Home > Suwatcharee Pormbunmee (Page 33)

“Uber-Agoda” ทางเลือกใหม่ที่ถูกใจ-ไม่ถูกต้อง?

ในห้วงยามแห่งจังหวะของการก้าวย่างที่เต็มไปด้วยความมุ่งหมายที่จะพัฒนา ไม่ว่าจะจากภาคส่วนของรัฐบาล หรือภาคเอกชน และภาคประชาชนที่เต็มไปด้วยความคาดหวังว่าในอนาคตอันใกล้นี้ สิ่งดีๆ สิ่งใหม่ๆ จะบังเกิดขึ้น ทั้งเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต และเพื่อเป็นการยืนยันว่าเป้าหมายที่รัฐบาลไทยตั้งเอาไว้ว่า ประเทศไทยจะก้าวสู่ความเป็น “ไทยแลนด์ 4.0” จะบรรลุผลในเร็ววัน จากสายตาคนภายนอกเมื่อมองเข้ามายังประเทศไทย อาจจะเห็นศักยภาพบางอย่างที่จะส่งผลดีต่อธุรกิจ ในช่วงเวลานี้จึงไม่น่าแปลกใจนักที่จะเห็นการเข้ามาของเงินทุนจากภายนอก และบริษัทต่างชาติที่ตบเท้าเดินทางเข้ามาลงทุนในประเทศไทย ไม่เว้นแม้แต่บริษัทยักษ์ใหญ่ที่เป็นที่ยอมรับจากนานาประเทศ ทั้งชื่อชั้นในการดำเนินธุรกิจและเทคโนโลยีที่นำสมัย ในที่นี้ขอกล่าวถึงสองบริษัทที่กำลังเป็นที่นิยมจากประชาชนที่เป็นผู้บริโภคที่มองว่า นี่คืออีกทางเลือกหนึ่งในบรรดาตัวเลือกมากมาย ขณะที่ภาครัฐกำลังจับตามองในอีกนัยหนึ่ง เมื่อในช่วงเวลานี้ ทั้งสองบริษัทกำลังถูกหยิบยกขึ้นมาในข้อพิพาทถึงความถูกต้องตามกฎหมายของไทย Agoda เว็บไซต์ผู้ให้บริการสำรองที่พักสำหรับนักเดินทางผ่านระบบออนไลน์ ที่มีเครือข่ายทั่วโลก และที่สำคัญคือมีสำนักงานอยู่ในประเทศไทย ขณะที่เว็บไซต์ดังกล่าวมีโรงแรมที่พักให้นักท่องเที่ยวได้เลือกใช้บริการมากถึง 25,616 แห่งทั่วประเทศ แน่นอนว่าคงไม่ต้องพูดไปไกลว่า โรงแรมทั่วโลกที่ถูกบรรจุเอาไว้ในเว็บไซต์ Agoda มีมากเพียงใด กระนั้นเมื่อประมาณกลางเดือนมีนาคมที่ผ่านมา กอบกาญจน์ วัฒนวรางกูร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ได้ให้ข้อมูลที่สำคัญว่ากระทรวงกำลังเตรียมหารือกับเว็บไซต์ Agoda ในฐานะผู้ให้บริการจองห้องพักในโรงแรมที่มีเครือข่ายมากที่สุดในโลก ในเรื่องการทำตลาดด้านการท่องเที่ยวในประเทศไทย โดยเฉพาะประเด็นขอไม่ให้ Agoda กดราคาห้องพักกับผู้ประกอบการ และอยากให้เป็นอิสระตามกลไกตลาด หลังจากที่ผ่านมาพบว่า Agoda มีข้อตกลงกับผู้ประกอบการโรงแรมว่า ผู้ที่จะมาอยู่ในลิสต์รายชื่อให้บริการเช่าห้องพักผ่านเว็บไซต์นั้น ต้องมีการตั้งราคาที่ Agoda ให้ถูกที่สุดเท่านั้น

Read More

สัปดาห์หนังสือ: เมื่อเนื้อหาคือราชา แต่ช่องทางคือราชินี

บนเส้นทางแห่งการเปลี่ยนผ่านของเทคโนโลยี ส่งผลให้กรอบโครงของการใช้ชีวิตผู้คนในสังคมเปลี่ยนไปจากเดิม สังคมก้มหน้ากลายเป็นภาพชินตาที่ปรากฏอยู่ให้เห็นในแทบจะทุกสถานที่ แสงสว่างที่อุปกรณ์สื่อสารสะท้อนขึ้นบนหน้าบ่งบอกว่าผู้ใช้กำลังก้าวเข้าสู่โลกออนไลน์ รวมไปถึงวิถีชีวิตของผู้คนที่ดำเนินไปด้วยความเร่งรีบ ตามความเร็วของสัญญาณเครือข่ายโทรศัพท์ เสมือนประหนึ่งว่าการใช้ชีวิตในห้วงยามนั้นอยู่ในชั่วโมงเร่งด่วนตลอดเวลา ภาพเหล่านี้เป็นหลักฐานชิ้นสำคัญที่บ่งบอกถึงการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาการทางเทคโนโลยีที่วิวัฒนาการขึ้นแบบก้าวกระโดด และเป็นอีกผลกระทบหนึ่งในหลายๆ มิติที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะในอีกแง่มุมที่สำคัญที่ความเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีกลายเป็นตัวชี้วัดสถานการณ์ความเป็นไปของอุตสาหกรรมสื่อสิ่งพิมพ์ คล้ายกับจะบอกว่า นี่คือเวลาที่สื่อสิ่งพิมพ์ต้องปรับตัวเพื่อความอยู่รอด การเข้ามาของสื่อดิจิตอลและสื่อออนไลน์ ทำให้เกิดการกระจายตัวของเม็ดเงินโฆษณา จากเดิมที่เคยกระจุกตัวอยู่ในสื่อสิ่งพิมพ์ เมื่อเม็ดเงินโฆษณาถูกลดทอนลง นั่นหมายถึงความอยู่รอดของหลายสำนักที่การปิดตัวดูจะเป็นทางออกทางเดียวที่เหลืออยู่ ในช่วงเวลา 1-2 ปีที่ผ่านมา นับเป็นห้วงเวลาแห่งการล้มหายตายจากของสื่อสิ่งพิมพ์ นิตยสารบางฉบับที่คร่ำหวอดอยู่ในวงการสื่อสิ่งพิมพ์มานานกว่า 60 ปี ปิดตัวลงสร้างความรู้สึกสะเทือนใจที่ไม่ใช่เฉพาะผู้อยู่เบื้องหลังและคนทำหนังสือเท่านั้น เพราะการปิดตัวลงหมายถึงการปิดพื้นที่ของผลงานที่มีความน่าสนใจของนักเขียนหรือคอลัมนิสต์ที่ส่งต่องานเขียนที่กลั่นกรองจากสมองและสองมือถึงนักอ่านที่รอคอย แม้ว่าการปิดตัวของสื่อบางฉบับจะมีสาเหตุหลักมาจากเม็ดเงินโฆษณาที่ลดลงแล้ว อีกสาเหตุสำคัญประการหนึ่งคือ “การอ่านน้อยลง” ของผู้คนในสังคมที่วันนี้กลายเป็นปัญหาที่หลายฝ่ายกำลังกังวล และพยายามที่จะหาหนทางในการแก้ไข กระนั้น ไตรลุจน์ นวะมะรัตน นายกสมาคมมีเดียเอเยนซี่และธุรกิจสื่อแห่งประเทศไทย คาดการณ์ว่า งบโฆษณาของปี 2560 น่าจะเติบโตเพิ่มขึ้น 10 เปอร์เซ็นต์ จากปี 2559 ที่มีงบประมาณ 133,666 ล้านบาท แต่นั่นถือว่ายังต่ำกว่างบประมาณโฆษณาในปี 2558 ที่มีงบประมาณอยู่ที่ 136,770 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม ผลกระทบจากการมาถึงของสื่อดิจิตอลคงจะหนีไม่พ้นนักข่าว ที่หากไม่ปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ที่กำลังดำเนินไปอยู่ในเวลานี้ มีความเป็นไปได้สูงมากที่จะตกงาน

Read More

Facebook/Google : ทางออกภาษีโฆษณา กับการขยายตัวของ E-Commerce ไทย

เมื่อเทคโนโลยีสื่อสารในปัจจุบันถูกพัฒนาจนรุดหน้าไปไกล ส่งผลให้ผู้คนสามารถติดต่อสื่อสารถึงกันได้ง่าย จนให้ความรู้สึกว่า “ความห่างไกลกันคนละซีกโลกนั้น แทบไม่มีความหมายอีกต่อไป” นอกจากความสะดวกรวดเร็วที่ได้รับในด้านการเชื่อมต่อระหว่างบุคคลแล้ว ความง่ายในการเข้าถึงข้อมูลและสาระสำคัญรวมไปถึงข่าวสารต่างๆ บนโลกใบนี้ย่อมดำเนินไปตามครรลองเดียวกัน พัฒนาการด้านเทคโนโลยีสื่อสาร ถูกหยิบใช้เป็นเครื่องมือสำหรับนักการตลาด และนักธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจขนาดใหญ่ กลาง หรือธุรกิจขนาดย่อม เพื่อเป็นช่องทางที่จะสื่อสารและนำเสนอข้อมูล รายละเอียดของสินค้า ให้ไปถึงมือกลุ่มเป้าหมายได้ตรงจุดและสามารถวัดผลได้ทันท่วงที ความทันสมัยของเทคโนโลยี รูปแบบที่ง่ายต่อการใช้งาน รวมไปถึงความสามารถในการวัดผลและความพึงพอใจของลูกค้าได้ทันทีนั้น ส่งผลให้ธุรกิจ E-Commerce ทั่วโลกเติบโตอย่างก้าวกระโดด ไม่เว้นแม้แต่ในประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งพฤติกรรมของคนไทยส่วนใหญ่ที่ใช้ชีวิตบนโลกออนไลน์มากขึ้น ประกอบกับเทคโนโลยีเครือข่ายบนโทรศัพท์มือถือ ที่ถูกพัฒนาอย่างรวดเร็วทั้ง 3G และ 4G นั่นทำให้รูปแบบการซื้อขายบนตลาดออนไลน์ขยายตัวอย่างรวดเร็ว มูลค่าตลาด E-Commerce ในประเทศไทยมีมูลค่าสูงถึง 240,000 ล้านบาท หรือมีการเติบโตอยู่ที่ 20 เปอร์เซ็นต์ นอกเหนือไปจากความเร็วของเครือข่ายที่ถูกพัฒนาให้พร้อมรองรับจำนวนผู้คนที่ใช้งานแล้ว รูปแบบการทำธุรกรรมการเงินทางออนไลน์ของธนาคารต่างถูกพัฒนาให้มีความสะดวก ซึ่งสอดคล้องกับแนวนโยบายของรัฐบาลที่มีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระบบการชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ ข้อดีของการทำธุรกิจ E-Commerce ที่นอกจากจะไม่มีต้นทุนด้านพื้นที่สำหรับวางจำหน่ายสินค้าแล้ว ความสามารถของเทคโนโลยีที่ทำให้ผู้ขายไม่ได้ถูกจำกัดพื้นที่อยู่ที่ใดเพียงที่เดียวทำให้จำนวนผู้ค้าออนไลน์เพิ่มจำนวนมากขึ้น ซึ่งจากข้อมูลของสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) หรือ สพธอ. สำรวจพบว่าในปี 2559 มีผู้ค้าออนไลน์ในประเทศจำนวน 527,324 ราย และมีมูลค่ารวมกว่า

Read More

RSU 5.0 นวัตกรรม ม.รังสิต บนความพยายามของการศึกษาไทย

ความเคลื่อนไหวของมหาวิทยาลัยรังสิตเมื่อช่วงต้นเดือนมีนาคมที่ผ่านมา กับการเปิดเผยทิศทางและภาพรวมของแผนการที่กำลังดำเนินไปอย่างมีกรอบโครง ที่ถูกกำหนดเอาไว้ในอนาคต ภาพชัดที่ฉายขึ้นมานั้นดูจะอุดมไปด้วยความคาดหวังที่มุ่งจะสร้างนวัตกรรมทางการศึกษารูปแบบใหม่ โดยมีหมุดหมายเพื่อสร้างให้เกิดแรงขับเคลื่อนของมหาวิทยาลัยรังสิต ให้ก้าวไปข้างหน้าได้อย่างมั่นคงท่ามกลางกระแสสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน แผนการลงทุนในธุรกิจของผู้บริหารระดับสูงของมหาวิทยาลัยรังสิตที่จะผุดโรงพยาบาลอาร์เอสยู อินเตอร์เนชั่นแนล บนพื้นที่ 11 ไร่ ย่านธุรกิจบนถนนเพชรบุรีตัดใหม่ และด้วยงบประมาณสูงนับหมื่นล้านบาท อาจจะเป็นคำตอบที่สามารถไขข้อข้องใจในคำถามที่อยู่ในใจของใครหลายคนได้เป็นอย่างดี ที่ว่าศักยภาพด้านการแพทย์ของไทยนั้นก้าวหน้าไปมากน้อยเพียงใด ทว่า ดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยรังสิต กลับบอกว่า “จุดประสงค์ของเราไม่ได้ต้องการสร้างโรงพยาบาลเพื่อทำธุรกิจ แต่อยากจะสร้างขึ้นมาเพื่อเป็นเครื่องแสดงศักยภาพของประเทศ” ก่อนจะอธิบายเพิ่มเติมถึงความเป็นมาของโครงการนี้ว่า มีแนวความคิดในการสร้างโรงพยาบาลที่ไม่เหมือนโรงพยาบาล เปลี่ยนความเจ็บป่วย สิ้นหวัง และสลดหดหู่ มาเป็นการอยู่กับธรรมชาติ สถานที่สวยงาม โดยกำหนดให้มีพื้นที่สีเขียวร้อยละ 35 เป็นสถานบริการด้านสุขภาพที่คนมาแล้วมีความสุข เป็น The Most Humanized Medical Care เน้นความเป็นมนุษย์ เอาใจใส่ และเอื้ออาทร นอกจากนี้แนวความคิดที่สองคือ การสร้างโรงพยาบาลที่มีศูนย์การแพทย์ขั้นสูงครบวงจร เป็นคอนเซ็ปต์ใหม่ในการรักษาพยาบาลในอนาคต และแนวความคิดที่สาม คือการเป็นโรงพยาบาลที่มีองค์ความรู้ทั้งการแพทย์แผนตะวันตก และการแพทย์แผนตะวันออก โดยเฉพาะ Oriental Medicine ที่ประกอบไปด้วยแพทย์แผนไทย แผนจีน และแผนอินเดีย กลยุทธ์ของผู้บริหารระดับสูงของมหาวิทยาลัยรังสิตที่นอกจากความต้องการจะปรับรูปแบบของโรงพยาบาลให้ห่างไกลจากความหดหู่และความสิ้นหวังของผู้เข้ามารักษาพยาบาลแล้ว

Read More

เนด้า-สปป.ลาว สร้างระบบประปา พัฒนาคุณภาพชีวิต

ในยุคที่เทคโนโลยีกำลังพัฒนาก้าวล้ำไปข้างหน้าอย่างไม่หยุดยั้ง ไม่ว่าจะเป็นมุมใดของโลก สังคมโซเชียลเองก้าวเข้ามามีบทบาทสำคัญในชีวิตของผู้คนจำนวนมาก อุปกรณ์สื่อสารอิเล็กทรอนิกส์กลายเป็นปัจจัยสำคัญในการดำเนินชีวิตประจำวันของคนหมู่มากไปแล้ว หากแต่อีกซีกหนึ่งของโลกกว้างใหญ่ใบนี้ยังมีอีกหลายเมืองที่ผู้คนยังขาดปัจจัยสี่ซึ่งเป็นปัจจัยขั้นพื้นฐานในการดำรงชีวิต ซึ่งส่งผลให้คุณภาพชีวิตด้อยกว่าหลายประเทศที่อยู่แวดล้อม แม้ว่าสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวจะอุดมไปด้วยทรัพยากรทางธรรมชาติอันเป็นเสน่ห์ที่สำคัญในการดึงดูดใจให้นักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาสัมผัสวิถีแห่งความเป็นธรรมชาติและกลิ่นอายของเมืองที่เต็มไปด้วยประวัติและอารยธรรมที่น่าค้นหา กระนั้นอีกหลายเมืองใน สปป.ลาว ยังขาดความพร้อมในเรื่องของระบบสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน โดยเฉพาะปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิต “น้ำ” หลายหมู่บ้านใน สปป. ลาว ประชาชนยังคงต้องใช้น้ำจากลำธาร หรือขุดเจาะนำน้ำบาดาลขึ้นมาใช้ในการอุปโภคบริโภค ซึ่งจะประสบปัญหาเมื่อเข้าสู่หน้าแล้งที่ส่งผลให้แหล่งน้ำตามธรรมชาติแห้งเหือดลง เมื่อสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานที่ยังไม่พร้อมสมบูรณ์นัก ไม่เพียงแต่จะส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนในพื้นที่แล้ว ยังส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจในท้องถิ่น ที่ทำให้ยากต่อการพัฒนาและต่อยอด ทั้งในมิติของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ที่น่าจะทำให้เกิดการลงทุนและการจ้างงานในอนาคต แม้ว่าหลายเมืองใน สปป.ลาว เช่น เมืองหลา เมืองแบ่ง เมืองคอบ เมืองห้วยทราย เมืองไชบุลี เมืองยมมะลาด เมืองพะลานไช เมืองสาละวัน เมืองสุขุมา เมืองปากซอง เมืองโขง เมืองมูนละปาโมก และเมืองคีนาด จะยังต้องการการพัฒนาสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน หากแต่สำนักงานความร่วมมือพัฒนาเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน (องค์การมหาชน) (สพพ.) หรือ NEDA ที่มีพันธกิจสำคัญในการพัฒนาระบบเศรษฐกิจประเทศเพื่อนบ้าน เมื่อมองว่าการพัฒนาสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานนั้นนับเป็นเรื่องสำคัญซึ่งง่ายต่อการต่อยอดไปสู่การพัฒนาด้านอื่นๆ อย่างยั่งยืน และเพื่อให้ประเทศในกลุ่มอาเซียนได้พัฒนาก้าวหน้าไปพร้อมๆ กัน ทำให้ NEDA ตัดสินใจเลือกเมืองที่มีชายแดนติดต่อกับประเทศไทย 5 เมือง

Read More