Home > มลพิษ

พ.ร.บ. อากาศสะอาดและนวัตกรรม ความหวัง-ทางออกของปัญหา PM2.5

“ฝุ่นพิษ PM2.5” ยังคงเป็นปัญหาเรื้อรังที่ส่งผลกระทบทั้งต่อสุขภาพและเศรษฐกิจมาอย่างต่อเนื่อง ที่ผ่านมามีความพยายามจากหลายฝ่ายเพื่อหาทางแก้ปัญหาและลดผลกระทบที่เกิดขึ้นให้เบาบางลง และที่ถือเป็นก้าวย่างที่สำคัญและน่าจับตาคือ ความเคลื่อนไหวของภาคประชาชนที่รวมตัวผลักดันร่างพระราชบัญญัติอากาศสะอาดฉบับเครือข่ายอากาศสะอาด (พ.ร.บ. อากาศสะอาด) นำเสนอต่อรัฐสภา เพื่อหวังเป็นเครื่องมือที่จะมาแก้ปัญหา PM2.5 เป็นที่ทราบกันดีกว่าฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน หรือ PM2.5 เป็นมลพิษทางอากาศที่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อสุขภาพและเศรษฐกิจของประเทศอย่างฝังลึก และเป็นสิ่งที่คนไทยกำลังเผชิญอยู่ทุกปี จากการติดตามสถานการณ์ PM2.5 โดยสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศอัตโนมัติของกรมควบคุมมลพิษ จํานวน 64 สถานี ใน 34 จังหวัดทั่วประเทศ พบว่า ในช่วงปี พ.ศ. 2562-2564 สถานการณ์ PM2.5 เฉลี่ย 24 ชั่วโมง สูงเกินเกณฑ์มาตรฐานในช่วงต้นปีและปลายปี โดยเฉพาะในเมืองขนาดใหญ่ที่มีการจราจรหรือบรรทุกขนส่งหนาแน่น เขตอุตสาหกรรม พื้นที่ก่อสร้าง และพื้นที่มีการเผาในที่โล่ง เช่น กรุงเทพมหานครและปริมณฑล แม่ฮองสอน เชียงราย น่าน ลำปาง แพร่ นครสวรรค์ และสระบุรี เป็นต้น โดยแหล่งกำเนิดหลักๆ

Read More

Netflix ประกาศแผนลดการปล่อยมลพิษ มุ่งเป้าสถานะ ‘Net Zero’ สู่สตรีมมิ่งความบันเทิงที่เป็นมิตรต่อโลก

สู่ความบันเทิงผ่านการสตรีมที่เป็นมิตรต่อโลก Netflix ประกาศแผนลดการปล่อยมลพิษ มุ่งเป้าสถานะ ‘Net Zero’ ภายในสิ้นปี 2022 ก้าวเข้าสู่ไตรมาสสองของปี 2021 หลายธุรกิจกลับมาเดินหน้าอีกครั้งหลังจากต้องหยุดนิ่งเนื่องจากสถานการณ์โรคระบาดในปี 2020 ที่ผ่านมา แม้หลากหลายกิจกรรม อุตสาหกรรม หรือกลุ่มธุรกิจต่างๆ ต้องหยุดพักไปเกือบปี แต่มีหนึ่งสิ่งที่ไม่ได้หยุดนิ่งตามไปด้วย นั่นก็คือวิกฤติด้านสภาพภูมิอากาศของโลก ซึ่งมีกิจกรรมต่างๆ เหล่านี้เป็นต้นเหตุที่สำคัญ ถึงแม้ว่าวงการบันเทิงจะไม่ใช่ชื่ออันดับแรกๆ ที่ใครหลายคนคิดถึงเมื่อพูดถึงผลกระทบที่มีต่อสภาพแวดล้อม แต่ในฐานะผู้นำบริการสตรีมมิ่งความบันเทิงระดับโลก Netflix เองก็เข้าใจดีว่าการสร้างสรรค์และนำเสนอผลงานความบันเทิงสู่หน้าจอนับล้านทั่วโลกนั้น ย่อมมีต้นทุนทางคาร์บอนเช่นกัน โดยล่าสุดเมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2021 Netflix ได้ประกาศแผนที่จะลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้เหลือศูนย์ภายในช่วงสิ้นปี 2022 ดร. เอมม่า สจ๊วต เจ้าหน้าที่ด้านความยั่งยืนของเน็ตฟลิกซ์ กล่าวว่า “ฉันโชคดีที่มีโอกาสได้นำสิ่งที่ตัวเองรักอย่างวิทยาศาสตร์มาผสานเข้ากับการถ่ายทอดเรื่องราวที่ Netflix ซึ่งเราทุกคนที่นี่ต่างต้องการสร้างความบันเทิงให้กับโลกใบนี้ แต่การจะสร้างความบันเทิงได้ เราต้องมีโลกที่ผู้คนอาศัยอยู่ได้ และนักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกต่างเห็นพ้องต้องกันว่าเราต้องรักษาสภาพอากาศไว้ไม่ให้อุณหภูมิเพิ่มสูงเกิน 1.5 องศาเซลเซียส เพื่อหลีกเลี่ยงผลลัพธ์ร้ายแรงจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และรักษาระบบต่างๆ ที่สำคัญต่อการดำรงชีวิตให้อยู่ในสภาพดีเพื่อลูกหลานของเราในอนาคต” ในปี 2020 ที่ผ่านมา Netflix

Read More

บทเรียนจากฝุ่นพิษ ถึงเวลาพลังงานสะอาด?

คนไทยเริ่มต้นศักราชใหม่ด้วยความอึมครึมอยู่ไม่น้อย ทั้งสถานการณ์การเมืองที่ยังไม่กระจ่างชัด สภาวะเศรษฐกิจไทยที่ดูดีเพียงตัวเลขในรายงานสรุปผลประจำปี และการคาดการณ์ในแนวบวกไว้ล่วงหน้า แต่ที่สร้างความหวั่นวิตกให้ประชาชนคนไทยในห้วงยามนี้ เห็นจะเป็นปัญหามลพิษฝุ่น PM2.5 ซึ่งกลายเป็นประเด็นทางสังคมให้หลายฝ่ายได้ถกเถียงกันว่าสถานการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นและส่งผลกระทบต่อสุขภาพของผู้คนแล้วนั้น เข้าขั้น “วิกฤต” หรือยัง สถานการณ์ฝุ่น PM2.5 ที่ปรากฏเป็นภาพชัดตั้งแต่ช่วงเดือนมกราคมที่ผ่านมานั้น มีข้อเท็จจริงบางประการที่อาจถูกลืมเลือนหรือเพิกเฉย นั่นคือปัญหาฝุ่นพิษนั้นเคยเกิดขึ้นในสภาพแวดล้อมของไทยมาก่อนหน้า โดยเฉพาะพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล รวมไปถึงเมืองใหญ่ในต่างจังหวัด ทว่า ปี พ.ศ.2562 ปัญหามลพิษฝุ่น PM2.5 กลับฉายภาพชัดเจนมากขึ้น ส่วนหนึ่งน่าจะมาจากภาครัฐได้ทำการติดตั้งเครื่องตรวจวัดมาตรฐานฝุ่น PM2.5 โดยในปีนี้มีการติดตั้งเพิ่มเติมอีก 30 จุด ขณะที่ปีที่ผ่านมามีการติดตั้งไปเพียง 4 จุดเท่านั้น และตัวเลขจากเครื่องวัดมาตรฐานฝุ่น PM2.5 เป็นข้อมูลสำคัญที่ถูกเปิดเผยต่อสาธารณะ อันนำมาซึ่งความตื่นตระหนก ขณะที่อีกเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ปัญหามลพิษฝุ่น PM2.5 ทวีความรุนแรงมากขึ้น น่าจะมาจากการละเลยที่จะใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อมและสภาพอากาศของทุกฝ่าย ฝุ่น PM2.5 เกิดจากหลายสาเหตุ ทั้งการเผาไหม้ของเครื่องยนต์ดีเซล โรงงานอุตสาหกรรม การเผาวัชพืชทางการเกษตรในที่โล่ง การผลิตไฟฟ้า ปฏิกิริยาทางเคมีในอากาศ แม้ว่าแนวทางการแก้ไขปัญหาของภาครัฐในเบื้องต้นจะอยู่ที่ปลายเหตุเสียเป็นส่วนใหญ่ ทั้งการฉีดน้ำเพื่อหวังลดค่าฝุ่น PM2.5 การทำฝนหลวง หรือการเสนอแนวความคิดที่จะให้รถยนต์วิ่งวันคู่วันคี่ ทั้งหมดทั้งมวลดูจะห่างไกลจากคำว่า “การแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน” มากนัก แน่นอนว่า

Read More