Home > จีน

ถอดบทเรียนจีนฟื้นเศรษฐกิจหลังโควิด สู่โอกาสของไทยหลุดพ้นจีดีพีติดลบ

ปฏิเสธไม่ได้ว่า วิกฤตโควิด-19 สร้างความเสียหายเชิงโครงสร้างแก่ทุกประเทศที่มีการแพร่ระบาด ทั้งด้านสาธารณสุข และเศรษฐกิจทั้งระบบ เป็นเรื่องยากที่จะฟื้นตัวจากสถานการณ์อันยากลำบากในห้วงยามนี้ ที่เศรษฐกิจโลกอยู่ในภาวะถดถอยเป็นทุนเดิม ประเทศจีนแม้จะเป็นประเทศต้นทางการแพร่ระบาดของเชื้อร้ายนี้ และต้องเผชิญกับวิบากกรรมก่อนประเทศอื่น หลายประเทศแสดงความกังวลว่าจีนจะรับมือกับสถานการณ์นี้ได้อย่างไร การประกาศล็อกดาวน์ของจีนในเวลานั้นส่งผลกระทบในหลายด้าน ทั้งผลกระทบต่อประชากรในประเทศตัวเอง รวมไปถึงผลกระทบต่อประเทศคู่ค้า แต่ความเอาจริงเอาจังและศักยภาพที่มีทำให้จีนผ่านพ้นช่วงเวลาอันเลวร้ายมาได้ในที่สุด และด้วยระยะเวลาเพียงไม่กี่เดือน เศรษฐกิจจีนที่เคยฟุบตัวลงในช่วงเวลาหนึ่งกลับฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็ว กระทั่งมีการขยายตัวอยู่ในเกณฑ์ดีอีกครั้ง โดยเศรษฐกิจจีนในไตรมาส 3/2563 มีการขยายตัวร้อยละ 4.9 ต่อเนื่องจากไตรมาส 2/2563 ที่ขยายตัวได้ร้อยละ 3.2 เป็นผลสืบเนื่องจากการทยอยฟื้นตัวของการบริโภคภาคเอกชน โดยเฉพาะกิจกรรมการท่องเที่ยวภายในประเทศที่กลับมาคึกคักอีกครั้ง ภายหลังจากที่ทางการจีนได้ออกมาตรการผ่อนคลายการท่องเที่ยวภายในประเทศ ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ช่วงกลางเดือนกรกฎาคม 2563 นอกจากนี้ กิจกรรมการผลิตสินค้าและผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์คำสั่งซื้อที่สูงขึ้น ในช่วงที่ยังมีการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ทั่วโลก ซึ่งส่งผลต่อความต้องการสินค้าผลิตภัณฑ์ยา เวชภัณฑ์ และอุปกรณ์ทางการแพทย์จากจีน ที่ยังมีอยู่ต่อเนื่อง อาทิ อุปกรณ์วัดไข้ ผลิตภัณฑ์หน้ากากอนามัย อีกทั้งมาตรการทำงานที่บ้าน (Work From Home) ของหลายประเทศช่วยหนุนความต้องการสินค้าอิเล็กทรอนิกส์จากจีน โมเมนตัมข้างต้นจะยังคงเป็นแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจจีนในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2563 โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่า เศรษฐกิจจีนในช่วงไตรมาสสุดท้ายปี 2563 จะยังขยายตัวต่อเนื่องได้สูงกว่าร้อยละ 5.0 (บนสมมุติฐานที่ไม่มีการแพร่ระบาดเป็นวงกว้างระลอกสอง) หากแต่ยังคงเป็นอัตราการขยายตัวต่ำกว่าช่วงก่อนเกิดการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 อันเนื่องมาจากภาคการส่งออกของจีนที่ไม่ได้อยู่ในกลุ่มสินค้าที่ตอบโจทย์การรับมือการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ยังคงเผชิญกับความท้าทายจากความเสี่ยงที่เพิ่มสูงขึ้นของเศรษฐกิจโลก ขณะเดียวกัน

Read More

หัวเว่ยสร้างเครือข่าย 5G ระดับอัลตร้าไฮสปีด ส่งทีมช่วยฝ่าวิกฤตไวรัสโคโรนา

ทีมงานหัวเว่ย 150 คน ช่วยกันติดตั้งเครือข่าย 5G รอบโรงพยาบาลอู่ฮั่น วัลแคน เมาท์เทน โดยภารกิจสำเร็จลุล่วงภายใน 3 วัน หัวเว่ย ร่วมให้ความช่วยเหลือเพื่อต้านไวรัสโคโรนา จับมือโอเปอเรเตอร์ในมณฑลหูเป่ย เปิดให้บริการสถานีฐาน 5G ที่โรงพยาบาลลอู่ฮั่น วัลแคน เมาท์เทน ที่รองรับผู้ป่วย 1,000 เตียง บนพื้นที่ 25,000 ตารางเมตร ซึ่งรัฐบาลจีนกำหนดให้ก่อสร้างจนเสร็จสมบูรณ์พร้อมเปิดให้บริการภายในระยะเวลาไม่ถึง 10 วัน เพื่อรับมือกับการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา โดยโรงพยาบาลแห่งใหม่นี้ อิงแบบก่อสร้างของโรงพยาบาลเป่ยจิง เสี่ยวทังซาน ที่ใช้เวลาก่อสร้างเพียง 7 วันเมื่อปี 2546 เมื่อวันที่ 23 มกราคม ที่ผ่านมา คณะเจ้าหน้าที่หัวเว่ยราว 150 คนในมณฑลหูเป่ยได้รวมตัวกันผ่านโครงการต้านไวรัสโคโรนาของบริษัท ภายหลังจากที่ได้รับการแจ้งจากศูนย์ป้องกันโรดระบาดและควบคุมภาวะฉุกเฉินของเมืองอู่ฮั่น ทีมหัวเว่ยได้ส่งมอบสถานีฐาน 5G ได้จนสำเร็จลุล่วงภายในระยะเวลาเพียง 3 วัน ซึ่งหัวเว่ยได้ดำเนินการทุกขั้นตอน ตั้งแต่การกำหนดแผนเครือข่าย ออกสำรวจ

Read More

โออาร์ เปิดคาเฟ่ อเมซอน สาขาแรกในจีน เป็นประเทศที่ 10 ตั้งเป้าแบรนด์ไทยชั้นนำระดับโลก

นายชัยรัตน์ พรทิพย์วรเวทย์ กงสุลใหญ่ ณ นครหนานหนิง พร้อมด้วยนางสาวจิราพร ขาวสวัสดิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ โออาร์ นายอิสระ ว่องกุศลกิจ ประธานกรรมการกลุ่มมิตรผล และนายหลี่ จี้ ฉง (Li Jicong) กรรมการผู้จัดการบริษัท ซิโนเปค เซลส์ สาขา กว่างซี (Sinopec Sales Guangxi Branch Company) ร่วมพิธีเปิดร้าน คาเฟ่ อเมซอน สาขาจู๋ซี (Zhuxi) ซึ่งเป็นสาขาแรกของประเทศจีน ในสถานีบริการน้ำมัน ซิโนเปค เมืองหนานหนิง (Nanning) มณฑลกว่างซี (Guangxi) นางสาวจิราพร กล่าวว่า โออาร์ ในฐานะบริษัทเรือธง (Flagship) ของกลุ่ม

Read More

ทุนนอกไหลเข้าอาเซียน หวังหลบภัยสงครามการค้า

ความเป็นไปของอาเซียนโดยเฉพาะกรณีว่าด้วยการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (Foreign Direct Investment: FDI) ดูจะเป็นประหนึ่งปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจของอาเซียน เพราะไม่เพียงแต่จะมีส่วนส่งเสริมการขยายฐานการลงทุนแล้ว กรณีดังกล่าวยังเชื่อว่าจะเป็นอีกปัจจัยที่ช่วยเพิ่มอัตราการจ้างงานภายในภูมิภาค ซึ่งที่ผ่านมาพัฒนาการและแนวโน้มด้านการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศทั้งขาเข้าและขาออกทั้งหมดภายในอาเซียนมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง มูลเหตุหนึ่งที่ทำให้การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศในอาเซียน (ASEAN FDI) มีลักษณะขยายตัวเพิ่มสูงขึ้น นอกจากจะเกิดขึ้นจากการเพิ่มขึ้นของมูลค่าการลงทุนภายในอาเซียนเอง ที่เกิดขึ้นจากการเพิ่มขึ้นของมูลค่าธุรกรรมด้านการซื้อขายและควบรวมกิจการ (Merger & Acquisition: M&A) แล้ว การพัฒนาพื้นฐานทางเศรษฐกิจมหภาคและสภาพแวดล้อมด้านการลงทุนในระดับภูมิภาคก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ช่วยเปิดโอกาสการลงทุนที่มากขึ้น โดยเฉพาะการเพิ่มขึ้นของการลงทุนจากแหล่งใหม่ (Emerging Sources) ที่มีจีนเป็นผู้เร่งปฏิกริยา การเติบโตทางเศรษฐกิจของจีนในช่วงก่อนหน้านี้ ส่งผลให้มีการลงทุนทางตรงจากต่างประเทศ (Foreign Direct Investment: FDI) ไหลรินเข้าสู่ประเทศอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นผลของการอาศัยหลักการผลิตที่ได้เปรียบโดยเปรียบเทียบ อัตราค่าจ้างแรงงานที่ต่ำกว่า ข้อได้เปรียบจากขนาดของการผลิต (economy of scale) และห่วงโซ่อุปทาน (supply chain) ในการผลิตสินค้า ส่งผลทำให้จีนเปลี่ยนจากประเทศที่รับจ้างผลิต มาเป็นผู้ส่งออกสินค้า และแปลงสถานะมาเป็นคู่ค้าที่ได้เปรียบประเทศอื่นๆ ในที่สุด สัดส่วนของการค้าและการลงทุนในประเทศจีนที่มากล้น จนมีมูลค่าและสัดส่วนของการลงทุนที่มากเกินกว่าจะขยายได้ในประเทศ ทำให้ในปัจจุบันไม่เพียงแต่จีนจะกลายมาเป็นผู้ส่งออกสินค้าให้กับโลกแล้ว ยังรวมไปถึงการส่งเงินทุนออกไปภายนอกประเทศ (Outward Foreign Direct

Read More

EEC เนื้อหอม ญี่ปุ่น-จีน แห่ลงทุน

ในห้วงยามที่ไทยกำลังเข้าสู่ช่วงเวลาแห่งการรอคอยรัฐบาลใหม่ที่มาจากการเลือกตั้ง ทั้งประชาชนที่คาดหวังว่ารัฐบาลชุดใหม่จะสามารถแก้ปัญหาเศรษฐกิจ ภาคเอกชนที่หวังให้การขับเคลื่อนในระบบเศรษฐกิจยังคงดำเนินต่อไปด้วยอัตราเร่งเดิมหรือดีกว่าปัจจุบัน และแน่นอนว่า ความคาดหวังกับรัฐบาลชุดใหม่ไม่ได้จำกัดวงอยู่แค่เฉพาะคนไทยเท่านั้น เมื่อนักลงทุนและหอการค้าต่างชาติ ส่งสัญญาณให้ภาครัฐของไทยรับรู้ว่า ต้องการเห็นความมั่นคง ความมีเสถียรภาพ และที่สุดคือนโยบายที่เอื้อประโยชน์ให้แก่นักลงทุนต่างชาติ ที่สร้างให้เกิดความต่อเนื่องในการลงทุน ปัจจุบันไทยถูกจับตามองจากนักลงทุนในฐานะที่เป็นประเทศน่าลงทุน โดยเฉพาะในภาคอุตสาหกรรม เมื่อรัฐบาลปัจจุบันพยายามเร่งเครื่องเดินหน้าปลุกปั้นพื้นที่ภาคตะวันออกของไทยให้เป็นหมุดหมายปลายทางสำหรับการลงทุนภาคอุตสาหกรรม ในโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือ EEC แม้ว่าขณะนี้โครงการ EEC จะยังอยู่ในระหว่างการพัฒนา ทว่าการโรดโชว์ของภาครัฐ ที่ออกไปนำเสนอพื้นที่ EEC ให้ต่างชาติได้รับทราบข้อมูลความคืบหน้าและความเป็นไปของโครงการ โดยคาดหวังว่าการพัฒนาภาคอุตสาหกรรมจะเป็นอีกหนึ่งแรงกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยให้ทะยานไปข้างหน้าหลังจากที่หยุดนิ่งอยู่กับที่และเหมือนจะถอยหลังอยู่ในที และดูเหมือนว่าความพยายามในการผลักดันและโปรโมตโครงการ EEC จะสัมฤทธิผล เมื่อกลินท์ สารสิน ประธานกรรมการหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ในปี 2561 ตัวเลขการลงทุนอันดับ 1 คือนักลงทุนจากญี่ปุ่น ด้วยมูลค่าการลงทุนสูงกว่า 100,000 ล้านบาท หรือร้อยละ 46 ของการลงทุนในพื้นที่ EEC ทั้งหมด นอกจากนี้ยังมีการยื่นขอส่งเสริมการลงทุนจำนวน 334 โครงการ หรือร้อยละ 32 ของโครงการลงทุนจากต่างชาติทั้งหมด ทั้งนี้ อุตสาหกรรมที่จะเข้ามาลงทุนในไทยได้แก่ การผลิตรถยนต์ไฟฟ้าแบบผสม หรือไฮบริด เครื่องปรับอากาศ

Read More

จับตาเศรษฐกิจจีนทรุด ระวังอาฟเตอร์ช็อกทั่วโลก

เป็นที่ทราบกันดีกว่า จีน เป็นหนึ่งในประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจของโลก รองจากสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีมูลค่าทางเศรษฐกิจประมาณ 13 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 1 ใน 3 ของเศรษฐกิจโลก ทว่าตั้งแต่กลางปี 2018 เป็นต้นมา เศรษฐกิจในประเทศจีนส่งสัญญาณการชะลอตัวอย่างเห็นได้ชัด สาเหตุหนึ่งที่สร้างแรงสั่นสะเทือนต่อเศรษฐกิจจีน คือ การต่อกรกับสหรัฐฯ ในสงครามการค้า แม้ว่าจีนจะอยู่ในฐานะประเทศมหาอำนาจอันดับสองรองจากสหรัฐฯ ทว่าอำนาจเจรจาต่อรองที่จีนมีไม่สามารถสร้างความได้เปรียบให้แก่ตัวเองได้เลย เมื่อมูลค่าการนำเข้าสินค้าจีนของสหรัฐฯ มีมูลค่าสูงถึง 5 แสนล้านดอลลาร์ แต่เมื่อพิจารณามูลค่าการนำเข้าสินค้าสหรัฐฯ ของจีนนั้น มีเพียง 2 แสนล้านดอลลาร์ นี่เองที่เป็นข้อจำกัดของจีนในการที่จะโต้ตอบสหรัฐฯ ด้วยกำแพงภาษี แม้ล่าสุดการเจรจาการค้าระหว่างประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา โดนัลด์ ทรัมป์ และประธานาธิบดี สีจิ้นผิง เมื่อสัปดาห์สุดท้ายของเดือนกุมภาพันธ์ จะได้ข้อสรุปว่า สหรัฐฯ จะเลื่อนการปรับเพิ่มอัตราภาษีนำเข้าสินค้าจากจีนมูลค่า 2 แสนล้านดอลลาร์ เป็น 25 เปอร์เซ็นต์ จากเดิม 10 เปอร์เซ็นต์ ออกไปจากกำหนดเดิมที่จะมีการบังคับใช้ในวันที่ 1 มีนาคม ซึ่งทรัมป์ได้ทวีตข้อความว่า

Read More

ฟองสบู่อสังหาริมทรัพย์ สัญญาณเตือนภัยต้นปีหมู??

ความกังวลใจว่าด้วยการสะสมสินค้าล้นเกินในตลาดอสังหาริมทรัพย์ในช่วงที่ผ่านมา ที่อาจนำไปสู่ภาวะฟองสบู่แตกในภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในช่วงปีที่กำลังจะมาถึง ดูจะเป็นประเด็นที่หลายฝ่ายให้ความสนใจไม่น้อย โดยเฉพาะจากข้อเท็จจริงว่าด้วยปัจจัยกดดันจากนโยบายภาครัฐที่กำลังจะมีผลบังคับในไม่ช้า ปัจจัยเสี่ยงหรือ negative impact ที่กำลังส่งผลกระทบต่อธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในช่วงปี 2562 และต่อจากนี้ นอกจากจะอยู่ที่แนวโน้มดอกเบี้ยขาขึ้น ซึ่งจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อภาระการผ่อนชำระของผู้บริโภคแล้ว ยังประกอบส่วนด้วยมาตรการ LTV-loan to value ของธนาคารแห่งประเทศไทย ในการลดเพดานปล่อยสินเชื่อที่อยู่อาศัย มีผลให้การซื้อบ้าน-คอนโดมิเนียมหลังที่ 2 เป็นต้นไป ต้องจ่ายเพิ่มเงินดาวน์ ประเด็นดังกล่าวนับเป็นการชะลออำนาจการซื้อของผู้บริโภคไปโดยปริยาย เพราะจากเดิมการซื้อบ้านอาจดาวน์ประมาณ 5% กลับต้องเพิ่มเป็น 10-20-30% การซื้อคอนโดมิเนียม เดิม 10% เพิ่มเป็น 20-30% หรือหากกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือการซื้อบ้านหลังที่ 2 เงินดาวน์สูงสุด 20% ถ้าซื้อหลังที่ 3 ขึ้นไป บังคับเงินดาวน์ถึง 30% ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการในการระบายสินค้าด้วย แม้ว่ามาตรการ LTV ของธนาคารแห่งประเทศไทย ในด้านหนึ่งจะเป็นความพยายามในการลดภาวะร้อนแรงในตลาดคอนโดมิเนียมที่มีทั้งการซื้อเพื่ออยู่อาศัย การลงทุนและการเก็งกำไรจำนวนมาก ที่ทำให้ตลาดคอนโดมิเนียมมีความร้อนแรงเกินจริง ซึ่งในระยะยาวจะส่งผลให้ตลาดคอนโดมิเนียมปรับตัวตามสภาพ และได้รับการประเมินว่าเป็นมาตรการที่พยายามทำให้ภาพรวมของตลาดอสังหาริมทรัพย์มีความแข็งแรงมากขึ้น หากแต่ในอีกด้านหนึ่งมาตรการที่มุ่งหมายสกัดการเก็งกำไรในตลาดคอนโดมิเนียมดังกล่าว กลับส่งผลกระทบต่อตลาดบ้านแนวราบทั้งบ้านเดี่ยวและทาวน์เฮาส์ไปด้วย ซึ่งทำให้ผู้บริโภคต้องแบกรับภาระเงินดาวน์สูงขึ้นอย่างมาก และทำให้เกิดการชะลอตัวในตลาดบ้านเดี่ยวไปโดยปริยาย ขณะเดียวกันปัจจัยด้านการเมืองดูจะเป็นปัจจัยที่อยู่นอกเหนือการควบคุม

Read More

ข้อพิพาทการค้าจีน-สหรัฐฯ สุดทางเมื่อต่างสูญเสีย?

ประเด็นข้อพิพาททางการค้าระหว่างจีนและสหรัฐอเมริกา ที่เคลื่อนไหวตอบโต้กันอย่างหนักหน่วงในช่วงที่ผ่านมา ทั้งในมิติของการตั้งกำแพงภาษีสินค้านำเข้าเพื่อให้เอกชนในสหรัฐฯ สามารถแข่งขันราคาสินค้าภายในประเทศกับสินค้านำเข้าจากจีนหรือแม้กระทั่งความพยายามที่จะปรับเปลี่ยนข้อปฏิบัติด้านทรัพย์สินทางปัญญา และการอุดหนุนอุตสาหกรรมและโครงสร้างภาษีแล้ว ดูเหมือนว่าสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างจีน-สหรัฐอเมริกา กำลังถูกกระทำให้ปริห่างออกจากกันมากขึ้นไปอีก เมื่อปรากฏว่าทางการแคนาดาเข้าควบคุมและจับกุม เหมิง หวันโจว ที่มีสถานะเป็นทั้ง CFO ของบริษัท HUAWEI และบุตรสาวของ เหริน เจิ้งเฟย ประธานและผู้ก่อตั้ง HUAWEI เมื่อต้นเดือนธันวาคมที่ผ่านมา มูลเหตุของการจับกุมตัว เหมิง หวันโจว เกิดขึ้นจากข้อกล่าวหาที่ว่า HUAWEI นำบริษัทลูกในนาม Skycom ประกอบธุรกรรมอำพรางเมื่อปี 2013 ในการจำหน่ายสินค้าโทรคมนาคมให้กับประเทศอิหร่าน ประเทศที่ถูกทางการสหรัฐฯ ดำเนินมาตรการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจอยู่ โดยในการจับกุมดำเนินคดีในครั้งนี้ อาจทำให้ เหมิง หวันโจว ถูกส่งตัวในฐานะผู้ร้ายข้ามแดนไปยังสหรัฐอเมริกา และหากได้รับการพิจารณาตัดสินว่ามีความผิดจริงมีโอกาสที่จะโดนจำคุกสูงสุดถึง 30 ปี ในรายงานของสำนักงานอัยการ ทางการแคนาดาระบุว่า เหมิง หวันโจว มีส่วนเกี่ยวข้องกับการทำธุรกรรมด้วยการขายอุปกรณ์โทรคมนาคมให้แก่อิหร่าน ผ่านบริษัท Skycom ซึ่งเป็นบริษัทลูกแบบลับๆ ของ HUAWEI ในฮ่องกง ข้อเท็จจริงที่น่าสนใจประการหนึ่งก็คือ อาณาจักรธุรกิจของ HUAWEI

Read More

อุตสาหกรรมไทย โอกาสในสงครามการค้า

ท่ามกลางสถานการณ์สงครามการค้าที่อุบัติขึ้นอย่างต่อเนื่องของสองชาติมหาอำนาจทางเศรษฐกิจระหว่างสหรัฐอเมริกากับจีน ก่อให้เกิดผลกระทบในเชิงลบที่ไม่ได้เกิดขึ้นกับทั้งสองประเทศเท่านั้น หากแต่ผลกระทบเชิงลบยังขยายวงกว้างไปยังประเทศคู่ค้าอื่นๆ ที่แม้ว่าจะพยายามหาหนทางหรือกลยุทธ์ในการหลบหลีกรัศมีของห่ากระสุนจากสงครามนี้แล้วก็ตาม จากนโยบาย “American First” ที่ โดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ใช้เป็นนโยบายหลักในการบริหารประเทศ แม้จะเป็นไปเพื่อผลลัพธ์ที่ดีต่อพลเมืองอเมริกัน และได้รับแรงสนับสนุนจากผู้ที่เห็นดีเห็นงามอยู่บ้าง ในทางกลับกันนโยบายดังกล่าวสร้างความไม่พอใจจากผู้ประกอบธุรกิจนำเข้าและส่งออกสินค้า รวมไปถึงประเทศคู่ค้า เพราะมาตรการขึ้นภาษีนำเข้า ซึ่งเป็นหนึ่งในมาตรการสำคัญของนโยบาย “American First” การสาดกระสุนทางภาษีในสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีนเกิดขึ้นหลายระลอก แน่นอนว่าในทุก สงครามย่อมต้องมีฝ่ายได้รับบาดเจ็บ ผู้ประกอบการจากหลายอุตสาหกรรมต้องแสวงหากลยุทธ์เพื่อหวังจะลดทอนผลกระทบให้ได้มากที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งอุตสาหกรรมยานยนต์ในจีน ที่ตกอยู่ท่ามกลางดงกระสุนของสงครามนี้อย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ เพราะค่ายรถยนต์ที่มีฐานการผลิตอยู่ในจีนได้รับผลกระทบจากการขึ้นภาษีทั้งสองทาง มาตรการขึ้นภาษีของทั้งสองประเทศในอุตสาหกรรมยานยนต์ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตรถยนต์มีราคาสูงขึ้น และกำไรลดน้อยลง เมื่อยังไม่มีใครให้คำตอบได้ว่าสงครามการค้าระหว่างสองประเทศนี้จะสิ้นสุดลงเมื่อใด ทางออกที่มีอาจจะจำกัดอยู่เพียงแค่การย้ายฐานการผลิตไปประเทศอื่น ไม่ว่าจะเป็นย้ายฐานการผลิตไปยังสหรัฐอเมริกา เพื่อหลีกเลี่ยงภาษี ซึ่งทางออกนี้โดนัลด์ ทรัมป์ จะชี้นำไว้จากนโยบาย American First โดยมุ่งหวังที่จะสร้างงานให้แก่คนอเมริกัน และแน่นอนว่า ประเทศในกลุ่มเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรืออาเซียน อาจจะเป็นอีกทางเลือกที่น่าสนใจสำหรับการสร้างฐานการผลิตรถยนต์ หรือขยายฐานการผลิตในกรณีที่ค่ายรถยนต์มีฐานการผลิตอยู่แล้วในภูมิภาคนี้ อย่างไรก็ตาม บริษัทผู้ประกอบการรถยนต์จำนวนหนึ่งที่มีฐานลูกค้าอยู่ในอเมริกา เลือกที่จะย้ายฐานการผลิตไปยังอเมริกาแทน เพื่อหลีกเลี่ยงภาษี ซึ่งจะทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น และส่งผลให้กำไรลดลง หากจะมองว่ามาตรการขึ้นภาษีของนโยบาย “American First” เป็นการบีบบังคับประเทศคู่ค้าเพื่อให้ตกลงในเงื่อนไขที่โดนัลด์ ทรัมป์ สร้างขึ้นก็ดูจะไม่ผิดนัก เพราะเมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา มีการทำข้อตกลงระหว่างสหรัฐฯ และเม็กซิโกเกี่ยวกับอุตสาหกรรมยานยนต์ว่า

Read More

สงครามการค้ายกที่สอง กระทบเศรษฐกิจไทย เศรษฐกิจโลก?

ความเคลื่อนไหวของ 2 ชาติมหาอำนาจอย่างสหรัฐอเมริกาและจีน ที่ตอบโต้กันชนิดที่เรียกได้ว่า หมัดต่อหมัด กับการตั้งกำแพงภาษีสินค้านำเข้า แรงเหวี่ยงหมัดที่ 2 ประเทศสร้างขึ้นก่อให้เกิดความวิตกกังวลไม่น้อยกับนานาประเทศคู่ค้า หลายฝ่ายจับตามองว่าสงครามการค้าที่เกิดขึ้นในครั้งนี้จะยุติลงเมื่อใด และจะมีบทสรุปอย่างไร แม้ว่าหลายเดือนก่อนหน้าจะมีความพยายามอย่างยิ่งยวดในการเจรจาเพื่อหาข้อยุติสงครามการค้าของทั้ง 2 ประเทศ แต่น่าแปลก ในขณะที่การเจรจายังดำเนินไปตามครรลองที่ควรจะเป็น และยังไม่มีบทสรุปใดๆ ออกมา ผู้นำอย่างประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ กลับประกาศอัตราเรียกเก็บภาษีนำเข้าสินค้าจากจีนในอัตรา 25 เปอร์เซ็นต์ ครั้งแรกเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม นับเป็นหมัดแรกที่สหรัฐฯ เหวี่ยงเข้าใส่จีน การเรียกเก็บภาษีนำเข้าครั้งนั้นนับเป็นมูลค่า 34,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณ 1.1 ล้านล้านบาท จากสินค้าจำนวน 818 รายการ และหลังจากนั้นอีก 2 สัปดาห์ ทรัมป์เดินหน้าประกาศเรียกเก็บภาษี 25 เปอร์เซ็นต์ เป็นมูลค่า 16,000 ล้านดอลลาร์ จากสินค้า 282 รายการ แน่นอนว่า จีน ที่ได้ชื่อว่าเป็นมหาอำนาจในซีกโลกตะวันออก คงไม่นิ่งเฉยรอให้สหรัฐฯ

Read More