Home > COVID-19 (Page 6)

คนอาเซียนยังกังวล เศรษฐกิจฉุดกำลังซื้ออสังหาฯ หวัง “วัคซีนต้านไวรัส” เป็นอัศวินขี่ม้าขาว ช่วยกระตุ้นความมั่นใจซื้อบ้าน

แม้ภาครัฐในหลายประเทศแถบอาเซียนจะออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องเพื่อหวังฟื้นความเชื่อมั่นและกระตุ้นกำลังซื้อในประเทศของตนให้กลับมา แต่แน่นอนว่าอิทธิพลจากปัจจัยต่าง ๆ ในตอนนี้ย่อมส่งผลให้ผู้บริโภคยังคงไม่มั่นใจในการใช้จ่ายมากพอ ข้อมูลจากรายงาน “Global Economic Prospects” ฉบับล่าสุดของธนาคารโลก เผยแนวโน้มเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียตะวันออกและแปซิฟิกในระยะสั้นยังคงมีความไม่แน่นอนสูงจากผลกระทบของการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 คาดว่าการฟื้นตัวจะไม่สม่ำเสมอและเปราะบาง ในขณะที่ความเสี่ยงด้านลบที่เพิ่มขึ้นอาจทำให้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจในภูมิภาคไม่เป็นไปตามที่คาดการณ์ไว้ ภาคอสังหาริมทรัพย์ในอาเซียนยังคงได้รับผลกระทบ เนื่องจากการซื้อที่อยู่อาศัยถือเป็นทรัพย์สินที่มีราคาสูงและเป็นภาระทางการเงินระยะยาว เมื่อผู้บริโภคต้องเผชิญความท้าทายทั้งจากสภาพเศรษฐกิจที่ชะลอตัวและได้รับผลกระทบของการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 จึงต้องวางแผนการเงินอย่างเข้มงวดและชะลอแผนการซื้ออสังหาฯ ออกไป ดีดีพร็อพเพอร์ตี้ (DDproperty) เว็บไซต์มาร์เก็ตเพลสด้านอสังหาริมทรัพย์อันดับ 1 ของไทย เผยผลสำรวจความคิดเห็นของผู้บริโภคที่มีต่อตลาดที่อยู่อาศัยในไทย DDproperty’s Thailand Consumer Sentiment Study ฉบับล่าสุด และผลสำรวจจากเว็บไซต์ในเครือ PropertyGuru Group (พร็อพเพอร์ตี้กูรู กรุ๊ป) ในสิงคโปร์ มาเลเซีย และอินโดนีเซีย ชี้ให้เห็นว่าแม้กำลังซื้อผู้บริโภคในอาเซียนจะได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดฯ อย่างต่อเนื่อง แต่ความต้องการที่อยู่อาศัยยังมีแนวโน้มเติบโตในอนาคตแน่นอน เห็นได้จากแผนการใช้จ่ายของผู้บริโภคกลุ่ม Millennials (มิลเลนเนียล) หรือ Gen Y มากกว่าครึ่งในประเทศสิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย และไทยที่ยังคงให้ความสำคัญไปที่การออมเงินเพื่อซื้อบ้านใน 1 ปีข้างหน้า

Read More

มาเก๊า ทยอยฉีดวัคซีนโควิดฟรี ให้ประชาชนรวมชาวต่างชาติด้วย พร้อมประกันชีวิต 4 ล้านบาท

“มาเก๊า” เตรียมฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ฟรี โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายให้กับผู้ที่ถือบัตรประชาชนมาเก๊า พนักงานต่างชาติที่ทำงานในมาเก๊า และนักเรียนต่างชาติที่กำลังศึกษาอยู่ในมาเก๊า พร้อมมอบประกันชีวิตคุ้มครองสูงสุด 1 ปี และวงเงินกว่า 4,000,000 บาท หลังจากที่ เขตบริหารพิเศษมาเก๊า (SAR) ได้รับมอบวัคซีนป้องกันโควิด-19 ล็อตแรกจำนวน 100,000 โดสที่ผลิตในจีนแผ่นดินใหญ่ เมื่อช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา และได้เริ่มต้นฉีดวัคซีนให้กับกลุ่มผู้ที่มีความเสี่ยงสูงต่อการได้รับเชื้อไวรัสระหว่างการปฏิบัติหน้าที่ เช่น บุคลากรทางการแพทย์, เจ้าหน้าที่ตำรวจ, เจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมือง โดยนายโฮ ลัต เส็ง ผู้นำเขตบริหารพิเศษมาเก๊า เป็นผู้ได้รับวัคซีนรายแรก เพื่อแสดงความเชื่อมั่นในประสิทธิภาพของวัคซีน ซึ่งผู้ที่ได้รับการฉีดวัคซีนในครั้งนี้จะได้รับวัคซีนโดสที่สองในอีกประมาณ 3-4 สัปดาห์หลังจากนี้ ผู้นำเขตบริหารพิเศษมาเก๊า ยังได้ออกมากล่าวเรียกร้องให้ประชาชนชาวมาเก๊าทุกคน รวมไปถึงพนักงานต่างชาติที่ทำงานในมาเก๊า และนักเรียนต่างชาติที่กำลังศึกษาอยู่ในมาเก๊า เข้ารับการฉีดวัคซีนได้ฟรี ผ่านการลงทะเบียนออนไลน์ โดยสิทธิ์ในการเข้ารับการฉีดวัคซีนในครั้งนี้ จะครอบคลุมไปถึงชาวต่างชาติที่พำนักอาศัย ที่ถือบัตรประจำตัวผู้พำนักในมาเก๊าเช่นกัน และหลังจากที่เข้าถึงการฉีดวัคซีนแล้ว ทางภาครัฐยังมอบประกันชีวิตความคุ้มครองสูงสุด 1 ปี ในวงเงินสูงสุด 1,000,000 ปาตาร์กา (4,000,000 บาท

Read More

ผลกระทบจาก COVID-19 ที่จะเปลี่ยนชีวิตผู้หญิงจากทั่วทุกมุมโลก

Column: Women in wonderland การแพร่ระบาดของ COVID-19 ที่เริ่มมีผู้ติดเชื้อคนแรกเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2562 ในเมืองอู่ฮั่น ประเทศจีน ต่อมาในวันที่ 23 มกราคม 2563 รัฐบาลจีนประกาศปิดนครอู่ฮั่น ให้ทุกคนอยู่แต่ในบ้านงดเดินทางเข้าออกจากเมืองทั้งหมด เพื่อควบคุมการแพร่ระบาด และนี่ก็เป็นจุดเริ่มต้นการล็อกดาวน์บางพื้นที่ที่หลายประเทศนำไปใช้ในเวลาต่อมา ตั้งแต่วันแรกที่พบบุคคลที่ติดเชื้อไวรัส COVID-19 จนถึงวันนี้นับเป็นเวลากว่าปีแล้ว แต่สถานการณ์ก็ยังไม่ดีขึ้น แม้ว่าวัคซีนจากหลายบริษัทจะได้รับการรับรอง และนำมาฉีดให้กับประชาชนในหลายประเทศแล้วก็ตาม แต่จำนวนผู้ติดเชื้อ COVID-19 ก็ยังคงเพิ่มมากขึ้น ปัจจุบันมีผู้ติดเชื้อกว่าร้อยล้านคน และมีผู้เสียชีวิตกว่าสองล้านคน (ข้อมูล ณ วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2564) ซึ่ง 3 ประเทศแรกที่จำนวนผู้ติดเชื้อสูงที่สุดคือ สหรัฐอเมริกา อินเดีย และบราซิล โดยประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 115 จาก 221 ประเทศ ซึ่งอันดับของประเทศไทยนั้นมีการปรับขึ้นจากการระบาดระลอกใหม่ตั้งแต่ช่วงเดือนธันวาคม 2563 ในช่วงเวลาหนึ่ง ปีที่ผ่านมา หลายประเทศเริ่มควบคุมการแพร่ระบาดของ

Read More

เจ็ทส์ เผยเทรนด์ฟิตเนสไทย หลังจุดเปลี่ยนยุคโควิด-19

สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ส่งผลกระทบกับการใช้ชีวิตในหลายแง่มุม เช่นเดียวกันกับเกือบทุกอุตสาหกรรมทั่วโลก ธุรกิจฟิตเนสต้องปรับตัวครั้งใหญ่ ไม่เพียงแต่เพื่อความอยู่รอด แต่ยังต้องมองหาโอกาสในชีวิตวิถีใหม่ที่ไม่เหมือนเดิม เจ็ทส์ ฟิตเนส ในฐานะผู้นำธุรกิจฟิตเนสอันดับหนึ่งและเติบโตเร็วที่สุดในประเทศไทย เผยเทรนด์ฟิตเนสหลังจุดเปลี่ยนยุคโควิด-19 ที่คาดว่าจะทำให้ประสบการณ์การออกกำลังกายแตกต่างไปจากเดิม การอยู่รอดของคนฟิต นอกจากผู้ประกอบธุรกิจฟิตเนสแล้ว กลุ่มคนรักสุขภาพก็ยังต้องปรับตัวอย่างมาก เพราะการประกาศปิดสถานที่ออกกำลังกายชั่วคราว จากสถานการณ์ในเดือนมกราคมที่ผ่านมา เมื่อเทียบกับการแพร่ระบาดในเดือนมีนาคมและพฤษภาคมปีที่แล้ว พฤติกรรมของสมาชิกเจ็ทส์ ฟิตเนส มีความแตกต่างกัน หลังโควิด-19 ระลอกแรก สมาชิก 73% กลับมาเข้ายิมภายในหนึ่งเดือนหลังฟิตเนสกลับมาเปิดให้บริการ และมีจำนวนผู้ใช้บริการในแต่ละสาขาสูงใกล้เคียงช่วงปกติภายในเดือนกรกฎาคม โดยสมาชิกยอมรับว่าออกกำลังกายมากกว่าก่อนมีโรคโควิด-19 และมีความรู้ความเข้าใจในสถานการณ์ สามารถปรับตัวกับมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดในยิมได้มากขึ้น ในขณะที่ช่วงเดือนมกราคมที่ผ่านมา เจ็ทส์ ฟิตเนส สาขาเชียงใหม่ โคราช และภูเก็ต ยังคงเปิดให้บริการตามปกติ สมาชิกกว่า 85 เปอร์เซนต์ ยังคงออกกำลังกายในยิมตามปกติ โดยสามารถปรับตัว และพร้อมปฏิบัติตามมาตรการด้านสุขอนามัยในยิม ใส่ใจสุขภาพ ในอีกมุมหนึ่ง สถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ก็ส่งผลเชิงบวกต่อธุรกิจฟิตเนส เพราะผู้คนตระหนักถึงความสำคัญของการมีสุขภาพดี ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของการมีภูมิคุ้มกันที่แข็งแรง และเป็นตัวช่วยสำคัญต่อการใช้ชีวิตในโลกยุคโควิด-19 เมื่อการรักสุขภาพไม่เป็นเพียงไลฟ์ไตล์ กลายแต่เป็นเรื่องจำเป็น หลังจากที่ เจ็ทส์ ฟิตเนส

Read More

โควิดฟาดไม่หยุด ภาคอสังหาฯ ซึมต่อเนื่อง หวัง “วัคซีนต้านไวรัส – มาตรการภาครัฐ” ปลุกตลาดฟื้นตัวเร็วขึ้น

ดีดีพร็อพเพอร์ตี้ (DDproperty) เว็บไซต์มาร์เก็ตเพลสด้านอสังหาริมทรัพย์อันดับ 1 ของไทย เผยการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ระลอกใหม่ แรงกระเพื่อมสำคัญต่อการฟื้นตัวของภาพรวมเศรษฐกิจ ผู้บริโภคเพิ่มความระมัดระวังการใช้จ่าย ส่งผลกระทบให้ตลาดอสังหาริมทรัพย์ไทยกลับมาชะลอตัวอีกครั้ง ข้อมูลล่าสุดจากรายงาน DDproperty Thailand Property Market Index เผยดัชนีราคาที่อยู่อาศัยในกรุงเทพฯ ปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ 197 จุด จาก 201 จุด หรือลดลง 2% จากไตรมาสก่อน ถือเป็นดัชนีราคาที่ต่ำที่สุดในรอบ 14 ไตรมาส (นับตั้งแต่ไตรมาสที่ 2 ปี 2560) หลังจากเคยมีแนวโน้มฟื้นตัวในช่วงคลายล็อกดาวน์จากการแพร่ระบาดฯ รอบแรก คาดแนวโน้มราคาอสังหาฯ และอุปทานจะลดลงต่อเนื่องจากไตรมาส 4 ปีที่แล้ว และยังไม่ปรับตัวเพิ่มขึ้นในช่วงครึ่งปีแรก หวังวัคซีนต้านไวรัสโควิด-19 และมาตรการเยียวยาเพิ่มเติมจากภาครัฐช่วยกระตุ้นให้ตลาดอสังหาฯ กลับมาฟื้นตัวเร็วขึ้น นางกมลภัทร แสวงกิจ ผู้จัดการใหญ่ประจำประเทศไทยของดีดีพร็อพเพอร์ตี้ กล่าวว่า “คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 0.50 ต่อปี

Read More

อสังหาฯ ควบกิจการหนีตาย โจทย์ใหญ่ ลดดอกเบี้ย-เลิก LTV

ตลาดอสังหาริมทรัพย์ยังหนีไม่พ้นวิกฤต หลังเจอผลกระทบโควิด-19 บวกกับภาวะเศรษฐกิจถดถอย และยอดขายจากตลาดต่างชาติดิ่งเป็นศูนย์ แม้รัฐบาลออกมาตรการกระตุ้นหลายแพ็กเกจ แต่ผู้ประกอบการต่างฟันธงเสียงเดียวกันว่า “ยังไม่ตรงจุด” โดยเฉพาะโจทย์การแก้ปัญหากำลังซื้อที่มีแนวโน้มชะลอตัวยืดเยื้ออีก 1-2 ปี ล่าสุด ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) รายงานดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจ เดือนมกราคม 2564 ลดลงจากระดับ 46.8 มาอยู่ที่ระดับ 44.2 และดัชนีความเชื่อมั่นในอีก 3 เดือนข้างหน้าลดลงจาก 53.3 มาอยู่ที่ 48.0 ตามความกังวลของผู้ประกอบการ ที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดระลอกใหม่ โดยผู้ประกอบการที่เห็นว่าธุรกิจจะแย่ลงมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นในเกือบทุกธุรกิจ ซึ่งรวมถึงกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ ที่ดัชนีฯ ปรับลดลงมากและกลับมาอยู่ต่ำกว่า 50 เมื่อเร็วๆ นี้ เศรษฐา ทวีสิน กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) ออกมากล่าวย้ำถึงสถานการณ์ตลาดอสังหาริมทรัพย์ในงานแถลงข่าวประจำปี 2564 ภายใต้แนวคิด The Year of Hope โดยเฉพาะกลุ่มบริษัทรายกลางและรายเล็กที่มีเงินทุนจำกัด ต้องเหนื่อยแน่ ทั้งในแง่แบรนด์

Read More

ธุรกิจโรงแรมปรับตัว ก่อนการฟื้นตัวของท่องเที่ยวไทย

นับเป็นฝันร้ายครั้งใหญ่ของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไทยที่ต้องเผชิญหน้ากับสถานการณ์โรคระบาดที่กระทบต่อการเติบโตและรายได้การท่องเที่ยวในระดับล้านล้านบาท ตั้งแต่เชื้อไวรัสโควิด-19 อุบัติขึ้นตั้งแต่ปลายปี 2562 และส่งผลกระทบถึงไทยในทุกภาคอุตสาหกรรม ช่วงกลางปีที่ผ่านมาสถานการณ์ผู้ติดเชื้อในไทยเริ่มลดลงจนกระทั่งเป็นศูนย์ ผู้ประกอบการธุรกิจการท่องเที่ยว รวมไปถึงการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย เริ่มหารือถึงมาตรการและความเป็นไปได้ที่ไทยจะเปิดประเทศเพื่อรับนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามา โดยใช้นโยบาย Travel Bubble ทว่า ก่อนจะได้คำตอบหรือการอนุมัติจากภาครัฐ สถานการณ์ผู้ติดเชื้อในต่างประเทศเดินทางเข้าสู่ระลอกสอง และหลายประเทศสถานการณ์เลวร้ายลงกว่าการระบาดในครั้งแรก การยึดโยงอยู่กับตลาดต่างชาติจึงไม่ใช่ทางเลือกที่ดี การพึ่งพาตนเองจึงเป็นคำตอบที่เหมาะสมที่สุดในห้วงยามนี้ รัฐบาลไทยเริ่มใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจระยะสั้นหลายรูปแบบ เพื่อให้เม็ดเงินกระจายลึกลงไปถึงเศรษฐกิจระดับฐานราก ซึ่งครอบคลุมถึงอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไทย ภายใต้โครงการ “เราเที่ยวด้วยกัน” ข้อมูลล่าสุดเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2563 พบว่า มีผู้ลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการ 6.59 ล้านคน โดยมีผู้ใช้สิทธิ์โรงแรม 3,508,008 สิทธิ์ คิดเป็นมูลค่าห้องพักที่จองทั้งสิ้น 9,543.4 ล้านบาท ขณะที่มีผู้ที่ได้รับคูปองอาหาร 782,568 ราย ยอดใช้จ่ายทั้งหมด 3,002.6 ล้านบาท แบ่งเป็นยอดใช้จ่ายประชาชน 1,849.4 ล้านบาท รัฐสนับสนุน 1,153.2 ล้านบาท หลังจากการประกาศใช้โครงการ “เราเที่ยวด้วยกัน” และมีผู้เข้าร่วมโครงการจำนวนมาก สถานการณ์การท่องเที่ยวไทยพอจะมองเห็นทิศทางที่ดีขึ้นแม้จะเพียงเล็กน้อย แต่การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยคาดการณ์ภายใต้เงื่อนไขที่ไม่มีการระบาดรุนแรงระลอกสองในไทยว่า

Read More

จริงไหม … เป็นโควิด-19 ทำให้ปวดหลัง?

Column: Well – Being ศูนย์ป้องกันและควบคุมโรค (ซีดีซี) ของสหรัฐฯ ไม่ได้ระบุเป็นการเฉพาะว่า ปวดหลังเป็นอาการของโรคโควิด-19 แต่ได้รวมเอาอาการปวดกล้ามเนื้อและปวดตัวเป็นสัญญาณที่ต้องระวัง ดังนั้น คุณควรวิตกกังวลหรือไม่ถ้ามีอาการปวดหลัง แพทย์ผู้เชี่ยวชาญบอกว่าไม่จำเป็น นิตยสาร Prevention แจกแจงข้อมูลที่คุณควรรู้ดังนี้ ปวดหลังเป็นอาการร่วมของโควิด-19? ผลสำรวจโดย Survivor Corps ซึ่งเป็นเฟซบุ๊กที่สนับสนุนผู้รอดชีวิตจากโรคโควิด-19 และ ดร. นาตาลี แลมเบิร์ต แห่งคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยอินเดียนา พบว่า ผู้ที่ได้ชื่อว่าหายจากโรคโควิด-19ในทางเทคนิคแล้วยังต้องเผชิญกับอาการระยะยาวหรืออาการข้างเคียงต่างๆ เช่น ปวดหลังส่วนล่าง ส่วนบน และส่วนกลาง เป็นไปได้ไหมที่ป่วยโควิด-19 แล้วไม่มีไข้? อาการปวดหลังที่มีสาเหตุจากโควิด-19 ถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มอาการเดียวกับการปวดหรือเจ็บกล้ามเนื้อทั่วไป ซึ่งซีดีซีระบุว่าเป็น “อาการที่เป็นทางการ” นอกจากนี้ ยังมีรายงานจากองค์การอนามัยโลกประจำเดือนกุมภาพันธ์ ระบุว่า จากคนไข้โควิด-19 ร่วม 56,000 รายในจีน มีเกือบร้อยละ 15 เผชิญกับอาการปวดและเจ็บกล้ามเนื้อ “โควิด-19 ก็เหมือนโรคจากไวรัสตัวอื่นๆ ที่เป็นสาเหตุของอาการเชิงระบบ” ดร. มาร์คัส ดูดา ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์

Read More

ไอคอนสยาม จัด “MEGA BIG CLEANING DAY” ยกระดับมาตรการป้องกันโควิด-19 ขีดสุด

ไอคอนสยาม ยกระดับมาตรการป้องกันโควิด-19 ขีดสุด จัด “MEGA BIG CLEANING DAY” ระดมพลังนับพันชีวิตทำความสะอาดตลอด 24 ชม. ย้ำความมั่นใจสูงสุดแก่ลูกค้า เมื่อวันอาทิตย์ที่ 31 มกราคม 2564 ที่ผ่านมา ไอคอนสยาม ผนึกกำลัง สำนักงานเขตคลองสาน กรุงเทพมหานคร และร้านค้าผู้เช่าทุกร้าน ยกระดับมาตรการเฝ้าระวังและป้องกัน COVID-19 ขั้นขีดสุด จัด “MEGA BIG CLEANING DAY” (เมกกะ บิ๊ก คลีนนิ่ง เดย์) ปิดศูนย์การค้า1วัน ระดมพลังทุกภาคส่วนจำนวนกว่า 2,500 คน ร่วมทำความสะอาดอย่างเข้มข้นทั่วทุกพื้นที่ทั้งด้านในและด้านนอกทั้งหมด ตลอดทั้งวันทั้งคืน 24 ชั่วโมง เพื่อสร้างความเชื่อมั่นและมั่นใจให้ลูกค้าในการเข้ามาใช้บริการทุกวันอย่างปลอดภัย นายสุพจน์ ชัยวัฒน์ศิริกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไอคอนสยาม จำกัด กล่าวว่า “จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ไอคอนสยามเป็นศูนย์การค้าแรกที่นำร่องดำเนินมาตรการรักษาสุขอนามัยและความปลอดภัยแก่ลูกค้าและพนักงานทุกคนขั้นสูงสุดมาโดยตลอด

Read More

เศรษฐกิจโลกฟื้น แต่ไทยยังไร้สัญญาณบวก

ความเป็นไปของการแพร่ระบาด COVID-19 ซึ่งส่งผลกระทบไปทั่วโลกและเป็นปัจจัยฉุดรั้งการจำเริญเติบโตทางสังคมเศรษฐกิจ-อุตสาหกรรมอย่างกว้างขวาง หากแต่การคาดการณ์ล่าสุดของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ได้ปรับเพิ่มตัวเลขคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจโลกในปี 2564 จากเดิมที่คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 5.2 มาสู่ระดับที่คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 5.5 ภายใต้ความเชื่อที่ว่าการอนุมัติและฉีดวัคซีนต้าน COVID-19 ในประเทศต่างๆ ในช่วงปลายปีที่ผ่านมาได้ช่วยเกื้อหนุนความหวังที่จะเห็นการยุติการแพร่ระบาดของโรคระบาดในอนาคตอันใกล้ กองทุนการเงินระหว่างประเทศยังประเมินว่าเศรษฐกิจโลกในปี 2563 ที่ผ่านมามีทิศทางที่ดีขึ้นกว่าที่เคยคาดการณ์ไว้เดิม โดยคาดว่าเศรษฐกิจโลกปี 2563 จะหดตัวลดลงที่อัตราร้อยละ 3.5 ซึ่งดีกว่าตัวเลขที่คาดการณ์ไว้ในเดือนตุลาคม ที่ IMF ระบุว่าเศรษฐกิจโลกจะชะลอตัวลดลงที่ระดับร้อยละ 4.4 ตัวเลขทางเศรษฐกิจที่มีแนวโน้มดีขึ้นจากการคาดการณ์ไว้เดิมนี้ ในด้านหนึ่งเป็นผลจากการออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศเศรษฐกิจขนาดใหญ่ ทั้งจีน สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และประเทศในยุโรป ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญต่อการฟื้นฟูเศรษฐกิจโลกในภาพรวม แต่เศรษฐกิจโลกยังคงเผชิญกับความไม่แน่นอน ท่ามกลางการแพร่ระบาดรอบใหม่ และการกลายพันธุ์ของไวรัสที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต การกระเตื้องขึ้นของเศรษฐกิจโลกดำเนินไปท่ามกลางการคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาในปี 2564 จะขยายตัวร้อยละ 5.1 จากเดิมที่คาดว่าจะขยายตัวเพียงร้อยละ 3.1 โดยได้ปัจจัยหนุนจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจวงเงิน 9 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ ตามมาตรการภายใต้อดีตประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ และหากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจวงเงิน 1.9 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐของประธานาธิบดีโจ ไบเดน ผ่านการอนุมัติเห็นชอบของรัฐสภาก็จะส่งผลให้เศรษฐกิจสหรัฐอเมริกามีการขยายตัวเพิ่มมากขึ้นอีก ขณะเดียวกันเศรษฐกิจจีนในปี

Read More