Home > Retail

ไอคอนสยามต่อจิ๊กซอว์ชิ้นสำคัญ เปิดตัว “ICS” เติมภาพเมืองใหม่ย่านฝั่งธนฯ

หลังจากเปิดตัวครั้งแรกในเดือนพฤศจิกายน 2561 ในฐานะ Global Destination และแลนด์มาร์กแห่งใหม่ย่านฝั่งธนบุรี ด้วยเม็ดเงินลงทุนกว่า 55,000 ล้านบาท ล่าสุดเมกะโปรเจกต์อย่าง “ไอคอนสยาม” (ICONSIAM) กำลังต่ออีกหนึ่งจิ๊กซอว์ชิ้นสำคัญ ด้วยการเปิดตัว “ICS” มิกซ์ยูส ไลฟ์สไตล์ ทาวน์ แห่งใหม่ เติมภาพการสร้างเมืองย่านฝั่งธนบุรีให้ก้าวไปอีกขั้น ช่วงระยะเวลาที่ผ่านมาพื้นที่เมืองทางฝั่งธนบุรีมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ทั้งการเกิดขึ้นของรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน สายสีม่วง และล่าสุดกับสายสีทอง โครงการอยู่อาศัยทั้งแนวราบและคอนโดมิเนียมที่ผุดขึ้นหลักหมื่นยูนิต รวมถึงห้างสรรพสินค้าและแหล่งช้อปปิ้งที่เกิดขึ้นมาเพื่อรองรับกำลังซื้อที่จะเพิ่มขึ้นจากการขยายตัวของเมือง 9 พฤศจิกายน 2561 “ไอคอนสยาม” อภิมหาโครงการที่เกิดจากการร่วมทุนของ 3 พาร์ตเนอร์ยักษ์ใหญ่ อย่าง สยามพิวรรธน์ เครือเจริญโภคภัณฑ์ และบริษัท แมกโนเลีย ควอลิตี้ ดีเวล็อปเม้นต์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด เปิดตัวอย่างเป็นทางการในฐานะแลนด์มาร์กแห่งใหม่ย่านฝั่งธนบุรี ที่สร้างสีสันให้กับวงการค้าปลีกและกลายเป็นทอล์กออฟเดอะทาวน์ที่ใครๆ ต้องกล่าวถึง ไอคอนสยาม เป็นโครงการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชยกรรมแบบผสมบนพื้นที่ 50 ไร่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณถนนเจริญนคร ประกอบด้วย ไอคอนสยาม (Main

Read More

เปิดตัว ‘BALM’ รีเทลใน ‘ศูนย์ฯ สิริกิติ์’ ชูคอนเซ็ปต์ แอคทีฟ ไลฟ์สไตล์

เอ็น.ซี.ซี.ฯ เปิดตัว ‘BALM’ รีเทลใน ‘ศูนย์ฯ สิริกิติ์’ โฉมใหม่ ชูคอนเซ็ปต์ แอคทีฟ ไลฟ์สไตล์ เต็มรูปแบบแห่งแรกในกรุงเทพฯ เจาะกลุ่มคนเมืองที่รักสปอร์ตและสุขภาพ บริษัท เอ็น.ซี.ซี. แมนเนจเม้นท์ แอนด์ ดิเวลลอปเม้นท์ จำกัด หรือ เอ็น.ซี.ซี.ฯ สร้างตำนานหน้าใหม่ให้กับ “ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์” (Queen Sirikit National Convention Center หรือ QSNCC) สู่การเป็น “The Ultimate Inspiring World Class Event Platform for All” ที่ครอบคลุมการจัดงานทุกรูปแบบอย่าง ไร้ขีดจำกัด และตอกย้ำการเป็นมากกว่า “ศูนย์การประชุมฯ” ด้วยการพัฒนาพื้นที่รีเทลเต็มรูปแบบ ภายใต้คอนเซ็ปต์ “แอคทีฟ ไลฟ์สไตล์ มอลล์” (Active Lifestyle Mall)

Read More

ค้าปลีกอ่วมซ้ำแสนล้าน จี้อัปเกรด ช้อปดีมีคืน-คนละครึ่งเฟส 3

โควิดระลอก 3 เหมือนฝันร้ายของธุรกิจค้าปลีกที่เกี่ยวพันโดยตรงกับกำลังซื้อของผู้คน และแนวโน้มจะหนักหนาสาหัสกว่า 2 ระลอกแรก ที่นับเม็ดเงินหดหายตลอดทั้งปี 2563 มากกว่า 5 แสนล้านบาท ทำลายบรรยากาศการจับจ่ายช่วงเทศกาลวันหยุดยาว และยังต้องลุ้นแผนการควบคุมการระบาดช่วง 2 เดือนนับจากนี้ ที่สำคัญ ประเทศไทยต้องกลับมาทบทวนตัวเลขการเติบโตทุกด้าน ซึ่งข้อมูลเบื้องต้นจากศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ระบุว่า ผลจากการแพร่ระบาดโควิด-19 กรณีคลัสเตอร์สถานบันเทิง และมีผู้ติดเชื้อต่อวันสูงขึ้นมาอีกครั้ง ทำให้กิจกรรมต่างๆ หยุดชะงัก คนระมัดระวังการใช้จ่าย คิดเป็นความเสียหายต่อเดือน 3-5 หมื่นล้านบาท และหากดูสถิติย้อนหลังเมื่อเกิดการแพร่ระบาดรอบใหม่จะใช้เวลาควบคุมและเรียกความเชื่อมั่นให้การจับจ่ายกลับมาอีกครั้งจะใช้เวลาอย่างน้อย 1-2 เดือน เท่ากับเงินใช้จ่ายจะหายไปจากระบบ 6 หมื่นล้านบาทถึง 1 แสนล้านบาท และกระทบตัวเลขการเติบโตทางเศรษฐกิจ (จีดีพี) ไม่ต่ำกว่า 0.3-0.5% นี่ยังไม่ประเมินในกรณีเลวร้าย การระบาดวงกว้างหยุดไม่อยู่จนถึงขั้นล็อกดาวน์ในบางพื้นที่ เศรษฐกิจปีนี้อาจเติบโตเพียง 2.0-2.5% ดังนั้น นอกจากการควบคุมการแพร่ระบาดและเร่งกระจายฉีดวัคซีนเร็วที่สุด มากที่สุด เพื่อเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวแล้ว รัฐต้องเร่งออกมาตรการลดค่าครองชีพเร็วขึ้นภายในปลายเดือนเมษายน จากเดิมจะเริ่มในเดือนมิถุนายน ทั้งโครงการเราชนะและคนละครึ่งเฟส 3

Read More

รีเทลคึกสู้โควิด เพลินนารี่อัพจุดขาย แจส กรีนวิลเลจ ลุยเฟสแรก

ธุรกิจค้าปลีกยุคโควิดอยู่ในช่วงแข่งขันสร้างแรงดึงดูดกำลังซื้อ โดยเฉพาะกลุ่มคอมมูนิตี้มอลล์ ทุกค่ายรีบเปลี่ยนวิกฤตเป็นโอกาสในจังหวะที่ผู้คนส่วนใหญ่ลดพฤติกรรมจากการเดินศูนย์การค้าขนาดใหญ่ หันมาใช้บริการห้างขนาดกลางขนาดเล็ก เพื่อลดความเสี่ยงจากการแพร่ระบาดที่ยังมีผู้ติดเชื้อใหม่และคลัสเตอร์ใหม่ๆ ตลอดเวลา แน่นอนว่า ความเป็นคอมมูนิตี้มอลล์เปิดโล่ง ลักษณะ Open Air และจำนวนผู้ใช้บริการไม่มาก กลายเป็นจุดขายใหม่ในยุค New Normal บางโครงการประกาศปรับเพิ่มพื้นที่ Free Space และพื้นที่สีเขียวรับมาตรการ Social Distancing มากขึ้น ขณะที่บางโครงการปรับภาพลักษณ์ พลิกจุดขายขยายฐานลูกค้ากว้างขึ้นด้วย อย่างล่าสุด กองทรัสต์เพื่อการลงทุนในสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์อัลไล (ALLY Leasehold Real Estate Investment Trust) ของบริษัท เค.อี. รีท แมเนจเมนท์ จำกัด ในเครือ เค.อี. กรุ๊ป ตัดสินใจปรับ Positioning โครงการ เพลินนารี่ มอลล์ วัชรพล ช้อปปิ้งมอลล์ จากเดิมเน้นภาพลักษณ์ช้อปปิ้งมอลล์สไตล์สวนสนุก คอนเซ็ปต์ Amusement Experience Shopping

Read More

COVID-19 ถล่มค้าปลีกไทย วอนร้องรัฐเร่งช่วยเหลือด่วน

พิษจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ได้ส่งผลกระทบกระเทือนไปทุกแวดวงธุรกิจอุตสาหกรรม โดยล่าสุดสมาคมค้าปลีกไทยเป็นอีกองค์กรหนึ่งที่ได้ออกมาเปิดเผยถึงตัวเลขผลกระทบที่ผู้ประกอบการค้าปลีกได้รับจากผลของการแพร่ระบาดและมาตรการป้องกันควบคุมโรคของรัฐในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งนับตั้งแต่ปี 2563 ที่ผ่านมา การแพร่ระบาดของ COVID-19 ได้ส่งผลให้ธุรกิจค้าปลีกไทยสูญเสียรายได้ไปมากกว่า 5 แสนล้านบาท จากผลของกิจกรรมทางเศรษฐกิจสังคมที่ชะงักตัวลง ความสำคัญและเป็นไปของธุรกิจค้าปลีกไทย ซึ่งถือเป็นกลไกและฐานรากสำคัญของระบบเศรษฐกิจไทย เพราะเป็นกลไกที่ครอบคลุมและเกี่ยวเนื่องกับกระบวนการผลิตการค้าทั้งระบบตั้งแต่ผู้ประกอบการต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ และมีผู้ประกอบการในห่วงโซ่ค้าปลีกรวมในระบบมากกว่า 1.3 ล้านราย และมีการสร้างงานโดยตรงมากกว่า 6.2 ล้านราย และเมื่อเกิดสถานการณ์การแพร่ระบาด COVID-19 ทำให้ธุรกิจค้าปลีกได้รับผลกระทบ และทำให้ดัชนีค้าปลีกของสมาคมค้าปลีกไทยปี 2563 ปรับตัวลดลงจากร้อยละ 2.8 ในปี 2562 มาอยู่ที่ระดับติดลบที่ร้อยละ -12 ซึ่งนับเป็นครั้งแรกที่ดัชนีติดลบด้วยตัวเลข 2 หลัก ความชะลอตัวลงของกิจกรรมทางเศรษฐกิจจากผลของมาตรการควบคุมโรคของรัฐยังส่งผลต่อเนื่องมาสู่การคาดการณ์ตัวเลขในไตรมาสที่ 1/2564 หลังจากที่เกิดการระบาดระลอกใหม่ในช่วงปลายปีที่ผ่านมา ซึ่งมีความหนักหน่วงและรุนแรงมากกว่าการแพร่ระบาดระลอกแรกและยังไม่มีแนวโน้มจะกลับมาสู่ภาวะปกติได้ในเร็ววัน โดยคาดว่าดัชนีค้าปลีกไทยในไตรมาส 1/2564 จะยังหดตัวติดลบที่ระดับร้อยละ 7-8 ผลจากภาวะชะลอตัวดังกล่าวนี้ได้ส่งให้เกิดผลเสียหายในวงกว้างอย่างมาก โดยนอกจากจะเกิดอัตราการว่างงานที่เพิ่มขึ้น รายได้ลดลง และมีหนี้สาธารณะเพิ่มขึ้น ขณะที่ผู้ประกอบการ SMEs จำนวนมากทยอยปิดตัวลง

Read More

รีวิวบันทึกเหตุการณ์ 2563 ปีโควิด-19 เขย่าโลก สยามพิวรรธน์สร้างปรากฏการณ์ นำโลกรีเทลสู่โมเดลใหม่รับ Now Normal

วิกฤติการณ์ Covid-19 ที่สร้างผลกระทบที่ยิ่งใหญ่ไปทั่วโลกและส่งผลกับทุกมิติในทุกสาขาอาชีพ เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ไม่เหมือนเดืมอีกต่อไปสำหรับในธุรกิจค้าปลีกและศูนย์การค้าในประเทศไทย ผู้ที่อยู่รอดคือผู้ที่สามารถปรับตัวได้รวดเร็วพร้อมรับชีวิตวิถีใหม่ของลูก้าที่เปลี่ยนไป บริษัท สยามพิวรรธน์ จำกัด เจ้าของและผู้บริหาร OneSiam โกลบอลเดสติเนชั่นซึ่งผนึกกำลังของศูนย์การค้าสยามพารากอน สยามเซ็นเตอร์ สยามดิสคัฟเวอรี่ และเป็นหนึ่งในพันธมิตรเจ้าของโครงการไอคอนสยาม อภิมหาโครงการเมืองริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา เป็นองค์กรแรกๆ ที่สามารถปรับตัวและรับมือกับสถานการณ์โควิด -19 ได้เป็นอย่างดี และยังได้สร้างปรากฏการณ์ให้วงการค้าปลีกด้วยการนำเสนอธุรกิจรีลเทลโมเดลใหม่ล่าสุดที่ตอบสนองวิถีการใช้ชีวิตในรูปแบบใหม่ก่อนใคร จากวิกฤติการณ์โควิด-19 ที่สร้างผลกระทบไปทั่วโลกในทุกวงการ สยามพิวรรธน์ นำโลกธุรกิจรีเทลสู่โมเดลใหม่ ตอกย้ำวิสัยทัศน์การเป็น ‘ผู้นำความคิดสร้างสรรค์ที่ล้ำสมัย’ เปิดวิสัยทัศน์มิติใหม่ของศูนย์การค้าแห่งอนาคตที่จะสร้างความสุขและรอยยิ้มให้แก่ผู้คน ตอบสนองวิถีการใช้ชีวิตวิถีใหม่ของผู้บริโภคในแบบ Now Normal Innovative Lifestyle ด้วยการสร้าง Retail Ecosystem ชูกลยุทธ์ Collaboration to Win โดยการร่วมกันรังสรรค์ Co-creation และ Creating Shared Values ซึ่งถอดรหัสได้เป็นมิติต่างๆ ดังนี้ มาตรการสุขอนามัยและความปลอดภัยด้วยนวัตกรรมสร้างสรรค์ (Innovative Health & Safety) ศูนย์การค้าคือสถานที่มอบความสุขให้แก่ผู้คน ศูนย์การค้ายุคใหม่ต้องสร้างความเชื่อมั่นและไว้วางใจให้ลูกค้ารู้สึกปลอดภัยและได้รับการดูแลเอาใจใส่ตลอดการใช้เวลาภายในศูนย์ฯ

Read More

สยามพิวรรธน์สร้างปรากฏการณ์นำโลกธุรกิจรีเทลสู่โมเดลใหม่ พร้อมรับวิถีชีวิต New Normal ก่อนใคร

บริษัท สยามพิวรรธน์ จำกัด เจ้าของและผู้บริหาร OneSiam Global Destinations ซึ่งเป็นการผนึกกำลังของศูนย์การค้าสยามพารากอน สยามเซ็นเตอร์ สยามดิสคัฟเวอรี่ และเป็นหนึ่งในพันธมิตรเจ้าของโครงการไอคอนสยาม อภิมหาโครงการเมืองริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา สร้างปรากฏการณ์ให้วงการค้าปลีกอีกครั้ง ด้วยการปฏิวัติโลกศูนย์การค้า เปลี่ยนผ่าน Covid-19 ก้าวสู่รีเทลโมเดลล่าสุดที่ตอบสนองวิถีการใช้ชีวิตในรูปแบบใหม่ก่อนใคร นางชฎาทิพ จูตระกูล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มบริษัท สยามพิวรรธน์ จำกัด กล่าวว่า “เป็นที่ทราบกันดีว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ได้ส่งผลกระทบต่อคนทั่วโลก นับจากนี้วิถีการดำรงชีวิตของทุกๆ คนจะเปลี่ยนแปลงไปในทุกด้าน สยามพิวรรธน์ ซึ่งมีวิสัยทัศน์การเป็น ‘ผู้นำความคิดสร้างสรรค์ที่ล้ำสมัย’ และเป็นผู้นำแห่งการนำเสนอสิ่งแปลกใหม่ให้ชีวิต หรือ The Icon of Innovative Lifestyle ถือเป็นโอกาสอันดียิ่งที่จะนำร่องโลกธุรกิจรีเทลสู่โมเดลใหม่ที่ต้องตอบสนองความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างมากของผู้บริโภค ซึ่งนอกเหนือจากจะสร้างสูตรสำเร็จในการรับมือกับความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่แล้ว ยังเป็นการสร้างบรรทัดฐานใหม่ในการทำศูนย์การค้าเพื่อโลกในอนาคต ด้วยการนำเสนอ business model ใหม่ที่สร้างขึ้นบนการมีส่วนร่วมของผู้นำในด้านต่างๆ ผ่านกระบวนการหลอมรวมทางความคิดและการสร้างสรรค์วิถีใหม่ของการดำรงชีวิตเพื่อความยั่งยืนของทุกฝ่ายร่วมกัน (Sustainable Living) สืบสานและส่งต่อประโยชน์ให้แก่ผู้คนในวงกว้าง

Read More

ปัจจัยลบรุมเร้า ธุรกิจค้าปลีก’63 หดตัว

นับเป็นอีกศักราชหนึ่งที่ธุรกิจค้าปลีกของไทยต้องเผชิญกับความวิกฤตรอบด้าน นับตั้งแต่ความผันผวนของเศรษฐกิจโลก ที่ได้รับอิทธิพลจากการฟาดฟันกันระหว่างจีนกับสหรัฐอเมริกา การงัดข้อกันในเชิงกลยุทธ์ส่งผลให้ธุรกิจค้าปลีกทั่วโลกเริ่มระส่ำระสาย และค้าปลีกไทยยิ่งต้องเจอคลื่นลูกใหญ่ซัดกระหน่ำอีกครั้ง ด้วยการบุกเชิงรุกของธุรกิจ E-Commerce ที่เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของผู้บริโภค และด้วยฐาน Big Data ทำให้บรรดาธุรกิจ E-Commerce สามารถเจาะเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้เป็นอย่างดี ปัจจัยข้างต้นคล้ายเป็นตัวกำหนดทิศทางใหม่ให้กับธุรกิจค้าปลีกไทยไปโดยปริยาย ที่นอกจากจะต้องปรับเปลี่ยนตัวเองให้เข้ากับสถานการณ์แล้ว โจทย์สำคัญคือทำอย่างไรที่จะทำให้ค้าปลีกไทยสามารถตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าให้ได้ ทั้งในรูปแบบ offline และ online นอกจากการจะต้องปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกที่มีเทคโนโลยีนำหน้าแล้ว สถานการณ์ความเป็นไปทางเศรษฐกิจเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่ผู้ประกอบการค้าปลีกต้องเผชิญ เมื่อกำลังซื้อของผู้บริโภคเริ่มอ่อนแรงลง โดยมุ่งเน้นไปจับจ่ายใช้สอยซื้อสินค้าเฉพาะที่จำเป็น และงดใช้จ่ายฟุ่มเฟือย นักวิเคราะห์หลายสถาบันเห็นไปในทางเดียวกันว่า ผู้ประกอบการค้าปลีกไทยจะฝ่าฟันมรสุมนี้ไปได้ก็ต่อเมื่อรู้จักปรับเปลี่ยนตัวเอง รู้จักผู้บริโภค และรู้เท่าทันเทคโนโลยี อุปสรรคข้างต้นสร้างความลำบากให้แก่ธุรกิจค้าปลีกไม่น้อย เพราะแม้ว่าผู้ประกอบการจะมีการปรับกลยุทธ์ทางการตลาดเพื่อรักษาฐานลูกค้า หรือการสร้างการเข้าถึงลูกค้าด้วยการลงมาเล่นธุรกิจ E-Commerce ด้วย ทว่า สิ่งที่โลกกำลังเผชิญอยู่ขณะนี้คล้ายเคราะห์ซ้ำกรรมซัด เมื่อเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้สร้างความยากลำบากให้เกิดขึ้นทั่วโลก กระทั่งรัฐบาลไทยประกาศใช้ พ.ร.ก. ฉุกเฉินตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคม ที่ผ่านมา รวมไปถึงการประกาศปิดสถานที่ที่มีความเสี่ยงต่อการแพร่เชื้อไวรัส เช่น ร้านอาหาร ห้างสรรพสินค้า สวนสาธารณะ สถานบันเทิง เป็นต้น การประกาศปิดห้างสรรพสินค้าส่งผลให้ธุรกิจค้าปลีกถูกแช่แข็งไปครึ่งหนึ่ง แม้จะมีการอนุโลมให้พื้นที่ในส่วนของซูเปอร์มาร์เกตยังสามารถเปิดได้ก็ตาม ศูนย์วิจัยกสิกรไทยเคยคาดการณ์เอาไว้ตั้งแต่ต้นเดือนมีนาคมว่า การแพร่ระบาดของโควิด-19 จะส่งผลให้ธุรกิจค้าปลีกสูญเสียรายได้ประมาณ

Read More

ซีพีเร่งทเวนตี้โฟร์ช้อปปิ้ง ระดมสินค้าโกยออนไลน์

ยักษ์ใหญ่ “ซีพีออลล์” เจ้าของเครือข่ายร้านสะดวกซื้อ “เซเว่นอีเลฟเว่น” ในประเทศไทย ได้จังหวะเร่งหนุนธุรกิจลูก “ทเวนตี้โฟร์ ช้อปปิ้ง” โดยไม่ต้องหวั่นผลกระทบช่วงไวรัสสายพันธุ์ใหม่ “โควิด19” แพร่ระบาดที่ทำให้กลุ่มลูกค้าจำนวนมากต้องกักตัวเอง เพื่อดูอาการอย่างน้อย 14 วัน เนื่องจากมีจุดแข็งการเข้าถึงลูกค้าผ่านแพลตฟอร์ม O2O ที่ครอบคลุมช่องทางจำหน่าย 360 องศา ไม่ใช่แค่การซื้อขายผ่านหน้าร้านแต่ยังมีช่องทางผ่านแอปพลิเคชันโมบาย เว็บไซต์ คอลเซ็นเตอร์ อินเทอร์เน็ต และโซเชียลมีเดีย ที่สำคัญ มีบริการ “เซเว่นดีลิเวอรี่” ส่งสินค้าถึงบ้านอย่างครบวงจรด้วย ต้องยอมรับว่า บริษัท ซีพีออลล์ จำกัด (มหาชน) แม้เป็นผู้นำยึดครองส่วนแบ่งตลาดค้าปลีก เซกเมนต์คอนวีเนียนสโตร์มาอย่างยาวนาน แต่หากไม่ปรับตัวย่อมหมายถึงการสูญเสียรายได้ก้อนใหญ่ โดยเฉพาะเทรนด์การซื้อขายผ่านออนไลน์ที่เข้ามามีบทบาทมากขึ้น จึงพยายามปลุกปั้นบริษัท ทเวนตี้โฟร์ ช้อปปิ้ง (24Shopping) อุดช่องว่างและสนองความต้องการของผู้บริโภคยุคใหม่ สัญญาณเริ่มต้นชัดเจนจริงจังในปี 2559 เมื่อบริษัท ซีพีออลล์ จำกัด (มหาชน) สั่งยกเครื่องกลุ่มธุรกิจ “ทเวนตี้โฟร์ ช้อปปิ้ง” พร้อมปรับภาพลักษณ์แบรนด์ใหม่ เปลี่ยนโลโก้จาก

Read More

เคานต์ดาวน์เศรษฐกิจไทย ปลุก “สตรีทฟูด” พลิกวิกฤต

เริ่มเคานต์ดาวน์เศรษฐกิจไทยเข้าสู่ปี 2563 ท่ามกลางข้อมูลหลายสำนักที่ฟันธงในทิศทางเดียวกัน คือ “แย่” และต้องถือว่า 2 วันสุดท้ายของปี 2562 บรรดาห้างร้านต่างอัดงบจัดเต็มสร้างบรรยากาศการนับถอยหลัง เพื่อดูดเม็ดเงินก่อนปิดยอดขายรายได้ เพราะไม่ใช่แค่การชี้ขาดผลการดำเนินงานของธุรกิจเอกชน แต่ยังหมายถึงผลสะท้อนความสำเร็จและความล้มเหลวของรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ก่อนรับศึกอภิปรายไม่ไว้วางใจครั้งใหญ่ หากประมวลตัวเลขต่างๆ แม้ข้อมูลจากศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ระบุผลสำรวจพฤติกรรมการใช้จ่ายของผู้บริโภคในช่วงเทศกาลปีใหม่ปี 2563 จากกลุ่มตัวอย่าง 1,223 ตัวอย่างทั่วประเทศ ระหว่างวันที่ 11-20 ธ.ค. 2562 คาดว่าจะมีมูลค่าการใช้จ่าย 137,809 ล้านบาท เป็นมูลค่าสูงสุดนับตั้งแต่เริ่มสำรวจเมื่อ 14 ปีที่แล้ว โดยมีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้น 1.9% จากปี 61 ที่มีมูลค่าการใช้จ่าย 135,279.74 ล้านบาท แต่อัตรา 1.9% กลับเป็นตัวเลขการขยายตัวต่ำสุดในรอบ 14 ปี สาเหตุหลักมาจากประชาชนกังวลภาวะเศรษฐกิจที่ยังไม่ฟื้นตัวจึงใช้จ่ายอย่างระมัดระวังที่สุด โดยค่าใช้จ่าย 137,809 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นการท่องเที่ยวในประเทศ 60,449.57

Read More