Home > 2020 > กรกฎาคม

ยูนิโคล่ นำธุรกิจสู่ความยั่งยืนทั้งในระดับ ผู้คน ชุมชน และโลก ผ่านแนวคิด “ปลดล็อกพลังแห่งเสื้อผ้า”

ยูนิโคล่ แบรนด์เครื่องแต่งกายระดับโลกจากญี่ปุ่น ตระหนักถึงความสำคัญของเสื้อผ้าและพลังที่ซ่อนอยู่ จึงมุ่งมั่นดำเนินธุรกิจตามพันธกิจของบริษัทฯ ที่ต้องการ “ปลดล็อกพลังแห่งเสื้อผ้า” ด้วยความเชื่อมั่นว่า การเปลี่ยนพลังของเสื้อผ้าให้กลายเป็นพลังแห่งความดี สามารถทำให้โลกของเราน่าอยู่ยิ่งขึ้นได้ ด้วยการออกแบบ ตัดเย็บ และจำหน่ายเสื้อผ้าที่ดี อย่างที่ยูนิโคล่ได้มุ่งมั่นและยึดถือมาโดยตลอด คุณจันทร์จิรา ตอชะกุล ผู้อำนวยการฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ และการพัฒนาที่ยั่งยืน บริษัท ยูนิโคล่ (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยว่า “ยูนิโคล่ ดำเนินธุรกิจในประเทศไทยมานาน 9 ปี ซึ่งตลอดเวลาที่ผ่านมา เรายึดมั่นในการดำเนินธุรกิจและปฏิบัติตามพันธกิจด้านความยั่งยืนของบริษัทแม่ ควบคู่ไปกับการยึดมั่นในปรัชญา ‘ไลฟ์แวร์ (LifeWear)’ ซึ่งเน้นถึงการส่งมอบเสื้อผ้าที่มีคุณภาพและสวมใส่สบาย ให้เข้ามาช่วยเติมเต็มการใช้ชีวิตในแต่ละวันของผู้คนได้ดียิ่งขึ้น นอกจากนี้ เรายังมุ่งมั่นสร้างสรรค์แนวคิดใหม่ๆ และพัฒนาในด้านต่างๆ อย่างต่อเนื่อง เพื่อช่วยทำให้สังคมของเราดีขึ้น ซึ่งพันธกิจด้านความยั่งยืนที่ยูนิโคล่ยึดถือและปฏิบัติครอบคลุม 3 ด้านด้วยกัน คือ ผู้คน ชุมชน และโลก” ผู้คน พันธกิจด้านความยั่งยืนของยูนิโคล่เริ่มต้นตั้งแต่ที่บริษัท ยูนิโคล่ส่งเสริมสภาพแวดล้อมในการทำงานด้วยการปฏิบัติต่อพนักงานทุกคนอย่างเท่าเทียมและยอมรับในความแตกต่างหลากหลายของผู้คน ไปพร้อมกับการส่งเสริมสถานที่ทำงานที่ปลอดภัยและใส่ใจกับสุขภาพของพนักงาน เพื่อให้พนักงานทุกคนสามารถทำงานได้อย่างเต็มที่ พร้อมมุ่งสู่เป้าหมายของแต่ละคน ยูนิโคล่ยังมอบโอกาสให้กับทุกคนอย่างเท่าเทียมในการแสดงทักษะความสามารถ โดยปราศจากอคติทางด้านเชื้อชาติ

Read More

โรงงานญี่ปุ่นย้ายฐานสู่เวียดนาม อุตสาหกรรมไทยไร้แรงดึงดูด?

การแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19 ทำให้ทั่วโลกได้รับบทเรียนสำคัญ อันนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในภาคอุตสาหกรรม แน่นอนว่าเหตุผลดังกล่าวแม้ไม่ใช่ทั้งหมดของปัจจัยอันนำไปสู่การออกนโยบายของรัฐบาลญี่ปุ่น ที่พร้อมจะสนับสนุนโรงงานอุตสาหกรรมญี่ปุ่นในการย้ายฐานผลิตออกจากประเทศจีน เมื่อการระบาดของไวรัสในจีนส่งผลให้หลายอุตสาหกรรมต้องชะงักงันจากมาตรการปิดประเทศในช่วงเวลาหนึ่ง และส่งผลกระทบด้าน Supply chain ต่อประเทศคู่ค้าอื่นๆ การลดการพึ่งพาจีนจึงดูจะเป็นทางออกที่ดีจากบทเรียนครั้งนี้ รัฐบาลญี่ปุ่นอาศัยจังหวะเวลานี้ ประกาศใช้นโยบายสนับสนุนด้านการเงินแก่บริษัทญี่ปุ่นเพื่อย้ายฐานการผลิตออกจากประเทศจีน เพื่อกลับมาลงทุนในประเทศบ้านเกิดและในโซนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กระแสข่าวดังกล่าวทำให้ภาคอุตสาหกรรมไทยที่กำลังตั้งลำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกหรือ EEC เริ่มมีประกายความหวังว่า ในอนาคตอันใกล้จะมีนักลงทุนจากประเทศญี่ปุ่นตบเท้าเข้ามาในพื้นที่นี้มากขึ้น ทว่า สัญญาณการเบนเข็มของโรงงานญี่ปุ่นที่จะมาไทยนั้นเริ่มเบาบางลง นับตั้งแต่มีข่าวการตัดสินใจย้ายฐานการผลิตออกจากไทยไปสู่เวียดนามของ Panasonic ซึ่งสาเหตุหลักน่าจะมาจากต้นทุนค่าแรงที่เพิ่มสูงขึ้นของแรงงานไทย ขณะที่อีกเหตุผลหนึ่งคือ Panasonic เองมีฐานการผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดใหญ่ในเวียดนามอยู่ก่อนแล้ว ข้อมูลจาก Nikkei Asian Review ระบุว่า การย้ายฐานการผลิตของ Panasonic สะท้อนให้เห็นถึงการสร้างโรงงานในพื้นที่ใหม่ของบริษัทญี่ปุ่น เพราะช่วงศตวรรษที่ 70 (พ.ศ. 2513-2522) บริษัทญี่ปุ่นเริ่มย้ายฐานการผลิตออกนอกประเทศมายังสิงคโปร์และมาเลเซีย เพราะค่าเงินเยนแข็ง แต่เมื่อค่าแรงในสิงคโปร์เพิ่มขึ้น ไทยจึงเป็นเป้าหมายลำดับถัดมา และปัจจุบันหลายบริษัทกำลังย้ายออกจากประเทศไทย โดยภายในปี 2563 Panasonic จะทยอยหยุดการผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าในไทยลง เช่น เครื่องซักผ้าที่จะหยุดผลิตในเดือนกันยายน และตู้เย็นในเดือนตุลาคม ก่อนจะปิดโรงงานในเดือนมีนาคม ปี 2564 ซึ่งนั่นจะส่งผลให้พนักงานในโรงงานแห่งนี้ถูกเลิกจ้างราว 800

Read More

บำรุงราษฎร์ จับมือ เจดับบลิว แมริออท ออกแบบ Customer Journey เปิดตัวเมนู ‘Healthy Thai Touch Tea Set’ ย้ำบริการพรีเมียมแบบ ‘Hospitel’

บำรุงราษฎร์ จับมือ เจดับบลิว แมริออท กรุงเทพฯ ออกแบบ Customer Journey ยกระดับประสบการณ์เชิงบวก เปิดตัวเมนู ‘Healthy Thai Touch Tea Set’ ย้ำบริการพรีเมียมแบบ ‘Hospitel’ การที่จะยืนหยัดอยู่บนโลกธุรกิจได้อย่างยั่งยืนนั้น ล้วนมีองค์ประกอบต่าง ๆ มากมาย ขณะที่การสร้างประสบการณ์ให้กับลูกค้า (Customer Experience) ก็ถือเป็นอีกปัจจัยสำคัญในการสร้างความแตกต่างในดำเนินธุรกิจเช่นกัน แต่บางครั้งอาจถูกมองข้าม เนื่องจากเป็นการสร้างสัมพันธภาพกับลูกค้าในระยะยาว และจำเป็นต้องทำอย่างต่อเนื่อง ขณะเดียวกันองค์กรก็ต้องจัดสรรเงินทุนส่วนหนึ่งเพื่อนำมาออกแบบสร้างสัมพันธ์อันดีควบคู่กับการพัฒนาธุรกิจไปพร้อมๆ กัน โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ถือเป็นอีกตัวอย่างขององค์กรธุรกิจโรงพยาบาลที่เล็งเห็นความสำคัญในการพัฒนาองค์กรในทุกๆ มิติ ซึ่งหมายรวมถึงการออกแบบสร้างสรรค์เพื่อสร้างประสบการณ์ใหม่ๆ ให้กับผู้มาใช้บริการอย่างต่อเนื่อง โดยปีนี้บำรุงราษฎร์ก้าวเข้าสู่ปีที่ 40 ภญ. อาทิรัตน์ จารุกิจพิพัฒน์ ผู้อำนวยการด้านบริหาร โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ เปิดเผยว่า “ในฐานะผู้นำการให้บริบาลสุขภาพแบบองค์รวมระดับโลกด้วยนวัตกรรม ซึ่งนอกจากมาตรฐานการให้บริการดูแลรักษาผู้ป่วยอันเป็นที่ยอมรับในระดับสากลแล้ว บำรุงราษฎร์มีหลักการดำเนินงาน โดยให้ความสำคัญกับผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง (patient centric) และยึดหลักความปลอดภัยของผู้ป่วย (patient safety)

Read More

TVD บุกหนักครึ่งปีหลัง รุกเพิ่มไลน์ผลิตภัณฑ์ใหม่กลุ่มอาหารและแพ็กเกจที่พัก

TVD บุกหนักครึ่งปีหลังกระตุ้นกำลังซื้อเต็มที่ รุกเพิ่มไลน์ผลิตภัณฑ์ใหม่กลุ่มอาหารและแพ็กเกจที่พัก รับโอกาสหลังคลายล็อกดาวน์ จับมือกับธนาคารทีเอ็มบีและธนชาต สนับสนุน SMEs นำสินค้าทำตลาดช่องทางทีวีโฮมช้อปปิ้ง-ออนไลน์ ‘ทีวี ไดเร็ค’ หรือ TVD บุกหนักกระตุ้นกำลังซื้อในช่วงครึ่งปีหลังเต็มสูบ พร้อมส่งซิกทำผลงานไตรมาส 2 ได้ตามเป้าหมายและสามารถขยายฐานลูกค้าใหม่เพิ่มขึ้น วางกลยุทธ์เพิ่มไลน์ผลิตภัณฑ์ใหม่ ‘อาหาร’ และ ‘ที่พัก’ ตอบโจทย์ลูกค้าเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมสั่งซื้อทางออนไลน์และรายการทีวีโฮมช้อปปิ้ง รวมถึงนโยบายกระตุ้นการท่องเที่ยวในประเทศของรัฐบาล พร้อมเปิดรับเจรจาผู้ประกอบการ SMEs ที่ต้องการขยายช่องทางจำหน่ายใหม่ๆ นำผลิตภัณฑ์เข้ามาเสนอขายและทำตลาดผ่านช่องทางการขายต่างๆ ของทีวี ไดเร็ค นายธนะบุล มัทธุรนนท์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ทีวี ไดเร็ค จำกัด (มหาชน) หรือ TVD ผู้นำธุรกิจจำหน่ายสินค้าและบริการผ่านช่องทางทีวีและออนไลน์ เปิดเผยว่า ภาพรวมเศรษฐกิจครึ่งปีหลังแม้ยังคงมีแนวโน้มชะลอตัว แต่บริษัทฯ พร้อมรุกหนักเพื่อเร่งยอดขายในช่วง 5 เดือนที่เหลือของปีนี้ หลังจากไตรมาส 2 ที่ผ่านมาสามารถทำผลการดำเนินงานได้ตามเป้าหมายที่วางไว้ โดยประสบความสำเร็จในการขยายฐานลูกค้าใหม่เพิ่มขึ้นในช่วงที่มีมาตรการล็อกดาวน์และเคอร์ฟิว ส่งผลยอดขายสินค้าทางช่องทางทีวีโฮมช้อปปิ้ง คอลล์เซ็นเตอร์และแพลตฟอร์มออนไลน์ต่างๆ ของบริษัทฯ

Read More

“ทศมรัตน์กษัตราธิราช” พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ไปรษณีย์ไทย ชวนคนไทยชื่นชมพระบารมีผ่านดวงตราไปรษณียากร

เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทร มหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด ผู้ดำเนินการออกแบบและผลิต ตราไปรษณียากร ขอพาคนไทยย้อนชมภาพประวัติศาสตร์ที่หลายคนอาจไม่เคยเห็นมาก่อน เพื่อชื่นชมพระบารมี และพระราชกรณียกิจตั้งแต่ครั้งสถาปนาเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร จวบจนถึงโอกาส วันเฉลิมพระชนมพรรษา 28 กรกฎาคม 2563 ผ่านตราไปรษณียากรที่หาชมได้ยากยิ่งในปัจจุบัน ซึ่งประกอบด้วย · ทรงบรรลุนิติภาวะ ครั้งสถาปนาเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร ย้อนกลับไปเมื่อพุทธศักราช 2515 สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าวชิราลงกรณ (พระราชสริยยศในขณะนั้น) เจริญพระชนมายุ 20 พรรษา และทรงบรรลุนิติภาวะ ไปรษณีย์ไทยจึงได้จัดสร้างตราไปรษณี ยากรชุด ที่ระลึกทรงบรรลุนิติภาวะ ในวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2515 โดยเชิญพระบรมฉายาลักษณ์เป็นแบบ ตราไปรษณียากร จัดพิมพ์ในระบบ Photogravure ที่ให้ความสวยงามนุ่มนวล ในราคาหน้าดวง คือ 75 สตางค์ และในปีเดียวกัน ไปรษณีย์ไทยได้จัดสร้างตราไปรษณียากรชุดสำคัญทางประวัติศาสตร์ ชุดที่ระลึกวันสถาปนามกุฎราชกุมาร

Read More

“ซินไฉฮั้ว” จัดหนัก ปูพรมร้านหยอดเหรียญ สร้าง “ฮับ”

“ซินไฉฮั้ว” แบรนด์ซักแห้งเจ้าแรกในประเทศไทยประกาศเจาะช่องว่างปูพรมสาขาทั่วเมือง โดยเฉพาะกลยุทธ์รุกแนวรบแฟรนไชส์ร้านซักผ้าหยอดเหรียญที่กำลัง “บูม” ทั่วเมือง ทั้งลดแลกแจกแถมขนานใหญ่ เพื่อปูทางสู่เป้าหมายใหญ่ตามแผนยุทธศาสตร์การสร้าง “ฮับ (Hub)” บุกขยายเครือข่ายทั่วประเทศ ขณะเดียวกัน ปี 2563 ผลพวงจากวิกฤตโควิด-19 กลายเป็นตัวหนุนภาพรวมตลาดแฟรนไชส์ เพราะความต้องการคนทำธุรกิจส่วนตัวเพิ่มมากขึ้นจากจำนวนคนว่างงานที่เพิ่มขึ้นและหันมาทำธุรกิจซื้อแฟรนไชส์ ซึ่งร้านซักผ้าหยอดเหรียญเป็นหนึ่งในกิจการยอดนิยมที่มีนักลงทุนสนใจจำนวนมาก หากดูข้อมูลจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้าพบว่า ปัจจุบันมีบริษัทผู้ให้บริการธุรกิจเครื่องซักผ้าหยอดเหรียญ ประมาณ 252 ราย ยอดทุนจดทะเบียนราว 1,214 ล้านบาท มีอัตราขยายตัวโดดเด่นที่สุดในกลุ่มธุรกิจบริการ โดยช่วงเดือนพฤษภาคม 2563 มียอดจัดตั้งบริษัท 10 ราย เพิ่มจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 9 เท่า มูลค่าทุนจดทะเบียน 21 ล้านบาท ขยายตัว 6 เท่าตัว ส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในพื้นที่ จ.นนทบุรี ชลบุรี เชียงใหม่ เพราะอานิสงส์จากไลฟ์สไตล์ของคนสังคมเมืองที่ต้องการความสะดวกสบายในการใช้บริการเครื่องซักผ้า ซึ่งส่วนมากติดตั้งตามคอนโดมิเนียมและหอพัก ทั้งนี้ กลุ่มแบรนด์ใหม่ๆ ที่กำลังเร่งขยายสาขาอย่างหนัก เช่น Mr. Jeff, WashCoin,

Read More

สยามอะเมซิ่งพาร์ค เข้าร่วมโครงการ “เราเที่ยวด้วยกัน” เติมความสุขให้คนไทย

สยามอะเมซิ่งพาร์ค เข้าร่วมโครงการ “เราเที่ยวด้วยกัน” เพื่อสนับสนุนนโยบายรัฐบาลในการกระตุ้นเศรษฐกิจ สังคมและการท่องเที่ยวในประเทศ โดยสยามอะเมซิ่งพาร์คร่วมเติมความสุขสุดสนุกให้แก่ผู้ได้รับสิทธิ์ส่วนลดค่าที่พักโรงแรมในกรุงเทพมหานคร และนำ E-Voucher สิทธิ์ที่ 2 มาท่องเที่ยวที่สยามอะเมซิ่งพาร์คเลือกซื้อบัตร Adult Adventure Pass ราคา 500 บาท (จากปกติ 900 บาท) จ่ายเพียง 300 บาท /บัตรซูเปอร์พาส (Super Pass) ราคา 1,200 บาท รับเครดิตวงเงินฟรี 1,200 บาท พร้อมรับสิทธิ์พาผู้ติดตามรวม 3 ท่านซื้อบัตรลดเหลือคนละ 200 บาท จ่ายเพียง 720 บาท/เด็กที่มีความสูง 100-130 ซม.ซื้อบัตร Kid Adventure Pass ราคา 150 บาท จ่ายเพียง 90

Read More

6 ทศวรรษ อาณาจักร “กระทิงแดง”

อาณาจักรธุรกิจแสนล้านของตระกูลอยู่วิทยา เริ่มต้นเมื่อ 60 กว่าปีก่อน เมื่อ “เฉลียว อยู่วิทยา” เซลล์ขายยาตัดสินใจตั้งบริษัทขายยา หจก. ที.ซี.ฟาร์มาซูติคอล เมื่อวันที่ 27 มี.ค. 2499 โดยเช่าตึกในซอยรามบุตรี ถนนข้าวสาร เป็นที่ตั้งบริษัท และคิดค้นสูตรยาให้โรงงานผลิตยาในประเทศเยอรมนีเป็นผู้ผลิต เช่น เอ็นโดทาลีน (แก้ท้องเสีย) อลูแม็ก (แก้ปวดท้อง) ต่อมา เฉลียวตั้งโรงงานผลิตยาที่ตรอกสาเก หลังโรงแรมรัตนโกสินทร์ ชื่อ บริษัท ที.ซี.มัยซิน อุตสาหกรรม จำกัด และพัฒนายาตัวใหม่ วางขายภายใต้ชื่อ “ทีซี มัยซิน” ทั้งยาแก้ปวด ยาแก้ไข้ ยาแก้ฝีหนอง ยาหยอดหู ยาหยอดตา เข้าสู่ทศวรรษที่ 2 ช่วงปี 2511-2520 หจก.ที.ซี.ฟาร์มาซูติคอล ย้ายโรงงานผลิตยาจากตรอกสาเก มาตั้งที่ถนนเอกชัย เขตบางบอน และเริ่มขยายกลุ่มสินค้าจาก “ยา” สู่กลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภคประเภทอื่นๆ โดยเริ่มต้นสินค้ากลุ่มเครื่องสำอางยี่ห้อ

Read More

สึนามิเศรษฐกิจ วิกฤตล้มละลายลามหนัก

นับถอยหลังโฉมหน้ารัฐบาล “ประยุทธ์ 2/2” ทุกฝ่ายต่างจับจ้องทีมเศรษฐกิจชุดใหม่ เพื่อเข้ามาแก้ปัญหาผลพวงจากพิษโควิด-19 โดยเฉพาะรอบนี้หนักหนาสาหัสยิ่งกว่าวิกฤต “ต้มยำกุ้ง” และอาจลุกลามกลายเป็น “สึนามิเศรษฐกิจ” ลูกใหญ่ซัดกระหน่ำทั่วทั้งโลก สิ่งที่สะท้อนให้เห็นชัดเจน ก็คือ สถานการณ์การล้มละลายต่อเนื่องเหมือนโดมิโน ตั้งแต่ระดับยักษ์ใหญ่จนถึงกลุ่มธุรกิจขนาดกลางขนาดเล็ก ในต่างประเทศ กลุ่มออยเลอร์เฮอร์เมส (Euler Hermes) บริษัทประกันสินเชื่อที่มีสำนักงานใหญ่ในกรุงปารีสของฝรั่งเศส เผยแพร่ผลการศึกษาล่าสุดว่า การระบาดของโรคโควิด-19 สร้างระเบิดเวลาการล้มละลายและคาดการณ์จำนวนบริษัทล้มละลายทั่วโลกจะเพิ่มขึ้น 35% ระหว่างปี 2562-2564 และราวครึ่งหนึ่งของประเทศทั่วโลกจะมีบริษัทล้มละลายสูงสุดเป็นสถิติใหม่นับตั้งแต่วิกฤตการเงินโลกปี 2552 ทั้งนี้ สหรัฐอเมริกาจะมีบริษัทล้มละลายเพิ่มขึ้นมากที่สุด คาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้น 57% ในปี 2564 เทียบกับปี 2562 ขณะที่ประเทศอื่นๆ เช่น บราซิลจะมีบริษัทล้มละลายเพิ่มขึ้น 45% สหราชอาณาจักรเพิ่มขึ้น 43% สเปนเพิ่มขึ้น 41% ส่วนจีนอยู่ที่ 20% ผลวิจัยย้ำด้วยว่า ยิ่งบริษัทยื่นล้มละลายมีขนาดใหญ่เท่าไร ความเสี่ยงที่จะเกิด “Domino Effect” ยิ่งสูงขึ้น โดยมี 2 ภาวการณ์ที่จะเร่งการล้มละลายสูงขึ้น

Read More

ศึกไก่ทอด “เซ็นทรัล-ไทยเบฟ” ฮุบแฟรนไชส์ KFC ยึดเพิ่ม 200 สาขา

สงครามฟาสต์ฟูดไก่ทอดในไทยมูลค่ากว่าหมื่นล้านบาท เริ่มร้อนระอุเมื่อมีรายงานข่าวว่า บริษัท เรสเทอรองตส์ ดีเวลลอปเม้นท์ 1 ใน 3 แฟรนไชซีร้านเคเอฟซีในประเทศไทย มีสาขามากถึง 200 สาขา กำลังศึกษาแนวทางการขายสิทธิ์แฟรนไชส์ มูลค่าประมาณ 200 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือร่วม ๆ 6,200 ล้านบาท โดยกลุ่มเซ็นทรัลส่งซิกจะฮุบดีลนี้ เพื่อต่อยอดธุรกิจอาหารในเครือและผลักดันรายได้แก้พิษโควิดแบบก้าวกระโดด เหตุผลสำคัญ คือ แบรนด์เคเอฟซี (KFC) ติดตลาดและสามารถสร้างเม็ดเงินการเติบโตให้บริษัท เซ็นทรัล เรสตอรองส์ กรุ๊ป จำกัด หรือ “ซีอาร์จี” เติบโตต่อเนื่องไม่ต่ำกว่า 10% ทุกปี โดยเฉพาะในช่วงสถานการณ์โควิด-19 แพร่ระบาดหลายเดือนที่ผ่านมา เคเอฟซียังทำยอดขายได้ดีในระดับหนึ่งและมีช่องทางการขายเข้าถึงผู้บริโภคทั้งออนไลน์และออฟไลน์ ปัจจุบันธุรกิจร้านไก่ทอดเคเอฟซีในประเทศไทยมีจำนวนรวมประมาณ 767 สาขา อยู่ภายใต้การบริหารของแฟรนไชซี 3 ราย รายแรก ซีอาร์จี ผู้ได้รับสิทธิ์แฟรนไชส์มาอย่างยาวนาน ปัจจุบันมีสาขารวม 282 สาขา รายที่ 2 บริษัท

Read More