Home > research

สกสว.จับมือภาคีขยายผลท่องเที่ยววิถีคลอง เจียระไนเป็นเพชรเม็ดงามของท่องเที่ยวไทย

ศ. นพ.สุทธิพันธ์ จิตพิมลมาศ ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ภายใต้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เป็นประธานเปิดการประชุมหน่วยงานและภาคีที่เกี่ยวข้องด้านการพัฒนาการท่องเที่ยวเพื่อรับฟังแนวคิดและสรุปการดำเนินงานเพื่อการขยายผลการพัฒนาการท่องเที่ยววิถีคลองในประเทศไทย ภายใต้โครงการวิจัย “การศึกษาศักยภาพการท่องเที่ยววิถีคลองในประเทศไทยและขยายผลการศึกษาวิจัย” ณ โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ เซ็นทรัลลาดพร้าว กรุงเทพฯ ทั้งนี้ โครงการวิจัยได้ศึกษาศักยภาพของแม่น้ำลำคลองในประเทศไทยรวม 25 ลุ่มน้ำ เพื่อสำรวจทรัพยากรธรรมชาติ วิเคราะห์และประเมินศักยภาพของวิถีคลอง เพื่อจัดทำฐานข้อมูลและเสนอแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยววิถีคลองที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวของประเทศ โดยได้รับการสนับสนุนจาก สกสว. ภายใต้ความร่วมมือของหน่วยงานและนักวิจัยจากหลายมหาวิทยาลัย ซึ่งผู้อำนวยการ สกสว. คาดหวังว่าการประชุมในครั้งนี้จะได้รับข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงโครงการวิจัยและขยายผลต่อยอด สู่การพลิกโฉมการท่องเที่ยววิถีคลองตามวิสัยทัศน์ของนายกรัฐมนตรี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โฮชา ที่ต้องการผลักดันให้ลุ่มน้ำต่าง ๆ เป็นแหล่งท่องเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจด้วยเสน่ห์และอัตลักษณ์ของชุมชนที่ไม่แพ้ชาติอื่น นายอนันต์ วงศ์เบ็ญจรัตน์ รองปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กล่าวระหว่างการเสวนา “ทิศทางการนำผลการวิจัยศักยภาพการท่องเที่ยววิถีคลองในประเทศไทย สู่การขยายผลและการใช้ประโยชน์” ว่าเราต้องพยายามหาผลงานวิจัยและสนับสนุนการพัฒนาเพื่อกำหนดนโยบายการทำงานของส่วนราชการ สิ่งสำคัญอย่างมากคือ แผนงานและโครงการที่มีแผนงบประมาณชัดเจนเพื่อจะได้ไปสานต่อ ทำอย่างไรจึงจะให้องค์ความรู้ด้านการท่องเที่ยวกลั่นกรองทิศทางในอนาคต 5-10 ปีข้างหน้า เพื่อให้ไทยเป็น ‘พี่เบิ้ม’ ใคร ๆ ต้องมาเรียนรู้จากเรา

Read More

ดัน ‘พริกปลอดภัย’ สู่เกษตรแปลงใหญ่ ถอดบทเรียนพื้นที่ปลูกน้อย-เหลือเงินมาก

นักวิจัยถอดบทเรียน “ปลูกพริกพื้นที่น้อย เหลือเงินมาก” หนุนโครงการพริกแปลงใหญ่ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดแพร่ ถือเป็นตัวอย่างที่นำนโยบายเกษตรแปลงใหญ่ของรัฐบาลมาดำเนินการและได้ผลดีเพราะมีการรวมกลุ่มวิสาหกิจดำเนินงานบนฐานงานวิจัย “พริกปลอดภัย” สกสว. และหน่วยงานรัฐสนับสนุนต่อเนื่อง หลังจากประสบความสำเร็จในการทำโครงการ “พริกปลอดภัย” ที่จังหวัดชัยภูมิในปี 2553 อ.วีระ ภาคอุทัย นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้ประเมินภาพรวมทั้งจังหวัดพบว่ามีมูลค่าการขายพริกประมาณ 900 ล้านบาท มูลค่าจ้างเก็บพริกประมาณ 300 ล้านบาท ทำให้มีการขยายผลโครงการไปยังพื้นที่อื่น ๆ เช่น พริกผลใหญ่และพริกใหญ่พันธุ์ลูกผสม อ.หนองม่วงไข่ จ.แพร่ และ พริกพันธุ์พื้นเมืองใน อ.ท่าวังผา จ.น่าน ซึ่งประสบปัญหาโรคและแมลงอย่างมากทั้งโรคกุ้งแห้ง ยอดเน่า รากเน่าโคนเน่า เพลี้ยอ่อน เพลี้ยไฟ ไรขาว แมลงวันทองพริก หรือแมลงวันพริกและหนอนเจาะผล เป็นต้น ส่งผลให้ผลผลิตน้อยและราคาพริกที่เกษตรกรขายได้มีราคาตกต่ำ นักวิจัยระบุว่าปัญหาหลักเกิดจากเมล็ดที่เก็บไว้เองมีเชื้อรา ทำให้เกิดโรคกุ้งแห้งติดอยู่ การปลูกพริกหลังฤดูกาลปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์หรือข้าวนาปีแล้วไม่มีการไถเตรียมดินแล้วคลุมแปลงด้วยฟางหรือเปลือกข้าวโพดก่อนปลูกพริกและปลูกถี่เกินไป เพื่อให้ต้นพริกพยุงต้นป้องกันต้นพริกล้มแปลงปลูกพริกอยู่ติดกันหรือปลูกพริกแน่น ไม่ได้วางแผนปลูกร่วมกัน หรือไม่ได้ก็บพริกที่เป็นโรคและแมลงออกจากสวน ให้น้ำแบบสายยางติดฝักบัวพ่นฝอยตลอดทำให้การแพร่กระจายของโรคกุ้งแห้งเป็นไปอย่างรวดเร็ว ดินเป็นกรด (ค่าพีเอชน้อยกว่า 6.0) ทำให้สิ้นเปลืองปุ๋ยและเกิดโรคจากเชื้อราได้ง่าย อ.วีระและคณะวิจัยจึงได้วิเคราะห์ปัญหาและจัดประชุมร่วมกับเกษตรกรและเจ้าหน้าที่เกษตร

Read More

นักวิจัยพบจิ๊กซอว์สำคัญของพุกามที่หายไปกว่า 120 ปี

นักวิจัยไทยค้นพบจิ๊กซอว์สำคัญของภาพจิตรกรรมฝาผนังกู่พญาเต่งมาซีที่หายไปจากเมืองมรดกโลกพุกามกว่า 120 ปี ด้วยการวิจัยแบบบูรณาการผสานศาสตร์และการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ พร้อมจับมือกรมโบราณคดีเมียนมาพัฒนาบุคลากรด้านการวิจัย ดร.เกรียงไกร เกิดศิริ คณะสถาปัตยกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร เปิดเผยว่า คณะนักวิจัยไทยนำโดย ศ.ดร.​เสมอชัย​ พูลสุวรรณ​ เมธีวิจัยอาวุโส​ สกว.​ จากคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา​ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ลงพื้นที่เมืองพุกาม ประเทศเมียนมา เพื่อนำองค์ความรู้หัวข้อ "กู่พญาเต่งมาซีและจิตรกรรมฝาผนัง: การหายไปและการฟื้นฟูความรู้ใหม่อีกครา" ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแผนงานวิจัยชุดโครงการเมธีวิจัยอาวุโส สกว. “พระพุทธศาสนาเถรวาทในบริบทวัฒนธรรมเอเชียอาคเนย์ (คริสต์ศตวรรษที่ 11-ปัจจุบัน)” คืนกลับไปยังดินแดนพุกาม เพื่อกระชับความสัมพันธ์และขยายเครือข่ายการคุ้มครองป้องกันและการพัฒนามรดกวัฒนธรรมในประเทศลุ่มแม่น้ำโขง​ ประจำปี 2562​ ณ​ เมืองโบราณพุกาม “เมืองพุกาม” เป็นเมืองโบราณที่เลื่องชื่อด้วยมีสิ่งก่อสร้างทางพุทธศาสนาทั้งเจดีย์และกู่พญาซึ่งมีหน้าที่เป็นวิหารอยู่ในอาคารหลังเดียวกันที่มีอยู่จำนวนมากมายหลายพันองค์จนได้รับสมญาเป็นเมืองแห่งทะเลเจดีย์ เมื่อ 120 ปีที่ผ่านมาจิตรกรรมฝาผนังของกู่พญาเต่งมาซีได้ถูกลักลอบตัดออกจากแหล่งโดยนักแสวงโชค​นามว่า​ ‘โธมัน’​ คณะวิจัยได้สร้างสมมติฐานถึงแบบแผนของจิตรกรรมฝาผนังดังกล่าว​ โดยบูรณาการกับการสำรวจรังวัดตัวอาคารด้วยเทคโนโลยี​เลเซอร์สแกนเนอร์สามมิติ​ รวมถึงตรวจทานจารึกภาษาพม่าโบราณ​ที่เขียนกำกับไว้ โดยทำงานร่วมกับนักวิชาการอาวุโสด้านโบราณคดีและจารึกพม่า​จากกรมโบราณคดีเมียนมา​ ร่วมกับการสอบทานกับพระไตรปิฎก​และคัมภีร์พระพุทธศาสนาต่าง ๆ อีกทั้งสอบทวนภาพถ่ายฟิล์มกระจกที่โธมันถ่ายไว้​และตีพิมพ์ลงในหนังสือเกี่ยวกับพุกามด้วยอากาศยานไร้คนขับ​เพื่อสร้างหุ่นจำลองภาพหมอกจุดรูปทรงภายนอกของตัวอาคาร​ พร้อมกันนี้นักวิจัยได้ประสานงานเข้าไปศึกษาคลังเก็บรักษาโบราณวัตถุ​ของพิพิธภัณฑ์​ชาติพันธุ์วิทยาแห่งนครฮัมบูร์ก​ ประเทศเยอรมนี ซึ่งเก็บรักษาภาพจิตรกรรมฝาผนังกู่พญาเต่งมาซีไว้และเอกสาร​ที่เกี่ยวเนื่อง​จากงานจดหมายเหตุของพิพิธภัณฑ์​ ผลลัพธ์​ของการวิจัยนำมาซึ่งองค์ความรู้ความเข้าใจต่อบริบททางสังคม​ วัฒนธรรม​ การเมือง​ที่สัมพันธ์กับพระพุทธศาสนา​ในช่วงภายหลังหัวเลี้ยวหัวต่อจากการปฏิรูปศาสนาสำนักมหาวิหารในลังกาเมื่อราวพันกว่าปีที่แล้ว​ ซึ่งกลายเป็นแบบแผนของพระพุทธศาสนาเถรวาทในเอเชียอาคเนย์รวมถึงประเทศไทย นอกจากนี้ยังมีการศึกษาภาคสนามขั้นต้นเรื่อง​

Read More

สกสว. หนุนสร้างเครือข่ายวิจัยภูมิภาค ‘วิศวกรรมโบราณสถาน’

นักวิจัยม.ธรรมศาสตร์ลงพื้นที่สำรวจอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย เก็บภาพถ่ายโบราณสถานทางอากาศเพื่อตรวจสอบความเสียหาย พร้อมตรวจวัดหาค่าความถี่ธรรมชาติของตัวโครงสร้างโบราณสถานและริเริ่มกระบวนการสร้างเครือข่ายวิจัยภูมิภาคแก่สถาบันอุดมศึกษาเพื่อถ่ายทอดความรู้สู่การวิจัยเชิงวิศวกรรมโบราณสถาน คณะวิจัยชุดโครงการอนุรักษ์โครงสร้างโบราณสถานด้วยหลักวิศวกรรม (ระยะที่ 2 ) นำโดย รศ. ดร.นคร ภู่วโรดม พร้อมด้วยทีมงานจากภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ลงพื้นที่สำรวจและเก็บข้อมูลเชิงวิศวกรรมของโบราณสถาน ณ อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย เพื่อเข้าสำรวจโบราณที่มีความจำเป็นเร่งด่วนในการศึกษาข้อมูลและบูรณะซ่อมแซมในอนาคต อันเป็นผลสืบเนื่องจากการลงพื้นที่ของคณะวิจัยจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เมื่อเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา ภายใต้การสนับสนุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ร่วมกับกรมศิลปากร เพื่อวางแผนอนุรักษ์ บำรุงรักษาโบราณสถานในเขตอุทยานที่มีผลกระทบสำคัญเร่งด่วน อาทิ เจดีย์เอียง ฐานรากทรุด ทดสอบวัสดุเดิม และวัสดุทดแทนใหม่สำหรับการบูรณะ โดยจะมุ่งเน้นการพัฒนากระบวนการศึกษาวิจัยให้เหมาะสมถูกต้องตามหลักวิศวกรรมต่อไป รศ. ดร.นครระบุว่าการลงพื้นที่วิจัยที่อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยมีการดำเนินงานหลัก 2 ส่วน คือ การสำรวจเก็บภาพถ่ายโบราณสถานโดยใช้อากาศยานไร้คนขับ (โดรน) และนำภาพถ่ายมาขึ้นแบบจำลองสามมิติ เพื่อตรวจสอบ รายงานผลความเสียหาย และวิเคราะห์โครงสร้าง โดยแปลงเป็นแบบจำลองทางเรขาคณิตหรือเรียกอีกอย่างคือการการสร้างแบบจำลองทางวิศวกรรมด้วยวิธีไฟไนต์เอลิเมนต์ ทำนายพฤติกรรมของโครงสร้างที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต การนำโดรนมาใช้กับการตรวจสอบนั้นนอกจากสะดวกต่อการเข้าถึงพื้นที่ที่จำกัดแล้ว ยังช่วยในด้านการรักษาโบราณสถานที่อาจได้รับความเสียหายระหว่างทำการสำรวจโดยไม่จำเป็น นอกจากนี้ยังทำให้ได้ข้อมูลพื้นผิวโครงสร้างที่ครบถ้วน มีองค์ประกอบของสีที่หลากหลาย แก้ไขความผิดพลาดได้อย่างรวดเร็วระหว่างการสำรวจ ช่วยลดต้นทุน

Read More

สกสว.จับมือกระทรวงพาณิชย์ ดันงานวิจัยข้าม‘หุบเหวมรณะ’

สกสว.พร้อมจับมือ สนค. กระทรวงพาณิชย์ เป็นสะพานเชื่อมงานวิจัยก้าวข้ามหุบเหวมรณะไปสู่การใช้ประโยชน์เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจภาพรวมของประเทศและสร้างความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลก โดยภาครัฐจะต้องช่วยออกแบบงานวิจัยตั้งแต่ต้นทาง โครงการกิจกรรมการเชื่อมโยงงานวิจัยภาคนโยบาย ฝ่ายบริหาร ภายใต้ภารกิจส่งเสริมการนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (สกสว.) ร่วมกับสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์ (สนค.) จัดการสัมมนาเชิงปฏิบัติการการเชื่อมโยงการวิจัยและนโยบายสู่เชิงพาณิชย์ เพื่อส่งผ่านงานวิจัยไปสู่ฝ่ายนโยบายอย่างเป็นรูปธรรม ณ ห้องประชุม สกสว. โดยนำเสนองานวิจัยที่มีศักยภาพโดดเด่นและสามารถนำไปประยุกติ์ใช้ในเชิงพาณิชย์ตั้งแต่ระดับนโยบายไปจนถึงการนำไปใช้โดยภาคเอกชน ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจภาพรวมของประเทศ อีกทั้งนำความรู้ไปพัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการและผู้ผลิตเพื่อเสริมความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลก น.ส.พิมพ์ชนก วอนขอพร ผู้อำนวยการ สนค. กล่าวถึงเศรษฐกิจไทย-เศรษฐกิจโลกภายใต้พลวัตว่าการค้าและเศรษฐกิจมีการเปลี่ยนแปลงหลายด้าน ประเทศกำลังพัฒนามีความสำคัญมากขึ้น โดยเฉพาะทางฝั่งเอเชียที่อยู่ท่ามกลางศักยภาพทางเศรษฐกิจและสงครามการค้าโลก เราต้องยืดหยัดได้ด้วยตัวเอง ปัจจุบัน สนค.ได้ตกผลึกมาระยะหนึ่งแล้วว่าแนวโน้มหลักในอนาคตจะประกอบด้วย (1) การเปลี่ยนขั้วทางเศรษฐกิจและการเมืองของประเทศต่าง ๆ ที่จะส่งผลกระทบต่อประเทศไทย (2) แนวโน้มนวัตกรรม ซึ่งเป็นทั้งโอกาสและความท้าทาย ได้แก่ ABCDE (AI, Blockchain, Cloud, Data, E-business) รวมถึง IoT และ E-commerce (3) โครงสร้างสังคมเมืองโดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงทางประชากรศาสตร์ สังคมสูงวัย และการเปลี่ยนแปลงสังคมเมือง

Read More

ลอรีอัล เชิดชูเกียรตินักวิจัยสตรีไทย สานต่อโครงการทุนวิจัยลอรีอัล ประเทศไทย “เพื่อสตรีในงานวิทยาศาสตร์” ปีที่ 17

ลอรีอัล เชิดชูเกียรติ 5 นักวิจัยสตรีไทย สนับสนุนงานวิจัยโดดเด่นมีคุณประโยชน์ต่อประเทศชาติ สานต่อโครงการทุนวิจัยลอรีอัล ประเทศไทย “เพื่อสตรีในงานวิทยาศาสตร์” ปีที่ 17 บริษัท ลอรีอัล (ประเทศไทย) จำกัด ด้วยความร่วมมือกับสำนักเลขาธิการแห่งชาติ ว่าด้วยการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) ประกาศรายชื่อ 5 นักวิจัยสตรีผู้มีผลงานวิจัยในการพัฒนาชุมชน สังคม สิ่งแวดล้อมและประเทศชาติอันโดดเด่นที่ได้รับทุนโครงการทุนวิจัยลอรีอัล ประเทศไทย “เพื่อสตรีในงานวิทยาศาสตร์” (For Women in Science) ประจำปี 2562 โดยในปีนี้เป็นปีที่ 17 ของการดำเนินโครงการในประเทศไทย ตอกย้ำความมุ่งมั่นในการร่วมเชิดชูเกียรติสตรีในสายงานวิทยาศาสตร์และสนับสนุนงานด้านการค้นคว้าและวิจัยเพื่อนำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนให้กับประเทศไทย ปัจจุบันมีนักวิจัยสตรีไทยที่ได้รับทุนสนับสนุนจากโครงการนี้รวมแล้วทั้งสิ้น 65 ท่าน นางสาวอรอนงค์ ประทักษ์พิริยะ ผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารองค์กรและองค์กรสัมพันธ์ บริษัท ลอรีอัล (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า “ลอรีอัลเชื่อมั่นมาตลอดว่าการค้นคว้าวิจัยจะก่อให้เกิดความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งถือเป็นจุดยืนของ มร.ยูชีน ชูแลร์ นักวิทยาศาสตร์ผู้ก่อตั้งลอรีอัล

Read More

ประติมากรรมฝาท่อระบายน้ำ ศิลปะสุดชิคปรับโฉมกรุงเทพฯ

แนวคิดที่ว่าประติมากรรมเป็นองค์ประกอบหนึ่งของเมืองและช่วยให้เมืองมีความงดงาม เป็นแนวคิดทางศิลปะและการจัดผังเมืองที่สังคมไทยได้อิทธิพลจากตะวันตก ในระยะแรกประติมากรรมบนที่สาธารณะของเมืองเกิดขึ้นโดยการจัดการของรัฐ ซึ่งมีการเตรียมพื้นที่สำหรับติดตั้งอย่างเหมาะสม และโครงการมักถูกผนวกเป็นส่วนหนึ่งของการจัดผังเมือง เช่น ตั้งอยู่บนลานพระราชวัง หรือตั้งบนแยกถนนที่ตัดขึ้นใหม่ งานประติมากรรมสาธารณะในช่วงเริ่มต้นของไทยมักเป็นอนุสาวรีย์หรือเป็นส่วนประดับสะพาน น้ำพุ หรืออาจเป็นส่วนประดับอาคารของราชการ การจัดการอย่างชัดเจนในระยะแรก ๆ โดยรัฐ ทำให้ประติมากรรมบนที่สาธารณะมีทางสุนทรีย์ และสื่อความหมายของผลงานถึงสาธารณชนได้ดี ทั้งยังเป็นหมุดหมายที่ส่งเสริมภูมิทัศน์ของเมือง อย่างไรก็ดี ในช่วงเวลาหลายทศวรรษที่ผ่านมามีการขยายตัวของเขตเมืองอย่างรวดเร็ว การจัดการเมืองไม่ทันต่อสถานการณ์ได้ทำลายทัศนียภาพของเมืองที่เคยงดงามในอดีต การขยายถนนได้รื้อทำลายสะพานซึ่งมีอายุกว่า 100 ปีลงมาก งานศิลปกรรมประดับตกแต่งสะพานรวมไปถึงน้ำพุประดับตามแยกถนนสายสำคัญจึงถูกรื้อทำลายลงด้วย ปัจจุบันกรุงเทพมหานครมีความแออัด การจัดสรรพื้นที่ในเมืองให้เป็นที่สาธารณะใหม่ขึ้น เช่น ลานคนเมือง จัตุรัสเมือง หรือสวนหย่อมทำได้ยาก สภาพเมืองปัจจุบันจึงไม่เอื้ออำนวยต่อโครงงานประติมากรรมบนที่สาธารณะเช่นในอดีต กรุงเทพมหานครมีแนวคิดและความพยายามแทรกงานศิลปะลงบนพื้นที่เมือง โดยริเริ่มโครงการติดตั้งงานประติมากรรมถาวรตามจุดตัดของถนนหลายแห่ง แต่เป็นที่น่าเสียดายที่ไม่สามารถจัดสรรพื้นที่เหมาะสมให้แก่ผลงานประติมากรรม ผลงานบางชิ้นถูกรื้อทิ้งเมื่อมีการปรับปรุงผิวจราจร บางชิ้นถูกปล่อยให้ทรุดโทรมเพราะขาดการดูแล กรุงเทพมหานครจึงมักเลือกสวนสาธารณะเป็นที่ติดตั้งโครงการประติมากรรม แต่ก็ไม่ได้มีส่วนช่วยให้พื้นที่ชุมชนและภูมิทัศน์ของเมืองมีทัศนียภาพโดยรวมที่ดีขึ้นมากนัก ปัจจุบันมีภาคธุรกิจ องค์กร และเอกชนหลายรายนำประติมากรรมมาติดตั้งหน้าอาคารสำนักงานของตัวเอง ช่วยสร้างทัศนียภาพของเมืองให้งดงามไปพร้อมกับการส่งเสริมภาพลักษณ์เชิงธุรกิจขององค์กร เป็นที่น่าสังเกตว่าโครงการเหล่านี้มักเกิดในย่านธุรกิจสำคัญบนพื้นที่ ซึ่งเจ้าของเป็นผู้ดูแลรักษาให้งานประติมากรรมอยู่ในสภาพดีอยู่เสมอ ส่วนในย่านชุมชนที่มีงานประติมากรรมติดตั้ง หากไม่อยู่ในพื้นที่ของหน่วยงานราชการมักขาดผู้ดูแลรับผิดชอบ ทำให้ผลงานเหล่านั้นเสื่อมโทรมในเวลาไม่นานและมักถูกรื้อถอนไป ผลลัพธ์ของการจัดการที่ผ่านมาชี้ชัดว่าการจัดการทัศนียภาพของเมืองขนาดมหานครโดยรัฐฝ่ายเดียวไม่เพียงพออีกต่อไป การปรับปรุงภูมิทัศน์ในเมืองให้งดงามขึ้นจึงต้องการความร่วมมือจากหลายฝ่าย โครงการประติมากรรมบนพื้นที่สาธารณะที่จะประสบผลสำเร็จต้องการการมีส่วนร่วมอย่างจริงจังระหว่างภาครัฐ ภาคธุรกิจ ศิลปิน และชุมชน ฝ่ายมนุษยศาสตร์

Read More

นักวิจัยมช.พบพันธุ์ไม้ชนิดใหม่ของโลก ‘พรหมจุฬาภรณ์’ รอต่อยอดยาต้านมะเร็ง

นักวิจัยมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ค้นพบพืชชนิดใหม่ของโลกในสกุลมหาพรหม ได้รับพระราชทานนาม “พรหมจุฬาภรณ์” จากป่าดิบแล้งบนเขาหินปูนขนาดเล็กในนครศรีธรรมราช พร้อมเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชเพื่อขยายพันธุ์ให้มากขึ้นและพัฒนาเป็นยาต้านมะเร็งต่อไป คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จัดการแถลงข่าวพืชชนิดใหม่ของโลกในสกุลมหาพรหม (Mitrephora (Blume) Hook.f. & Thomson) ซึ่งได้รับพระราชทานนาม “พรหมจุฬาภรณ์” จากศาสตราจารย์ ดร. สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ในงานสัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ ส่วนภูมิภาค ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๒ ณ อาคาร ๔๖ ปี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.สัมพันธ์ สิงหราชวราพันธ์ รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม พร้อมด้วย รองศาสตราจารย์ ดร.คมกฤต เล็กสกุล รองผู้อำนวยการภารกิจจัดสรรงบประมาณ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ร่วมแถลงข่าว คณะนักวิจัยนำโดย ดร.ธนวัฒน์ เชาวสกู สังกัดภาควิชาชีววิทยา

Read More

เปิดผลงาน 2 นักวิจัยสตรีหญิงไทย ตอบโจทย์การพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ 2562

เปิดผลงาน 2 นักวิจัยสตรีหญิงไทย ตอบโจทย์การพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ 2562 พัฒนาชีวิตด้วยวิทยาศาสตร์ ผ่านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมด้วยการวิเคราะห์ปะการัง และวิเคราะห์เกล็ดเลือดเพื่อรักษาผู้ป่วยเกล็ดเลือดพร่อง วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ กำลังจะกลับมาอีกครั้งในวันที่ 18 สิงหาคมนี้ เพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) พระมหากษัตริย์ไทยผู้ทรงเป็น “พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย” ควบคู่ไปกับเผยแพร่ผลงานวิจัยและพัฒนาความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทั้งในประเทศและนานาชาติ โดยหนึ่งในกิจกรรมสำคัญคือ งานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติขึ้น โดยในปีนี้จัดขึ้น ภายใต้แนวคิด “จุดประกายความคิด พัฒนาชีวิตด้วยวิทยาศาสตร์ เสริมสร้างชาติด้วยเทคโนโลยี สู่วิถีแห่งนวัตกรรม” มุ่งเน้นเรื่องการพัฒนาทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม พร้อมทั้งเน้นย้ำประเด็นการเปลี่ยนแปลงของวิกฤตโลก ซึ่งรวมถึงความหลากหลายทางชีวภาพและวิทยาศาสตร์สุขภาพ ลอรีอัลนับเป็นอีกหนึ่งองค์กรที่เล็งเห็นถึงความสำคัญของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จากโครงการ “ทุนวิจัยลอรีอัล ประเทศไทย เพื่อสตรีในงานวิทยาศาสตร์” โดย บริษัท ลอรีอัล (ประเทศไทย) จำกัด และการสนับสนุนของสำนักเลขาธิการคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) จึงเป็นโครงการที่มุ่งมั่นเดินหน้าพัฒนานักวิจัยสตรีไทยสู่ระดับนานาชาติมาอย่างต่อเนื่องกว่า 17 ปี ภายใต้แนวคิดหลักของสัปดาห์วิทยาศาสตร์ในปีนี้ที่มุ่งเน้นเรื่องการพัฒนาทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ซึ่งสอดคล้องกับผลงานของนักวิจัยสตรีทั้ง

Read More

สกสว.ชวนคนไทยชมผลงานบัณฑิตศึกษา ‘ก้าวทันเทคโนโลยีเปลี่ยนโลกด้วยงานวิจัย’

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) เตรียมจัดงาน “การประชุมวิชาการระดับบัณฑิตศึกษา สกสว. ปี 2562 (TSRI Congress 2019)” ภายใต้หัวข้อ “ก้าวทันเทคโนโลยีเปลี่ยนโลกด้วยงานวิจัย” (Disruptive Technology for World Society)” ในวันที่ 8 สิงหาคม 2562 ณ รอยัล พารากอน ฮอลล์ 3 ชั้น 5 ศูนย์การค้าสยามพารากอน เพื่อติดตามความก้าวหน้าของการดำเนินโครงการวิจัยของนักศึกษาที่ได้รับทุนของ สกสว. ประชาสัมพันธ์เผยแพร่งานวิจัยของนักศึกษาสู่สาธารณะ และเป็นเวทีสำหรับนักศึกษา นักวิจัยและนักวิชาการในการแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ และสร้างความร่วมมือกับผู้เชี่ยวชาญทั้งในและต่างประเทศ เพื่อพัฒนางานวิจัยของนักศึกษาให้ดียิ่งขึ้น ศ. นพ.สุทธิพันธ์ จิตพิมลมาศ ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) กล่าวว่า การประชุมวิชาการครั้งนี้จะทำให้นักศึกษาทุกคนพร้อมที่จะก้าวไปสู่การเป็นนักวิจัยที่มีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับ สามารถตีพิมพ์ผลงานวิจัยในวารสารวิชาการระดับนานาชาติ สร้างองค์ความรู้ที่สำคัญต่อการพัฒนาประเทศ ตลอดจนสร้างนวัตกรรมบนฐานความรู้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลงานวิจัยที่จะตอบสนองกับการพัฒนากลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายของประเทศทั้ง 12

Read More