Home > 2019 > มิถุนายน

ยานยนต์อาเซียน ถึงจุดเปลี่ยนผ่านครั้งใหม่?

การประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนครั้งที่ 34 (34th ASEAN Summit) ซึ่งประเทศไทยในฐานะประธานอาเซียนและเจ้าภาพจัดการประชุมได้เสร็จสิ้นลงไปแล้ว ท่ามกลางภาพรวมที่กลไกภาครัฐพยายามโหมประโคมถึงความสำเร็จและเรียบร้อยของการจัดการ หากแต่ในอีกด้านหนึ่งการประชุมดังกล่าวดูจะห่างไกลจากทั้งการมีส่วนร่วมของประชาชนและการรับรู้ถึงประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับในอนาคต ไม่นับรวมถึงกระแสวิพากษ์วิจารณ์ถึงท่วงทำนองและสถานะของคณะผู้แทนไทยในการประชุมครั้งนี้ด้วย ท่ามกลางแนวคิดว่าด้วย “ร่วมมือ ร่วมใจ ก้าวไกล ยั่งยืน” (Advancing Partnership for Sustainability) ที่รัฐไทยพยายามนำเสนอควบคู่กับภารกิจสำคัญว่าด้วยการผลักดันการเจรจาความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (Regional Comprehensive Economic Partnership: RCEP) ให้สามารถบรรลุบทสรุปสำเร็จลุล่วงภายในปี 2562 ดูเหมือนว่าบริบทแห่งความเป็นไปของเพื่อนบ้านอาเซียนที่แวดล้อมดูจะก้าวไกลไปกว่าพัฒนาการของสังคมไทยอย่างน่าสนใจ ข่าวการเปิดตัว VinFast รถยนต์สัญชาติเวียดนามในช่วงเวลาไม่กี่วันก่อนหน้าการประชุมสุดยอดอาเซียน ดูจะเป็นประหนึ่งการส่งสัญญาณเตือนผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยและหน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องซึ่งเชื่อว่าประเทศไทยมีศักยภาพและเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมนี้อยู่ไม่น้อย แม้ว่า VinFast จะไม่ใช่แบรนด์รถยนต์จากประเทศเพื่อนบ้านอาเซียนแบรนด์แรกที่เกิดขึ้นก็ตาม ก่อนหน้านี้ Proton จากมาเลเซียได้ถือกำเนิดและเข้าสู่ตลาดรถยนต์มาตั้งแต่ปี 1983 ก่อนที่ในปี 1993 หรืออีก 10 ปีถัดมามาเลเซียจะมี Perodua เป็นอีกแบรนด์หนึ่งที่ออกมาโลดแล่นบนถนนอาเซียนมากว่า 3 ทศวรรษ แม้ว่าพัฒนาการที่ยาวนานของแบรนด์ยานยนต์จากมาเลเซียทั้งสอง อาจไม่ได้ส่งผลต่อความเป็นไปของอุตสาหกรรมยานยนต์ในระดับภูมิภาคมากนักในช่วงที่ผ่านมาก็ตาม ความเชื่อมั่นที่ว่าประเทศไทยเป็นฐานการผลิตรถยนต์ที่แข็งแกร่งและอุดมด้วยศักยภาพในการบริโภคที่เป็นประหนึ่งเบ้าหลอมทัศนะในการประเมินสถานการณ์รอบข้างของทั้งผู้ประกอบการและกลไกที่เกี่ยวข้องมาอย่างต่อเนื่อง เพราะท่ามกลางกำแพงภาษีนำเข้ารถยนต์ที่สูงถึงร้อยละ 80 และร้อยละ 60

Read More

อีเบย์ชูกลยุทธ์เด็ด ต่อจิ๊กซอว์-ปั้นทักษะค้าปลีกออนไลน์ หนุนผู้ขายคนไทยสู่ความสำเร็จระดับโลกบนอีเบย์

อีเบย์ (eBay) ผู้นำด้านอี-คอมเมิร์ซระดับโลก เผยแผนธุรกิจมุ่งเสริมศักยภาพผู้ขายคนไทย ขยายธุรกิจและประสบความสำเร็จในการค้าปลีกออนไลน์บนอีเบย์ กับโอกาสในการเข้าถึงผู้ซื้ออีเบย์กว่า 180 ล้านคน ใน 190 ประเทศทั่วโลก ด้วยแผนกลยุทธ์แบบบูรณาการของอีเบย์เพื่อการพัฒนาทักษะผู้ขายไทยให้เติบโตอย่างยั่งยืน กับโอกาสทองสู่เป้าหมายความสำเร็จในตลาดออนไลน์ระดับโลกให้ทวีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง นางเจนนี หุย ผู้จัดการทั่วไป บริษัท อีเบย์ประจำภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ฮ่องกง และไต้หวัน กล่าวว่า “การค้าปลีกส่งออกข้ามประเทศ (Cross Border Trade: CBT) ยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยคาดการณ์ว่าจะมีส่วนแบ่งตลาดอีคอมเมิร์ซทั่วโลกทั้งหมดถึงร้อยละ 20 ภายในปี 2565 เอเชียแปซิฟิกจะขึ้นแท่นเป็นภูมิภาคที่มีการค้าปลีกส่งออกข้ามประเทศใหญ่ที่สุดในตลาดอีคอมเมิร์ซทั้งด้านการนำเข้าและส่งออก ในปี 2561 ตลาดอีคอมเมิร์ซในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีมูลค่ารวม 23.2 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ และคาดว่าจะเติบโตสู่มูลค่า 102 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ได้ภายในปี 2568 เพื่อตอกย้ำความเป็นผู้นำด้านอี-คอมเมิร์ซระดับโลก อีเบย์จึงมุ่งมั่นพัฒนาศักยภาพทางธุรกิจอย่างต่อเนื่อง โดยในปีนี้ อีเบย์มุ่งเน้นที่แผนกลยุทธ์แบบบูรณาการเพื่อหนุนผู้ประกอบการไทยทุกขนาดให้สามารถเติบโตได้ในการค้าปลีกออนไลน์ระดับโลกบนอีเบย์ กับโครงการหลากหลายรูปแบบที่เน้นการปั้นทักษะค้าปลีกออนไลน์ ส่งเสริมศักยภาพผู้ขายไทยให้เติบโตอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืนต่อไป” “แพลตฟอร์มของอีเบย์ช่วยเชื่อมโยงผู้ประกอบการธุรกิจไทยทุกขนาดกับผู้ซื้ออีเบย์กว่า 180 ล้านคนใน 190

Read More

เมอร์เซอร์ เผยผลสำรวจค่าครองชีพประจำปีครั้งที่ 25 ชี้เมืองในเอเชียมีค่าครองชีพสูงที่สุดสำหรับชาวต่างชาติ

องค์กรข้ามชาติต่างมุ่งวางกลยุทธ์การบริหารทรัพยากรบุคคลด้วยการโยกย้ายพนักงานไปประจำในต่างประเทศ เพื่อผลักดันความก้าวหน้าในสายอาชีพและสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันในระดับโลก - กรุงเทพฯ มีค่าครองชีพสูงติดอันดับที่ 40 ของโลก - ฮ่องกงยังคงครองตำแหน่งเมืองที่มีค่าครองชีพสูงที่สุดในโลก - 8 ใน 10 เมืองที่มีค่าครองชีพสูงที่สุดในโลกอยู่ในเอเชีย เมอร์เซอร์ เผยผลการสำรวจอัตราค่าครองชีพประจำปีครั้งที่ 25 พบว่าในการจัดอันดับ 10 เมืองที่มีอัตราค่าครองชีพสูงที่สุดในโลก 8 เมืองจาก 10 เมืองอยู่ในเอเชีย ซึ่งเป็นผลจากราคาสินค้าอุปโภคบริโภคที่เพิ่มขึ้น และราคาที่อยู่อาศัยที่มีการผันผวนอย่างต่อเนื่อง ฮ่องกง ยังคงครองตำแหน่งเมืองที่มีอัตราค่าครองชีพสูงที่สุดในโลกต่อเนื่องเป็นปีที่สอง ซึ่งเป็นผลจากราคาที่อยู่อาศัยที่สูงเกินเอื้อม สำหรับเมืองอื่น ๆ ใน 10 อันดับแรก ได้แก่ โตเกียว (2) สิงคโปร์ (3) โซล (4) ซูริค (5) เซี่ยงไฮ้ (6) อาชกาบัต (7) ปักกิ่ง (8) นิวยอร์ก (9) และเซินเจิ้น (10) โดยเมืองอาชกาบัต ประเทศเติร์กเมนิสถาน

Read More

เจาะเมืองแห่งอนาคต สูตรกลยุทธ์ของแสนสิริ

ยักษ์ใหญ่อสังหาฯ “แสนสิริ” ออกมาประกาศวิสัยทัศน์ The Next Best Living District ตามยุทธศาสตร์สร้าง “เมือง” เพื่อการอยู่อาศัยที่ดีที่สุดแห่งต่อไป โดยรอบนี้ทุ่มเม็ดเงินก้อนใหม่ปลุกปั้นที่ดินย่าน “กรุงเทพกรีฑา” กว่า 300 ไร่ ให้เป็นเมืองแห่งอนาคต “Well-living Town for the Next Generation” หลังซุ่มพัฒนาโครงการชิมลางตลาดมานานเกือบ 5 ปี ที่สำคัญ ยุทธศาสตร์การสร้างเมืองกลายเป็นสูตรกลยุทธ์ที่แสนสิริสามารถตอบโจทย์คนรุ่นใหม่และเหมือนเดินมาถูกทางตั้งแต่เริ่มบุกเบิกทำเลใหม่ๆ พยายามเก็บที่ดินผืนใหญ่ เพื่อสร้าง “ฮับ” หรือ “เมือง” เป็นชุมชนขนาดใหญ่ก่อนเติมเต็มองค์ประกอบต่างๆ ต่อยอดธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นการขยายอาณาจักรย่านรามอินทรา เนื้อที่มากกว่า 700 ไร่ พัฒนาโครงการบ้านยึดฐานลูกค้าอย่างเหนียวแน่นและแตกไลน์ธุรกิจทั้งธุรกิจสนามกอล์ฟ และธุรกิจการศึกษา เปิดโรงเรียนสาธิตพัฒนา ซึ่งปัจจุบันถือเป็นโรงเรียนสาธิตเอกชนที่ได้รับการยอมรับในตลาดการศึกษาและมีอัตราค่าเทอมแพงระดับพรีเมียม หรือการจับที่ดินย่านอ่อนนุชผุดเมือง “ที77” ภายใต้คอนเซ็ปต์ A Good Town for A Good Life

Read More

สกสว.หนุนพัฒนาระบบบริหารจัดการท่องเที่ยวไทยในเวทีโลก

สกสว.สนับสนุนเวทีแลกเปลี่ยนความเห็นทิศทางการพัฒนาระบบการบริหารจัดการท่องเที่ยวไทยในอนาคตให้ตรงจุดสู่ความยั่งยืน นักวิจัยชี้ควรจัดเก็บภาษีและกระจายคืนสู่ท้องถิ่น รวมถึงมีหน่วยงาน ‘คลังสมอง’ ระดับนโยบาย ศ. นพ.สุทธิพันธ์ จิตพิมลมาศ ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) เป็นประธานเปิดการประชุมเพื่อรับฟังและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับทิศทางการพัฒนาระบบบริหารจัดการการท่องเที่ยวไทยในอนาคต โดยมีผู้บริหารกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา หน่วยงานจากภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง รวมถึงอาจารย์จากมหาวิทยาลัยต่าง ๆ เข้าร่วม ผู้อำนวยการ สกสว. ระบุว่าไทยมีรายได้จากนักท่องเที่ยวต่างชาติเป็นอันดับ 4 ของโลก แต่ดัชนีความสามารถในการแข่งขันด้านการเดินทางและท่องเที่ยวอยู่ในอันดับ 34 ของโลก เป็นที่น่าสังเกตว่าไทยมีการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่อง แต่กลับไม่ได้เป็นผู้นำในมิติของการบริหารจัดการและขีดความสามารถทางการแข่งขันทางการท่องเที่ยว นโยบายทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาคที่ผ่านมายังไม่ตรงจุดกับการพัฒนาให้เกิดการเดินทางและการท่องเที่ยวของกลุ่มนักท่องเที่ยวคุณภาพทั่วโลก สกสว. หรือ สกว.เดิม ได้สนับสนุนด้านการท่องเที่ยวมาอย่างต่อเนื่อง จึงหวังว่าเวทีในครั้งนี้จะมีส่วนสำคัญในการสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาการท่องเที่ยวไทยให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดย สกสว.จะยังคงสนับสนุนงานวิจัยที่สามารถสร้างผลกระทบให้กับประเทศ และประสานความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายด้านการท่องเที่ยวต่อไป ด้าน รศ. ดร.เทิดชาย ช่วยบำรุง หัวหน้าโครงการวิจัยเรื่อง “นโยบายในการพัฒนาศักยภาพการบริหารจัดการการท่องเที่ยวไทยในเวทีโลก” จากสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ภายใต้การสนับสนุนทุนวิจัยจากฝ่ายการวิจัยมุ่งเป้า สกสว. และผู้ทรงคุณวุฒิคณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ เป็นหัวหน้าโครงการ นำเสนอผลการศึกษาการวิเคราะห์นโยบายการบริหารจัดการการท่องเที่ยวไทย สเปน และมาเลเซีย ว่าจุดอ่อนสำคัญที่สะท้อนถึงความไม่พร้อมของไทยในการบริหารจัดการท่องเที่ยวสู่ความยั่งยืน คือ ขาดนวัตกรรมและเทคโนโลยี

Read More

ฝึกดูแลตนเองไว้รับมือไมเกรน

Column: Well-being เมื่อมีอาการตกค้างจากปวดศีรษะก็แย่พออยู่แล้ว แต่ถ้ายังถูกคุกคามจากอาการปวดไมเกรนล่ะ? ลองนึกภาพดูว่าจะยิ่งแย่แค่ไหน? ถ้าคุณโชคร้ายเป็นผู้ที่ต้องทุกข์ทรมานจากไมเกรน (อาการปวดศีรษะข้างเดียว) ไม่ว่าจะนานแค่ไหน คุณรู้ดีว่าสมองและร่างกายรู้สึกอย่างไรหลังจากการคุกคามนั้นผ่านพ้นไป คุณจะรู้สึกเหนื่อยล้า ใจสั่น อารมณ์ฉุนเฉียว และอาจรู้สึกเหมือนกำลังร้องไห้ ปล่อยให้มันเป็นไปเถอะ แต่คุณต้องกลับมาเป็นตัวเองอีกครั้งหนึ่งด้วยวิถีปฏิบัติเพื่อดูแลตนเองซึ่งจะทำให้รู้สึกดี ที่ต้องสังเกตอย่างหนึ่งคือ กิจกรรมดูแลตนเองเหล่านี้จะทำเมื่อคุณผ่านพ้นอาการปวดไมเกรนไปแล้ว และไม่แนะนำว่าการฝึกนี้เป็นวิธีบำบัดโรคไมเกรนโดยตรง อย่างไรก็ตาม ดร.เอลิซาเบธ เซ่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์แห่งวิทยาลัยแพทย์อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ มหาวิทยาลัยเยชิวา กล่าวว่า เมื่อรวมเอาการฝึกดูแลตนเองและเทคนิคการผ่อนคลายมารวมอยู่ในวิถีชีวิตปกติของคุณ มีเครื่องบ่งชี้ว่า สามารถลดความถี่ของการปวดไมกรนได้ นิตยสาร Shape แจกแจงรายละเอียดการฝึกดูแลตนเองไว้รับมือกับอาการปวดไมเกรนดังนี้ กินอาหารบ้าง ดร.เซ่ง กล่าวว่า วิทยาศาสตร์ได้แสดงให้เห็นว่าการกินอาหารที่มีประโยชน์โดยซอยย่อยเป็นมื้อเล็กๆ วันละหลายมื้อ สามารถช่วยควบคุมไมเกรนให้สงบลงได้ อันที่จริง เป็นที่รู้กันว่าการอดอาหารบางมื้อ ทำให้มีอาการปวดไมเกรนพุ่งขึ้นอย่างฉับพลัน ซึ่งเป็นนิสัยการกินที่แย่พอๆ กับความเครียดและการนอนไม่พอ ที่อาจเป็นตัวเร่งให้เกิดไมเกรนเร็วขึ้น แต่ไม่จำเป็นต้องเป็นสาเหตุเสมอไป ดร.เซ่งจึงแนะนำให้กินอะไรบ้างหลังถูกไมเกรนคุกคาม (ทันทีที่อาการคลื่นไส้หายไป) ขณะที่คุณต้องการจะผ่อนคลายกลับไปสู่สุขภาพปกติโดยเร็ว อาหารโดยรวม เช่น ผัก ผลไม้ โปรตีนไร้มัน จะช่วยฟื้นฟูความแข็งแกร่งได้ โดยเฉพาะถ้าคุณต้องทุกข์ทรมานกับการอาเจียน ดร.เซ่งสนับสนุนให้คุณกินอาหารที่ทำให้คุณมีความสุข ฝึกหายใจลึกๆ คุณเพิ่งผ่านประสบการณ์ที่ทำร้ายคุณทั้งทางร่างกายและจิตใจมาหมาดๆ คุณจำเป็นต้องลดความเครียดอย่างรวดเร็ว

Read More

วัลลภา ไตรโสรัส ดันหุ้น AWC เดิมพันบิ๊กโปรเจกต์

เจริญ สิริวัฒนภักดี เปิดเกมรุกธุรกิจอสังหาริมทรัพย์รอบใหญ่อีกครั้ง ยกเครื่องโครงสร้างจาก “กลุ่มบริษัท ทีซีซี แลนด์ แอสเสท เวิรด์” เป็น บริษัท แอสเสท เวิรด์ คอร์ป จำกัด (มหาชน) “Asset World Corporation (AWC)” พร้อมกับยื่นจดทะเบียนนำสินทรัพย์มูลค่ากว่าแสนล้านเข้าระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และที่สำคัญ คือ การเปิดตัวลูกสาวคนเก่ง วัลลภา ไตรโสรัส ออกโรงในฐานะประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ AWC หลังเก็บเกี่ยวประสบการณ์ในวงการมานานหลายสิบปี อีกด้านหนึ่ง เจริญจัดวางทิศทางธุรกิจในเครือทีซีซีกรุ๊ปลงตัวชัดเจน โดยทายาททั้ง 5 คน เริ่มจาก อาทินันท์ พีชานนท์ ดูแลธุรกิจประกันและการเงิน วัลลภา ไตรโสรัส ดูแลธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ฐาปน สิริวัฒนภักดี ดูแลธุรกิจเครื่องดื่มครบวงจร ที่มีทั้งบริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) และบริษัท เอฟแอนด์เอ็น ฐาปนี เตชะเจริญวิกุล

Read More

จาก “ไทยเบฟ” ถึง “AWC” ระดมทุนลุยอสังหาฯ แสนล้าน

11 มิถุนายน 2562 วัลลภา ไตรโสรัส ลูกสาว เจริญ สิริวัฒนภักดี ในฐานะประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท แอสเสท เวิรด์ คอร์ป จำกัด (มหาชน) เปิดแถลงข่าวใหญ่เกี่ยวกับทิศทางธุรกิจในอนาคต พร้อมๆ กับยื่นไฟลิ่งเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนให้กับประชาชนครั้งแรก (IPO) ต่อคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) โดยถือเป็นการผลักดันบริษัทที่เจริญปลุกปั้นมากับมือ หลังจากเคยถูกต่อต้านอย่างหนักเมื่อครั้งผลักดันบริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) จนต้องล้มแผนไปเมื่อปี 2548 ครั้งนั้น เจริญปรับโครงสร้างธุรกิจในเครือเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มแอลกอฮอล์และธุรกิจเกี่ยวเนื่อง กลุ่มอสังหาริมทรัพย์ และกลุ่มสถาบันการเงินและประกัน ซึ่งทั้ง 3 กลุ่มธุรกิจอยู่ภายใต้ ทีซีซี โฮลดิ้ง โดยธุรกิจแอลกอฮอล์อยู่ภายใต้การดำเนินงานของบริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์อยู่ภายใต้การดูแลของบริษัท ทีซีซี แลนด์ และธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการเงินอยู่ภายใต้การจัดการของ บริษัท ทีซีซี แคปปิตอล ทั้งนี้

Read More

ความไม่เท่าเทียมกันทางเพศในเทคโนโลยีการสั่งงานด้วยเสียง

Column: Women in Wonderland ปัจจุบันเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทในชีวิตเราอย่างมาก หากย้อนกลับไปในอดีตเมื่อ 20 ปีก่อน อาจจะไม่คาดคิดว่าเราสามารถติดต่อสื่อสารแลกเปลี่ยนข้อมูลกับบุคคลอีกซีกโลกหนึ่งได้เพียงในเวลาไม่กี่วินาที หรือแม้กระทั่งสามารถพูดคุยกับบุคคลที่อยู่อีกซีกโลกหนึ่งโดยเห็นหน้ากันไปด้วยระหว่างพูดคุย ดังนั้น เราจึงเห็นได้ว่า เทคโนโลยีมีการพัฒนาแบบก้าวกระโดดและเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของเรามากขึ้น ทำให้ชีวิตของเราสะดวกสบายขึ้น ทุกวันนี้เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทในทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นด้านการสื่อสาร อย่างโทรศัพท์ การพูดคุยกันใน Social Network เป็นต้น ด้านการศึกษาที่สามารถเรียนได้จากที่บ้าน หรือที่ประเทศอื่น หรือแม้กระทั่งด้านการเงินที่ไม่จำเป็นต้องพกเงินสดอีกต่อไป เราสามารถจ่ายเงินผ่านทางโทรศัพท์ได้ และแน่นอนว่าทางด้านภาคธุรกิจเอง ก็ปรับเปลี่ยนวิธีการขายของ ทุกคนสามารถสั่งซื้อของออนไลน์ได้ ไม่จำเป็นต้องมาที่ร้านค้าหรือห้างสรรพสินค้าอีกต่อไป หรือแม้กระทั่งภาคการเกษตรก็มีการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการเพิ่มผลผลิต หนึ่งในเทคโนโลยีที่ถูกนำมาใช้ในชีวิตประจำวันคือ การสั่งงานด้วยเสียง หรือการพูดคุยตอบโต้กับหุ่นยนต์ ในปี 2011 ค่ายโทรศัพท์ Apple ได้เปิดตัว Siri ซึ่งทำหน้าที่เป็นเหมือนผู้ช่วยหรือเลขานุการของผู้ใช้โทรศัพท์มือถือ โดย Siri ถือว่าเป็น Artificial Intelligence (AI) หรือ ปัญญาประดิษฐ์ ที่ทำให้คอมพิวเตอร์หรือหุ่นยนต์สามารถทำทุกอย่างที่มนุษย์ทำได้อย่างมีประสิทธิภาพใกล้เคียงกับมนุษย์ แต่ไม่มีอารมณ์เหมือนกับมนุษย์ ดังนั้น Siri จึงสามารถเข้าใจภาษาพูดของคนและสามารถตอบสนองได้เหมือนคนจริงๆ

Read More

จับตาคืบหน้า ASEAN-RCEP ฤา ปัจจัยความสำเร็จอยู่ที่จีน?

นอกจากการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 34 (34th ASEAN SUMMIT) ที่กำลังจะเกิดมีขึ้นระหว่างวันที่ 22-23 มิถุนายนนี้ จะดำเนินไปท่ามกลางแนวคิดว่าด้วย “ร่วมมือ ร่วมใจ ก้าวไกล ยั่งยืน” (Advancing Partnership for Sustainability) ที่จัดวางเป้าประสงค์ไว้ที่การมุ่งสู่การเป็นอาเซียนที่ไร้รอยต่อ ด้วยการเสริมสร้างความเชื่อมโยงทางยุทธศาสตร์ระดับภูมิภาค และการก้าวไปสู่ดิจิทัลอาเซียน ซึ่งจะเป็นการเตรียมพร้อมสำหรับอนาคต ด้วยการใช้ประโยชน์จากการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 พร้อมกับเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขัน และพัฒนาอาเซียนให้มีความยั่งยืนในทุกมิติไม่ว่าจะเป็นความมั่นคง เศรษฐกิจและการพัฒนาแล้ว การประชุมดังกล่าวยังเกิดขึ้นท่ามกลางความร้อนแรงของข้อพิพาททางการค้าระหว่างจีนและสหรัฐอเมริกาที่ทวีความหนักหน่วงขึ้นเป็นลำดับและกำลังเป็นปัจจัยลบที่ฉุดรั้งสถานการณ์และภาพรวมทางเศรษฐกิจของโลกให้ต้องตกอยู่ในภาวะชะลอตัวต่อเนื่อง ซึ่งทำให้หลายฝ่ายกังวลว่ากรณีดังกล่าวอาจขยายตัวลุกลามจนเกิดเป็นวิกฤตทางเศรษฐกิจครั้งใหญ่ได้ไม่ยากในอนาคตอันใกล้นี้ ภายใต้กรอบความร่วมมือของอาเซียน ผู้นำของอาเซียนได้ตั้งเป้าให้การสรุปผลการเจรจาจัดทำความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (Regional Comprehensive Economic Partnership: RCEP) เป็นประเด็นสำคัญที่ต้องสำเร็จในปี 2562 นี้ ซึ่งไทยในฐานะประธานอาเซียน พยายามที่จะแสดงบทบาทนำในอาเซียนร่วมกับสมาชิกอีก 15 ประเทศ ด้วยการเร่งดำเนินงานตามแผนการทำงานเพื่อขับเคลื่อนการเจรจาให้มุ่งสู่ผลลัพธ์ที่กำหนดไว้ พัฒนาการของ RCEP หรือความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค ซึ่งเป็นแผนความตกลงเกี่ยวกับเขตการค้าเสรีระหว่าง 10 ชาติสมาชิกอาเซียน และ 6 ชาติคู่เจรจาที่ประกอบด้วย จีน

Read More