Home > สถานการณ์ภัยแล้ง

ภาคเกษตรวิกฤตหนัก ภัยแล้ง-ราคาตก ฉุดเศรษฐกิจไทย

หลังจากกรมอุตุฯ ประกาศการเข้าสู่ฤดูร้อนอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา แต่ดูเหมือนว่าในช่วงเวลาดังกล่าวสถานการณ์ความเป็นไปที่เกิดขึ้นในประเทศหลายระนาบ ดูจะร้อนระอุเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว ทั้งสถานการณ์การเมืองที่ไทยกำลังเดินหน้าเข้าสู่การเลือกตั้ง สถานการณ์เศรษฐกิจไทยที่นับวันกราฟการเติบโตจะค่อยๆ ไต่ลงอย่างไม่อาจต้านทาน ด้วยผลกระทบทั้งจากภายนอกประเทศและในประเทศ อุณหภูมิในประเทศที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปี ยิ่งสร้างความวิตกกังวลให้แก่บรรดาเกษตรกรและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องไม่น้อย เพราะนั่นเป็นสัญญาณบ่งบอกว่า “ภัยแล้ง” ปีนี้เดินทางมาถึงเร็วกว่าปกติและอาจจะยาวนานขึ้น โดยเฉพาะปีนี้ที่อุณหภูมิจะสูงขึ้นจากค่าปกติ 1-2 องศาเซลเซียส การประกาศของกรมอุตุนิยมวิทยา นอกจากประชาชนต้องเตรียมพร้อมรับมือสภาพอากาศที่ร้อนอบอ้าวแล้ว เกษตรกรจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องตั้งรับเพื่อให้พร้อมกับสถานการณ์ภัยแล้งที่ดูเหมือนจะกระหน่ำซ้ำเติมสภาพความแร้นแค้นให้หนักหน่วงขึ้น หากไร้ซึ่งความพร้อม นอกเหนือไปจากสภาพอากาศที่เป็นอุปสรรคต่อการเพาะปลูกแล้ว ปริมาณน้ำในเขื่อนปีนี้น่าจะสร้างความวิตกกังวลให้ไม่น้อย เมื่อกรมชลประทานเปิดเผยรายงานสถานภาพน้ำในเขื่อนต่างๆ (ข้อมูลล่าสุดวันที่ 13 มีนาคม 2562) ปริมาณน้ำที่ใช้การได้ในเขื่อนทั้งประเทศลดลง 13 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันกับปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะเขื่อนในภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เขื่อนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่มีปริมาณน้ำน้อยเข้าขั้นวิกฤต คือ เขื่อนอุบลรัตน์ มีปริมาณน้ำน้อยกว่า 30 เปอร์เซ็นต์ รนก. (ระดับน้ำเก็บกักของอ่างฯ) และเขื่อนในภาคกลาง ได้แก่ เขื่อนกระเสียว เขื่อนทับเสลา ขณะที่เขื่อนที่มีปริมาณน้ำน้อย คือที่ระดับ 30-50 เปอร์เซ็นต์ รนก. ได้แก่ เขื่อนคลองสียัด เขื่อนขุนด่านปราการชล เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ เขื่อนลำแซะ

Read More

ทุกข์เกษตรกร ผจญภัยแล้งแถมเศรษฐกิจฟุบ

  พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ผ่านพ้นไปแล้วเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา และเป็นประหนึ่งสัญญาณของการเริ่มต้นฤดูกาลเพาะปลูกครั้งใหม่ที่เปี่ยมไปด้วยขวัญและกำลังใจสำหรับเกษตรกร ในการประกอบสัมมาชีพหล่อเลี้ยงสังคมและผู้คนต่อไป เพราะท่ามกลางผลการเสี่ยงทายที่ปรากฏว่าพระโคได้กินข้าว ข้าวโพด งา เหล้า น้ำ และหญ้า พยากรณ์ว่า ธัญญาหาร ผลาหาร ภักษาหาร จะบริบูรณ์ดี น้ำท่าจะบริบูรณ์สมควร การคมนาคมสะดวกยิ่งขึ้น การค้าขายกับต่างประเทศดี เศรษฐกิจรุ่งเรืองขึ้น และในการเสี่ยงทายผ้านุ่งเสี่ยงทาย พระยาแรกนาหยิบเสี่ยงทาย ผ้านุ่ง 5 คืบ พยากรณ์ว่า น้ำปริมาณพอดี ข้าวกล้าได้ผลบริบูรณ์ ผลาหาร มังสาหาร จะอุดมสมบูรณ์ดี ดูจะเป็นแรงกระตุ้นความหวังและความฝันครั้งใหม่ได้ไม่น้อยเลย หากแต่ข้อเท็จจริงที่เกษตรกรไทยกำลังเผชิญอยู่ในขณะนี้ อาจอาศัยเพียงกำลังใจและความคาดหวังจากการพยากรณ์ตามลำพังไม่ได้ เพราะปัญหาของเกษตรกรไทยในห้วงปัจจุบันมิได้มีเพียงประเด็นว่าด้วยการเพิ่มผลผลิตหรือการปรับโครงสร้างราคาพืชผลทางการเกษตรให้สอดรับกับต้นทุนการผลิตเท่านั้น หากยังมีปัจจัยว่าด้วยความสามารถในการแข่งขันเพื่อการส่งออกไปยังตลาดระดับนานาชาติด้วย ปัญหาเฉพาะหน้าของเกษตรกรในช่วงของภาวะภัยแล้งที่ผ่านมา อยู่ที่ต้นทุนการผลิต ปริมาณการผลิต ต้นทุนการหาแหล่งน้ำ รายได้จากการทำการเกษตร หนี้สินของครัวเรือน และการจับจ่ายใช้สอยในชีวิตประจำวัน ซึ่งประชาชนประมาณ 80.5% ที่ตอบแบบสำรวจของศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เมื่อช่วงเดือนมีนาคมถึงเมษายนที่ผ่านมา ระบุว่าในการแบกรับภาระหรือการรับมือต่อภัยแล้ง ทำได้น้อย หรือทำไม่ได้เลย  ขณะเดียวกัน สถานการณ์ภัยแล้งที่มีแนวโน้มจะยืดยาวไปถึงช่วงมิถุนายน 2559 จะทำให้เม็ดเงินหายไปจากระบบเศรษฐกิจประมาณ

Read More