Home > 2019 > มีนาคม (Page 3)

Sex shop

Column: From Paris สมัยที่ไปเรียนที่เมืองนีซ (Nice) นักเรียนไทยกลุ่มใหญ่เลี้ยวเข้าไปในเซ็กซ์ชอป รุ่นเด็กดูไม่รู้เรื่อง แต่รุ่นใหญ่กิ๊กกั๊กกันสนุกสนาน นั่นเป็นครั้งแรกที่ไปเข้าไปในสถานที่ “อโคจร” ครั้งหนึ่งไปเที่ยวโคเปนเฮเกน เจ้าถิ่นพาเดินถนนที่มีการค้าประเวณี ไปเดินเล่นแถวปิกาล (Pigalle) เพราะอยากเห็นคาบาเรต์ที่ชื่อ Moulin Rouge รู้สึกเป็นอะไรที่ต้องดู ในอดีตย่านนี้เต็มไปด้วยคาบาเรต์และ music hall และแน่นอนย่อมมีหญิงบริการด้วย ผู้จำลองวิถีชีวิตของย่านปิกาลลงบนผืนผ้าใบคือ อองรี เดอ ตูลูซ-โลเทรก (Henri de Toulouse-Lautrec) ซึ่งใช้ชีวิตยามราตรีตามสถานที่เหล่านี้ แต่สิ่งที่ได้เห็นพร้อมกับคาบาเรต์ในปิกาลคือบรรดาเซ็กซ์ชอป เต็มสองฟากถนน แต่เมื่อใดที่เดินลัดเลาะตามซอกซอย พบว่าเป็นย่านที่น่าอยู่มาก เต็มไปด้วยเสน่ห์ อาคารสวย ที่แม้บางครั้งจะมีคุณผู้หญิงแต่งตัวสวยยืนรอแขกก็ตาม ปิกาลอยู่ในเขต 18 (18ème arrondissement) ซึ่งเป็นเขตที่หนุ่มสาวยุคใหม่นิยมมาพำนัก เทศบาลปรับปรุงเพื่อรองรับชุมชนใหม่เหล่านี้ด้วย เช่น โรงเรียนและสวนหย่อม ย่านชาตเลต์ (Châtelet) และเลส์ อาลส์ (Les Halles) รวมทั้งย่านโบบูรก์ (Beaubourg)

Read More

ซีพีเอ็น ทุ่ม 1,000 ล้าน ปรับโฉมเซ็นทรัลพลาซา เชียงราย เป็นจุดเช็คอินแห่งใหม่ของเชียงราย

ซีพีเอ็น ทุ่ม 1,000 ล้าน รีโนเวทพร้อมเปิดตัว เซ็นทรัลพลาซา เชียงราย โฉมใหม่ สุดไฉไลสไตล์ล้านนา ชูเป็นจุดหมายที่ต้องเช็คอินแห่งใหม่ของเชียงราย ตอกย้ำการเป็นศูนย์กลางการใช้ชีวิต ‘Center of Life’ ของคนเชียงราย สะท้อนมนต์เสน่ห์ของวิถีชีวิตในดินแดนเหนือสุดของประเทศ ด้วยครั้งแรกกับ Art Community, co-working space ทันสมัยที่สุด, พร้อมร้านค้าใหม่แบรนด์ดังมากมาย ภายใต้แนวคิด ‘ชีวิตสุดเหนือ’ บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอ็น ผู้บริหารและพัฒนาศูนย์การค้า ชั้นนำ ได้แก่ เซ็นทรัลเวิลด์ เซ็นทรัลพลาซา เซ็นทรัลเฟสติวัล และเซ็นทรัลภูเก็ต ตอกย้ำความเป็นศูนย์กลางการใช้ชีวิตที่ตอบโจทย์คนทุกกลุ่มทุกไลฟ์สไตล์ ด้วยการเปิดตัว เซ็นทรัลพลาซา เชียงราย โฉมใหม่ ภายใต้แนวคิด “ชีวิตสุดเหนือ” เพื่อมอบความเป็นที่สุดของสินค้าและบริการจากดินแดนเหนือสุดของประเทศ โดยได้ดึงเสน่ห์ของล้านนามาเป็นแก่นในการตกแต่ง และในการสร้างกิจกรรมต่างๆ เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยว และโปรโมทการท่องเที่ยวเมืองรองตามนโยบายของภาครัฐ ดร. ณัฐกิตติ์

Read More

สวทช. และสถาบันวิจัยไอบีเอ็ม จับมือนำปัญญาประดิษฐ์พลิกโฉมการทำไร่อ้อยในประเทศไทยร่วมกับกลุ่มมิตรผล

สวทช. และสถาบันวิจัยไอบีเอ็ม จับมือนำปัญญาประดิษฐ์พลิกโฉมการทำไร่อ้อยในประเทศไทยร่วมกับกลุ่มมิตรผล คาดโครงการวิจัยที่ใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (เอไอ) อินเตอร์เน็ตอ็อฟธิงส์ การสำรวจระยะไกลผ่านดาวเทียม และข้อมูลพยากรณ์อากาศแบบเจาะจงพื้นที่ ช่วยเพิ่มผลผลิตไร่อ้อย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ประกาศความร่วมมือในงานวิจัยระยะเวลาสองปีร่วมกับไอบีเอ็ม เพื่อเพิ่มผลผลิตอ้อยในประเทศไทย โดยสวทช. และไอบีเอ็ม ร่วมด้วยกลุ่มมิตรผล ผู้ผลิตน้ำตาลรายใหญ่เป็นอันดับสามของโลกและรายใหญ่ที่สุดในเอเชียที่ให้การสนับสนุนความรู้เฉพาะทางในการวิจัยครั้งนี้ จะนำร่องพัฒนาแดชบอร์ดอัจฉริยะและแอพพลิเคชันบนมือถือ เพื่อช่วยให้ผู้เชี่ยวชาญได้รับข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับสุขภาพของอ้อย ความชื้นของดิน ความเสี่ยงที่จะถูกโจมตีจากโรคและศัตรูพืช การคาดการณ์ผลผลิต และดัชนีค่าคุณภาพความหวานของอ้อย (ซีซีเอส) โดยอาศัยเทคโนโลยีเอไอชั้นนำของโลกและข้อมูลสภาพอากาศที่แม่นยำที่สุดในโลกจากเดอะเวเธอร์คอมแพนี (The Weather Company) รวมถึงเทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตอ็อฟธิงส์และอนาไลติกส์ อ้อยเป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญที่ใช้ในการผลิตน้ำตาลและพลังงานชีวภาพในประเทศไทยและทั่วโลก ประเทศไทยเป็นผู้ส่งออกรายใหญ่อันดับสองของโลก และมีบทบาทสำคัญในการป้อนน้ำตาลสู่ตลาดโลกโดยมีส่วนแบ่งตลาด 9.4% ในปี 2560 มีการคาดการณ์ว่าประเทศไทยจะสามารถผลิตน้ำตาลได้ 14.1 ล้านเมตริกตันในช่วงปี 2561-2562 โดยเพิ่มขึ้น 3% จากปีที่ผ่านมา ปัจจุบันนักวิจัยไอบีเอ็มกำลังพัฒนา “อโกรโนมิคอินไซต์แอสซิสแทนท์” (Agronomic Insights Assistant) ซึ่งใช้แพลตฟอร์มไอบีเอ็มวัตสันดีซิชันสำหรับการเกษตร (IBM Watson Decision Platform for

Read More

สมาพันธ์เครือข่าย NCDs จับมือพรรคการเมือง ขับเคลื่อนนโยบายลดอัตราการเสียชีวิตด้วยโรค NCDs

สมาพันธ์เครือข่าย NCDs ประเทศไทย ตื่นตัวหาแนวร่วมแก้ไขปัญหาสาธารณสุขระดับประเทศ จับมือพรรคการเมือง ขับเคลื่อนนโยบายลดอัตราการเสียชีวิตด้วยโรค NCDs เนื่องด้วยสถานการณ์การเสียชีวิตในประเทศไทย ปี 2560 พบว่ากว่า 75% หรือประมาณ 320,000 คนต่อปี เสียชีวิตจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (หรือ Non-Communicable Diseases - NCDs) ซึ่งประกอบด้วยกลุ่มโรค 4 กลุ่มสำคัญ คือ 1. โรคหัวใจและหลอดเลือด เสียชีวิตถึง 48% 2. โรคมะเร็ง เสียชีวิตถึง 21% 3. โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง เสียชีวิต 12% และ 4. โรคเบาหวาน เสียชีวิต 3% ในขณะเดียวกัน ข้อมูลจากองค์การอนามัยโลก ยังระบุว่าสาเหตุสำคัญของการเสียชีวิตของคนทั่วโลก เกิดจากโรค NCDs ด้วยเช่นกัน ด้วยสถิติสูงถึง 70% ของประชากรทั่วโลก

Read More

จับตาเศรษฐกิจจีนทรุด ระวังอาฟเตอร์ช็อกทั่วโลก

เป็นที่ทราบกันดีกว่า จีน เป็นหนึ่งในประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจของโลก รองจากสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีมูลค่าทางเศรษฐกิจประมาณ 13 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 1 ใน 3 ของเศรษฐกิจโลก ทว่าตั้งแต่กลางปี 2018 เป็นต้นมา เศรษฐกิจในประเทศจีนส่งสัญญาณการชะลอตัวอย่างเห็นได้ชัด สาเหตุหนึ่งที่สร้างแรงสั่นสะเทือนต่อเศรษฐกิจจีน คือ การต่อกรกับสหรัฐฯ ในสงครามการค้า แม้ว่าจีนจะอยู่ในฐานะประเทศมหาอำนาจอันดับสองรองจากสหรัฐฯ ทว่าอำนาจเจรจาต่อรองที่จีนมีไม่สามารถสร้างความได้เปรียบให้แก่ตัวเองได้เลย เมื่อมูลค่าการนำเข้าสินค้าจีนของสหรัฐฯ มีมูลค่าสูงถึง 5 แสนล้านดอลลาร์ แต่เมื่อพิจารณามูลค่าการนำเข้าสินค้าสหรัฐฯ ของจีนนั้น มีเพียง 2 แสนล้านดอลลาร์ นี่เองที่เป็นข้อจำกัดของจีนในการที่จะโต้ตอบสหรัฐฯ ด้วยกำแพงภาษี แม้ล่าสุดการเจรจาการค้าระหว่างประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา โดนัลด์ ทรัมป์ และประธานาธิบดี สีจิ้นผิง เมื่อสัปดาห์สุดท้ายของเดือนกุมภาพันธ์ จะได้ข้อสรุปว่า สหรัฐฯ จะเลื่อนการปรับเพิ่มอัตราภาษีนำเข้าสินค้าจากจีนมูลค่า 2 แสนล้านดอลลาร์ เป็น 25 เปอร์เซ็นต์ จากเดิม 10 เปอร์เซ็นต์ ออกไปจากกำหนดเดิมที่จะมีการบังคับใช้ในวันที่ 1 มีนาคม ซึ่งทรัมป์ได้ทวีตข้อความว่า

Read More

สกว.เปิดเวทีเสวนาโชว์ผลิตภัณฑ์จากงานวิจัยสมุนไพร สืบสานภูมิปัญญาไทยและสร้างมูลค่าเพิ่ม

สกว.เปิดเวทีเสวนาโชว์ผลิตภัณฑ์จากงานวิจัยสมุนไพรตั้งแต่ระดับท้องถิ่นจนถึงอุตสาหกรรม หวังสืบสานภูมิปัญญาไทยและผลักดันทุกภาคส่วนให้ร่วมกันต่อยอดใช้ประโยชน์เพื่อสร้างมูลค่า และสอดคล้องกับแผนแม่บทแห่งชาติ ศ. นพ.สุทธิพันธ์ จิตพิมลมาศ ผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) เป็นประธานเปิดงานเสวนาและนิทรรศการ “สืบสานภูมิปัญญาไทย ด้วยสมุนไพรท้องถิ่น” ณ ห้องประชุม สกว. ซึ่งจัดโดยงานจัดการความรู้และสื่อสารสังคม สกว. เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้และผลิตภัณฑ์ที่มีสมุนไพรเป็นองค์ประกอบจากงานวิจัย ตลอดจนสนับสนุนการใช้ประโยชน์จากสมุนไพรไทยสู่การจำหน่ายในเชิงพาณิชย์และการรักษาทางการแพทย์ อีกทั้งยกระดับมาตรฐานการทำวิจัยและผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรตามยุทธศาสตร์ของประเทศ ดร. ภญ.มณฑกา ธีรชัยสกุล ผู้อำนวยการกองสมุนไพรเพื่อเศรษฐกิจ กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กล่าวระหว่างการเสวนาว่า แผนแม่บทแห่งชาติว่าด้วยการพัฒนาสมุนไพรไทย ฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2560–2564) กำหนดเป้าหมายให้ไทยเป็นประเทศที่ส่งออกวัตถุดิบสมุนไพรคุณภาพและผลิตภัณฑ์สมุนไพรชั้นนำของภูมิภาคอาเซียนในอีก 5 ปีข้างหน้า และมีมูลค่าของวัตถุดิบสมุนไพรและผลิตภัณฑ์ภายในประเทศเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 1 เท่าตัว อย่างไรก็ตาม อุตสาหกรรมนี้ยังไม่สามารถเติบโตได้เพราะขาดโครงสร้างพื้นฐานและเทคโนโลยี จึงต้องมีนวัตกรรมที่จะช่วยให้ประเทศก้าวหน้าและมีศักยภาพในการแข่งขันกับประเทศอื่น ๆ ต้องทำการตลาดให้คนทั่วโลกเห็นประเทศไทยในอีกมุมหนึ่งว่าเรามีสมุนไพรที่มีคุณภาพและหลากหลาย รวมถึงมีระบบสนับสนุนที่ดี หัวใจของการขับเคลื่อนจึงต้องมีแผนแม่บทและการเปลี่ยนแปลงกฎหมาย แม้ สกว.จะให้ทุนพัฒนายาเป็นจำนวนมากแต่ยังขายไม่ได้เพราะกฎระเบียบยังไม่เปิด คณะกรรมการนโยบายระดับชาติจะต้องกำหนดกฎหมายใหม่เพื่อรองรับกติกาที่เหมาะสมกับประเทศมากขึ้น ขณะที่นางสุนันทา โรจน์เรืองไร หัวหน้าโครงการฟื้นฟูศรัทธาต่อการรักษาโรคหวัด โรคกระเพาะด้วยสมุนไพรพื้นบ้านของ ต.ท่ามะไฟหวาน อ.แก้งคร้อ จ.ชัยภูมิ

Read More

เปิดตัว TMRW ธนาคารบนมือถือ ครั้งแรกในไทยและภูมิภาคอาเซียน

ธนาคารยูโอบี (ไทย) เปิดตัว TMRW (ทูมอร์โรว์) บริการธนาคารผ่านช่องทางดิจิทัล บนมือถือเต็มรูปแบบ ครั้งแรกในประเทศไทยและภูมิภาคอาเซียน สร้างสรรค์ขึ้นมาเพื่อตอบโจทย์กลุ่มดิจิทัลเจเนอเรชันโดยเฉพาะ TMRW เปิดตัวในประเทศไทยเป็นประเทศแรก กลุ่มผู้บริโภคยุคดิจิทัลในประเทศไทย ซึ่งคิดเป็นจำนวนถึง 1 ใน 3 ของจำนวนประชากรทั้งหมดของประเทศ และมีความคาดหวังที่จะได้รับประสบการณ์ดิจิทัลที่ง่ายและสะดวกในการจัดการด้านการเงินอย่างชาญฉลาด ดังนั้น TMRW จึงได้รับการออกแบบและพัฒนาตามแนวคิด “Different Generation, Different Solutions” เพื่อตอบรับความต้องการและไลฟ์สไตล์ของคนยุคดิจิทัล เพราะยุคสมัยที่ต่างกันต้องการโซลูชั่นที่แตกต่าง TMRW จะพลิกโลกของบริการธนาคารให้เป็นเรื่องที่ง่ายขึ้น โปร่งใสกว่าเดิม พร้อมฟังก์ชั่นการบริการที่ผู้ใช้จะถูกใจและใช้บ่อยมากขึ้น โดยจะนำข้อมูลการใช้บริการที่ได้แปลเป็นข้อมูลเชิงลึก ที่จะยกระดับประสบการณ์การใช้งานของผู้ใช้ให้น่าสนใจและมีสีสัน ขณะเดียวกันยังช่วยให้ลูกค้ารู้สึกสนใจและสนุกกับการเก็บออมและใช้จ่ายเงินได้อย่างชาญฉลาด เมื่อลูกค้าทำธุรกรรมผ่าน TMRW มากขึ้น TMRW ก็จะเริ่มรู้ใจ และนำเสนอสิ่งที่สอดคล้องกับความต้องการของลูกค้าได้ดียิ่งขึ้นด้วยเช่นกัน นายตัน ชุน ฮิน กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารยูโอบี (ไทย) กล่าวว่า “ประเทศไทยเป็นฐานของผู้บริโภคกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่มีทักษะและความสนใจทางด้านดิจิทัล การขับเคลื่อนทางเทคโนโลยี การเชื่อมต่อแบบครบวงจร จึงเปลี่ยนไลฟ์สไตล์ พฤติกรรม และความคิดของคนยุคดิจิทัล ทำให้พวกเขาแตกต่างจากคนรุ่นก่อน

Read More

หนี้สาธารณะ ภาระหนักเศรษฐกิจไทย

ท่ามกลางสถานการณ์ทางเศรษฐกิจของไทย ที่ดูจะไม่มีวี่แววว่าจะมีทิศทางปรับตัวกระเตื้องขึ้นในเร็ววัน ตัวเลขหนี้สาธารณะของไทยกลับปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น จนทำให้หลายฝ่ายสะท้อนความกังวลใจ หากแต่สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) กระทรวงการคลัง ยืนยันว่ากรณีดังกล่าวไม่กระทบเศรษฐกิจ เพราะเป็นภาระหนี้ที่นำไปใช้จ่ายในโครงการขนาดใหญ่และช่วยให้เศรษฐกิจขยายตัว ท่วงทำนองแห่งความเชื่อมั่นในลักษณะดังกล่าว นำไปสู่ความเคลื่อนไหวล่าสุดว่าด้วยการปรับขึ้นหนี้สาธารณะในปี 2562 อีก 2.3 หมื่นล้านบาทในการประชุมคณะรัฐมนตรีของ คสช. เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่งส่งผลให้ตัวเลขหนี้สาธารณะไทยไปอยู่ที่ระดับ 1.85 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 43.32 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) จากเดิมที่อยู่ในระดับร้อยละ 42.7 ขณะที่ตัวเลขหนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นปีงบประมาณ 2561 อยู่ที่ระดับ 6.833 ล้านล้านบาท การปรับปรุงแผนการบริหารหนี้สาธารณะที่เพิ่มขึ้นดังกล่าวนี้ เป็นผลมาจากการดำเนินโครงการต่างๆ เพิ่มเติม ทั้งเงินกู้รถไฟความเร็วสูงไทย-จีน ช่วงกรุงเทพฯ-หนองคาย (ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา) ของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) วงเงินลงทุน 3.2 หมื่นล้านบาท และโครงการที่ขอบรรจุเพิ่มเติมขออนุมัติเพิ่มเติมใหม่อีก 6 โครงการ วงเงินทั้งสิ้น 2.8 หมื่นล้านบาท

Read More

ทิศทางตลาดอสังหาฯ ปี 62 ความท้าทายหรือวิกฤต

นับตั้งแต่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศใช้มาตรการ Loan-to-Value หรือ LTV ซึ่งเป็นมาตรการควบคุมสินเชื่อบ้านหรือการอนุมัติสินเชื่อต่อมูลค่าหลักประกัน เพื่อหวังจะลดปัญหาฟองสบู่ในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต มาตรการ LTV ที่แบงก์ชาติประกาศใช้ในวันที่ 1 เมษายน 2562 นั้นน่าจะมีสาเหตุมาจากการที่ปี 2561 มีผู้ประกอบการเปิดตัวคอนโดมิเนียมมากกว่า 60,000 หน่วย และนี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่แบงก์ชาติใช้มาตรการนี้ เพราะครั้งที่เกิดวิกฤตการเงินในภูมิภาคเอเชียเมื่อปี 2540 แบงก์ชาติเคยใช้นโยบาย Macroprudential ซึ่งมีด้วยกัน 3 มาตรการ 1. กำหนดอัตราส่วนเงินให้สินเชื่อต่อมูลค่าหลักประกัน Loan-to-Value หรือ LTV ในภาคอสังหาฯ 2. มาตรการด้าน Debt-to-Income เพื่อกำหนดเพดานวงเงินบัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคล และ 3. มาตรการดำรงเงินกองทุนส่วนเพิ่มสำหรับธนาคารพาณิชย์ที่มีความสำคัญเชิงระบบ (Domestic Systemically Important Banks:D-SIBs) ในอดีตแบงก์ชาติเคยประกาศใช้มาตรการนี้มาแล้ว 4 ครั้ง คือ ในปี 2546 ปี 2552 ปี 2554 และปี

Read More