Home > งานวิจัย

สกสว.ดันเครื่องสำอางจากข้าวทับทิมชุมแพ เตรียมขอเครื่องหมายฮาลาลขยายกลุ่มลูกค้า

สกสว.จับมือนักวิจัยม.สวนดุสิตหนุนผู้ประกอบการเพิ่มมูลค่าข้าว พัฒนาเครื่องสำอางจากข้าวทับทิมชุมแพที่มีสารต้านอนุมูลอิสระสูง ไร้แอลกอฮอล์ น้ำหอมและพาราเบน ใช้เทคโนโลยีการสกัดที่ไม่ใช้สารเคมีและกักเก็บสารที่ยาวนานจากแป้งข้าว เตรียมขอเครื่องหมายฮาลาลเพื่อขยายกลุ่มลูกค้า นายวีระวัฒน์ บุดดาบุญ ผู้บริหารบริษัท ออไรซ์ เนเชอรัล สกินแคร์ (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยถึงนวัตกรรมความงามล่าสุด Ruby Rice Essence Sleeping Mask ภายใต้การสนับสนุนของ Innovative house สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) จากโครงการวิจัย “การประยุกตใช้สารสกัดรำข้าวทับทิมชุมแพในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางบำรุงผิว” ที่มี อ.ฤทธิพันธ์ รุ่งเรือง หลักสูตรวิทยาศาสตร์เครื่องสำอาง คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต เป็นหัวหน้าโครงการ ว่าผลิตภัณฑ์ดังกล่าวเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีสารสกัดสำคัญจากข้าวทับทิมชุมแพ ซึ่งเป็นข้าวสีพันธุ์หนึ่งที่มีความโดดเด่น เกิดจากการผสมพันธุ์ระหว่างข้าวเจ้าขาวดอกมะลิ 105 สายพันธุ์กลายกับข้าวเจ้าสังข์หยดพัทลุงที่มีเยื่อหุ้มเมล็ดสีแดง ข้าวทับทิมชุมแพผ่านการขึ้นทะเบียนตามพระราชบัญญัติพันธุ์พืช กรมวิชาการเกษตร และกรมการข้าว ประกาศเป็นพันธุ์รับรองชื่อ กข69 (ทับทิมชุมแพ) ในปี 2559 ข้าวพันธุ์นี้เมื่อหุงสุกจะมีสีแดงใสคล้ายทับทิม และมีลักษณะเด่น คือ มีสารต้านอนุมูลอิสระสูงเป็นอันดับต้น

Read More

เปิดตัวเชื้อเพลิงและสารบำรุงพืชชีวภาพ BioVis ลุยขยะเพิ่มทรัพย์สู่สังคมไร้ขยะ

สกสว.หนุนนักวิจัย VISTEC เผยโฉมงานวิจัยขยะเพิ่มทรัพย์ซึ่งใช้เทคโนโลยีเปลี่ยนขยะอินทรีย์และขยะเศษอาหารเป็นเชื้อเพลิงชีวภาพและสารชีวภัณฑ์มูลค่าเพิ่มที่มีสารอาหารครบถ้วนสมบูรณ์สำหรับพืช ปลอดภัยและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ตอบสนองนโยบายเศรษฐกิจหมุนเวียนของรัฐบาล ศ. ดร.พิมพ์ใจ ใจเย็น หัวหน้าโครงการ “ระบบสาธิตกระบวนการชีวภาพเพื่อการแปลงขยะอินทรีย์เป็นเชื้อเพลิงชีวภาพและสารชีวภัณฑ์” ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เปิดเผยว่า ตนและคณะวิจัยได้ร่วมกันทำโครงการ “ขยะเพิ่มทรัพย์” โดยใช้เทคโนโลยี C-ROS (Cash Return from ZeroWaste and Segregation of Trash) ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มเทคโนโลยีชีวภาพแบบบูรณาการสำหรับสนับสนุนแนวทางเศรษฐกิจหมุนเวียนตามนโยบายของรัฐบาล เพื่อสร้างสังคมไทยให้เป็น "สังคมไร้ขยะ" ที่สามารถเปลี่ยนขยะอินทรีย์จากอุตสาหกรรมอาหารและการเกษตร ขยะเศษอาหารจากเทศบาลชุมชนและครัวเรือนให้เป็นเชื้อเพลิงชีวภาพและสารชีวภัณฑ์มูลค่าเพิ่ม ซึ่งเป็นนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์ที่สำคัญเพื่อการสร้างรากฐานสู่เศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (BCG) “ทีมวิจัยเชื่อว่าระบบการจัดการขยะที่ยั่งยืนจะต้องเริ่มจากการแยกขยะ แต่กระบวนการแยกขยะมีค่าใช้จ่ายและเป็นการฝืนพฤติกรรมคนส่วนใหญ่ ดังนั้นนักวิจัยจึงต้องสร้างเทคโนโลยีเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับขยะ เมื่อขยะเป็นของมีมูลค่า จะทำให้วงจรเศรษฐกิจหมุนเวียนเกิดขึ้นได้จริง ปัจจุบันทีมวิจัยมีเทคโนโลยีหลายแบบที่สามารถสร้างผลิตภัณฑ์มูลค่าเพิ่มได้หลายตัว หนึ่งในผลิตภัณฑ์ที่พร้อมใช้งานและสามารถจัดจำหน่ายแล้ว คือสารบำรุงพืชชีวภาพ BioVis ที่ผ่านกระบวนการย่อยแบบไฮเทค มีธาตุอาหารหลักและธาตุอาหารรองครบถ้วนสมบูรณ์สำหรับพืช ปลอดภัย ไร้สารพิษ” BioVis เป็นสารชีวภาพสำหรับบำรุงพืชที่ช่วยให้พืชเจริญเติบโตได้ดี สมบูรณ์ แข็งแรง มีภูมิคุ้มกันโรค ช่วยปรับสภาพดินให้ร่วนซุย

Read More

นักวิจัยพบจิ๊กซอว์สำคัญของพุกามที่หายไปกว่า 120 ปี

นักวิจัยไทยค้นพบจิ๊กซอว์สำคัญของภาพจิตรกรรมฝาผนังกู่พญาเต่งมาซีที่หายไปจากเมืองมรดกโลกพุกามกว่า 120 ปี ด้วยการวิจัยแบบบูรณาการผสานศาสตร์และการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ พร้อมจับมือกรมโบราณคดีเมียนมาพัฒนาบุคลากรด้านการวิจัย ดร.เกรียงไกร เกิดศิริ คณะสถาปัตยกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร เปิดเผยว่า คณะนักวิจัยไทยนำโดย ศ.ดร.​เสมอชัย​ พูลสุวรรณ​ เมธีวิจัยอาวุโส​ สกว.​ จากคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา​ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ลงพื้นที่เมืองพุกาม ประเทศเมียนมา เพื่อนำองค์ความรู้หัวข้อ "กู่พญาเต่งมาซีและจิตรกรรมฝาผนัง: การหายไปและการฟื้นฟูความรู้ใหม่อีกครา" ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแผนงานวิจัยชุดโครงการเมธีวิจัยอาวุโส สกว. “พระพุทธศาสนาเถรวาทในบริบทวัฒนธรรมเอเชียอาคเนย์ (คริสต์ศตวรรษที่ 11-ปัจจุบัน)” คืนกลับไปยังดินแดนพุกาม เพื่อกระชับความสัมพันธ์และขยายเครือข่ายการคุ้มครองป้องกันและการพัฒนามรดกวัฒนธรรมในประเทศลุ่มแม่น้ำโขง​ ประจำปี 2562​ ณ​ เมืองโบราณพุกาม “เมืองพุกาม” เป็นเมืองโบราณที่เลื่องชื่อด้วยมีสิ่งก่อสร้างทางพุทธศาสนาทั้งเจดีย์และกู่พญาซึ่งมีหน้าที่เป็นวิหารอยู่ในอาคารหลังเดียวกันที่มีอยู่จำนวนมากมายหลายพันองค์จนได้รับสมญาเป็นเมืองแห่งทะเลเจดีย์ เมื่อ 120 ปีที่ผ่านมาจิตรกรรมฝาผนังของกู่พญาเต่งมาซีได้ถูกลักลอบตัดออกจากแหล่งโดยนักแสวงโชค​นามว่า​ ‘โธมัน’​ คณะวิจัยได้สร้างสมมติฐานถึงแบบแผนของจิตรกรรมฝาผนังดังกล่าว​ โดยบูรณาการกับการสำรวจรังวัดตัวอาคารด้วยเทคโนโลยี​เลเซอร์สแกนเนอร์สามมิติ​ รวมถึงตรวจทานจารึกภาษาพม่าโบราณ​ที่เขียนกำกับไว้ โดยทำงานร่วมกับนักวิชาการอาวุโสด้านโบราณคดีและจารึกพม่า​จากกรมโบราณคดีเมียนมา​ ร่วมกับการสอบทานกับพระไตรปิฎก​และคัมภีร์พระพุทธศาสนาต่าง ๆ อีกทั้งสอบทวนภาพถ่ายฟิล์มกระจกที่โธมันถ่ายไว้​และตีพิมพ์ลงในหนังสือเกี่ยวกับพุกามด้วยอากาศยานไร้คนขับ​เพื่อสร้างหุ่นจำลองภาพหมอกจุดรูปทรงภายนอกของตัวอาคาร​ พร้อมกันนี้นักวิจัยได้ประสานงานเข้าไปศึกษาคลังเก็บรักษาโบราณวัตถุ​ของพิพิธภัณฑ์​ชาติพันธุ์วิทยาแห่งนครฮัมบูร์ก​ ประเทศเยอรมนี ซึ่งเก็บรักษาภาพจิตรกรรมฝาผนังกู่พญาเต่งมาซีไว้และเอกสาร​ที่เกี่ยวเนื่อง​จากงานจดหมายเหตุของพิพิธภัณฑ์​ ผลลัพธ์​ของการวิจัยนำมาซึ่งองค์ความรู้ความเข้าใจต่อบริบททางสังคม​ วัฒนธรรม​ การเมือง​ที่สัมพันธ์กับพระพุทธศาสนา​ในช่วงภายหลังหัวเลี้ยวหัวต่อจากการปฏิรูปศาสนาสำนักมหาวิหารในลังกาเมื่อราวพันกว่าปีที่แล้ว​ ซึ่งกลายเป็นแบบแผนของพระพุทธศาสนาเถรวาทในเอเชียอาคเนย์รวมถึงประเทศไทย นอกจากนี้ยังมีการศึกษาภาคสนามขั้นต้นเรื่อง​

Read More

วิศวกรรมกับการอนุรักษ์ บทบาทเพื่อโบราณสถานไทย

ประเทศไทยมีแหล่งโบราณคดี โบราณสถาน และโบราณวัตถุ ที่มีความสำคัญทางด้านประวัติศาสตร์กระจายอยู่ทั่วประเทศ บางแห่งได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกจากยูเนสโก บางแห่งได้รับการรับรองจากกรมศิลปากร และมีหลายแห่งที่กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงของประเทศ ดึงดูดนักท่องเที่ยวในแต่ละปีได้เป็นจำนวนมาก แต่กระนั้นภาพความทรุดโทรมและพังทลายของแหล่งโบราณสถาน ทั้งจากภัยตามธรรมชาติและกลไกของกาลเวลา รวมไปถึงปัญหาการบูรณะที่คลาดเคลื่อนจากความถูกต้องก็ถูกนำเสนอออกมาให้เห็นไม่น้อยเช่นเดียวกัน ปัจจุบันโบราณสถานของไทยจำนวนมากอยู่ในสภาพทรุดโทรมไปตามกาลเวลา อีกทั้งยังได้รับผลกระทบจากสภาพแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดการเสื่อมสภาพ มีผลต่อความมั่นคงแข็งแรงทางโครงสร้าง เกิดการแตกร้าว ทรุด พังทลาย และเสี่ยงต่อการเสียหายที่ไม่อาจซ่อมแซมให้กลับคืนมาได้อีก ที่ผ่านมาประเทศไทยขาดข้อมูลสำคัญที่จะช่วยให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้พิจารณาปรับปรุง บูรณปฏิสังขรณ์โบราณสถาน ขาดความสามารถในการประเมินความเสียหายของโบราณสถานที่แม่นยำและมีความละเอียด ขาดความชำนาญในการนำเทคโนโลยีที่มีอยู่ในปัจจุบันและองค์ความรู้สมัยใหม่อันจะเป็นประโยชน์ต่อการอนุรักษ์เข้ามาช่วยในการบูรณะซ่อมแซม ทำให้โบราณสถานหลายแห่งไม่ได้รับการดูแลและบูรณะอย่างเป็นระบบ “การเริ่มต้นบูรณะโบราณสถานควรนำเอาองค์ความรู้สมัยใหม่ที่มีความเหมาะสมและยั่งยืนมาประยุกต์ใช้ เพื่อเก็บข้อมูลลักษณะสภาพปัจจุบัน และวิเคราะห์ความมั่นคงของโครงสร้าง ซึ่งเป็นวิธีการที่ดีที่สุดในการอนุรักษ์โบราณสถาน นอกจากนี้ จะต้องมีการบำรุงรักษาและบูรณะซ่อมแซม รวมถึงประเมินและติดตามสภาพโบราณสถานเป็นระยะๆ อย่างสม่ำเสมอ ข้อมูลเหล่านี้จะทำให้ทราบถึงความเร่งด่วนของการบำรุงรักษาและบูรณะซ่อมแซมโบราณสถานแต่ละแห่ง เพื่อวางแผนบำรุงรักษาให้โบราณสถานมีความแข็งแรงและมั่นคงสืบไป” รศ.ดร.ชนาธิป ผาริโน ผู้อำนวยการฝ่ายสวัสดิภาพสาธารณะ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) กล่าวถึงที่มาของโครงการวิจัย “การอนุรักษ์โครงสร้างโบราณสถานตามหลักวิศวกรรม” การวิจัยที่จะเข้ามาช่วยให้โบราณสถานในเมืองไทยได้รับการอนุรักษ์ที่เป็นระบบและยั่งยืนมากขึ้น โครงการวิจัยดังกล่าวเน้นการพัฒนาแนวทางเพื่อการอนุรักษ์โบราณสถานอย่างยั่งยืน โดยใช้หลักการทางวิศวกรรมที่เหมาะสมและมีความทันสมัย ประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญสาขาต่างๆ จากหลากสถาบันการศึกษา โดยมี รศ.ดร.นคร ภู่วโรดม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นหัวหน้าโครงการ “ในการดำเนินงานเกี่ยวกับการอนุรักษ์โบราณสถานให้ยั่งยืน ปัญหาสำคัญคือเราขาดข้อมูลที่สำคัญในการตัดสินใจที่จะดำเนินการใดๆ ในอนาคต

Read More

สวทช. และสถาบันวิจัยไอบีเอ็ม จับมือนำปัญญาประดิษฐ์พลิกโฉมการทำไร่อ้อยในประเทศไทยร่วมกับกลุ่มมิตรผล

สวทช. และสถาบันวิจัยไอบีเอ็ม จับมือนำปัญญาประดิษฐ์พลิกโฉมการทำไร่อ้อยในประเทศไทยร่วมกับกลุ่มมิตรผล คาดโครงการวิจัยที่ใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (เอไอ) อินเตอร์เน็ตอ็อฟธิงส์ การสำรวจระยะไกลผ่านดาวเทียม และข้อมูลพยากรณ์อากาศแบบเจาะจงพื้นที่ ช่วยเพิ่มผลผลิตไร่อ้อย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ประกาศความร่วมมือในงานวิจัยระยะเวลาสองปีร่วมกับไอบีเอ็ม เพื่อเพิ่มผลผลิตอ้อยในประเทศไทย โดยสวทช. และไอบีเอ็ม ร่วมด้วยกลุ่มมิตรผล ผู้ผลิตน้ำตาลรายใหญ่เป็นอันดับสามของโลกและรายใหญ่ที่สุดในเอเชียที่ให้การสนับสนุนความรู้เฉพาะทางในการวิจัยครั้งนี้ จะนำร่องพัฒนาแดชบอร์ดอัจฉริยะและแอพพลิเคชันบนมือถือ เพื่อช่วยให้ผู้เชี่ยวชาญได้รับข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับสุขภาพของอ้อย ความชื้นของดิน ความเสี่ยงที่จะถูกโจมตีจากโรคและศัตรูพืช การคาดการณ์ผลผลิต และดัชนีค่าคุณภาพความหวานของอ้อย (ซีซีเอส) โดยอาศัยเทคโนโลยีเอไอชั้นนำของโลกและข้อมูลสภาพอากาศที่แม่นยำที่สุดในโลกจากเดอะเวเธอร์คอมแพนี (The Weather Company) รวมถึงเทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตอ็อฟธิงส์และอนาไลติกส์ อ้อยเป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญที่ใช้ในการผลิตน้ำตาลและพลังงานชีวภาพในประเทศไทยและทั่วโลก ประเทศไทยเป็นผู้ส่งออกรายใหญ่อันดับสองของโลก และมีบทบาทสำคัญในการป้อนน้ำตาลสู่ตลาดโลกโดยมีส่วนแบ่งตลาด 9.4% ในปี 2560 มีการคาดการณ์ว่าประเทศไทยจะสามารถผลิตน้ำตาลได้ 14.1 ล้านเมตริกตันในช่วงปี 2561-2562 โดยเพิ่มขึ้น 3% จากปีที่ผ่านมา ปัจจุบันนักวิจัยไอบีเอ็มกำลังพัฒนา “อโกรโนมิคอินไซต์แอสซิสแทนท์” (Agronomic Insights Assistant) ซึ่งใช้แพลตฟอร์มไอบีเอ็มวัตสันดีซิชันสำหรับการเกษตร (IBM Watson Decision Platform for

Read More

งานวิจัยเอคเซนเชอร์ระบุกิจการสาธารณูปโภคเพื่อรายย่อยแบบเดิม ตามไม่ทันแบรนด์ใหม่ที่เข้ามาในตลาดซึ่งพลิกโลกประสบการณ์ให้กับลูกค้าได้

งานวิจัยเอคเซนเชอร์ระบุกิจการสาธารณูปโภคเพื่อรายย่อยแบบเดิม ตามไม่ทันแบรนด์ใหม่ที่เข้ามาในตลาดซึ่งพลิกโลกประสบการณ์ให้กับลูกค้าได้ ดึงลูกค้าเข้ามาใกล้แบรนด์และพัฒนาประสบการณ์โดยเน้นลูกค้าเป็นสำคัญ คือหัวใจแห่งการสร้างแต้มต่อการแข่งขัน งานวิจัยฉบับใหม่ของเอคเซนเชอร์ (NYSE: ACN) ระบุว่า กิจการสาธารณูปโภคเพื่อรายย่อยแบบดั้งเดิมส่วนใหญ่ ยังตามหลังแบรนด์ใหม่ๆ ที่เข้ามาในตลาดรวมทั้งที่ข้ามมาจากอุตสาหกรรมอื่น ในเรื่องการสร้างประสบการณ์และการมีส่วนร่วมของลูกค้า ซึ่งในเวลาที่อุตสาหกรรมต้องปรับตัวขนานใหญ่ กิจการเหล่านี้ควรลงทุนสร้างประสบการณ์ที่น่าพึงใจแก่ลูกค้ามากขึ้น และสร้างความประทับใจได้มากกว่าที่ลูกค้าคาดหวังจากทุกๆ ธุรกิจ (liquid expectation) รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิจัยผู้บริโภคพลังงานรุ่นใหม่ (New Energy Consumer research program) ที่เอคเซนเชอร์ได้สำรวจความคิดเห็นของผู้บริโภคราว 70,000 รายที่ใช้บริการธุรกิจ 36 แห่ง รวมทั้งอีก 6 แบรนด์ที่มีอิทธิพลเขย่าตลาดต่างๆ ทั่วโลก การศึกษานี้จัดทำโดยเอคเซนเชอร์ รีเสิร์ช (Accenture Research) ร่วมกับฟยอร์ด (Fjord) ซึ่งเป็นหน่วยงานด้านการออกแบบและนวัตกรรมของเอคเซนเชอร์ อินเทอร์แอคทีฟ (Accenture Interactive) มีวัตถุประสงค์เพื่อแสดงให้เห็นว่า ลูกค้ารู้สึกอย่างไรกับประสบการณ์ที่ได้รับจากกิจการเหล่านั้นในอุตสาหกรรมสาธารณูปโภค พร้อมทั้งวัดระดับความผูกพันกับแบรนด์ จากที่ได้ติดต่อสื่อสารกันทางกายภาพและผ่านช่องทางดิจิทัล สำหรับแบรนด์ใหม่ๆ ที่ส่งผลต่ออุตสาหกรรมนั้น นับรวมถึงธนาคารสำหรับรายย่อย บริการโทรคมนาคมสำหรับครัวเรือน ธุรกิจประกันสำหรับรายย่อย

Read More

สกว. เปิดเวทีรับฟังเสียงสะท้อนจากขุนเขา ชูแม่ฮ่องสอน “เมืองพิเศษทางวัฒนธรรม”

สกว.จับมือโบราณคดี ศิลปากร จัดเวทีสาธารณะระดมสมองรับฟังเสียงสะท้อนจากชาวบ้านและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มุ่งหาแนวทางในการพัฒนาแม่ฮ่องสอนสู่ความยั่งยืนอย่างสร้างสรรค์ รองพ่อเมืองฝากข้อคิดการพัฒนาปรับปรุงศิลปวัฒนธรรม ท่องเที่ยว เกษตร และการตลาดร่วมกับพื้นที่ชายแดนพม่า นายประจวบ อาจารพงษ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดแม่ฮ่องสอน เป็นประธานเปิดเวทีสาธารณะเรื่อง “แม่ฮ่องสอนโมเดล: เสียงสะท้อนจากขุนเขา” อนาคตแม่ฮ่องสอน: ใครกำหนด? ซึ่งจัดโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ร่วมกับภาควิชาโบราณคดี คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร ณ ห้องประชุมสวนหมอกคำรีสอร์ท จังหวัดแม่ฮ่องสอน เพื่อระดมความคิดเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืนของจังหวัดแม่ฮ่องสอนบนพื้นฐานของความรู้และกระบวนการมีส่วนร่วม สู่การบูรณาการร่วมกับการพัฒนายุทธศาสตร์ แผนและกลไกการพัฒนาตามลักษณะเฉพาะของจังหวัดแม่ฮ่องสอนอย่างมีเป้าหมายของสหประชาชาติ โดยมีผู้เข้าร่วมเสวนาจากหลายภาคส่วนทั้งตัวแทนชุมชน นักวิจัยท้องถิ่น นักวิชาการสถาบันการศึกษา หน่วยงานราชการ เอกชน นักศึกษา ประมาณ​ 60 คน รองผู้ว่าราชการจังหวัดแม่ฮ่องสอน กล่าวว่า แม่ฮ่องสอนมีความพร้อมทางธรรมชาติและวัฒนธรรม อย่างไรก็ตาม เราควรปรับปรุงพัฒนาเรื่องวัฒนธรรมการร่ายรำ แม้การแสดงจะน่าตื่นตาตื่นใจในครั้งแรกแต่เมื่อดูหลายครั้งก็นึกภาพออก เพราะเราอนุรักษ์อยู่ในท่าเดิมๆ ไม่มีการเปลี่ยนแปลง ขณะที่รัฐคะยา ประเทศเมียนมา มีวัฒนธรรมไม่แตกต่างจากของเราแต่มีการปรับปรุงและประยุกต์พัฒนา ทำให้เห็นว่าเขามาไปไกลกว่า จึงควรนำขบคิดจะทำอย่างไรให้แม่ฮ่องสอนมีความ มั่นคง มั่นคั่ง ยั่งยืน

Read More