Home > air pollution

บทเรียนจากฝุ่นพิษ ถึงเวลาพลังงานสะอาด?

คนไทยเริ่มต้นศักราชใหม่ด้วยความอึมครึมอยู่ไม่น้อย ทั้งสถานการณ์การเมืองที่ยังไม่กระจ่างชัด สภาวะเศรษฐกิจไทยที่ดูดีเพียงตัวเลขในรายงานสรุปผลประจำปี และการคาดการณ์ในแนวบวกไว้ล่วงหน้า แต่ที่สร้างความหวั่นวิตกให้ประชาชนคนไทยในห้วงยามนี้ เห็นจะเป็นปัญหามลพิษฝุ่น PM2.5 ซึ่งกลายเป็นประเด็นทางสังคมให้หลายฝ่ายได้ถกเถียงกันว่าสถานการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นและส่งผลกระทบต่อสุขภาพของผู้คนแล้วนั้น เข้าขั้น “วิกฤต” หรือยัง สถานการณ์ฝุ่น PM2.5 ที่ปรากฏเป็นภาพชัดตั้งแต่ช่วงเดือนมกราคมที่ผ่านมานั้น มีข้อเท็จจริงบางประการที่อาจถูกลืมเลือนหรือเพิกเฉย นั่นคือปัญหาฝุ่นพิษนั้นเคยเกิดขึ้นในสภาพแวดล้อมของไทยมาก่อนหน้า โดยเฉพาะพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล รวมไปถึงเมืองใหญ่ในต่างจังหวัด ทว่า ปี พ.ศ.2562 ปัญหามลพิษฝุ่น PM2.5 กลับฉายภาพชัดเจนมากขึ้น ส่วนหนึ่งน่าจะมาจากภาครัฐได้ทำการติดตั้งเครื่องตรวจวัดมาตรฐานฝุ่น PM2.5 โดยในปีนี้มีการติดตั้งเพิ่มเติมอีก 30 จุด ขณะที่ปีที่ผ่านมามีการติดตั้งไปเพียง 4 จุดเท่านั้น และตัวเลขจากเครื่องวัดมาตรฐานฝุ่น PM2.5 เป็นข้อมูลสำคัญที่ถูกเปิดเผยต่อสาธารณะ อันนำมาซึ่งความตื่นตระหนก ขณะที่อีกเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ปัญหามลพิษฝุ่น PM2.5 ทวีความรุนแรงมากขึ้น น่าจะมาจากการละเลยที่จะใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อมและสภาพอากาศของทุกฝ่าย ฝุ่น PM2.5 เกิดจากหลายสาเหตุ ทั้งการเผาไหม้ของเครื่องยนต์ดีเซล โรงงานอุตสาหกรรม การเผาวัชพืชทางการเกษตรในที่โล่ง การผลิตไฟฟ้า ปฏิกิริยาทางเคมีในอากาศ แม้ว่าแนวทางการแก้ไขปัญหาของภาครัฐในเบื้องต้นจะอยู่ที่ปลายเหตุเสียเป็นส่วนใหญ่ ทั้งการฉีดน้ำเพื่อหวังลดค่าฝุ่น PM2.5 การทำฝนหลวง หรือการเสนอแนวความคิดที่จะให้รถยนต์วิ่งวันคู่วันคี่ ทั้งหมดทั้งมวลดูจะห่างไกลจากคำว่า “การแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน” มากนัก แน่นอนว่า

Read More

ไฟไหม้ฟาง: ฝุ่นพิษเริ่มจาง มาตรการหดหาย

ข่าวความเป็นไปของฝุ่นพิษ PM2.5 ในช่วงเวลาที่ผ่านมา ในด้านหนึ่งได้สร้างความตื่นตัวในประเด็นว่าด้วยสุขภาพให้กับสังคมไทยอย่างเอิกเกริก และส่งผลให้กลไกภาครัฐต้องขยับตัวเร่งแก้ไขสถานการณ์ฝุ่นพิษอย่างต่อเนื่อง ด้วยวิธีการหลากหลาย ซึ่งสะท้อนวิถีความคิดและศักยภาพในการบริหารจัดการของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ข้อเท็จจริงที่น่าสนใจเกี่ยวกับความเป็นไปของสถานการณ์ฝุ่นพิษ PM2.5 ในด้านหนึ่งอยู่ที่ตลอดเวลาที่ผ่านมา สังคมไทยเผชิญกับภาวะมลพิษทางอากาศ และคุณภาพอากาศเลวร้ายมาอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นฝุ่นขนาดใหญ่ PM10 ซึ่งส่วนใหญ่เป็นฝุ่นจากผลของการก่อสร้าง ขณะที่ฝุ่นพิษ PM2.5 ก็เคยปรากฏให้เห็นมาอย่างต่อเนื่องในช่วงหลายปีที่ผ่านมา หากแต่ได้รับการประเมินว่าเป็นเพียงปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในลักษณะ “ตามฤดูกาล” และจะบรรเทาเบาบางลงเมื่อเวลาเปลี่ยนผ่านไป กระบวนทัศน์ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ควบคู่กับสำนึกตระหนักทางสังคมในมิติดังกล่าวทำให้สถานการณ์ฝุ่นพิษ PM2.5 เกิดขึ้นซ้ำซากในแต่ละปี และพร้อมที่จะทวีความหนักหน่วงรุนแรงเพิ่มขึ้นในแต่ละปี ตามปริมาณฝุ่นที่สะสมอยู่ในสภาพแวดล้อม ขณะที่แหล่งที่มาหรือต้นทางแห่งการเกิดฝุ่นพิษ PM2.5 ยังดำเนินไปอย่างเป็นปกติ โดยไม่ได้มีมาตรการระยะยาวในการจัดการที่เป็นรูปธรรมมากนัก ประเด็นที่น่าสนใจจากความพยายามของกลไกภาครัฐในการบริหารจัดการเพื่อแก้ไขสถานการณ์ฝุ่นพิษ PM2.5 ในด้านหนึ่งสะท้อนให้เห็นมิติของการขับเคลื่อนองคาพยพของหน่วยงานราชการ เมื่อการประชุมในระดับคณะรัฐมนตรีมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับกรณีดังกล่าวรวมมากถึง 11 หน่วยงาน ทั้งกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงการคลัง กระทรวงคมนาคม กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กระทรวงพลังงาน กระทรวงมหาดไทย กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงอุตสาหกรรม สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และ สำนักนายกรัฐมนตรี แนวทางและมาตรการในการแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 ในเขตกรุงเทพมหานครปริมณฑล และในพื้นที่จังหวัดต่างๆ ภายใต้กลไกรัฐที่กำกับดูแลเหล่านี้ พยายามระบุว่า กรอบแนวคิด

Read More