Home > ส่งออก

ปัจจัยเสี่ยงใหม่ ทำส่งออกไทย 2565 สะดุด?

ยังคงรักษามาตรฐานการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง สำหรับอุตสาหกรรมการส่งออกของไทยที่เติบโตติดต่อกันเป็นเดือนที่ 11 แม้ว่าจะมีอุปสรรคในช่วงแรกของการระบาดของไวรัสโควิด-19 อยู่บ้าง ทว่า ตัวเลขการขยายตัวสามารถการันตีได้ว่า กิจกรรมทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นทั่วทั้งโลกส่งผลดีต่อภาคการส่งออกไทย แน่นอนว่า การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกจะเป็นปัจจัยสำคัญของการเติบโต ทว่า อีกเหตุผลสำคัญน่าจะมาจากการใช้สิทธิประโยชน์ภายใต้ความตกลงทางการค้าเสรี (FTA) และภายใต้ระบบสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรเป็นการทั่วไป (GSP) นับตั้งแต่ปี 2564 โดยตัวเลขการส่งออกของไทยในเดือนมกราคม 2565 มีการขยายตัว 8% มูลค่า 21,258.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็น 708,312 ล้านบาท แม้ว่าจะยังมีการระบาดของไวรัสโควิด-19 และในเดือนกุมภาพันธ์ 2565 การส่งออกยังขยายตัวต่อเนื่องและสูงถึง 16.2% ซึ่งกระทรวงพาณิชย์รายงานว่า ตลาดส่งออกที่มีการขยายตัวมากที่สุด 5 ลำดับแรก ได้แก่ รัสเซีย 33.4% อาเซียน5 31.5% ฮ่องกง 29.8% เกาหลีใต้ 28.9% และสหรัฐอเมริกา 27.2% นั่นทำให้เห็นว่า สงครามระหว่างรัสเซียและยูเครนยังไม่สร้างผลกระทบมากนัก อาจเป็นเพราะว่าสงครามเกิดขึ้นในช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์ การขยายตัวอย่างต่อเนื่องตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏ ทำให้ศูนย์วิจัยและวิเคราะห์เศรษฐกิจมองและประเมินทิศทางการค้าระหว่างประเทศของไทยไปในทิศทางเดียวกันว่า ปี 2565

Read More

เศรษฐกิจโลกฟื้นตัว หนุนส่งออกไทยโตเป็นประวัติการณ์

ไทยกำลังเผชิญกับปัญหาเศรษฐกิจในประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาปากท้องประชาชน อันเนื่องมาจากสินค้าอุปโภคบริโภคมีราคาแพงขึ้น ขณะที่อัตราค่าแรงยังคงอยู่ในระดับเดิม หากจะกล่าวว่าไทยกำลังเข้าสู่ภาวะเงินเฟ้อก็คงไม่ผิดนัก แต่นั่นยังคงอยู่ในการคาดการณ์ของธนาคารแห่งประเทศไทย และภาวะเงินเฟ้อในปัจจุบันยังไม่รุนแรงมากนัก ปัจจุบันสินค้าบางรายการเริ่มส่งสัญญาณการปรับราคาลดลง โดยเฉพาะเนื้อหมูที่ประสบปัญหาอย่างหนักก่อนหน้า ขณะที่ข้อมูลล่าสุดพบว่าราคาหมูสดหน้าฟาร์มเริ่มปรับราคาลง ซึ่งน่าจะส่งผลดีต่อตลาดโดยรวม แม้ว่าเศรษฐกิจในประเทศกำลังอยู่ในภาวะที่ประชาชนต้องระวังในการจับจ่าย ทว่า เศรษฐกิจการค้าระหว่างประเทศกลับเติบโตสวนทางอย่างเห็นได้ชัด การส่งออกในเดือนธันวาคมยังขยายตัวสูงต่อเนื่องที่ 24.7% และเร่งตัวขึ้นจากเดือนก่อนหน้า โดยการส่งออกหักทองคำและปรับฤดูกาลขยายตัว 4.2% จากเดือนพฤศจิกายน โดยมีมูลค่าส่งออกสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ขยายตัวในทุกหมวดสินค้าสำคัญและในทุกตลาดสำคัญจากการเร่งนำเข้าสินค้าในช่วงท้ายปีจากหลายประเทศ โดยเฉพาะส่งออกไปยังตลาดสหรัฐอเมริกาที่ขยายตัวถึง 36.5% และออสเตรเลียที่ 54.9% ที่มีการฟื้นตัวของเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง ในส่วนของการส่งออกรายสินค้า รถยนต์และส่วนประกอบ และสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน เช่น น้ำมันสำเร็จรูป เคมีภัณฑ์ เม็ดพลาสติก ยังขยายตัวได้อย่างต่อเนื่องจากปัจจัยสนับสนุนของราคาน้ำมันที่ยังอยู่ในระดับสูง ขณะที่ภาพรวมของปี 2021 การส่งออกของไทยเติบโตได้ถึง 17.1% ซึ่งเป็นอัตราการเติบโตที่สูงที่สุดในรอบ 11 ปี (ตัวเลขในระบบศุลกากร) โดยแม้ว่าในบางช่วงจะได้รับผลกระทบจากการปิดโรงงานเพื่อควบคุมการระบาดทั้งในประเทศไทยเองและประเทศที่อยู่ในห่วงโซ่การผลิตเดียวกัน รวมถึงปัญหาคอขวดอุปทานที่เกิดขึ้นทั่วโลก แต่ยังเติบโตได้อย่างแข็งแกร่งทั้งจากอานิสงส์ของปัจจัยฐานต่ำในปีก่อนหน้า ที่ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากการระบาดของ Covid-19 และการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและการค้าโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว ทั้งนี้หากเปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคจะพบว่า การส่งออกของไทยฟื้นตัวได้ในอัตราที่ต่ำกว่าในช่วงครึ่งแรกของปี แต่เร่งตัวขึ้นมาเกาะกลุ่มได้ในช่วงครึ่งหลังของปี อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาการขยายตัวของการส่งออกของไทยในช่วงท้ายปี

Read More

การส่งออกไทยกระเตื้อง สัญญาณดีหรือภาพลวงตา

สัญญาณว่าด้วยการส่งออกของไทยที่มีแนวโน้มจะกระเตื้องขึ้น หลังจากที่ตัวเลขการส่งออกของไทยในเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมาเติบโตเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 41.59 ซึ่งนับเป็นการขยายตัวมากที่สุดในรอบ 11 ปี โดยมีมูลค่ารวม 23,057 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่ภาพรวมการส่งออกไทย 5 เดือนระหว่างมกราคมถึงพฤษภาคม 2564 การส่งออกมีมูลค่า 108,635 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 10.78 ซึ่งกลไกรัฐพยายามระบุว่าเป็นผลจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าสำคัญที่เริ่มกระเตื้องขึ้น และทำให้การคาดการณ์การขยายตัวด้านการส่งออกทั้งปีถูกขยับตั้งเป้าไว้ที่ร้อยละ 4 ข้อมูลที่น่าสนใจจากการขยายตัวเป็นประวัติการณ์ดังกล่าวในอีกด้านหนึ่ง พบว่าการนำเข้าของไทย มีมูลค่ารวม 107,141 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 21.52 ซึ่งทำให้ดุลการค้า 5 เดือนแรกของไทย เกินดุล 1,494 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งการส่งออกไทยที่ขยายตัวดังกล่าวนี้ได้รับการตอกย้ำว่าเป็นไปตามแผนการส่งเสริมการส่งออกของกระทรวงพาณิชย์ที่เป็นไปอย่างต่อเนื่อง บวกกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก โดยธนาคารโลกมองว่าเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าสำคัญมีแนวโน้มฟื้นตัวเร็วกว่าที่คาดการณ์ จากการดำเนินมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจขนาดใหญ่ และความคืบหน้าในการฉีดวัคซีน ประเด็นที่น่าสนใจประการหนึ่งอยู่ที่สินค้าที่มีการขยายตัวดี เป็นสินค้าในกลุ่มเกษตรและอาหาร สินค้าที่เกี่ยวข้องกับการ Work from Home และเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน ซึ่งขยายตัวเกือบทุกหมวดสินค้า สินค้าเกี่ยวกับการป้องกันการติดเชื้อและลดการแพร่ระบาด โดยเฉพาะเครื่องมือแพทย์และอุปกรณ์ รวมถึงถุงมือยาง สินค้าที่เกี่ยวข้องกับการฟื้นตัวของภาคการผลิต และสินค้าคงทนหรือสินค้าฟุ่มเฟือยที่มีราคาสูง

Read More

ส่งออกไทยปี 64 สดใส? จับตาตลาดโลกฟื้นตัว

ข่าวเรือขนส่งสินค้า Ever Given ที่ติดอยู่ในคลองสุเอซ และส่งผลกระทบต่อการเดินเรือจำนวนมาก สถานการณ์ดังกล่าวสร้างความวิตกกังวลให้ผู้ประกอบการที่ทำธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ ว่าเหตุการณ์ครั้งนี้จะใช้เวลาในการคลี่คลายนานเท่าไร และสร้างความเสียหายแก่ธุรกิจมากน้อยเพียงใด ทว่า ในที่สุดเรือ Ever Given ก็สามารถกลับมาเดินเรือได้เป็นปกติ และตอนนี้อยู่ระหว่างหาสาเหตุที่ทำให้เรือติดริมตลิ่ง การที่เรือ Ever Given ขวางคลองสุเอซอยู่นั้นส่งผลต่อการค้าโลก และแน่นอนว่าภาคการส่งออกไทยได้รับผลกระทบเช่นเดียวกัน โดยตลาดยุโรปเป็นตลาดส่งออกหลักของไทยที่ใช้เส้นทางผ่านคลองสุเอซ ซึ่งไทยส่งสินค้าไปยุโรปปีละไม่น้อยกว่า 2 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ สัดส่วนประมาณ 9% ของการส่งออกทั้งหมดของไทย และเป็นตลาดส่งออกหลักอันดับ 4 ของไทย รองจากสหรัฐฯ จีน และญี่ปุ่น โดยในแต่ละเดือนสินค้าไทยส่งออกไปยังตลาดยุโรปมีมูลค่าประมาณ 1,500-2,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งสินค้าส่งออกที่ผ่านเส้นทางนี้ได้แก่ อาหารสด เช่น ไก่แปรรูป โดยไทยส่งออกในรูปแช่เย็นแช่แข็ง และพึ่งพาตลาดยุโรปอย่างมากถึง 30% ของการส่งออกไก่แปรรูปทั้งหมดของไทย นอกจากนี้ ยังมีสินค้าฟุ่มเฟือยไม่ต่ำกว่า 40% อาจกล่าวได้ว่ายุโรปเป็นตลาดที่มีกำลังซื้อที่แข็งแกร่งอย่างมาก โดยสินค้าไทยแต่ละรายการพึ่งพาตลาดยุโรปพอสมควร โดยเฉพาะเครื่องปรับอากาศพึ่งพาตลาดยุโรป 20% รถยนต์และส่วนประกอบ 5.2% รถจักรยานยนต์

Read More

ลุ้นส่งออกอาหารปี’64 ขยายตัวดี เพิ่มแรงบวกเศรษฐกิจไทย

การระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ระลอกใหม่ในไทย สร้างความหวั่นวิตกให้แก่คนไทยไม่น้อย แม้ภาระหนักในการพยายามควบคุมการแพร่ระบาดในประเทศคือ เจ้าหน้าที่การแพทย์ เจ้าหน้าที่รัฐที่เกี่ยวข้อง และตัวประชาชนเองที่ยังต้องยกการ์ดสูง ขณะความหวังที่เปรียบเสมือนแสงสว่างปลายอุโมงค์คือ วัคซีน ที่ขณะนี้หลายประเทศเริ่มฉีดให้ประชาชนที่เป็นด่านหน้าในประเทศของตัวเองแล้ว แน่นอนว่าทั้งปริมาณที่สามารถผลิตออกมาบริการประชาชนได้นั้นจะยังไม่เพียงพอต่อความต้องการ อีกทั้งวัคซีนจากบางบริษัทยังประสบปัญหาด้านความพร้อมของประสิทธิภาพด้านการรักษา และยังมีผลข้างเคียงตามมาในบางรายที่ได้รับวัคซีนไปแล้ว การต่อสู้ป้องกันตัวเองของผู้คนต่อโรคร้ายยังคงดำเนินไป ทว่า กิจกรรมทางเศรษฐกิจเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่ทุกประเทศพยายามที่จะขับเคลื่อนด้วยกำลังจากเครื่องจักรที่ยังพอจะทำงานได้ เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า ไทยพึ่งพาเม็ดเงินจากต่างชาติเป็นส่วนใหญ่ ทั้งจากอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวที่สร้างรายได้ให้ไทยในแต่ละปีไม่ต่ำกว่า “ล้านล้านบาท” การลงทุนของภาคเอกชน แม้ปีที่ผ่านมาจะยังมีการลงทุนเพิ่ม ทว่าเป็นไปในลักษณะการปรับปรุง ซ่อมแซม ตามแผนประจำปี การส่งออก เป็นอีกหนึ่งเครื่องจักรสำคัญในการสร้างรายได้ให้กับประเทศ แม้ว่าปี 2562 การส่งออกจะติดลบเป็นครั้งแรกในรอบ 4 ปี แต่นั่นเป็นเพราะปัจจัยแวดล้อมสำคัญอย่างสงครามการค้า และภาวะการหดตัวของเศรษฐกิจโลก ที่ส่งผลโดยตรง ภาวะโรคระบาดที่ยังคงอยู่ ทำให้ไทยไม่สามารถเปิดประเทศต้อนรับนักท่องเที่ยวต่างชาติได้ และการท่องเที่ยวในประเทศของคนไทยเองในห้วงยามนี้ยังอยู่ในระดับต่ำ นั่นเพราะสถานการณ์เศรษฐกิจภายในประเทศที่ส่งผลให้กำลังในการจับจ่ายของประชาชนลดลง แม้ว่าภาครัฐจะออกมาตรการสนับสนุนด้วยโครงการ “เราเที่ยวด้วยกัน” แล้วก็ตาม ด้านการลงทุน ดูเหมือนว่าหลายประเทศจะประสบกับปัญหานี้ไม่ต่างกัน นอกจากเหตุผลด้านโรคระบาดแล้ว ยังมีปัจจัยความขัดแย้งทางการเมือง การชุมนุมทางการเมือง ที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุน ที่อาจทำให้เกิดชะลอการลงทุนออกไปก่อน ท้ายที่สุดเราจำเป็นต้องพึ่งพาการส่งออก ที่ดูจากสภาวการณ์ปัจจุบันแล้วมีภาษีดีที่สุดที่พอจะมีแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจได้ไม่มากก็น้อย ไทยเป็นประเทศที่ส่งออกอาหารแปรรูปเป็นอันดับต้นๆ ของโลก โดยตัวเลขการส่งออกอาหารของไทยในปี 2562 อยู่ที่ 1,016,932

Read More

ส่งออกติดลบฟื้นยาก สินค้าเกษตร-อาหาร ความต้องการพุ่ง

ส่งออกของไทยไม่อาจฟื้นตัวได้ไว แม้สถานการณ์ผู้ติดเชื้อในประเทศจะอยู่ในเกณฑ์ดี ที่แสดงให้เห็นถึงการควบคุมการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ให้อยู่ในวงจำกัดได้ เมื่ออีกหลายประเทศยังมีจำนวนผู้ติดเชื้ออยู่ในระดับสูง และยังมีมาตรการคุมเข้มกึ่งล็อกดาวน์ ซึ่งป็นอุปสรรคต่อเศรษฐกิจ โดยเฉพาะด้านการส่งออก เศรษฐกิจในประเทศต่างๆ อยู่ในภาวะชะลอตัว เมื่อกำลังซื้อของประชากรโลกยังจับกลุ่มอยู่ในหมวดสินค้าที่จำเป็นต่อการดำรงชีพเท่านั้น ซึ่งสอดคล้องกับสถานการณ์การส่งออกของไทยที่หดตัวลงในกลุ่มสินค้าส่งออกที่มีศักยภาพ โดยเฉพาะตัวเลขมูลค่าการส่งออกสินค้าไทยที่ พิมพ์ชนก วอนขอพร ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) เปิดเผยว่า การส่งออกของไทยในเดือนมิถุนายน 2563 มีมูลค่า 16,444.29 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลง 23.17% เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ขณะที่การนำเข้ามีมูลค่า 14,833.89 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลง 18.05% การค้าเกินดุล 1,610.40 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่งผลให้ภาพรวมครึ่งแรกของปี 2563 การส่งออกมีมูลค่า 114,342.97 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลง 7.09% ขณะที่การนำเข้ามีมูลค่า 103,642.02 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลง 12.62% และการค้าเกินดุล 10,700.95 ล้านดอลลาร์สหรัฐ การหดตัวของการส่งออกไทยเป็นผลมาจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่ยังมีความรุนแรงและการบังคับใช้มาตรการปิดเมืองในหลายระดับในต่างประเทศ ส่งผลให้อุปสงค์โลกอ่อนกำลังลงและสายโซ่อุปทานบางส่วนในต่างประเทศชะงักงัน รวมถึงการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศใช้ระยะเวลายาวนานมากขึ้น สินค้าส่งออกศักยภาพของไทยที่หดตัวสูงในเดือนมิถุนายน

Read More

ปลดล็อกเฟสห้า หวังค้าชายแดน-ส่งออกฟื้น

การเรียกร้องให้ ศบค. หรือศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ประกาศมาตรการผ่อนปรนเฟส 5 เพื่อให้กิจการและกิจกรรมในหลายๆ ส่วนสามารถเปิดดำเนินการได้ หลังจากสถานการณ์ผู้ติดเชื้อรายวันลดลง โดยผู้ติดเชื้อในประเทศเป็นศูนย์ติดต่อกันเกิน 30 วัน ด้วยความคาดหวังว่า คำสั่งดังกล่าวจะเป็นเสมือนน้ำมันหล่อลื่นเครื่องจักรทางเศรษฐกิจไทย ให้สามารถขับเคลื่อนไปข้างหน้าได้ หลังจากหยุดชะงักมานานหลายเดือน คำสั่งปลดล็อกเฟสก่อนหน้า แม้ว่าจะช่วยให้เศรษฐกิจภายในประเทศสามารถขับเคลื่อนไปได้ ทว่า นั่นไม่ใช่ทั้งหมดของโครงสร้างเครื่องจักรของเศรษฐกิจไทย ฟันเฟืองแต่ละตัวในระบบเศรษฐกิจไทยมีบริบทแตกต่างกันไป และสำหรับการค้าชายแดน และการส่งออก เป็นเสมือนกุญแจดอกสำคัญที่ช่วยผลักดันให้เส้นกราฟของอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจพุ่งสูงขึ้น คำสั่งประกาศปิดด่านชายแดนทั้งของไทยและประเทศเพื่อนบ้าน หรือประเทศคู่ค้า ส่งผลกระทบในด้านลบต่อผู้ประกอบการส่งออกและนำเข้า ทั้งรายเล็ก รายใหญ่ นั่นเพราะไทยยังต้องพึ่งพาตลาดต่างชาติเสียเป็นส่วนใหญ่ แม้ว่าเศรษฐกิจโลกและไทยจะอยู่ในจุดที่เรียกได้ว่าอ่อนแรง และตัวเลขการส่งออกในระยะไม่กี่ปีให้หลัง จะไม่สวยหรูนัก แต่ก็ยังไม่เข้าขั้นติดลบ อีกทั้งการที่เศรษฐกิจไทยและอีกหลายประเทศไม่มีภูมิคุ้มกันเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว เมื่อเจอกับเชื้อโควิดที่มีพิษแทรกซึมที่สามารถทำลายล้างไปทั่วโลก ส่งผลให้หลายตลาด หลายอุตสาหกรรมต้องเผชิญกับสถานการณ์ที่ยากลำบาก และในบางอุตสาหกรรมต้องเจอกับความถดถอย ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ (EIC) ประเมินมูลค่าการส่งออกในเดือนพฤษภาคมว่ามีอัตราการหดตัวอยู่ในระดับสูงถึง -22.5% หากหักทองคำ การส่งออกจะหดตัวเพิ่มเติมเป็น -27.8% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า นับเป็นอัตราการหดตัวมากสุดในรอบเกือบ 11 ปี ตั้งแต่เดือนกรกฎาคมปี 2009 เป็นต้นมา ทั้งนี้

Read More

ส่งออกไทยติดลบหนัก ผลจากทั่วโลก Lockdown หนีโควิด-19

นอกเหนือไปจากอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไทยที่เป็นเครื่องจักรสำคัญในการสร้างรายได้เข้าประเทศแล้ว ภาคการส่งออกก็เป็นอีกฟันเฟืองสำคัญที่ไทยหวังพึ่งพิงตลอดมา การมาถึงของเชื้อไวรัสโคโรนาหรือ โควิด-19 เป็นเสมือนการดับฝันที่เป็นความหวังของเศรษฐกิจไทยในห้วงยามนี้ จากสถานการณ์การส่งออกของไทยในปีที่ผ่านมา กระทรวงพาณิชย์เปิดเผยตัวเลขที่เป็นการติดลบในรอบ 4 ปี และปัจจัยที่ส่งผลลบโดยตรงคือภาวะการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก สงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับจีน อัตราแลกเปลี่ยนค่าเงิน ราคาน้ำมัน รวมไปถึงการแข่งขันกันเองของผู้ประกอบการส่งออก หลายฝ่ายวิเคราะห์ว่า สถานการณ์การส่งออกของไทยในปี 2563 อาจจะมีแนวโน้มที่ดีขึ้นบ้าง เมื่อตลาดส่งออกสินค้าไทยน่าจะผ่านพ้นจุดตกต่ำไปแล้ว โดยในช่วง 11 เดือนแรกของปี 2562 สินค้าส่งออกของไทยลดลงในทุกตลาด ตั้งแต่ตลาดญี่ปุ่นติดลบ 1.3 เปอร์เซ็นต์ ยุโรปลดลง 7 เปอร์เซ็นต์ จีนลดลง 4.7 เปอร์เซ็นต์ เอเชียใต้ลดลง 7.7 เปอร์เซ็นต์ ฮ่องกงลดลง 6.8 เปอร์เซ็นต์ เกาหลีใต้ลดลง 5.4 เปอร์เซ็นต์ ตะวันออกกลางลดลง 2.9 เปอร์เซ็นต์ แอฟริกาลดลง 10.9 เปอร์เซ็นต์ ทว่า โรคอุบัติใหม่กลายเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญที่ทำให้ตัวเลขการส่งออกในเดือนเมษายน 2563 ติดลบอย่างหนัก แม้ว่าภาพรวมมูลค่าการส่งออกรวมในเดือนเมษายนจะมีการขยายตัวที่

Read More

ท่องเที่ยวทรุดส่งออกฟุบ ฉุดเศรษฐกิจไทย ดึง GDP ติดลบ

สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ หรือ COVID-19 ที่ทวีความรุนแรงมากขึ้นทั่วโลก และส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจในวงกว้างทำให้หลายฝ่ายคาดว่า เศรษฐกิจโลกปี 2563 อาจเข้าสู่ภาวะถดถอย (Recession) อีกครั้งในรอบกว่า 10 ปี นับตั้งแต่วิกฤต Hamburger ซึ่งเศรษฐกิจไทยก็จะได้รับผลกระทบจาก COVID-19 ทั้งทางตรงและทางอ้อมในหลายมิติ ไม่ว่าจะเป็นการท่องเที่ยว การบริโภคและการลงทุน รวมถึง “การส่งออก” ซึ่งเป็นเครื่องยนต์ใหญ่ที่สุดในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย ข้อมูลล่าสุดจากกระทรวงพาณิชย์เมื่อช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ระบุว่าตัวเลขการส่งออกเดือนกุมภาพันธ์ 2563 หดตัวที่ร้อยละ 4.5 ซึ่งจัดว่าอยู่ในเกณฑ์ที่ “ดีกว่า” การคาดการณ์ที่หลายฝ่ายประเมินไว้ก่อนหน้านี้ โดยในด้านหนึ่งเป็นผลจากการได้อานิสงส์จากการส่งออกทองคำที่ขยายตัวถึงร้อยละ 180 แล้ว ขณะที่ตลาดส่งออกสำคัญของไทยที่มีจำนวนผู้ติดเชื้อและผู้เสียชีวิตจาก COVID-19 ในสัดส่วนสูงทั้งจีน EU สหรัฐฯ ตะวันออกกลาง เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น ซึ่งมีสัดส่วนรวมกันคิดเป็นเกือบร้อยละ 50 ของมูลค่าส่งออกรวมของไทย หดตัว “น้อยกว่าที่คาด” แม้ว่าการส่งออกของไทยโดยรวมในช่วง 2 เดือนแรกปี 2563 จะหดตัวเพียงร้อยละ 0.8

Read More

เศรษฐกิจไทยอ่วม ส่งออกติดลบ อสังหาฯ ชะลอตัว

แม้ว่าการเลือกตั้งทั่วไปของไทยจะจบและสิ้นสุดไปราวเดือนเศษ ทว่าความชัดเจนที่หลายฝ่ายตั้งตารอคอย ว่าใครจะได้เป็นผู้จัดตั้งรัฐบาล ดูเหมือนคำตอบยังถูกหมอกควันปกคลุม และยังเป็นปริศนาอยู่ในขณะนี้ คำถามที่ยังไม่มีคำตอบมีผลต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติอยู่พอสมควร เพราะนักลงทุนส่วนใหญ่ต้องการให้เกิดความต่อเนื่อง และแนวนโยบายของภาครัฐที่มีต่อเศรษฐกิจ การลงทุน แม้ว่าสถานการณ์เศรษฐกิจไทยที่มีแนวโน้มชะลอตัวลง ส่วนหนึ่งจะมีปัจจัยมาจากการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยภายนอกประเทศที่มีผลโดยตรงต่อความเป็นไปทางเศรษฐกิจไทยด้วยเช่นกัน นั่นคือ สถานการณ์เศรษฐกิจโลก เมื่อไทยยังต้องพึ่งพิงทิศทางของเศรษฐกิจโลก ที่มีจีนและสหรัฐฯ ที่เป็นเสมือนผู้กำหนดทิศทางกระแสลมทางเศรษฐกิจ ทั้งจากมาตรการทางภาษีการค้าที่ทั้งสองประเทศยังหาข้อสรุปไม่ได้ แม้ว่าจะมีการผ่อนปรนมาตรการภาษีในบางช่วงหลังจากมีการประชุมเจรจาข้อตกลงกัน ทว่า การค้าโลกก็ดำเนินไปในทิศทางที่ชะลอตัวลง ซึ่งส่งผลให้ตัวเลขการส่งออกของประเทศคู่ค้าลดลงและถึงขั้นติดลบ โดยตัวเลขการส่งออกของไทยในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา มีมูลค่าอยู่ที่ 21,440.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงร้อยละ 4.9 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันกับปีที่ผ่านมา ทำให้ตัวเลขการส่งออกสินค้าไทยในไตรมาสแรกของปี 2562 ลดลงร้อยละ 1.6 ทั้งนี้ ก็เป็นไปตามการคาดการณ์ของศูนย์วิจัยกสิกรไทย ที่ได้คาดไว้ว่า ปัจจัยหลักที่ทำให้การส่งออกของไทยลดลง มาจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก เมื่อตลาดคู่ค้าสำคัญของไทยอย่างสหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป (28 ประเทศ) และจีน ล้วนหดตัว ยกเว้นการส่งออกไปยังตลาดญี่ปุ่นที่ยังมีการขยายตัวได้ดีร้อยละ 7.4 ในเดือนมีนาคม 2562 จากการส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าและไก่แปรรูปเป็นสำคัญ นอกจากนี้ ยอดขายคอมพิวเตอร์โลกที่ปรับตัวลดลงในช่วงไตรมาส 1/2562 มีส่วนสำคัญที่ทำให้การส่งออกเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบของไทยในเดือนมีนาคม 2562 ติดลบมากถึงร้อยละ

Read More