Home > 2017 > พฤษภาคม

Future Energy บนทางเลือกพลังงานไทย

บทบาทของกระทรวงพลังงานในบริบทของสังคมไทยในช่วงที่ผ่านมา ดูจะมีความเคลื่อนไหวที่น่าสนใจติดตามไม่น้อย เพราะนอกจากจะมีประเด็นร้อนว่าด้วย ความพยายามจัดตั้งบรรษัทน้ำมันแห่งชาติ (NOC) ไว้ในส่วนหนึ่งในการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติปิโตรเลียม ของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ก่อนที่การประชุมสนช. เมื่อช่วงปลายมีนาคมจะมีมติให้กระทรวงพลังงานจัดตั้งคณะกรรมการศึกษาการจัดตั้ง NOC ภายใน 60 วันและต้องรู้ผลภายใน 1 ปี การมองหารูปแบบของ NOC ที่เหมาะสมและเป็นไปได้อย่างสอดคล้องกับบริบทของสังคมไทย ทำให้คณะของเจ้ากระทรวงพลังงานไทยต้องเดินทางไปศึกษาดูงานด้านพลังงานไกลถึงนอร์เวย์และเดนมาร์กเมื่อช่วงกลางเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ภารกิจหลักของการดูงานที่นอร์เวย์และเดนมาร์กดังกล่าว แม้ด้านหนึ่งจะเน้นหนักไปที่การหาต้นแบบหรือโมเดลของ NOC ในการบริหารจัดการทรัพยากร และสัมปทานปิโตรเลียม แต่อีกมิติหนึ่งก็คือการแสวงหาหนทางและความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี เพื่อเติมเต็มและพัฒนาไปสู่ทางเลือกของพลังงานทดแทนอื่นๆ ทั้งพลังงานลม ขยะ พลังงานความร้อน ข้อเท็จจริงที่น่าสนใจอีกประการหนึ่งก็คือ นับตั้งแต่วันที่ 10 มิถุนายน-10 กันยายน กระทรวงพลังงานกำลังจะไปแสดงศักยภาพการพัฒนาพลังงานชีวภาพของประเทศไทย ในงาน Astana Expo 2017 ณ กรุงอัสตานา สาธารณรัฐคาซัคสถาน ที่จัดขึ้นภายใต้หัวข้อหลัก “พลังงานแห่งอนาคต” (Future Energy) และหัวข้อย่อยว่าด้วย “Solutions for Tackling Humankind’s Greatest

Read More

บี.กริม รุกคืบจาก CLMV สู่ AEC ยุทธศาสตร์แห่งการพัฒนา

หลังการสร้างความเชื่อมั่นด้วยชื่อชั้นของบริษัท บี.กริม เพาเวอร์ ที่ดำเนินธุรกิจมายาวนานกว่า 100 ปี ประกอบกับการเลือกหมากในการเดินเกมธุรกิจในแต่ละครั้งได้ถูกจังหวะ แม้ว่าเคยล้มลุกคลุกคลานและเจ็บตัวมาไม่น้อยในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจปี 2540 กลับไม่ทำให้ความเชื่อมั่นในการดำเนินธุรกิจลดทอนลงไปแม้แต่น้อย แม้ในช่วงยามนี้ที่ภาวะเศรษฐกิจของไทยยังมองหาเสถียรภาพมั่นคงได้ยากเต็มที กระนั้น บี.กริม ยังคงมุ่งมั่นที่จะขยายธุรกิจโรงไฟฟ้าต่อไป ด้วยยุทธศาสตร์การเลือกทำเลที่ตั้งของโครงการที่นับว่าเป็นการสร้างข้อได้เปรียบให้กับตัวเองไม่น้อย ท่ามกลางสภาวะการแข่งขันในอุตสาหกรรมธุรกิจการไฟฟ้าที่มีทั้งคู่แข่งขันที่เป็นเจ้าตลาดยึดครองพื้นที่ส่วนแบ่งอยู่เดิม และนักลงทุนหน้าใหม่ที่เริ่มเสนอตัวเข้ามาในสนามประลองแห่งนี้ด้วย บี.กริม เพาเวอร์ เลือกปักหมุดโรงไฟฟ้า 13 ในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมของไทยและเวียดนาม ได้แก่ นิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร นิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ สวนอุตสาหกรรมบางกะดี นิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง นิคมอุตสาหกรรมเหมราช และนิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ เบียนหัว ความมั่นใจในศักยภาพและผลงานของ บี.กริม ดูจะเข้าตาบรรดานักลงทุนจากต่างแดน โดยเฉพาะกลุ่มประเทศเพื่อนบ้านไม่น้อย ที่อาจเป็นก้าวย่างสำคัญที่ถือได้ว่าเป็นการปลดล็อกและเปิดโอกาสให้บี.กริม ที่เรียกตัวเองว่าเป็นบริษัทที่ดำเนินธุรกิจโรงไฟฟ้าขนาดเล็ก ได้เข้าไปเป็นผู้ถือสัมปทานและพัฒนาโรงไฟฟ้าในกลุ่มประเทศ CLMV โดยเฉพาะใน สปป.ลาว ที่ความเอื้ออำนวยของทรัพยากรและเป้าประสงค์ของรัฐบาลลาวที่ต้องการจะเป็น Battery of Asean ทำให้บริษัท บี.กริม เพาเวอร์ ได้เข้าไปรับผิดชอบโรงไฟฟ้าพลังงานน้ำใน สปป.ลาวได้หลายโครงการด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นเพราะปณิธานของผู้บริหารอย่าง ฮาราลด์ ลิงค์ ประธานกลุ่มบริษัท บี.กริม

Read More

“เอ็มบาสซี” 24 ชั่วโมง ดัน Open House ดึงเจนใหม่

“เซ็นทรัลเอ็มบาสซี” ฝ่าฟันมรสุมกว่า 3 ปี จากวิสัยทัศน์ของกลุ่มเซ็นทรัลที่ต้องการปักธงประเทศไทยเป็นผู้นำด้านการท่องเที่ยวแบบ “ลักชัวรี่ ไลฟ์สไตล์” เน้นรูปแบบโครงการสไตล์สถาปัตยกรรมเชิงสัญลักษณ์ (Iconic Building) เทียบชั้นมหานครทั่วโลกที่มีงานสถาปัตยกรรมเลื่องชื่อ เหมือนพิพิธภัณฑ์กุกเกนไฮมน์ บิลเบา แห่งสเปน เบิร์จ อัล อาหรับ ดูไบ มารีนา เบย์ แซนด์ สิงคโปร์ และสปรูซ สตรีท แห่งนิวยอร์ก โดยหวังจะปลุกปั้น “เซ็นทรัลเอ็มบาสซี่” เป็นสัญลักษณ์แห่งเมืองที่หากไม่มาชมก็เหมือนมาไม่ถึง เพราะโจทย์การตลาดระดับซูเปอร์ไฮเอนด์ทำให้การเข้าถึงกลุ่มลูกค้ายากขึ้นบวกกับสถานการณ์ต่างๆ ของประเทศ ซึ่งบรม พิจารณ์จิตร ในฐานะกรรมการผู้จัดการ ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเอ็มบาสซี ยอมรับว่าเขาต้องสร้างกลยุทธ์ เขย่าสัดส่วนต่างๆ และเติมเต็มทุกองค์ประกอบ เพื่อขยายฐานลูกค้าระดับพรีเมียมและคนรุ่นใหม่ที่มีกำลังซื้อ กระทั่งงานแถลงข่าว Central Embassy Completion เมื่อต้นเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา บรมประกาศชัดเจนว่า วันนี้เซ็นทรัลเอ็มบาสซีครบสมบูรณ์แล้ว และนั่นอาจหมายถึงเกมการต่อยอดสู่บิ๊กโปรเจ็กต์ของกลุ่มเซ็นทรัลบนที่ดินสถานทูตอังกฤษอีกกว่า 10,000 ตารางวา ซึ่งกลุ่มทุนยักษ์ใหญ่กำลังเปิดศึกประมูลแย่งชิงกันอยู่ “ปลายปีที่ผ่านมาจนถึงล่าสุด เซ็นทรัลเอ็มบาสซีเปิดตัวพื้นที่ใหม่ 3 โซน

Read More

“เซ็นทรัลออนไลน์” แตกเพื่อโต ปรับทัพชิงเม็ดเงินแสนล้าน

กลุ่มเซ็นทรัลต้องปรับทัพธุรกิจออนไลน์อีกครั้ง หลังจากยักษ์ใหญ่ต่างชาติแห่เข้ามาบุกตลาดอีคอมเมิร์ซที่มีมูลค่าเม็ดเงินมากกว่า 2.5 ล้านล้านบาท ไม่ว่าจะเป็น “อีเลฟเว่นสตรีท” จากเกาหลี อาลีบาบา ยักษ์ออนไลน์แดนมังกร หรือ “ลาซาด้า” ซึ่งประกาศตัวเป็นห้างสรรพสินค้าออนไลน์ที่มีเครือข่ายใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ขณะเดียวกัน ข้อมูลจากบริษัท ไพรซ์ซ่า จำกัด ผู้ให้บริการเว็บไซต์ค้นหาสินค้าและเปรียบเทียบราคา Priceza.com รายงานยอดผู้เข้าใช้งาน Shopping Search Engine ในไทย พบว่าช่วงไตรมาสแรกของปี 2560 มีผู้สนใจเข้ามาค้นหาสินค้าและเปรียบเทียบราคาผ่าน Priceza.com เพิ่มขึ้นถึง 145% เทียบกับปี 2559 หรือมีผู้เข้ามาใช้งานค้นหาสินค้าเพื่อเปรียบเทียบราคาถึงเดือนละกว่า 9 ล้านราย ที่สำคัญ ยอดการค้นหากว่า 9 ล้านครั้งต่อเดือนพบว่า ร้านค้าออนไลน์ที่มีการค้นหามากที่สุด 5 อันดับแรก คือ Lazada.co.th, 11STREET.co.th, thainitashop.com, Cmart.co.th และ Central.co.th ซึ่งหากกลุ่มอาลีบาบาของแจ๊คหม่าเปิดศึกงัดกลยุทธ์บุกตลาดไทยอย่างเต็มที่ ด้านหนึ่งเม็ดเงินในสมรภูมิออนไลน์จะเติบโตมากขึ้น แต่อีกด้านหนึ่งหมายถึงการแข่งขันที่รุนแรงมากขึ้นด้วย แน่นอนว่า ทศ

Read More

เซ็นทรัล ปลุก “แอสทรัล” เดินหน้ารุกตลาดลักชัวรี่

“กลุ่มเซ็นทรัลเป็นผู้นำด้านการค้าปลีกในประเทศไทยตั้งแต่ยุคเปิดห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลสาขาแรก คือเซ็นทรัล วังบูรพา เมื่อ 70 ปีก่อน ภายใต้วิสัยทัศน์ตั้งแต่ยุคเตียงและสัมฤทธิ์ จิราธิวัฒน์ ที่ต้องการสร้างศูนย์กลางของเมือง ชื่อ Central มีความหมายกว้างมาก เป็นทั้ง Center of the City และ Center of Life จากวันนั้นถึงวันนี้ Vision ความเป็น Central เป็น Vision เดียวกัน ไม่ล้าสมัยและอยู่ต่อไป โดยคนรุ่นที่ 3 กำลังสานต่อจากห้างเซ็นทรัลไม่กี่คูหา วันนี้ขยายสาขาทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ...” ยุวดี จิราธิวัฒน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ กลุ่มธุรกิจห้างสรรพสินค้า บริษัท กลุ่มเซ็นทรัล จำกัด ตอกย้ำรากฐานแนวคิดและ Vision การดำเนินธุรกิจภายใต้กลยุทธ์ Centrality (เซ็นทรัลลิตี้) เพื่อเป็นศูนย์กลางของเมือง และการใช้ชีวิตในเมืองตั้งแต่ยุคก่อตั้งจนถึงล่าสุด แน่นอนว่า สำหรับคนรุ่นที่ 3 อย่างยุวดี และโดยเฉพาะทศ

Read More

50 ปี ASEAN กระตุ้นเศรษฐกิจด้วยการท่องเที่ยว

ปี 2560 ดูจะเป็นปีที่มีความสำคัญไม่น้อยสำหรับสมาคมประชาชาติอาเซียน (ASEAN) เพราะนอกจากจะเป็นปีแห่งการครบรอบการสถาปนา ASEAN ครบ 50 ปีแล้ว การดำรงอยู่ของอาเซียนในบริบทของเศรษฐกิจการเมืองสังคมโลกในปัจจุบัน ยังอยู่ในภาวะที่ท้าทายจังหวะก้าวในอนาคตไม่น้อยเลย ภายใต้แนวความคิดการรวมกลุ่มประเทศในภูมิภาค หรือ Regional Integration ที่กำลังถูกท้าทายจากกรณีการถอนตัวออกจากสหภาพยุโรปของสหราชอาณาจักร ในนาม BREXIT ที่ส่งแรงกระเทือนไปสู่การรวมกลุ่มความร่วมมือในภูมิภาคอื่นๆ ASEAN ที่พยายามชู “ความหลากหลายที่หลอมรวม” ก็อยู่ในสภาพที่ถูกตั้งคำถามให้ได้พิจารณาเช่นกัน แม้ ASEAN จะเกิดมีขึ้นเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาระหว่างประเทศอันเนื่องมาจากความแตกต่างในยุคสมัยแห่งสงครามเย็น หากแต่ในช่วง 2 ทศวรรษที่ผ่านมา ASEAN ได้ปรับและขยับขึ้นมาเป็นแกนกลางของภูมิภาคในการดึงชาติมหาอำนาจ ไม่ว่าจะเป็น สหรัฐอเมริกา รัสเซีย จีน หรือผู้แทนระดับสูงของ EU เข้ามาร่วมเป็นคู่สนทนา และทวีบทบาทสำคัญในการพัฒนาให้เป็นประชาคมที่พร้อมจะตอบรับกับบริบททางการเมือง ความมั่นคง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม อย่างมีนัยสำคัญ ข้อเท็จจริงที่น่าสนใจมากประการหนึ่งของ ASEAN ก็คือภายใต้ฐานทางเศรษฐกิจและสังคม ของประชาคมอาเซียน ที่มีประชากร 640 ล้านคนการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ที่กำลังขยับไปสู่ระบบอุตสาหกรรม ทำให้ทุนขยายและกระจายไปอย่างต่อเนื่องทั้งในประเทศและต่างประเทศ หากแต่ในยุคสมัยแห่งโลกดิจิทัลหรือที่ยุคแห่งการผลิตแบบ

Read More

EEC: ระเบียงเศรษฐกิจไทย บนความเป็นไปของยุทธศาสตร์จีน

ความพยายามของรัฐบาลไทยที่จะขับเคลื่อนพลังทางเศรษฐกิจผ่านโครงการระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก หรือ Eastern Economic Corridor: EEC ซึ่งเป็นการต่อยอดการพัฒนาบริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออก เพื่อยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ดูจะมีความก้าวหน้าเพิ่มขึ้นไปอีกขั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีความพยายามที่จะดึงนักธุรกิจฮ่องกงให้เข้ามามีส่วนในโครงการนี้ ผ่านความร่วมมือด้านยุทธศาสตร์ระหว่างไทย-ฮ่องกง-เซี่ยงไฮ้ เพื่อเชื่อมเศรษฐกิจไทยกับเศรษฐกิจจีนผ่านนโยบายยุทธศาสตร์ One Belt One Road ที่อาจนำไปสู่การจัดตั้งเขตการค้าเสรีทันสมัย หรือ Modern FTA ระหว่างฮ่องกงกับอาเซียน โดยมีไทยเป็นศูนย์กลาง ในการกระจายสินค้าของภูมิภาค ภายใต้แนวความคิดที่จะยกระดับภาคการผลิตและภาคบริการของไทยให้เข้าสู่ยุค 4.0 ดูเหมือนว่านโยบายที่ว่านี้จะสอดรับกับสถานะของฮ่องกงที่มีความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีขั้นสูง และถือเป็นเมืองที่มีพลังในการขับเคลื่อนด้านการค้าการลงทุนของจีนเข้ามาเป็นองค์ประกอบ โดยในปีที่ผ่านมาฮ่องกงมีมูลค่าขอรับส่งเสริมการลงทุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) สูงถึง 1.4 หมื่นล้านบาท และเป็นการลงทุนเฉพาะในพื้นที่ EEC สูงถึง 1.1 หมื่นล้านบาท ขณะที่ในภาพรวมทั้งประเทศพบว่า ปีที่ผ่านมานักธุรกิจฮ่องกงเข้าลงทุนในไทยรวมกว่า 2 หมื่นล้านบาท คิดเป็นอันดับที่ 5 ของมูลค่าการลงทุน โดยตรงจากต่างประเทศ และในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ ฮ่องกงก็มีมูลค่าการลงทุนในไทยสูงเป็นอันดับ 2 รองจากญี่ปุ่นเท่านั้น วินเซนต์ โล ประธานองค์การสภาพัฒนาการค้าฮ่องกง หรือ Hong Kong

Read More

“เกษตรแปลงใหญ่” ความท้าทายของการจัดการ

พระราชพิธีพืชมงคล-จรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ประจำปี 2560 ผ่านพ้นไปแล้ว เป็นประหนึ่งสัญญาณบอกกล่าวว่า บัดนี้ฤดูกาลแห่งการเพาะปลูกครั้งใหม่ได้เริ่มขึ้นแล้ว และยังมีนัยความหมายที่ช่วยหล่อเลี้ยงขวัญและกำลังใจให้กับเหล่าเกษตรกรไทย ที่ดำรงอยู่ในบริบทของสังคมกสิกรรมมาอย่างเนิ่นนาน การเสี่ยงทายที่ติดตามมาด้วยคำทำนายพยากรณ์ของคณะพราหมณ์และโหรหลวง ไม่ว่าจะมีเนื้อหาและคาดหมายไปในทิศทางที่เด่นด้อยอย่างไร ในด้านหนึ่งก็เป็นไปด้วยความมุ่งหมายที่จะเตือนสติของผู้ประกอบการกสิกรรมและเกษตรกรทั้งหลาย ให้ตระหนักในข้อจำกัดทางธรรมชาติที่ปรับเปลี่ยนไปในแต่ละปี และแสวงหาหนทางที่จะข้ามพ้นปัจจัยเสี่ยงเหล่านั้นไปให้ได้ กระนั้นก็ดี ความพิเศษของพิธีพืชมงคล-จรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ในปีนี้ อยู่ที่ความพยายามของภาครัฐที่ได้ประกาศและนำเสนอนโยบาย ควบคู่กับแผนยุทธศาสตร์ระยะ 5 ปี ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ระหว่างปี 2560-2564 ที่มีเป้าหมายอยู่ที่การเร่งให้เกษตรกรทำเกษตรแปลงใหญ่ให้ได้ถึง 1.5 ล้านไร่ในอนาคต ยุทธศาสตร์ที่ว่านี้ ในด้านหนึ่งเป็นการต่อยอดความสำเร็จของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในช่วงปี 2559 ที่สามารถทำเกษตรแปลงใหญ่ได้ 153,800 ไร่ ในสินค้าเกษตรจำนวน 12 ประเภท มีการตั้งกลุ่มสหกรณ์ 122 กลุ่ม ตั้งวิสาหกิจชุมชน 393 กลุ่ม และพัฒนาเกษตรกรสู่การเป็นสมาร์ทฟาร์มเมอร์ หรือเกษตรกรสมัยใหม่ได้ 67,200 ราย โดยสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรที่ทำเกษตรแปลงใหญ่ 4,217 ล้านบาท หลักคิดของการส่งเสริมระบบเกษตรแบบแปลงใหญ่ ในด้านหนึ่งอยู่ที่การมุ่งปรับเปลี่ยนระบบการส่งเสริมการเกษตรในพื้นที่ขนาดใหญ่ เพื่อช่วยลดต้นทุนการผลิตของเกษตรกรรายย่อย มาสู่การรวมกลุ่มที่สามารถใช้เครื่องมือ เครื่องจักรกลมาช่วยในการผลิต เข้าถึงเทคโนโลยีได้มากขึ้น

Read More

นิสัยรักการอ่าน: รากฐานการดำรงอยู่ของหนังสือเล่ม

ภาพบรรยากาศแห่งความสำเร็จเกินความคาดหมายของงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติครั้งที่ 45 เมื่อช่วงต้นเดือนเมษายนที่ผ่านมา ดูเหมือนจะได้รับการขับเน้นต่อเนื่องด้วยการเปิดตัว “หอสมุดเมือง กรุงเทพมหานคร” ในช่วงปลายเดือนเมษายน และทำให้ผู้ประกอบการและผู้คนที่แวดล้อมในอุตสาหกรรมสื่อสิ่งพิมพ์ โดยเฉพาะสำนักพิมพ์เริ่มเห็นประกายแห่งความหวังครั้งใหม่ที่พร้อมจะรอโอกาสให้กลับมาเจิดจรัสอีกครั้ง ก่อนหน้านี้ อุตสาหกรรมสื่อสิ่งพิมพ์ได้รับการปรามาสว่าเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่กำลังอัสดง ด้วยเหตุของการมาถึงของเทคโนโลยี และประพฤติกรรมในการรับข่าวสารข้อมูลที่เปลี่ยนไป ที่อาจทำให้สื่อสิ่งพิมพ์และหนังสือเล่มกระดาษ อาจต้องล้มหายไปจากสารบบ และถูกแทนที่ด้วยสื่อดิจิทัลที่ดูจะเอื้อให้กับการเสพรับแบบฉาบฉวยไม่เกิน 8 บรรทัด ที่เป็นประหนึ่งภาพสะท้อนวิถีแห่งการอ่านของสังคมไทยได้เป็นอย่างดี ภายใต้แนวความคิด “อ่าน อ่าน และอ่าน” ที่สมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย (PUBAT) พยายามกระตุ้นเร้าผู้บริโภคให้เห็นความสำคัญของการอ่าน ที่เป็นธีมหลักของงาน “สัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ครั้งที่ 45 และงานสัปดาห์หนังสือนานาชาติ ครั้งที่ 15” (45th National Book Fair and 15th Bangkok International Book Fair 2017) ดูเหมือนจะเป็นการสื่อสารที่ตรงประเด็นสำหรับสภาพทั่วไปของการอ่านในสังคมไทยได้เป็นอย่างดี นอกจากกิจกรรมประจำปีครั้งสำคัญในปีนี้ จะมีสำนักพิมพ์ไทยเข้าร่วมงานกว่า 430 แห่ง และได้รับเกียรติจาก “ประเทศฟินแลนด์” เข้าร่วมงานในฐานะ ประเทศรับเชิญเกียรติยศ

Read More

จาก พ.ร.บ. ควบคุมสื่อ สู่การปรับตัวครั้งใหญ่

ภูมิทัศน์ในแวดวงสื่อสารมวลชนกำลังได้รับแรงสั่นสะเทือนครั้งใหม่ เมื่อกลไกรัฐพยายามอย่างแข็งขันที่จะผ่าน พ.ร.บ. การคุ้มครองสิทธิ เสรีภาพ ส่งเสริมจริยธรรมและมาตรฐานวิชาชีพสื่อมวลชน พ.ศ....ที่มีนัยของการ ควบคุม มากกว่าการคุ้มครองและส่งเสริม ตามชื่อเรียกของ พ.ร.บ. จนเป็นเหตุให้ร่างกฎหมายฉบับนี้ถูกเรียกขานในนาม พ.ร.บ. ควบคุมสื่อ พร้อมกับได้รับการวิพากษ์ว่าเป็นร่างกฎหมายที่ตั้งอยู่บนฐานความคิดของ พ.ร.บ. การพิมพ์ พ.ศ.2484 และประกาศของคณะปฏิวัติของกลุ่มเผด็จการทหารที่สืบทอดเป็นมรดกทางความคิดต่อเนื่องออกมาอีกหลายฉบับในเวลาต่อๆ มา ประหนึ่งเป็นความพยายามของผู้มีและยึดกุมอำนาจรัฐที่เติบโตผ่านยุคสมัยอนาล็อก ที่กำลังต้องดำเนินชีวิตอยู่กับโลกดิจิทัลสมัยใหม่ เพื่อรักษาสถานภาพดั้งเดิมไว้ให้นานที่สุดเท่าที่โอกาสแห่งอำนาจจะอำนวยให้ได้ ข้อเท็จจริงที่น่าสนใจมากก็คือ กลไกทางกฎหมายที่คอยกำกับและควบคุมสื่อในเงื้อมมือของรัฐไทยในปัจจุบัน ดูจะมีจำนวนมากเพียงพออยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2560 รวมถึงมาตรา 37 แห่งพระราชบัญญัติการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ.2551 และประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 97/2557 และฉบับที่ 103/2557 ที่ให้อำนาจเบ็ดเสร็จแก่ กสทช. ในการพิจารณาออกมาตรการทางปกครองและลงโทษสถานีวิทยุและโทรทัศน์เป็นจำนวนมาก แต่นั่นอาจไม่ใช่เงื่อนไขหลักที่ทำให้สื่อต้องมีการปรับตัวครั้งใหญ่ในห้วงเวลาปัจจุบัน เท่ากับการที่ต้องเผชิญหน้ากับการแข่งขันและความท้าทายในการเปลี่ยนผ่านช่องทางในการสื่อสาร รวมถึงข้อจำกัดด้านรายได้จากเม็ดเงินโฆษณาที่หดหาย ทั้งในบริบทของสื่อสิ่งพิมพ์ที่นำไปสู่ปรากฏการณ์การปิดตัวลงของนิตยสารหลายฉบับในช่วงก่อนหน้านี้ ขณะที่สื่อสิ่งพิมพ์รายวันกำลังดิ้นรนไปสู่การจัดวางคอนเทนต์ในแพลตฟอร์มใหม่ ส่วนสมรภูมิทีวีก็มีการปรับเปลี่ยนขนานใหญ่หลังจากการมาถึงของทีวีดิจิทัล และการแทรกตัวเข้ามาของอุปกรณ์ดิจิทัลสมัยใหม่ ที่เปิดโอกาสให้สามารถชมคลิปย้อนหลังได้อย่างหลากหลาย จนสื่อโทรทัศน์กำลังจะกลายเป็นเพียงของประดับบ้านที่ไม่มีใครสนใจ การปรับตัวของสื่อโทรทัศน์ในห้วงเวลาปัจจุบัน ทำให้หลายช่องต้องพยายามจัดเตรียมคอนเทนต์ ให้มีความหลากหลายและขยับปรับเวลาของแต่ละช่วงให้สั้นลง พร้อมที่จะขยายต่อในช่องทางสื่ออื่นๆ ในลักษณะของคลิปรายการย้อนหลัง ซึ่งเป็นอีกช่องทางหนึ่งในการสื่อสารกับผู้ชมและแหล่งรายได้ใหม่บนแพลตฟอร์มที่เปลี่ยนไป ความเป็นไปในมิติที่ว่านี้ ช่อง

Read More