Home > Suwatcharee Pormbunmee

CRC เปิดตัว “GO Wholesale” ทุ่มงบ 2 หมื่นล้านบาท สู้ศึกห้างค้าส่ง

หลังจากที่ปล่อยให้เป็นกระแสข่าวมาพักใหญ่ว่า เซ็นทรัลรีเทล เตรียมเปิดธุรกิจใหม่ในปีนี้ จนทำให้หลายคนสงสัยใคร่รู้ว่า ยักษ์ใหญ่แห่งการค้าปลีก มีแผนธุรกิจอะไรที่น่าสนใจอีกบ้าง 14 กันยายน 2566 วันดีเดย์ที่เป็นทั้งการประกาศเปิดตัวธุรกิจใหม่ และเหมือนเป็นการประกาศความพร้อมสู้ศึกในการแย่งชิงส่วนแบ่งการตลาดจากค้าส่งรายเดิมอย่าง Makro ด้วยการส่งห้างค้าส่งภายใต้ชื่อ GO Wholesale แม้ CRC จะคร่ำหวอดอยู่ในธุรกิจค้าส่งที่กินส่วนแบ่งในตลาดค้าวัสดุก่อสร้างอยู่ไม่น้อยอย่าง “ไทวัสดุ” แต่นั่นยังไม่ครอบคลุมหมวดธุรกิจอาหาร ที่น่าจะมีมูลค่าทางการตลาดสูงถึง 2.6 ล้านล้านบาท นี่เป็นการตัดสินใจครั้งสำคัญที่จะช่วยให้ตัวเลขรายได้ของเซ็นทรัลรีเทลถูกเติมเต็มให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น ญนน์  โภคทรัพย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เซ็นทรัล รีเทล คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ CRC กล่าวว่า “CRC ประสบความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจมากกว่า 75 ปี จากการสร้าง Platform of Trust ให้กับลูกค้า พาร์ตเนอร์ ซัปพลายเออร์ พนักงาน ชุมชน และนักลงทุน พร้อมทั้งมี Ecosystem

Read More

ตลาดเสริมอาหารโตแสนล้าน คนรักสุขภาพเพิ่ม โอกาสของผู้ประกอบการไทย

นับตั้งแต่การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่กลายเป็นปัจจัยสำคัญส่งผลให้ประชาชนหันมาใส่ใจและให้ความสำคัญกับสุขภาพมากขึ้น นอกจากการออกกำลังกาย ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเป็นอีกหนึ่งทางเลือกเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้ร่างกายแข็งแรงขึ้น ขณะที่จำนวนผู้สูงอายุเพิ่มสูงขึ้น จนไทยกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงวัย เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่หนุนให้ตลาดนี้มีทิศทางการเติบโตอย่างมีนัยสำคัญ โดยเฉพาะตลาดในกลุ่ม Nutraceutical (นิวทราซูติค) หรือโภชนบำบัด คือ สารอาหาร หรือส่วนประกอบของอาหารที่มีสรรพคุณเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ ในการป้องกันโรค รักษาโรค ชะลอความชรา ในปี 2566 ตลาดนิวทราซูติค ซึ่งหมายรวมถึง Function Food และ Function Drink มีมูลค่าสูงถึง 190,000 ล้านบาท โดยมีอัตราการเติบโต 7 เปอร์เซ็นต์ การขยายตัวของตลาดนี้เป็นไปในลักษณะค่อยๆ โต คาดการณ์กันว่าในปี 2022-2026 มูลค่าตลาดจะเพิ่มสูงถึง 260,000 ล้านบาท รุ้งเพชร ชิตานุวัตร์ ผู้อำนวยการกลุ่มงานภูมิภาคอาเซียน อินฟอร์มา มาร์เก็ตส์ (ประเทศไทย) เปิดเผยว่า อุตสาหกรรมเสริมอาหารเติบโตอย่างมากในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา จากผู้บริโภคทั่วโลกที่หันมาให้ความสำคัญกับสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีมากขึ้น ซึ่งนอกจากการใส่ใจด้านการบริโภคอาหารที่เป็นประโยชน์แล้วยังมองหาผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มีคุณภาพเข้ามาเป็นอีกองค์ประกอบหนึ่งในการบำรุงรักษาร่างกาย หรือแม้กระทั่งในการต่อสู้กับบางโรคที่อยู่ในช่วงอาการเริ่มต้น “อุตสาหกรรมเสริมอาหารที่กำลังเติบโตอย่างมากในตลาดเอเชีย ตามรายงานของ

Read More

ตลาดรถยนต์ EV ไทยแข่งสนุก AION บุกไทยชูคุณภาพเหนือกว่า

อีกหนึ่งอุตสาหกรรมที่เต็มไปด้วยความร้อนแรงในการแข่งขัน แม้ว่าสถานการณ์เศรษฐกิจโลกและไทยจะยังคงอ่อนไหว อีกทั้งยังฟื้นตัวไม่เต็มที่ ทว่า ตลาดรถยนต์ไฟฟ้ากลับเต็มไปด้วยสีสันเมื่อมีหลายค่ายเริ่มเปิดตัวรถยนต์ไฟฟ้ารุ่นใหม่และประกาศสร้างฐานการผลิตในประเทศไทย ล่าสุด AION แบรนด์รถไฟฟ้า Top3 ประกาศเปิดเกมรุกในไทย ก่อนจะสยายปีกสู่ตลาดใหญ่ในอาเซียน โดย นายโอเชี่ยน หม่า (Ocean Ma) กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไอออน ออโตโมบิล เซลล์ (ประเทศไทย) จำกัด ผนึกกำลังกับอีก 7 พันธมิตรทางธุรกิจ ซึ่งเป็นผู้แทนจำหน่ายรถยนต์ชั้นนำจาก 4 ประเทศในภูมิภาคอาเซียน ได้แก่ Gold Integrate (ประเทศไทย), AIONIC (ประเทศไทย), V Group AI (ประเทศไทย), Harmony Auto (ประเทศไทย), 99 เมียนมา (เมียนมา), Harmony Auto (เวียดนาม), EV HUB PRE

Read More

ส่องทิศทางอสังหาฯ ไทย บวก-ลบ กับรัฐบาลสมานฉันท์

สถานการณ์การเมืองไทยที่กำลังจะมีข้อสรุป และมีการเผยโฉมหน้าของคณะรัฐมนตรีเศรษฐา 1 ซึ่งเป็นที่จับตามองของหลายฝ่าย ทั้งนักลงทุน นักธุรกิจ ผู้ประกอบการในทุกอุตสาหกรรมต่างเฝ้ารอ ว่าใครจะเป็นรัฐมนตรีกระทรวงที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจ โดยเฉพาะประเด็นนโยบายด้านเศรษฐกิจ ซึ่งจะเป็นตัวกำหนดทิศทางแนวทางการบริหารประเทศภายใต้รัฐบาลใหม่ ว่าจะดำเนินไปอย่างไรในอนาคต อย่างไรก็ดี การควบตำแหน่งของนายกรัฐมนตรีคนที่ 30 ที่รับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังด้วยนั้น กำลังถูกพูดถึงความเหมาะสม แน่นอนว่าในแง่มุมการบริหารงานในฐานะนักธุรกิจที่บริหารงานกลุ่มแสนสิริมาก่อน คงไม่อาจปฏิเสธได้ถึงชื่อชั้นและความสามารถในการบริหาร ทว่า ในฐานะของผู้นำฝ่ายบริหารประเทศเป็นอีกเรื่องที่ต้องขบคิด แม้ว่าสถานการณ์การเมืองจะเริ่มเป็นรูปเป็นร่าง ซึ่งน่าจะสร้างความพอใจไม่มากก็น้อย เพราะนั่นหมายถึง ประเทศไทยจะเริ่มเข้าสู่กระบวนการขับเคลื่อนเครื่องจักรและฟันเฟืองเศรษฐกิจที่กำลังเริ่มประกอบส่วนเข้าด้วยกัน กระนั้นแม้ว่าสถานการณ์การเมืองอาจจะเป็นปัจจัยบวกในห้วงยามนี้ แต่ภาพรวมทางเศรษฐกิจของไทยยังต้องเผชิญกับปัจจัยลบรอบด้าน ทั้งการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจที่ยังไม่เต็มร้อยเปอร์เซ็นต์ การส่งออกที่ยังต้องอาศัยอานิสงส์จากประเทศคู่ค้าเป็นหลัก ภาวะหนี้ครัวเรือนที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่ดอกเบี้ยค่อยๆ ก้าวสู่ขาขึ้น และดูเหมือนมีเพียงอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของไทยเท่านั้นที่ดูจะพึ่งพาได้ในเวลานี้ ขณะที่ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์มีความสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ซึ่งหากรวมธุรกิจที่เกี่ยวข้องในห่วงโซ่อุปทานแล้วจะมีมูลค่าตลาดคิดเป็นสัดส่วนกว่า 10% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ หรือ GDP ปี 2565 เนื่องจากมีการกระตุ้นให้มีการหมุนเวียนในระบบจำนวนมาก เกิดจากการจ้างงานและสร้างรายได้ ทั้งยังเชื่อมโยงกับภาคธุรกิจอื่น เช่น การก่อสร้าง วัสดุก่อสร้าง เครื่องใช้ไฟฟ้า เฟอร์นิเจอร์ การตกแต่งและสถาบันการเงิน ดร.วิชัย วิรัตกพันธ์ ผู้ตรวจการธนาคารอาคารสงเคราะห์ และรักษาการผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ เปิดเผยมุมมองต่อสถานการณ์ธุรกิจที่อยู่อาศัยในไตรมาส 2/2566

Read More

ก้าวสำคัญของ ฐิติวัฒน์ คูวิจิตรสุวรรณ สู่สะพานเชื่อมการลงทุนในนาม บริดจ์ แคปปิตอล

ปัจจุบันธุรกิจสินเชื่อมีอัตราการเติบโตค่อนข้างสูงตามสภาพความคล่องตัวทางเศรษฐกิจ ในแง่มุมหนึ่งหากเศรษฐกิจไทยมีอัตราการขยายตัวสูง แต่ภาคครัวเรือนขาดสภาพคล่องส่งผลให้มีความต้องการธุรกิจสินเชื่อมากขึ้น แต่ บริดจ์ แคปปิตอล ภายใต้การนำของ ฐิติวัฒน์ คูวิจิตรสุวรรณ เป็นการปล่อยสินเชื่อระยะสั้นและผลิตภัณฑ์ร่วมลงทุนในหนี้ที่มีอสังหาริมทรัพย์ค้ำประกัน (Secured Private Credit Business and Real-Estate Investment Participation Product) แห่งแรกในประเทศไทย การเข้าถึงแหล่งเงินทุนยากของผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางถึงขนาดย่อม และในแง่ของนักลงทุนจำนวนไม่น้อยที่มีเงินเย็น เงินเก็บ แต่ไม่รู้ว่าจะลงทุนที่ไหน คือจุดเริ่มต้นของ บริดจ์ แคปปิตอล ฐิติวัฒน์ คูวิจิตรสุวรรณ กรรมการผู้จัดการ บริษัท บริดจ์ แคปปิตอล แมเนจเม้นท์ จำกัด “เราเล็งเห็นว่าผู้ประกอบธุรกิจจำนวนไม่น้อยในปัจจุบันเข้าถึงแหล่งเงินทุนยาก โดยเฉพาะสถาบันการเงิน ซึ่งอาจเกิดจากหลายปัจจัย ในขณะที่ธุรกิจกำลังเติบโต การขาดเงินทุนส่งผลให้เกิดภาวะชะงักงันทางธุรกิจ และอีกด้านคือ นักลงทุนคนไทยมีเงินเก็บเยอะ แต่ไม่รู้ว่าจะลงทุนในด้านไหน เราจึงเป็นทางเลือกให้นักลงทุน ซึ่งมีความเสี่ยงต่ำแต่ผลตอบแทนน่าจูงใจ” ฐิติวัฒน์นำประสบการณ์ในการบริหารธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และธุรกิจการเงินที่มีหลายสิบปี และการมองเห็นโอกาสที่จะสร้างธุรกิจนี้ เพื่อให้บริการปล่อยสินเชื่อภาคเอกชนแก่ผู้ที่มีอสังหาริมทรัพย์ที่มีคุณภาพในประเทศไทยเป็นหลักประกัน หลายปีที่ผ่านมา ผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็กจำนวนไม่น้อยประสบปัญหาในการขอเงินกู้จากแหล่งสถาบันการเงินแบบดั้งเดิม แม้ว่าจะมีอสังหาริมทรัพย์มาใช้เป็นหลักทรัพย์ค้ำประกัน และหลายครั้งผู้ประกอบการหันไปพึ่งพาการกู้เงินนอกระบบที่มีอัตราดอกเบี้ยสูงกว่าทั่วไป เพื่อแก้ปัญหาการขาดสภาพคล่อง “ด้วยเหตุผลที่ว่ามา เราจึงพัฒนาผลิตภัณฑ์ลงทุนที่ตอบโจทย์ความต้องการของผู้ประกอบการและนักลงทุนที่มองหาผลตอบแทนที่ดี โดยบริดจ์

Read More

เนด้า หนุนการรถไฟลาว เอื้อเศรษฐกิจเวียงจันทน์ หนองคาย

หากเอ่ยถึงองค์การที่ให้ความช่วยเหลือในการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม แก่ประเทศที่กำลังพัฒนา JICA หรือ องค์การความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น เป็นหน่วยงานรัฐบาลญี่ปุ่น ที่คอยให้คำปรึกษาตลอดจนความช่วยเหลือด้านการพัฒนาประเทศอย่างเป็นทางการในนามของรัฐบาลญี่ปุ่น ขณะที่ไทยมีหน่วยงานที่มีลักษณะใกล้เคียงกัน คือ สำนักงานความร่วมมือพัฒนาเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน (องค์การมหาชน) Neighbouring Countries Economic Development Cooperation Agency หรือ NEDA (เนด้า) ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงการคลัง ด้วยบทบาทหน้าที่ในการให้ความช่วยเหลือประเทศเพื่อนบ้านและประเทศอื่นๆ ทั้งด้านการเงินและวิชาการ โดยประเทศที่เนด้าให้ความช่วยเหลืออยู่ในกลุ่ม CLMV เป็นหลัก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สปป.ลาว ซึ่งที่ผ่านมาเนด้าได้ให้ความช่วยเหลือไปแล้วกว่า 30 โครงการ รวมมูลค่ากว่า 15,000 ล้านบาท และอีกหนึ่งโครงการใน สปป.ลาว ที่เนด้าให้ความช่วยเหลือคือ การก่อสร้างสถานีรถไฟเวียงจันทน์ (บ้านคำสะหวาด) ที่เริ่มต้นก่อสร้างตั้งแต่ปี 2562 โดยใช้งบประมาณก่อสร้างรวม 994.68 ล้านบาท ปัจจุบันยังไม่ได้ทำการส่งมอบเนื่องจากยังต้องรอการจัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่ของไทยแล้วเสร็จ ซึ่งการส่งมอบและพิธีเปิดน่าจะเกิดขึ้นในช่วงการประชุมความร่วมมือ “อิรวดี-เจ้าพระยา-แม่โขง” หรือ ACMECS ครั้งที่ 10

Read More

ECOM ยกระดับผู้ประกอบการ E-commerce ไทย พร้อมสู้ศึกนักลงทุนจากจีน

นับตั้งแต่สถานการณ์การแพร่ระบาดโควิดในประเทศไทยคลี่คลาย ภาพรวมของตลาดชอปปิ้งออนไลน์ที่เคยมีมูลค่าลดลงในช่วงวิกฤต กลับมีทิศทางที่สดใสมากยิ่งขึ้น ปัจจัยหลักมาจากการเปิดประเทศ การเดินทางระหว่างประเทศ ภาคการผลิต ที่กลับสู่ภาวะปกติส่งผลเป็นแรงบวกสำคัญต่อตลาดนี้ ศูนย์วิจัย Krungthai COMPASS เปิดเผยผลการวิเคราะห์ข้อมูลตลาดอีคอมเมิร์ซ ของไทยว่า ปัจจุบันคนไทยมากกว่าครึ่งมีการซื้อหรือเคยซื้อสินค้า/บริการผ่านตลาดอีคอมเมิร์ซ โดยในช่วงระยะเวลา 5 ปีที่ผ่านมาจำนวนผู้ใช้งานสูงขึ้นจาก 30.7 ล้านคนในปี 2562 มาอยู่ที่ 41.5 ล้านคนในปี 2566 แรงผลักดันหลักมาจากการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตที่ครอบคลุมพื้นที่มากขึ้น นอกจากนี้ ยังมีข้อมูลจาก eCommerce-Thailand ชี้ว่า ตลาดอีคอมเมิร์ซยังคงได้รับความนิยมจากคนไทยอย่างต่อเนื่อง สะท้อนจากค่าใช้จ่ายในการซื้อสินค้า/บริการผ่านตลาดอีคอมเมิร์ซ ที่สูงขึ้นเกือบสามเท่าตัวจากปีละ 2,970 บาทต่อคนในปี 2562 ขึ้นมาอยู่ที่ 8,840 บาทต่อคนในปี 2566 มูลค่าตลาดอีคอมเมิร์ซของไทยในปี 2565 มีมูลค่ากว่า 6.2 แสนล้านบาท และมีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่องปีละ 6% และอาจแตะที่ 6.34-6.94 แสนล้านบาท ในปี 2566-2567 อีกด้านของตลาดอีคอมเมิร์ซในไทยที่น่าสนใจคือ สินค้านำเข้าจากจีนเป็นสินค้าที่ได้รับความนิยมอย่างมากในกลุ่มผู้บริโภคไทย เนื่องจากมีราคาถูก สินค้ามีความหลากหลาย

Read More

เมสเซ่ ดุสเซลดอร์ฟ-NIA ดึงสตาร์ทอัปไทยโชว์ของ ปลุกตลาดเทรนด์การแพทย์และสุขภาพ

ระบบการดูแลสุขภาพของไทยติดอันดับ Top5 ของโลก และมีค่าใช้จ่ายการทางการแพทย์ต่อประชากรต่ำที่สุดใน 10 ประเทศ ประเทศไทยได้รับการยอมรับว่าเป็นประเทศที่มีการดูแลด้านสุขภาพที่ดี หรือมีความมั่นคงทางสุขภาพสะท้อนจาก Gloval Health Security (GHS) Index 2021 ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด ไทยอยู่ในอันดับ 5 ของโลก และอันดับ 1 ของเอเชีย ในการรับมือวิกฤตโควิด ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจธนาคารทหารไทยธนชาติ คาดการณ์แนวโน้มรายได้การท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ของไทยเติบโตเทียบเท่าก่อนวิกฤตโควิด-19 ได้ในปีนี้ รายได้การท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ในปี 2562 อยู่ที่ราว 2.47 หมื่นล้านบาท และลดลงมากกว่า 100% ในช่วงวิกฤตโควิด เทรนด์การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพจะเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญให้อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไทยฟื้นตัวได้อย่างดี แต่ตัวเร่งที่จะทำให้การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น นั่นคือการผสานเทคโนโลยี นวัตกรรมเข้ามาในอุตสาหกรรมการแพทย์ การดูแลสุขภาพในทุกมิติ ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการแพทย์และสุขภาพกลายเป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่ startup ให้ความสนใจและสร้างแรงกระเพื่อมให้กับอุตสาหกรรมการแพทย์และสุขภาพมากขึ้น นั่นเพราะทิศทางการเติบโตของธุรกิจนี้ในไทยเริ่มเติบโตอย่างเห็นได้ชัด เดฟนี โยว ผู้อำนวยการบริหารโครงการ กลุ่มธุรกิจเฮลท์แคร์ บริษัท เมสเซ่ ดุสเซลดอร์ฟ เอเชีย ในฐานะผู้จัดงาน Medical Fair Thailand

Read More

บันยัน หัวหินเนื้อหอม พลิกวิกฤตสร้างโอกาสดันยอดขายฉลุย

หัวหิน จัดว่าเป็นทำเลทองสำหรับการลงทุนในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ พื้นที่นี้ยังคงเป็นจุดหมายปลายทางสำหรับการท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างชาติ ความนิยมที่เกิดขึ้นเพราะการเดินทางที่สะดวก ไม่ไกลจากกรุงเทพฯ ธรรมชาติที่สวยงาม ซึ่งสถานการณ์ก่อนโควิดมีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาปีละเกือบ 4 ล้านคน ทำให้มีเม็ดเงินสะพัดในพื้นที่หัวหินปีละหลายหมื่นล้านบาท เมื่อมีจำนวนนักเดินทางท่องเที่ยวเข้ามายังหัวหินเพิ่มขึ้น จึงไม่น่าแปลกใจที่ผู้ประกอบการจะมุ่งพัฒนาพื้นที่หัวหิน โดยเฉพาะบริเวณริมหาด ซึ่งนั่นทำให้ที่ดินบริเวณดังกล่าวแทบหาไม่ได้แล้ว ดังนั้นผู้ประกอบการจึงต้องเบนเข็มไปยังแนววิวเขามากขึ้น แม้ว่าจะห่างไกลจากจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญสำหรับการท่องเที่ยว แต่การเดินทางที่สะดวก ทำให้โครงการที่อยู่ในหัวหินยังคงเป็นที่ต้องการ ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย บจก. เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส คาดการณ์ว่า พื้นที่ชะอำ หัวหิน ปราณบุรี จะเป็นพื้นที่ที่น่าจับตามองเป็นพิเศษ เพราะเป็นพื้นที่ท่องเที่ยวสำคัญรองจากชลบุรีและระยอง หลังสถานการณ์โควิดคลี่คลาย พื้นที่ท่องเที่ยวเช่นหัวหิน จะได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยวเป็นพิเศษ โดยเฉพาะโซนหัวหิน ที่มีโครงการจัดสรรจำนวนมาก ทั้งอาคารชุดติดถนนเพชรเกษม วิลล่าโซนภูเขา รวมไปถึงโครงการจัดสรรทั้งที่พัฒนาเพื่อขายคนในพื้นที่ เช่น ทาวน์เฮาส์ชั้นเดียว ระดับ 1-2 ล้านบาท บ้านแฝดชั้นเดียวระดับราคา 1.6-2.3 ล้านบาท บ้านเดี่ยวชั้นเดียว ระดับราคา 2.3-3 ล้านบาทเป็นส่วนใหญ่ เพราะเป็นราคาที่ไม่แพงเกินไปสำหรับ “มนุษย์เงินเดือน” นอกจากผู้ประกอบการไทยอย่าง บมจ.

Read More

กลุ่มสามารถดัน SAV ลุยวิทยุการบินกัมพูชา ไร้คู่แข่ง เหมาสัมปทานยาว 49 ปี

กัมพูชา อีกหนึ่งประเทศกำลังพัฒนาบนภูมิภาคอาเซียน ที่มีนักลงทุนจากจีนทั้งภาครัฐและเอกชนใส่เม็ดเงินลงไปเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน อุตสาหกรรม ท่าเรือ แต่โควิดที่ผ่านมาการปิดเครื่องยนต์ทางเศรษฐกิจของจีนส่งผลโดยตรงต่อกัมพูชา ที่กำลังอยู่ในจังหวะเร่งของการเติบโตด้านเศรษฐกิจ ปัจจุบันในภาวการณ์ที่ทุกอย่างเริ่มคลี่คลายแล้ว ทว่า การกลับมาดำเนินกิจการภายใต้การบริหารงานของทุนจีนยังไม่สามารถกลับมาได้เท่าที่ควรบนแผ่นดินกัมพูชา ธนาคารโลก หรือ World Bank คาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจของกัมพูชาในปี 2566 ประมาณร้อยละ 5.2 เนื่องจากจีนกลับมาเปิดเศรษฐกิจอีกครั้ง ในขณะที่ประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจในภูมิภาคโดยเฉพาะอาเซียนแข็งแกร่งกว่าปีที่แล้ว อย่างไรก็ตาม อุปสงค์ทั่วโลกยังคงลดลง เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าโภคภัณฑ์และสภาวะทางการเงินที่ตึงตัวขึ้น เพื่อตอบสนองต่ออัตราเงินเฟ้ออย่างต่อเนื่อง ขณะที่รัฐบาลกัมพูชาได้ปรับการคาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจของกัมพูชาในปี 2566 ว่าจะเติบโตร้อยละ 5.6 จากเดิมที่คาดการณ์ไว้ที่ร้อยละ 6.6 เนื่องจากความไม่แน่นอนของการเติบโตของเศรษฐกิจโลกที่เชื่อมโยงกับความขัดแย้งระหว่างรัสเซียกับยูเครน การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและวิกฤตโควิด ด้านรัฐมนตรีช่วยกระทรวงเศรษฐกิจและการคลัง มร. Vongsey Vissoth เปิดเผยว่า แม้ว่าการแพร่ระบาดของโควิดจะคลี่คลายลง แต่วิกฤตจากสงครามระหว่างรัสเซียกับยูเครนยังไม่จบลง รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศยังคงสร้างแรงกดดันต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว โดยเฉพาะประเทศที่มีเศรษฐกิจขนาดใหญ่ เช่น สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป และจีน ซึ่งเป็นผู้สั่งซื้อรายใหญ่ของกัมพูชา ดังนั้น กัมพูชาอาจจะเผชิญกับความเสี่ยงเช่นกัน กัมพูชานอกจากจะเป็นผู้ผลิตสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มที่เป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญแล้ว การท่องเที่ยวเป็นอีกหนึ่งอุตสาหกรรมที่รัฐบาลกัมพูชาเร่งส่งเสริมและมีนโยบายเพื่อผลักดันให้อุตสาหกรรมตัวนี้ทำงานได้อย่างเต็มที่ ล่าสุด กัมพูชามีการลงทุนสร้างสนามบินนานาชาติใหม่ 3 แห่ง เพื่อรองรับจำนวนนักท่องเที่ยว นักเดินทางที่คาดว่าจะเพิ่มจำนวนมากขึ้น

Read More