Home > Agriculture

เจียไต๋ หารือพ่อเมืองศรีสะเกษ ลุยโครงการพริกปลอดภัย

เจียไต๋ ตอกย้ำพันธกิจในการยกระดับความเป็นอยู่ของพี่น้องเกษตรกรไทยผ่านการส่งเสริมอาชีพเพาะปลูกให้มีความมั่นคงและยั่งยืน นายมนัส เจียรวนนท์ ประธานคณะผู้บริหาร บริษัท เจียไต๋ จำกัด พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร ได้เข้าพบนายวัฒนา พุฒิชาติ ผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ เพื่อแสดงความยินดีในโอกาสเข้ารับตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษคนใหม่ พร้อมหารือแนวทางในการส่งเสริมการปลูกพริกปลอดภัย ผ่านนโยบายเกษตรแปลงใหญ่ในจังหวัดศรีสะเกษ และได้บริจาคเมล็ดพันธุ์คุณภาพเจียไต๋กว่า 3.5 ตัน เพื่อส่งเสริมอาชีพการเพาะปลูกให้กับเกษตรกรในจังหวัดศรีสะเกษ เจียไต๋ได้ริเริ่มโครงการพริกปลอดภัยขึ้น ที่จังหวัดศรีสะเกษ โดยมีวัตถุประสงค์ในการนำเทคโนโลยีเพื่อการเกษตรต่างๆ เช่น การวางระบบให้น้ำ การวิเคราะห์ข้อมูลสภาพดินและสภาพอากาศ ตลอดจนการส่งนวัตกรผู้มีความเชี่ยวชาญการเกษตร หรือ Chia Tai Agronomist ลงพื้นที่ทำงานร่วมกับเกษตรกร เพื่อผลักดันให้เกิดการทำเกษตรกรรมในรูปแบบ “เกษตรแปลงใหญ่” ซึ่งจะก่อให้เกิดการเชื่อมโยงข้อมูลห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) ที่สามารถนำมาต่อยอดในกำหนดนโยบายการตลาดได้อย่างครบวงจร และเพื่อส่งเสริมการปลูกพริกให้ได้ทั้งคุณภาพและปริมาณ ทั้งยังช่วยให้เกษตรกรสามารถควบคุมต้นทุนการผลิต เพิ่มรายได้ให้มากขึ้น ในขณะเดียวกัน ก็ผลักดันให้เกิดผลผลิตที่ได้รับการรับรองตามแนวทางการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (Good Agricultural Practices: GAPs) เพื่อให้ผู้บริโภคสามารถมั่นใจในการบริโภคพริกที่ปลอดภัย ในราคาสมเหตุสมผล ซึ่งในอนาคตผู้บริโภคจะสามารถตรวจสอบย้อนกลับไปถึงแหล่งที่มาของผลิตผลได้อีกด้วย นายมนัส เจียรวนนท์ ประธานคณะผู้บริหาร บริษัท

Read More

สวทช. และสถาบันวิจัยไอบีเอ็ม จับมือนำปัญญาประดิษฐ์พลิกโฉมการทำไร่อ้อยในประเทศไทยร่วมกับกลุ่มมิตรผล

สวทช. และสถาบันวิจัยไอบีเอ็ม จับมือนำปัญญาประดิษฐ์พลิกโฉมการทำไร่อ้อยในประเทศไทยร่วมกับกลุ่มมิตรผล คาดโครงการวิจัยที่ใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (เอไอ) อินเตอร์เน็ตอ็อฟธิงส์ การสำรวจระยะไกลผ่านดาวเทียม และข้อมูลพยากรณ์อากาศแบบเจาะจงพื้นที่ ช่วยเพิ่มผลผลิตไร่อ้อย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ประกาศความร่วมมือในงานวิจัยระยะเวลาสองปีร่วมกับไอบีเอ็ม เพื่อเพิ่มผลผลิตอ้อยในประเทศไทย โดยสวทช. และไอบีเอ็ม ร่วมด้วยกลุ่มมิตรผล ผู้ผลิตน้ำตาลรายใหญ่เป็นอันดับสามของโลกและรายใหญ่ที่สุดในเอเชียที่ให้การสนับสนุนความรู้เฉพาะทางในการวิจัยครั้งนี้ จะนำร่องพัฒนาแดชบอร์ดอัจฉริยะและแอพพลิเคชันบนมือถือ เพื่อช่วยให้ผู้เชี่ยวชาญได้รับข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับสุขภาพของอ้อย ความชื้นของดิน ความเสี่ยงที่จะถูกโจมตีจากโรคและศัตรูพืช การคาดการณ์ผลผลิต และดัชนีค่าคุณภาพความหวานของอ้อย (ซีซีเอส) โดยอาศัยเทคโนโลยีเอไอชั้นนำของโลกและข้อมูลสภาพอากาศที่แม่นยำที่สุดในโลกจากเดอะเวเธอร์คอมแพนี (The Weather Company) รวมถึงเทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตอ็อฟธิงส์และอนาไลติกส์ อ้อยเป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญที่ใช้ในการผลิตน้ำตาลและพลังงานชีวภาพในประเทศไทยและทั่วโลก ประเทศไทยเป็นผู้ส่งออกรายใหญ่อันดับสองของโลก และมีบทบาทสำคัญในการป้อนน้ำตาลสู่ตลาดโลกโดยมีส่วนแบ่งตลาด 9.4% ในปี 2560 มีการคาดการณ์ว่าประเทศไทยจะสามารถผลิตน้ำตาลได้ 14.1 ล้านเมตริกตันในช่วงปี 2561-2562 โดยเพิ่มขึ้น 3% จากปีที่ผ่านมา ปัจจุบันนักวิจัยไอบีเอ็มกำลังพัฒนา “อโกรโนมิคอินไซต์แอสซิสแทนท์” (Agronomic Insights Assistant) ซึ่งใช้แพลตฟอร์มไอบีเอ็มวัตสันดีซิชันสำหรับการเกษตร (IBM Watson Decision Platform for

Read More

KTIS – GGC เซ็นเอ็มโอยูกับ ‘เค็มโปลีส’ จากฟินแลนด์ ใช้เทคโนโลยีเปลี่ยนชานอ้อยเป็นเอทานอลคุณภาพสูง พร้อมพัฒนาสู่โครงการในไบโอคอมเพล็กซ์เฟส 2

กลุ่ม KTIS ลงนามบันทึกความเข้าใจกับ GGC และเค็มโปลีส ผู้นำเทคโนโลยีชีวภาพระดับโลกจากฟินแลนด์ เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการใช้เทคโนโลยีชั้นสูงแปรรูปชานอ้อยเป็นเอทานอลคุณภาพสูง ที่เพิ่มมูลค่าให้กับชานอ้อยตามแนวทางเศรษฐกิจชีวภาพ พร้อมต่อยอดการลงทุนเชิงพาณิชย์ในโครงการนครสวรรค์ไบโอคอมเพล็กซ์เฟส 2 วันนี้ (22 สิงหาคม 2561) ได้มีพิธีลงนามในบันทึกความเข้าใจ (เอ็มโอยู) เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับชานอ้อย ระหว่าง บริษัท เกษตรไทย อินเตอร์เนชั่นแนล ชูการ์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ KTIS, บริษัท โกลบอลกรีนเคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ GGC และเค็มโปลีส จำกัด (Chempolis) จากประเทศฟินแลนด์ นายณัฎฐปัญญ์ ศิริวิริยะกุล รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่ม KTIS ผู้นำในอุตสาหกรรมน้ำตาลและอุตสาหกรรมต่อเนื่อง กล่าวว่า ตามที่กลุ่ม KTIS และ GGC ได้มีข้อตกลงร่วมกันพัฒนาโครงการนครสวรรค์ไบโอคอมเพล็กซ์ (NBC) โดยในเฟสแรกจะนำน้ำอ้อยมาผลิตเป็นเอทานอล และมีชานอ้อยเป็นผลพลอยได้

Read More

สกว.หนุนสมาร์ทฟาร์มมิ่ง สร้างมูลค่าเพิ่มสินค้าเกษตร

วัฏจักรของปัญหาว่าด้วยผลผลิตทางการเกษตรล้นตลาด คุณภาพไม่ได้มาตรฐาน ราคาตกต่ำ แต่ในขณะที่บางช่วงผลผลิตที่ได้กลับไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้บริโภค สิ่งเหล่านี้ยังคงเป็นประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้นในภาคการเกษตร อันเป็นอีกหนึ่งฟันเฟืองขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไทย ความพยายามแก้ปัญหาดังกล่าวจึงเกิดขึ้นในทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) เป็นอีกหนึ่งหน่วยงานที่พยายามคิดค้นหาวิธีการแก้ปัญหาและพัฒนาต่อยอด ผ่านการสนับสนุนทุนวิจัยอย่างต่อเนื่อง ให้เกิดองค์ความรู้ ตลอดจนนวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อนำผลการวิจัยที่ได้มาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมในหลากหลายมิติ ย้อนกลับไปเมื่อหลายปีก่อน ตลาดผลไม้ได้ทำความรู้จักกับมะม่วงสายพันธุ์ใหม่ที่เข้ามาสร้างสีสันให้กับตลาด ในชื่อ “มะม่วงมหาชนก” มะม่วงพันธุ์เฉพาะของไทย ที่เกิดจากการผสมข้ามสายพันธุ์ระหว่างมะม่วงพันธุ์ซันเซทของอเมริกากับพันธุ์หนังกลางวันของไทย จนได้มะม่วงที่มีลักษณะเด่นแตกต่างจากมะม่วงในท้องตลาด มะม่วงมหาชนกมีลักษณะผลกลมยาว ปลายงอน ผลใหญ่ กลิ่นหอมมีเอกลักษณ์ ผลเมื่อสุกมีสีแดงสวยงาม รสชาติหวานหอม เนื้อไม่เละ เป็นที่ต้องการของทั้งผู้บริโภคชาวไทยและต่างชาติ และเป็นผลไม้ที่มีอนาคตไกลสำหรับการส่งออก ในขณะนั้นปริมาณการส่งออกมะม่วงมหาชนกเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งตลาดประเทศญี่ปุ่น ที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างสูง ทั้งแบบผลสุกและแปรรูป ระยะต่อมาความนิยมในมะม่วงมหาชนกกลับลดลง เหตุเพราะพบปัญหาสีของผลที่สุกแล้วกลับไม่เป็นสีแดงอันเป็นเอกลักษณ์ของมะม่วงมหาชนก เหมือนที่เคยเป็นมา ทำให้ผู้บริโภคลดความนิยมลง ทั้งที่เป็นมะม่วงที่ปลูกง่าย ให้ผลเร็ว ทนต่อโรคและแมลง ให้ผลตอบแทนต่อต้นสูง และอุดมด้วยคุณค่าทางอาหาร จากปัญหาดังกล่าวจึงนำไปสู่การศึกษาวิจัย “ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดสีแดงและปริมาณสารสกัดแอนโทไซยานินอันเป็นสารต้านอนุมูลอิสระในมะม่วงมหาชนก” ของ ผศ.ดร.พีระศักดิ์ ฉายประสาท คณะเกษตรศาสตร์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยนเรศวร เพื่อแก้ปัญหาให้กับเกษตรกร รวมถึงพัฒนาและสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับมะม่วงมหาชนก อันจะนำไปสู่การต่อยอดการผลิตเชิงพาณิชย์ ซึ่งการวิจัยครั้งนี้ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) จากการวิจัยพบว่า

Read More

“เกษตรแปลงใหญ่” ความท้าทายของการจัดการ

พระราชพิธีพืชมงคล-จรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ประจำปี 2560 ผ่านพ้นไปแล้ว เป็นประหนึ่งสัญญาณบอกกล่าวว่า บัดนี้ฤดูกาลแห่งการเพาะปลูกครั้งใหม่ได้เริ่มขึ้นแล้ว และยังมีนัยความหมายที่ช่วยหล่อเลี้ยงขวัญและกำลังใจให้กับเหล่าเกษตรกรไทย ที่ดำรงอยู่ในบริบทของสังคมกสิกรรมมาอย่างเนิ่นนาน การเสี่ยงทายที่ติดตามมาด้วยคำทำนายพยากรณ์ของคณะพราหมณ์และโหรหลวง ไม่ว่าจะมีเนื้อหาและคาดหมายไปในทิศทางที่เด่นด้อยอย่างไร ในด้านหนึ่งก็เป็นไปด้วยความมุ่งหมายที่จะเตือนสติของผู้ประกอบการกสิกรรมและเกษตรกรทั้งหลาย ให้ตระหนักในข้อจำกัดทางธรรมชาติที่ปรับเปลี่ยนไปในแต่ละปี และแสวงหาหนทางที่จะข้ามพ้นปัจจัยเสี่ยงเหล่านั้นไปให้ได้ กระนั้นก็ดี ความพิเศษของพิธีพืชมงคล-จรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ในปีนี้ อยู่ที่ความพยายามของภาครัฐที่ได้ประกาศและนำเสนอนโยบาย ควบคู่กับแผนยุทธศาสตร์ระยะ 5 ปี ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ระหว่างปี 2560-2564 ที่มีเป้าหมายอยู่ที่การเร่งให้เกษตรกรทำเกษตรแปลงใหญ่ให้ได้ถึง 1.5 ล้านไร่ในอนาคต ยุทธศาสตร์ที่ว่านี้ ในด้านหนึ่งเป็นการต่อยอดความสำเร็จของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในช่วงปี 2559 ที่สามารถทำเกษตรแปลงใหญ่ได้ 153,800 ไร่ ในสินค้าเกษตรจำนวน 12 ประเภท มีการตั้งกลุ่มสหกรณ์ 122 กลุ่ม ตั้งวิสาหกิจชุมชน 393 กลุ่ม และพัฒนาเกษตรกรสู่การเป็นสมาร์ทฟาร์มเมอร์ หรือเกษตรกรสมัยใหม่ได้ 67,200 ราย โดยสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรที่ทำเกษตรแปลงใหญ่ 4,217 ล้านบาท หลักคิดของการส่งเสริมระบบเกษตรแบบแปลงใหญ่ ในด้านหนึ่งอยู่ที่การมุ่งปรับเปลี่ยนระบบการส่งเสริมการเกษตรในพื้นที่ขนาดใหญ่ เพื่อช่วยลดต้นทุนการผลิตของเกษตรกรรายย่อย มาสู่การรวมกลุ่มที่สามารถใช้เครื่องมือ เครื่องจักรกลมาช่วยในการผลิต เข้าถึงเทคโนโลยีได้มากขึ้น

Read More

“ออมสุข” ต่อยอดโรงเรียนชาวนา พลิกชีวิต อยู่รอด อยู่ได้ อยู่ดี

  การจับมือกันระหว่างบริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) กับมูลนิธิพุทธเศรษฐศาสตร์ของพระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี (ว.วชิรเมธี) จัดตั้ง บริษัท ออมสุข วิสาหกิจเพื่อสังคม จำกัด เพื่อประกอบธุรกิจซื้อสินค้าเกษตร ข้าว และพืชอินทรีย์อื่นๆ น่าจะเป็นก้าวย่างสำคัญของบริษัทน้ำมันขนาดใหญ่ ในฐานะภาคเอกชนที่ผลักดันให้เกิดบริษัทวิสาหกิจเพื่อสังคม หรือ Social Enterprise อย่างเต็มรูปแบบ  เป้าหมายหลักเพื่อส่งเสริมเกษตรกรทางภาคเหนือที่ปลูกข้าวและทำเกษตรอินทรีย์ สร้างความเข้มแข็งให้กับเศรษฐกิจชุมชน สร้างงาน สร้างรายได้ให้เกษตรกร สามารถพัฒนาตนเองอย่างยั่งยืน รวมทั้งส่งเสริมให้เกษตรกรร่วมรักษาสิ่งแวดล้อม ดูแลธรรมชาติ ช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เพื่อควบคุมอุณหภูมิโลกไม่ให้เพิ่มขึ้นเกิน 2 องศา และช่วยบรรเทาภัยพิบัติจากธรรมชาติ แน่นอนว่า เมื่อบริษัทเอกชนรายใหญ่อย่าง “บางจาก” เข้ามาสนับสนุนทั้งเงินทุนและช่องทางต่างๆ โดยเริ่มต้นทุนจดทะเบียนก้อนแรก 10 ล้านบาท แบ่งสัดส่วนการถือหุ้นระหว่างบางจากและมูลนิธิพุทธเศรษฐศาสตร์ 40 : 60 ย่อมหมายถึงโอกาสและความเป็นไปได้สูงขึ้น หลังจากมูลนิธิพุทธเศรษฐศาสตร์เข้าไปบุกเบิกแนวทางเกษตรอินทรีย์ในจังหวัดเชียงรายเมื่อ 7 ปีก่อนพร้อมๆ กับการก่อตั้งศูนย์วิปัสสนาสากล “ไร่เชิญตะวัน” ท่าน ว.วชิรเมธี เคยกล่าวในธรรมบรรยายครั้งหนึ่งว่า

Read More

โสตศึกษาบ่มเพาะเมล็ดพันธุ์ ส่งเสริมเกษตรทฤษฎีใหม่

  ในห้วงยามที่ประเทศไทยยังคงถูกปกคลุมไปด้วยม่านหมอกแห่งความรู้สึกเศร้าโศกเสียใจกับการสูญเสียครั้งใหญ่ในประวัติศาสตร์ ที่ไม่ใช่เพียงประชาชนคนไทยเท่านั้น หากแต่เป็นโลกที่สูญเสียพระมหากษัตริย์นักพัฒนาอีกด้วย ขณะที่น้ำตายังไม่แห้งเหือดและเอ่อล้นรื้นรินดวงตาอยู่ทุกครั้งเมื่อปรากฏภาพพระราชกรณียกิจในสารคดีเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ที่ทรงตรากตรำทำงานแก้ปัญหาทุกข์เพื่อสุขของประชาชนมิเว้นวาย ปัญหาส่วนใหญ่ของเกษตรกรไทยที่ดูจะเป็นปัญหาสะสมมาจากรุ่นสู่รุ่น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการขาดแคลนน้ำในการทำการเกษตร ปัญหาการใช้ที่ดินอย่างที่ไม่สามารถสร้างประโยชน์ได้สูงสุด  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ทรงพระราชทาน “ทฤษฎีใหม่” เพื่อเป็นแนวทางการแก้ปัญหา โดยนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์เข้ากับการทำการเกษตรอย่างเป็นรูปธรรม ทั้งนี้เกษตรกรส่วนใหญ่มีที่ดินทำกินเฉลี่ยประมาณครอบครัวละ 10-15 ไร่ จึงทรงคิดคำนวณจำแนกการใช้พื้นที่ดินเพื่อการดำเนินชีวิต โดยมีเป้าหมายหลักคือ ทำอย่างไรให้มีข้าวปลาอาหารเพียงพอตลอดปีจากผืนดิน เพื่อที่จะได้ประหยัดค่าใช้จ่ายที่ต้องจ่ายไปกับค่าอาหารและของกินของใช้ต่างๆ และมีรายได้เพียงพอสำหรับจับจ่ายใช้สอยสิ่งจำเป็น นอกจากนั้นยังมีความมั่นคงในที่อยู่อาศัย เมื่อมีความมั่นคงในชีวิต ก็ดำเนินชีวิตด้วยความรัก ความสามัคคีเอื้ออาทรกัน  จากนั้นทรงมีพระราชดำริให้ทดลอง “ทฤษฎีใหม่” ขึ้นครั้งแรกที่วัดมงคลชัยพัฒนา เมื่อปี พ.ศ.2532 โดยพระราชทานทุนทรัพย์ส่วนพระองค์ เพื่อซื้อที่ดินจำนวน 15 ไร่ ใกล้วัดมงคลชัยพัฒนา ทดลองทำทฤษฎีใหม่ จากนั้นขยายโครงการไปยังที่อื่นๆ อีก อย่างไรก็ตาม หลักการของเกษตรทฤษฎีใหม่ คือการแบ่งพื้นที่การเกษตรออกเป็น 4 ส่วน ตามอัตราส่วน 30:30:30:10 คือ ขุดสระหรือบ่อเพื่อกักเก็บน้ำสำหรับทำการเกษตร 30% ของพื้นที่ ส่วนที่สองคือ การปลูกข้าว 30% ของพื้นที่

Read More

ข้าว: ความมั่นคงทางอาหาร และสังคมไทย

  “... ข้าวต้องปลูก เพราะอีก 20 ปีประชากรอาจจะ 80 ล้านคน ข้าวจะไม่พอ ถ้าลดการปลูกข้าวไปเรื่อยๆ ข้าวจะไม่พอ เราจะต้องซื้อข้าวจากต่างประเทศ เรื่องอะไร ประชาชนคนไทยไม่ยอม คนไทยนี้ต้องมีข้าว แม้ข้าวที่ปลูกในเมืองไทยจะสู้ข้าวที่ปลูกในต่างประเทศไม่ได้ เราก็ต้องปลูก...”  กระแสพระราชดำรัสในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 เมื่อปี 2536 นอกจากจะเป็นมิ่งขวัญและให้ความสำคัญแก่เกษตรกรผู้ปลูกข้าวแล้ว ยังสะท้อนพระวิสัยทัศน์ที่ลุ่มลึกในมิติของความมั่นคงทางอาหารอย่างหาที่เปรียบมิได้ เป็นความมั่นคงในมิติที่แตกต่างออกไปจากความนึกคิดของบรรดาขุนศึกนายพลและผู้มีอำนาจในการบริหารประเทศในปัจจุบัน ซึ่งเติบโตมาท่ามกลางมิติของความมั่นคงแบบเดิม ที่เน้นย้ำเรื่องการมีอาวุธยุทโธปกรณ์ไว้สร้างสมดุลแห่งความหวาดระแวง และอาจจะไม่มีความเข้าใจเลยจนพร้อมจะกล่าวล้อเล่นด้วยการไล่ชาวนาไปขายปุ๋ยแทน เมื่อถูกถามว่าจะแก้ปัญหาราคาข้าวตกต่ำแต่ราคาปุ๋ยแพงอย่างไร สติปัญญาในการแก้ปัญหาราคาข้าวที่ดำเนินอยู่ในห้วงเวลาปัจจุบันกลายเป็นการผลิตซ้ำมาตรการที่คณะผู้บริหารชุดปัจจุบันพยายามจะชี้ว่ามีความผิดพลาดในอดีต แต่แล้วในที่สุดก็ด้อยความสามารถที่จะคิดหาวิธีในการแก้ไข เยียวยาให้ไปสู่มิติใหม่ที่ไปไกลกว่าเดิม ข้อเท็จจริงของความคืบหน้าในการแก้ปัญหาว่าด้วยเรื่องข้าวในปัจจุบัน ก็คือ หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) สั่งการให้ทั้งกระทรวงเกษตรฯ กระทรวงพาณิชย์ และกลไกของ คสช. ลงพื้นที่เพื่อตรวจสอบโรงสีและโกดังข้าว ควบคู่กับการพบเกษตรกร พร้อมกับมาตรการช่วยเหลือและรักษาเสถียรภาพราคาข้าว มาตรการที่ว่านี้ประกอบด้วย สินเชื่อชะลอขายข้าวเปลือกหอมมะลิ ราคาตันละ 13,000 บาท จากฐานการคำนวณที่ว่า ข้าวในปัจจุบันมีราคาอยู่ระหว่างตันละ 9,700-12,000 บาท จึงควรมีราคาเฉลี่ยที่ตันละ 11,000 บาท  โดยธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)

Read More

กาแฟ “มีวนา” บนความยั่งยืนของป่าต้นน้ำ

  ประเทศไทยและอีกหลายประเทศทั่วโลกกำลังเผชิญกับปัญหาการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ซึ่งสาเหตุหลักๆ มาจากสองปัจจัย คือ หนึ่งปัจจัยทางธรรมชาติ เช่น การหมุนรอบตัวเองของโลกและรอบดวงอาทิตย์ การเปลี่ยนแปลงของพลังงานจากดวงอาทิตย์ การระเบิดของภูเขาไฟ และสอง ปัจจัยจากกิจกรรมของมนุษย์ เช่นการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ การตัดไม้ทำลายป่า เมื่อความต้องการใช้พลังงานที่เพิ่มสูงขึ้นทุกๆ ปีตามอัตราการเติบโตของจำนวนประชากร อีกทั้งการขยายตัวทางเศรษฐกิจและความก้าวหน้าของภาคอุตสาหกรรม ทำให้ความต้องการใช้พลังงานเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว เหล่านี้เป็นสาเหตุหลักที่เข้ามาทำลายสมดุลทางธรรมชาติ อันเป็นแหล่งผลิตก๊าซออกซิเจนและยังเป็นตัวช่วยในการดูดซับก๊าซเรือนกระจกทำให้โลกร้อนขึ้น แม้ว่าหลายประเทศจะตระหนักรู้ถึงต้นเหตุของปัญหาและกำลังระดมสรรพกำลังเพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืน หรืออย่างน้อยที่สุดคือการบรรเทาเพื่อชะลอวิกฤตที่อาจเกิดตามมาในอนาคต ทั้งการปลุกและปลูกจิตสำนึกที่ดีให้กับประชากรทุกช่วงวัยให้รับรู้และใส่ใจต่อเรื่องดังกล่าว กระนั้นหากเปรียบเทียบแนวทางการแก้ปัญหาเพื่อลดภาวะโลกร้อนจากทุกๆ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง คงไม่สามารถสร้างสมดุลในแนวบวกได้มากนัก เมื่อภาพสะท้อนจากนโยบายภาครัฐที่ฉายให้เห็นถึงความคาดหวังให้เกิดแรงกระเพื่อมทางเศรษฐกิจของประเทศ โดยนโยบายต่างๆ ที่ยังคงปรากฏและดำเนินไปนั้น โดยส่วนใหญ่แสดงออกถึงความชัดเจนในเรื่องหวังผลให้เกิดการเติบโตและการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่แสดงออกมาเป็นตัวเลขจีดีพีที่เป็นบวกเท่านั้น อย่างไรก็ตาม บรรดานักลงทุนที่ตัดสินใจตอบรับแรงหนุนนำจากภาครัฐและพร้อมที่จะหว่านเมล็ดเงินเข้าสู่ระบบเพื่อรอให้ผลงอกเงยนั้น แม้จะเป็นความจริงที่การกระทำดังกล่าวช่วยให้เกิดการจ้างงาน รวมไปถึงกระตุ้นการจับจ่ายได้ส่วนหนึ่ง กระนั้นก็ยังคงเป็นธุรกิจที่ดำเนินกิจการไปในทิศทางที่หวังผลกำไรที่สามารถแบ่งเป็นเงินปันผลต่อหุ้นส่วนทางธุรกิจ มากกว่าที่จะคำนึงถึงผลประโยชน์ของชุมชนส่วนรวม นอกเหนือไปจากปัญหาความแปรปรวนในเรื่องสภาพอากาศที่ไทยจะต้องเผชิญแล้ว ปัญหาภัยแล้งที่กำลังเข้าขั้นวิกฤตอยู่ในขณะนี้ยังส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโดยตรง เนื่องจากประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรมและสินค้าส่งออกอันดับต้นๆ คือพืชผลทางการเกษตร  การขาดแคลนน้ำซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการเพาะปลูก ส่งผลให้ชาวนาบางส่วนต้องชะลอการทำนา รวมไปถึงสินค้าเกษตรที่ต้องปรับราคาสูงขึ้นเมื่อผลผลิตไม่ได้ผลดีเท่าที่ควรทำให้เกิดสภาวะชะงักงันทางเศรษฐกิจ ทั้งนี้ตัวเลขการส่งออกในไตรมาสแรกถึงไตรมาสสองของปีนี้แทบจะไม่สามารถต้านทานแรงโน้มถ่วงของโลกได้เลย ซึ่งการส่งออกนับเป็นอีกฟันเฟืองที่สำคัญยิ่งของเศรษฐกิจไทย สภาวะภัยแล้งที่ไทยกำลังเผชิญอยู่ในขณะนี้นั้น สาเหตุหนึ่งมาจากผลกระทบจากปรากฏการณ์เอลนิโญที่กำลังทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ เหมือนกับประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคเอเชีย และอาจส่งผลให้ปี 2559 ไทยต้องเจอกับวิกฤตการณ์ภัยแล้งรุนแรงเท่ากับที่เคยเกิดขึ้นในปี 2540 ถึงแม้ว่าที่ผ่านมาการผันแปรของมวลน้ำจากมหาสมุทรอินเดียอาจจะบรรเทาภัยแล้งไปได้บ้าง แต่ก็เป็นเพียงปัจจัยเดียวเท่านั้นที่พอจะช่วยได้ เพราะสถานการณ์น้ำฝนตามฤดูกาลในปี 2558 มีจำนวนน้อยมาก  นอกเหนือไปจากปรากฏการณ์เอลนิโญที่ส่งให้ไทยต้องพบกับวิกฤตภัยแล้งแล้ว การลดจำนวนลงของป่าไม้ในประเทศไทยน่าจะเป็นอีกปัญหาที่ถูกสั่งสมมาอย่างยาวนาน  จากข้อมูลสถิติการสำรวจพื้นที่ป่าไม้ของไทยนับจากปี

Read More

วังขนายจับมือคูโบต้า พัฒนาฟาร์มมิ่งไร่อ้อยอินทรีย์

 ท่ามกลางกระแสข่าว พ.ร.บ. ความปลอดภัยทางชีวภาพ หรือ พ.ร.บ. จีเอ็มโอ ที่เพิ่งผ่านความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีไปเมื่อช่วงสัปดาห์สุดท้ายของเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์มากมายในแง่ของผลกระทบต่อเกษตรกร และกลุ่มธุรกิจแปรรูปสินค้าเกษตรเพื่อการส่งออก กระทั่งมีการรวมกลุ่มคัดค้านร่าง พ.ร.บ. ฉบับดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง เพราะเนื้อหาสำคัญของพระราชบัญญัติที่เปิดช่องให้เจ้าของจีเอ็มโอได้รับอนุญาตให้สามารถปล่อยพืชจีเอ็มโอสู่สิ่งแวดล้อมได้โดยไม่ต้องรับผิดชอบต่อความเสียหายที่อาจเกิดตามมา ซึ่งพืชที่ถูกดัดแปลงพันธุกรรมจะก่อให้เกิดผลกระทบต่อความมั่นคงทางอาหารและความหลากหลายทางชีวภาพ รวมไปถึงชีวิตเกษตรกรและเศรษฐกิจการส่งออกผลผลิตทางการเกษตรของไทยอย่างไม่อาจประเมินค่าได้ ทั้งที่ก่อนหน้านี้หน่วยงานที่มีส่วนรับผิดชอบต่อภาคเกษตรของไทยพยายามอย่างหนักในการรณรงค์และสนับสนุนให้เกษตรกรของไทยหันมาปลูกพืชที่ใช้สารเคมีน้อยที่สุด หรือการทำเกษตรแบบอินทรีย์เพื่อป้องกันปัญหาดินเสื่อมและเพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ แต่ในห้วงเวลานี้คณะรัฐมนตรีชุดปัจจุบันกลับเห็นชอบต่อร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวอย่างรวดเร็ว ในขณะที่ประเทศอื่นๆ ในยุโรป แอฟริกา และเอเชียบางประเทศ ต่างออกมาต่อต้านพืชที่ถูกปรับแต่งพันธุกรรม เพราะตระหนักถึงผลเสียที่จะตามมา มากกว่าผลดีที่จะตกแก่นายทุนบางรายเท่านั้น กระนั้นยังมีความพยายามจากกลุ่มวังขนาย ผู้ผลิตน้ำตาลรายใหญ่อันดับต้นๆ ของไทย จับมือกับสยามคูโบต้าที่ถือได้ว่าเป็นผู้นำธุรกิจเครื่องจักรกลการเกษตรในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จัดทำโครงการวังขนาย-คูโบต้า พลังขับเคลื่อนอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาล ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการจะแก้ปัญหาการขาดแคลนแรงงานภาคการเกษตร และการพัฒนาผลผลิตทางการเกษตร เพราะโครงการดังกล่าวจะช่วยเกษตรกรชาวไร่อ้อยที่ปลูกอ้อยอินทรีย์ลดปัญหาด้านแรงงาน อีกทั้งยังสามารถเพิ่มปริมาณผลผลิตได้มากขึ้นถึงร้อยละ 30 ของปริมาณอ้อยทั้งหมด ปัจจุบันกลุ่มวังขนายผลิตน้ำตาลทรายเพื่อจำหน่ายทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยมีสัดส่วนการจัดจำหน่ายในประเทศ 30 เปอร์เซ็นต์ และส่งออกต่างประเทศ 70 เปอร์เซ็นต์ และสำหรับน้ำตาลออร์แกนิคกลุ่มวังขนายสามารถผลิตได้ถึง 15,000 ตัน แบ่งเป็นจำหน่ายในประเทศ 75 เปอร์เซ็นต์ และส่งออก 25 เปอร์เซ็นต์ โดยส่งออกไปยังทวีปเอเชีย ได้แก่ เกาหลีใต้ ฮ่องกง

Read More