เศรษฐกิจไทยยังเปราะบาง เร่งรัฐวางมาตรการฉุกเฉิน
สถานการณ์ทางเศรษฐกิจไทยในยุคหลังการแพร่ระบาดของ COVID-19 ที่ดำเนินต่อเนื่องมายาวนานกว่า 1 ปียังเป็นไปท่ามกลางความเปราะบางและไร้สัญญาณบวกที่จะพลิกฟื้นกลับมาโดยง่าย ขณะเดียวกันรายได้ครัวเรือนที่ปรับลดลง โดยเฉพาะกลุ่มครัวเรือนรายได้น้อยที่ยังไม่ฟื้นตัวจากการระบาดรอบก่อนและได้รับผลกระทบเพิ่มเติม ทำให้ต้องติดตามคุณภาพหนี้ในภาคครัวเรือนที่อาจด้อยลงในระยะต่อไป ผลกระทบจากการแพร่ระบาด COVID-19 ทำให้ภาคธุรกิจมีรายได้ลดลงและมีฐานะการเงินเปราะบางมากขึ้น โดยเฉพาะธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยวและบริการที่ยังไม่ฟื้นตัวจากการระบาดของโรค ขณะที่ธุรกิจ SMEs ประสบปัญหาความเสี่ยงด้านเครดิตที่ปรับสูงขึ้น ส่งผลให้สถาบันการเงินปล่อยสินเชื่อให้กลุ่มธุรกิจดังกล่าวน้อยลง และอาจทำให้ธุรกิจมีปัญหาขาดสภาพคล่องมากขึ้น บางธุรกิจมีโอกาสผิดนัดชำระหนี้และต้องยุติกิจการไปโดยปริยาย รายงานตัวเลขจีดีพีไตรมาส 4 ปี 2563 ของไทยยังติดลบเพิ่มอีกร้อยละ 4.2 จากไตรมาส 3 ที่ติดลบในระดับร้อยละ 6.4 ส่งผลให้จีดีพีปี 2563 ติดลบร้อยละ 6.1 ซึ่งเป็นอัตราการเติบโตที่ย่ำแย่ที่สุดในรอบ 22 ปีนับตั้งแต่เกิดวิกฤตต้มยำกุ้งในปี 2540 ซึ่งผลกระทบจาก COVID-19 ทำให้กระทบต่อภาคการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจในประเทศ ส่วนจีดีพีปี 2564 คาดว่าจะขยายตัวได้ที่ระดับร้อยละ 2.5-3.5 หรือเฉลี่ยที่ร้อยละ 3 ลดลงจากคาดการณ์เดิมที่ประเมินไว้ในระดับ 3.5-4.5 ประเด็นดังกล่าวสะท้อนความชัดเจนว่าเศรษฐกิจไทยยังไม่กลับเข้าสู่ศักยภาพเต็มที่ และยังมีปัญหาความเสี่ยงอยู่มาก รวมถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นในไตรมาส 1 ปีนี้ด้วย ซึ่งปัจจัยที่สนับสนุนให้เศรษฐกิจไทยขยายตัวในระดับร้อยละ
Read More