Home > ธุรกิจโลจิสติกส์

All Now ประกาศโครงการ EV Vision เดินหน้าใช้รถบรรทุกไฟฟ้ากระจายสินค้าเข้า 7-Eleven

All Now มุ่งสู่เป้าหมายผู้นำธุรกิจโลจิสติกส์สีเขียว ประกาศโครงการ EV Vision เดินหน้าใช้รถบรรทุกไฟฟ้า รองรับการกระจายสินค้าเข้า 7-Eleven เพื่อสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน “ออลล์ นาว” (ALL NOW) ผู้ประกอบธุรกิจโลจิสติกส์ครบวงจร ตั้งเป้าหมายสู่การเป็นผู้นำธุรกิจโลจิสติกส์สีเขียว ประกาศดำเนินโครงการ EV Vision นำเข้ารถบรรทุกไฟฟ้ามาใช้ในการขนส่งกระจายสินค้าเข้าสู่สาขา 7-Eleven นำร่องพื้นที่โซนนนทบุรี พร้อมตั้งเป้ามีรถบรรทุกไฟฟ้าให้บริการ 100 คันภายในปี 2567 ต่อยอดโซนกรุงเทพฯและปริมณฑล พร้อมวางแผนขยายการให้บริการไปสู่ธุรกิจอื่นๆ สอดคล้องเป้าหมายการดำเนินธุรกิจภายใต้หลักการพัฒนาที่ยั่งยืนตามนโยบายเครือเจริญโภคภัณฑ์ นายธเนศ พิริย์โยธินกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มบริษัท ออลล์ นาว (ALL NOW) เปิดเผยว่า กลุ่มบริษัท ออลล์ นาว เป็นกลุ่มบริษัทในเครือเจริญโภคภัณฑ์หรือซีพี ที่ก่อตั้งขึ้นมาเพื่อดำเนินธุรกิจบริหารจัดการโลจิสติกส์ครบวงจร โดยมีโมเดลธุรกิจเป็นผู้ให้บริการด้านโลจิสติกส์และศูนย์กระจายสินค้าแบบครบวงจรให้แก่ธุรกิจทั้งในและนอกเครือเจริญโภคภัณฑ์ ซึ่งที่ผ่านมาได้มีผนึกกำลังกับซีพี ออลล์ ในการเป็นพันธมิตรด้านโลจิสติกส์และการกระจายสินค้าทั้งแบบ off-line และ on-line จากศูนย์กระจายสินค้าไปสู่ร้าน 7-Eleven

Read More

ธุรกิจโลจิสติกส์หวังฟื้น หลังผ่านมรสุม COVID-19

การแพร่ระบาดของ COVID-19 ส่งผลกระทบกระเทือนต่อภาคเศรษฐกิจสังคมอย่างกว้างขวางและหลากหลาย ซึ่งหนึ่งในภาคธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 ในช่วงปีที่ผ่านมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ก็คือ ธุรกิจขนส่งพัสดุ หรือโลจิสติกส์ ที่ได้รับผลจากการปิดพรมแดนและการระงับการขนส่งสินค้าและพัสดุทางอากาศในหลายประเทศ ซึ่งทำให้เกิดการหดตัวในธุรกิจโลจิสติกส์นี้มากกว่าร้อยละ 30-40 เลยทีเดียว วิกฤตจากการระบาดของ COVID-19 ส่งผลกระทบต่อธุรกิจโลจิสติกส์ เนื่องจากการขนส่งทั้งทางบกในประเทศ และขนส่งข้ามแดนมีความล่าช้า จากการล็อกดาวน์หลายพื้นที่ ส่วนการขนส่งทางอากาศถูกระงับไปหลังจากที่ธุรกิจการบินไม่สามารถทำการบินได้ ซึ่งทำให้ธุรกิจโลจิสติกส์ได้รับผลกระทบด้านรายได้อย่างหนัก ขณะที่การขนส่งทางเรือได้รับผลกระทบเช่นกัน แต่ยังมีการขนส่งสินค้านำเข้าส่งออกอยู่บ้าง สถานการณ์ดังกล่าวทำให้ธุรกิจโลจิสติกส์ในปี 2563 มีแนวโน้มจะหดตัวลงมากถึงร้อยละ 30-40 ซึ่งแม้ว่าการขนส่งหลายประเภทจะอยู่ในภาวะหดตัว แต่การขนส่งพัสดุ การขนส่งสินค้าถึงบ้านหรือเดลิเวอรี่ต่างๆ กลับมีการเติบโตสูงมาก สวนกระแสตลาดโดยรวม เนื่องจากห้างร้านปิดให้บริการ และการที่ประชาชนได้รับคำแนะนำให้อยู่บ้านเพื่อหยุดโรค ทำให้การใช้บริการสั่งซื้อสินค้าและบริการส่งตรงถึงบ้านปรับตัวสูงขึ้นในช่วงที่ผ่านมา ตัวเลขที่น่าสนใจในธุรกิจโลจิสติกส์อยู่ที่ธุรกิจนี้มีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยตลาดขนส่งพัสดุในไทยเติบโตอย่างก้าวกระโดดจากระดับ 18,000 ล้านบาทในปี 2559 มาสู่ระดับ 25,000 ล้านบาทในปี 2560 และพุ่งทะยานอย่างรวดเร็วมาสู่ระดับ 35,000 ล้านบาทในปี 2561 ก่อนที่จะขึ้นสู่ระดับ 49,000 ล้านบาทในปี 2562 และมาสู่ระดับ 66,000

Read More

เคอรี่-ไปรษณีย์ไทย ปูพรมพรึ่บ สกัดหน้าใหม่

สงครามธุรกิจโลจิสติกส์ บริการส่งพัสดุแบบด่วนหรือ “Express” ร้อนเดือดขึ้นหลายเท่า เพราะหลังจากกลุ่ม “อาลีบาบา” ของมหาเศรษฐีระดับโลก “แจ็ค หม่า” ทุ่มทุนดัน “Best Express - Flash Express” 2 แบรนด์ธุรกิจขนส่งสินค้าเข้ามาเจาะตลาดโลจิสติกส์ในไทยเมื่อปลายปีที่ผ่านมา ล่าสุด น้องใหม่ J&T Express จากประเทศจีน เตรียมเปิดตัวอย่างเป็นทางการในเร็วๆ นี้ พร้อมๆ กับการเร่งปูพรมสาขาทั่วเมือง ที่สำคัญ หลายทำเลกลายเป็นสมรภูมิช้างชนช้าง ชนิดคูหาติดคูหา ร้านชนร้าน จนทำให้ทั้งไปรษณีย์ไทยและเคอรี่เอ็กซ์เพรส ต้องเร่งปูพรมสาขาสกัดคู่แข่งหน้าใหม่อย่างเร่งด่วน ไม่นับการชูจุดแข็งด้านบริการทุกรูปแบบ เหตุผลสำคัญมาจากแนวโน้มการขยายตัวของตลาดขนส่งสินค้าและพัสดุที่พุ่งพรวดต่อเนื่องตามธุรกิจอีคอมเมิร์ซที่เติบโตก้าวกระโดด โดยข้อมูลการสำรวจของสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) หรือ ETDA คาดการณ์มูลค่าตลาดอี-คอมเมิร์ชของประเทศไทยในปี 2562 จะพุ่งสูงถึง 3.2 ล้านล้านบาท หรือเติบโต 12-13% จากปี 2561 ที่มีมูลค่าตลาดรวมประมาณ 3.15 ล้านล้านบาท และปี 2560

Read More

ดีเอชแอล ซัพพลายเชน ตอกย้ำผู้นำธุรกิจ นำสุดยอดโซลูชั่นและนวัตกรรมรองรับการเติบโตธุรกิจยุคดิจิทัล

ดีเอชแอล ซัพพลายเชน สานต่อการเติบโตทางธุรกิจในอัตราเลข 2 หลัก เมื่อปีที่ผ่านมา ด้วยการขยายบริการเพื่อรองรับการพลิกผันของธุรกิจในยุคดิจิทัลและความคาดหวังของผู้บริโภคในเมืองไทยที่กำลังจะเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม เล็งเห็นโอกาสการเติบโตในประเทศไทยและวางแผนลงทุนเพิ่มทั้งในด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยี รวมถึงคลังสินค้าและสิ่งอำนวยความสะดวกขั้นพื้นฐาน ดีเอชแอล ซัพพลายเชน ผู้ให้บริการลอจิสติกส์ชั้นนำระดับโลก เตรียมสานต่อการเติบโตทางธุรกิจซึ่งเติบโตด้วยตัวเลข 2 หลัก ในปี 2017 เดินหน้าขยายธุรกิจในเมืองไทยอย่างต่อเนื่อง โดยปรับเปลี่ยนทิศทางการดำเนินงานเพื่อรองรับการพลิกผันของธุรกิจในยุคดิจิทัลและความคาดหวังของผู้บริโภคในเมืองไทยที่กำลังจะเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม โดยในปีที่ผ่านมา ดีเอชแอลได้ประกาศการลงทุนถึง 2.7 พันล้านบาทภายในปี ค.ศ. 2020 เพื่อการดำเนินงานแบบครบวงจร (end-to-end operations) ในกลุ่มตลาดประเทศไทย (ไทย เวียดนาม กัมพูชา และเมียนมาร์) เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของการเติบโตทางธุรกิจในภูมิภาค เนื่องจากดีเอชแอลเล็งเห็นถึงโอกาสการเติบโตอีกมากมายในประเทศไทย ดีเอชแอลพัฒนาการดำเนินงานและบริการอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพการณ์ที่กำลังพลิกผันอย่างรวดเร็ว และเพื่อให้ลูกค้าของบริษัทยังคงความได้เปรียบทางการแข่งขันในโลกธุรกิจ ผ่านการใช้โซลูชั่นและกระบวนการทำงานที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม ทั้งในส่วนการดำเนินงานคลังสินค้าและการขนส่ง โดยมีการใช้นวัตกรรม ดังนี้ · Ring Scanner เครื่องสแกนระบบบลูทูธแบบสวมนิ้ว ช่วยให้สแกนบาร์โค้ดได้อย่างรวดเร็วโดยที่พนักงานยังมีมือว่างสำหรับทำงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องได้ในเวลาเดียวกัน · Vision Picking เทคโนโลยีแว่นอัจฉริยะคุณภาพสูง แสดงข้อมูลที่ชัดเจนในการสร้างภาพเสมือนจริง

Read More

ไปรษณีย์ไทยสู้ศึกรอบด้าน เร่งผลงานสนองกลยุทธ์ 4.0

กลายเป็นประเด็นใหญ่ขึ้นมาเมื่อมีรายงานว่า สมร เทิดธรรมพิบูล กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไปรษณีย์ไทย (ปณท) ไม่ผ่านการประเมินผลงานประจำปี 2560 จนเกิดกระแสรวมตัวชุมนุมประท้วงของกลุ่มพนักงานพร้อมติดริบบิ้นดำเมื่อวันที่ 21 พฤษภาคมที่ผ่านมา แม้ล่าสุด บอร์ดไปรษณีย์ไทยรีบออกมติสยบความเคลื่อนไหวยืนยันการประเมินผลงานยังอยู่ในขั้นตอนการพิจารณา แต่ดูเหมือน “ไปรษณีย์ไทย” กำลังเจอศึกรอบด้าน ทั้งการแข่งขันในสมรภูมิธุรกิจโลจิสติกส์ที่เคยผูกขาดมาอย่างยาวนาน เพราะมีคู่แข่งหน้าใหม่เข้ามารุกตลาดดุเดือด ไม่ว่าจะเป็นเคอรี่เอ็กซ์เพรส เอสซีจีเอ็กซ์เพรส และไลน์แมน แถมบิ๊ก ปณท ยังถูกเกาะติดผลงานชนิดมีสิทธิ์หลุดจากตำแหน่งได้ ทั้งหมดทำให้ไปรษณีย์ไทยในฐานะองค์กรรัฐวิสาหกิจต้องเร่งปรับกลยุทธ์ทุกวิธี โดยเฉพาะการสนองนโยบาย 4.0 ของรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เพื่อเร่งผลงานรูปธรรมชิ้นสำคัญก่อนการเลือกตั้งในปี 2562 แผนสำคัญ คือการให้ไปรษณีย์ไทยเป็นตัวกลางต่อยอดเครือข่ายเน็ตประชารัฐที่ครอบคลุมพื้นที่มากกว่า 24,700 หมู่บ้าน ลดความเหลื่อมล้ำและกระจายรายได้ด้วย “อีคอมเมิร์ซ” โจทย์สำคัญ คือ ชาวบ้านขายสินค้า ปณท เป็นตัวกลางติดต่อผู้ซื้อด้วยระบบออนไลน์ เงินมาถึงชาวบ้านทั่วประเทศ ลูกหลานไม่ต้องย้ายถิ่นฐานเข้าเมืองใหญ่ ชาวบ้านในชุมชนลืมตาอ้าปากได้ ถ้าสำเร็จย่อมหมายถึงผลงานชิ้นโบแดงของรัฐบาล คสช. ซึ่งบิ๊กไปรษณีย์อย่างสมร เทิดธรรมพิบูล รับรู้ความต้องการและเป้าหมายของรัฐบาลอย่างดีตั้งแต่เข้ามารับตำแหน่งช่วงเดือนมกราคม 2559 แน่นอนว่า

Read More