Home > COVID-19 (Page 5)

เผยผลสำรวจผู้บริหารระดับสูงถึง 58% พบปัญหาความล้มเหลวในการสำรองข้อมูล

เผยผลสำรวจผู้บริหารระดับสูงถึง 58% พบปัญหาความล้มเหลวในการสำรองข้อมูล สะท้อนถึงความท้าทายในการป้องกันข้อมูลสำคัญขององค์กรและเป็นข้อจำกัดในเปลี่ยนผ่านสู่โลกดิจิทัล จากรายงาน Veeam Data Protection Report ประจำปี 2021 พบว่าสถานการณ์ COVID-19 ส่งผลกระทบอย่างชัดเจนต่อการลงทุนเพื่อเปลี่ยนผ่านสู่โลกสู่ดิจิทัล (Digital Transformation) องค์กรทั่วโลกถึง 40% มองว่าความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจเป็นอุปสรรคสำคัญในอีก 12 เดือนข้างหน้า และหนึ่งในสามขององค์กรต่างชะลอหรือเลือกที่จะหยุดกระบวนการปรับเปลี่ยนดังกล่าวไว้ก่อนในช่วงปีที่ผ่านมา ความท้าทายในการป้องกันข้อมูลกำลังบั่นทอนความสามารถขององค์กรทั่วโลกในการเปลี่ยนถ่ายเข้าสู่โลกดิจิทัล (Digital Transformation, DX) อ้างอิงผลการสำรวจในรายงาน Veeam ®  Data Protection Report 2021 พบว่าองค์กรถึง 58% ไม่สามารถสำรองข้อมูลได้สำเร็จหรือปล่อยข้อมูลไว้โดยไม่ได้รับการป้องกัน รายงานการสำรวจนี้จัดทำขึ้นโดย Veeam Software ผู้นำด้านโซลูชั่นสำรองข้อมูลในรูปแบบการจัดการข้อมูลผ่านระบบคลาวด์ Cloud Data Management™ ซึ่งพบว่า หลังจากที่โลกต้องเผชิญกับการแพร่ระบาดของ COVID-19 และสถานการณ์เศรษฐกิจโลกที่ผันผวน ผู้บริหารระดับสูงขององค์กรถึง 40% ต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่านี่คืออุปสรรคครั้งใหญ่ในการเปลี่ยนผ่านสู่โลกดิจิทัลในช่วง 12 เดือนจากนี้

Read More

ปีแห่งความท้าทายของ KTC เร่งขยายสินเชื่อ-เป็นผู้นำครบวงจร

แม้จะเป็นผู้เล่นรายใหญ่ในธุรกิจสินเชื่อและบัตรเครดิตที่สร้างผลกำไรนิวไฮมาตลอดหลายปี แต่จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ตั้งแต่ต้นปี 2563 และลากยาวมาจนถึงปัจจุบัน ทำให้บริษัทบัตรกรุงไทย หรือเคทีซี ต้องปรับกลยุทธ์อย่างต่อเนื่องเพื่อรองรับผลกระทบที่เกิดขึ้นทั้งต่อระบบเศรษฐกิจและพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป พร้อมเร่งขยายธุรกิจสินเชื่อเพื่อกระจายความเสี่ยงจากธุรกิจบัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคลที่ได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจและเพดานดอกเบี้ยที่อยู่ในช่วงขาลง การระบาดของโควิด-19 ในปีที่ผ่านมาทำให้ปริมาณการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตและการเติบโตของพอร์ตลูกหนี้ของเคทีซีได้รับผลกระทบ โดยเดือนเมษายน 2563 ยอดการใช้บัตรลดลงถึง 40% และกระทบในทุกเซกเมนต์ของธุรกิจ อีกทั้งมาตรการลดเพดานดอกเบี้ยทั้งธุรกิจบัตรเครดิตและสินเชื่อบุคคลของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เพื่อเป็นการช่วยเหลือลูกหนี้ ยังส่งผลให้ผลการดำเนินงานไตรมาส 2 ของปี 2563 ลดลงกว่า 10% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า ทำให้บริษัทต้องปรับตัวขนานใหญ่ ซึ่งปีที่ผ่านมา เคทีซีปรับตัวโดยเน้นการพัฒนากระบวนการทำงานทั้งระบบ (End to End Process Improvement) ลดความซ้ำซ้อนและซับซ้อน เพิ่มประสิทธิภาพ มุ่งตอบสนองความต้องการของลูกค้าให้ครอบคลุมทุกมิติ รวมทั้งมีการนำระบบดิจิทัลมาใช้ในการดำเนินงานมากขึ้น และปรับ Business Model โดยเดินหน้าสินเชื่อมีหลักประกันอย่าง “เคทีซีพี่เบิ้ม” ที่ครอบคลุมทั้งทะเบียนรถยนต์ รถจักรยานยนต์ เป็นหลัก เพื่อสร้างรายได้ทดแทนส่วนอื่น ทำให้ผลประกอบการ ณ สิ้นปี 2563 เคทีซียังคงสามารถทำกำไรสุทธิได้ถึง 5,332

Read More

ความเชื่อและความเป็นจริง วิ่งสวนทางในเศรษฐกิจไทย?

ความพยายามของกลไกรัฐไทยที่จะกระตุ้นเร้าความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจของไทยให้กลับมาฟื้นตัวขึ้น ดูจะเป็นสิ่งที่ย้อนทางกับข้อเท็จจริงที่ปรากฏอยู่ในห้วงเวลาปัจจุบัน เพราะแม้รัฐไทยจะพยายามสื่อสารว่าได้ตั้งเป้าหมายและต้องการที่จะผลักดันให้เศรษฐกิจไทยในปี 2564 กลับมาเติบโตที่ระดับร้อยละ 4 โดยจะเร่งการขับเคลื่อนเศรษฐกิจทุกมิติ ทั้งการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของรัฐบาล ซึ่งลงทุนอย่างต่อเนื่อง แม้จะอยู่ในช่วงวิกฤตการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 รวมถึงการเร่งการลงทุนในเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) และการเปิดประเทศต้อนรับนักท่องเที่ยว หากแต่จากการประเมินเศรษฐกิจไทยโดยกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) กลับระบุว่าเศรษฐกิจไทยปี 2564 จะเติบโตอยู่ที่ระดับร้อยละ 2.6 ซึ่งถือว่าอยู่ในระดับเดียวกับที่มีการคาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ที่ระดับร้อยละ 2.5-3.5 โดยไอเอ็มเอฟได้ชี้แนะให้รัฐไทยใช้นโยบายการเงินแบบเจาะจง ซึ่งขณะนี้กระทรวงการคลังอยู่ระหว่างหารือกับธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการรายใหญ่ ด้วยการแก้ พ.ร.ก. ซอฟต์โลน ซึ่งจะขยายไปถึงธุรกิจที่มีขนาดใหญ่กว่าเอสเอ็มอี เช่น ภาคโรงแรม ที่จะเป็นการให้สินเชื่อใหม่ เชื่อมโยงไปกับโครงการโกดังเก็บหนี้ ซึ่งจะให้ธุรกิจที่เดินต่อไปไม่ได้ให้โอนธุรกิจไว้ที่โกดังก่อน และเมื่อมีความสามารถก็ให้กลับมาซื้อคืนในราคายุติธรรม ต้องยอมรับว่าการตั้งเป้าหมายการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ระดับร้อยละ 4 เป็นโจทย์ที่ท้าทายและหวังผลสัมฤทธิ์ได้ยากในภาวะเช่นนี้ หากแต่กลไกรัฐไทยยังคงผูกพันอยู่กับความเชื่อที่ว่าปัจจัยที่จะทำให้เป้าหมายเศรษฐกิจดังกล่าวมีความเป็นไปได้ จะมาจากการส่งออกที่กลับมาฟื้นตัวรับอานิสงส์นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกา 1.9 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ และเมื่อประเทศไทยจะเปิดประเทศเพื่อต้อนรับนักท่องเที่ยวช่วงปลายปี ดังนั้นจึงมีความเป็นไปได้ที่เศรษฐกิจจะขยายตัวเป็นบวก ซึ่งถือเป็นความคาดหวังที่อยู่บนสมมุติฐานของความเชื่อ มากกว่าที่จะอยู่กับข้อเท็จจริง ซึ่งการดูแลเศรษฐกิจไทยให้ฟื้นตัวกลับมาเหมือนเดิมก่อนเกิดวิกฤต COVID-19 อาจต้องใช้เวลาไม่น้อยกว่า 2 ปีขึ้นไป ฐานความคิดที่ว่าเศรษฐกิจประเทศไทยเริ่มส่งสัญญาณฟื้นตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่องของผู้ที่เกี่ยวข้องกับการผลักดันมาตรการทางเศรษฐกิจในกลไกรัฐไทย ในด้านหนึ่งให้น้ำหนักอยู่กับการมาถึงและผลจากการฉีดวัคซีนต้าน

Read More

เดอะมอลล์ บางแค การ์ดไม่ตก! ทำ Big Cleaning ครั้งใหญ่

เดอะมอลล์ บางแค การ์ดไม่ตก! ทำ Big Cleaning ครั้งใหญ่ พร้อมคุมเข้ม 5 มาตรการสุขอนามัย ความปลอดภัยสูงสุด ตอกย้ำความมั่นใจลูกค้าช้อปปลอดภัย ดูแล ใส่ใจ ไปด้วยกัน จากสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 บริเวณ 6 ตลาดย่านบางแค ได้แก่ ตลาดสิริเศรษฐนนท์, ตลาดศูนย์การค้าบางแค, ตลาดกิตติ, ตลาดภาสม, ตลาดใหม่บางแค และตลาดวันเดอร์ นั้น เดอะมอลล์ บางแค ตอกย้ำความมั่นใจให้ผู้ใช้บริการศูนย์การค้าและห้างสรรพสินค้า ทำ Big Cleaning ครั้งใหญ่เป็นพิเศษ นอกเหนือจากมาตรการความปลอดภัยด้านสุขอนามัยที่ศูนย์การค้าฯ ปฏิบัติเป็นประจำทุกวัน พร้อมเดินหน้าคุมเข้มมาตรการความปลอดภัยขั้นสูงสุด เพื่อเพิ่มความมั่นให้ผู้ใช้บริการในเขตบางแค และลดความเสี่ยงในการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส โควิด-19 ครอบคลุมทุกมิติ นายอมร อมรกุล ผู้จัดการใหญ่ สายงานปฏิบัติการ บริษัท เดอะมอลล์ กรุ๊ป จำกัด กล่าวว่า “จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 บริเวณ

Read More

ธุรกิจโลจิสติกส์หวังฟื้น หลังผ่านมรสุม COVID-19

การแพร่ระบาดของ COVID-19 ส่งผลกระทบกระเทือนต่อภาคเศรษฐกิจสังคมอย่างกว้างขวางและหลากหลาย ซึ่งหนึ่งในภาคธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 ในช่วงปีที่ผ่านมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ก็คือ ธุรกิจขนส่งพัสดุ หรือโลจิสติกส์ ที่ได้รับผลจากการปิดพรมแดนและการระงับการขนส่งสินค้าและพัสดุทางอากาศในหลายประเทศ ซึ่งทำให้เกิดการหดตัวในธุรกิจโลจิสติกส์นี้มากกว่าร้อยละ 30-40 เลยทีเดียว วิกฤตจากการระบาดของ COVID-19 ส่งผลกระทบต่อธุรกิจโลจิสติกส์ เนื่องจากการขนส่งทั้งทางบกในประเทศ และขนส่งข้ามแดนมีความล่าช้า จากการล็อกดาวน์หลายพื้นที่ ส่วนการขนส่งทางอากาศถูกระงับไปหลังจากที่ธุรกิจการบินไม่สามารถทำการบินได้ ซึ่งทำให้ธุรกิจโลจิสติกส์ได้รับผลกระทบด้านรายได้อย่างหนัก ขณะที่การขนส่งทางเรือได้รับผลกระทบเช่นกัน แต่ยังมีการขนส่งสินค้านำเข้าส่งออกอยู่บ้าง สถานการณ์ดังกล่าวทำให้ธุรกิจโลจิสติกส์ในปี 2563 มีแนวโน้มจะหดตัวลงมากถึงร้อยละ 30-40 ซึ่งแม้ว่าการขนส่งหลายประเภทจะอยู่ในภาวะหดตัว แต่การขนส่งพัสดุ การขนส่งสินค้าถึงบ้านหรือเดลิเวอรี่ต่างๆ กลับมีการเติบโตสูงมาก สวนกระแสตลาดโดยรวม เนื่องจากห้างร้านปิดให้บริการ และการที่ประชาชนได้รับคำแนะนำให้อยู่บ้านเพื่อหยุดโรค ทำให้การใช้บริการสั่งซื้อสินค้าและบริการส่งตรงถึงบ้านปรับตัวสูงขึ้นในช่วงที่ผ่านมา ตัวเลขที่น่าสนใจในธุรกิจโลจิสติกส์อยู่ที่ธุรกิจนี้มีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยตลาดขนส่งพัสดุในไทยเติบโตอย่างก้าวกระโดดจากระดับ 18,000 ล้านบาทในปี 2559 มาสู่ระดับ 25,000 ล้านบาทในปี 2560 และพุ่งทะยานอย่างรวดเร็วมาสู่ระดับ 35,000 ล้านบาทในปี 2561 ก่อนที่จะขึ้นสู่ระดับ 49,000 ล้านบาทในปี 2562 และมาสู่ระดับ 66,000

Read More

LPN Wisdom ระบุ 3 เทรนด์ การออกแบบที่อยู่อาศัยในปี 2564

LPN Wisdom ระบุ การออกแบบโดยเพิ่มพื้นที่ใช้สอยที่ใช้งานได้หลากหลายมากขึ้น, ให้ความสำคัญกับสุขอนามัยในการอยู่อาศัย, และการนำเทคโนโลยีเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการออกแบบที่พักอาศัย เป็นเทรนด์ของการออกแบบที่ตอบทุกโจทย์การอยู่อาศัยของคนทุกวัยในปี 2564 นายประพันธ์ศักดิ์ รักษ์ไชยวรรณ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ลุมพินี วิสดอม แอนด์ โซลูชั่น จำกัด (มหาชน) (LPN Wisdom) บริษัทวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ในเครือบริษัท แอล.พี.เอ็น. ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) กล่าวถึงการออกแบบที่อยู่อาศัยในปี 2564 ว่า หลังการแพร่ระบาดของโคโรน่าไวรัสสายพันธ์ใหม่ 2019 (COVID-19) ตั้งแต่ปี 2562 ไปทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทยและต่อเนื่องมาถึงปี 2564 ผนวกกับประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่สังคมของผู้สูงวัย ทำให้พฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไป โดยเฉพาะพฤติกรรมของผู้ซื้อที่อยู่อาศัย ที่หันมาให้ความสนใจในการซื้อบ้านพักอาศัยมากขึ้นจากผลการสำรวจของ LPN Wisdom พบว่าปี 2563 มีการเปิดตัวโครงการบ้านพักอาศัยในเขตกรุงเทพฯ-ปริมณฑล 44,001 ยูนิต คิดเป็นสัดส่วนถึง 63% ของจำนวนโครงการที่เปิดขาย 70,126 ยูนิต

Read More

เศรษฐกิจไทยยังเปราะบาง เร่งรัฐวางมาตรการฉุกเฉิน

สถานการณ์ทางเศรษฐกิจไทยในยุคหลังการแพร่ระบาดของ COVID-19 ที่ดำเนินต่อเนื่องมายาวนานกว่า 1 ปียังเป็นไปท่ามกลางความเปราะบางและไร้สัญญาณบวกที่จะพลิกฟื้นกลับมาโดยง่าย ขณะเดียวกันรายได้ครัวเรือนที่ปรับลดลง โดยเฉพาะกลุ่มครัวเรือนรายได้น้อยที่ยังไม่ฟื้นตัวจากการระบาดรอบก่อนและได้รับผลกระทบเพิ่มเติม ทำให้ต้องติดตามคุณภาพหนี้ในภาคครัวเรือนที่อาจด้อยลงในระยะต่อไป ผลกระทบจากการแพร่ระบาด COVID-19 ทำให้ภาคธุรกิจมีรายได้ลดลงและมีฐานะการเงินเปราะบางมากขึ้น โดยเฉพาะธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยวและบริการที่ยังไม่ฟื้นตัวจากการระบาดของโรค ขณะที่ธุรกิจ SMEs ประสบปัญหาความเสี่ยงด้านเครดิตที่ปรับสูงขึ้น ส่งผลให้สถาบันการเงินปล่อยสินเชื่อให้กลุ่มธุรกิจดังกล่าวน้อยลง และอาจทำให้ธุรกิจมีปัญหาขาดสภาพคล่องมากขึ้น บางธุรกิจมีโอกาสผิดนัดชำระหนี้และต้องยุติกิจการไปโดยปริยาย รายงานตัวเลขจีดีพีไตรมาส 4 ปี 2563 ของไทยยังติดลบเพิ่มอีกร้อยละ 4.2 จากไตรมาส 3 ที่ติดลบในระดับร้อยละ 6.4 ส่งผลให้จีดีพีปี 2563 ติดลบร้อยละ 6.1 ซึ่งเป็นอัตราการเติบโตที่ย่ำแย่ที่สุดในรอบ 22 ปีนับตั้งแต่เกิดวิกฤตต้มยำกุ้งในปี 2540 ซึ่งผลกระทบจาก COVID-19 ทำให้กระทบต่อภาคการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจในประเทศ ส่วนจีดีพีปี 2564 คาดว่าจะขยายตัวได้ที่ระดับร้อยละ 2.5-3.5 หรือเฉลี่ยที่ร้อยละ 3 ลดลงจากคาดการณ์เดิมที่ประเมินไว้ในระดับ 3.5-4.5 ประเด็นดังกล่าวสะท้อนความชัดเจนว่าเศรษฐกิจไทยยังไม่กลับเข้าสู่ศักยภาพเต็มที่ และยังมีปัญหาความเสี่ยงอยู่มาก รวมถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นในไตรมาส 1 ปีนี้ด้วย ซึ่งปัจจัยที่สนับสนุนให้เศรษฐกิจไทยขยายตัวในระดับร้อยละ

Read More

ใครบ้าง ติดโควิด-19 เสี่ยงถึงตาย

ขณะที่คนไทยและคนทั่วโลกยังต้องเผชิญกับวิกฤตโรคโควิด-19 ท่ามกลางความคาดหวังเรื่องวัคซีนที่จะช่วยให้สถานการณ์การระบาดจบลงโดยเร็ว แต่รู้หรือไม่ ยังมีภัยด้านสุขภาพที่รุนแรงและเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตในลำดับต้นๆ ของคนไทย นั่นคือโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง หรือ NCDs (Non-Communicable Diseases) ซึ่งเป็นโรคที่เกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตหรือไลฟ์สไตล์ เช่น การรับประทานอาหารรสจัด ไขมันสูง การสูบบุหรี่ ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์ พักผ่อนน้อย มีความเครียดสูง ฯลฯ จากข้อมูลของหนังสือ “ThaiHealth WATCH 2021 จับตาทิศทางสุขภาพคนไทย ปี 2564” โดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ได้รายงานเกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรค NCDs ซึ่งเป็นภัยเงียบที่ทำให้คนไทยเสียชีวิตเพิ่มขึ้นในแต่ละปี โดยเฉพาะในผู้ที่เป็นโรคอ้วน พบว่าเป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรคอุบัติใหม่ และเสี่ยงที่จะมีอาการรุนแรงมากกว่าผู้ป่วยทั่วไป ซึ่งรวมถึงโรคโควิด-19 ที่พบว่ามีความเสี่ยงอาการรุนแรงเพิ่มขึ้นถึง 7 เท่า ที่น่ากังวลคือ ผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงจาก 6 โรคกลุ่ม NCDs ได้แก่ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดสมอง โรคหัวใจ โรคอุดกั้นเรื้อรัง และโรคไตวายเรื้อรัง หากติดเชื้อโควิด-19 จะมีความเสี่ยงเกิดอาการรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต

Read More

หวังพึ่งปาฏิหาริย์วัคซีน ปลุกอสังหาริมทรัพย์ฟื้น

การมาถึงของวัคซีนป้องกัน COVID-19 ดูกำลังจะเป็นประหนึ่งยาวิเศษและแก้วสารพัดนึกที่ปลุกให้ภาคธุรกิจอุตสาหกรรมหลากหลายกลับมามีความหวังหลังจากที่ตกอยู่ในภาวะซบเซาต่อเนื่องมานานกว่า 1 ปีนับตั้งแต่เริ่มมีการแพร่ระบาดของโรค แม้ว่าการนำเข้าวัคซีนดังกล่าวจะทำให้ไทยเป็นประเทศแรกในกลุ่มอาเซียนที่มีการนำเข้าวัคซีนเชิงพาณิชย์จากจีน หลังจากที่ประเทศสมาชิกอื่นๆ ได้รับวัคซีนด้วยวิธีอื่นๆ ไปก่อนหน้าแล้วก็ตาม ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์นับเป็นอีกธุรกิจหนึ่งที่มี Multiplier Effect สูงมาก ไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะการซื้อบ้าน ซื้อคอนโด ซื้อทาวน์เฮาส์เท่านั้น หากแต่ยังเกี่ยวเนื่องกับธุรกิจสี ปูนซีเมนต์ เหล็ก เฟอร์นิเจอร์ เครื่องปรับอากาศ หรือเครื่องครัว ซึ่งการฟื้นตัวของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์อาจจะช่วยให้เกิดความต่อเนื่องทางธุรกิจและน่าจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจไปกว้างขวางยิ่งขึ้น หากแต่ในช่วงที่ผ่านมา ภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เป็นอีกธุรกิจหนึ่งที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 โดยดัชนีราคาที่อยู่อาศัยกรุงเทพฯ ลดลงร้อยละ 2 มาอยู่ที่ 197 จุด ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 14 ไตรมาส ขณะที่แนวโน้มราคาและอุปทาน มีทิศทางลดลงต่อเนื่องในช่วงครึ่งปีแรก โดยกำลังซื้อจากผู้บริโภคต่างชาติที่หายไปนาน รวมถึงความไม่แน่นอนทางการเมือง อาจทำให้ตลาดอสังหาริมทรัพย์ ฟื้นตัวช้าลงจากที่คาดไว้ช่วงครึ่งหลังปีนี้ โดยล่าสุด พบว่า COVID-19 ระลอกใหม่ส่งผลให้แนวโน้มราคาอสังหาริมทรัพย์ลดลงต่อเนื่องจากไตรมาส 4 ปีที่แล้ว และจะไม่ปรับตัวเพิ่มขึ้นในช่วงครึ่งปีแรกนี้ ด้านดัชนีอุปทานก็มีแนวโน้มลดลงเช่นกัน เนื่องจากผู้ประกอบการหันมาเร่งระบายสต็อกคงค้างและชะลอการเปิดโครงการใหม่ ขณะที่ความต้องการซื้อก็ถูกดูดซับไปจำนวนมากจากสงครามราคาที่รุนแรงช่วงที่ผ่านมา แม้ว่าสงครามราคาอาจไม่ใช่ปัจจัยสำคัญที่ช่วยกระตุ้นการฟื้นตัว หากแต่มาตรการเยียวยาจากภาครัฐอย่างตรงจุดและความชัดเจนของการฉีดวัคซีนจะเป็นตัวแปรสำคัญที่เร่งการฟื้นตัว ส่วนมาตรการลดภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง

Read More

รีเทลคึกสู้โควิด เพลินนารี่อัพจุดขาย แจส กรีนวิลเลจ ลุยเฟสแรก

ธุรกิจค้าปลีกยุคโควิดอยู่ในช่วงแข่งขันสร้างแรงดึงดูดกำลังซื้อ โดยเฉพาะกลุ่มคอมมูนิตี้มอลล์ ทุกค่ายรีบเปลี่ยนวิกฤตเป็นโอกาสในจังหวะที่ผู้คนส่วนใหญ่ลดพฤติกรรมจากการเดินศูนย์การค้าขนาดใหญ่ หันมาใช้บริการห้างขนาดกลางขนาดเล็ก เพื่อลดความเสี่ยงจากการแพร่ระบาดที่ยังมีผู้ติดเชื้อใหม่และคลัสเตอร์ใหม่ๆ ตลอดเวลา แน่นอนว่า ความเป็นคอมมูนิตี้มอลล์เปิดโล่ง ลักษณะ Open Air และจำนวนผู้ใช้บริการไม่มาก กลายเป็นจุดขายใหม่ในยุค New Normal บางโครงการประกาศปรับเพิ่มพื้นที่ Free Space และพื้นที่สีเขียวรับมาตรการ Social Distancing มากขึ้น ขณะที่บางโครงการปรับภาพลักษณ์ พลิกจุดขายขยายฐานลูกค้ากว้างขึ้นด้วย อย่างล่าสุด กองทรัสต์เพื่อการลงทุนในสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์อัลไล (ALLY Leasehold Real Estate Investment Trust) ของบริษัท เค.อี. รีท แมเนจเมนท์ จำกัด ในเครือ เค.อี. กรุ๊ป ตัดสินใจปรับ Positioning โครงการ เพลินนารี่ มอลล์ วัชรพล ช้อปปิ้งมอลล์ จากเดิมเน้นภาพลักษณ์ช้อปปิ้งมอลล์สไตล์สวนสนุก คอนเซ็ปต์ Amusement Experience Shopping

Read More