Home > วิกฤตเศรษฐกิจ

เงินเฟ้ออ่วม โลกเผชิญวิกฤตเศรษฐกิจ ส่องโอกาสที่ไทยคว้าได้

ภายหลังจากที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ หรือ Fed ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 75% สู่ระดับ 1.5-1.75% เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน ที่ผ่านมา นับว่าเป็นการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่ปี 1994 หรือในรอบ 28 ปี ซึ่งรัฐบาลสหรัฐฯ มีเป้าหมายที่จะสกัดภาวะเงินเฟ้อที่กำลังทวีความรุนแรงอยู่ในขณะนี้ ในห้วงยามนี้ทุกประเทศกำลังประสบกับสภาวะเงินเฟ้อ ไม่เว้นแม้แต่ประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจอย่างสหรัฐฯ โดยสถานการณ์เงินเฟ้อในเดือนพฤษภาคมของสหรัฐฯ ยังคงเร่งตัวต่อเนื่องที่ 8.6% และยังไม่มีทีท่าว่าจะชะลอตัว ประกอบกับมีการคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อระยะยาวของภาคครัวเรือนที่จัดทำโดย University of Michigan ยังปรับสูงขึ้นเป็น 3.3% ในเดือนมิถุนายน จึงทำให้ Fed กังวลว่าจะไม่สามารถควบคุมคาดการณ์เงินเฟ้อได้ และจะทำให้ปัญหาลุกลามมากขึ้น นอกจากนี้ คาดการณ์ดอกเบี้ยนโยบายของ Fed ยังบ่งชี้ถึงการปรับขึ้นดอกเบี้ยอีก 1.75% ในปีนี้ โดยคาดว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายสหรัฐฯ จะปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 3.4% ในสิ้นปีนี้ และ 3.8% ในสิ้นปีหน้า ก่อนปรับลดลงสู่ 3.4% ในปี 2024 ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจธนาคารไทยพาณิชย์

Read More

เศรษฐกิจไทยยังเปราะบาง เร่งรัฐวางมาตรการฉุกเฉิน

สถานการณ์ทางเศรษฐกิจไทยในยุคหลังการแพร่ระบาดของ COVID-19 ที่ดำเนินต่อเนื่องมายาวนานกว่า 1 ปียังเป็นไปท่ามกลางความเปราะบางและไร้สัญญาณบวกที่จะพลิกฟื้นกลับมาโดยง่าย ขณะเดียวกันรายได้ครัวเรือนที่ปรับลดลง โดยเฉพาะกลุ่มครัวเรือนรายได้น้อยที่ยังไม่ฟื้นตัวจากการระบาดรอบก่อนและได้รับผลกระทบเพิ่มเติม ทำให้ต้องติดตามคุณภาพหนี้ในภาคครัวเรือนที่อาจด้อยลงในระยะต่อไป ผลกระทบจากการแพร่ระบาด COVID-19 ทำให้ภาคธุรกิจมีรายได้ลดลงและมีฐานะการเงินเปราะบางมากขึ้น โดยเฉพาะธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยวและบริการที่ยังไม่ฟื้นตัวจากการระบาดของโรค ขณะที่ธุรกิจ SMEs ประสบปัญหาความเสี่ยงด้านเครดิตที่ปรับสูงขึ้น ส่งผลให้สถาบันการเงินปล่อยสินเชื่อให้กลุ่มธุรกิจดังกล่าวน้อยลง และอาจทำให้ธุรกิจมีปัญหาขาดสภาพคล่องมากขึ้น บางธุรกิจมีโอกาสผิดนัดชำระหนี้และต้องยุติกิจการไปโดยปริยาย รายงานตัวเลขจีดีพีไตรมาส 4 ปี 2563 ของไทยยังติดลบเพิ่มอีกร้อยละ 4.2 จากไตรมาส 3 ที่ติดลบในระดับร้อยละ 6.4 ส่งผลให้จีดีพีปี 2563 ติดลบร้อยละ 6.1 ซึ่งเป็นอัตราการเติบโตที่ย่ำแย่ที่สุดในรอบ 22 ปีนับตั้งแต่เกิดวิกฤตต้มยำกุ้งในปี 2540 ซึ่งผลกระทบจาก COVID-19 ทำให้กระทบต่อภาคการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจในประเทศ ส่วนจีดีพีปี 2564 คาดว่าจะขยายตัวได้ที่ระดับร้อยละ 2.5-3.5 หรือเฉลี่ยที่ร้อยละ 3 ลดลงจากคาดการณ์เดิมที่ประเมินไว้ในระดับ 3.5-4.5 ประเด็นดังกล่าวสะท้อนความชัดเจนว่าเศรษฐกิจไทยยังไม่กลับเข้าสู่ศักยภาพเต็มที่ และยังมีปัญหาความเสี่ยงอยู่มาก รวมถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นในไตรมาส 1 ปีนี้ด้วย ซึ่งปัจจัยที่สนับสนุนให้เศรษฐกิจไทยขยายตัวในระดับร้อยละ

Read More

สึนามิเศรษฐกิจ วิกฤตล้มละลายลามหนัก

นับถอยหลังโฉมหน้ารัฐบาล “ประยุทธ์ 2/2” ทุกฝ่ายต่างจับจ้องทีมเศรษฐกิจชุดใหม่ เพื่อเข้ามาแก้ปัญหาผลพวงจากพิษโควิด-19 โดยเฉพาะรอบนี้หนักหนาสาหัสยิ่งกว่าวิกฤต “ต้มยำกุ้ง” และอาจลุกลามกลายเป็น “สึนามิเศรษฐกิจ” ลูกใหญ่ซัดกระหน่ำทั่วทั้งโลก สิ่งที่สะท้อนให้เห็นชัดเจน ก็คือ สถานการณ์การล้มละลายต่อเนื่องเหมือนโดมิโน ตั้งแต่ระดับยักษ์ใหญ่จนถึงกลุ่มธุรกิจขนาดกลางขนาดเล็ก ในต่างประเทศ กลุ่มออยเลอร์เฮอร์เมส (Euler Hermes) บริษัทประกันสินเชื่อที่มีสำนักงานใหญ่ในกรุงปารีสของฝรั่งเศส เผยแพร่ผลการศึกษาล่าสุดว่า การระบาดของโรคโควิด-19 สร้างระเบิดเวลาการล้มละลายและคาดการณ์จำนวนบริษัทล้มละลายทั่วโลกจะเพิ่มขึ้น 35% ระหว่างปี 2562-2564 และราวครึ่งหนึ่งของประเทศทั่วโลกจะมีบริษัทล้มละลายสูงสุดเป็นสถิติใหม่นับตั้งแต่วิกฤตการเงินโลกปี 2552 ทั้งนี้ สหรัฐอเมริกาจะมีบริษัทล้มละลายเพิ่มขึ้นมากที่สุด คาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้น 57% ในปี 2564 เทียบกับปี 2562 ขณะที่ประเทศอื่นๆ เช่น บราซิลจะมีบริษัทล้มละลายเพิ่มขึ้น 45% สหราชอาณาจักรเพิ่มขึ้น 43% สเปนเพิ่มขึ้น 41% ส่วนจีนอยู่ที่ 20% ผลวิจัยย้ำด้วยว่า ยิ่งบริษัทยื่นล้มละลายมีขนาดใหญ่เท่าไร ความเสี่ยงที่จะเกิด “Domino Effect” ยิ่งสูงขึ้น โดยมี 2 ภาวการณ์ที่จะเร่งการล้มละลายสูงขึ้น

Read More

โควิด-19 พิษร้ายซึมลึก เศรษฐกิจไทยอ่วมถึงฐานราก

นับตั้งแต่ไวรัสโควิด-19 ได้อุบัติขึ้นในช่วงปลายปี 2562 เป็นต้นมา มนุษยชาติได้ตระหนักแล้วว่า พิษสงของเชื้อร้ายชนิดนี้ไม่ใช่แค่มีความสามารถในการทำลายอวัยวะภายในที่เป็นส่วนสำคัญในการทำงานของร่างกายมนุษย์เท่านั้น แต่ทว่า เชื้อไวรัสชนิดนี้กลับแทรกซึมเข้าไปทำลายได้ถึงฐานรากทางเศรษฐกิจของประเทศที่มีการแพร่ระบาดของไวรัส แม้ว่าประเทศไทยและคนไทยจะเคยผ่านวิกฤตทางเศรษฐกิจมานักต่อนัก ทั้งวิกฤตเศรษฐกิจครั้งแรกของไทย ที่เกิดจากการเปิดตลาดหุ้นครั้งแรกในปี 2518 จากนั้นตลาดหุ้นเริ่มพังทลายในปี 2521 ทำให้ค่าเงินบาทเสียหายด้วย ทำให้เงินไหลออกจากระบบ ทำให้สภาพคล่องเสียหาย ต้องลดค่าเงินบาท ทางการต้องเข้าควบกิจการ 25 ไฟแนนซ์ และเครดิตฟองซิเอร์ 25 แห่ง ที่รู้จักกันในชื่อโครงการ 4 เมษายน 2527 เอกชนล้มลง เกิดหนี้เสียจำนวนมาก คนตกงานมาก เงินเฟ้อสูงและต้องเข้ารับความช่วยเหลือทางการเงินจาก IMF เป็นครั้งแรก และวิกฤตเศรษฐกิจครั้งที่ 2 ของประเทศไทย เกิดจากการนำระบบ Maintenance margin และ Force sell มาใช้ในตลาดหุ้นในเดือนตุลาคม 2536 ทำให้ Hedge Fund ลากตลาดหุ้นไทยขึ้นไปทิ้งในต้นปี 2537 ที่ 1,750 จุด

Read More

October Red Alert เศรษฐกิจโลกส่อวิกฤตรอบใหม่

แม้สังคมไทยกำลังจะเดินหน้าสู่สมรภูมิการเลือกตั้งที่ทำให้พื้นที่ข่าวจำนวนหนึ่งถูกจัดสรรให้รายงานความเคลื่อนไหวและเป็นไปทางการเมือง ที่ประกอบส่วนด้วยท่วงทำนองของนักการเมืองที่ต่างพร้อมกระโจนเข้าสู่สนามการแข่งขันทั้งอย่างเปิดเผย โดยมีบางส่วนที่ยังสงวนท่าที ขณะเดียวกันวิกฤตจากภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นในภูมิภาคและประเทศเพื่อนบ้านโดยเฉพาะที่อินโดนีเซียก็ดูจะเป็นกรณีที่น่าสนใจติดตามไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน และทำให้สังคมไทยต้องหันมาตั้งคำถามถึงขีดความสามารถในการบริหารจัดการความเสี่ยงและบรรเทาสาธารณภัยที่อาจเกิดขึ้นของหน่วยราชการและกลไกแวดล้อมว่ามีอยู่ในระดับใด มีกุญแจที่จะไขไปสู่การสร้างความมั่นใจให้กับสังคมได้มากน้อยเพียงใดหรือไม่ หากแต่ในภาพรวมระดับนานาชาติ ความเป็นไปของเศรษฐกิจมหภาคกำลังดำเนินไปภายใต้ภาวะสุ่มเสี่ยงจากผลกระทบของสงครามการค้าที่เริ่มขึ้นจากข้อขัดแย้งระหว่างสหรัฐอเมริกาและจีน ซึ่งทำให้การลงทุนและกระบวนการผลิตที่จะหนุนนำการเติบโตทางเศรษฐกิจโลก ต้องเผชิญกับความไม่แน่นอนมากขึ้นอีกด้วย และอาจเป็นปัจจัยกดทับให้ความมุ่งหมายที่จะเร่งฟื้นคืนเศรษฐกิจไทยให้กลับมาเจริญรุดหน้าเป็นไปได้อย่างยากลำบากขึ้น กรณีของสงครามการค้าที่กำลังเกิดขึ้นดังกล่าวส่งผลให้กองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือไอเอ็มเอฟ ต้องออกมาร้องเตือนถึงภาวะเศรษฐกิจโลกที่มีแนวโน้มจะชะงักงันและซบเซาลงในช่วงเวลานับจากนี้ และอาจทำให้เศรษฐกิจโลกต้องเข้าสู่ภาวะวิกฤตอีกครั้ง หลังจากที่โลกต้องเผชิญกับวิกฤต subprime ในปี 2008 หรือเมื่อ 10 ปีที่ผ่านมา สิ่งที่น่าสนใจติดตามจากคำเตือนของไอเอ็มเอฟในครั้งนี้ อยู่ที่การระบุว่า นอกจากการเติบโตของเศรษฐกิจโลกที่ชะงักงันแล้ว ยังระบุว่าหากวิกฤตค่าเงินในตลาดเกิดใหม่ยืดเยื้อและลุกลามต่อไป อาจทำให้ต้องเผชิญกับภาวะกระแสเงินทุนไหลออกจากตลาดเกิดใหม่มากถึง 1 แสนล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็น 3.3 ล้านล้านบาท ซึ่งอยู่ในระดับเดียวกับกระแสเงินไหลออกในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจโลกเมื่อ 10 ปีก่อน วิกฤตเศรษฐกิจที่กำลังส่อเค้าจะถาโถมเข้าใส่เศรษฐกิจโลกครั้งใหม่นี้ ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะจากผลของสงครามการค้าแต่เพียงลำพังเท่านั้น หากยังประกอบส่วนด้วยการปรับอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มสูงขึ้น และค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ ที่แข็งค่าขึ้นอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเปรียบเทียบกับค่าเงินหลายสกุล ซึ่งส่งผลกระทบให้เกิดภาระหนี้ต่างประเทศของชาติในตลาดเกิดใหม่อย่างหนักหน่วง ข้อมูลจากไอเอ็มเอฟ ได้ชี้ให้เห็นด้วยว่า ในช่วงสองสามปีที่ผ่านมา พบว่ากระแสเงินทุนไหลออกจากประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่แล้ว มากถึง 240,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งทำให้ประเทศส่วนใหญ่ดำเนินการกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจได้ยากลำบากมากขึ้น เพราะสถานการณ์เศรษฐกิจโลกเริ่มเปลี่ยนแปลง และมีปัจจัยเสี่ยงที่ปรากฏเค้าลางมาตั้งแต่ต้นปีกำลังเริ่มส่งผลกระทบต่อภาวะการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างหนักหน่วงและแท้จริงยิ่งขึ้น ปัจจัยเสี่ยงจากนโยบายการค้าของสหรัฐอเมริกา ได้รับการประเมินว่า นอกจากจะมีแนวโน้มส่งผลกระทบด้านลบต่อเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาเองแล้ว ท่าทีดังกล่าวยังบ่อนทำลายระบบเศรษฐกิจของโลกอย่างใหญ่หลวง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในมิติของความมั่นใจของนักลงทุน ซึ่งจะส่งผลสร้างความเสียหายให้เกิดเป็นความสูญเสียที่มีผลกระทบกว้างขวางยิ่งขึ้นไปอีก ข้อเท็จจริงที่สอดรับกับข้อสังเกตดังกล่าว

Read More