Home > ฝุ่นพิษ

พ.ร.บ. อากาศสะอาดและนวัตกรรม ความหวัง-ทางออกของปัญหา PM2.5

“ฝุ่นพิษ PM2.5” ยังคงเป็นปัญหาเรื้อรังที่ส่งผลกระทบทั้งต่อสุขภาพและเศรษฐกิจมาอย่างต่อเนื่อง ที่ผ่านมามีความพยายามจากหลายฝ่ายเพื่อหาทางแก้ปัญหาและลดผลกระทบที่เกิดขึ้นให้เบาบางลง และที่ถือเป็นก้าวย่างที่สำคัญและน่าจับตาคือ ความเคลื่อนไหวของภาคประชาชนที่รวมตัวผลักดันร่างพระราชบัญญัติอากาศสะอาดฉบับเครือข่ายอากาศสะอาด (พ.ร.บ. อากาศสะอาด) นำเสนอต่อรัฐสภา เพื่อหวังเป็นเครื่องมือที่จะมาแก้ปัญหา PM2.5 เป็นที่ทราบกันดีกว่าฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน หรือ PM2.5 เป็นมลพิษทางอากาศที่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อสุขภาพและเศรษฐกิจของประเทศอย่างฝังลึก และเป็นสิ่งที่คนไทยกำลังเผชิญอยู่ทุกปี จากการติดตามสถานการณ์ PM2.5 โดยสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศอัตโนมัติของกรมควบคุมมลพิษ จํานวน 64 สถานี ใน 34 จังหวัดทั่วประเทศ พบว่า ในช่วงปี พ.ศ. 2562-2564 สถานการณ์ PM2.5 เฉลี่ย 24 ชั่วโมง สูงเกินเกณฑ์มาตรฐานในช่วงต้นปีและปลายปี โดยเฉพาะในเมืองขนาดใหญ่ที่มีการจราจรหรือบรรทุกขนส่งหนาแน่น เขตอุตสาหกรรม พื้นที่ก่อสร้าง และพื้นที่มีการเผาในที่โล่ง เช่น กรุงเทพมหานครและปริมณฑล แม่ฮองสอน เชียงราย น่าน ลำปาง แพร่ นครสวรรค์ และสระบุรี เป็นต้น โดยแหล่งกำเนิดหลักๆ

Read More

3เอ็ม จัดกิจกรรมอากาศดีสร้างได้ด้วย “แผ่นดักจับสิ่งแปลกปลอมในอากาศ” ป้องกันฝุ่น PM 2.5 นำร่อง 2 โรงเรียน ในเขต กทม.

3เอ็ม ห่วงใยสุขภาพเด็กไทย จัดกิจกรรมอากาศดีสร้างได้ด้วย “แผ่นดักจับสิ่งแปลกปลอมในอากาศ” ป้องกันฝุ่น PM 2.5 นำร่อง 2 โรงเรียน ในเขต กทม. เป็นเวลากว่า 2 ปีแล้ว ที่ฝุ่นพิษ PM. 2.5 เข้ามาอยู่ในชีวิตของคนไทย สร้างผลกระทบต่อคุณภาพอากาศในชีวิตเป็นประจำ แม้ในระหว่างปีที่สถานการณ์เบาบางจนมองไม่เห็นชั้นฝุ่นละอองที่มีขนาดเล็กจิ๋ว แต่ PM 2.5 ไม่ได้จากไปไหน ยังเพิ่มขึ้นสูงเกินค่ามาตรฐาน ปกคลุมในหลายพื้นที่ทั่วประเทศ โดยเฉพาะในเขตพื้นที่ย่านใจกลางเมืองที่วิกฤตหนักซึ่งสามารถพบเห็นในรูปแบบของหมอกควัน ทำให้สภาพอากาศเต็มไปด้วยเชื้อโรคและฝุ่นพิษที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพที่ไม่ควรมองข้าม 3เอ็ม ประเทศไทย ในฐานะผู้นำด้านวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมที่มุ่งสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์คุณภาพสูงเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของทุกคน มีหนึ่งในผลิตภัณฑ์ที่โดดเด่นในตลาดนั้นคือ 3เอ็ม แผ่นดักจับสิ่งแปลกปลอมในอากาศ เพราะฝุ่น PM2.5 มีอยู่รอบตัว ทั้งในอาคาร บ้านเรือน ฟุ้งกระจายอยู่ทั่วไปในชีวิตประจำวันของทุกคน ส่งผลให้ร่างกายอ่อนแอ เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ ที่น่าเป็นห่วงก็คือสุขภาพกลุ่มเด็กเล็กและเด็กวัยเรียน หากได้รับฝุ่น PM 2.5 อย่างต่อเนื่องจะเกิดการสะสมและอาจกลายเป็นปัญหาสุขภาพที่ส่งผลต่อพัฒนาการ และยังทำให้มีความเสี่ยงต่อโรคเรื้อรังในระยะยาว เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ รวมทั้งส่งผลต่อพัฒนาการทางระบบประสาทและความสามารถทางปัญญาของเด็กในอนาคตได้ เพื่อเป็นการต่อยอดความห่วงใย

Read More

ฝุ่นพิษ PM 2.5 กลับมาวิกฤต!! อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพและดวงตา

ช่วงนี้สถานการณ์ฝุ่นพิษ PM 2.5 ได้กลับมาส่งผลกระทบต่อสุขภาพและดวงตาของประชาชนอีกครั้ง ทั้งยังเพิ่มขึ้นสูงเกินค่ามาตรฐานปกคลุมในหลายพื้นที่ทั่วประเทศ โดยเฉพาะในเขตพื้นที่ย่านใจกลางเมืองที่วิกฤตหนัก ซึ่งเราสามารถพบเห็นกันในรูปแบบของหมอกควัน ที่ทำเอาหลายคนกังวลใจในสภาพอากาศที่เต็มไปด้วยเชื้อโรคและฝุ่นพิษที่เป็นอันตราย และเป็นภัยใกล้ตัวต่อร่างกายที่ไม่ควรมองข้าม จักษุแพทย์แห่ง “แว่นท็อปเจริญ” โดย นายแพทย์นพวุฒิ ตรีพรชัยศักดิ์ จึงได้รวบรวมวิธีการดูแลสุขภาพและดวงตามาเน้นย้ำกันอีกครั้งดังนี้ “นอกจากสถานการณ์ไวรัสอันตรายที่เกิดขึ้นทั่วโลกแล้ว ฝุ่นละอองหรือฝุ่นพิษ PM2.5 ในบ้านเราก็ยังเป็นสิ่งที่ต้องเฝ้าระวังให้มาก โดยเฉพาะแหล่งชุมชนที่มีประชากรอาศัยอยู่หนาแน่น มีปริมาณความหนาแน่นจากการเผาไหม้ไอเสียรถยนต์ มีควันจากโรงงานอุตสาหกรรมหรือการเผาขยะในพื้นที่กลางแจ้ง ฝุ่นละอองที่มีค่า PM 2.5 ในปริมาณสูง จะส่งผลทำให้ร่างกายของมนุษย์มีปฏิกิริยากับมลภาวะนี้ได้ชัดเจน ทั้งระบบทางเดินหายใจ ผิวหนัง โดยเฉพาะดวงตา จึงควรระมัดระวังในกลุ่มเสี่ยงทั้งวัยเด็กเล็ก ผู้สูงวัย หรือผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคระบบทางเดินหายใจและหลอดเลือดหัวใจ หอบหืด ภูมิแพ้ ฯลฯ อาจส่งผลให้รู้สึกหายใจลำบาก แสบคันจมูก คันคอ เมื่อสูดฝุ่นเข้าไปสะสมในหลอดลมหรือปอดนานๆ จะส่งผลต่อสุขภาพและเสี่ยงต่อโรคมะเร็งปอดได้ นอกจากนี้ อาจเกิดอาการระคายเคืองหรือแสบคันตาได้ เนื่องจากฝุ่นดังกล่าวที่ลอยอยู่ในอากาศมีอนุภาคเล็กมากกว่า 2.5 ไมครอน จนเราไม่สามารถมองเห็นได้ชัดเจน ฝุ่นละอองจึงสามารถเข้าสู่ร่างกายและดวงตาได้มากกว่าฝุ่นขนาดใหญ่หลายเท่า ซึ่งมีความอันตรายต่อสุขภาพดวงตาเป็นอย่างมาก”

Read More

บทเรียนจากฝุ่นพิษ ถึงเวลาพลังงานสะอาด?

คนไทยเริ่มต้นศักราชใหม่ด้วยความอึมครึมอยู่ไม่น้อย ทั้งสถานการณ์การเมืองที่ยังไม่กระจ่างชัด สภาวะเศรษฐกิจไทยที่ดูดีเพียงตัวเลขในรายงานสรุปผลประจำปี และการคาดการณ์ในแนวบวกไว้ล่วงหน้า แต่ที่สร้างความหวั่นวิตกให้ประชาชนคนไทยในห้วงยามนี้ เห็นจะเป็นปัญหามลพิษฝุ่น PM2.5 ซึ่งกลายเป็นประเด็นทางสังคมให้หลายฝ่ายได้ถกเถียงกันว่าสถานการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นและส่งผลกระทบต่อสุขภาพของผู้คนแล้วนั้น เข้าขั้น “วิกฤต” หรือยัง สถานการณ์ฝุ่น PM2.5 ที่ปรากฏเป็นภาพชัดตั้งแต่ช่วงเดือนมกราคมที่ผ่านมานั้น มีข้อเท็จจริงบางประการที่อาจถูกลืมเลือนหรือเพิกเฉย นั่นคือปัญหาฝุ่นพิษนั้นเคยเกิดขึ้นในสภาพแวดล้อมของไทยมาก่อนหน้า โดยเฉพาะพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล รวมไปถึงเมืองใหญ่ในต่างจังหวัด ทว่า ปี พ.ศ.2562 ปัญหามลพิษฝุ่น PM2.5 กลับฉายภาพชัดเจนมากขึ้น ส่วนหนึ่งน่าจะมาจากภาครัฐได้ทำการติดตั้งเครื่องตรวจวัดมาตรฐานฝุ่น PM2.5 โดยในปีนี้มีการติดตั้งเพิ่มเติมอีก 30 จุด ขณะที่ปีที่ผ่านมามีการติดตั้งไปเพียง 4 จุดเท่านั้น และตัวเลขจากเครื่องวัดมาตรฐานฝุ่น PM2.5 เป็นข้อมูลสำคัญที่ถูกเปิดเผยต่อสาธารณะ อันนำมาซึ่งความตื่นตระหนก ขณะที่อีกเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ปัญหามลพิษฝุ่น PM2.5 ทวีความรุนแรงมากขึ้น น่าจะมาจากการละเลยที่จะใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อมและสภาพอากาศของทุกฝ่าย ฝุ่น PM2.5 เกิดจากหลายสาเหตุ ทั้งการเผาไหม้ของเครื่องยนต์ดีเซล โรงงานอุตสาหกรรม การเผาวัชพืชทางการเกษตรในที่โล่ง การผลิตไฟฟ้า ปฏิกิริยาทางเคมีในอากาศ แม้ว่าแนวทางการแก้ไขปัญหาของภาครัฐในเบื้องต้นจะอยู่ที่ปลายเหตุเสียเป็นส่วนใหญ่ ทั้งการฉีดน้ำเพื่อหวังลดค่าฝุ่น PM2.5 การทำฝนหลวง หรือการเสนอแนวความคิดที่จะให้รถยนต์วิ่งวันคู่วันคี่ ทั้งหมดทั้งมวลดูจะห่างไกลจากคำว่า “การแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน” มากนัก แน่นอนว่า

Read More

ไฟไหม้ฟาง: ฝุ่นพิษเริ่มจาง มาตรการหดหาย

ข่าวความเป็นไปของฝุ่นพิษ PM2.5 ในช่วงเวลาที่ผ่านมา ในด้านหนึ่งได้สร้างความตื่นตัวในประเด็นว่าด้วยสุขภาพให้กับสังคมไทยอย่างเอิกเกริก และส่งผลให้กลไกภาครัฐต้องขยับตัวเร่งแก้ไขสถานการณ์ฝุ่นพิษอย่างต่อเนื่อง ด้วยวิธีการหลากหลาย ซึ่งสะท้อนวิถีความคิดและศักยภาพในการบริหารจัดการของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ข้อเท็จจริงที่น่าสนใจเกี่ยวกับความเป็นไปของสถานการณ์ฝุ่นพิษ PM2.5 ในด้านหนึ่งอยู่ที่ตลอดเวลาที่ผ่านมา สังคมไทยเผชิญกับภาวะมลพิษทางอากาศ และคุณภาพอากาศเลวร้ายมาอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นฝุ่นขนาดใหญ่ PM10 ซึ่งส่วนใหญ่เป็นฝุ่นจากผลของการก่อสร้าง ขณะที่ฝุ่นพิษ PM2.5 ก็เคยปรากฏให้เห็นมาอย่างต่อเนื่องในช่วงหลายปีที่ผ่านมา หากแต่ได้รับการประเมินว่าเป็นเพียงปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในลักษณะ “ตามฤดูกาล” และจะบรรเทาเบาบางลงเมื่อเวลาเปลี่ยนผ่านไป กระบวนทัศน์ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ควบคู่กับสำนึกตระหนักทางสังคมในมิติดังกล่าวทำให้สถานการณ์ฝุ่นพิษ PM2.5 เกิดขึ้นซ้ำซากในแต่ละปี และพร้อมที่จะทวีความหนักหน่วงรุนแรงเพิ่มขึ้นในแต่ละปี ตามปริมาณฝุ่นที่สะสมอยู่ในสภาพแวดล้อม ขณะที่แหล่งที่มาหรือต้นทางแห่งการเกิดฝุ่นพิษ PM2.5 ยังดำเนินไปอย่างเป็นปกติ โดยไม่ได้มีมาตรการระยะยาวในการจัดการที่เป็นรูปธรรมมากนัก ประเด็นที่น่าสนใจจากความพยายามของกลไกภาครัฐในการบริหารจัดการเพื่อแก้ไขสถานการณ์ฝุ่นพิษ PM2.5 ในด้านหนึ่งสะท้อนให้เห็นมิติของการขับเคลื่อนองคาพยพของหน่วยงานราชการ เมื่อการประชุมในระดับคณะรัฐมนตรีมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับกรณีดังกล่าวรวมมากถึง 11 หน่วยงาน ทั้งกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงการคลัง กระทรวงคมนาคม กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กระทรวงพลังงาน กระทรวงมหาดไทย กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงอุตสาหกรรม สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และ สำนักนายกรัฐมนตรี แนวทางและมาตรการในการแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 ในเขตกรุงเทพมหานครปริมณฑล และในพื้นที่จังหวัดต่างๆ ภายใต้กลไกรัฐที่กำกับดูแลเหล่านี้ พยายามระบุว่า กรอบแนวคิด

Read More

มลพิษฝุ่นเมือง: การพัฒนาพร่องการจัดการ

สถานการณ์ฝุ่นละอองพิษ PM2.5 หรืออนุภาคในอากาศขนาดเล็กต่ำกว่า 2.5 ไมโครเมตร (PM2.5) ซึ่งเล็กกว่าเส้นผ่าศูนย์กลางของเส้นผมมนุษย์ถึง 36 เท่า ที่มีปริมาณเกินค่ามาตรฐานที่ปกคลุมในหลายเขตพื้นที่ทั้งในกรุงเทพมหานครและปริมณทล รวมถึงหัวเมืองหลายจังหวัด กำลังเป็นภาพสะท้อนวิกฤตมลภาวะและการควบคุมมลพิษของสังคมไทย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในต้นทุนทางสังคมที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพในระยะถัดไปจากนี้ ความกังวลใจเกี่ยวกับผลกระทบต่อสุขภาพ ที่มีมากกว่าผลต่อระบบทางเดินหายใจ เนื่องจากฝุ่นเหล่านี้เล็กมากพอที่จะดูดซึมเข้ากระแสเลือดผ่านปอดและนำไปสู่โรคหัวใจหรือโรคทางสมอง ก่อให้เกิดความตื่นตระหนกต่อความอันตรายของฝุ่นพิษนี้ จนนำไปสู่ความตื่นตัวในสาธารณชนวงกว้างนำไปสู่การรณรงค์ให้สวมใส่ “หน้ากากอนามัย” ที่กรองอนุภาคขนาดใหญ่กว่า 3 ไมโครเมตร ไปจนถึงการสวมใส่หน้ากากที่สามารถกรองอนุภาคใหญ่กว่า 0.3 ไมโครเมตร หรือ “หน้ากาก N95” เป็นมาตรการระยะเร่งด่วน ภาพของผู้คนสัญจรเดินถนนที่ต้องสวมหน้ากากอนามัยเพื่อป้องกันตัวเองจากฝุ่นพิษ PM2.5 จึงกลายเป็นปรากฏการณ์เจนตาในช่วงกว่า 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา และทำให้สังคมไทยกลายเป็นสังคมปิดปากปิดจมูก นอกเหนือจากที่เป็นสังคมปิดหูปิดตามาในช่วงก่อนหน้าเพิ่มขึ้นไปอีก สาเหตุหลักของการเกิดฝุ่นพิษได้รับการประเมินว่าเป็นผลมาจากฝุ่นที่เกิดจากยานพาหนะ ในกิจกรรมการคมนาคมขนส่ง การผลิตไฟฟ้า การเผาในที่โล่งและอุตสาหกรรมการผลิต ในโรงงานอุตสาหกรรม ที่มีกระบวนการเผาไหม้ไม่สมบูรณ์ และนำไปสู่ปฏิกิริยาเคมีในบรรยากาศโดยมีสารกลุ่มซัลเฟอร์หรือกลุ่มไนโตรเจนและแอมโมเนียเป็นสารตั้งต้น ก่อนที่ซัลเฟอร์ไดออกไซด์และออกไซด์ของไนโตรเจนจากแหล่งกำเนิดต่างๆ จะรวมตัวกันในบรรยากาศและนำไปสู่ฝุ่นละอองพิษ PM2.5 ในเวลาต่อมา ข้อเท็จจริงที่น่าสนใจประการหนึ่งก็คือ ภาวะมลพิษจากฝุ่นพิษ PM2.5 มิได้เป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติที่เพิ่งเกิดขึ้นในประเทศไทยแบบป้องกันไม่ได้ เพราะในความเป็นจริงก่อนหน้านี้ ประเทศไทยเคยเผชิญกับปัญหาดังกล่าวมาแล้วตั้งแต่ช่วงปลายปี 2560

Read More