณ์เศรษฐกิจในปี 2561 ส่งสัญญาณดีขึ้น มองเห็นการฟื้นตัว ประกอบกับการลงทุนภาครัฐที่ขยายวงกว้างมากขึ้น หากจะมองเช่นนั้นคงไม่ผิดนัก เมื่อพิจารณาจากโครงการที่ภาครัฐลงทุนโดยเฉพาะโครงสร้างพื้นฐาน อันจะนำมาซึ่งการลงทุนของภาคเอกชน ขณะที่ภาคประชาชนกลับเห็นต่างออกไป ซึ่งสะท้อนออกมาทางผลสำรวจของศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และแม้ว่าตัวเลขความเชื่อมั่นจะลดลงไปเพียงเล็กน้อย แต่นั่นหมายถึงสัญญาณบางอย่างที่ภาครัฐไม่ควรเพิกเฉย โดยผลสำรวจความเชื่อมั่นเกี่ยวกับเศรษฐกิจไทยในช่วงเดือนกันยายน 2561 พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคปรับตัวลดลงเป็นครั้งแรกในรอบ 4 เดือน เนื่องจากผู้บริโภครู้สึกว่าราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้นส่งผลให้อำนาจซื้อลดน้อยลง ประกอบกับราคาพืชผลทางการเกษตรหลายรายการยังมีราคาต่ำ นักท่องเที่ยวจีนที่เข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทยลดน้อยลง และสถานการณ์สงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับจีนที่เริ่มรุนแรงมากขึ้น ส่งผลให้กำลังซื้อในปัจจุบันชะลอตัวลง และความเชื่อมั่นในอนาคตปรับตัวลดลง โดยดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเกี่ยวกับเศรษฐกิจโดยรวมในเดือนกันยายน ลดลงจากระดับ 70.2 ในเดือนที่ผ่านมาสู่ระดับ 69.4 ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเกี่ยวกับเศรษฐกิจในอนาคต (ใน 6 เดือนข้างหน้า) ของเดือนกันยายน 2561 ปรับตัวลดลงจากระดับ 88.3 มาอยู่ที่ระดับ 87.2 แม้ว่าส่วนหนึ่งของปัจจัยที่มีผลต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภค จะมาจากปัจจัยภายนอกประเทศ กระนั้นยังมีสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในประเทศที่เป็นตัวฉุดความเชื่อมั่นและกลายเป็นปัจจัยลบต่อเศรษฐกิจไทยได้ไม่มากก็น้อย โดยเฉพาะเหตุร้ายที่เกิดขึ้นกับนักท่องเที่ยวต่างชาติในไทย ซึ่งถึงเวลานี้คาดว่าคงต้องใช้เวลาในการเรียกความเชื่อมั่นจากนักท่องเที่ยวอีกพอสมควร ขณะที่เทศกาลกินเจปี 2561 มีการเปิดเผยตัวเลขเม็ดเงินที่จะสะพัดในช่วงนี้ทั้งจากศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และศูนย์วิจัยกสิกรไทย โดยด้านหอการค้าไทยเปิดเผยว่า เทศกาลกินเจปีนี้ น่าจะมีเงินสะพัดมูลค่า 4.6 หมื่นล้านบาท นับเป็นมูลค่าที่สูงสุดเป็นประวัติการณ์

Read More

อุตสาหกรรมไทย โอกาสในสงครามการค้า

ท่ามกลางสถานการณ์สงครามการค้าที่อุบัติขึ้นอย่างต่อเนื่องของสองชาติมหาอำนาจทางเศรษฐกิจระหว่างสหรัฐอเมริกากับจีน ก่อให้เกิดผลกระทบในเชิงลบที่ไม่ได้เกิดขึ้นกับทั้งสองประเทศเท่านั้น หากแต่ผลกระทบเชิงลบยังขยายวงกว้างไปยังประเทศคู่ค้าอื่นๆ ที่แม้ว่าจะพยายามหาหนทางหรือกลยุทธ์ในการหลบหลีกรัศมีของห่ากระสุนจากสงครามนี้แล้วก็ตาม จากนโยบาย “American First” ที่ โดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ใช้เป็นนโยบายหลักในการบริหารประเทศ แม้จะเป็นไปเพื่อผลลัพธ์ที่ดีต่อพลเมืองอเมริกัน และได้รับแรงสนับสนุนจากผู้ที่เห็นดีเห็นงามอยู่บ้าง ในทางกลับกันนโยบายดังกล่าวสร้างความไม่พอใจจากผู้ประกอบธุรกิจนำเข้าและส่งออกสินค้า รวมไปถึงประเทศคู่ค้า เพราะมาตรการขึ้นภาษีนำเข้า ซึ่งเป็นหนึ่งในมาตรการสำคัญของนโยบาย “American First” การสาดกระสุนทางภาษีในสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีนเกิดขึ้นหลายระลอก แน่นอนว่าในทุก สงครามย่อมต้องมีฝ่ายได้รับบาดเจ็บ ผู้ประกอบการจากหลายอุตสาหกรรมต้องแสวงหากลยุทธ์เพื่อหวังจะลดทอนผลกระทบให้ได้มากที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งอุตสาหกรรมยานยนต์ในจีน ที่ตกอยู่ท่ามกลางดงกระสุนของสงครามนี้อย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ เพราะค่ายรถยนต์ที่มีฐานการผลิตอยู่ในจีนได้รับผลกระทบจากการขึ้นภาษีทั้งสองทาง มาตรการขึ้นภาษีของทั้งสองประเทศในอุตสาหกรรมยานยนต์ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตรถยนต์มีราคาสูงขึ้น และกำไรลดน้อยลง เมื่อยังไม่มีใครให้คำตอบได้ว่าสงครามการค้าระหว่างสองประเทศนี้จะสิ้นสุดลงเมื่อใด ทางออกที่มีอาจจะจำกัดอยู่เพียงแค่การย้ายฐานการผลิตไปประเทศอื่น ไม่ว่าจะเป็นย้ายฐานการผลิตไปยังสหรัฐอเมริกา เพื่อหลีกเลี่ยงภาษี ซึ่งทางออกนี้โดนัลด์ ทรัมป์ จะชี้นำไว้จากนโยบาย American First โดยมุ่งหวังที่จะสร้างงานให้แก่คนอเมริกัน และแน่นอนว่า ประเทศในกลุ่มเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรืออาเซียน อาจจะเป็นอีกทางเลือกที่น่าสนใจสำหรับการสร้างฐานการผลิตรถยนต์ หรือขยายฐานการผลิตในกรณีที่ค่ายรถยนต์มีฐานการผลิตอยู่แล้วในภูมิภาคนี้ อย่างไรก็ตาม บริษัทผู้ประกอบการรถยนต์จำนวนหนึ่งที่มีฐานลูกค้าอยู่ในอเมริกา เลือกที่จะย้ายฐานการผลิตไปยังอเมริกาแทน เพื่อหลีกเลี่ยงภาษี ซึ่งจะทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น และส่งผลให้กำไรลดลง หากจะมองว่ามาตรการขึ้นภาษีของนโยบาย “American First” เป็นการบีบบังคับประเทศคู่ค้าเพื่อให้ตกลงในเงื่อนไขที่โดนัลด์ ทรัมป์ สร้างขึ้นก็ดูจะไม่ผิดนัก เพราะเมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา มีการทำข้อตกลงระหว่างสหรัฐฯ และเม็กซิโกเกี่ยวกับอุตสาหกรรมยานยนต์ว่า

Read More

การพัฒนาระบบขนส่งมวลชนต้นทุนต่ำ?

คนไทยประสบปัญหาการจราจรติดขัด เมื่อไหร่ก็ตามที่ฝนตก ไม่ว่าปริมาณน้ำฝนจะมีเพียงเล็กน้อย หรือฝนตามฤดูกาล หรือการปรับปรุงพื้นผิวการจราจร การก่อสร้างโครงการขนส่งมวลชนระบบราง เหล่านี้ล้วนเป็นเหตุผลทางกายภาพที่ส่งผลให้การจราจรในประเทศไทย โดยเฉพาะกรุงเทพฯ มหานครที่หลายคนใฝ่ฝันจะเดินทางเข้ามาแสวงหาความศิวิไลซ์ ประสบกับปัญหาการจราจรติดขัดอย่างยากที่จะหลีกเลี่ยง นั่นยังไม่นับรวมเหตุจากการใช้รถใช้ถนนที่ขาดระเบียบวินัย โดยมุ่งที่จะสร้างความสะดวกสบายของตัวเองเป็นหลัก จึงไม่น่าแปลกใจแต่อย่างใด เมื่อทุกครั้งที่หลายสำนักมีการจัดอันดับ เมืองที่ “รถติด” ที่สุดในโลก เมืองหลวงของไทยมักติดโผเป็นอันดับต้นๆ เสมอ โดยเฉพาะการจัดอันดับของ BBC ในปี 2017 ที่ปรากฏชื่อ กรุงเทพฯ เป็นเมืองที่รถติดเป็นอันดับ 1 ผลการจัดอันดับถือเป็นภาพสะท้อนชั้นดีถึงวิธีการแก้ปัญหาการจราจรที่ไม่ประสบความสำเร็จ ไม่ว่าจะรัฐบาลยุคใด สมัยใดก็ตาม หากจะมองหาต้นเหตุของปัญหาการจราจรที่เกิดขึ้นจนถึงทุกวันนี้ มีด้วยกันหลายสาเหตุ ประการแรกคือ การเพิ่มขึ้นของจำนวนรถยนต์ส่วนบุคคล ซึ่งมีหลากหลายเหตุผลที่คนไทยจำนวนหนึ่งตัดสินใจซื้อรถยนต์ ทั้งจากนโยบายรถคันแรกของรัฐบาลก่อนหน้า การซื้อรถเพื่อใช้งาน หรือเพราะเป็นทางเลือกที่ดีกว่าการใช้ระบบขนส่งมวลชนของไทยที่ด้อยทั้งคุณภาพ บริการ และเหนืออื่นใด คือความปลอดภัย ที่หาได้ยากจากบริการรถสาธารณะ ประการที่สองคือ นโยบายสนับสนุนอุตสาหกรรมยานยนต์ของภาครัฐ ซึ่งศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดการณ์ว่าภาพรวมตลาดรถยนต์ในปี 2561 น่าจะขยายตัวได้ถึงร้อยละ 2-5 เมื่อเทียบกับปี 2560 ซึ่งยอดขายน่าจะได้มากกว่า 880,000 ถึง 900,000 คัน แม้ว่าเหตุผลของผู้ที่ตัดสินใจซื้อรถคันใหม่อาจมาจากการถือครองรถยนต์ในโครงการรถคันแรก

Read More

ตลาด e-Commerce ไทยระอุ ยักษ์ใหญ่ค้าปลีกสู้ด้วย “ข้อมูล”

ไม่ว่าการเติบโตของตลาด e-Commerce ในไทยจะเติบโตจากเหตุผลอะไร ระหว่างพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่เติบโตอย่างรวดเร็ว หรือการเข้ามาบุกตลาดไทยของทุนข้ามชาติ แต่นั่นส่งผลให้มูลค่าตลาด e-Commerce ไทยเติบโตอย่างต่อเนื่อง ข้อมูลจากสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) หรือ ETDA ที่เปิดเผยรายงานมูลค่าตลาด e-Commerce นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2558 มีมูลค่า 2,245,147.02 ล้านบาท ปี พ.ศ.2559 มูลค่า 2,560,130.36 ล้านบาท ปี พ.ศ.2560 มูลค่า 2,812,592.03 ล้านบาท และปี พ.ศ.2561 ที่คาดการณ์ว่าจนถึงสิ้นปี มูลค่าตลาด e-Commerce จะสูงถึงกว่า 3 ล้านล้านบาท การเติบโตที่สูงขึ้นเกือบ 10 เปอร์เซ็นต์ต่อปี จึงไม่น่าแปลกใจที่จนถึงเวลานี้ทุนข้ามชาติจะมองเห็นว่าตลาด e-Commerce ในไทยยังคงความหอมหวาน และยังเป็นตลาดที่น่าเข้ามาลงทุน เมื่อยังมีผู้เล่นไม่มากนัก แม้ว่าในปัจจุบันจะมีเจ้าตลาดอยู่เพียงไม่กี่เจ้า ที่อาจจะเรียกได้ว่าประสบความสำเร็จในช่วงเวลานี้ ถือครองส่วนแบ่งตลาด แต่เป็นเรื่องที่น่าเสียดายไม่น้อยที่ทุนต่างชาติ ดูจะเข้าใจและสามารถวิเคราะห์ความต้องการ พฤติกรรมของคนไทยได้ดีกว่ากลุ่มทุนสัญชาติไทยด้วยกันเอง ทั้งการมาถึงของ

Read More

สงครามการค้ายกที่สอง กระทบเศรษฐกิจไทย เศรษฐกิจโลก?

ความเคลื่อนไหวของ 2 ชาติมหาอำนาจอย่างสหรัฐอเมริกาและจีน ที่ตอบโต้กันชนิดที่เรียกได้ว่า หมัดต่อหมัด กับการตั้งกำแพงภาษีสินค้านำเข้า แรงเหวี่ยงหมัดที่ 2 ประเทศสร้างขึ้นก่อให้เกิดความวิตกกังวลไม่น้อยกับนานาประเทศคู่ค้า หลายฝ่ายจับตามองว่าสงครามการค้าที่เกิดขึ้นในครั้งนี้จะยุติลงเมื่อใด และจะมีบทสรุปอย่างไร แม้ว่าหลายเดือนก่อนหน้าจะมีความพยายามอย่างยิ่งยวดในการเจรจาเพื่อหาข้อยุติสงครามการค้าของทั้ง 2 ประเทศ แต่น่าแปลก ในขณะที่การเจรจายังดำเนินไปตามครรลองที่ควรจะเป็น และยังไม่มีบทสรุปใดๆ ออกมา ผู้นำอย่างประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ กลับประกาศอัตราเรียกเก็บภาษีนำเข้าสินค้าจากจีนในอัตรา 25 เปอร์เซ็นต์ ครั้งแรกเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม นับเป็นหมัดแรกที่สหรัฐฯ เหวี่ยงเข้าใส่จีน การเรียกเก็บภาษีนำเข้าครั้งนั้นนับเป็นมูลค่า 34,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณ 1.1 ล้านล้านบาท จากสินค้าจำนวน 818 รายการ และหลังจากนั้นอีก 2 สัปดาห์ ทรัมป์เดินหน้าประกาศเรียกเก็บภาษี 25 เปอร์เซ็นต์ เป็นมูลค่า 16,000 ล้านดอลลาร์ จากสินค้า 282 รายการ แน่นอนว่า จีน ที่ได้ชื่อว่าเป็นมหาอำนาจในซีกโลกตะวันออก คงไม่นิ่งเฉยรอให้สหรัฐฯ

Read More