Home > mobile banking

เปิดตัว TMRW ธนาคารบนมือถือ ครั้งแรกในไทยและภูมิภาคอาเซียน

ธนาคารยูโอบี (ไทย) เปิดตัว TMRW (ทูมอร์โรว์) บริการธนาคารผ่านช่องทางดิจิทัล บนมือถือเต็มรูปแบบ ครั้งแรกในประเทศไทยและภูมิภาคอาเซียน สร้างสรรค์ขึ้นมาเพื่อตอบโจทย์กลุ่มดิจิทัลเจเนอเรชันโดยเฉพาะ TMRW เปิดตัวในประเทศไทยเป็นประเทศแรก กลุ่มผู้บริโภคยุคดิจิทัลในประเทศไทย ซึ่งคิดเป็นจำนวนถึง 1 ใน 3 ของจำนวนประชากรทั้งหมดของประเทศ และมีความคาดหวังที่จะได้รับประสบการณ์ดิจิทัลที่ง่ายและสะดวกในการจัดการด้านการเงินอย่างชาญฉลาด ดังนั้น TMRW จึงได้รับการออกแบบและพัฒนาตามแนวคิด “Different Generation, Different Solutions” เพื่อตอบรับความต้องการและไลฟ์สไตล์ของคนยุคดิจิทัล เพราะยุคสมัยที่ต่างกันต้องการโซลูชั่นที่แตกต่าง TMRW จะพลิกโลกของบริการธนาคารให้เป็นเรื่องที่ง่ายขึ้น โปร่งใสกว่าเดิม พร้อมฟังก์ชั่นการบริการที่ผู้ใช้จะถูกใจและใช้บ่อยมากขึ้น โดยจะนำข้อมูลการใช้บริการที่ได้แปลเป็นข้อมูลเชิงลึก ที่จะยกระดับประสบการณ์การใช้งานของผู้ใช้ให้น่าสนใจและมีสีสัน ขณะเดียวกันยังช่วยให้ลูกค้ารู้สึกสนใจและสนุกกับการเก็บออมและใช้จ่ายเงินได้อย่างชาญฉลาด เมื่อลูกค้าทำธุรกรรมผ่าน TMRW มากขึ้น TMRW ก็จะเริ่มรู้ใจ และนำเสนอสิ่งที่สอดคล้องกับความต้องการของลูกค้าได้ดียิ่งขึ้นด้วยเช่นกัน นายตัน ชุน ฮิน กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารยูโอบี (ไทย) กล่าวว่า “ประเทศไทยเป็นฐานของผู้บริโภคกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่มีทักษะและความสนใจทางด้านดิจิทัล การขับเคลื่อนทางเทคโนโลยี การเชื่อมต่อแบบครบวงจร จึงเปลี่ยนไลฟ์สไตล์ พฤติกรรม และความคิดของคนยุคดิจิทัล ทำให้พวกเขาแตกต่างจากคนรุ่นก่อน

Read More

แบงกิ้งเอเย่นต์-โมบายแบงกิ้ง จุดเปลี่ยนผ่านการเงินไทย?

การเปลี่ยนแปลงในอุตสาหกรรมการเงินไทย กำลังดำเนินไปด้วยอัตราเร่งอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน ไม่ว่าจะเป็นความพยายามที่จะก้าวไปสู่การเป็นสังคมไร้เงินสด การทำธุรกรรมดิจิทัลผ่านอุปกรณ์สื่อสารมือถือ การปรับลดจำนวนสาขา ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของความพยายามเร่งลดทอนค่าใช้จ่าย และการปรับเปลี่ยนโครงสร้างการจ้างงานและระบบการบริหารการบริการที่ดำเนินมาในช่วงก่อนหน้านี้ ตัวเลขที่น่าสนใจจากรายงานของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เมื่อไม่นานมานี้ ระบุว่าผลการดำเนินงานของธนาคารพาณิชย์ในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี 2561 ธนาคารพาณิชย์ มีรายได้จากการเก็บค่าธรรมเนียมลดลงเป็นครั้งแรกในไตรมาสนี้ โดยปรับตัวลดลงร้อยละ11. 2 จากการยกเว้นค่าธรรมเนียมการโอนเงินผ่านระบบอินเทอร์เน็ตและโมบายแบงกิ้ง ขณะที่ธนาคารพาณิชย์ยังมีกำไรสุทธิ 5.7 หมื่นล้านบาท ขยายตัวขึ้นในอัตราร้อยละ 15.9 จากรายได้ดอกเบี้ยสินเชื่อเพิ่มขึ้น และค่าใช้จ่ายกันสำรองที่ลดลงเป็นหลัก การแข่งขันกันของธนาคารพาณิชย์ด้วยการเปิดศึกยกเลิกการคิดค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมดิจิทัลบนมือถือ ตั้งแต่เมื่อช่วงปลายเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ส่งผลให้เมื่อสิ้นไตรมาส 2 ปี 2561 มีผู้ใช้บริการโอนเงินทางอินเทอร์เน็ตแบงกิ้งและโมบายแบงกิ้งสูงถึง 224 ล้านรายการ หรือคิดเป็น 90% ของยอดการโอนเงินของลูกค้า ขณะที่อัตราการโอนเงินผ่านสาขามีเพียง 170,000 รายการ ซึ่งนับเป็นตัวเลขที่น้อยมากหากนำมาเปรียบเทียบกัน การมาถึงของเทคโนโลยี ในด้านหนึ่งได้ส่งผลกระทบต่อกำไรของธนาคารพาณิชย์ และกำลังจะเป็นแรงผลักสำคัญต่อการพิจารณาปรับลดต้นทุนและการบริหารจัดการในระยะต่อไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งการแย่งชิงและยึดกุมฐานลูกค้าในยุคสังคมไร้เงินสดให้มาทำธุรกรรมดิจิทัลผ่านมือถือที่กำลังทวีความเข้มข้น และกลายเป็นสมรภูมิการแข่งขันของธุรกิจธนาคารพาณิชย์ที่มีความดุเดือดยิ่งขึ้น เพราะธุรกรรมดิจิทัลเหล่านี้ทำให้ธนาคารพาณิชย์สามารถติดตามพฤติกรรมต่อยอดบริการ และสร้างรายได้จากลูกค้ากลุ่มนี้ได้เต็มที่ ขณะเดียวกันพนักงานสาขาของธนาคารพาณิชย์ ที่ดูเหมือนจะมีบทบาทลดลงหลังจากที่ธุรกรรมจำนวนมากถูกปรับย้ายไปสู่แพลตฟอร์มมือถือ กลายเป็นกลุ่มคนที่กำลังได้รับผลกระทบจาก disruptive technology

Read More

นวัตกรรมทางการเงิน กับสาขาธนาคารที่หายไป

ฉากชีวิตที่ดำเนินผ่านสาขาธนาคารพาณิชย์ไทยกำลังเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์ไปด้วยอัตราเร่งอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน ภายใต้ผลสืบเนื่องจากนวัตกรรมทางการเงินหลากหลายที่ได้รับการนำเสนออย่างพรั่งพรูของผู้ประกอบการธนาคารแต่ละราย ที่พยายามหยิบยื่นบริการเพื่ออำนวยความสะดวกและการมาถึงของเครื่องมือทางการเงินบนฐานของเทคโนโลยีสมัยใหม่ รายงานของธนาคารแห่งประเทศไทยที่เสนอเกี่ยวกับการปิดตัวลดลงของสาขาธนาคารพาณิชย์ในช่วงที่ผ่านมา ได้สะท้อนข้อเท็จจริงที่น่าสนใจไม่น้อย เพราะนับตั้งแต่เดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ธนาคารแห่งประเทศไทยระบุว่ามีธนาคารปิดสาขารวมทั้งสิ้น 126 แห่ง ขณะที่ในเดือนกันยายน หรืออีก 2 เดือนถัดมา ธปท. รายงานว่าสาขาของธนาคารที่ถูกปิดมีเพิ่มขึ้นเป็น 192 แห่ง หรือเพิ่มขึ้นอีก 66 แห่งภายใน 2 เดือน หากพิจารณาตามตัวเลขที่รายงานความเป็นไปของสาขาธนาคารพาณิชย์ไทยในช่วงสิ้นเดือนกรกฎาคมถึงสิ้นเดือนกันยายน อาจอนุมานได้ว่ามีสาขาธนาคารปิดตัวลงไปเฉลี่ยอย่างน้อย 1.08 แห่งในแต่ละวัน ซึ่งถือเป็นอัตราเร่งที่น่าสนใจไม่น้อย ข้อสังเกตจากปรากฏการณ์ดังกล่าวนี้ ในด้านหนึ่งอาจได้รับการประเมินว่าเป็นเพราะธนาคารบางแห่งต้องการปรับลดตัวเลขทางบัญชีให้เสร็จสิ้นก่อนการปิดงบทางบัญชีประจำปีงบประมาณในเดือนกันยายน หากแต่ข้อเท็จจริงที่ยิ่งไปกว่านั้นก็คือ การปิดสาขาของธนาคารย่อมมีสถานะเป็นส่วนหนึ่งที่สะท้อนภาพมิติในเชิงนโยบายการบริหารเพื่อให้สอดรับกับรูปแบบการให้และรับบริการที่เปลี่ยนแปลงไป ปฏิเสธได้ยากว่าแนวโน้มของการปิดสาขาธนาคารพาณิชย์ที่เพิ่มมากขึ้น ในด้านหนึ่งเป็นผลมาจากประพฤติกรรมและไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไป ซึ่งเป็นผลจากการนำเทคโนโลยีมาให้บริการทางการเงินที่หลากหลายมากขึ้น และสามารถตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าได้มากขึ้น ขณะเดียวกันธนาคารพาณิชย์แต่ละแห่งต่างต้องคำนึงถึงการบริหารจัดการต้นทุนให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการทบทวนจำนวนเครือข่ายที่ตั้งสาขา การย้ายสถานที่ การเพิ่มช่องทางการให้บริการผ่านโมบายแบงกิ้ง หรืออินเทอร์เน็ตแบงกิ้ง ตลอดจนการนำเครื่องอิเล็กทรอนิกส์มาใช้เพื่อให้ลูกค้าสามารถทำธุรกรรมได้ด้วยตนเองด้วยค่าใช้จ่ายที่ต่ำลง และมีความสะดวกสบายโดยไม่ต้องเดินทางมาที่สาขา หากพิจารณาจำแนกตามพื้นที่ที่มีการปิดสาขาของธนาคารพาณิชย์ในช่วงที่ผ่านมาจะยิ่งพบนัยสำคัญในมิติที่ว่านี้มากขึ้น เมื่อจำนวนสาขาที่ปิดทั่วประเทศซึ่งมีรวมทั้งสิ้นจำนวน 192 แห่งนั้น เป็นสาขาในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร มากถึง 81 แห่ง ขณะที่สาขาที่ปิดตัวลงในแต่ละภูมิภาค ลดหลั่นลงตามสภาพภูมิประเทศ ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่ภาคกลางที่มีสาขาธนาคารปิดตัวลงไป 39 แห่ง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 28

Read More