Home > ค่าเงินบาท

จับตาค่าเงินบาท ปัจจัยลบเศรษฐกิจไทย?

ความกังวลใจว่าด้วยเรื่องเศรษฐกิจไทยตลอดช่วงปีที่ผ่านมา ประเด็นหนึ่งที่ได้รับการกล่าวถึงดูจะอยู่ที่การเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทที่ปรับตัวแข็งค่าขึ้นอย่างมาก จนมาอยู่ในระดับแข็งค่ามากเป็นประวัติการณ์ในรอบ 6 ปีเมื่อช่วงวันสุดท้ายก่อนสิ้นปี 2562 และทำให้หลายฝ่ายพุ่งเป้าความสนใจจับตาการเคลื่อนไหวค่าเงินบาทในช่วงปี 2563 ว่าจะมีทิศทางอย่างไร พร้อมกับประเมินผลกระทบที่กำลังจะเกิดขึ้นนับจากนี้ ค่าเงินบาทที่แข็งค่าอย่างต่อเนื่องจนมาอยู่ที่ระดับต่ำกว่า 30 บาทต่อ 1 เหรียญสหรัฐในช่วงวันที่ 30-31 ธันวาคม 2562 และในวันที่ 1 มกราคม 2563 จากระดับ 29.92 มาสู่ระดับ 29.87 และที่ระดับ 29.71 บาทต่อ 1 เหรียญสหรัฐตามลำดับ ได้รับการอธิบายจากธนาคารแห่งประเทศไทยว่าเป็นผลที่เกิดจากการเร่งทำธุรกรรมก่อนสิ้นปีของผู้ประกอบการบางรายในสภาวะที่ตลาดมีสภาพคล่องต่ำ ความต้องการซื้อและขายเงินตราต่างประเทศไม่สมดุลในช่วงก่อนวันหยุดสิ้นปี นอกจากนี้ ยังเป็นผลจากการอ่อนค่าของเงินดอลลาร์สหรัฐเทียบกับสกุลเงินภูมิภาคในช่วงปลายปีด้วย อย่างไรก็ดี ค่าเงินบาทมีทิศทางและแนวโน้มที่จะแข็งค่าขึ้นต่อเนื่อง ภายใต้ปัจจัยหลักมาจากโครงสร้างของประเทศไทยที่อยู่ในภาวะเกินดุลเดินสะพัด ขณะเดียวกันรายได้หลักของประเทศที่เดิมได้รับจากการส่งออกและการท่องเที่ยว ทำให้ประเด็นค่าเงินบาทแข็งค่าเป็นสิ่งที่ภาครัฐ เอกชน และประชาชนที่ทำธุรกิจเกี่ยวเนื่องกันจับตามองเป็นพิเศษ ทิศทางค่าเงินบาทไทยในปี 2563 ได้รับการคาดหมายว่าจะปรับตัวแข็งค่าขึ้นอีกเล็กน้อย โดยตลอดปี 2562 ที่ผ่านมาค่าเงินบาทปรับตัวแข็งค่าขึ้นถึงร้อยละ 7-8 ซึ่งเป็นการแข็งค่าขึ้นกว่าปกติแล้ว ขณะที่นักวิเคราะห์บางสำนักประเมินว่าเมื่อถึงสิ้นปี 2563 ค่าเงินบาทมีโอกาสแข็งค่าไปถึงระดับ

Read More

พิษค่าบาทแข็ง ท่องเที่ยวซบ-ส่งออกฟุบ

แม้ว่าพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ในนามประยุทธ์ 2/1 จะส่งผลให้สถานการณ์แห่งความคลุมเครือทางการเมืองไทยคลี่คลายไปในระดับหนึ่ง หากแต่ในอีกด้านหนึ่งสถานการณ์ทางเศรษฐกิจของไทยดูจะยังเผชิญกับวิบากกรรมและความผันผวนไม่แน่นอนที่พร้อมจะส่งผลกระทบเป็นวิกฤตการณ์ครั้งใหม่ได้ไม่ยาก ปัจจัยว่าด้วยค่าเงินบาทที่แข็งค่าเป็นประวัติการณ์ และเป็นไปด้วยอัตราเร่งอย่างผิดปกติ ไม่เพียงแต่จะกดดันให้การส่งออกของไทยที่อยู่ในภาวะชะลอตัวมาในช่วงก่อนหน้านี้ ถูกโหมกระหน่ำด้วยปัจจัยลบด้านราคาเมื่อเปรียบเทียบกับสินค้าจากคู่แข่งขันในระดับภูมิภาคยิ่งขึ้นไปอีก โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์จากประเทศเวียดนาม หรือแม้กระทั่งอินเดีย กรณีดังกล่าวดูจะเห็นได้ชัดจากตัวเลขการส่งออกข้าวในช่วงครึ่งปี 2562 ที่ผ่านมา ซึ่งพบว่ามีปริมาณลดลงถึงร้อยละ 12 เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า แม้ว่าระหว่างเดือนมกราคมถึงมิถุนายนที่ผ่านมา ประเทศไทยส่งออกข้าวไปแล้ว 4.2 ล้านตัน แต่คำสั่งซื้อในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา มีแนวโน้มลดต่ำลงเหลือเพียงไม่ถึง 6 แสนตันต่อเดือน และทำให้ประมาณการว่าด้วยการส่งออกข้าวของไทยที่ตั้งเป้าหมายไว้ที่ 9.5 ล้านตันหรือเฉลี่ยที่ระดับ 8 แสนตันต่อเดือนดูจะเป็นไปได้ยากยิ่งขึ้น ข้อเท็จจริงที่น่าสนใจก็คือประมาณการส่งออกข้าวที่ 9.5 ล้านตันในปี 2562 นี้ เป็นประมาณการที่ปรับลดลงจากยอดการส่งออกเมื่อปี 2561 ซึ่งอยู่ที่ 11 ล้านตัน ขณะที่ภายใต้สถานการณ์ที่ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่องนี้ ทำให้ผู้ประกอบการส่งออกข้าวประเมินว่าอาจมีการปรับลดเป้าหมายการส่งออกข้าวในปีนี้ให้อยู่ในระดับ 9 ล้านตัน เพื่อให้สอดรับกับข้อเท็จจริงที่ดำเนินอยู่ ตัวเลขการส่งออกข้าวที่ลดต่ำลงอย่างมีนัยสำคัญ อยู่ที่การส่งออกไปยังประเทศจีน ซึ่งแม้ว่าในช่วงครึ่งปีแรกของ 2562 ไทยจะส่งออกข้าวไปยังจีนรวมเป็นมูลค่า 3.7 พันล้านบาท

Read More

เงินบาทแข็งค่า ปัจจัยฉุดส่งออกทรุดตัว

อีกครั้งที่ “การส่งออก” ฟันเฟืองตัวสำคัญของเศรษฐกิจไทยถูกพูดถึงภายใต้นัยที่แสดงถึงความวิตกกังวล ซึ่งอาจจะเป็นเพราะปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการส่งออก ทั้งในเรื่องของศักยภาพในการผลิตสินค้าที่มีมูลค่าเพิ่ม ค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมไปถึงสถานการณ์เศรษฐกิจการค้าโลก เมื่อพิจารณาจากผลงานการส่งออกของไทยตลอดทั้งปี 2561 ที่มีอัตราการขยายตัว 6.7% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า ทว่าในบางเดือนพิษจากสงครามการค้ากลับส่งผลให้การส่งออกของไทยติดลบหลายครั้ง ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทยเปิดเผยว่า การส่งออกของไทยมีการขยายตัวต่ำกว่าหลายประเทศอย่างมีนัยสำคัญ เมื่อพิจารณาจากโครงสร้างการส่งออกของไทย จะเห็นได้ว่าการส่งออกสินค้าขั้นกลางมีสัดส่วนสูงสุดในการส่งออกของไทยทั้งหมด แสดงให้เห็นว่าการเชื่อมโยงห่วงโซ่อุปทานกับประเทศต่างๆ มีความสำคัญต่อการค้าไทย ขณะที่ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่าการส่งออกสินค้าขั้นกลางของไทยเริ่มส่งสัญญาณการชะลอตัวและมีสัดส่วนลดลง ในขณะที่สัดส่วนการส่งออกสินค้าขั้นสุดท้ายกลับสูงขึ้น ในทางตรงกันข้าม การส่งออกสินค้าของเวียดนามและฟิลิปปินส์ขยายตัวได้ดีและเข้ามาแย่งส่วนแบ่งตลาดของไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ แสดงให้เห็นว่าไทยสูญเสียความสามารถในการแข่งขันและมีบทบาทที่ลดลงในห่วงโซ่อุปทานของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ส่งผลให้ไทยเสียโอกาสที่จะกอบโกยรายได้จากอุตสาหกรรมแนวนี้ที่มีแนวโน้มเติบโตได้อย่างต่อเนื่องในอนาคต ทั้งนี้ การที่เวียดนามและฟิลิปปินส์เข้ามามีส่วนร่วมในห่วงโซ่อุปทานแทนที่ไทย ส่วนหนึ่งน่าจะเป็นเพราะไทยไม่สามารถแข่งขันด้านค่าแรงได้ เป็นเหตุให้ไทยไม่สามารถดึงดูดนักลงทุนให้มาลงทุนสร้างฐานการผลิตในไทยได้ และแม้ว่าไทยจะมีสัดส่วนการส่งออกสินค้าขั้นสุดท้ายมากขึ้น แต่ปัจจุบันสินค้าขั้นสุดท้ายที่ไทยผลิตส่วนมากมีมูลค่าเพิ่มไม่สูงนัก เพราะไทยยังไม่มีศักยภาพมากพอที่จะสามารถผลิตสินค้าขั้นสุดท้ายที่ต้องใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีขั้นสูงดังเช่นประเทศพัฒนาแล้ว ซึ่งประเด็นนี้ แม้ว่าภาครัฐกำลังเร่งเครื่องอย่างหนักที่จะผลักดันให้ไทยกลายเป็นประเทศอุตสาหกรรม 4.0 ที่เน้นเรื่องนวัตกรรมและเทคโนโลยีเป็นสำคัญ และแน่นอนว่ากว่าเป้าหมายที่ไทยตั้งไว้จะบรรลุ การส่งออกสินค้าขั้นกลางอาจถูกแย่งส่วนแบ่งตลาดไปมากพอสมควร เมื่อไทยยังไม่สามารถพัฒนาศักยภาพการผลิตสินค้าขั้นสุดท้ายที่มีมูลค่าเพิ่มสูงได้ การแข็งค่าของเงินบาทสร้างความวิตกกังวลให้แก่ผู้ประกอบการไทยไม่น้อย โดยภาคเอกชนมองว่า แนวโน้มที่ค่าเงินบาทแข็งค่าอย่างต่อเนื่องนี้จะกระทบต่อขีดความสามารถในการแข่งขันการส่งออกของไทย และต้องการให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเข้ามาควบคุมดูแลให้อยู่ในภาวะที่สมดุล ทว่า ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) วิรไท สันติประภพ มองว่า การแข็งค่าขึ้นของเงินบาท มีสาเหตุหลักจากค่าเงินดอลลาร์สหรัฐที่อ่อนค่าลง เพราะปัจจัยในประเทศสหรัฐฯ เช่นการเมือง การปิดตัวของรัฐบาล หรือ Government

Read More

วิบากกรรมเศรษฐกิจไทย ค่าเงินผันผวนท่ามกลางปัจจัยลบ

สถานการณ์ทางเศรษฐกิจของไทยในช่วงครึ่งปีหลัง ดูจะไม่สดใสอย่างที่หลายฝ่ายคาดหมายไว้ก่อนหน้านี้มากนัก หลังจากที่การประชุมของคณะกรรมการกำหนดนโยบายทางการเงินของสหรัฐฯ (FOMC) และธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ประกาศตัดสินใจขึ้นอัตราดอกเบี้ยระยะสั้น (federal funds rate) ตามการคาดหมายอีก 0.25% สู่ระดับ 1.00-1.25% ท่ามกลางค่าเงินบาทที่ผันผวนและแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา สำนักวิเคราะห์ทางเศรษฐกิจหลายสำนักต่างประเมินว่า การประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ อาจนำไปสู่การกระตุ้นให้เกิดการไหลออกของเงินทุนจากประเทศไทย ซึ่งจะยิ่งส่งผลให้เกิดความผันผวนในตลาดเงินและค่าเงินบาทมากขึ้นไปอีก และการป้องกันความเสี่ยงเรื่องค่าเงินจะเป็นประเด็นที่นักลงทุนและผู้ประกอบการต้องให้ความสำคัญ การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของเฟดครั้งล่าสุดมาอยู่ที่ระดับร้อยละ 1.00-1.25 เกิดขึ้นท่ามกลางการคาดหมายว่า เฟดจะประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกในรอบปีนี้ เพื่อให้อัตราดอกเบี้ยขยับไปอยู่ที่ระดับร้อยละ 1.25-1.50 ในช่วงปลายปีนี้ ซึ่งจะทำให้อัตราดอกเบี้ยของเฟดอยู่ในระดับเดียวกับอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยที่ร้อยละ 1.50 และมีแนวโน้มที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยขึ้นอีกในรอบปีหน้า ซึ่งเป็นประหนึ่งแรงกดดันให้ธนาคารแห่งประเทศไทยต้องดำเนินมาตรการหรืออาจประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพื่อตอบสนองกับท่าทีของเฟดไปโดยปริยาย ข้อกังวลใจเกี่ยวกับช่องว่างและส่วนต่างของอัตราดอกเบี้ยที่เบียดใกล้กันเข้ามานี้ ในด้านหนึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อการเคลื่อนย้ายเงินทุน และอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราที่ปรากฏข้อเท็จจริงแล้วในหลายประเทศ โดยผู้ประกอบการส่งออกดูจะเป็นกลุ่มผู้ประกอบการที่ได้รับผลจากกรณีดังกล่าวอย่างไม่อาจเลี่ยง ขณะที่รายงานของสภาอุตสาหกรรมในช่วงที่ผ่านมา ได้สะท้อนความกังวลใจของผู้ประกอบการ และเรียกร้องให้กลไกภาครัฐเข้ามาดูแลค่าเงินบาทให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมหรือปรับตัวอย่างมีเสถียรภาพด้วย ขณะเดียวกันโอกาสที่เงินทุนจากภายนอกจะไหลเข้าประเทศไทย จากผลของส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยดังเช่นที่เคยเกิดขึ้นในช่วงปี 2547-2549 มีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นได้ยาก เนื่องจากการเติบโตของเศรษฐกิจไทยในปัจจุบันยังคงขยายตัวในระดับเพียงร้อยละ 3-4 น้อยกว่าการเติบโตของเศรษฐกิจประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน ไม่ว่าจะเป็นมาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย ที่สามารถขยายตัวได้ร้อยละ 5-6 ประกอบกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจหลักทั้งสหรัฐฯ ยุโรป และญี่ปุ่น มีความชัดเจนมากขึ้น

Read More