Home > โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง

ใครบ้าง ติดโควิด-19 เสี่ยงถึงตาย

ขณะที่คนไทยและคนทั่วโลกยังต้องเผชิญกับวิกฤตโรคโควิด-19 ท่ามกลางความคาดหวังเรื่องวัคซีนที่จะช่วยให้สถานการณ์การระบาดจบลงโดยเร็ว แต่รู้หรือไม่ ยังมีภัยด้านสุขภาพที่รุนแรงและเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตในลำดับต้นๆ ของคนไทย นั่นคือโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง หรือ NCDs (Non-Communicable Diseases) ซึ่งเป็นโรคที่เกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตหรือไลฟ์สไตล์ เช่น การรับประทานอาหารรสจัด ไขมันสูง การสูบบุหรี่ ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์ พักผ่อนน้อย มีความเครียดสูง ฯลฯ จากข้อมูลของหนังสือ “ThaiHealth WATCH 2021 จับตาทิศทางสุขภาพคนไทย ปี 2564” โดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ได้รายงานเกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรค NCDs ซึ่งเป็นภัยเงียบที่ทำให้คนไทยเสียชีวิตเพิ่มขึ้นในแต่ละปี โดยเฉพาะในผู้ที่เป็นโรคอ้วน พบว่าเป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรคอุบัติใหม่ และเสี่ยงที่จะมีอาการรุนแรงมากกว่าผู้ป่วยทั่วไป ซึ่งรวมถึงโรคโควิด-19 ที่พบว่ามีความเสี่ยงอาการรุนแรงเพิ่มขึ้นถึง 7 เท่า ที่น่ากังวลคือ ผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงจาก 6 โรคกลุ่ม NCDs ได้แก่ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดสมอง โรคหัวใจ โรคอุดกั้นเรื้อรัง และโรคไตวายเรื้อรัง หากติดเชื้อโควิด-19 จะมีความเสี่ยงเกิดอาการรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต

Read More

สมาพันธ์เครือข่าย NCDs จับมือพรรคการเมือง ขับเคลื่อนนโยบายลดอัตราการเสียชีวิตด้วยโรค NCDs

สมาพันธ์เครือข่าย NCDs ประเทศไทย ตื่นตัวหาแนวร่วมแก้ไขปัญหาสาธารณสุขระดับประเทศ จับมือพรรคการเมือง ขับเคลื่อนนโยบายลดอัตราการเสียชีวิตด้วยโรค NCDs เนื่องด้วยสถานการณ์การเสียชีวิตในประเทศไทย ปี 2560 พบว่ากว่า 75% หรือประมาณ 320,000 คนต่อปี เสียชีวิตจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (หรือ Non-Communicable Diseases - NCDs) ซึ่งประกอบด้วยกลุ่มโรค 4 กลุ่มสำคัญ คือ 1. โรคหัวใจและหลอดเลือด เสียชีวิตถึง 48% 2. โรคมะเร็ง เสียชีวิตถึง 21% 3. โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง เสียชีวิต 12% และ 4. โรคเบาหวาน เสียชีวิต 3% ในขณะเดียวกัน ข้อมูลจากองค์การอนามัยโลก ยังระบุว่าสาเหตุสำคัญของการเสียชีวิตของคนทั่วโลก เกิดจากโรค NCDs ด้วยเช่นกัน ด้วยสถิติสูงถึง 70% ของประชากรทั่วโลก

Read More