Home > Cover Story

หมูอวตารฉ่ำๆ 4.5 หมื่นล้าน เบทาโกรลุย “กะเพราสามชั้น” หั่นราคา

สมรภูมิ Plant-based Food เนื้อแปลงร่าง หมูอวตาร ให้อารมณ์นุ่มชุ่มฉ่ำ กำลังเติบโตและแข่งขันรุนแรง โดยมีมูลค่าเม็ดเงินมากกว่า 45,000 ล้านบาท พุ่งขึ้นจากอัตรา 2-10% เมื่อปี 2562 เป็น 10-30% ในปี 2567 และเพิ่มเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 10% ต่อปี โดยเฉพาะการแข่งขันประชันเมนูอาหารพร้อมรับประทาน ซึ่งทุกค่ายล้วนเป็นคู่แข่งยักษ์ใหญ่แทบทั้งสิ้น ขณะเดียวกัน รสชาติที่แปลกใหม่ กลิ่นและสีสัน สามารถขยายฐานกลุ่มคนรุ่นใหม่ได้อีกหลายเท่าตัว ประเมินจากจำนวนคนไม่บริโภคเนื้อสัตว์ในประเทศไทยในปัจจุบันยังมีอยู่เพียง 7-10 ล้านคนเท่านั้น ท่ามกลางเทรนด์รักสุขภาพที่ยังมีแนวโน้มขยายตัว ล่าสุด บริษัท เบทาโกร จำกัด (มหาชน) ออกมาเปิดเกมรุก ส่ง 3 เมนูใหม่ในกลุ่มอาหารพร้อมรับประทาน (Ready to eat) ได้แก่ ข้าวกะเพราเนื้อสามชั้น ข้าวคะน้าเนื้อสามชั้น และข้าวเนื้อสามชั้นผัดพริก พร้อมอัดกลยุทธ์ราคาเพียง 59 บาท เพื่อเสริมไลน์

Read More

อนาคตผู้ประกอบการไทย กับนโยบายการแข่งขันที่ยุติธรรม

ธุรกิจที่เป็นแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยหรือธุรกิจประเภท SMEs คิดเป็น 95 เปอร์เซ็นต์ของธุรกิจทั้งหมด และยังมีการจ้างงานกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ของธุรกิจทั้งหมดเช่นกัน SMEs จึงมีส่วนสำคัญต่อการสร้างงาน สร้างรายได้ และเป็นแรงขับสำคัญในการพัฒนาธุรกิจขนาดใหญ่ แต่ธุรกิจขนาดย่อมยังไม่อาจเติบโตได้ซึ่งมีหลายปัจจัยที่สร้างผลกระทบ นั่นคือ การไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนที่สำคัญ การถูกกีดกันทางการค้า ทำให้ไม่สามารถแข่งขันได้อย่างเต็มที่ อำนาจการแข่งขันตกไปอยู่ในมือของธุรกิจขนาดใหญ่ที่มีความมั่งคั่งด้านการเงิน จนเกิดอำนาจเหนือตลาด สิ่งสำคัญที่จะช่วยลดปัญหาข้างต้นคือการมีกฎหมายการแข่งขันทางการค้า ไทยเริ่มมีกฎหมายการแข่งขันทางการค้าตั้งแต่ พ.ร.บ.ป้องกันการค้ากำไรเกินควร พ.ศ. 2490 และมีการพัฒนามาตามลำดับจนเป็น พ.ร.บ. การแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2560 ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ซึ่งออกมาแทน พ.ร.บ. การแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2542 นอกจากการมีกฎหมายเพื่อให้ผู้ประกอบการทั้งรายเล็กและรายใหญ่มีสิทธิในการแข่งขันทางการค้าอย่างยุติธรรม ยังมีสำนักงานคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า หรือ กขค. (TCCT) ซึ่งมีหน้าที่สนับสนุนผู้ประกอบการ รับเรื่องร้องเรียนที่เกี่ยวกับการแข่งขันทางการค้าที่ไม่เป็นธรรม รวมถึงการแลกเปลี่ยนข้อมูล ทำความตกลงและร่วมมือกับองค์กรหรือหน่วยงานในและต่างประเทศเพื่อประโยชน์สูงสุดต่อผู้ประกอบการ ล่าสุด TCCT ร่วมกับองค์การศูนย์กลางการค้าระหว่างประเทศจัดงาน TCCT Competition Policy Symposium: An Optimal Competition

Read More

ฉายภาพแนวคิด อัญรัตน์ พรประกฤต ดีเอ็นเอ เจน 4 ของ ยูบิลลี่ ไดมอนด์

เป็นอีกครั้งที่ “ผู้จัดการ 360 องศา” ได้พูดคุยกับ ผู้บริหารของบริษัท ยูบิลลี่ เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด (มหาชน) อย่างคุณอัญรัตน์ พรประกฤต ทายาทรุ่นที่ 4 ของร้านเพชรที่ถือกำเนิดมาจากร้านเพชรเล็กๆ ย่านสะพานเหล็ก แม้ไม่ได้วางตัวให้รับช่วงต่อธุรกิจของครอบครัว แต่การจับพลัดจับผลูในช่วงการค้นหาตัวเอง ทำให้อัญรัตน์เจอสิ่งที่ใช่ งานที่ชอบ จนก้าวเข้าสู่ปีที่ 22 ของการทำงานที่ ยูบิลลี่ “อัญไม่ได้ถูกวางแผนอนาคตว่าต้องเข้ามารับช่วงต่อ เพราะตอนที่คุณพ่อบริหารงานอยู่ ท่านคิดว่า สามารถที่จะลดความเป็นธุรกิจครอบครัว มองหาผู้บริหารมืออาชีพที่เหมาะสมเข้ามาทำงาน ท่านก็จะปล่อยให้ธุรกิจเดินหน้าต่อไป ส่วนลูกๆ ใครอยากทำอาชีพอะไร เก่งด้านไหน มีความชอบอะไร ก็ไปทำในสิ่งที่ตัวเองชอบได้เลย” อัญรัตน์ พรประกฤต ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ยูบิลลี่ เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด (มหาชน) ย้อนอดีตให้ฟัง แต่ด้วยความที่เติบโตมาในบ้านที่ทำธุรกิจ การช่วยงานเล็กๆ น้อยๆ จึงเป็นเหมือนหน้าที่ ที่ไม่ต้องมีคนคอยบอก อัญรัตน์มักช่วยงานง่ายๆ ที่เด็กหญิงสักคนจะทำได้ “การช่วยงานหน้าร้าน เช่น

Read More

“ศรัณญ อยู่คงดี” กับแบรนด์ SARRAN เครื่องประดับไทยที่ดังไกลระดับโลก

หากเคยได้ชมเอ็มวีเพลง LALISA ของ ลิซ่า (ลลิษา มโนบาล) หลายคนคงจำได้ถึงเครื่องประดับชิ้นงามอย่าง “กรรเจียก” ทรงกิ่งพุดซ้อนสีเงินแซมทองที่ปรากฏอยู่ในเอ็มวี ซึ่งเครื่องประดับดังกล่าวเป็นผลงานในคอลเลกชัน Pood Sorn จากแบรนด์ SARRAN ของ “ศรัณญ อยู่คงดี” นักออกแบบมากฝีมือที่กวาดรางวัลประกวดมามากมายและพาเครื่องประดับแบรนด์ไทยไปดังไกลถึงระดับโลก ล่าสุดเขายังได้รังสรรค์ผลงานหัตถศิลป์ชิ้นพิเศษ “Trove of Blue” ที่ได้แรงบันดาลใจมาจากลวดลายของ “ผ้าลายอย่าง” ขึ้นในโอกาสครบรอบ 100 ปี ของแบรนด์จอห์นนี่ วอล์กเกอร์ ในไทย ที่มีเพียง 10 ชิ้นบนโลกอีกด้วย ศรัณญเติบโตมาในครอบครัวที่ปลูกฝังทักษะพื้นฐานด้านศิลปะและคลุกคลีอยู่กับงานหัตถศิลป์มาตั้งแต่เด็ก ซึ่งนั่นทำให้เขาตัดสินใจเข้าศึกษาต่อในโรงเรียนอาชีวะ และได้รับทุนเข้าศึกษาต่อในสาขาศิลปะจินตทัศน์ (Imagine Art) คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒตามลำดับ เขามีโอกาสเป็นผู้ช่วยผู้กำกับหนังในช่วงสั้นๆ ก่อนเข้าทำงานประจำในตำแหน่งออกแบบผลิตภัณฑ์ในร้านฝ้ายซอคำ กระทั่งได้รับทุนจาก Japan Foundation ไปศึกษาและดูงานที่ญี่ปุ่นเป็นเวลา 5 เดือน หลังจากนั้นจึงกลับมาทำงานเป็นฟรีแลนซ์พร้อมส่งงานเข้าประกวดอย่างต่อเนื่อง ภายหลังสั่งสมประสบการณ์ในการทำงานมาได้ระยะหนึ่ง ศรัณญจึงตัดสินใจก่อตั้งแบรนด์ “SARRAN” ขึ้นในปี 2551

Read More

73 ปี “กันตนา กรุ๊ป” ถึงเวลาส่งไม้ต่อสู่ทายาทเจนฯ 3

“เราอยู่ในรุ่น 2 ที่การทำธุรกิจบันเทิงมันสนุกมาก ทั้งๆ ที่มีอยู่แค่ 3-4 ช่อง เพราะเราแข่งกับตัวเองมากกว่าแข่งกับคนอื่น แต่พอยุคนี้ต้องแข่งทั้งกับตัวเอง แข่งกับคนอื่น แข่งกับโลก และเทคโนโลยีที่มันเปลี่ยนแปลงเร็วมาก มันเป็นยุคของเจนฯ 3 ที่เขาจะเข้ามาสานต่อ เพราะเขาเกิดมากับคอนเทนต์ มีพรสวรรค์ มีแรงและตื่นตัว ที่สำคัญเขาไม่ได้เข้าใจแค่เรื่องการผลิต แต่เข้าใจถึงเรื่องการหารายได้ว่ามันต้องมาจากไหน” ศศิกร ฉันท์เศรษฐ์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท กันตนา กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) กล่าวในวันเปิดตัวทายาทรุ่น 3 และผู้บริหารรุ่นใหม่แบบครบทีม ที่จะมาผนึกกำลังขับเคลื่อนองค์กรผ่านโครงการ Blue Project เป็นเวลา 73 ปีเต็ม ที่ “กันตนา กรุ๊ป” โลดแล่นในธุรกิจบันเทิงของไทย จากยุคผู้ก่อตั้งอย่าง “ประดิษฐ์ - สมสุข กัลย์จาฤก” สู่รุ่น 2 ในยุคของ จาฤก กัลย์จาฤก

Read More

โละสินเชื่อ K PAY LATER เบรก “ซื้อก่อนจ่ายทีหลัง” บานเบอะ 

หลังธนาคารกสิกรไทยประกาศหยุดบริการสินเชื่อ K PAY LATER โดยเบรกรับลูกค้าใหม่ตั้งแต่วันที่ 22 มีนาคม 2567 และทยอยยกเลิกสินเชื่อของกลุ่มลูกค้าเก่าทันทีที่สัญญาสิ้นสุด เร่งเคลียร์เงินค้างเก่าให้หมดภายในปีนี้ สะท้อนภาพที่หลายฝ่ายหวาดกลัวปัญหาหนี้สินครัวเรือนที่พุ่งไม่หยุด ขณะที่ธนาคารกสิกรไทยชี้แจงเหตุผลมาจากความไม่ถนัดและไม่รู้จักลูกค้ากลุ่มนี้มากพอทำให้กระบวนการคาดการณ์รายได้ของลูกค้าไม่แม่นยำ นอกจากนี้ ตั้งแต่ปี 2565 ธนาคารเริ่มชะลอรับลูกค้าใหม่ในกลุ่มผลิตภัณฑ์สินเชื่อส่วนบุคคลที่ไม่มีหลักประกันทั้งหมด เห็นได้จากสินเชื่อที่ไม่เติบโตมากนัก เหตุผลหนึ่งคือสถานการณ์หนี้ครัวเรือนที่สูง ทำให้ธนาคารต้องระมัดระวังความเสี่ยงมากขึ้น ส่วนสินเชื่อที่มีหลักประกัน เช่น สินเชื่อบ้าน เน้นปล่อยอย่างระมัดระวัง โดยทำงานร่วมกับโครงการที่เชื่อถือได้ ราคาระดับบนและเน้นกลุ่มลูกค้าเงินเดือนมากกว่า 30,000 บาทขึ้นไป หรือราคาบ้านเกิน 3 ล้านบาทขึ้นไป ทั้งนี้ ธนาคารกสิกรไทยเปิดตัวสินเชื่อ K เปย์ให้ก่อน หรือ K Pay Later เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2565 รองรับกลุ่มลูกค้าบัญชีธนาคารกสิกรไทยและใช้แอปพลิเคชัน K PLUS ที่ต้องการวงเงินสำรองในการซื้อสินค้าและอุปโภคบริโภคเพื่อการดำรงชีวิต โดยวิธีสแกนจ่ายกับร้านค้าที่เข้าร่วมโครงการ ทั้งร้านอาหาร ร้านค้าปลีกประเภทต่างๆ และชำระค่าสาธารณูปโภคแต่ไม่สามารถถอนเป็นเงินสดได้ คิดอัตราดอกเบี้ยสูงสุดไม่เกิน 25%

Read More

ปิดฉาก “โรบินฮู้ด” สมรภูมิเดือด ฟูดดีลิเวอรีขาลง

แม้กรณีบริษัท เพอร์เพิล เวนเจอร์ส จำกัด ในเครือ บริษัท เอสซีบี เอกซ์ จำกัด (มหาชน) หรือ SCB ตัดสินใจยุติการให้บริการแอปพลิเคชัน Robinhood ตั้งแต่วันที่ 31 กรกฎาคม 2567 ให้เหตุผลว่า บรรลุภารกิจช่วยเหลือร้านค้า ไรเดอร์และคนตัวเล็กในช่วงวิกฤตโควิด-19 ตามเป้าประสงค์ หลังวิกฤตโควิด-19 และธุรกิจต่างๆ เข้าสู่สภาวะปกติ แต่ลึกๆ แล้วปมปัญหาใหญ่ คือ การแข่งขันในตลาดรุนแรงจนผลการดำเนินงานขาดทุนต่อเนื่อง ทั้งนี้ ผลประกอบการตั้งแต่ปี 2563 บริษัทขาดทุนสุทธิ 87 ล้านบาท ปี 2564 ขาดทุนเพิ่มขึ้นเป็น  1,335 ล้านบาท ปี 2565 ขาดทุนสูงถึง 1,986 ล้านบาท และปี 2566 ขาดทุนเพิ่มขึ้นเป็น 2,155 ล้านบาท

Read More

ชนวัฒน์ เอื้อวัฒนะสกุล ปลุก Easy e-Receipt จี้ต่อมนักชอป

“ผมยังเชื่อมั่นศักยภาพของเศรษฐกิจไทย และธุรกิจศูนย์การค้าเป็นหนึ่งใน Driving Force ให้เศรษฐกิจประเทศ เพราะ touch คนเยอะมาก เรายังไม่ได้นับทั้งประเทศ แต่ประมาณการเกินวันละ 5 ล้านคน ยิ่งช่วงหน้าร้อนที่ผ่านมา จากสถิติที่มี คนเดินห้างมากขึ้น!!” ชนวัฒน์ เอื้อวัฒนะสกุล นายกสมาคมศูนย์การค้าไทย (Thai Shopping Center Association: TSCA) กล่าวกับ “ผู้จัดการ 360 องศา” ถึงภาพบรรยากาศสุดเงียบเหงาในศูนย์การค้าและห้างสรรพสินค้าที่ยังเป็นภาพไวรัลส่งต่อกันในสื่อโซเชียล ทั้งเหตุการณ์เก่าและใหม่ แม้ด้านหนึ่งกำลังซื้อของผู้คนยังไม่ฟื้นตัวและรอมาตรการกระตุ้นอย่างเร่งด่วน แต่หากเจาะภาพรวมในกลุ่มธุรกิจศูนย์การค้ามีการขยายตัวต่อเนื่อง ทั้งนี้ ถ้านับเฉพาะสมาชิกสมาคมศูนย์การค้าไทย 12 ราย ได้แก่ เซ็นทรัลพัฒนา เดอะมอลล์ชอปปิ้งคอมเพล็กซ์ สยามพิวรรธน์ ซีคอน ดีเวลลอปเมนท์ รังสิตพลาซ่า แพลทินัมกรุ๊ป เอ็มบีเค สยามฟิวเจอร์ดีเวลอปเมนท์ อัลไลรีท แมนเนจเมนท์ วันแบงค็อก แปซิฟิคพาร์ค ศรีราชา และอินเด็กซ์ ลิฟวิ่งมอลล์

Read More

“เจ้าสัว” ยุคทรานส์ฟอร์มเมอร์ ดันโปรตีนสแน็กชิงตลาดแสนล้าน

หุ้น “เจ้าสัว” หรือ CHAO ได้ฤกษ์ 9 กรกฎาคมที่ผ่านมา ลุยเทรดในตลาดหุ้นไทยวันแรก ถือว่าสอบผ่านฝ่าพิษเศรษฐกิจยุคหนี้ครัวเรือนบานเบอะ แถมมีนักลงทุนระดับ “บิ๊ก” กวาดซื้อหุ้นจนติดโผผู้ถือหุ้นใหญ่ถึง 3 ราย ทั้งสถาพร งามเรืองพงศ์ หรือ “เซียนฮง” กว่า 6 ล้านหุ้น สมพงษ์ ชลคดีดำรงกุล หรือ “เสี่ยปู่” 2.4 ล้านหุ้น และ นเรศ งามอภิชน อีก 2 ล้านหุ้น กลายเป็นหุ้นเด่นในวันนั้น ที่สำคัญ เป็นธุรกิจเก่าแก่กว่า 66 ปี ที่พลิกจากกิจการจำหน่ายของฝากธรรมดา หมูหยอง หมูแผ่น กุนเชียง เมืองโคราช ทรานส์ฟอร์มกลายเป็นธุรกิจผลิตและจำหน่ายขนมขบเคี้ยว โปรตีนสแน็กแนวใหม่ ภายใต้แบรนด์ “เจ้าสัว” และแบรนด์ “โฮลซัม (Wholesome)” แน่นอนว่า

Read More

เปิดความคิดกรุ่นกลิ่นกาแฟ ของ ณัฏฐ์รดา คุณะวิวัฒนานนท์

ในแวดวงอุตสาหกรรมกาแฟไทย คงไม่มีใครไม่รู้จัก นุ่น ณัฏฐ์รดา คุณะวิวัฒนานนท์ นายกสมาคมกาแฟพิเศษไทย จากความสงสัยในรสชาติขมๆ ของกาแฟที่รู้จักตั้งแต่วัยเด็ก สู่ผู้ชำนาญด้านกาแฟในปัจจุบัน จนนิยามความเป็นตัวตนว่า “ชีวิตที่มีกาแฟนำทาง” หากจะนับเวลาตั้งแต่เริ่มทำความรู้จักกาแฟในช่วงวัยเด็กจนถึงปัจจุบัน นุ่น ณัฏฐ์รดา เรียนรู้เกี่ยวกับกาแฟมาตั้งแต่ประถมศึกษาปีที่ 6 จนเข้าสู่วัยทำงาน ณัฏฐ์รดาได้ทำงานในต่างประเทศอย่างที่ตั้งใจ แต่ทุกคนย่อมค้นหาความหมายของชีวิต ความสุข กระทั่งตัดสินใจย้ายสายงานที่เกี่ยวกับชิ้นส่วนเครื่องบินมาสู่โลกของกาแฟที่มีความขมชูใจ กรุ่นกลิ่นกาแฟปลุกให้สมองตื่นตัว ณัฏฐ์รดาฉายภาพมุมมองที่มีต่ออุตสาหกรรมกาแฟในปัจจุบันว่า “ทิศทางการบริโภคกาแฟของไทยมีแนวโน้มที่จะเติบโตขึ้นทุกปี อัตราการเติบโตไม่น้อยกว่า 25% และปัจจัยที่ส่งผลให้เติบโต คือผู้บริโภคที่มีเพิ่มมากขึ้น มีธุรกิจอื่นที่เข้ามาในอุตสาหกรรมกาแฟมากขึ้น เช่น ธุรกิจบิวตี้ รวมถึงอุปกรณ์ เครื่องมือที่ใช้ในการบริโภคกาแฟ” อุตสาหกรรมกาแฟเป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่มีมูลค่ามากกว่า 3 หมื่นล้านบาทในปีที่ผ่านมา และหากจะมองถึงผลผลิตกาแฟที่ประเทศไทยทำได้ คือ 16,575 ตัน แบ่งเป็นพันธุ์อาราบิก้า 48.2% และโรบัสต้า 51.8% แต่นั่นก็ยังไม่เพียงพอต่อการบริโภคกาแฟของคนไทยที่ 300 แก้วต่อคนต่อปี ทำให้ไทยจำเป็นต้องนำเข้ากาแฟจากต่างประเทศ โดยในปี 2566 มีการนำเข้ากาแฟรวมมูลค่าประมาณ 338.42

Read More