Home > ญี่ปุ่น

EEC เนื้อหอม ญี่ปุ่น-จีน แห่ลงทุน

ในห้วงยามที่ไทยกำลังเข้าสู่ช่วงเวลาแห่งการรอคอยรัฐบาลใหม่ที่มาจากการเลือกตั้ง ทั้งประชาชนที่คาดหวังว่ารัฐบาลชุดใหม่จะสามารถแก้ปัญหาเศรษฐกิจ ภาคเอกชนที่หวังให้การขับเคลื่อนในระบบเศรษฐกิจยังคงดำเนินต่อไปด้วยอัตราเร่งเดิมหรือดีกว่าปัจจุบัน และแน่นอนว่า ความคาดหวังกับรัฐบาลชุดใหม่ไม่ได้จำกัดวงอยู่แค่เฉพาะคนไทยเท่านั้น เมื่อนักลงทุนและหอการค้าต่างชาติ ส่งสัญญาณให้ภาครัฐของไทยรับรู้ว่า ต้องการเห็นความมั่นคง ความมีเสถียรภาพ และที่สุดคือนโยบายที่เอื้อประโยชน์ให้แก่นักลงทุนต่างชาติ ที่สร้างให้เกิดความต่อเนื่องในการลงทุน ปัจจุบันไทยถูกจับตามองจากนักลงทุนในฐานะที่เป็นประเทศน่าลงทุน โดยเฉพาะในภาคอุตสาหกรรม เมื่อรัฐบาลปัจจุบันพยายามเร่งเครื่องเดินหน้าปลุกปั้นพื้นที่ภาคตะวันออกของไทยให้เป็นหมุดหมายปลายทางสำหรับการลงทุนภาคอุตสาหกรรม ในโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือ EEC แม้ว่าขณะนี้โครงการ EEC จะยังอยู่ในระหว่างการพัฒนา ทว่าการโรดโชว์ของภาครัฐ ที่ออกไปนำเสนอพื้นที่ EEC ให้ต่างชาติได้รับทราบข้อมูลความคืบหน้าและความเป็นไปของโครงการ โดยคาดหวังว่าการพัฒนาภาคอุตสาหกรรมจะเป็นอีกหนึ่งแรงกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยให้ทะยานไปข้างหน้าหลังจากที่หยุดนิ่งอยู่กับที่และเหมือนจะถอยหลังอยู่ในที และดูเหมือนว่าความพยายามในการผลักดันและโปรโมตโครงการ EEC จะสัมฤทธิผล เมื่อกลินท์ สารสิน ประธานกรรมการหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ในปี 2561 ตัวเลขการลงทุนอันดับ 1 คือนักลงทุนจากญี่ปุ่น ด้วยมูลค่าการลงทุนสูงกว่า 100,000 ล้านบาท หรือร้อยละ 46 ของการลงทุนในพื้นที่ EEC ทั้งหมด นอกจากนี้ยังมีการยื่นขอส่งเสริมการลงทุนจำนวน 334 โครงการ หรือร้อยละ 32 ของโครงการลงทุนจากต่างชาติทั้งหมด ทั้งนี้ อุตสาหกรรมที่จะเข้ามาลงทุนในไทยได้แก่ การผลิตรถยนต์ไฟฟ้าแบบผสม หรือไฮบริด เครื่องปรับอากาศ

Read More

สมาร์ทไทยแลนด์ บนกระแส Industrial 4.0

ภาพยนตร์ต่างชาติที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับหุ่นยนต์ หรือจักรกลสังหาร ครั้งหนึ่งเป็นเพียงจินตนาการของผู้ประพันธ์หรือผู้เขียนบท ที่จะสร้างตัวละครหุ่นยนต์เพื่อความสนุกสนานเพลิดเพลินให้แก่ผู้ชม หากแต่ในวันนี้ที่ยุคสมัยกำลังเดินทางสู่การเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ พัฒนาการทางเทคโนโลยีที่ก้าวล้ำนำสมัย ทำให้เรื่องที่เคยเป็นเพียงจินตนาการกลายเป็นเรื่องจริง แน่นอนว่าข้อเท็จจริงเกี่ยวกับหุ่นยนต์ไม่ใช่สิ่งที่เพิ่งเคยเกิดขึ้น แต่ความพยายามที่จะพัฒนาหุ่นยนต์ในโลกแห่งความจริงนั้นมีมาให้เห็นอยู่อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศญี่ปุ่น ที่ได้ชื่อว่าเป็นประเทศที่มีวิวัฒนาการด้านเทคโนโลยีล้ำหน้าและก้าวแซงหลายๆ ประเทศ AI (Artificial Intelligence) หรือ ปัญญาประดิษฐ์ เริ่มมีบทบาทและแทรกซึมอยู่ในชีวิตประจำวันของผู้คนมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มอุตสาหกรรมบางประเภทที่ปัญญาประดิษฐ์เหล่านี้ถูกออกแบบให้สามารถทำงานทดแทนแรงงานคนได้ นัยหนึ่งของการมาถึงของยุคปัญญาประดิษฐ์ ไม่ใช่เพียงหลักฐานที่บ่งบอกถึงความสามารถของมนุษย์ในการสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์เพื่อทุ่นแรงงานคนเท่านั้น หากแต่เป็นการย้ำเตือนให้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงที่กำลังเกิดขึ้นอย่างช้าๆ แต่มีนัยที่น่าสนใจอยู่ไม่น้อยต่อประเด็นที่ว่า เหล่า AI กำลังเข้ามาแทนที่แรงงานคนในอุตสาหกรรมหรืองานบางประเภท นั่นน่าจะนำมาซึ่งความวิตกกังวลว่า ในอนาคตข้างหน้าแรงงานคนจะเป็นอย่างไร เมื่อเหล่า AI ที่ถูกพัฒนามานั้นคล้ายกับว่ากำลังแย่งงานของมนุษย์ สำหรับบางคนอาจจะประเมินและมองเห็นถึงข้อดีต่อการถือกำเนิดของยุคปัญญาประดิษฐ์ว่า เมื่อมนุษย์สามารถใช้ AI ทำงานแทนได้แล้ว นั่นจะทำให้นักคิดนักพัฒนาทั้งหลายมีเวลามากขึ้นในการสร้างสรรค์หรือคิดค้นสิ่งใหม่ๆ เพื่อพัฒนาต่อไป แต่แน่นอนว่า ไม่ใช่ทุกคนจะสามารถเป็นนักคิดนักพัฒนาได้ กระแสการมาของ AI หรือปัญญาประดิษฐ์ น่าจะสร้างความตื่นตัวรวมไปถึงความวิตกกังวลต่อผู้คนที่แวดล้อมอยู่ในกลุ่มอุตสาหกรรมไม่น้อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศที่กำลังพัฒนาอย่างประเทศไทย ที่ตัวเลขเงินลงทุนรวมไปถึงนักลงทุนที่เดินทางมาจากต่างประเทศ ถือเป็นรายได้สำคัญของประเทศ และที่สำคัญคือไทยมีทรัพยากรหลักอย่าง “แรงงานคน” ที่แม้จะเป็นฟันเฟืองเล็กๆ ในระบบ แต่เป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนเครื่องจักรตัวใหญ่ เมื่อไม่นานมานี้ประเด็นที่น่าสนใจเกี่ยวกับการตัดสินใจจะย้ายฐานการผลิตกลับประเทศญี่ปุ่นของบางแบรนด์ ก็เป็นเรื่องที่น่าจับตามองไม่น้อย เมื่อมองถึงเหตุผลของการตัดสินใจของแบรนด์ชื่อดังอย่าง Casio ก็พบว่า มีด้วยกันหลายสาเหตุ ทั้งเรื่องการปรับค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำของไทยที่จะอนุมัติใช้ในวันที่ 1 เมษายนนี้

Read More

YAKEI แคมเปญชวนหลงใหล ญี่ปุ่นพร้อมรับนักท่องเที่ยวตลอดปี

ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิตของผู้คน รวมไปถึงความสวยงามของธรรมชาติที่ถักทอและหล่อหลอมจนทำให้ประเทศญี่ปุ่นกลายเป็นอีกหนึ่งจุดหมายปลายทางของนักท่องเที่ยวหลายๆ คน ที่อย่างน้อยสักครั้งในชีวิตต้องเดินทางไปสัมผัสและเก็บเกี่ยวประสบการณ์ชีวิต ดังนั้นจึงไม่น่าแปลกใจเมื่อในแต่ละปีประเทศญี่ปุ่นจะมีนักท่องเที่ยวเดินทางไปเป็นจำนวนมาก ซึ่งจากสถิติของ Japan National Tourism Organization (JNTO) เปิดเผยว่า ปี 2558 มีนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางไปประเทศญี่ปุ่นจำนวน 19.73 ล้านคน เพิ่มจำนวนขึ้นจากปี 2557 ร้อยละ 47.1 เปอร์เซ็นต์ โดยรัฐบาลญี่ปุ่นตั้งเป้าหมายเรื่องจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเอาไว้ที่ 20 ล้านคน ภายในปี 2563 ซึ่งเป็นปีที่ญี่ปุ่นจะเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก หากพิจารณาจากสถิติที่ผ่านมาจะเห็นได้ว่าญี่ปุ่นบรรลุเป้าหมายเรื่องการท่องเที่ยวเร็วกว่ากำหนด และประเด็นที่น่าสนใจคือ นับเป็นครั้งแรกในรอบ 45 ปี ที่จำนวนนักท่องเที่ยวจากต่างชาติเข้ามาญี่ปุ่นมีจำนวนมากกว่านักท่องเที่ยวชาวญี่ปุ่นที่เดินทางออกนอกประเทศ และเมื่อตัวเลขสถิตินักท่องเที่ยวออกมาเช่นนี้ ทำให้นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น นายชินโซ อาเบะ ตัดสินใจเพิ่มจำนวนเป้าหมายนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นเป็น 30 ล้านคน เพียงแต่ไม่ได้ระบุปีเอาไว้ กระนั้นปัจจัยที่ทำให้จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติในญี่ปุ่นเพิ่มจำนวนขึ้นมานั้น น่าจะมาจากการเพิ่มขึ้นของจำนวนนักท่องเที่ยวจากประเทศจีน โดยเฉพาะในปี 2558 ที่มีจำนวนมากถึง 4,993,800 คน นั่นทำให้จีนกลายเป็นนักท่องเที่ยวอันดับ

Read More

หนทางการพัฒนาของเนด้าใน CLMV เมื่อจีน-ญี่ปุ่น แผ่ขยายอิทธิพล

หลังการรวมตัวของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2558 ดูเหมือนว่ายิ่งจะเป็นการเพิ่มความน่าสนใจให้กับบรรดานักลงทุนต่างชาติไม่น้อย โดยเฉพาะกลุ่มประเทศ CLMV ที่หมายถึง กัมพูชา ลาว เมียนมา และเวียดนาม การมาถึงของนักลงทุนในกลุ่มประเทศดังกล่าว ไม่ใช่เพียงการมาแบบฉายเดี่ยวของนักลงทุน แต่เป็นนโยบายภาครัฐของประเทศนั้นๆ ที่ต้องการแผ่ขยายอิทธิพลทางการค้าเข้ามาในกลุ่มภูมิภาคลุ่มน้ำโขง โดยเฉพาะจีน และญี่ปุ่น หากพิจารณาจากชั้นเชิงของทั้งสองประเทศมหาอำนาจของเอเชีย ดูจะอุดมไปด้วยยุทธศาสตร์ เสมือนว่ากำลังประลองสรรพกำลังกันบนกระดานหมากรุก และเป็นเกมที่ดำเนินมาอย่างต่อเนื่องถึง 10 ปี ขณะที่ชายแดนไทยเชื่อมต่อกับประเทศกลุ่มนี้กลับมีสัดส่วนการลงทุนที่น้อยกว่าประเทศมหาอำนาจทั้งสอง ทั้งที่ในช่วงหนึ่งญี่ปุ่นประสบปัญหาเศรษฐกิจอย่างหนัก แต่ยังมีการลงทุนนอกประเทศอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในประเทศไทย ที่มีนักลงทุนจากญี่ปุ่นมากเป็นอันดับ 1 ในบรรดานักลงทุนต่างชาติที่ตบเท้าเข้ามา สิ่งที่น่าสนใจคือการมาของญี่ปุ่น ดูจะเป็นการเข้ามาคานอำนาจของจีนในกลุ่มประเทศลุ่มน้ำโขง แต่เต็มไปด้วยกลยุทธ์ที่ต้องเรียกว่าน่าสนใจ คือมาพร้อมกับการให้ความสนับสนุนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานให้กับประเทศนั้นๆ เช่น การสร้างถนนที่เชื่อมต่อและเสริมสร้างศักยภาพของเส้นทางโลจิสติกส์ โดยมีหน่วยงานที่มีบทบาทสำคัญให้การสนับสนุน คือ ธนาคารพัฒนาแห่งเอเชีย หรือ ADB พื้นที่เขตเศรษฐกิจทวายดูจะเป็นหลักฐานชิ้นสำคัญที่บ่งบอกว่าญี่ปุ่นเดินหมากด้วยความแยบยลเพียงใด เพราะนอกจากการลงทุนในเขตเศรษฐกิจทวายในประเทศเมียนมาแล้ว ญี่ปุ่นยังสนับสนุนงบประมาณการก่อสร้างถนนจากบ้านพุน้ำร้อน จ.กาญจนบุรี ที่สามารถเดินทางเชื่อมต่อมายังทวายได้สะดวกยิ่งขึ้น แม้ว่าถึงปัจจุบันเขตเศรษฐกิจทวายจะยังมองหาความคืบหน้าที่ชัดเจนได้ยากนักก็ตาม ขณะที่นโยบายรัฐบาลกลางของจีนดูจะมีเป้าหมายที่ชัดเจนในการสร้างความเจริญที่จะเอื้อประโยชน์ให้กับประเทศตัวเอง ด้วยความต้องการที่จะยกระดับ “คุนหมิง” ให้เป็นเมืองหน้าด่านในการเป็นศูนย์กลางทางการค้าที่สำคัญ และยังวางตำแหน่งของคุนหมิงให้เป็นศูนย์กลางการเงินเพื่อนำเงินสกุลหยวนออกสู่อาเซียน และการลงทุนของจีนกับลาวดูจะเป็นโครงการที่เป็นการตกลงกันระหว่าง “รัฐต่อรัฐ” โดยสร้างถนน หรือการสร้างโรงแรมซึ่งชนกับทุนไทย แต่ประเด็นที่น่าจับตามองคือการเข้ามามีบทบาทในการสร้างโรงไฟฟ้าพลังน้ำที่อยู่ทางตอนบนของแม่น้ำโขง ที่หลายฝ่ายกำลังจับตาดูว่า

Read More

ญี่ปุ่น-สหรัฐฯ: มากกว่าเจรจาการค้า แต่คือการแสวงหาอนาคตร่วมกัน

การเจรจาทวิภาคีระหว่างญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกา ที่นำโดยเจ้าหน้าที่ระดับสูงของทั้งสองประเทศ ซึ่งประกอบส่วนด้วย Mike Pence รองประธานาธิบดีสหรัฐฯ กับ Taro Aso รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของญี่ปุ่น ในฐานะหัวหน้าคณะในการเจรจา ดำเนินไปท่ามกลางความคาดหวังว่าทั้งสองฝ่ายจะสามารถหาบทสรุปลงตัวร่วมกัน หลังจากที่สหรัฐอเมริกาถอนตัวออกจากกรอบความร่วมมือ 12 ชาติใน Trans-Pacific Partnership: TPP ขณะที่ความตึงเครียดครั้งใหม่บนคาบสมุทรเกาหลีทวีแนวโน้มที่จะเป็นภัยคุกคามเสถียรภาพของภูมิภาคอีกด้วย ท่าทีของ Mike Pence ที่ระบุว่า TPP เป็นเรื่องราวในอดีตและสหรัฐอเมริกาไม่ต้องการที่จะรอคอยความสำเร็จจากการเจรจาครั้งใหม่นี้อย่างเนิ่นนานและหวังที่จะบรรลุข้อตกลงร่วมกันในอนาคตอันใกล้ พร้อมกับสำทับว่า เมื่อประธานาธิบดี Donald Trump ตกลงที่จะเริ่มการเจรจาทวิภาคีนี้ วิสัยทัศน์ของสหรัฐฯ ก็คือการสร้างกลไกในการส่งเสริมความร่วมมือและความจำเริญเติบโตทางเศรษฐกิจร่วมกันระหว่างสหรัฐฯ และญี่ปุ่น ซึ่งเขาปรารถนาที่จะเห็นความสำเร็จอย่างใจจดใจจ่อ ขณะที่ Taro Aso ก็ย้ำให้เห็นว่าอุปสรรคทางการค้าระหว่างญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกา ที่ทำให้ความสัมพันธ์ของสองประเทศอยู่ในภาวะเสื่อมถอยตลอดช่วงทศวรรษ 1980-1990 เป็นเพียงภาพอดีตที่ห่างไกลออกไปจากข้อเท็จจริงในวันนี้ ที่ทั้งสองประเทศกำลังแสวงหาความร่วมมือ เพื่อร่วมกันสร้างอนาคตที่ดีกว่า ในลักษณะที่ไม่ใช่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะบงการหรือออกคำสั่งให้อีกฝ่ายดำเนินการ หากแต่เป็นการถกแถลงเพื่อหาบทสรุปที่นำไปสู่ผลประโยชน์ร่วมและมีเป้าหมายทางยุทธศาสตร์ร่วมกัน ท่วงทำนองของทั้ง Mike Pence และTaro Aso ก่อนและหลังการเจรจา สะท้อนให้เห็นความสำคัญของการก้าวเดินไปข้างหน้าพร้อมกันของสหรัฐฯ และญี่ปุ่น

Read More