Home > เศรษฐกิจ

รายงานล่าสุดของ ‘แกรนท์ ธอนตัน’ ชี้เศรษฐกิจไทยเติบโตแบบก้าวกระโดด

รายงานธุรกิจระหว่างประเทศ (International Business Report: IBR) สำหรับครึ่งแรกประจำปี 2566 ที่จัดทำโดยแกรนท์ ธอนตัน ชี้ให้เห็นถึงการปรับตัวสูงขึ้นอย่างก้าวกระโดดของสภาพเศรษฐกิจ รวมถึงความเชื่อมั่นของภาคเอกชนทั้งในระดับโลกและในประเทศไทยโดยเฉพาะความวิตกกังวลเกี่ยวกับเงินเฟ้อที่ลดลง โดยรายงานฉบับนี้ได้รวบรวผลการสำรวจและการสัมภาษณ์ธุรกิจในตลาดระดับกลางอย่างละเอียดเพื่อนำมาใช้ในการวิเคราะห์แนวโน้มและเงื่อนไขทางธุรกิจที่คาดหวังในช่วง 12 เดือนต่อจากนี้ รายงานธุรกิจระหว่างประเทศครึ่งแรกประจำปี 2566 ฉบับล่าสุดนี้มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งเพราะเป็นสิ่งที่บ่งชี้ได้อย่างชัดเจนถึงความคาดหวังของบรรดาผู้นำทางธุรกิจต่อการเติบโตอย่างเต็มรูปแบบของอุตสาหกรรมต่าง ๆ ภายหลังสถานการณ์โรคระบาดรวมถึงการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจที่รอคอยมาเป็นเวลานานที่ต้องเลื่อนออกไปครั้งแล้วครั้งเล่าในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาท่ามกลางปัญหาทางภูมิรัฐศาสตร์ เช่น สงครามในประเทศยูเครนและการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีน รวมไปถึงการกลับมาของโรคระบาดระลอกใหม่ เปลี่ยนสู่ทิศทางที่ดีขึ้น คะแนนสุขภาพทางธุรกิจในช่วงเวลาปัจจุบันของกลุ่มธุรกิจขนาดกลางทั่วโลกเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 3.1 นั้นถือเป็นเรื่องน่ายินดีต่อเศรษฐกิจโลก เนื่องจากคะแนนสุขภาพทางธุรกิจของกลุ่มธุรกิจขนาดกลางนั้นติดอยู่ในแดนลบมาตลอดหกเดือนที่ผ่านมา ในส่วนของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก คะแนนสุขภาพธุรกิจที่ผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางเป็นผู้รายงานด้วยตนเองที่ร้อยละ 0.5 ซึ่งเพิ่มขึ้นจากร้อยละ -2.8 ตามรายงานฉบับก่อน (ผลคะแนนคำนวณจากผลรวมค่าเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักของการตอบสนองเชิงบวกและเชิงลบซึ่งอยู่ในช่วง -50 ถึง +50) ทั้งภูมิภาคอาเซียนและประเทศไทยต่างรายงานการฟื้นตัวของตัวชี้วัดต่าง ๆ รวมไปถึงผลรวมในอัตราที่สูงกว่าคะแนนสุขภาพทางธุรกิจข้างต้น ซึ่งปัจจุบันคะแนนสุขภาพทางธุรกิจของภูมิภาคอาเซียนคิดเป็นร้อยละ 9.9 และประเทศไทยคิดเป็นร้อยละ 14.3 ซึ่งจัดอยู่ในเกณฑ์ดีเยี่ยม คะแนนสุขภาพทางธุรกิจของประเทศไทยที่เพิ่มขึ้นอย่างน่าประทับใจถึงร้อยละ 5.5 จากช่วงเวลาก่อนหน้าสะท้อนให้เห็นถึงบรรยากาศการลงทุนที่ดีขึ้น สภาพเศรษฐกิจที่ดีขึ้น และโดยเฉพาะอย่างยิ่งภาพรวมทางธุรกิจที่เป็นเชิงบวกสูงขึ้นอย่างมากตามข้อมูลที่ระบุไว้ในรายงาน ในขณะเดียวกัน ธุรกิจขนาดกลางในประเทศไทยพบว่าข้อจำกัดด้านอุปทานและด้านอุปสงค์เป็นอุปสรรคที่มีนัยสำคัญลดลงกว่าเมื่อหกเดือนก่อน โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 2 และร้อยละ

Read More

สถานการณ์แรงงานไทย ภายใต้บริบทที่เปลี่ยนแปลง

ภาวะเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงอันสืบเนื่องมาจากวิกฤตโควิด-19 ที่ดำเนินมามากกว่า 2 ปี ได้ส่งผลกระทบโดยตรงต่อภาพรวมเศรษฐกิจของประเทศและต่อสถานการณ์ของแรงงานอย่างยากที่จะหลีกเลี่ยง ปี 2563 ปีแรกแห่งวิกฤตโควิด ถือเป็นปีที่ตลาดแรงงานได้รับผลกระทบอย่างหนัก เครื่องยนต์ทางเศรษฐกิจทั้งภาคการท่องเที่ยว การส่งออก การบริโภค และการลงทุน ชะงักงัน หลายบริษัทต้องเลิกจ้างพนักงานหรือแม้กระทั่งปิดกิจการ อีกทั้งมาตรการเยียวยาจากภาครัฐยังไม่ชัดเจนนัก ส่งผลให้ตัวเลขผู้ว่างงานพุ่งสูง โดยมีอัตราการว่างงานอยู่ที่ร้อยละ 1.69 เพิ่มสูงขึ้นจากปี 2562 ที่ร้อยละ 0.98 หรือมีจำนวนผู้ว่างงานประมาณ 6.5 แสนคน ในขณะที่ปี 2564 มีการเรียนรู้และปรับตัว รวมถึงใช้หลักทางเศรษฐศาสตร์เพื่อประคับประคองเศรษฐกิจควบคู่กับมาตรการทางสาธารณสุขเพื่อควบคุมการแพร่ระบาดไปพร้อมกัน ในส่วนของกระทรวงแรงงานได้มีการนำมาตรการต่างๆ มาใช้เพื่อพยุงการจ้างงาน ได้แก่ 1. ลดเงินสมทบ เพื่อเป็นการลดภาระค่าครองชีพผู้ประกันตน ซึ่งพบว่ากว่าร้อยละ 85 สามารถกลับไปทำงานได้ ถ้าไม่มีตรงนี้อาจจะเห็นคนว่างงานพุ่งสูงถึง 2-3 ล้านคน 2. นโยบายภาครัฐที่กระตุ้นการจ้างงานใหม่และการบริโภคภายในประเทศ เช่น จ๊อบ เอ็กซ์โป (Job Expo) ที่จะโฟกัสในกลุ่มของนักศึกษาจบใหม่โดยเฉพาะ รวมถึงโครงการรักษาการจ้างงานของกลุ่มเอสเอ็มอี มาตรการคนละครึ่ง และ ม.33

Read More

ค่าครองชีพ-เงินเฟ้อเพิ่ม เศรษฐกิจโลกชะลอตัว ไทยรับศึกรอบด้าน

บทวิเคราะห์และการประเมินจากนักวิทยาศาสตร์ นักไวรัสวิทยา เกี่ยวกับการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอน เป็นไปในทิศทางเดียวกันว่า นี่อาจเป็นจุดสิ้นสุดของโรคร้ายและนำไปสู่การเป็นโรคประจำถิ่นในที่สุด ถือเป็นความหวังที่ค่อยๆ เรืองรองของประชากรโลก ที่จะได้กลับเข้าสู่สภาวะปกติ หรือกลับมาดำเนินชีวิตได้ตามเดิม ทว่า ปัจจุบันดูเหมือนปัญหาใหม่กำลังเริ่มขึ้น โดยเฉพาะคนไทยที่กำลังต้องรับมือกับภาระทางเศรษฐกิจที่ดูจะทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ในสายตาของประชาชนในระดับฐานรากอาจมองว่าสถานการณ์ครั้งนี้เริ่มเข้าขั้นวิกฤต สถานการณ์ข้าวยากหมากแพงที่กำลังเกิดขึ้นในห้วงยามนี้ ดูเหมือนจะเป็นการซ้ำเติมความชอกช้ำที่ยังไม่ทันจางหายไป ให้มีอาการทรุดหนักลงอีก เมื่อสินค้าอุปโภคบริโภคหลายรายการทยอยขึ้นราคาอย่างต่อเนื่อง เช่นที่กำลังเป็นประเด็นถกเถียงกันตั้งแต่เริ่มต้นศักราชใหม่คือ ปัญหาเนื้อหมูราคาแพง ชนิดที่ว่าร้านอาหารจำนวนไม่น้อยที่ต้องขอยุติกิจการชั่วคราวเพราะไม่อาจแบกรับต้นทุนจากเนื้อหมูไหว และไม่ต้องการที่จะผลักภาระให้แก่ผู้บริโภคที่อยู่ปลายน้ำได้ ในขณะที่ผู้บริโภคเองมีตัวเลือกที่หลีกเลี่ยงการบริโภคเนื้อหมูได้ นอกจากเนื้อหมูที่ปรับราคาสูงขึ้นแล้ว สินค้าอื่นๆ ต่างทยอยปรับราคาไปแล้วเช่นกัน เช่น ไข่ไก่ น้ำมันพืช เครื่องปรุงรส นอกจากสินค้าอุปโภคบริโภคแล้ว ประชาชนยังต้องแบกรับค่าสาธารณูปโภคและค่าเดินทางที่ปรับขึ้นมาแล้ว เช่น ค่าไฟฟ้า และค่าน้ำมัน ค่าขนส่งสาธารณะ ศูนย์วิจัยกสิกรไทยสำรวจพบว่า คนกรุงเทพฯ ที่มีรายได้ต่ำกว่า 15,000 ต่อเดือน เป็นกลุ่มที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด เมื่อเทียบกับกลุ่มรายได้อื่น ซึ่งราว 36% มองว่า มีค่าใช้จ่ายปรับเพิ่มขึ้นกว่า 20% เมื่อเทียบกับช่วงปลายปีก่อนที่จะมีการปรับขึ้นราคาสินค้าต่างๆ ขณะที่คนกรุงเทพฯ ที่มีรายได้ปานกลางถึงสูงจะได้รับผลกระทบที่น้อยกว่าโดยเปรียบเทียบและสามารถรับมือกับสถานการณ์ดังกล่าวได้มากกว่า ทั้งนี้ ค่าครองชีพที่ทยอยปรับสูงขึ้น ส่งผลให้ในระยะสั้น คนกรุงเทพฯ

Read More

สินค้าจ่อคิวบีบขึ้นราคา วัตถุดิบ พิษน้ำมัน สิบล้อฮึ่มกดดัน

หลังเจอวิกฤตหมูแพง ผักแพง ล่าสุด สินค้าอุปโภคบริโภคเริ่มส่งสัญญาณจะปรับราคาทันทีที่เข้าสู่ปี 2565 ท่ามกลางแรงกดดันจากหลายๆ ปัจจัย ทั้งน้ำมัน ค่าไฟฟ้า ต้นทุนวัตถุดิบ รวมถึงปัญหาการเรียกร้องของกลุ่มรถบรรทุกสิบล้อยังไม่ยุติ หลังเปิดยุทธการ Truck Power ล้อมกระทรวงพลังงานไปแล้ว ตามแผนขั้นต่อไปในวันที่ 24 ธันวาคมนี้ สหพันธ์การขนส่งทางบกแห่งประเทศไทยจะยกระดับเรียกร้องกดดันรัฐบาลเรื่องการปรับลดราคาน้ำมันดีเซลให้อยู่ในระดับ 26-27 บาทต่อลิตรอีกครั้ง พร้อมเสนอปรับลดภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซลอีก 1 บาท จากอัตรา 5.99 บาทต่อลิตร เหลือประมาณ 4.99 บาทต่อลิตร หลังจากการเจรจากับกระทรวงพลังงานในฐานะตัวแทนของรัฐบาล ยังยืนยันตามมติคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) ซึ่งเห็นชอบเพดานราคา 28 บาทต่อลิตร รวมระยะเวลา 4 เดือน ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2564 ถึงเดือนมีนาคม 2565 และกระทรวงการคลังยังเสียงแข็งไม่ลดภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซล เบื้องต้น กลุ่มรถบรรทุกวางแผนหยุดเดินรถเพิ่มอีก 50% หรือประมาณ 200,000-250,000 คัน จากก่อนหน้านี้หยุดเดินรถไปแล้ว 20%

Read More

รัฐ-สถาบันการเงิน เร่งออกมาตรการ สกัดหนี้ครัวเรือนพร้อมเสริมสภาพคล่อง

รัฐและสถาบันการเงินเร่งออกมาตรการเสริมสภาพคล่องทางเศรษฐกิจและสกัดหนี้ครัวเรือนที่กำลังอยู่ในภาวะที่น่าเป็นห่วง แม้ว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 จะมีแนวโน้มดีขึ้น จำนวนผู้ติดเชื้อต่อวันเริ่มลดลง แต่ผลกระทบทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นยังคงยืดเยื้อและต้องการการแก้ไขอย่างเร่งด่วน สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือสภาพัฒน์ เปิดเผยว่า ไตรมาส 3/2564 ตลาดแรงงานไทยได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากมาตรการควบคุมการแพร่ระบาด ส่งผลให้อัตราการว่างงานสูงสุดตั้งแต่มีโควิด โดยมีผู้ว่างงาน 8.7 แสนคน คิดเป็นอัตราการว่างงานที่ 2.25% ในขณะที่หนี้ครัวเรือนยังขยายตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง รายงานจากศูนย์วิจัยกสิกรไทยระบุว่า ข้อมูลเงินให้กู้ยืมแก่ภาคครัวเรือนล่าสุดไตรมาส 2/2564 เติบโตต่อเนื่อง ยอดคงค้างหนี้ครัวเรือนไทยไตรมาส 2/2564 ขยับขึ้นมาอยู่ที่ 14.27 ล้านล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 89.3% ต่อ GDP ชะลอลงจากระดับ 90.6% ต่อ GDP สูงสุดในรอบ 18 ปี ที่ทำไว้ในไตรมาส 1/2564 สาเหตุหลักมาจากภาวะเศรษฐกิจที่ยังไม่สามารถขยายตัวได้ในระดับปกติ ซึ่งนั่นย่อมส่งผลกระทบต่อความสามารถในการชำระหนี้ของครัวเรือนและสภาพคล่องทางเศรษฐกิจโดยตรง ตั้งแต่ช่วงต้นปี 2564 ที่ถือเป็นการระบาดของโควิด-19 ระลอกล่าสุด สถาบันการเงินทั้งธนาคารพาณิชย์ นอนแบงก์ และสถาบันการเงินเฉพาะกิจ รวมถึงภาครัฐ ต่างเร่งออกมาตรการเพื่อให้การช่วยเหลือลูกค้าและประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากโควิด ไม่ว่าจะเป็นการปล่อยสินเชื่อเพิ่มติม พักชำระหนี้

Read More

จากจีดีพีติดลบ สู่หนทางฟื้นตัวของเศรษฐกิจ

งวดเข้ามาทุกทีกับช่วงเวลาที่เหลือของศักราชนี้ หลายคนเฝ้ารออย่างมีความหวังว่าปีแห่งความทุกข์ยากนี้จะผ่านพ้นไปเสียที ทั้งสถานการณ์อันเลวร้ายของภาวะโรคระบาด สภาพความถดถอยทางเศรษฐกิจ หรือความแร้นแค้นที่ดูจะเพิ่มพูนขึ้นอย่างไม่อาจปฏิเสธได้ การฝากความหวังไว้กับศักราชใหม่ดูจะไม่ผิดนัก เมื่อสถานการณ์ในหลายด้านเริ่มคลี่คลาย และพอจะมองเห็นสัญญาณที่ดีขึ้น การระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่มีผู้ติดเชื้อรายวันลดลงจนสามารถกลับมาดำเนินชีวิตได้เกือบปกติ ซึ่งเรื่องดีนี้ส่งผลต่อความมั่นใจทั้งของประชาชนในฐานะผู้บริโภค และผู้ประกอบการในทุกอุตสาหกรรม กระนั้นคงไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะพลิกตัวเลขติดลบของจีดีพีไทยในไตรมาส 3/2564 ให้กลับมาบวกในเวลาอันรวดเร็ว เมื่อเศรษฐกิจไทยพึ่งพิงรายได้จากต่างประเทศมากกว่าในประเทศเมื่อคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ เมื่อกลางเดือนพฤศจิกายน 2564 นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้แถลงข่าวเปิดเผยตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ หรือจีดีพี ว่ามีการปรับตัวลดลงร้อยละ 0.3 เมื่อเทียบกับการขยายตัวร้อยละ 7.6 ในไตรมาสก่อนหน้า ขณะที่ตัวเลขจีดีพีในไตรมาส 1/2564 อยู่ที่ -2.6 การปรับลดลงของจีดีพีในไตรมาสปัจจุบันเป็นผลมาจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่รุนแรงในช่วงก่อนหน้า การระมัดระวังในการจับจ่ายของประชาชน หรือการลงทุนภาครัฐและเอกชนที่ลดลง เป็นปัจจัยหลัก เช่น การใช้จ่ายในหมวดสินค้าคงทนลดลงร้อยละ 14.1 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 13.3 ในไตรมาสก่อนหน้า หรือการลงทุนในภาพรวม ลดลงร้อยละ 0.4 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 7.6 ในไตรมาสก่อน ตามการลงทุนภาครัฐที่ลดลงร้อยละ 6.0 ขณะที่การลงทุนภาคเอกชนขยายตัวร้อยละ 2.6 ชะลอลงจากการขยายตัวร้อยละ 9.2

Read More

ภาคเอกชน-ประชาชนเชื่อมั่นบวก เข็นจีดีพีไทยขึ้นภูเขา

นโยบายเปิดประเทศ และการปลดล็อกมาตรการต่างๆ ที่เคยนำมาใช้ในช่วงการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 เป็นสิ่งที่หลายฝ่ายรอคอย ทั้งภาคเอกชนและประชาชน จากมุมมองที่ว่านโยบายและมาตรการที่รัฐบาลพึงใช้ในยามนี้น่าจะเป็นการสร้างให้เกิดแรงขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจในช่วงปลายปีได้เป็นอย่างดี เมื่อดูจากจำนวนเที่ยวบินที่เกิดขึ้นในวันที่เปิดประเทศ (1 พ.ย. 2564) พบว่ามีสายการบินแจ้งทำการบินประมาณ 260 เที่ยวบิน และเป็นเที่ยวบินระหว่างประเทศ 91 เที่ยวบิน มีผู้โดยสารเดินทางมาที่สนามบินสุวรรณภูมิจำนวน 20,083 คน ซึ่งเป็นผู้โดยสารระหว่างประเทศ 6,613 คน นอกจากนี้ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิยังคาดการณ์ว่าตลอดเดือนพฤศจิกายนน่าจะมีเที่ยวบินประมาณ 12,133 เที่ยวบิน เป็นเที่ยวบินระหว่างประเทศ 6,501 เที่ยวบิน สำหรับผู้โดยสารคาดว่าจะมีมากกว่า 7 แสนคน ผู้โดยสารระหว่างประเทศอาจจะมีประมาณ 2.7 แสนคน แม้ว่าการเดินทางของประชาชน กิจกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากภาคเอกชนหลังประกาศใช้นโยบายดังกล่าว เสมือนเป็นการคลายความอัดอั้นของคนไทยจำนวนหนึ่ง แต่ต้องยอมรับว่าพฤติกรรมของผู้บริโภค และผู้ประกอบการส่วนหนึ่งเกิดจากความความเชื่อมั่นในมาตรการของรัฐที่เป็นองค์ประกอบสำคัญ แน่นอนว่าส่งผลโดยตรงต่อการขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจทุกระดับในท้ายที่สุด นายสนั่น อังอุบลกุล ประธานกรรมการหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ในฐานะประธานคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ประกอบด้วย สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสมาคมธนาคารไทย เปิดเผยว่า

Read More

ดีเดย์ “เปิดประเทศ” โค้งสุดท้ายเศรษฐกิจไทย

มาตรการคลายล็อก อันนำไปสู่การเปิดประเทศ คงเป็นสิ่งที่หลายคนรอคอย เพราะนั่นเป็นสัญญาณว่าเครื่องจักรเศรษฐกิจที่สำคัญกำลังพร้อมที่จะขับเคลื่อนอีกครั้ง หลังจากจอดนิ่งสนิทมาอย่างยาวนาน ซึ่งอุตสาหกรรมที่เป็นเสมือนฟันเฟืองหลักของเศรษฐกิจไทยอย่างอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ในสภาวการณ์ปกติรายได้จากภาคอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวคิดเป็นกว่า 20% ของจีดีพี อีกทั้งรายได้จากนักท่องเที่ยวต่างชาติยังสูงถึง 2 ใน 3 ของรายได้ทั้งหมด แน่นอนว่าเมื่อทั่วโลกต้องเผชิญหน้ากับการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ประเทศที่พึ่งพารายได้จากการท่องเที่ยวจึงต้องตกอยู่ในสถานการณ์ที่ยากลำบาก ธุรกิจในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องทั้งหมดหยุดชะงัก แม้ว่านโยบายการเปิดประเทศจะเป็นเสมือนโอกาสในห้วงสุดท้ายของศักราชนี้ ที่จะสร้างเม็ดเงินเพื่อทดแทนรายได้ที่สูญเสียไปให้กลับคืนมา ทว่า ประชาชนภายในประเทศเองยังมีความกังวลอยู่ไม่น้อย โดยกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข เผยผลอนามัยโพลเปิดเมือง เปิดประเทศ 1 พฤศจิกายน 2564 และพบว่าประชาชนร้อยละ 92.4 พื้นที่ท่องเที่ยวใน 17 จังหวัด ยังกังวลกับการเปิดประเทศ พร้อมเน้นย้ำให้ทุกคนเข้มตามมาตรการ Universal Prevention เพื่อลดเสี่ยงการแพร่กระจายของโควิด-19 นายแพทย์สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า จากสถานการณ์การติดและแพร่เชื้อโควิด-19 มีแนวโน้มไปในทางที่ดีขึ้น ด้วยผู้ติดเชื้อรายใหม่มีจำนวนในระดับคงที่ต่อเนื่องกันเป็นระยะเวลาหนึ่ง และผู้ป่วยได้รับการรักษาจนหายเป็นปกติมีแนวโน้มเพิ่มจำนวนมากขึ้น การเปิดพื้นที่นำร่องด้านการท่องเที่ยว 17 จังหวัดจึงเป็นปัจจัยเอื้อให้นักท่องเที่ยวสามารถเดินทางเข้าประเทศได้มากขึ้น เป็นการกระตุ้นในระบบเศรษฐกิจและการจ้างงานในภาพรวมของประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาคธุรกิจท่องเที่ยวและภาคบริการที่เกี่ยวเนื่อง แต่จากข้อมูลการสำรวจอนามัยโพล พบว่า ประชาชนในพื้นที่นำร่องท่องเที่ยวใน 17 จังหวัด

Read More

ความหวัง ความกังวล เศรษฐกิจฟื้นตัว ทางเลือกที่รัฐต้องเสี่ยง?

ปัญหาเศรษฐกิจชะลอตัวของประเทศไทย ณ ปัจจุบันขณะคงไม่ต่างอะไรกับแผลกดทับที่หลายคนคงทำได้แต่ภาวนาว่าขอให้สถานการณ์เลวร้ายที่รายล้อมอยู่ในขณะนี้คลี่คลายลง เศรษฐกิจของประเทศไทยนั้นเผชิญกับปัจจัยลบรอบด้านมานานแรมปี อาทิ ภาวะความถดถอยของการค้าโลก ปัญหาความไม่มั่นคงด้านการเมืองภายในประเทศ และภาวะโรคระบาดที่ดูจะกินเวลามายาวนานถึง 2 ปี ซึ่งปัจจัยหลังน่าจะยังส่งผลต่อเนื่องนานอีกหลายปีทีเดียว แม้ว่าสถานการณ์ผู้ติดเชื้อของไทยจะยังไม่ดีขึ้นมากนัก อาจเรียกได้ว่าเป็นคนป่วยที่ยังอยู่ในอาการทรงๆ เสียมากกว่า กระนั้น ผู้บริหารของไทยคงพิจารณาจากเหตุผลหลายประการด้วยกัน และเห็นชอบกำหนดเวลาเปิดประเทศ ซึ่งธงแห่งความหวังคือ เศรษฐกิจไทยขับเคลื่อนด้วยตัวเองในระยะเวลาที่เหลือของปี แม้จะเป็นความเสี่ยงที่หลายคนยังไม่อาจยอมรับได้ ทว่า เราอาจจำเป็นที่ต้องใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับเชื้อไวรัสที่ยังคงแผงฤทธิ์ต่อไป เฉกเช่นเชื้อโรคระบาดชนิดอื่นๆ ที่เคยเกิดขึ้นก่อนหน้านี้ เช่น โรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ไม่ว่าจะด้วยแรงกดดันจากภาคเอกชนที่มีต่อภาครัฐ หรือเสียงเรียกร้องจากประชาชนผู้ทำมาหากินที่ได้รับผลกระทบ รัฐบาลที่นำโดยพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ตัดสินใจที่จะขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยไปพร้อมๆ กับการเตรียมการรับมือกับสถานการณ์ที่อาจจะปะทุขึ้นอีกในอนาคต โดยมาตรการล่าสุดที่น่าจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจและอาจเพิ่มสัดส่วนจีดีพีไทยให้ขยายตัวมากขึ้น นั่นคือ ภาคอสังหาริมทรัพย์ที่มีสัดส่วนเกือบ 10 เปอร์เซ็นต์ของจีดีพีไทย ซึ่งเมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2564 ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศผ่อนเกณฑ์การกำกับดูแลสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยและสินเชื่ออื่นที่เกี่ยวเนื่องกับสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย (มาตรการ LTV) อีกครั้ง หลังจากที่ได้ผ่อนคลายเกณฑ์บางส่วนไปในช่วงก่อนหน้า รายละเอียดของการผ่อนคลายมาตรการในครั้งนี้คือ 1. ปรับเพดานสัดส่วนสินเชื่อต่อมูลค่าหลักประกันของสัญญาซื้อที่อยู่อาศัยหลังที่สองเป็นต้นไปที่ราคาต่ำกว่า 10 ล้านบาท จากเดิม 70-90% เป็น 100% ขณะที่ในสัญญาซื้อหลังแรกยังคงเดิมอยู่ที่

Read More

โควิดทำเศรษฐกิจไทยช้ำหนัก อุทกภัยซ้ำเติม

โควิด-19 สร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจไทยหากนับเป็นมูลค่าแล้วไม่ต่ำกว่าสิบล้านล้านบาท โดยเฉพาะเชื้อไวรัสโควิดสายพันธุ์เดลตา ตัวแปรสำคัญที่ฉุดให้สถานการณ์โดยรวมทรุดหนักลง และนำมาสู่การล็อกดาวน์ในพื้นที่สีแดงเข้มรวม 29 จังหวัด ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจคิดเป็น 77 เปอร์เซ็นต์ของจีดีพีประเทศ ความเสียหายทางเศรษฐกิจเกิดขึ้นกับทุกหย่อมหญ้า โดยเฉพาะภาคครัวเรือนที่สภาพัฒน์เปิดเผยตัวเลขหนี้ครัวเรือนไตรมาสแรกของปี 2564 ว่ามีมูลค่าหนี้สูงถึง 14.13 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้น 4.6 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของไตรมาสแรกปี 2563 หากคิดเป็นสัดส่วนต่อจีดีพีแล้วพุ่งสูงถึง 90.5 เปอร์เซ็นต์ เมื่อภาคครัวเรือนได้รับผลกระทบความสามารถในการจับจ่ายลดน้อยลง ด้านค้าปลีกสาหัสไม่แพ้กัน เมื่อดัชนีความเชื่อมั่นค้าปลีกในเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมาอยู่ที่ระดับ 16.4 เป็นการลดต่ำสุดในรอบ 16 เดือน ติดลบ 70 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งการลดลงของยอดขายสาขาเดิมเดือนกรกฎาคมปีนี้ การเติบโตของยอดขายจากสาขาเดิมเกิดจากทั้งยอดใช้จ่ายต่อใบเสร็จ และความถี่ในการจับจ่ายลดลงพร้อมกันทั้งคู่ คิดเป็นมูลค่าความเสียหายกว่า 270,000 ล้านบาท และมีกิจการกว่า 100,000 ร้านค้าเตรียมปิดกิจการ แน่นอนว่าส่งผลกระทบต่อการจ้างงานกว่าล้านคน เป็นภาพสะท้อนว่าการฟื้นตัวให้กลับสู่สภาพเดิมอาจต้องใช้เวลา ขณะที่ภาคอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวได้รับผลกระทบมากที่สุด โดยเฉพาะร้านขายของที่ระลึก ธุรกิจสปา นวดแผนไทย สถานบันเทิง และธุรกิจโรงแรม ที่มีการปิดกิจการถาวรมากที่สุด โดยเฉพาะการระบาดในระลอก

Read More