Home > 2016 > กุมภาพันธ์

A&W-เบอร์เกอร์คิง รุมเขย่าบัลลังก์แชมป์

 ยักษ์ฟาสต์ฟู้ด ทั้งเคเอฟซีและแมคโดนัลด์กำลังเจอศึกเขย่าบัลลังก์แชมป์รอบด้าน โดยเฉพาะล่าสุด เมื่อ A&W Restaurant Inc. USA บรรลุข้อตกลงให้สิทธิ์แฟรนไชส์กับกลุ่ม “นิปปอนแพ็ค” ยาวนานถึง 20 ปี โดยเตรียมทุ่มทุนก้อนใหญ่ผุดสาขาในประเทศไทยอย่างน้อย 100 แห่ง เพื่อช่วงชิงส่วนแบ่งขึ้นเป็นเบอร์ 3  พร้อมกับเปิดแนวรุกต่อเนื่องเจาะตลาดอาเซียนด้วย ในระดับนโยบายของบริษัทแม่ เควิน บาซเนอร์ประธานและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร A&W Restaurant Inc. ซึ่งบินตรงมาเซ็นสัญญาแฟรนไชส์กับบริษัท นิปปอนแพ็ค (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) เมื่อปลายปี 2558 ระบุชัดเจนว่า ประเทศไทยถือเป็นตลาดสำคัญที่ A&W ต้องกลับมาสร้างความยิ่งใหญ่อีกครั้ง หลังจากไม่ได้รุกตลาดมานานหลายปีเพราะอยู่ในกระบวนการหาพันธมิตรที่มีทีมงานมืออาชีพ และหลังจากจับมือกับพันธมิตรซื้อกิจการ A&W จากยัมแบรนด์ อิงค์ (Yum! Brand Inc.) เมื่อ 4 ปีที่แล้ว บริษัทมองเห็นโอกาสและตั้งเป้าการเติบโตแบบดับเบิ้ลในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เนื่องจากมีธุรกิจอยู่ในภูมิภาคนี้ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1963

Read More

เสือ มอร์ตาร์ จับมือ รอแยลเฮ้าส์

เสือ มอร์ตาร์ จับมือ รอแยลเฮ้าส์ ร่วมยกระดับมาตรฐานการทำงานก่อสร้างเพิ่มความสามารถการแข่งขันในระยะยาว นายเรวัต สุริยาภณานนท์ (ที่ 2 จากขวา) กรรมการผู้จัดการ บริษัท สยามมอร์ตาร์ และ นายศักดา โควิสุทธิ์ (ที่ 2 จากซ้าย) กรรมการผู้จัดการ บริษัท รอแยลเฮ้าส์ ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่าง บริษัท สยามมอร์ตาร์ จำกัด กับ บริษัท รอแยลเฮ้าส์ จำกัด ในการบริหารจัดการ และ พัฒนาเทคโนโลยีงานก่อ-ฉาบบ้านเดี่ยวสร้างเอง

Read More

ยูนิโคล่ แนะนำไอเท็มใหม่ เสื้อยืดชั้นในไร้ตะเข็บ จากคอลเลคชั่น AIRism 2016

ยูนิโคล่เอาใจคุณผู้ชายจัดกิจกรรมพิเศษให้คุณลูกค้า ที่นำเสื้อยืดตัวในตัวเก่าของคุณผู้ชาย ยี่ห้อใดหรือแบบใดก็ได้ มาแลกรับ AIRism สำหรับคุณผู้ชายตัวใหม่ได้ฟรี! ในวันเสาร์ที่ 5 มีนาคม 2559 ณ ร้านยูนิโคล่ 7 สาขา ได้แก่ สาขาเซ็นทรัลเวิลด์ สาขาสยามพารากอน สาขาเซ็นทรัล พระราม 9 สาขาเมกาบางนา สาขาเอ็มควอเทียร์ สาขาเซ็นทรัลเฟสติวัล เชียงใหม่ และสาขาเซ็นทรัลพลาซา อุดรธานี

Read More

ดิอาจิโอปรับโฉมเว็บไซต์ DRINKiQ.com ให้ข้อมูลการดื่มอย่างรับผิดชอบแก่ผู้บริโภค

ดิอาจิโอ เปิดตัวเว็บไซต์เกี่ยวกับการดื่มอย่างรับผิดชอบ DRINKiQ.com โฉมใหม่ พร้อมมีให้เลือกถึง 12 ภาษา รวมถึงภาษาไทย ซึ่งดูแลเนื้อหาโดยบริษัท ดิอาจิโอ โมเอ็ท เฮนเนสซี่ (ประเทศไทย) ตอกย้ำความมุ่งมั่นในการให้ความรู้และข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เพื่อช่วยให้ผู้บริโภคสามารถตัดสินใจดื่มหรือไม่ดื่มได้อย่างเหมาะสม โดยได้เพิ่มข้อมูลโภชนาการของเครื่องดื่มทุกแบรนด์ภายใต้ดิอาจิโอ ได้แก่ จำนวนแคลอรีในเครื่องดื่ม ปริมาณคาร์โบไฮเดรต โปรตีน รวมไปถึงปริมาณไขมัน น้ำตาล คาเฟอีน และโซเดียม เว็บไซต์ DRINKIQ.com โฉมใหม่ มาพร้อมความรู้และเครื่องมือต่างๆ ที่สำคัญดังต่อไปนี้ ·

Read More

จุดแฮงค์เอ้าท์สุดแนวแห่งใหม่ บ็อกซ์ สเปซ รัชโยธิน (Box Space Ratchayothin)

เดินเพลินเช้ายันค่ำ แหล่งช้อปและจุดแฮงค์เอ้าท์สุดแนวแห่งใหม่ บ็อกซ์ สเปซ รัชโยธิน (Box Space Ratchayothin) ที่นี่ที่เดียวครบ หากใครกำลังมองหาจุดเช็คอินแนวใหม่ กลางวันเดินช้อปสุดชิล รวมกลุ่มแฮงเอ้าท์สบายๆ ตอนค่ำ คำตอบอยู่ที่นี่แล้ว บ็อกซ์ สเปซ รัชโยธิน (Box Space Ratchayothin) คอนเทนเนอร์ มอลล์ สุดชิค แหล่งช้อปและจุดแฮงค์เอ้าท์แห่งใหม่ ในรูปแบบ “ไลฟ์สไตล์ โซเชียล คอมมิวนิตี้” ที่ยกขบวนตู้คอนเทนเนอร์กว่า 20 ตู้

Read More

เปิดเกม” นิปปอนแพ็ค” แผนท้าชนยักษ์ฟาสต์ฟู้ด

  “ผมหันมาลุยธุรกิจร้านอาหาร ทุ่มเงินซื้อสิทธิ์แฟรนไชส์ฟาสต์ฟู้ด A&W เพราะคิดต่างจากคนอื่น...” สุรพงษ์ เตรียมชาญชัย กรรมการผู้จัดการ บริษัท นิปปอนแพ็ค (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ “NPP” กล่าวกับทุกคนในงานเปิดตัวธุรกิจร้านอาหารฟาสต์ฟู้ด เอแอนด์ดับบลิว (A&W) ในฐานะผู้ได้รับสิทธิ์แฟรนไชส์แบบเอ็กซ์คลูซีฟในประเทศไทย ระยะเวลาสัญญายาวถึง 20 ปี ซึ่งก้าวย่างครั้งนี้ไม่ใช่แค่การประกาศท้าชนยักษ์ฟาสต์ฟู้ดในตลาด แต่เป็นจุดพลิกโฉมธุรกิจในเครือนิปปอนแพ็ค จากเจ้าตลาดบรรจุภัณฑ์พลาสติกรายใหญ่สู่ธุรกิจร้านอาหารและยังวางแผนการใหญ่ เตรียมทุ่มทุนซื้อแบรนด์ร้านอาหารชื่อดังอีกหลายดีล  เฉพาะปีนี้นิปปอนแพ็คจะเปิดตัวอีก 2 แบรนด์ โดยเตรียมเผยโฉมร้านอาหารญี่ปุ่นในเครือเร็วๆนี้  1 แบรนด์ ส่วนอีก 1 แบรนด์ยังอยู่ระหว่างการเจรจา ซึ่งสุรพงษ์ย้ำว่าต้องเป็นร้านอาหารที่มีศักยภาพ โดนใจลูกค้า มีจำนวนสาขาในระดับหนึ่ง และเป็นแบรนด์ของคนไทย เพื่อต่อยอดสู่แผนการเจาะตลาดในต่างประเทศ  ส่วนแบรนด์ A&W ซึ่งถือเป็นฟาสต์ฟู้ดระดับทอปไฟว์ของโลกและผู้นำธุรกิจแฟรนไชส์ฟาสต์ฟู้ดนั้น ด้านหนึ่งนิปปอนแพ็คต้องการขยายสิทธิ์แฟรนไชส์เข้าสู่ประเทศอื่นๆ ในอาเซียน หลังจากเจ้าของสิทธิ์แฟรนไชส์เดิมสัญชาติมาเลเซียหยุดการทำตลาดหลายปี  โดยล่าสุด บริษัทแม่ A&W Restaurant Inc. USA อนุมัติเพิ่มสิทธิ์แฟรนไชส์ในประเทศ สปป.ลาว

Read More

JKH: เสาหลักธุรกิจศรีลังกา

 Column: AYUBOWAN แม้ว่าศรีลังกาจะประกาศและได้รับสถานะการเป็นรัฐเอกราชที่พ้นจากการเป็นอาณานิคมของอังกฤษมาตั้งแต่เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 1948 หากแต่ร่องรอยจากอิทธิพลทางการค้าที่เป็นมรดกตกทอดมาจากยุคอาณานิคมที่ยาวนานกลับหยั่งรากลึกและขยายโอกาสครอบคลุมองคาพยพทางธุรกิจและเศรษฐกิจของศรีลังกาอย่างไม่อาจเลี่ยง ภาพแห่งความจำเริญที่ดำเนินไปภายใต้กรอบโครงของอดีตบรรษัทที่ประกอบการโดยนักธุรกิจชาวอังกฤษในครั้งกาลเก่า ไม่เพียงแต่ปรากฏให้เห็นอดีตที่รุ่งเรือง แต่กำลังผลักดันศรีลังกายุคใหม่ให้ก้าวหน้าไปไกลอีกด้วย มรดกของบรรษัทจากอังกฤษในอดีตที่ยังปรากฏให้เห็น และขยายตัวครอบครองบริบททางธุรกิจของศรีลังกาอย่างกว้างขวางและทรงพลังที่สุดในห้วงยามปัจจุบัน คงไม่มีองค์กรใดจะโดดเด่นเท่ากับความเป็นไปของ John Keells Holdings ที่แผ่ขยายกิ่งก้านสาขาทางธุรกิจปกคลุมพื้นที่ตั้งแต่กิจการโรงแรม พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ โลจิสติกส์และขนส่ง มาจนถึงอุตสาหกรรมการผลิตอาหารเครื่องดื่ม เครือข่ายซูเปอร์มาร์เก็ต ไปจนถึงการให้บริการด้านสารสนเทศและการเงิน เรียกได้ว่ามีธุรกิจครอบคลุมวิถีชีวิตเกือบจะทุกระนาบของสังคมศรีลังกาเลยทีเดียวก็ว่าได้ ยังไม่นับรวมการเป็นบรรษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ศรีลังกา ที่มีมูลค่าการตลาดใหญ่ที่สุดเป็นอันดับหนึ่งและยังจดทะเบียนซื้อขายหลักทรัพย์อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ลักเซมเบิร์ก (1994) ซึ่งนับเป็นองค์กรธุรกิจจากศรีลังการายแรกที่จดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศ ประวัติความเป็นมาของ John Keells Holdings หรือ JKH เริ่มต้นขึ้นในปี 1870 จากนักธุรกิจสองพี่น้องชาวอังกฤษ Edwin และ George John ริเริ่มจัดตั้งบริษัทผู้แทนการค้าและโบรกเกอร์ในนาม E.John & Co. เพื่อดำเนินการเป็นผู้แทนการค้าชาและส่งออกชาจากดินแดนอาณานิคมไปยังตลาดโลก ธุรกิจของ E.John & Co. เติบโตไปพร้อมกับการดำเนินไปของทั้งอาณานิคมอังกฤษและกิจการชาในดินแดนแห่งนี้ กระทั่งในปี 1948 เมื่อศรีลังกาได้รับเอกราช E.John & Co.

Read More

Content Provider แบบไทยรัฐ ขยับหนีหวังรุกแพลทฟอร์มใหม่

 สถานการณ์ของวงการสื่อสิ่งพิมพ์ในเวลานี้ หลายคนมักจะให้คำจำกัดความที่ช่วยให้คนวงนอกเข้าใจได้ง่ายขึ้นว่า “ยุคฟองสบู่ของสื่อสิ่งพิมพ์” เพราะจากการที่สื่อทั้งในประเทศและต่างประเทศ ต่างทยอยปิดตัวลงเพื่อรักษาสถานภาพที่มั่นคงของตัวเองที่ยังเหลืออยู่ให้ได้นานที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ข่าวการปิดตัวของหนังสือพิมพ์ นิตยสาร มักจะปรากฏให้เห็นอยู่เป็นระยะในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ซึ่งเกิดขึ้นในระนาบเดียวกันกับการเติบโตแบบรวดเร็วของเทคโนโลยี จึงทำให้ไลฟ์สไตล์ของผู้คนเปลี่ยนไป และเหตุผลนี้เองที่ทำให้สื่อจำเป็นต้องปรับตัวเพื่อให้สอดรับกับสถานการณ์การเปลี่ยนผ่านของโลกที่อุดมไปด้วยเทคโนโลยี  สื่อบางองค์กรเมื่อมองเห็นและเข้าใจถึงสถานการณ์ความเป็นไป ต่างเร่งหาทางออก และฉกฉวยโอกาสเพื่อให้ตัวเองอยู่รอด แม้จำเป็นจะต้องใช้เม็ดเงินจำนวนมหาศาลในการลงทุนก็ตาม เราจะเห็นได้ว่า สื่อบางองค์กรเลือกมุ่งสู่แพลทฟอร์มของทีวีดิจิตอล การเบนเข็มจากการเป็นสื่อสิ่งพิมพ์เข้าสู่สื่อทีวีนั้น แม้จะไม่ต่างกันในรูปแบบวิธีการทำงาน แต่ต่างกันที่รูปแบบการนำเสนอ กระนั้นการจะเป็นสื่อบนทีวีดิจิตอลก็ยังไม่ใช่เรื่องง่าย  เมื่อผู้มาทีหลังจำเป็นต้องสร้างกลยุทธ์บนแพลทฟอร์มนี้ด้วยความรวดเร็ว เพื่อแย่งชิงฐานคนดูจากสื่อทีวีหน้าเก่าที่มีความแข็งแรงเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว สรรพกำลังจึงถูกระดมจากทุกส่วน ไม่ว่าจะเป็นระดับมันสมองที่การที่จะสร้างคอนเทนต์ รูปแบบวิธีการนำเสนอคือบรรดาผู้ประกาศและพิธีกร หรือระดับปฏิบัติการผู้อยู่เบื้องหลังซึ่งจำเป็นต้องเชี่ยวชาญเทคโนโลยี ในห้วงเวลานี้สื่อที่น่าจับตามองมากที่สุดคงจะหนีไม่พ้น “ไทยรัฐ” ที่เติบโตและมีฐานรากที่มั่นคงในฐานะของการเป็นสื่อสิ่งพิมพ์ ที่ผู้คนให้การยอมรับมากที่สุด แม้ว่าฐานของผู้อ่านไทยรัฐจะอยู่ในระดับกลางลงมาถึงระดับล่าง แต่ก็เป็นคนกลุ่มใหญ่ของสังคม การมาถึงของดิจิตอลทีวีในเมืองไทย ทำให้ไทยรัฐตัดสินใจเข้าร่วมประมูลทีวีดิจิตอล โดยหวังที่จะขยายฐานรากของตัวเองให้มั่นคงยิ่งขึ้น หรืออีกนัยหนึ่งคือการหนีจากสื่อสิ่งพิมพ์ที่หลายคนมองว่าเป็นช่วงเวลานับถอยหลัง และเดินหน้าเข้าสู่ทีวีดิจิตอลอย่างเต็มตัว ทั้งนี้ผลงานของไทยรัฐทีวีนับตั้งแต่เริ่มออกอากาศบนโครงข่ายทีวีดิจิตอลไปประมาณหนึ่งปีนั้น ผลการวัดค่าความนิยม (เรตติ้ง) ของการรับชมช่องรายการฟรีทีวีในระบบดิจิตอลเมื่อเดือนธันวาคม 2558 นั้น ช่องไทยรัฐได้เรตติ้งอยู่ที่ 0.120 ซึ่งอยู่อันดับ 12 ของช่องดิจิตอลทั้งหมด และนี่อาจเป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้ไทยรัฐทีวีตัดสินใจในฐานะ Content Provider ในการทาบทามพิธีกรหญิงชื่อดัง และได้รับความนิยมมากอีกคนหนึ่งให้เข้ามาร่วมงาน “จอมขวัญ

Read More

อิเกียปักหมุดสโตร์แห่งที่ 2 บุกพื้นที่กรุงเทพ ฝั่งตะวันตก

อิเกียประกาศความพร้อมสร้างสโตร์อิเกียแห่งที่ 2 จัดพิธีเปิดหน้าดิน ณ อิเกีย บางใหญ่ ร่วมกับเซ็นทรัลพัฒนา พันธมิตรหลัก โดยมีข้าราชการในท้องถิ่นร่วมเป็นสักขีพยาน สโตร์อิเกียแห่งที่ 2 นี้จะมีทางเข้าออกขนาดใหญ่ทุกชั้นจากศูนย์การค้าเซ็นทรัล พลาซ่า เวสต์เกต และมีทางเชื่อมกับรถไฟฟ้ามหานคร (MRT) ที่จะเปิดให้บริการอีกไม่นานนี้ เซบาสเตียน ฮิลวิง ผู้อำนวยการฝ่ายขยายธุรกิจ บริษัท อิคาโน่

Read More

ธุรกิจสื่อสิ่งพิมพ์ไทย ในวันลมหายใจรวยริน

 ข่าวการปิดตัวไปของสื่อสิ่งพิมพ์และนิตยสารหลายฉบับในช่วงที่ผ่านมา ทำให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์และการคาดการณ์ต่างๆ นานา ถึงอนาคตของธุรกิจสื่อสิ่งพิมพ์ ว่ากำลังจะอัสดงลาลับดับแสงลงแล้วหรือไม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในห้วงยามแห่งยุคสมัยที่ประพฤติกรรมของผู้คนปรับเปลี่ยนไปสู่แพลทฟอร์มอื่นๆ และพัฒนาการของเทคโนโลยีสารสนเทศที่ทำให้การเสพรับข่าวสารในปัจจุบันสามารถกระทำได้หลากหลายช่องทางมากขึ้น ผู้บริหารและบรรณาธิการของนิตยสารหลายฉบับที่ปรับเปลี่ยนรูปแบบและความถี่ในการนำเสนอหรือแม้กระทั่งยุติ-ปิดตัว ระงับการพิมพ์ ถึงกับให้ความเห็นไปในทิศทางใกล้เคียงกันในท่วงทำนองที่ระบุว่า ยุคสมัยของนิตยสารกระดาษกำลังจะสิ้นสุดลงแล้ว เพราะโลกยุคปัจจุบัน พฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไปมาก สื่อสิ่งพิมพ์ไม่มีทางสู้กับความรวดเร็วทันใจของสื่อดิจิตอลได้ ทุกวันนี้ใครๆ ก็บริโภคข่าวสารและข้อมูลจากมือถือและอินเทอร์เน็ต ไม่มีใครรออ่านนิตยสารที่จับต้องได้ “ผู้บริโภคมองหาแต่นิวมีเดียใหม่ๆ แนวโน้มนี้เกิดขึ้นทั่วโลก มันหมดยุคของแมกกาซีนแล้วจริงๆ ยิ่งในสภาพเศรษฐกิจซบเซาแบบนี้ ต่อให้สายป่านยาวแค่ไหนก็รอดยาก” พนิตนาฎ แย้มเพกา บรรณาธิการบริหารนิตยสารเปรียว ซึ่งปิดตัวเองไปเมื่อปลายปี 2558 หลังจากโลดแล่นอยู่ในวงการสื่อสิ่งพิมพ์ไทยมานานกว่า 35 ปี ระบุ ประเด็นที่น่าสนใจของกรณีที่ว่านี้ ก็คือภาวะวิกฤตในวงการสื่อสิ่งพิมพ์มิได้เป็นปฏิกิริยาชั่วข้ามคืนหากแต่เป็นปรากฏการณ์ที่ได้ส่งเค้าลางแห่งความเสื่อมถอยให้เห็นเป็นระยะ ซึ่งไม่ได้เกิดขึ้นเพียงเพราะการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการอ่านการบริโภคข่าวสารของผู้อ่านเท่านั้น แต่ยังมีปัจจัยแวดล้อมอื่นๆ โดยเฉพาะประเด็นว่าด้วยแหล่งที่มาของรายได้จากค่าโฆษณาเป็นปัจจัยเร่งอีกทางหนึ่งด้วย ข้อเท็จจริงที่ปรากฏขึ้นอยู่ที่ในช่วงระยะเวลากว่า 10 ปีที่ผ่านมา (2548-2558) รายได้จากค่าโฆษณาที่เคยเป็นแหล่งพลังงานสำคัญในการขับเคลื่อนธุรกิจสื่อสิ่งพิมพ์ ให้สามารถก้าวเดินไปข้างหน้า หดหายไปจากระบบมากกว่าร้อยละ30-40 มูลเหตุด้านหนึ่งได้รับการประเมินว่าเป็นผลมาจากภาวะเศรษฐกิจโดยรวมในระดับนานาชาติ และสถานการณ์ความไม่สงบวุ่นวายไร้ทิศทางของการเมืองภายในประเทศ หากแต่ในอีกด้านหนึ่งต้องยอมรับว่า สื่อสิ่งพิมพ์ถูกสื่อในรูปแบบและช่องทางอื่นๆ ขยับตัวขึ้นมาท้าทายและกลายเป็นคู่แข่งขันในการดึงดูดเม็ดเงินค่าโฆษณาอย่างมีนัยสำคัญด้วย ผลสำรวจของ บริษัท เดอะนีลเส็นคอมปะนี (ประเทศไทย) จำกัด ในช่วงที่ผ่านมาได้เน้นย้ำข้อเท็จจริงที่ว่านี้ โดยระบุว่า เงินค่าโฆษณาในธุรกิจสิ่งพิมพ์ในช่วงปี

Read More