Home > พลังงานทดแทน

BWG ยกระดับธุรกิจขยะอุตสาหกรรม ลุยปั้นรายได้ “SRF” ขานรับนโยบายลดการปล่อย CO2

บมจ.เบตเตอร์ เวิลด์ กรีน “BWG” ผู้นำอุตสาหกรรมการจัดการขยะอุตสาหกรรม ผุดโปรเจกต์ใหม่ แปรรูปขยะมาใช้เป็นเชื้อเพลิงพลังงานทดแทน ขานรับนโยบายลดการปล่อย ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของรัฐ ตอบโจทย์ด้าน Zero Waste Landfill ตามนโยบาย Bio-Circular-Green Economy (BCG) โดยใช้เชื้อเพลิง SRF ป้อนให้โรงไฟฟ้าขยะอุตสาหกรรมของบริษัทลูก ETC สอดรับเทรนด์พลังงานอุตสาหกรรมสีเขียว ปัจจุบันปริมาณขยะอุตสาหกรรมในประเทศไทยเพิ่มสูงถึง 22 ล้านตันต่อปี โรงงานที่ขึ้นทะเบียนกับกรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม ก็มีมากกว่า 72,000 โรงงานทั่วประเทศ และการกำจัดขยะดังกล่าวด้วยวิธีการฝังกลบ การเผา นั้นยังไม่เพียงพอ ทำให้ยังมีขยะบางส่วนที่ส่งกำจัดอย่างไม่ถูกวิธีจนสร้างมลพิษให้แก่สิ่งแวดล้อมจากปัญหาที่เกิดขึ้นทำให้กระทรวงอุตสาหกรรม โดยกรมโรงงานอุตสาหกรรมและการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เร่งส่งเสริมให้มีการนำขยะอุตสาหกรรมที่เผาไหม้ได้เข้าสู่กระบวนการคัดแยก เพื่อนำมาเป็นเชื้อเพลิงเพื่อผลิตไฟฟ้า สร้างพลังงานทดแทน ตามนโยบายส่งเสริมการส่งออกจากอุตสาหกรรมไทย เพื่อลดการกีดกันทางการค้าที่ไม่ใช่ด้านภาษีจากต่างประเทศ โดยมีการกำหนดเรื่องการใช้พลังงานสีเขียว ภายใต้การจัดการขยะอุตสาหกรรมที่ถูกต้อง และการลดปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศให้น้อยลง ต่อประเด็นดังกล่าว บมจ.เบตเตอร์ เวิลด์ กรีน “BWG” ผู้นำด้านการบริหารจัดการกากอุตสาหกรรม (ขยะอุตสาหกรรม) แบบครบวงจรรายเดียวในประเทศไทยที่ได้รับรองมาตรฐานสากล เล็งเห็นถึงประโยชน์จากการนำขยะอุตสาหกรรมมาแปลงสภาพสร้างมูลค่าเพิ่ม ซึ่งถือเป็นการสอดรับกับเทรนด์โลกที่ให้ความสำคัญกับการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด

Read More

ผู้บริหาร SCN ลุยเก็บหุ้นแม่เพิ่มเข้าพอร์ต ตอกย้ำความเชื่อมั่นนักลงทุน

ผู้บริหาร SCN ลุยเก็บหุ้นแม่เพิ่มเข้าพอร์ต ตอกย้ำความเชื่อมั่นนักลงทุน เดินหน้าธุรกิจพร้อมเติบโตต่อเนื่องตามแผน หัวเรือใหญ่ บมจ. สแกน อินเตอร์ ดร.ฤทธี กิจพิพิธ มองโอกาสโตธุรกิจ ลุยซื้อหุ้นแม่เก็บเข้าพอร์ตเพิ่มจำนวน 400,000 หุ้น ก่อนวันใช้สิทธิครั้งแรก SCN-W3 ตอกย้ำความเชื่อมั่นนักลงทุน และสะท้อนความตั้งใจของผู้บริหารในการดำเนินธุรกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน ดร.ฤทธี กิจพิพิธ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท สแกน อินเตอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ SCN ผู้เชี่ยวชาญด้านธุรกิจก๊าซธรรมชาติ พลังงานทดแทน และขนส่งแบบครบวงจร เปิดเผยว่า ตนได้เข้าซื้อหุ้นเข้าพอร์ตเพิ่มจำนวน 400,000 หุ้น วันที่ 11 มีนาคม 2567 ส่งผลให้จำนวนหุ้นที่ถือครองหลังวันทำรายการมีจำนวน 12,507,204 หุ้น เนื่องจากมั่นใจในพื้นฐานธุรกิจของบริษัทฯ ที่มีอัตราการเติบโตอย่างมีนัยสำคัญ อีกทั้งยังเป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุนมั่นใจในหุ้น SCN

Read More

บี.กริม เพาเวอร์ เดินหน้าขยายพอร์ท “พลังงานทดแทน” ลงทุนโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานลมนอกชายฝั่งในเกาหลีใต้

บี.กริม เพาเวอร์ ลงทุนโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานลมนอกชายฝั่งในเกาหลีใต้ กำลังผลิตรวม 740 เมกะวัตต์ เดินหน้าขยายพอร์ท “พลังงานทดแทน” บริษัท บี.กริม เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) เดินหน้าขยายธุรกิจพลังงานทดแทน ล่าสุดเข้าลงทุนในโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานลมนอกชายฝั่ง (offshore wind power plants) จำนวน 2 แห่ง โดยเข้าซื้อหุ้นใน Nakwol Wind และ Hanbit Wind ในสาธารณรัฐเกาหลี รวมกำลังผลิตติดตั้ง 740 เมกะวัตต์ เพื่อสานต่อการร่วมพัฒนาธุรกิจพลังงานทดแทนในสาธารณรัฐเกาหลี สอดคล้องกับกลยุทธ์การขยายธุรกิจพลังงานที่มั่นคงและยั่งยืนในภูมิภาคเอเชีย มุ่งสู่การปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ในอนาคต ดร.ฮาราลด์ ลิงค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บี.กริม เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า B.Grimm Power Korea Limited บริษัทย่อยที่

Read More

กลุ่มมิตรผลเดินหน้ารับซื้อใบอ้อยเพื่อเปลี่ยนเป็นพลังงานทดแทน หลังเป็นผู้บุกเบิกต่อเนื่องมากว่า 6 ปี

กลุ่มมิตรผลเดินหน้ารับซื้อใบอ้อยเพื่อเปลี่ยนเป็นพลังงานทดแทน หลังเป็นผู้บุกเบิกต่อเนื่องมากว่า 6 ปี พร้อมส่งเสริมการตัดอ้อยสดคุณภาพดีตลอดฤดูหีบ 66/67 กลุ่มมิตรผล เดินหน้าความมุ่งมั่นในการเพิ่มคุณค่าให้วัสดุเหลือใช้ในภาคการเกษตรอย่างต่อเนื่อง รับซื้อใบอ้อยหลังตัดจากเกษตรกรที่ตัดอ้อยสดตลอดฤดูหีบอ้อยปี 66/67 เพื่อส่งเสริมการตัดอ้อยสดและนำใบอ้อยไปใช้เป็นวัสดุในการผลิตไฟฟ้าชีวมวล ซึ่งเป็นโครงการที่ดำเนินงานต่อเนื่องมากว่า 6 ปี โดยที่ผ่านมา กลุ่มมิตรผลได้บุกเบิกแนวทางและปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิตพลังงานทดแทนเพื่อให้สามารถนำใบอ้อยมาใช้เป็นเชื้อเพลิงผลิตไฟฟ้าชีวมวล และมีการรับซื้อใบอ้อยอย่างต่อเนื่องจากเกษตรกรเป็นจำนวนรวมแล้วกว่า 1.7 ล้านตัน สร้างรายได้เสริมให้เกษตรกรกว่า 2.5 พันล้านบาท และในปีนี้ กลุ่มมิตรผลมีเป้าหมายที่จะรับซื้อใบอ้อยอีกกว่า 800,000 ตัน นอกจากการรับซื้อใบอ้อยเพื่อนำไปผลิตเป็นพลังงานทดแทนแล้ว กลุ่มมิตรผลยังมีการดำเนินงานในด้านอื่นๆ อย่างครอบคลุม เพื่อรณรงค์และสนับสนุนให้เกษตรกรตัดอ้อยสดอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่การถ่ายทอดความรู้และแนวทางการทำไร่อ้อยสมัยใหม่ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนให้กับเกษตรกร ตามหลัก “มิตรผล โมเดิร์นฟาร์ม” โดยนำความรู้ นวัตกรรม เทคโนโลยีและเครื่องจักรกลการเกษตรมาใช้เพื่อช่วยเกษตรกรในการลดต้นทุน ลดการใช้ปุ๋ยและน้ำ ควบคู่ไปกับการเพิ่มจำนวนรถตัดอ้อย รถอัดก้อนใบอ้อย และการรับซื้อใบอ้อยหลังตัดจากเกษตรกรหลังจากที่ได้แบ่งส่วนหนึ่งไว้ใช้คลุมดินเพื่อเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้กับดิน ซึ่งจะนำไปสู่การสร้างสมดุลสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน นอกจากนี้ กลุ่มมิตรผลยังได้สร้างสรรค์แคมเปญการสื่อสาร เพื่อเข้าถึงกลุ่มเกษตรกรชาวไร่อ้อยมากยิ่งขึ้น ด้วยกิจกรรม “กลุ่มมิตรผลสนับสนุนตัดอ้อยสด” รณรงค์ให้เกษตรกรชาวไร่อ้อยคู่สัญญาตัดอ้อยสดผ่านการสื่อสารด้วยสติกเกอร์ข้อความโดนใจ ดีไซน์สีสันสดใส ตัวอักษรโดดเด่นสะดุดตา เพิ่มรอยยิ้มให้เกษตรกร และยังได้สนับสนุนชาวไร่อ้อยให้เข้าร่วมประกวดศิลปะท้ายรถบรรทุกอ้อยสด กับ

Read More

“ถึงเวลาพลังงานทางเลือก เป็นพลังงานทางรอด” เคทีซีจับมือกรมพัฒนาพลังงานทดแทนฯ และเอสซีจี เปิดเวที KTC FIT Talk #10

เคทีซี ผู้นำธุรกิจสินเชื่อเพื่อผู้บริโภค จับกระแสรักษ์โลก จัดงานเสวนา KTC FIT Talks ครั้งที่ 10 ในหัวข้อ “ถึงเวลาพลังงานทางเลือก เป็นพลังงานทางรอด” เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องให้กับประชาชน โดยเชิญตัวแทนภาครัฐและภาคธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับพลังงานทดแทน ร่วมเปิดมุมมองต่อพลังงานทางเลือก แนวโน้มของการใช้งานรถพลังงานไฟฟ้าและโซลาเซลล์ในประเทศไทย รวมถึงโอกาสในการเข้าถึงพลังงานทางเลือกในระดับครัวเรือน และสิทธิพิเศษเพื่อแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายสมาชิกบัตรเครดิตและผู้บริโภค นายวัชรินทร์ บุญฤทธิ์ ผู้อำนวยการกองพัฒนาพลังงานแสงอาทิตย์ กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) กล่าวว่า “กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน ดำเนินการส่งเสริม สนับสนุนการผลิตและการใช้พลังงานทดแทนอย่างต่อเนื่อง ตามแผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก พ.ศ. 2561-2580 (AEDP 2018) โดยกำหนดเป้าหมายการใช้พลังงานทดแทนที่ร้อยละ 30 ภายในปี พ.ศ. 2580 และมุ่งให้ความสำคัญกับการพัฒนาพลังงานทดแทน ทั้งในส่วนของพลังงานไฟฟ้า พลังงานความร้อน และเชื้อเพลิงในภาคขนส่ง ซึ่งขับเคลื่อนผ่านมาตรการต่างๆ” “นอกจากนี้ กระทรวงพลังงานยังจัดทำแผนพลังงานชาติฉบับใหม่ ที่มีเป้าหมายการมุ่งสู่ Carbon Neutrality 2050 หรือความเป็นกลางทางคาร์บอน ซึ่งหมายถึงการลด ดูดซับ

Read More

บี.กริม เพาเวอร์ ขยายการลงทุนธุรกิจโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ในมาเลเซีย

บี.กริม เพาเวอร์ ขยายการลงทุนธุรกิจโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ในมาเลเซีย รวมกำลังผลิต 90 เมกะวัตต์ รุกขยายพอร์ต “พลังงานทดแทน” มุ่งสู่เป้าหมาย Net Zero ดร.ฮาราลด์ ลิงค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บี.กริม เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ BGRIM เปิดเผยว่า ตามที่ บี.กริม เพาเวอร์ ได้เข้าลงทุนในธุรกิจด้านพลังงานทดแทนในประเทศมาเลเซีย โดย B.Grimm Power (Malaysia) Sdn. Bhd. หรือ B.Grimm Malaysia (บริษัทย่อยที่ บี.กริม เพาเวอร์ ถือหุ้น 100%) ได้ชำระค่าจองซื้อหุ้นในส่วนแรก เพื่อได้มาซึ่งหุ้นของ reNIKOLA Holdings Sdn. Bhd. ในสัดส่วน 45% ล่าสุด reNIKOLA Holdings Sdn.

Read More

บี.กริม เพาเวอร์ เผยผลงานปี 2565 รายได้เพิ่ม 33.8% ลุยเพิ่มสัญญาซื้อขายไฟฟ้ากับพันธมิตร ชูยุทธศาสตร์ GreenLeap ขยายพอร์ต “พลังงานทดแทน”

บี.กริม เพาเวอร์ เผยผลงานปี 2565 รายได้เพิ่ม 33.8% ลุยเพิ่มสัญญาซื้อขายไฟฟ้ากับพันธมิตรชั้นนำทั้งในและต่างประเทศ ชูยุทธศาสตร์ GreenLeap ขยายพอร์ต “พลังงานทดแทน” สร้างการเติบโตในอนาคต ดร. ฮาราลด์ ลิงค์ ประธาน บี.กริม และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บี.กริม เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ BGRIM หนึ่งในบริษัทพลังงานเอกชนชั้นนำของประเทศไทย ที่โดดเด่นในด้านการผลิตไฟฟ้าอุตสาหกรรมและไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนในประเทศและต่างประเทศ เปิดเผยว่า ผลประกอบการไตรมาสที่ 4 ปี 2565 มีรายได้รวมเพิ่มขึ้น 12.3% เป็น 14,579 ล้านบาท จากช่วงเดียวกันของปีก่อน จากการเพิ่มขึ้นของรายได้โรงไฟฟ้าสำหรับภาคอุตสาหกรรม (Small Power Producer หรือ SPP) ทั้งในส่วนที่ขายไฟฟ้าให้ แก่ กฟผ. และลูกค้าอุตสาหกรรม (IU) จากการเพิ่มขึ้นของราคาก๊าซธรรมชาติและการปรับขึ้นของค่า Ft

Read More

โซลาร์เซลล์ครัวเรือน แสงสะท้อนความตื่นตัวของภาครัฐ

ในที่สุดนโยบายพลังงานทดแทนของรัฐบาลชุดปัจจุบันมีความชัดเจนขึ้น เมื่อกระทรวงพลังงานจัดทำกรอบนโยบายโครงการโซลาร์ภาคประชาชนเสร็จสิ้นเมื่อปีที่ผ่านมา อีกทั้งยังออกข้อกำหนดกฎระเบียบเพื่อออกเป็นประกาศสำหรับการซื้อขายไฟฟ้า โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นภาคครัวเรือนทั่วประเทศ เมื่อวันที่ 20 มีนาคม ที่ผ่านมา คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) เปิดตัวโครงการ “โซลาร์ภาคประชาชน” นำร่อง 100 เมกะวัตต์แรกที่เจ้าของบ้านและอาคารที่อยู่อาศัยซึ่งเข้าร่วมโครงการ โดยการไฟฟ้าฝ่ายผลิตจะรับซื้อในส่วนที่เหลือใช้เข้าสู่ระบบในราคาไม่เกิน 1.68 บาทต่อหน่วย ซึ่งมีระยะเวลารับซื้อ 10 ปี พร้อมเปิดโอกาสให้ผู้สนใจลงทะเบียนและรับข้อเสนอในเดือนพฤษภาคม 2562 การเปิดตัวโครงการของกระทรวงพลังงานน่าจะทำให้ประชาชนจำนวนไม่น้อยที่ตระหนักและเห็นคุณค่าของพลังงานทางเลือกและดำเนินการติดตั้งแผงโซลาร์บนหลังคาบ้านของตัวเองยิ้มออก เมื่อโครงการดังกล่าวเป็นการแสดงให้เห็นถึงความตื่นตัวของภาครัฐต่อนโยบายพลังงานทดแทน ทั้งที่ก่อนหน้านี้ ท่าทีของกระทรวงพลังงานสร้างความไม่พอใจให้แก่นักลงทุนไม่น้อย เมื่อภาครัฐกลับลำให้ชะลอการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนในช่วงเวลา 5 ปี (พ.ศ. 2562-2565) โดยมีเหตุผลว่า กำลังการผลิตไฟฟ้าเพียงพอต่อความต้องการแล้ว ซึ่งดูจะสวนทางกับความพยายามที่จะก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานถ่านหิน ความไม่พอใจของนักลงทุนที่เกิดขึ้นน่าจะมาจากก่อนหน้านี้มีการออกนโยบายของภาครัฐเกี่ยวกับพลังงานทดแทน ที่ภาครัฐเคยประกาศใช้แผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก พ.ศ. 2558-2579 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ประเทศไทยสามารถพัฒนาพลังงานทดแทนให้เป็นพลังงานหลักของประเทศทดแทนการนำเข้าน้ำมันได้ในอนาคต เสริมสร้างความมั่นคงด้านพลังงานของประเทศ สนับสนุนอุตสาหกรรมการผลิตเทคโนโลยีพลังงานทดแทนในประเทศ และเพื่อวิจัยพัฒนาส่งเสริมเทคโนโลยีพลังงานทดแทนสัญชาติไทยให้สามารถแข่งขันในตลาดสากล นั่นทำให้นักลงทุนจำนวนไม่น้อยเริ่มหันมาลงทุนกับโครงการพลังงานทางเลือก ทั้งพลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม พลังงานน้ำ แต่ทุกอย่างต้องหยุดชะงัก นักวิเคราะห์หลายคนให้ความเห็นต่อกรณีดังกล่าวและใช้คำว่า “ความแน่นอนคือความไม่แน่นอน” เพื่อปลอบใจตัวเอง ทั้งนี้ ศิริ จิระพงษ์พันธ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยรายละเอียดเกี่ยวกับโครงการโซลาร์ภาคประชาชนว่า

Read More

บ้านปู อินฟิเนอร์จี และภูเก็ตพัฒนาเมือง ประกาศความร่วมมือในโครงการ พลังงานทดแทน ภายใต้แผนพัฒนาภูเก็ตสมาร์ทซิตี้

บริษัท บ้านปู อินฟิเนอร์จี จำกัด ผู้ให้บริการด้านการวางระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์แบบครบวงจร ด้วยเทคโนโลยีสะอาดและทันสมัย หนึ่งในบริษัทลูกของบริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) ผู้นำธุรกิจพลังงานแบบครบวงจรแห่งเอเชียแปซิฟิก และบริษัท ภูเก็ตพัฒนาเมือง จำกัด (Phuket City Development: PKCD) วิสาหกิจเพื่อสังคมที่เกิดจากการรวมกลุ่มของผู้ประกอบการในภูเก็ต เพื่อพัฒนาเมืองให้เติบโตอย่างชาญฉลาด ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ ในโครงการ “พัฒนาพลังงานทดแทน ภายใต้แผนพัฒนาภูเก็ตสมาร์ทซิตี้” เพื่อร่วมกันผลักดันแผนพัฒนาภูเก็ตสู่การเป็นสมาร์ทซิตี้ ตอบรับนโนบายพลังงาน 4.0 ของรัฐบาล ผ่านการพัฒนาและส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทน โดยภายใต้ความร่วมมือครั้งนี้ บ้านปู อินฟิเนอร์จี และภูเก็ตพัฒนาเมือง จะร่วมกันศึกษาความเป็นไปได้ในการวางระบบไมโครกริด ด้วยการนำระบบจัดเก็บพลังงานด้วยแบตเตอรี่มาใช้ในพื้นที่ที่เหมาะสมในจังหวัดภูเก็ต ติดตั้งระบบแผงโซลาร์เซลล์บนหลังคา(โซลาร์รูฟท็อป) เพื่อให้เกิดการใช้ไฟฟ้าที่คุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด พร้อมศึกษาความเป็นไปได้ในการนำรถโดยสารที่ขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้า (Electric Vehicle) เพื่อความทันสมัย และส่งเสริมคุณภาพชีวิตของประชาชน นางสมฤดี ชัยมงคล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) และกรรมการ บริษัท บ้านปู

Read More

พลังงานทดแทน ภาระหรือตัวช่วย?

ข่าวการส่งสัญญาณทบทวนนโยบายพลังงานทั้งระบบของ ศิริ จิระพงษ์พันธ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ซึ่งเข้ารับตำแหน่งเมื่อปลายปี 2560 ที่ผ่านมา ในด้านหนึ่งได้ส่งแรงสั่นสะเทือนต่ออุตสาหกรรมพลังงานทดแทน ที่ก่อนหน้านี้ได้รับการคาดหมายว่าจะเป็นธุรกิจที่เติบโตอย่างรวดเร็วจากผลการส่งเสริมของภาครัฐให้ต้องตกอยู่ในภาวะชะงักงันไปโดยปริยาย ขณะเดียวกันกรณีดังกล่าวยังเป็นภาพสะท้อนวิถีทางความคิดว่าด้วยพลังงานของรัฐไทย ที่น่าจับตามองอย่างยิ่งว่า นิยามของพลังงานทดแทนในทัศนะของกลไกผู้กำหนดนโยบายประเมินพลังงานทดแทนในฐานะที่เป็นทางเลือกตัวช่วย หรืออยู่ในฐานะที่เป็นภาระต่อทิศทางการพัฒนาประเทศอย่างไร ความกังวลใจที่เกิดขึ้นกับผู้ลงทุนในโครงการพัฒนาโรงไฟฟ้าและพลังงานทดแทน เป็นผลมาจากข่าวการระงับการรับซื้อไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทนทั้งจากโรงไฟฟ้าขยะ โรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน พลังงานทดแทน พลังงานลม พลังงานแสงอาทิตย์ ที่ก่อนหน้านี้ได้รับการส่งเสริมในฐานะที่เป็นโรงไฟฟ้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและพลังงานสะอาด ภายใต้เหตุผลที่ว่าราคาการรับซื้อไฟฟ้าจากแหล่งผลิตพลังงานทดแทนเหล่านี้ไม่ควรจะอยู่ในอัตราที่สูงกว่าราคาไฟฟ้าจากแหล่งผลิตพลังงานหลัก และไม่ควรเป็นภาระต่อประเทศ กระทรวงพลังงานยังระบุด้วยว่า สถานการณ์ด้านพลังงานของไทยไม่ได้อยู่ในภาวะขาดแคลนไฟฟ้า และมีไฟฟ้าเพียงพอที่จะรองรับกับความต้องการใช้พลังงานในช่วงระยะเวลา 5 ปีข้างหน้า จึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน ที่เป็นโครงการใหม่ๆ ทั้งในรูปแบบโครงการรับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายเล็ก (SPP) และโครงการรับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายเล็กมาก (VSPP) เพิ่มเติม ข้อมูลจากกระทรวงพลังงานระบุว่า ในปี 2560 ที่ผ่านมา มีโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนเข้าสู่ระบบ 7,529 เมกะวัตต์ จากผู้ประกอบการ 7,083 ราย แบ่งเป็นโรงไฟฟ้าขยะชุมชน 189 เมกะวัตต์ โรงไฟฟ้าชีวมวล 3,202 เมกะวัตต์ โรงไฟฟ้าชีวภาพ 377 เมกะวัตต์ โรงไฟฟ้าพลังน้ำ

Read More