Home > 2016 > มิถุนายน

รถประจำตำแหน่ง

 Column: AYUBOWAN ข่าวใหญ่ในสังคมศรีลังกานับตั้งแต่ช่วงกลางเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ดูจะมีแต่เรื่องราวและเหตุร้ายแรงที่ส่งผลกระทบต่อผู้คนในวงกว้างต่อเนื่องหลากหลายเหลือเกิน นับตั้งแต่เหตุพายุฝนฟ้ากระหน่ำแบบไม่มีโอกาสให้หยุดพัก จนเป็นเหตุให้ประชาชนในหลายพื้นที่ของศรีลังกาต้องเผชิญกับภาวะน้ำท่วมฉับพลันน้ำป่าไหลหลากและต้องพลัดถิ่นที่อยู่ ซ้ำร้ายปริมาณน้ำฝนที่ถูกดูดซับไว้ในผืนดินยังเป็นเหตุให้เกิดดินถล่มในหลายพื้นที่ติดตามมา การส่งกำลังบำรุงและหน่วยบรรเทาสาธารณภัยเข้าไปในพื้นที่ ซึ่งกระทำได้อย่างยากลำบากอยู่แล้ว ยิ่งต้องเผชิญกับอุปสรรคและความท้าทายยิ่งขึ้นไปอีก ความวัวว่าด้วยอุทกภัยและแผ่นดินถล่มยังไม่ทันจางหายก็เกิดเหตุคลังแสงสรรพวุธระเบิดราพณาสูรแม้จะมีความพยายามปิดข่าวไม่ให้ตกเป็นประเด็นทางการเมือง แต่ข่าวที่ว่านี้ก็สร้างความประหลาดใจให้กับผู้เกี่ยวข้องไม่น้อย และเชื่อมโยงไปสู่ประเด็นว่าด้วยการก่อวินาศกรรมเพื่อหวังผลทางการเมืองระหว่างกลุ่มการเมืองที่ขัดแย้งกันด้วย ความสูญเสียจากเหตุการณ์ทั้งสองข้างต้น แม้จะได้รับคำยืนยันจากหน่วยงานรัฐว่าจะเร่งเข้าไปให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยทั้งสองกรณี แต่กระบวนการต่างๆ ดูจะวิ่งตามความคาดหวังของประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุได้ไม่ดีเท่าที่ควรและกลายเป็นความไม่พึงพอใจว่าด้วยความล่าช้าในการจัดการกับปัญหาไปในที่สุด ประเด็นว่าด้วยความไม่พึงพอใจจากประสิทธิภาพในการบริหารจัดการแก้ไขและบรรเทาความเดือดร้อนจากเหตุภัยธรรมชาติและคลังแสงระเบิด ผสมรวมเข้ากับมูลเหตุเดิมว่าด้วยภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวที่นำไปสู่ความฝืดเคืองระดับครัวเรือนกลายเป็นปัจจัยเร่งความไม่พึงพอใจรัฐบาลในหมู่ประชาชนให้เพิ่มมากขึ้นทุกขณะ สถานการณ์ของรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดูจะถูกผลักให้ตกต่ำและมีสถานภาพห่างไกลจากความเป็นอยู่ของประชาชนทั่วไปยิ่งขึ้นไปอีก เมื่อปรากฏข่าวว่าบรรดารัฐมนตรีและข้าราชการในกระทรวงทบวงกรมของศรีลังกา ต่างได้รับการปูนบำเหน็จให้มีรถยนต์ประจำตำแหน่งภายใต้วงเงินงบประมาณรวมกว่า 1.2 พันล้านศรีลังการูปี หรือกว่า 380 ล้านบาท สำหรับสั่งนำเข้ารถยนต์หรูรวมกว่า 30 คัน กรณีดังกล่าวส่งผลให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวางถึงความสำคัญจำเป็นในการจัดสรรงบประมาณขนาดใหญ่เช่นว่านี้ เพียงเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับเหล่าบรรดาท่านผู้นำและผู้ที่เปี่ยมล้นด้วยบุญญาบารมีในคณะรัฐบาล ในขณะที่ประชาชนยังอยู่ในภาวะทุกข์ยากแสนสาหัส ยังไม่นับรวมถึงภาพที่ขัดกันอย่างสิ้นเชิงของการจัดสรรงบประมาณเพื่อช่วยเหลือและบรรเทาสาธารณภัยเร่งด่วน ที่ดูจะมีความสำคัญจำเป็นมากกว่า และยังขัดต่อหลักธรรมาภิบาลที่รัฐบาลศรีลังกาพยายามประกาศกร้าวและใช้เป็นเครื่องมือนำการลดทอนความน่าเชื่อถือของคณะรัฐบาลชุดก่อนอย่างสิ้นเชิง นอกเหนือจากจังหวะก้าวและห้วงเวลาในการสั่งซื้อ ซึ่งดูจะมีความไม่เหมาะสมอย่างยิ่งในความรู้สึกของประชาชนทั่วไปแล้ว ข้อวิพากษ์วิจารณ์ถึงการสั่งซื้อรถยนต์ประจำตำแหน่งที่แหลมคมมากประการหนึ่งก็คือ ในขณะที่รัฐบาลกำลังออกกฎหมายเพิ่มอัตราภาษีจากประชาชน การสั่งซื้อรถยนต์หรูดังกล่าวจะช่วยเพิ่มพูนศักยภาพทางการผลิตให้กับสังคมศรีลังกาโดยรวมอย่างไร  สิ่งนี้ดูจะส่งผลให้รัฐบาลที่ท่องบ่นเรื่องการปราบกลโกงและคอร์รัปชั่น หรือการดำเนินนโยบายสาธารณะอย่างมีธรรมาภิบาลหม่นหมองและต้องราคีเสียเอง และย่อมไม่ใช่สิ่งที่ประชาชนชาวศรีลังกาคาดหวังจากรัฐบาลของพวกเขาอย่างแน่นอน ท่ามกลางความไม่พึงพอใจที่แผ่กว้างในหมู่ประชาชนจากกรณีที่ว่านี้ เหล่าบรรดารัฐมนตรีและข้าราชการที่รับการปูนบำเหน็จรถยนต์หรูประจำตำแหน่งต่างออกมาให้สัมภาษณ์ในลักษณะใกล้เคียงกันว่า รถยนต์ประจำตำแหน่งที่พวกเขากำลังสั่งซื้อนี้ เป็นไปเพื่อผลประโยชน์สาธารณะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจะทำให้พวกเขาสามารถปฏิบัติภารกิจและนำพานโยบายไปสู่การปฏิบัติให้กับประชาชนได้ดียิ่งขึ้น รัฐมนตรีบางรายถึงกับระบุว่า เนื่องจากถนนหนทางในหลายพื้นที่ของประเทศไม่อยู่ในสภาพที่รถยนต์ทั่วไปจะเข้าถึงได้ ดังนั้นพวกเขาจึงจำเป็นต้องมีรถยนต์ประเภทขับเคลื่อนสี่ล้อและเครื่องยนต์กำลังแรงสำหรับปฏิบัติภารกิจกันเลยทีเดียว ได้ยินได้ฟังคำเอ่ยอ้างจากบรรดาผู้อุตส่าห์เสียสละมาทำประโยชน์เพื่อชาติอย่างนี้ ประชาชนผู้กำลังเดือดร้อนจากปัญหาปากท้องว่าด้วยพิษเศรษฐกิจ และข้อเท็จจริงที่ว่าศรีลังกายังมีหนี้สินสาธารณะอีกเป็นจำนวนมากรอการจ่ายคืน ก็คงอยู่ในภาวะที่ “หัวร่อไม่ออก ร้องไห้ก็ไม่ได้” ในแบบที่ท่านผู้อ่านในเมืองไทยอาจคุ้นเคยกันบ้างไหมคะ กระแสวิพากษ์และไม่พอใจอย่างกว้างขวาง ส่งผลให้ในเวลาต่อมา Ranil  Wickremesinghe นายกรัฐมนตรีศรีลังกามีคำสั่งระงับการสั่งซื้อรถยนต์ประจำตำแหน่งที่อื้อฉาวนี้เป็นการชั่วคราว จนกว่าการบูรณะฟื้นฟูและช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม ดินถล่ม

Read More

ไพรซ์ซ่าเผยพฤติกรรมผู้บริโภคครึ่งแรกปี 59 เน้นใช้จ่ายอย่างคุ้มค่า เปรียบเทียบราคาก่อนซื้อ

  “เศรษฐกิจไม่ดี เศรษฐกิจชะลอตัว” ดูเหมือนจะเป็นคำพูดติดปากผู้คนทั่วไปในช่วงนี้ ธุรกิจในหลากหลายอุตสาหกรรมล้วนได้รับผลกระทบจากการใช้จ่ายที่ลดลง และหนึ่งในธุรกิจที่ได้รับผลกระทบคือ กลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภค  โดยข้อมูลจากผลสำรวจของบริษัท กันตาร์เวิร์ลดพาแนล (ไทยแลนด์) จำกัด หรือ KWP ผู้นำด้านการวิจัยพฤติกรรมการจับจ่ายของผู้บริโภคเชิงลึก เผยว่า คนไทยจับจ่ายสินค้าประเภท FMCG ลดลงอย่างต่อเนื่อง และในปี 2559 นี้คาดการณ์เติบโตเพียง 1.8% เท่านั้น ในส่วนของตลาด E-Commerce เองก็พบข้อมูลที่น่าสนใจเช่นกัน โดยบริษัท ไพรซ์ซ่า จำกัด ผู้ให้บริการเว็บไซต์ค้นหาและเปรียบเทียบราคาสินค้า Priceza.com ได้รวบรวมข้อมูลสถิติการค้นหาสินค้าประเภทต่างๆ บนเว็บไซต์ และข้อมูลสินค้ากลุ่มอุปโภคบริโภคเพื่อเปรียบเทียบราคา พบว่าภายในระยะเวลา 9 เดือน มียอดการค้นหาสินค้ากลุ่มนี้เพิ่มมากขึ้นถึง 253% โดยสินค้าที่มียอดการค้นหาสูงสุด ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ของใช้ส่วนตัว45.9% อาหาร 25.7% เครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์  12.4% เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ 8.9% ผลิตภัณฑ์ดูแลบ้าน 6.4% และสินค้าอื่นๆ 0.7% ธนาวัฒน์ มาลาบุปผา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร

Read More

สตาร์บัคส์ จับมือ วิเวียน แทม เผยโฉมคอลเลคชั่นสุดเอ็กซ์คลูซีฟ จากแรงบันดาลใจลวดลายโรแมนติกแบบฉบับตะวันออก

  สตาร์บัคส์ คอฟฟี่ (ประเทศไทย) ภูมิใจเสนอสินค้าคอลเลคชั่นสุดเอ็กซ์คลูซีฟ ที่ได้รับการออกแบบโดยดีไซน์เนอร์สาวชื่อดังระดับโลก วิเวียน แทม (Vivienne Tam) นำเสนอแรงบันดาลใจภายใต้แนวความคิด Romance of the East  สู่ลวดลาย “ปักษาและผกาพรรณ” (“Bird and Flora”) แสนหวาน สะท้อนการผสมผสานเอกลักษณ์ของวัฒนธรรมเอเชียเข้ากับวัฒนธรรมตะวันตกได้อย่างลงตัว โดยความร่วมมือกับวิเวียน แทม ในครั้งนี้ ถือเป็นส่วนสำคัญในการสร้างความประทับใจจากประสบการณ์แบบสตาร์บัคส์ ผ่านการถ่ายทอดวิจิตรของศิลป์แบบตะวันออกที่หลอมรวมกับความโมเดิร์นแบบตะวันตกลงบนผลงานสวยสะดุดตาให้แก่ลูกค้าสตาร์บัคส์ที่ชื่นชอบแฟชั่นโดยเฉพาะ  คอลเลคชั่นสินค้าเอาใจแฟชั่นนิสต้า Vivienne Tam + Starbucks® ภายใต้แนวความคิด Romance of the East  มาพร้อมกับ แก้วทัมเบลอร์ 2 ชั้น, ขวดน้ำ S’Well และกระเป๋าผ้า โดยวางจำหน่ายตั้งแต่วันที่ 27 มิถุนายน 2559 ที่ร้านสตาร์บัคส์ทั่วประเทศ  โดย สินค้าในคอลเลคชั่น ประกอบด้วย  Vivienne Tam

Read More

ออง ซาน ซูจี เยือนไทย และจังหวะก้าวที่กว้างไกลของอาเซียน?

  ข่าวการเยือนประเทศไทยของออง ซาน ซูจี ที่ปรึกษาแห่งรัฐและรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศเมียนมา ระหว่างวันที่ 23-25 มิถุนายน ที่ผ่านมา ต้องถือเป็นปรากฏการณ์สำคัญของทั้งไทยและเมียนมา ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน เพราะในด้านหนึ่งนี่คือการเดินทางเยือนไทยอย่างเป็นทางการครั้งแรกของออง ซาน ซูจี ในฐานะหัวหน้าคณะผู้แทนและที่ปรึกษาแห่งรัฐเมียนมา หลังจากต่อสู้จนสามารถนำพาประเทศกลับเข้าสู่ความเป็นประชาธิปไตยอีกครั้ง ความน่าสนใจของการเยือน นอกจากจะอยู่ที่พิธีการเข้าพบปะกับเจ้าหน้าที่ระดับสูงของรัฐไทยและปาฐกถาพิศษที่กระทรวงการต่างประเทศในหัวข้อ “Myanmar, ASEAN and the World: The Way Forward” แล้ว ฉากแห่งการเดินทางเยี่ยมเยือนและพบปะแรงงานพม่าที่ตลาดทะเลไทย จังหวัดสมุทรสาคร ยังเป็นประหนึ่งการกระตุ้นเตือนถึงความสำคัญและเปราะบางในประเด็นว่าด้วยแรงงานข้ามชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อพิจารณาข้อเสนอเรียกร้องของเครือข่ายแรงงานชาวเมียนมา ผ่านทางออง ซาน ซูจี ที่ปรากฏในเวลาต่อมา ข้อเสนอเรียกร้องดังกล่าวประกอบด้วย 1. ขอให้เปิดจดทะเบียนแรงงานข้ามชาติและผู้ติดตามรอบใหม่ ภายใต้เหตุผลว่ายังมีแรงงานต่างด้าวที่ผิดกฎหมายและลักลอบทำงานในไทย ประมาณ 1-2 ล้านคน โดยให้รัฐบาลเมียนมาจัดส่งทีมเจ้าหน้าที่และจัดตั้งศูนย์พิสูจน์สัญชาติแรงงานพม่าร่วมกับทางการไทย เพื่อให้สามารถออกเอกสารรับรองสถานะและสัญชาติเป็นไปอย่างรวดเร็ว ในลักษณะของหนังสือแสดงตัวบุคคล ซึ่งไม่ใช่หนังสือเดินทาง (พาสปอร์ต) ก่อน และออกเป็นพาสปอร์ตภายหลัง ทั้งกลุ่มแรงงานเมียนมา ที่จดทะเบียนใหม่ และกลุ่มที่ขึ้นทะเบียนไว้แล้ว แต่อยู่ระหว่างรอพิสูจน์สัญชาติ 2. ขอให้ไทยบังคับใช้กฎหมาย ให้นายจ้างไทยจ่ายค่าจ้างตามข้อกำหนดค่าจ้างขั้นต่ำวันละ 300

Read More

ราชา ในเงาสลัว บนอาณาจักรแห่งเล่ห์กล

  ในห้วงยามที่สถานการณ์ทางเศรษฐกิจของไทย ยังปราศจากข่าวดีมาสนับสนุนให้เห็นถึงการปรับเปลี่ยนทิศทางและแนวโน้มการเติบโตในอนาคต ดูเหมือนว่าความเคลื่อนไหวและเป็นไปของอาณาจักรธุรกิจในนาม “คิง พาวเวอร์” ที่มี วิชัย ศรีวัฒนประภา คอยกำกับเป็นหัวเรือใหญ่ กลับสามารถรังสรรค์สีสันและความน่าตื่นตาตื่นใจให้ปรากฏเป็นข่าวได้อย่างต่อเนื่องตลอดช่วงครึ่งปีแรกของปี 2559 เลยก็ว่าได้ เป็นการปรากฏเป็นข่าวในทางสาธารณะของเจ้าของอาณาจักรธุรกิจ ที่ดำเนินไปท่ามกลางความเคลือบแคลงสงสัยของผู้คนในสังคมไทย ถึงที่มาที่ไปและจังหวะก้าวในการสั่งสมโอกาสทางธุรกิจที่เต็มไปด้วยสายสัมพันธ์ที่เกี่ยวพันหลายระนาบและระดับชั้น ข่าวการขึ้นเถลิงแชมป์พรีเมียร์ลีกของทีมเลสเตอร์ซิตี้ ที่ได้รับสมญานามว่า “จิ้งจอกสยาม” ทีมขนาดเล็กๆ ในสังเวียนลีกฟุตบอลสูงสุดของอังกฤษกลายเป็นปรากฏการณ์ที่สร้างประวัติศาสตร์ไม่เฉพาะกับสโมสรแห่งนี้เท่านั้น หากยังสั่นคลอนสถานะของทีมฟุตบอลชั้นนำแห่งอื่นๆ ของอังกฤษ และกำลังจะกลายเป็นประเด็นให้ต้องกล่าวถึงในระดับยุโรปในอนาคตอันใกล้ เพราะการได้แชมป์พรีเมียร์ลีกในฤดูกาลแข่งขันที่ผ่านมา หมายถึงสิทธิการได้เข้าร่วมชิงชัยในสังเวียน Uefa Champion League ซึ่งเป็นแหล่งรวมทีมสโมสรชั้นนำของยุโรปในฤดูการแข่งขันปี 2016-2017 โดยอัตโนมัติ และเป็นความท้าทายใหม่ที่เพิ่มระดับความเข้มข้น เพื่อพิสูจน์ความสามารถขอ เลสเตอร์ซิตี้ ในห้วงเวลานับจากนี้ ข้อเท็จจริงที่น่าสนใจประการหนึ่งก็คือ วิชัย เข้าซื้อหุ้นและกุมอำนาจบริหารในสโมสรเลสเตอร์ ซิตี้ ตั้งแต่เมื่อปี 2010 และเริ่มปรับแต่งให้ทีมฟุตบอลที่มีอันดับอยู่กลางตารางในลีก Championship ลีกการแข่งขันระดับรองของอังกฤษ สั่งสมความสำเร็จทีละเล็กละน้อย ก่อนที่จะก้าวกลับขึ้นมาโลดแล่นใน Premier League ซึ่งเป็นลีกสูงสุดอีกครั้งในปี 2014-2015 ในฐานะที่เป็นแชมป์ Championship League ในฤดูกาลก่อนหน้า หากแต่บันไดสู่ความสำเร็จและการอยู่รอดในสังเวียนพรีเมียร์ลีกไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบ

Read More

เคทีซีผนึกเวิลด์ เอ็กซ์พลอเรอร์ ร่วมขับเคลื่อนธุรกิจท่องเที่ยวในประเทศ เปิดโครงการประวัติศาสตร์ “7 โบราณสถาน กับ 5 ตำนานสุวรรณภูมิ (เรื่องเล่าหลายชาติบนแผ่นดินแหลมทอง)”

 เคทีซีจับมือเวิลด์ เอ็กซ์พลอเรอร์ สานต่อนโยบายประชารัฐด้านการท่องเที่ยว เพื่อกระจายรายได้และมุ่งสร้างความยั่งยืน เปิดโครงการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ในมุมมองใหม่ “7 โบราณสถาน กับ 5 ตำนานสุวรรณภูมิ (เรื่องเล่าหลายชาติบนแผ่นดินแหลมทอง)”  เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ประวัติศาสตร์ไทย ภายใต้แนวคิดเรื่องโบราณสถานต่างๆ ที่เคยรุ่งเรือง 7 แห่ง ผ่านการเดินทางไปตามแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ในจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศ และ 5 ประเทศใน AEC กับเหล่านักประวัติศาสตร์โบราณคดีตัวจริง ที่จะมาร่วมเปิดมุมมองใหม่จากตำนานที่เล่าขาน กับ 12 ทริปต่อเนื่องจนถึงต้นปี 2561  ประเดิมทริปแรกด้วยการเดินทางสู่เมืองละโว้ “ศิลาแลงเล่าเรื่อง เมืองลิงสร้าง” จังหวัดลพบุรี ระหว่างวันที่ 27-28 สิงหาคม 2559 พิทยา วรปัญญาสกุล รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารธุรกิจบัตรเครดิต “เคทีซี” หรือ บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “จากข้อมูลการใช้จ่ายผ่านบัตรที่เกี่ยวข้องกับการเดินทางของสมาชิกเคทีซี พบว่ามีอัตราเติบโตสูงขึ้นทุกปี โดยในปี 2558 เติบโตประมาณ

Read More

เจ็ดปีหลังสงครามกับปมในใจ

 Column: AYUBOWAN เดือนพฤษภาคม 2016 ที่ผ่านมา หากเป็นช่วงที่ศรีลังกายังมีผู้นำชื่อ Mahinda Rajapaksa หรือผู้คนในเครือข่ายของเขาอยู่ในอำนาจ เชื่อว่าบรรยากาศภายในของศรีลังกาคงเต็มไปด้วยกระแสข่าวโหมประโคมถึงชัยชนะเมื่อปี 2009 เหนือกลุ่มกองกำลังติดอาวุธพยัคฆ์ทมิฬอีแลม (Liberation Tigers of Tamil Eelam: LTTE) ที่เป็นจุดเริ่มต้นศักราชแห่งการพัฒนาและสันติสุข หากแต่ในวันนี้ผู้ครองอำนาจทางการเมืองในศรีลังกา แม้จะเคยร่วมมีบทบาทในกรณีดังกล่าว แต่ด้วยสถานะการเป็นคู่แข่งขันทางการเมือง การกล่าวถึงคุณความดีของคู่ปฏิปักษ์ คงไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ใดๆ มากนัก  ในทางกลับกันยังต้องพยายามสืบหาจุดอ่อนและบาดแผลจากเหตุการณ์ครั้งนั้นมาเป็นเครื่องมือในการลดทอนความน่าเชื่อถือของฝ่ายตรงข้ามไปในตัวด้วย ข้อเท็จจริงที่น่าสนใจมากประการหนึ่งก็คือ ภายหลังจากที่รัฐบาลศรีลังกาประกาศชัยชนะเหนือกองกำลังพยัคฆ์ทมิฬ และปิดฉากสงครามกลางเมือง (Civil War) สู่ความสงบเมื่อเจ็ดปีที่ผ่านมา ในด้านหนึ่งดูเหมือนว่าสถานะของศรีลังกาโดยเฉพาะในมิติของโอกาสทางการค้าการลงทุนแห่งใหม่ก็ฉายโชนออกมาเกือบจะทันที นักธุรกิจและสังคมการเมืองระหว่างประเทศต่างรอคอยจังหวะที่จะเข้ามาเติมเต็มช่องว่างทางเศรษฐกิจและการพัฒนาที่หายไปนานกว่า 3 ทศวรรษ แต่บางส่วนก็ยังหยั่งท่าทีด้วยการตั้งข้อสงวนว่าด้วยการละเมิดสิทธิมนุษยชนและความโปร่งใสทางการเมือง ความเป็นไปของศรีลังกานับตั้งแต่สิ้นสุดสงครามกลางเมือง ติดตามมาด้วยโครงการพัฒนาหลากหลายและการหลั่งไหลเข้ามาลงทุนของนักลงทุนจากต่างประเทศ ที่ร่วมเสริมให้ภาพลักษณ์ของศรีลังกาในช่วงหลายปีที่ผ่านมาเป็นประหนึ่งอัญมณีที่พร้อมจะถูกขัดเกลาแต่งเติมสีสันให้สุกสกาวและเจิดจรัสอย่างเต็มที่ เขตบ้านย่านเมืองโดยเฉพาะในโคลัมโบ ซึ่งเป็นศูนย์กลางในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจได้รับการบูรณะปฏิสังขรณ์ และการพัฒนาโครงการลงทุนขนาดใหญ่ที่ทำให้เกิดภูมิทัศน์ใหม่ๆ ไม่เว้นในแต่ละเดือน ขณะที่จำนวนรถยนต์ที่สั่งนำเข้าจากต่างประเทศเพื่อสนองความต้องการและดูดซับปริมาณเม็ดเงินที่เกิดจากภาพรวมเศรษฐกิจที่เติบโตแบบก้าวกระโดด ทำให้ถนนในกรุงโคลัมโบมีสภาพไม่ต่างกับลานจอดรถ หรือโชว์รูมรถยนต์ขนาดใหญ่ ที่มีรถยนต์เบียดแทรกอัดแน่นจนอาจเรียกได้ว่าล้นพื้นที่ก็ว่าได้ การสั่งซื้อและนำเข้ารถยนต์จากต่างประเทศกลายเป็นส่วนหนึ่งของปัญหาในการบริหารและจัดการความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ และทำให้รัฐบาลศรีลังกาต้องประกาศชะลอการนำเข้ารถยนต์ เพื่อรักษาเสถียรภาพทางการเงินของประเทศในช่วงที่ผ่านมาอีกด้วย แต่นั่นเป็นเพียงปัญหาทางเศรษฐกิจที่ไม่ต่างจากยอดภูเขาน้ำแข็งที่พ้นระดับน้ำให้ได้เห็นเป็นประจักษ์ ขณะที่ลึกลงไปเบื้องล่างปัญหาว่าด้วยโอกาสทางเศรษฐกิจสำหรับประชาชนคนรากหญ้าที่เป็นฐานล่างของสังคม กำลังเผชิญกับประเด็นปัญหาที่หนักหน่วงกว่ามาก ประเด็นว่าด้วยการกระจายโอกาสและรายได้ ดูจะเป็นคุณลักษณะร่วมที่เกิดขึ้นในเกือบทุกหนแห่งในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา ซึ่งสำหรับสังคมศรีลังกาที่มีฐานประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวสิงหล กรณีที่ว่านี้ก็เป็นส่วนหนึ่งในความไม่พึงพอใจที่ประชาชนมีต่อนโยบายของรัฐมาอย่างต่อเนื่อง เพราะแม้จะเป็นกลุ่มคนส่วนใหญ่ของประเทศแต่โอกาสในการเข้าถึงทรัพยากรกลับเป็นไปอย่างจำกัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อภาคธุรกิจขยายตัวอย่างรวดเร็วในระยะหลังจากที่สงครามกลางเมืองสงบลง ชาวสิงหลในท้องถิ่นห่างไกลยิ่งพบว่าพวกเขาถูกละเลยให้ถอยห่างจากกระบวนการพัฒนาที่กำลังโหมประโคมในหัวเมืองใหญ่และพื้นที่ที่ประสบภัยสงครามในช่วงก่อนหน้านี้ด้วย ความไม่สมดุลของการพัฒนาและปัญหาทางเศรษฐกิจ เริ่มส่งผลให้ชาวสิงหลที่เป็นฐานเสียงใหญ่เริ่มแสดงความไม่พึงพอใจต่อกลไกทางการเมือง

Read More

บีเอ็มดับเบิลยู กรุ๊ป เผยโฉมนิยามใหม่ของยนตรกรรมแห่งโลกอนาคต เปิดตัวรถยนต์ต้นแบบ ‘วิชั่น เน็กซ์ 100’

  บีเอ็มดับเบิลยู กรุ๊ป เผยโฉมนิยามใหม่ของยนตรกรรมแห่งโลกอนาคต เปิดตัวรถยนต์ต้นแบบ ‘วิชั่น เน็กซ์ 100’ จากมินิและโรลส์-รอยซ์ ในงาน “Iconic Impulses. The BMW Group Future Experience.” บีเอ็มดับเบิลยู กรุ๊ป เปิดตัวรถยนต์ต้นแบบสองรุ่นภายใต้แบรนด์มินิและโรลส์-รอยซ์ เนื่องในโอกาสการเปิดนิทรรศการ “Iconic Impulses. The BMW Group Future Experience.” ที่ราวนด์เฮาส์ กรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร เพื่อสานต่อการเผยวิสัยทัศน์โลกยานยนต์แห่งอนาคต หลังจากที่ได้เปิดตัวรถยนต์ต้นแบบ บีเอ็มดับเบิลยู วิชั่น เน็กซ์ 100 ไปในงานเฉลิมฉลองครบรอบ 100 ปีของบริษัทที่เมืองมิวนิค ประเทศเยอรมนี เมื่อวันที่ 7 มีนาคมที่ผ่านมา การคาดการณ์ถึงวิถีชีวิตและรูปแบบการเดินทางสัญจรในอนาคตถือเป็นภารกิจที่ท้าทายและน่าสนใจไม่น้อย เนื่องจากต้องคำนึงถึงปัจจัยต่างๆ มากมาย ทั้งในด้านสังคม เศรษฐกิจ ความเป็นอยู่ และนวัตกรรมยานยนต์ รวมถึงโอกาสใหม่ๆ จากเทคโนโลยีล้ำสมัย

Read More

น่านนครเสน่ห์ที่ควรอนุรักษ์ กับการพัฒนาอย่างยั่งยืน

  น่านจังหวัดทางภาคเหนือของไทยที่อาจไม่ใช่จุดหมายปลายทางของนักท่องเที่ยวเท่าใดนัก และมักมีคำกล่าวที่ขยายความให้เข้าใจแจ่มชัดยิ่งขึ้นว่า “ถ้าไม่ตั้งใจไป ก็ไปไม่ถึง”  อย่างไรก็ตาม ในช่วงเวลา 2-3 ปีก่อนหน้าการท่องเที่ยวในจังหวัดน่านดูจะได้รับความนิยมมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากที่การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ออกแคมเปญเพื่อรณรงค์การท่องเที่ยว โดยประกาศให้น่าน เป็น 1 ใน 12 เมืองต้องห้ามพลาดในปี 2558 ซึ่งนี่เองที่ทำให้การท่องเที่ยวในจังหวัดน่านเป็นหนึ่งในตัวเลือกอันดับต้นๆ สำหรับนักท่องเที่ยว ด้วยมนต์เสน่ห์ของน่านนครที่อุดมไปด้วยสถาปัตยกรรมแบบล้านนา สถานที่ท่องเที่ยว วัดวาอารมที่บอกเล่าเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ ความเป็นมาของชาติพันธุ์ได้เป็นอย่างดี วิถีชีวิตของผู้คนในท้องถิ่นที่ดำเนินไปด้วยความสงบเรียบง่าย จึงเป็นตัวดึงดูดผู้คนให้เข้ามาศึกษาเรียนรู้ไลฟ์สไตล์ที่ต่างกันออกไป การขยายตัวธุรกิจการท่องเที่ยวในจังหวัดน่าน เพื่อรองรับอัตราการเติบโต และการเพิ่มขึ้นของจำนวนนักท่องเที่ยว ทำให้หลายฝ่ายมีความกังวลในเรื่องของขอบเขตการพัฒนาทั้งในเชิงศักยภาพของการบริการ และการพัฒนาสถานที่ท่องเที่ยว บทเรียนที่เห็นเด่นชัดคือความล่มสลายของเมืองปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน ที่ได้รับความนิยมอย่างรวดเร็วจากนักท่องเที่ยว และถูกดูดกลืนวัฒนธรรมจนไม่หลงเหลือเสน่ห์ให้ค้นหามากนัก คนในเมืองน่านมีลักษณะเป็น Soft Culture หากหน่วยงานที่ดูแลเรื่องการท่องเที่ยวของน่านต้องการให้จังหวัดพัฒนาด้านศักยภาพเพื่อรองรับการเติบโตของการท่องเที่ยวอย่างเต็มที่ จะส่งผลให้คนนอกที่เข้ามาในพื้นที่มาพร้อมกับ Hard Culture ซึ่งจะทำให้คนน่านกลายเป็นผลเมืองชั้นสองในทันที เมื่อมองจากภาพรวมของเมืองท่องเที่ยวอื่นๆ ในจังหวัดทางภาคเหนือของไทย เช่น เชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน การเข้ามาของกลุ่มทุนทั้งจากจีน เวียดนาม หรือกระทั่งคนไทยจากเมืองหลวง มักส่งผลต่อความเป็นธรรมชาติของเมืองนั้นๆ แม้ว่าการเปลี่ยนแปลงจะนำมาซึ่งรายได้ของเมือง รายได้ของประชากรที่เพิ่มจำนวนสูงขึ้นก็ตาม กระนั้นสิ่งที่หน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องพึงกระทำ คือการพัฒนาจังหวัดน่านแบบยั่งยืน ค่อยเป็นค่อยไป

Read More

“สินทรัพย์ประกันภัย” โชว์วิสัยทัศน์ปี’59 ปรับองค์กรกระชับ ทิ้งพอร์ตแท็กซี่ลดขาดทุน

  “สินทรัพย์ประกันภัย” โชว์วิสัยทัศน์ปี’59 เน้นปรับปรุงองค์กรให้กระชับ จัดการบริหารต้นทุนลดค่าใช้จ่าย ตัดพอร์ตแท็กซี่ทิ้งเหตุเคลมสูง ลดขาดทุน วางเป้าไว้ใกล้เคียงกับปี’58 ที่ 980 ล้านบาท คาดครึ่งปีหลังผลประกอบการจะดีขึ้น ดร.สมนึก สงวนสิน ประธานกรรมการบริหาร บมจ. สินทรัพย์ประกันภัย เปิดเผยว่า “ในปี 2559 บริษัทมีการปรับปรุงและบริหารจัดการองค์กร โดยเฉพาะการบริหารต้นทุนและลดค่าใช้จ่าย ทั้งนี้ บริษัทมองว่าหากบริหารจัดการในส่วนของต้นทุนบริหารได้ จะทำให้บริษัทมีผลการดำเนินงานที่เป็นบวกมากยิ่งขึ้น ซึ่งบริษัทได้ปรับลดเป้ายอดขายในปีนี้ลงมาเหลือใกล้เคียงกับปี 2558 คือประมาณ 980 ล้านบาท หรืออาจเติบโตเพิ่มขึ้นประมาณ 5% จากแผนเดิมที่เคยตั้งเป้าไว้ประมาณ 1,200 ล้านบาท” “เราเน้นเรื่องคุณภาพและผลิตภัณฑ์ ไม่แข่งเรื่องราคา เพราะประกันภัยมีการแข่งขันราคาสูงมาก มีการตัดราคากันจนสมาคมประกันวินาศภัยไทยได้มีการนัดพูดคุยหารือกับผู้บริหารของบริษัทประกันต่างๆ เร็วๆนี้ เพื่อมิให้มีการแข่งขันตัดราคากันจนทำให้ราคาในตลาดลดลงต่ำไปกว่านี้” อย่างไรก็ดี ในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา ฐานลูกค้าหลักของบริษัทคือกลุ่มรถแท็กซี่ ซึ่งเริ่มมีอัตราความเสียหายต่อเบี้ยประกันภัยเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่องขึ้นไปอยู่ที่ระดับ 89-110% จากเดิมที่ในช่วง 3 ปีแรกที่เริ่มทำตลาดนั้นอยู่ที่ระดับ 58% จนต้องมีการปรับเบี้ยประกันเพิ่ม25% เพื่อไม่ให้บริษัทต้องขาดทุนเพิ่มขึ้น ซึ่งในส่วนของงานรับประกันภัยรถแท็กซี่ส่วนใหญ่จะเป็นการรับประกันภัยประเภทชั้นสาม

Read More