Home > 2016 > พฤศจิกายน

จับตา “บ.วัฒนภักดี” การรุกเข้าคลุมสื่อของ “ฐาปน”?

  การประกาศมติที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน) ครั้งที่ 6/2559 เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายนที่ผ่านมา ซึ่งมีเนื้อหาหลักอยู่ที่การอนุมัติให้เพิ่มทุนจดทะเบียนของบริษัทขึ้นอีกจำนวน 200,000,000 บาท เป็นจำนวน 419,999,865 บาท  โดยการเพิ่มทุนครั้งนี้ ดำเนินไปด้วยการออกหุ้นสามัญเพิ่มทุนจำนวน 200,000,000 หุ้นมูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 1 บาท เพื่อจัดสรรและเสนอขายให้แก่ บริษัท วัฒนภักดี จำกัด ที่มี ฐาปน สิริวัฒนภักดี และ ปณต สิริวัฒนภักดี เป็นกรรมการบริษัท ในราคาหุ้นละ 4.25 บาท รวมเป็นมูลค่า 850,000,000 บาท ซึ่งจะทำให้ผู้ซื้อเข้ามาเป็นผู้ถือหุ้น 47.62% ของจำนวนหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัท ข่าวดังกล่าวไม่เพียงแต่จะถือเป็นข่าวใหญ่ที่มีฐานะ big deal ในแวดวงธุรกิจและวงการสื่อในช่วงท้ายปีนี้เท่านั้น หากแต่ในความเป็นจริงยังเป็นภาพสะท้อนการรุกคืบทางธุรกิจของกลุ่มไทยเบฟ และโดยเฉพาะจังหวะก้าวของฐาปน สิริวัฒนภักดี ในฐานะที่เป็นหัวเรือใหญ่ขององค์กรที่กำลังจะก้าวเดินสู่วิสัยทัศน์ 2020

Read More

บทเรียนจากอินเดีย: ยกเลิกธนบัตร เพื่อปราบโกง?

  ภาพแห่งความโกลาหลของประชาชนที่มาเข้าแถวรอแลกธนบัตรมูลค่าใบละ 500 และ 1,000 รูปีที่ถูกประกาศยกเลิกและกำลังจะมีสถานะกลายเป็นเพียงเศษกระดาษไร้ค่าหากไม่นำมาแลกเป็นธนบัตรใหม่ภายในวันที่ 30 ธันวาคม 2559 นอกจากจะดำเนินไปด้วยความตื่นตระหนกอย่างกว้างขวางแล้ว ยังส่งผลกระทบต่อกลไกเศรษฐกิจของอินเดียในห้วงเวลาปัจจุบันอย่างไม่อาจเลี่ยง การประกาศยกเลิกธนบัตรทั้งสองชนิดดังกล่าว ของนเรนทรา โมดี นายกรัฐมนตรีอินเดีย เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน ในด้านหนึ่งดำเนินไปท่ามกลางเหตุผลของความพยายามในการปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชั่นและผู้ถือครองเงินนอกระบบในประเทศ  การขจัดธนบัตรปลอม และการตัดแหล่งเงินสนับสนุนของขบวนการก่อการร้ายเพื่อให้เงินผิดกฎหมายหรือเงินที่ได้มาจากการทุจริตคอร์รัปชั่นถูกขจัดออกจากระบบ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแนวนโยบายที่โมดีได้ใช้หาเสียงในช่วงก่อนที่จะก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเมื่อเดือนพฤษภาคม 2014 แม้ว่าการประกาศยกเลิกธนบัตรดังกล่าวจะได้รับการยอมรับว่าเป็นส่วนหนึ่งของมาตรการที่จำเป็นในการปราบปรามเงินนอกระบบและการคอร์รัปชั่น และจะทำให้ปริมาณเม็ดเงินที่คาดว่าจะมีจำนวนมากกว่าสองแสนล้านเหรียญสหรัฐที่อยู่นอกระบบของอินเดีย หลั่งไหลเข้ามาเติมเต็มสู่ระบบธุรกิจ บัญชีของธนาคาร และที่สำคัญเป็นภาษีและรายได้เข้าสู่รัฐ ก่อนหน้านี้ รัฐบาลภายใต้การนำของนเรนทรา โมดี ได้เสนอแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายภาษีมูลค่าเพิ่ม (GST: Goods and Services Tax Bill) ซึ่งผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภา และจะเริ่มบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2017 โดยกฎหมายฉบับดังกล่าวนี้ได้รับการประเมินว่าเป็นส่วนหนึ่งในการปฏิรูปเศรษฐกิจครั้งสำคัญของอินเดียอีกด้วย แต่ผลของประกาศยกเลิกธนบัตรอย่างฉับพลันครั้งนี้ ในด้านหนึ่งกลายเป็นเหตุให้ประชาชนชาวอินเดียจำนวนไม่น้อยต้องเผชิญกับความยากลำบากในการดำรงชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มประชากรที่ไม่สามารถเข้าถึงเครื่องมือทางการเงินทั้งบัตรเครดิตหรือบัตรเดบิต ซึ่งนำไปสู่ความไม่พึงพอใจและการเข้าแถวแลกธนบัตรใหม่ที่ต้องเผชิญกับข้อเท็จจริงที่ว่ามีปริมาณไม่เพียงพอต่อความต้องการอีกด้วย ขณะเดียวกัน รัฐบาลอินเดียยังได้ลดจำนวนเงินที่อนุญาตให้แลกจาก 4,500 รูปี เหลือ 2,000 รูปี เนื่องจากสงสัยว่าหลายคนรับจ้างกลุ่มขบวนการอาชญากรรมมาฟอกเงินด้วยการแลกหรือฝากธนบัตรเก่าก่อนถึงกำหนดเส้นตาย 30

Read More

เคทีซีจัดกิจกรรม “เคทีซีส่งภาษามือชวนน้องตามรอยพระบิดาแห่งการวิจัยและพัฒนาข้าวไทย”

  เคทีซีจัดกิจกรรม “เคทีซีส่งภาษามือชวนน้องตามรอยพระบิดาแห่งการวิจัยและพัฒนาข้าวไทย” เพื่อน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณอันล้นพ้น “เคทีซี” หรือ บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) โดยนางพจนีย์พร ชำนาญภักดี ผู้อำนวยการ - ทรัพยากรบุคคล  พร้อมด้วยนางสายใจ สังขพันธ์ รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ โรงเรียนเศรษฐเสถียร ในพระราชูปถัมภ์ นำคณะครูและนักเรียนผู้บกพร่องทางการได้ยิน ชั้นประถมศึกษาตอนปลายและมัธยมศึกษา โรงเรียนเศรษฐเสถียร ในพระราชูปถัมภ์ สื่อมวลชน และพนักงานรวมกว่า 80 คน เข้าร่วมกิจกรรม “เคทีซีส่งภาษามือชวนน้องตามรอยพระบิดาแห่งการวิจัยและพัฒนาข้าวไทย” เพื่อน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณอันล้นพ้นของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ที่มีต่อวงการเกษตรไทย  โดยกิจกรรมมุ่งหมายให้น้องๆ ผู้บกพร่องทางการได้ยิน ได้ตระหนักถึงความสำคัญและเรียนรู้การทำเกษตรกรรม โดยเฉพาะกระบวนการปลูกข้าวครบวงจรแบบเกษตรอินทรีย์ ตั้งแต่การเลือกเมล็ดพันธุ์ เตรียมดิน การหว่าน การดูแลรักษาต้นข้าวในนา การเก็บเกี่ยว การนวดข้าว การเก็บรักษา และการบรรจุภัณฑ์ พร้อมร่วมกิจกรรมเวิร์คช้อป “พี่สอนน้องปลูกข้าวในกระถาง” เพื่อให้น้องๆ นำกลับไปปลูกต่อที่โรงเรียนต่อไป เพื่อส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาและเรียนรู้เรื่องการเกษตรด้วยตนเอง โดยมีนายพิภัทร์ ศรีคำ ชาวนาวิถีเกษตรอินทรีย์ เจ้าของนาทองดี เป็นวิทยากร

Read More

ทางแพร่ง พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ จำกัดความคิด ละเมิดสิทธิ ฉุดเศรษฐกิจดิจิทัล?

  เศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy) นับเป็นอีกหนึ่งนโยบายที่สำคัญของไทยที่ถือเป็นฟันเฟืองชิ้นใหม่ ที่รัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ชูเป็นธงนำหน้าการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของไทย  ทั้งนี้การเดินหน้าในเรื่องเศรษฐกิจของรัฐบาลนั้นทำให้ต้องมีการร่างกฎหมายเพื่อรองรับการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลจำนวน 8 ฉบับ ซึ่งเป็นการเสนอแก้ไขกฎหมายเดิม 4 ฉบับ และเสนอกฎหมายใหม่ 4 ฉบับ และหนึ่งในนั้นคือ ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่.. พ.ศ. ..) หากแต่ร่างแก้ไขพระราชบัญญัติความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 (ร่างแก้ไข พ.ร.บ.ฯ) ที่กำลังอยู่ในระหว่างการพิจารณาทบทวนนั้น หลายฝ่ายออกมาแสดงความคิดเห็นห่วงใยต่อร่างแก้ไข พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ดังกล่าวว่า อาจจะส่งผลกระทบในเชิงลบที่อาจรวมไปถึงเสรีภาพการแสดงออกของสื่อ การเจริญเติบโตของเศรษฐกิจยุคดิจิทัลและสถาบันการเงินต่างๆ ในประเทศไทย  อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมาพระราชบัญญัติความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์มักจะถูกพ่วงเข้ามาในการฟ้องร้องจำเลยในความผิดฐานหมิ่นประมาทต่อประชาชน ประเด็นดังกล่าวจึงเป็นเรื่องที่กำลังกังวลในกลุ่มเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิมนุษยชน  ซึ่งเมื่อวันที่ 19 เมษายน 2559 คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติร่างแก้ไข พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ ที่ได้รับเสนอจากกระทรวงเทคโนโลยีและการสื่อสาร ซึ่งร่างแก้ไข พ.ร.บ. ดังกล่าวกำลังอยู่ในวาระการพิจารณาของสภานิติบัญญติแห่งชาติ (สนช.) ต่อมาในวันที่ 5 มิถุนายน 2559 แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลประเทศไทย เครือข่ายพลเมืองเน็ต

Read More

เมก้า ไลฟ์ไซแอ็นซ์ ทุ่ม 605 ล้านบาท บรรลุข้อตกลงเข้าซื้อกิจการไบโอ-ไลฟ์ ในมาเลเซีย

  บริษัท เมก้า ไลฟ์ไซเอ็นซ์ จำกัด (มหาชน) บริษัทผู้ผลิตและจัดจำหน่ายสินค้าเวชภัณฑ์ เภสัชโภชนศาสตร์ และสินค้าที่ใช้อุปโภคบริโภคในชีวิตประจำวัน ระดับนานาชาติ ประกาศเข้าซื้อกิจการบริษัทไบโอ-ไลฟ์ มาร์เก็ตติ้ง จำกัด บริษัทเวชภัณฑ์อาหารเสริมชั้นนำของประเทศมาเลเซีย ด้วยมูลค่าการซื้อขาย 605 ล้านบาท โดยการเข้าซื้อหุ้นดังกล่าวจะทำให้เมก้ากลายเป็นหนึ่งในแบรนด์อาหารเสริมชั้นนำในประเทศมาเลเซีย “การเข้าซื้อกิจการดังกล่าวเป็นบทพิสูจน์ของเมก้า ไลฟ์ไซเอ็นซ์ ในการสร้างพันธกิจเพื่อการเติบโตและการพัฒนาของเมก้าในตลาดมาเลเซีย ร่วมกับบริษัทที่มีค่านิยมและพันธกิจในด้านสุขภาวะเช่นเดียวกับเรา” วิเวก ดาวัน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เมก้า ไลฟ์ไซเอ็นซ์ จำกัด (มหาชน) กล่าว “ทั้งเมก้าและ ไบโอ-ไลฟ์ต่างดำเนินธุรกิจมานานกว่า 25 ปี และการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้จะช่วยขยายสายผลิตภัณฑ์ของทั้ง 2 บริษัท ในประเทศไทยและมาเลเซีย รวมทั้งเป็นการขยายตัวผลิตภัณฑ์ของเมก้าที่มีอยู่แล้วในตลาดประเทศอื่นๆ ด้วย” เมก้า ไลฟ์ไซแอ็นซ์ มีธุรกิจอยู่ใน 32 ประเทศทั่วโลก และการซื้อขายกิจการดังกล่าวมาจากผลการดำเนินงานระยะ 9 เดือน ในปี 2559 ที่เป็นไปได้ดีของเมก้า ไลฟ์ไซแอ็นซ์ ด้วยรายได้

Read More

เจมีส์ อิตาเลี่ยน แนะนำผู้จัดการทั่วไปคนล่าสุดพร้อมเปิดตัวหัวหน้าเชฟประจำสาขาใหม่

  เจมีส์ อิตาเลี่ยน ร้านอาหารอิตาเลียน โดยเซเลบริตี้เชฟ เจมีส์ โอลิเวอร์ เปิดตัวผู้จัดการทั่วไปสำหรับร้านเจมีส์อิตาเลี่ยนสาขาแรกในประเทศไทย ซึ่งกำลังจะเปิดในเร็วๆ นี้ โดยผู้ที่มารับตำแหน่งผู้จัดการทั่วไปร้านเจมีส์ อิตาเลี่ยน สยามดิสคัฟเวอรี่ คือ ซาร่า สมิธ ซึ่งเพิ่งได้รับรางวัลสตาฟดาวรุ่งในระดับนานาประเทศ ของเจมีส์อิตาเลี่ยน ประจำปี 2558/2559 ด้วยประสบการณ์ในธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มกว่า 12 ปี ซาร่า สมิธ เริ่มเป็นหนึ่งในครอบครัวเจมีส์อิตาเลี่ยนตั้งแต่ปี 2552 ในหลากหลายตำแหน่งหน้าที่ ในร้าน ณ สาขาต่างๆ ในอังกฤษ อาทิ คาร์ดิฟ, บาธ, ธรีดนีดเดิล สตรีท, และลอนดอน นอกจากนี้ ยังร่วมในทีมเปิดร้านเจมีส์อิตาเลี่ยนสิงคโปร์ ในปี 2557 และเจมีส์อิตาเลี่ยนคูต้าบีช ณ โรงแรมฮาร์ดร็อค บาหลี ประเทศอินโดนีเซีย ในปี 2558 อีกด้วย ซาร่า สมิธ กล่าวว่า

Read More

เปิดร้านคาเฟ่อเมซอนร้านแรกในประเทศญี่ปุ่น ปักธงแบรนด์กาแฟสดไทยเพิ่มในต่างแดน

  เทวินทร์ วงศ์วานิช ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และ ยะสุโนริ อิวาโมโตะ ประธาน บริษัท โคโดโม เอเนอร์จี จำกัด (ที่ 2จากขวา) ร่วมเป็นประธานในพิธีเปิดร้านคาเฟ่อเมซอนร้านแรกในประเทศญี่ปุ่นอย่างเป็นทางการ ที่หมู่บ้านคาวาอุชิ จังหวัดฟุกุชิม่า โดยมีคณะผู้บริหารและแขกผู้มีเกียรติจากประเทศไทยและประเทศญี่ปุ่นร่วมพิธี โดยร้านคาเฟ่อเมซอนที่ประเทศญี่ปุ่นจะใช้เมล็ดกาแฟจากโครงการหลวงของประเทศไทย และมีเครื่องดื่มเมนูพิเศษที่คิดขึ้นใหม่สำหรับคอกาแฟชาวญี่ปุ่นโดยเฉพาะ นับเป็นอีกความมุ่งมั่นของ ปตท. ในการสร้างความภาคภูมิใจให้กับคนไทย ด้วยการสร้างแบรนด์ของคนไทยให้เป็นที่รู้จักของชาวต่างชาติ

Read More

“พีที” จัดเต็มโค่นแชมป์ ปูพรม “กาแฟพันธุ์ไทย”

  “พีทีจี เอ็นเนอยี” กำลังเร่งรุกตลาดครั้งใหญ่ ทั้งธุรกิจน้ำมันและธุรกิจนอนออยล์ หลังปรับภาพลักษณ์องค์กร เปิดสถานีบริการน้ำมัน “พีที” รูปโฉมใหม่ ยกเครื่องร้านสะดวกซื้อ “แมกซ์มาร์ท” และขยายธุรกิจร้านกาแฟ “พันธุ์ไทย” จนแซงหน้าคู่แข่งขึ้นแท่นเบอร์ 2 และตั้งเป้าหมายใหม่ โค่นแชมป์ค่ายน้ำมันยักษ์ใหญ่อย่าง ปตท. ตามแผนเบื้องต้น นายพิทักษ์ รัชกิจประการ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท พีทีจี เอ็นเนอยี จำกัด (มหาชน) หรือ PTG เปิดเผยว่า ในปี 2560 บริษัทตั้งงบลงทุนรวม 5,000 ล้านบาท  แบ่งเป็นงบลงทุนขยาย-ปรับปรุงสถานีบริการน้ำมัน 3,000 ล้านบาท และกลุ่มธุรกิจนอนออยล์ อีก 2,000 ล้านบาท โดยเร่งขยายสถานีบริการน้ำมันครบ 1,500 แห่งในปี 2559 และขยายเพิ่มอีก 350 สาขา ในปี 2560 เพื่อก้าวสู่การเป็นเบอร์

Read More

ดัน Social Enterprise ปฏิวัติแนวคิดธุรกิจใหม่

   Social Enterprise หรือ “วิสาหกิจเพื่อสังคม” ยังเป็นความพยายามของหลายฝ่าย เพื่อปฏิวัติแนวคิดใหม่ในการประกอบธุรกิจ ไม่ใช่ “ต้นทุน” บวก “กำไร” แต่มีความรับผิดชอบต่อสังคม ทั้งในและนอกกระบวนการดำเนินธุรกิจ หรือ Corporate Social Responsibility–CSR  In and Out Process  ต้องถือว่าปี 2558 ประเทศไทยเกิดแรงกระเพื่อมครั้งใหญ่ เมื่อสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ที่มี เทียนฉาย กีระนันทน์ ประธาน สปช. เป็นประธาน ได้พิจารณารายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง วิสาหกิจเพื่อสังคม (Social Enterprise) และร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคม  เวลานั้น บวรศักดิ์ อุวรรณโณ รองประธาน สปช. คนที่ 1 นำเสนอหลักการและเหตุผลตอนหนึ่งว่า กรอบแนวคิดของวิสาหกิจเพื่อสังคมเป็นหนึ่งในจิ๊กซอว์ที่จะทำให้ชุมชนมีความเข้มแข็ง ซึ่งเป็นแนวทางส่งเสริมการพัฒนาสังคมอย่างยั่งยืนทุกภาคส่วน โดยเฉพาะในภาคเอกชนให้มีส่วนร่วมในการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม อย่างเกื้อกูลกัน ภายใต้รูปแบบองค์กรทางสังคม

Read More

อาลีบาบา กรุ๊ป ทำยอดขาย 1.207 แสนล้านหยวน จากมหกรรมชอปปิ้ง “11.11 โกลบอล ชอปปิ้ง เฟสติวัล” ประจำปี 2559

  อาลีบาบา กรุ๊ป โฮลดิ้ง ลิมิเต็ด (NYSE: BABA) เผยว่าบริษัทสามารถทำยอดซื้อขายสินค้ารวมมูลค่ากว่า 1.207 แสนล้านหยวน (1.78 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ) ผ่านช่องทางค้าปลีกของบริษัทสำหรับลูกค้าในประเทศจีนและทั่วโลก และระบบชำระเงินออนไลน์ อาลีเพย์ ในมหกรรม “11.11 โกลบอล ช้อปปิ้ง เฟสติวัล” เมื่อ11 พฤศจิกายนที่ผ่านมา โดยจากยอดซื้อขายสินค้ารวมทั้งหมดนี้ มียอดซื้อขายผ่านอาลีเพย์บนอุปกรณ์พกพาคิดเป็นอัตราส่วนถึงร้อยละ 82 “มหกรรมช้อปปิ้ง 11.11 ในปีนี้ ถือเป็นการเผยโฉมอนาคตของวงการค้าปลีกในยุคหน้า ที่จะผสมผสานทั้งความบันเทิง การค้าขาย และการโต้ตอบกับผู้บริโภคในรูปแบบใหม่ๆ ให้เกิดเป็นประสบการณ์ที่หลากหลายอย่างลงตัว” นายแดเนียล จาง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของอาลีบาบา กรุ๊ป กล่าว “ตลอดในทุกช่วงของการจัดงาน ไม่ว่าจะเป็นการจัดกิจกรรมช่วงก่อนเริ่มงาน งานกาลานับถอยหลัง หรืองานมหกรรมชอปปิ้งระดับโลก 24 ชั่วโมงนี้ เราพบว่ามีการติดต่อสื่อสารและโต้ตอบกันระหว่างผู้บริโภคและผู้ขายสินค้าอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน มหกรรม 11.11 เป็นเครื่องสะท้อนให้เห็นอนาคตในยุคที่ธุรกิจค้าปลีกในโลกออนไลน์และออฟไลน์จะพลิกโฉมจนเกิดเป็นประสบการณ์ชอปปิ้งรูปแบบใหม่ สำหรับลูกค้าหลายร้อยล้านคนที่คุ้นเคยและสนใจในเทคโนโลยีโมบายและดิจิทัล” ในช่วงเวลาไม่กี่ชั่วโมงก่อนการเปิดฉากมหกรรมชอปปิ้ง 11.11 อย่างเป็นทางการ ณ เวลาเที่ยงคืน

Read More