Home > โดนัลด์ ทรัมป์

Rare earth หมัดเด็ดของสีจิ้นผิง? ในศึกสงครามการค้า

หากติดตามข่าวความเคลื่อนไหวของสองประเทศมหาอำนาจอย่างสหรัฐฯ และจีน ที่ตอบโต้กันบนเวทีโลก โดยเฉพาะประเด็นการตั้งกำแพงภาษีสินค้านำเข้าตั้งแต่กลางปีที่ผ่านมา จะเห็นได้ว่าแต่ละยกในศึกครั้งนี้ดูจะไม่มีใครยอมใคร แม้ว่าทั้งสองจะมีโอกาสได้จับมือกันต่อหน้ากล้อง พบปะพูดคุยกันอยู่บ้าง รวมไปถึงการหารือเพื่อเจรจาในข้อตกลงการค้าระหว่างประเทศ อีกทั้งกระแสข่าวที่ถูกตีแผ่ว่า มีความเป็นไปได้ว่าทั้งสองประเทศอาจบรรลุข้อตกลงระหว่างกันในการยุติความขัดแย้งครั้งนี้ ทว่า จนถึงขณะนี้ข้อตกลงที่ทั้งสองฝ่ายจะทำร่วมกันเพื่อยุติสงครามการค้าครั้งนี้ กลับไม่มีท่าทีที่จะประสบความสำเร็จแต่อย่างใด ความล้มเหลวที่เกิดขึ้นกับความพยายามที่จะทำข้อตกลงร่วมกันกลายเป็นภาพชินตาของผู้คนทั่วโลก และท้ายที่สุด จากสงครามการค้าทรานฟอร์มสู่สงครามเทคโนโลยี เมื่อโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ หงายไพ่ใบใหม่เพื่อกดดันจีนด้วยการเล่นงานบริษัทหัวเว่ย โดยมีกูเกิลขานรับนโยบายนี้ทันที ซึ่งจะส่งผลให้โทรศัพท์เคลื่อนที่ของหัวเว่ยไม่สามารถอัพเดตหรือเข้าถึงแอปยอดนิยมอย่างกูเกิลได้ นโยบายดังกล่าวสร้างความวิตกกังวลอย่างมากให้แก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง ทั้งบริษัทคู่ค้ากับหัวเว่ย ผู้บริโภคที่ใช้งานโทรศัพท์เคลื่อนที่ของหัวเว่ย ทว่า ความกังวลนี้ไม่ได้เกิดขึ้นกับซีอีโอของหัวเว่ยแต่อย่างใด เมื่อ Ren Zhengfei กล่าวเพียงว่า หัวเว่ยจะไม่ได้รับผลกระทบจากการประกาศแบนของสหรัฐฯ และนักการเมืองสหรัฐฯ ประเมินความสามารถของหัวเว่ยต่ำเกินไป แม้ว่าคำสั่งดังกล่าวจะถูกระงับไว้เป็นการชั่วคราวอย่างน้อย 90 วัน โดยสหรัฐฯ ให้เหตุผลว่า เพื่อไม่ให้เกิดสภาวะสะดุดระหว่างบริษัทเอกชนสัญชาติอเมริกาที่ทำธุรกิจกับหัวเว่ย ที่ผ่านมา นโยบายและมาตรการต่างๆ ของสหรัฐฯ จะเป็นสิ่งที่ประเทศคู่ค้าไม่ยอมรับ และมีการโต้กลับในรูปแบบที่ไม่แตกต่างกัน เช่น เมื่อสหรัฐฯ ปรับอัตราการเรียกเก็บภาษีสินค้านำเข้าจากจีน ขณะที่จีนไม่นิ่งนอนใจและขึ้นอัตราการเรียกเก็บภาษีสินค้านำเข้าจากสหรัฐฯ ในอัตราที่เท่าเทียมกัน และเมื่อสหรัฐฯ ปรับหมากเดินเกม รวมไปถึงเป็นผู้เปลี่ยนหน้าเกมในศึกครั้งนี้ จากสงครามการค้า สู่สงครามเทคโนโลยี โดยมุ่งเล่นงานที่บริษัทหัวเว่ย ในมุมมองของนักการเมืองฟากฝั่งโดนัลด์

Read More

สงครามการค้าจีน-สหรัฐฯ กับหมากตัวใหม่ของทรัมป์

การฟาดฟันด้วยกำแพงภาษีระหว่างจีนกับสหรัฐฯ เริ่มขึ้นตั้งแต่กลางปี พ.ศ. 2561 ภายใต้การนำทัพของประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ ซึ่งสหรัฐฯ เพิ่มอัตราภาษีสินค้านำเข้าจากจีนเป็น 25% มูลค่า 34,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และทำให้จีนต้องตอบโต้กลับด้วยอัตราภาษีนำเข้าจากสหรัฐฯ ด้วยมูลค่าที่เท่ากัน การตอบโต้กันระหว่างสองประเทศยังคงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าจะมีการพูดคุยเจรจาระหว่างสองผู้นำยามที่ต้องเข้าร่วมประชุมในระดับนานาชาติ แต่ดูเหมือนว่าการเจรจาในแต่ละครั้งจะให้ผลที่หาความแน่นอนไม่ได้ นโยบายการปรับขึ้นภาษีสินค้านำเข้าจากจีน หรือจากประเทศคู่ค้าอื่นๆ ของสหรัฐฯ นั้น ส่วนหนึ่งมาจากนโยบายในช่วงหาเสียงของทรัมป์ ที่ต้องการสร้างงานให้เกิดขึ้นในประเทศ ภายใต้แนวความคิดที่ว่า “America First” ด้วยหวังว่าผู้ประกอบการจะย้ายฐานการผลิตเข้ามาในสหรัฐฯ จากมาตรการดังกล่าวที่สหรัฐฯ ประกาศใช้ ส่งผลให้มีผู้ประกอบการบางรายกำลังตัดสินใจที่จะย้ายฐานการผลิตมายังสหรัฐฯ ทว่าก็ยังไม่ใช่ทั้งหมด นอกจากนี้ การขึ้นอัตราภาษีสินค้านำเข้าของสหรัฐฯ เป็นเพราะความต้องการที่จะสร้างสมดุลทางการค้า เพราะก่อนหน้านี้สหรัฐฯ มีปัญหาการขาดดุลการค้า โดยทรัมป์มองว่าสหรัฐฯ ไม่ได้รับความเป็นธรรมเรื่องการค้าระหว่างประเทศ และอีกเหตุผลหนึ่งที่ทรัมป์ยังคงดำเนินการสร้างกำแพงภาษีอย่างต่อเนื่อง น่าจะเป็นเพราะความพยายามสร้างผลงานก่อนการเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้นในศักราชหน้า จนถึงตอนนี้สหรัฐฯ รีดอัตราภาษีสินค้านำเข้าจากจีนเพิ่มขึ้นคิดเป็นมูลค่าราว 250,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และการโต้กลับของจีนด้วยการเรียกเก็บภาษีสินค้านำเข้าจากสหรัฐฯ เป็นมูลค่ารวม 110,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ถึงจุดนี้ การรีดภาษีสินค้านำเข้าจากจีนของสหรัฐฯ ดูจะยังไม่สิ้นสุดลงง่ายๆ แม้ทั้งสองฝ่ายจะมีความพยายามเจรจาเพื่อหาข้อยุติกรณีพิพาทดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง และสหรัฐฯ อาจเรียกเก็บภาษีสินค้านำเข้าในอัตราที่สูงขึ้น

Read More

จับตาเศรษฐกิจจีนทรุด ระวังอาฟเตอร์ช็อกทั่วโลก

เป็นที่ทราบกันดีกว่า จีน เป็นหนึ่งในประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจของโลก รองจากสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีมูลค่าทางเศรษฐกิจประมาณ 13 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 1 ใน 3 ของเศรษฐกิจโลก ทว่าตั้งแต่กลางปี 2018 เป็นต้นมา เศรษฐกิจในประเทศจีนส่งสัญญาณการชะลอตัวอย่างเห็นได้ชัด สาเหตุหนึ่งที่สร้างแรงสั่นสะเทือนต่อเศรษฐกิจจีน คือ การต่อกรกับสหรัฐฯ ในสงครามการค้า แม้ว่าจีนจะอยู่ในฐานะประเทศมหาอำนาจอันดับสองรองจากสหรัฐฯ ทว่าอำนาจเจรจาต่อรองที่จีนมีไม่สามารถสร้างความได้เปรียบให้แก่ตัวเองได้เลย เมื่อมูลค่าการนำเข้าสินค้าจีนของสหรัฐฯ มีมูลค่าสูงถึง 5 แสนล้านดอลลาร์ แต่เมื่อพิจารณามูลค่าการนำเข้าสินค้าสหรัฐฯ ของจีนนั้น มีเพียง 2 แสนล้านดอลลาร์ นี่เองที่เป็นข้อจำกัดของจีนในการที่จะโต้ตอบสหรัฐฯ ด้วยกำแพงภาษี แม้ล่าสุดการเจรจาการค้าระหว่างประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา โดนัลด์ ทรัมป์ และประธานาธิบดี สีจิ้นผิง เมื่อสัปดาห์สุดท้ายของเดือนกุมภาพันธ์ จะได้ข้อสรุปว่า สหรัฐฯ จะเลื่อนการปรับเพิ่มอัตราภาษีนำเข้าสินค้าจากจีนมูลค่า 2 แสนล้านดอลลาร์ เป็น 25 เปอร์เซ็นต์ จากเดิม 10 เปอร์เซ็นต์ ออกไปจากกำหนดเดิมที่จะมีการบังคับใช้ในวันที่ 1 มีนาคม ซึ่งทรัมป์ได้ทวีตข้อความว่า

Read More

ดาบหน้าของผู้อพยพ กับมนุษยธรรมของประเทศมหาอำนาจ

ภาพผู้อพยพแตกฮือวิ่งหนีหลบแก๊สน้ำตาที่เจ้าหน้าที่สหรัฐอเมริกายิงใส่ เพื่อสกัดกั้นไม่ให้เหล่าผู้อพยพผ่านเข้ามาจนถึงชายแดนสหรัฐฯ ได้ หลังผู้อพยพพยายามข้ามรั้วพรมแดนเมืองตีฮัวนา ประเทศเม็กซิโก เพื่อหวังจะขอลี้ภัย เหตุการณ์ความโกลาหลนี้เกิดขึ้นเมื่อวันอาทิตย์ที่ 25 พฤศจิกายนที่ผ่านมา หลังจากที่จำนวนผู้อพยพเพิ่มจำนวนมากขึ้นเป็นหลายพันคน พร้อมการประกาศกร้าวจากผู้นำสหรัฐฯ โดนัลด์ ทรัมป์ ว่าจะไม่ยินยอมให้ผู้อพยพผ่านเข้ามาในประเทศได้เด็ดขาด หญิงสาวยึดมือลูกของเธอแน่นขึ้นเพื่อให้แน่ใจว่าลูกของเธอทั้งสองคนจะไม่มีใครหลุดมือหรือพลัดหลงไปในขณะที่กำลังกระเสือกกระสนวิ่งหนีแก๊สน้ำตา เป็นภาพที่ถูกเผยแพร่ในหลายสื่อ สร้างความรู้สึกเศร้าสลดหดหู่ใจไม่น้อย พร้อมเกิดคำถามว่า การกระทำดังกล่าวของประเทศมหาอำนาจ รุนแรงและไร้มนุษยธรรมเกินไปหรือไม่ ภายหลังคำสั่งอย่างเป็นทางการจากประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ ให้ส่งทหารกว่า 5,000 นายไปยังพรมแดนเม็กซิโก เพื่อสนับสนุนภารกิจของหน่วยป้องกันชายแดน สหรัฐอเมริกาเป็นจุดหมายปลายทางของผู้อพยพจากหลายประเทศ ในแต่ละปีมีผู้อพยพที่แสดงความประสงค์จะขอเป็นผู้ลี้ภัยจำนวนไม่น้อย โดยเฉพาะปีนี้สถานการณ์จำนวนผู้อพยพจากกลุ่มประเทศอเมริกากลางจะเพิ่มจำนวนมากขึ้นจากหลักร้อยเป็นหลายพันคน โดยเฉพาะผู้อพยพที่เดินเท้ามาจาก 3 ประเทศนี้ ได้แก่ กัวเตมาลา เอลซัลวาดอร์ และฮอนดูรัส ซึ่งเหตุผลที่ผู้อพยพเหล่านี้ตัดสินใจทิ้งบ้านเกิดเมืองนอนและเดินทางมายังสหรัฐฯ เพราะปัญหาความยากจน ปัญหาอาชญากรรมที่รุนแรงในประเทศของตัวเอง แน่นอนว่า “การไปตายเอาดาบหน้า” อาจไม่ใช่ทางเลือกที่ดีนักในห้วงยามนี้ กระนั้นเมื่อเปรียบเทียบกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นภายในประเทศของผู้อพยพ ทางเลือกที่ว่า น่าจะมีเปอร์เซ็นต์รอด หรืออาจมีหนทางไปสู่ชีวิตที่ดีขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ คำถามเรื่องมนุษยธรรมของสหรัฐฯ ที่มีต่อผู้อพยพไม่ใช่เพียงแค่จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นล่าสุดเท่านั้น เพราะเมื่อช่วงกลางปี โดนัลด์ ทรัมป์ ผู้นำสหรัฐฯ พยายามอย่างยิ่งยวดที่จะผลักดันให้เกิดการใช้นโยบาย “ความอดทนเป็นศูนย์” กับผู้อพยพ หรือให้เข้าใจง่ายๆ คือ

Read More

เยรูซาเลม: สันติภาพบนระเบิดเวลาลูกใหม่

การประกาศยอมรับและรับรองนครเยรูซาเลมเป็นเมืองหลวงของอิสราเอล โดย Donald Trump ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา เมื่อไม่นานมานี้ นอกจากจะส่งผลกระทบต่อเนื่องในวงการเมืองระหว่างประเทศ โดยเฉพาะกระบวนการสันติภาพในตะวันออกกลางแล้ว กรณีดังกล่าวดูเหมือนจะเป็นระเบิดเวลาครั้งใหม่ที่พร้อมรอการจุดชนวนและส่งผลสะเทือนในวงกว้างอย่างที่ไม่มีผู้ใดคาดการณ์ถึงผลที่จะติดตามมาได้ ท่วงทำนองของโดนัลด์ ทรัมป์ ในครั้งนี้ นับเป็นการปรับเปลี่ยนจุดยืนและแนวทางแห่งนโยบายต่างประเทศของสหรัฐฯ ที่ดำเนินมาเป็นเวลาหลายทศวรรษ ในกรณีว่าด้วยสันติภาพในตะวันออกกลาง ที่ดูจะมีจุดศูนย์กลางแห่งความขัดแย้งอยู่ที่กรณีพิพาท อิสราเอล-ปาเลสไตน์ ไปอย่างสิ้นเชิง หากแต่ในอีกมิติหนึ่ง การประกาศรับรองสถานะของนครเยรูซาเลม เป็นการดำเนินนโยบายของประธานาธิบดีทรัมป์ ตามที่เคยประกาศไว้ระหว่างการหาเสียงว่าจะย้ายสถานทูตสหรัฐฯ จากกรุงเทล อาวีฟ ไปยังนครเยรูซาเลม ซึ่งเป็นสิ่งที่อิสราเอลปรารถนามาเป็นเวลานาน ภายใต้เหตุผลของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ที่ระบุว่าเขากำลังจะนำพาให้เกิด “ข้อตกลงสุดท้าย” ของสันติภาพขึ้น แต่ดูเหมือนว่าท่าทีและการตอบสนองจากทั่วทุกสารทิศกลับเป็นไปในทางตรงกันข้าม และเต็มไปด้วยความรู้สึกกังวลไม่เห็นด้วยกับท่าทีล่าสุดของทรัมป์ในครั้งนี้ โดยวลาดิเมียร์ ปูติน ประธานาธิบดีแห่งรัสเซีย ถึงกับระบุว่าการที่ทรัมป์ยอมรับให้เยรูซาเลมเป็นเมืองหลวงของอิสราเอล เป็นการทำลายกระบวนการสันติภาพในตะวันออกกลาง ซึ่งเป็นภูมิภาคที่มีบริบทและปัจจัยทางการเมืองละเอียดอ่อนมากอยู่แล้ว ให้อยู่ในภาวะแหลมคมและสุ่มเสี่ยงยิ่งขึ้นไปอีก พร้อมกับระบุว่าสถานะของเยรูซาเลม ควรเป็นไปตาม “ฉันทามติ” ระหว่างอิสราเอลกับปาเลสไตน์ ภายใต้กระบวนการเจรจาบนพื้นฐานของมติสหประชาชาติ มากกว่าการประกาศยอมรับฝ่ายเดียวดังที่สหรัฐอเมริกาดำเนินการอยู่ นอกจากนี้ ปูตินยังเน้นย้ำด้วยว่าอิสราเอลและปาเลสไตน์ควรกลับเข้าสู่กระบวนการเจรจาโดยเร็วที่สุด เพื่อปรับความเข้าใจและคลี่คลายความขัดแย้งในทุกประเด็น ซึ่งรวมถึงสถานะของเยรูซาเลมด้วย มูลเหตุที่ทำให้การประกาศรับรองเยรูซาเลมเป็นเมืองหลวงของอิสราเอล กลายเป็นประเด็นร้อนในทางการเมืองระหว่างประเทศ และกำลังส่งผลกระทบต่อสันติภาพของโลกในวงกว้าง ในด้านหนึ่งเป็นผลสืบเนื่องทางประวัติศาสตร์ที่นครศักดิ์สิทธิ์ในนาม เยรูซาเลม แห่งนี้ถือเป็นหัวใจแห่งความขัดแย้งระหว่างอิสราเอล-ปาเลสไตน์ ที่ดำเนินยืดเยื้อต่อเนื่องยาวนาน ไม่เพียงเพราะเยรูซาเลมมีความสำคัญเกี่ยวข้องทางศาสนาและมีสถานที่ศักดิ์สิทธิ์หลายแห่งสำหรับชาวยิว

Read More