Home > 2015 > มกราคม

สงคราม “นอนออยล์” ปตท. รุกตลาดฮุบเรียบ

 สถานการณ์ราคาน้ำมันในตลาดโลกที่อ่อนวูบต่อเนื่องชนิดร่วงต่ำสุดในรอบหลายปี รวมถึงส่วนต่างกำไรที่น้อยมากส่งผลให้ค่ายน้ำมันเร่งปรับกลยุทธ์ขยายธุรกิจกลุ่มที่ไม่ใช่น้ำมัน หรือ Non-oil  โดยเฉพาะ ปตท. วางยุทธศาสตร์บุกอย่างจริงจัง แตกไลน์ธุรกิจอย่างกว้างขวาง และล่าสุดประกาศโรดแมประยะ 5 ปี ตั้งเป้าหมายรุกธุรกิจนอนออยล์ ไม่ใช่แค่ทุกโอกาส แต่ทำแบบเบ็ดเสร็จครบวงจร ต้นน้ำยันปลายน้ำ ระยะเวลากว่า 8 ปี หลังบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ซื้อกิจการสถานีบริการน้ำมัน “เจ็ท” และร้านค้าสะดวกซื้อ “จิฟฟี่” จากบริษัท ConocoPhillips สหรัฐอเมริกา โดยจัดตั้งบริษัท ปตท. บริหารธุรกิจค้าปลีก จำกัด หรือ PTTRM เป็นผู้บริหารแยกออกจากปั๊ม ปตท. ของบริษัทแม่ รวมถึงบุกขยายธุรกิจกลุ่มนอนออยล์ต่อยอดจากแบรนด์ “จิฟฟี่”  ปัจจุบัน PTTRM บริหารธุรกิจสถานีบริการน้ำมันภายใต้แบรนด์ “ปตท. Jiffy” 150 แห่ง และธุรกิจนอนออยล์อีก  4 กลุ่มหลัก แยกเป็นกลุ่มแรก “ธุรกิจค้าปลีก”

Read More

“เมดอินไทยแลนด์อินโฟกัส”

ผู้ซื้อจากทั่วโลก ตบเท้าเข้าร่วม “เมดอินไทยแลนด์อินโฟกัส” ร่วมผลักดันสินค้าไทยให้เป็นที่นิยม เสริมความแข็งแกร่งตลาดเสรีอาเซียน พาณิชย์ปลื้ม “เมดอินไทยแลนด์อินโฟกัส” ดึงผู้ซื้อจากทั่วทุกภูมิภาคของโลก เข้าร่วมเจรจาธุรกิจ ผลักดันผู้ประกอบการไทย ปั้นสินค้าไทยให้เป็นที่นิยมในต่างแดนเพื่อเสริมศักยภาพความแข็งแกร่งตลาดอาเซียนหลังเปิดเออีซี กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ เผยความสําเร็จในการจัดงานเมดอินไทยแลนด์อินโฟกัส (Made in Thailand in Focus) ที่กําลังจะเกิดขึ้นระหว่างวันที่ 28 มกราคม - 1 กุมภาพันธ์ 2558 (รวมวันเจรจาธุรกิจและวันจําหน่ายปลีก ทั้งสิ้น 5 วัน) ณ

Read More

กลุ่มเซ็นทรัล จับมือ “เหงียน คิม” ยักษ์ใหญ่ค้าปลีกเวียดนาม

กลุ่มเซ็นทรัล จํากัด เดินหน้าขยายตลาด ทั้งในภูมิภาคอาเซียนและยุโรป ล่าสุดเข้าร่วมลงทุนในบริษัทค้าปลีกรายใหญ่ของเวียดนาม เหงียน คิม เทรดดิ้ง จอยท์ สต็อค คอมพานี ( Nguyen Kim Trading Joint Stock Company) ในนาม บริษัท เพาเวอร์ บาย (Power Buy) เมื่อต้นเดือนมกราคมที่ผ่านมา โดยมี สัดส่วน ถือหุ้นสามัญทั้งหมดร้อยละ 49

Read More

PIM ร่วมกับ พลัส พร็อพเพอร์ตี้ ผลักดันนักจัดการอาคารมืออาชีพสู่ภาคธุรกิจ

อ.พรวิทย์ พัชริทร์ตนะกุล รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ (ที่ 6 จากซ้าย) และ คุณภูมิภักดิ์ จุลมณีโชติ กรรมการผู้จัดการ บริษัทพลัส พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด (ที่ 5 จากซ้าย) เป็นประธานในพิธี การลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการเพื่อพัฒนาศักยภาพของบุคลากรทางการศึกษา ด้านการจัดการอาคารและอสังหาริมทรัพย์ ระหว่างสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ กับบริษัทพลัส พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด ในวันที่ 19 มกราคม 2558 ณ ห้องประชุม 4-1602 อาคาร CP All Academy สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ ถ.แจ้งวัฒนะ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อ : สำนักสื่อสารองค์กร สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์

Read More

ชื่อนั้นสำคัญไฉน?

 จุดเริ่มต้นการค้นหาคุณค่าความหมายของนักเดินทางท่องเที่ยว เพื่อฝ่าผจญไปในโลกกว้างส่วนใหญ่ มักมีที่มาจากความสงสัยในชื่อบ้านนามเมือง เพราะสิ่งเหล่านี้คงสะท้อนความเป็นมาและเป็นไป อีกทั้งยังแฝงเคลือบด้วยเสน่ห์มายาแห่งทัศนคติที่อยู่รายล้อมให้ได้พินิจพิจารณากันอย่างไม่รู้จบและรู้เหนื่อยกันเลย กรณีดังกล่าวนี้ ดูจะสอดรับได้ดีกับวิถีความเป็นมาและเป็นไปของศรีลังกา ซึ่งสามารถสืบย้อนเรื่องราวไปได้ไกลถึงยุคก่อนประวัติศาสตร์นานกว่า 5 แสนปี หรืออย่างน้อยก็ยาวนานกว่า 1.25 แสนปี หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งมีหลักฐานปรากฏการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ในดินแดนแห่งนี้มาตั้งแต่ยุค Paleolithic และยุค Mesolithic ไล่เรียงสู่ยุคโลหะที่ยาวนานในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ ความเก่าคร่ำของดินแดนแห่งนี้ ดำเนินไปพร้อมกับคำกล่าวขานเรียกนามที่แตกต่างกันไปในแต่ละยุคสมัย และจากการจดบันทึกของผู้ผ่านทางที่มีมาอย่างหลากหลายชาติพันธุ์ และจากอารยธรรมที่มีจุดหมายและเริ่มต้นมาจากดินแดนที่ไกลออกไป ชื่อเสียงเรียงนามที่ดินแดนแห่งนี้ได้รับการจดจำมีอยู่มากมายหลากหลายชื่อ แต่ที่คุ้นเคยและมีรากฐาน นับถอยหลังกลับไปได้ไกลถึงกว่า 7,000 ปี ก็คงต้องเริ่มจาก “ลังกาหรือลงกา” ที่ปรากฏอยู่และเกี่ยวเนื่องอยู่ในมหากาพย์รามายะนะ ของอินเดีย หากพิจารณาโดยรากศัพท์จากที่มาของคำว่า Lanka ซึ่งเชื่อว่าเป็นคำศัพท์จากกลุ่มภาษา Austro-Asiatic แล้ว ลังกา หมายถึงภูมิประเทศทั่วไปที่เป็นเกาะ ซึ่งดูเหมือนว่าคำว่า Lanka นี้ จะไม่ได้มีใช้เฉพาะในศรีลังกาเท่านั้น หากแต่ชนพื้นถิ่นในหมู่เกาะใหญ่น้อยในมหาสมุทรอินเดียและบางส่วนของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก็ได้รับอิทธิพลทางภาษามาใช้แป็นสร้อยคำเรียกขานดินแดนของพวกเขาอยู่ไม่น้อยเช่นกัน แต่สำหรับนักเดินทางสำรวจจากแดนไกล ดินแดนแห่งนี้ได้รับการเรียกขานด้วยชื่ออื่นๆ โดยนักภูมิศาสตร์ชาวกรีกระบุถึงดินแดนแห่งนี้ด้วยคำว่า Taprobane หรือ Taprobana เพื่อระบุถึงอาณาจักร Tambapanni หรือ Thambapanni ซึ่งเป็นราชอาณาจักรแรกๆ ที่ได้สถาปนาอำนาจการปกครองขึ้นในศรีลังกาในช่วง

Read More

Jill Mika เสริมทัพ นำ “สารสกัดจากรกหมู” ปักธงในไทย

 “ไก่งามเพราะขน คนงามเพราะแต่ง” ยังคงเป็นวลีที่ครองใจและสะท้อนภาพความเป็นไปของสังคมในยุคที่ “รู้หน้า แต่อาจไม่รู้ใจ” ได้เป็นอย่างดี และนี่อาจเป็นเหตุให้ไม่ว่าเศรษฐกิจจะขึ้นหรือลง ธุรกิจความงามก็ยังคงทะยานเติบโตอย่างต่อเนื่อง  เพราะผู้หญิงกับความงามกลายเป็นของคู่กันอย่างยากจะแยกออก ขณะที่ตลาดรวมผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางหรือเวชสำอางของไทยนั้นมีมูลค่าสูงกว่าสองแสนล้านบาท โดยเติบโตกว่าปีก่อนถึง 18% ท่ามกลางการแข่งขันของผลิตภัณฑ์ทั้งไทยและเทศ  ล่าสุด จิลมิกา เฉลิมสุข ผู้บริหารสาวมากความสามารถ เจ้าของธุรกิจนำเข้าเครื่องสำอางชื่อดังจากญี่ปุ่น ผู้ก่อตั้งแบรนด์ Jill Mika มัลติแบรนด์ความงาม ซึ่งรวบรวมสุดยอดเครื่องสำอางจากญี่ปุ่นไว้มากที่สุดถึง 11 แบรนด์ เสริมทัพด้วยการนำ “ฟราโคร่า” เข้ามาประเดิมปักธงในไทยเป็นประเทศแรกนอกญี่ปุ่น “ไทยถือเป็นประเทศที่ตลาดเครื่องสำอางมีศักยภาพและมีอัตราการเติบโตสูง ดังนั้นเพื่อเป็นการรองรับตลาดที่ขยายตัวต่อเนื่อง บริษัท ทูเดอะนายน์ จำกัด จึงได้ร่วมมือกับ บริษัท เคียววะ (ประเทศญี่ปุ่น) จำกัด ทุ่มงบ 100 ล้านบาท จัดตั้งบริษัท ฟราโคร่า (ประเทศไทย) จำกัด นำเข้ากลุ่มเครื่องสำอางประเภทสกินแคร์และอาหารเสริมทำตลาดในประเทศไทย” จิลมิกา เฉลิมสุข ในฐานะกรรมการผู้จัดการบริษัทฟราโคร่า (ประเทศไทย) จำกัด ระบุ ข้อมูลที่น่าสนใจประการหนึ่งจากการรุกคืบของเครื่องสำอางจากต่างประเทศก็คือ สินค้านำเข้าทั้งจากกลุ่มประเทศตะวันตก

Read More

จรัมพร โชติกเสถียร กับอนาคตของการบินไทย

 หากประเมินและสังเคราะห์วิพากษ์ถึงองค์กรขนาดใหญ่ที่เป็นประหนึ่งสัญลักษณ์และเชิดหน้าชูตาของสังคมไทย เชื่อว่า การบินไทย ในฐานะที่เป็นองค์กรธุรกิจและ Flag Carrier ที่โดดเด่นอยู่กลางห้วงเวหาคงเป็นภาพสะท้อนของไทยในเวทีระดับนานาชาติได้เป็นอย่างดี เช่นเดียวกับการประกาศแต่งตั้งโยกย้ายผู้บริหารขององค์กรแห่งนี้ ย่อมสะท้อนวิสัยทัศน์และกระบวนความคิดที่ดำเนินอยู่ ซึ่งย่อมมีผลต่อความเป็นไปของการบินไทยที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคตนับจากนี้ การเข้าดำรงตำแหน่งกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ (ดีดี) การบินไทยของจรัมพร โชติกเสถียร เมื่อต้นเดือนธันวาคมที่ผ่านมา กำลังเริ่มส่งแรงกระเพื่อมให้เกิดขึ้นอย่างช้าๆ ภายในองค์กรที่มีผู้เกี่ยวข้องในฐานะพนักงานไม่ต่ำกว่า 30,000 อัตรา และมีสินทรัพย์ให้ต้องบริหารจัดการมูลค่านับแสนล้านบาท พร้อมกับผลประกอบการขาดทุนที่ทำให้การบินไทยต้องเสนอแผนฟื้นฟูให้คณะอนุกรรมการฟื้นฟูรัฐวิสาหกิจพิจารณาเพื่อขยายวงเงินภายใต้แผนการบริหารหนี้ เพิ่มขึ้นจาก 14,186.34 ล้านบาท เป็น 155,507.31 ล้านบาท โดยแบ่งเป็นการก่อหนี้ใหม่ของ บมจ.การบินไทย ด้วยการเพิ่มวงเงินกู้ต่างประเทศ สำหรับซื้อเครื่องบิน A320-200 และ B777-300ER และเพิ่มวงเงินกู้ในประเทศ เพื่อดำเนินการทั่วไป 10,000 ล้านบาท เป็น 25,000 ล้านบาท รวมถึงการบริหารหนี้ ของ บมจ.การบินไทย ด้วยการเพิ่มวงเงินในการทำ Swap Arrangement จาก 4,120 ล้านบาท เป็น 86,370.50 ล้านบาทด้วย ปัญหาของการบินไทยในด้านหนึ่งเกิดขึ้นจากข้อเท็จจริงที่ว่า

Read More

ตลาดเครื่องสำอาง “โตเงียบ” แต่มูลค่ามหาศาล

 ธุรกิจเครื่องสำอางและความงามเป็นธุรกิจที่มีอัตราการเจริญเติบโตและขยายอย่างต่อเนื่องทุกปี การบริโภคเครื่องสำอางในปัจจุบันคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง เพราะคนในยุคปัจจุบันทั้งเพศชาย เพศหญิง และทุกๆ ช่วงวัย ต่างให้ความสนใจใส่ใจเกี่ยวกับสุขภาพ ความงาม และผิวพรรณ รวมทั้งการดูแลตัวเองมากขึ้น มีความต้องการอยากให้ตัวเองดูดีขึ้น  และเป็นเหตุให้ธุรกิจด้านความงาม คลินิกดูแลรักษาผิวพรรณ เครื่องสำอางแบรนด์ชั้นนำต่างๆ จึงเกิดขึ้นมากมายเพื่อรองรับกับความต้องการที่สูงขึ้นทุกปี ภายใต้คุณลักษณะของการเป็นธุรกิจที่ “โตเงียบ” ไม่ว่าสถานการณ์จะเป็นอย่างไร ธุรกิจความงามจึงเปรียบเสมือนแหล่งขุมทรัพย์ ที่รอแจ้งเกิดผู้ประกอบการที่มองเห็นโอกาสในการเข้ามาช่วงชิงส่วนแบ่งทางการตลาดก่อนใคร  ปัจจุบันจะพบว่าตลาดผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางมีความหลากหลายทั้งในเรื่องของราคาและคุณภาพที่สามารถตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคและเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างชัดเจน นำไปสู่ภาวะการแข่งขันกันเพื่อแย่งชิงส่วนแบ่งทางการตลาดที่มีมูลค่ามหาศาลเพิ่มสูงขึ้นทั้งตลาดภายในประเทศและตลาดนอกประเทศ และทวีความรุนแรงมากขึ้น ข้อมูลของศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ที่ได้ทำการจัดอันดับ 10 ธุรกิจที่โดดเด่น โดยประเมินจาก ปี 2554-2557 พบว่า ธุรกิจที่เกี่ยวกับสุขภาพและความงาม อาทิ อาหารเสริม เครื่องสำอาง ขึ้นแท่นเป็นธุรกิจมาแรงครองอันดับ 1 ติดต่อกัน เนื่องจากกระแสการให้ความสำคัญกับการรักษาสุขภาพและการดูแลความงามเพิ่มมากขึ้น ในขณะที่ธุรกิจเด่นในปีนี้ ธุรกิจที่เกี่ยวกับความสวยความงาม ก็ยังครองเบอร์หนึ่งอีกเช่นกัน สำหรับตลาดสินค้าเพื่อสุขภาพและความงามเกิดขึ้นในเมืองไทยเมื่อ 17 ปีก่อน โดยปัจจุบันวัตสันถือเป็นแบรนด์ที่มีสาขามากที่สุด รองลงมาได้แก่ บู๊ทส์, เอ็กซ์ตร้า (ในเครือซีพี ออลล์)  นอกจากนี้ยังมีแบรนด์ใหม่ที่เกิดขึ้นในตลาด เช่น ซูรูฮะ ซึ่งเป็นการร่วมทุนระหว่างสหพัฒน์ฯ กับซูรูฮะประเทศญี่ปุ่น,

Read More

พหุสังคม

 การเดินทางเยือนศรีลังกาอย่างเป็นทางการขององค์พระสันตะปาปา Francis (Pope Francis) แห่งคริสตจักรโรมันคาทอลิก หากประเมินอย่างเพียงผิวเผิน ก็คงเป็นเพียงพิธีกรรมการเยือนที่ไม่น่าจะมีสิ่งใดให้ตื่นตาตื่นใจมากนัก และก็คงเป็นเพียงวงรอบของการเยือนที่ผูกพันอยู่กับแบบพิธีทางการทูตเท่านั้น แต่หากประเมินจากห้วงเวลาและสถานการณ์ระดับนานาชาติที่ปรากฏเป็นข่าวตลอดช่วงสัปดาห์ก่อนและหลังการเยือนเอเชีย 6 วัน (ศรีลังกาและฟิลิปปินส์) ดูเหมือนว่าทั่วโลกต่างให้ความสนใจกับการเสด็จเยือนศรีลังกาขององค์สมเด็จพระสันตะปาปาไม่น้อยเลย ในด้านหนึ่งเพราะศรีลังกาเพิ่งผ่านการเลือกตั้งประธานาธิบดีก่อนหน้าการเสด็จเยือนได้เพียง 3 วัน ซึ่งก่อนหน้านี้กำหนดการดังกล่าวได้รับการวิพากษ์วิจารณ์ว่าเป็นความพยายามที่จะให้การรับรองและสร้างความชอบธรรมให้ผลการเลือกตั้งที่คาดหมายว่า Mahinda Rajapaksa อดีตประธานาธิบดีจะได้รับเลือกตั้งกลับเข้ามาอย่างง่ายดาย แต่ผลการเลือกตั้งกลับไม่เป็นไปตามที่คาดการณ์ไว้ ขณะเดียวกันด้วยเหตุที่ศรีลังกาเป็นพหุสังคมที่มีความแตกต่างหลากหลายทั้งในมิติของเชื้อชาติ และความเชื่อทางศาสนาวัฒนธรรม แม้จะมีพื้นฐานจากสังคมพุทธที่แน่นหนาก็ตาม ทำให้ประเด็นการเยือนของสันตะปาปาในห้วงยามที่โลกกำลังระอุไปด้วยทัศนะที่แตกต่างทางความเชื่อและความชิงชังระหว่างผู้ที่อยู่ต่างวัฒนธรรมได้รับความสนใจเป็นพิเศษ ความน่าสนใจของการเยือนครั้งนี้ในด้านหนึ่งอยู่ที่การเชิญผู้นำทางศาสนาหลักๆ ทุกศาสนาในศรีลังกาเข้าร่วมอยู่บนเวทีเดียวกับองค์สันตะปาปา โดยมีฉากหลังเป็นสัญลักษณ์ของศาสนาพุทธ ฮินดู อิสลาม และคริสต์ ปรากฏอย่างเด่นชัดและเป็นภาพที่ได้รับการเผยแพร่ไปทั่วโลก ยิ่งไปกว่านั้น เนื้อความในสุนทรพจน์ที่องค์สันตะปาปามีต่อสาธารณชนที่ให้การต้อนรับ ได้สะท้อนวิถีความคิดว่าด้วยการดำรงอยู่ร่วมกันอย่างสันติและการสร้างความปรองดองท่ามกลางความแตกต่างในความเชื่อและวัฒนธรรมที่ทรงพลังและเป็นแรงบันดาลใจ ไม่เฉพาะกับศรีลังกาที่ดำรงอยู่ท่ามกลางความขัดแย้งและสงครามกลางเมืองมานานเกือบ 3 ทศวรรษเท่านั้น  หากแต่เป็นการสื่อสารไปถึงพลโลกในยุคพหุสังคม ที่กำลังขาดแคลนความเข้าใจในวัฒนธรรมที่หลากหลายรอบข้างด้วย ประวัติการณ์แห่งความเป็นมาและเป็นไปของดินแดนที่เรียกว่าศรีลังกาในปัจจุบันที่สืบย้อนไปได้ไกลนับพันนับหมื่นปี ประกอบกับสภาพภูมิประเทศที่เป็นประหนึ่งจุดยุทธศาสตร์ในการเดินเรือตามเส้นทางการค้า ทำให้ศรีลังกากลายเป็นที่ต้องการและเป็นเวทีประลองกำลังของชาติมหาอำนาจมาอย่างต่อเนื่อง ไล่เรียงจากโปรตุเกส มาสู่ดัตช์ ก่อนที่อังกฤษจะเบียดแทรกเข้ามาครอบครองและดูดซับความมั่งคั่งจากดินแดนแห่งนี้อย่างยาวนาน ซึ่งต่างทำให้เกิดพหุสังคมที่มีความหลากหลายทั้งในมิติของชาติพันธุ์ ศาสนาและวัฒนธรรมบนดินแดนแห่งนี้ จำนวนประชากรศรีลังกาที่มีอยู่ประมาณ 22 ล้านคน ดำเนินไปท่ามกลางความหลากหลายทั้งในมิติของชาติพันธุ์ ซึ่งประกอบด้วยชาวสิงหล (ร้อยละ 74.88) ชาวศรีลังกาทมิฬ (ร้อยละ 11.2) ศรีลังกันมัวร์

Read More

2 ยักษ์เร่งสกัด “ลอว์สัน” แฟรนไชส์ “สะดวกซื้อ” เดือด

 แนวรบการขยายสาขาแฟรนไชส์ในกลุ่มคอนวีเนียนสโตร์กำลังเปิดศึกช่วงชิงทำเลอย่างดุเดือด โดยเฉพาะ 2 ยักษ์อย่าง “เซเว่น-อีเลฟเว่น” และ “แฟมิลี่มาร์ท” เป้าหมายเพื่อครอบคลุมและแย่งส่วนแบ่งตลาดให้ได้มากที่สุด ลึกๆ ยิ่งกว่านั้น ทั้ง 2 ค่ายต้องเร่งปักหมุดสกัดค่ายน้องใหม่ “ลอว์สัน” ที่ประกาศจะเปิดขายแฟรนไชส์ร้านสะดวกซื้อ “ลอว์สัน108” ภายในปีนี้ตามแผนปูพรม 1,000 สาขาทั่วประเทศ  ล่าสุด เซเว่น-อีเลฟเว่นผุดร้านทั่วประเทศมากกว่า 8,000 สาขาและตั้งเป้า 5 ปี หรือภายในปี 2562 มีจำนวนสาขารวม 10,000 สาขา ส่วนแฟมิลี่มาร์ทเมื่อสิ้นปี 2557 มีจำนวนร้านมากกว่า 1,200สาขา ตั้งเป้า 4 ปี หรือภายในปี 2561 จะมีทั้งสิ้น 3,000 สาขา  ขณะที่ค่ายลอว์สัน แม้ปัจจุบันยังกระจายร้านได้เพียง 31 สาขาและตั้งเป้าภายในปี 2562 จะเปิดสาขารวม 1,000 สาขา แต่การจับมือของกลุ่มทุนใหญ่ระหว่างเครือสหพัฒน์กับกลุ่มลอว์สัน อิงค์

Read More