Home > พิษโควิด

A&W ไปไม่ถึงดวงดาว โลดแล่น 39 ปี พ่ายพิษโควิด

A&W ไปไม่ถึงดวงดาวอีกแล้ว เมื่อกลุ่ม “โกลบอล คอนซูเมอร์” เจ้าของไลเซนส์รายล่าสุด ประกาศเตรียมปิดกิจการในประเทศไทย เนื่องจากขาดทุนต่อเนื่องตั้งแต่เกิดโควิดแพร่ระบาด โดยเฉพาะปี 2564 อ่วมตัวเลขขาดทุนของ A&W ถึง 70 ล้านบาท อันที่จริง ฟาสต์ฟูดแบรนด์นี้โลดแล่นในตลาดไทยยาวนานกว่า 39 ปี เข้ามาเปิดสาขาแรกที่เซ็นทรัล ลาดพร้าว เมื่อปี 2526 และดำเนินกิจการผ่านผู้มีสิทธิ์ไลเซนส์หลายราย ซึ่งช่วงแรกของการบุกตลาดไทยต้องเจอสงครามแข่งขันอย่างดุเดือดจนต้องปิดสาขาเหลือเพียง 21 สาขา โดยเหตุผลส่วนหนึ่งมาจากผู้ได้รับสิทธิ์แฟรนไชส์รายเดิมจากมาเลเซียให้ความสำคัญเฉพาะตลาดมาเลเซียและอินโดนีเซีย จนตลาดในไทยฝ่อตัวและประสบภาวะขาดทุนหลายปี จนกระทั่งปี 2558 กลุ่ม A&W Restaurant Inc. USA บรรลุข้อตกลงให้สิทธิ์แฟรนไชส์กับกลุ่ม “นิปปอนแพ็ค” หรือ NPP ระยะเวลาสัญญา 20 ปี เริ่มตั้งแต่วันที่ 15 กันยายน 2558-14 กันยายน 2578 โดยเตรียมทุ่มทุนก้อนใหญ่ผุดสาขาในประเทศไทยอย่างน้อย 100 แห่ง

Read More

จับตาฟิตเนส ธุรกิจหมื่นล้าน ในวันที่กำลังกระอักเพราะพิษโควิด

ธุรกิจฟิตเนสเป็นหนึ่งในธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 มาอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่การระบาดในระลอกแรก จนถึงระลอกล่าสุดที่ดูจะหนักหนาสาหัสและอาจทำให้ผู้ประกอบการกว่าครึ่งจำต้องโบกมือลา ก่อนการอุบัติขึ้นของโรคโควิด-19 ธุรกิจฟิตเนสถือเป็นธุรกิจดาวรุ่งที่มีอัตราการเติบโตแบบก้าวกระโดดและมีการแข่งขันกันอย่างดุเดือด อันเนื่องมาจากเทรนด์ของคนในสังคมปัจจุบันที่หันมาใส่ใจในเรื่องการรักษาสุขภาพและออกกำลังกายกันมากขึ้น ผู้ประกอบการทั้งรายใหญ่รายย่อยต่างก้าวเข้าสู่สังเวียน เพื่อหาโอกาสทางธุรกิจและช่วงชิงส่วนแบ่งการตลาดก้อนโต ข้อมูลย้อนหลังจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ระบุว่า รายได้รวมของกลุ่มธุรกิจฟิตเนสในช่วงปี 2558-2560 เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยมีอัตราการเจริญเติบโตเฉลี่ยถึง 12.40% ต่อปี ฟิตเนสรายย่อยเปิดตัวมากขึ้นและกระจายตัวอยู่ในย่านชุมชนเพื่อจับกลุ่มลูกค้าที่ต้องการออกกำลังกายใกล้บ้าน ในขณะที่ฟิตเนสรายใหญ่ยังคงมีรายได้เติบโตอย่างต่อเนื่อง ซึ่งข้อมูล ณ ปี 2562 พบว่า มูลค่าตลาดโดยรวมของธุรกิจฟิตเนสอยู่ที่ 9,000-10,000 ล้านบาท เติบโตเฉลี่ย 10%-12% ต่อปี และคาดการณ์ว่าจะมีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่องถ้าไม่ประสบกับวิกฤตโควิด-19 อย่างในปัจจุบัน การแพร่ระบาดของโควิด-19 ในประเทศไทยที่เริ่มมาตั้งแต่ต้นปี 2563 ทำให้รัฐออกมาตรการต่างๆ เพื่อควบคุมการแพร่ระบาด ซึ่งหนึ่งในนั้นคือการสั่งปิดสถานที่ออกกำลังกายและฟิตเนสเป็นการชั่วคราว เพราะมองว่าเป็นสถานที่สุ่มเสี่ยงต่อการแพร่ระบาด โดยเป็นธุรกิจแรกๆ ที่ต้องปิดกิจการตามมาตรการรักษาความปลอดภัย แต่กลับเป็นกลุ่มท้ายๆ ที่จะสามารถกลับมาเปิดให้บริการตามปกติได้ ซึ่งแน่นอนว่าสิ่งที่เกิดขึ้นได้สร้างผลกระทบโดยตรงต่อผู้ให้บริการฟิตเนสทั้งรายใหญ่และรายย่อยอย่างถ้วนหน้า ผู้ประกอบการขาดสภาพคล่องทางการเงิน ฟิตเนสจำนวนไม่น้อยมีรายได้ต่อเดือนเท่ากับ “ศูนย์” ในขณะที่รายจ่ายยังคงเท่าเดิม ศุกรีย์ สุภาวรีกุล นายกสมาคมกีฬาเพาะกายและฟิตเนสแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ฟิตเนสต้องแบกรับค่าใช้จ่ายจำนวนมาก ทั้งค่าเช่า

Read More

ธุรกิจโรงแรม ทรุดหนัก ไร้สภาพคล่อง-ปรับตัวหนีตาย

การแพร่ระบาดของ COVID-19 นอกจากจะทำให้สังคมไทยเผชิญกับความยากลำบากและธุรกิจหลากหลายได้รับผลกระทบรุนแรงแล้ว ธุรกิจโรงแรมของไทยดูจะเป็นอีกกลุ่มธุรกิจหนึ่งที่ได้รับผลกระทบจากปรากฏการณ์ดังกล่าวไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน และกำลังเผชิญกับความท้าทายครั้งใหม่ว่าด้วยการสูญเสียธุรกิจและต้องล้มหายไปจากภูมิทัศน์ทางธุรกิจนี้ไปโดยปริยาย อุบัติการณ์ของการแพร่ระบาด COVID-19 ส่งผลให้จำนวนนักท่องเที่ยวทั่วโลกหดตัวเป็นประวัติการณ์ โดยในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2563 จำนวนนักท่องเที่ยวทั่วโลกลดลงถึงร้อยละ 72 เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้าโดยเฉพาะภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกลดลงถึงร้อยละ 82 ขณะที่สถานการณ์การแพร่ระบาดในปัจจุบันยังคงอยู่ในภาวะคับขัน ขณะที่ประเทศไทยเผชิญกับการระบาดระลอกใหม่ ส่งผลให้จำนวนผู้ป่วยใหม่ยังคงเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ผลกระทบจากการแพร่ระบาดรุนแรงและมีแนวโน้มยาวนาน ทำให้องค์การอนามัยโลก (World Health Organization: WHO) แนะนำว่าการสร้างให้เกิดภูมิคุ้มกันหมู่ หรือ Herd Immunity จำเป็นต้องมีการฉีดให้ครอบคลุมมากถึงร้อยละ 65-70 ของจำนวนประชากร ซึ่งต้องใช้เวลาและงบประมาณมหาศาล ขณะที่ความเชื่อมั่นของนักท่องเที่ยวจะไม่ฟื้นตัวเร็วเหมือนวิกฤตในอดีต เพราะความกังวลของประชาชนที่มีต่อโรคระบาดจะยังดำรงอยู่ต่อไปอีกอย่างน้อย 3-6 เดือน นอกจากนี้ รายได้และกำลังซื้อที่ลดลงรุนแรงทำให้ความต้องการเดินทางซึ่งถือว่าเป็นสินค้าฟุ่มเฟือยยังต้องใช้เวลาในการฟื้นตัว ภาคท่องเที่ยวของไทยทรุดหนัก นับตั้งแต่ประกาศใช้ พ.ร.ก. สถานการณ์ฉุกเฉิน เมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2563 และติดตามมาด้วยมาตรการห้ามอากาศยานทำการบินเข้าสู่ประเทศไทยเป็นการชั่วคราวระหว่างวันที่ 3 เมษายน 2563 - 30

Read More

จับชีพจรตลาดอสังหาฯ ไทย หวัง “วัคซีนต้านไวรัส” ช่วยบรรเทาพิษโควิด-19

ดีดีพร็อพเพอร์ตี้ (DDproperty) เว็บไซต์มาร์เก็ตเพลสด้านอสังหาริมทรัพย์อันดับ 1 ของไทย เผยการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ระลอกล่าสุด ส่งผลกระทบต่อการฟื้นตัวของภาพรวมเศรษฐกิจไทยต่อเนื่อง แม้จะมีมาตรการจากภาครัฐมาช่วยเหลือเยียวยาผู้ประกอบการและประชาชนที่ได้รับผลกระทบ แต่ยังไม่เพียงพอที่จะขับเคลื่อนการเติบโตของธุรกิจในช่วงปิดประเทศ ด้านตลาดอสังหาริมทรัพย์ยังคงชะลอตัวตามกำลังซื้อผู้บริโภค กลุ่มผู้ซื้อเพื่ออยู่อาศัยจริง (Real Demand) ยังคงมีความต้องการที่อยู่อาศัยแต่ไม่มีความพร้อมด้านการเงิน หวังความชัดเจนของแผนการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ตัวแปรสำคัญเข้ามาพลิกฟื้นความเชื่อมั่นและกระตุ้นการใช้จ่ายของผู้บริโภคให้กลับคืนมา ข้อมูลล่าสุดจากรายงาน DDproperty Thailand Property Market Index เผยดัชนีราคาที่อยู่อาศัยในกรุงเทพฯ ปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ 190 จุด จาก 197 จุด หรือลดลง 4% จากไตรมาสก่อน ถือเป็นดัชนีราคาที่ต่ำที่สุดในรอบ 15 ไตรมาส (นับตั้งแต่ไตรมาสที่ 2 ปี 2560) แม้เคยคาดการณ์ว่าตลาดอสังหาฯ จะมีแนวโน้มฟื้นตัวได้ในปีนี้ แต่จากสถานการณ์การแพร่ระบาดฯ อย่างต่อเนื่องในช่วงครึ่งปีแรก ทำให้มีความเป็นไปได้ยาก คาดว่าตลาดจะมีทิศทางเติบโตอีกครั้งเมื่อภาครัฐสามารถควบคุมการแพร่ระบาดฯ ได้ และมีการฉีดวัคซีนมากเพียงพอที่จะสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ในประเทศ นางกมลภัทร แสวงกิจ ผู้จัดการใหญ่ประจำประเทศไทยของดีดีพร็อพเพอร์ตี้ กล่าวว่า

Read More

พิษโควิดกลายพันธุ์ ตกงานพุ่งอีก หนี้ท่วม

แม้สถานการณ์โควิดรอบ 3 ยังไม่มีการใช้มาตรการล็อกดาวน์ 100% แต่การประกาศกฎเหล็กในบางจังหวัดบวกกับตัวเลขการแพร่ระบาดที่ยังมีแนวโน้มรุนแรงมากขึ้นจากการกลายพันธุ์ กำลังส่งผลกระทบต่อธุรกิจอย่างรุนแรง โดยเฉพาะจำนวนคนตกงานที่สะสมตั้งแต่ระลอกแรกและยืดเยื้อจนถึงวิกฤตครั้งล่าสุด ล่าสุด บริษัทหลายแห่งจำเป็นต้องงัดหลากหลายแผน เพื่อความอยู่รอด ตั้งแต่กดดันให้พนักงานเร่งทำยอดขายสร้างรายได้ ลดชั่วโมงการทำงานเพื่อลดค่าตอบแทน ไปจนถึงกำหนดเงื่อนไขเข้มงวด หากติดเชื้อโควิดต้องถูกพักงาน ไม่ได้รับเงินเดือน หรืออาจถึงขั้นไล่ออก หากพิสูจน์พบว่า เดินทางไปยังพื้นที่เสี่ยง ไปสังสรรค์ ไปเที่ยวสถานบันเทิง อย่างเช่นกรณีเฟซบุ๊ก Thawichaya Tungsaharangsee ของนายทวิษย์ชญะ ตั้งสหะรังษี หรือแจ็ค รัสเซล นักแต่งเพลง เล่าเหตุการณ์ที่รุ่นน้องคนหนึ่งเป็นพนักงานบริษัทเอกชน บริษัทให้หยุดทำงานที่บ้าน หรือ Work from Home 2 สัปดาห์ และยินดีจ่ายค่าทำงานให้เต็มจำนวน โดยมีกติกาห้ามออกนอกบ้าน ถ้าไม่จำเป็น เช่น เที่ยวเตร่ ดื่ม สังสรรค์ เดินชอปปิ้ง แต่หยุดได้แค่ 3 วัน เขากับเพื่อนในบริษัทอีก 3 คน รวม 4

Read More

ความเชื่อและความเป็นจริง วิ่งสวนทางในเศรษฐกิจไทย?

ความพยายามของกลไกรัฐไทยที่จะกระตุ้นเร้าความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจของไทยให้กลับมาฟื้นตัวขึ้น ดูจะเป็นสิ่งที่ย้อนทางกับข้อเท็จจริงที่ปรากฏอยู่ในห้วงเวลาปัจจุบัน เพราะแม้รัฐไทยจะพยายามสื่อสารว่าได้ตั้งเป้าหมายและต้องการที่จะผลักดันให้เศรษฐกิจไทยในปี 2564 กลับมาเติบโตที่ระดับร้อยละ 4 โดยจะเร่งการขับเคลื่อนเศรษฐกิจทุกมิติ ทั้งการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของรัฐบาล ซึ่งลงทุนอย่างต่อเนื่อง แม้จะอยู่ในช่วงวิกฤตการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 รวมถึงการเร่งการลงทุนในเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) และการเปิดประเทศต้อนรับนักท่องเที่ยว หากแต่จากการประเมินเศรษฐกิจไทยโดยกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) กลับระบุว่าเศรษฐกิจไทยปี 2564 จะเติบโตอยู่ที่ระดับร้อยละ 2.6 ซึ่งถือว่าอยู่ในระดับเดียวกับที่มีการคาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ที่ระดับร้อยละ 2.5-3.5 โดยไอเอ็มเอฟได้ชี้แนะให้รัฐไทยใช้นโยบายการเงินแบบเจาะจง ซึ่งขณะนี้กระทรวงการคลังอยู่ระหว่างหารือกับธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการรายใหญ่ ด้วยการแก้ พ.ร.ก. ซอฟต์โลน ซึ่งจะขยายไปถึงธุรกิจที่มีขนาดใหญ่กว่าเอสเอ็มอี เช่น ภาคโรงแรม ที่จะเป็นการให้สินเชื่อใหม่ เชื่อมโยงไปกับโครงการโกดังเก็บหนี้ ซึ่งจะให้ธุรกิจที่เดินต่อไปไม่ได้ให้โอนธุรกิจไว้ที่โกดังก่อน และเมื่อมีความสามารถก็ให้กลับมาซื้อคืนในราคายุติธรรม ต้องยอมรับว่าการตั้งเป้าหมายการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ระดับร้อยละ 4 เป็นโจทย์ที่ท้าทายและหวังผลสัมฤทธิ์ได้ยากในภาวะเช่นนี้ หากแต่กลไกรัฐไทยยังคงผูกพันอยู่กับความเชื่อที่ว่าปัจจัยที่จะทำให้เป้าหมายเศรษฐกิจดังกล่าวมีความเป็นไปได้ จะมาจากการส่งออกที่กลับมาฟื้นตัวรับอานิสงส์นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกา 1.9 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ และเมื่อประเทศไทยจะเปิดประเทศเพื่อต้อนรับนักท่องเที่ยวช่วงปลายปี ดังนั้นจึงมีความเป็นไปได้ที่เศรษฐกิจจะขยายตัวเป็นบวก ซึ่งถือเป็นความคาดหวังที่อยู่บนสมมุติฐานของความเชื่อ มากกว่าที่จะอยู่กับข้อเท็จจริง ซึ่งการดูแลเศรษฐกิจไทยให้ฟื้นตัวกลับมาเหมือนเดิมก่อนเกิดวิกฤต COVID-19 อาจต้องใช้เวลาไม่น้อยกว่า 2 ปีขึ้นไป ฐานความคิดที่ว่าเศรษฐกิจประเทศไทยเริ่มส่งสัญญาณฟื้นตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่องของผู้ที่เกี่ยวข้องกับการผลักดันมาตรการทางเศรษฐกิจในกลไกรัฐไทย ในด้านหนึ่งให้น้ำหนักอยู่กับการมาถึงและผลจากการฉีดวัคซีนต้าน

Read More

ธุรกิจโลจิสติกส์หวังฟื้น หลังผ่านมรสุม COVID-19

การแพร่ระบาดของ COVID-19 ส่งผลกระทบกระเทือนต่อภาคเศรษฐกิจสังคมอย่างกว้างขวางและหลากหลาย ซึ่งหนึ่งในภาคธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 ในช่วงปีที่ผ่านมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ก็คือ ธุรกิจขนส่งพัสดุ หรือโลจิสติกส์ ที่ได้รับผลจากการปิดพรมแดนและการระงับการขนส่งสินค้าและพัสดุทางอากาศในหลายประเทศ ซึ่งทำให้เกิดการหดตัวในธุรกิจโลจิสติกส์นี้มากกว่าร้อยละ 30-40 เลยทีเดียว วิกฤตจากการระบาดของ COVID-19 ส่งผลกระทบต่อธุรกิจโลจิสติกส์ เนื่องจากการขนส่งทั้งทางบกในประเทศ และขนส่งข้ามแดนมีความล่าช้า จากการล็อกดาวน์หลายพื้นที่ ส่วนการขนส่งทางอากาศถูกระงับไปหลังจากที่ธุรกิจการบินไม่สามารถทำการบินได้ ซึ่งทำให้ธุรกิจโลจิสติกส์ได้รับผลกระทบด้านรายได้อย่างหนัก ขณะที่การขนส่งทางเรือได้รับผลกระทบเช่นกัน แต่ยังมีการขนส่งสินค้านำเข้าส่งออกอยู่บ้าง สถานการณ์ดังกล่าวทำให้ธุรกิจโลจิสติกส์ในปี 2563 มีแนวโน้มจะหดตัวลงมากถึงร้อยละ 30-40 ซึ่งแม้ว่าการขนส่งหลายประเภทจะอยู่ในภาวะหดตัว แต่การขนส่งพัสดุ การขนส่งสินค้าถึงบ้านหรือเดลิเวอรี่ต่างๆ กลับมีการเติบโตสูงมาก สวนกระแสตลาดโดยรวม เนื่องจากห้างร้านปิดให้บริการ และการที่ประชาชนได้รับคำแนะนำให้อยู่บ้านเพื่อหยุดโรค ทำให้การใช้บริการสั่งซื้อสินค้าและบริการส่งตรงถึงบ้านปรับตัวสูงขึ้นในช่วงที่ผ่านมา ตัวเลขที่น่าสนใจในธุรกิจโลจิสติกส์อยู่ที่ธุรกิจนี้มีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยตลาดขนส่งพัสดุในไทยเติบโตอย่างก้าวกระโดดจากระดับ 18,000 ล้านบาทในปี 2559 มาสู่ระดับ 25,000 ล้านบาทในปี 2560 และพุ่งทะยานอย่างรวดเร็วมาสู่ระดับ 35,000 ล้านบาทในปี 2561 ก่อนที่จะขึ้นสู่ระดับ 49,000 ล้านบาทในปี 2562 และมาสู่ระดับ 66,000

Read More

เศรษฐกิจไทยยังเปราะบาง เร่งรัฐวางมาตรการฉุกเฉิน

สถานการณ์ทางเศรษฐกิจไทยในยุคหลังการแพร่ระบาดของ COVID-19 ที่ดำเนินต่อเนื่องมายาวนานกว่า 1 ปียังเป็นไปท่ามกลางความเปราะบางและไร้สัญญาณบวกที่จะพลิกฟื้นกลับมาโดยง่าย ขณะเดียวกันรายได้ครัวเรือนที่ปรับลดลง โดยเฉพาะกลุ่มครัวเรือนรายได้น้อยที่ยังไม่ฟื้นตัวจากการระบาดรอบก่อนและได้รับผลกระทบเพิ่มเติม ทำให้ต้องติดตามคุณภาพหนี้ในภาคครัวเรือนที่อาจด้อยลงในระยะต่อไป ผลกระทบจากการแพร่ระบาด COVID-19 ทำให้ภาคธุรกิจมีรายได้ลดลงและมีฐานะการเงินเปราะบางมากขึ้น โดยเฉพาะธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยวและบริการที่ยังไม่ฟื้นตัวจากการระบาดของโรค ขณะที่ธุรกิจ SMEs ประสบปัญหาความเสี่ยงด้านเครดิตที่ปรับสูงขึ้น ส่งผลให้สถาบันการเงินปล่อยสินเชื่อให้กลุ่มธุรกิจดังกล่าวน้อยลง และอาจทำให้ธุรกิจมีปัญหาขาดสภาพคล่องมากขึ้น บางธุรกิจมีโอกาสผิดนัดชำระหนี้และต้องยุติกิจการไปโดยปริยาย รายงานตัวเลขจีดีพีไตรมาส 4 ปี 2563 ของไทยยังติดลบเพิ่มอีกร้อยละ 4.2 จากไตรมาส 3 ที่ติดลบในระดับร้อยละ 6.4 ส่งผลให้จีดีพีปี 2563 ติดลบร้อยละ 6.1 ซึ่งเป็นอัตราการเติบโตที่ย่ำแย่ที่สุดในรอบ 22 ปีนับตั้งแต่เกิดวิกฤตต้มยำกุ้งในปี 2540 ซึ่งผลกระทบจาก COVID-19 ทำให้กระทบต่อภาคการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจในประเทศ ส่วนจีดีพีปี 2564 คาดว่าจะขยายตัวได้ที่ระดับร้อยละ 2.5-3.5 หรือเฉลี่ยที่ร้อยละ 3 ลดลงจากคาดการณ์เดิมที่ประเมินไว้ในระดับ 3.5-4.5 ประเด็นดังกล่าวสะท้อนความชัดเจนว่าเศรษฐกิจไทยยังไม่กลับเข้าสู่ศักยภาพเต็มที่ และยังมีปัญหาความเสี่ยงอยู่มาก รวมถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นในไตรมาส 1 ปีนี้ด้วย ซึ่งปัจจัยที่สนับสนุนให้เศรษฐกิจไทยขยายตัวในระดับร้อยละ

Read More

รีเทลคึกสู้โควิด เพลินนารี่อัพจุดขาย แจส กรีนวิลเลจ ลุยเฟสแรก

ธุรกิจค้าปลีกยุคโควิดอยู่ในช่วงแข่งขันสร้างแรงดึงดูดกำลังซื้อ โดยเฉพาะกลุ่มคอมมูนิตี้มอลล์ ทุกค่ายรีบเปลี่ยนวิกฤตเป็นโอกาสในจังหวะที่ผู้คนส่วนใหญ่ลดพฤติกรรมจากการเดินศูนย์การค้าขนาดใหญ่ หันมาใช้บริการห้างขนาดกลางขนาดเล็ก เพื่อลดความเสี่ยงจากการแพร่ระบาดที่ยังมีผู้ติดเชื้อใหม่และคลัสเตอร์ใหม่ๆ ตลอดเวลา แน่นอนว่า ความเป็นคอมมูนิตี้มอลล์เปิดโล่ง ลักษณะ Open Air และจำนวนผู้ใช้บริการไม่มาก กลายเป็นจุดขายใหม่ในยุค New Normal บางโครงการประกาศปรับเพิ่มพื้นที่ Free Space และพื้นที่สีเขียวรับมาตรการ Social Distancing มากขึ้น ขณะที่บางโครงการปรับภาพลักษณ์ พลิกจุดขายขยายฐานลูกค้ากว้างขึ้นด้วย อย่างล่าสุด กองทรัสต์เพื่อการลงทุนในสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์อัลไล (ALLY Leasehold Real Estate Investment Trust) ของบริษัท เค.อี. รีท แมเนจเมนท์ จำกัด ในเครือ เค.อี. กรุ๊ป ตัดสินใจปรับ Positioning โครงการ เพลินนารี่ มอลล์ วัชรพล ช้อปปิ้งมอลล์ จากเดิมเน้นภาพลักษณ์ช้อปปิ้งมอลล์สไตล์สวนสนุก คอนเซ็ปต์ Amusement Experience Shopping

Read More

คนอาเซียนยังกังวล เศรษฐกิจฉุดกำลังซื้ออสังหาฯ หวัง “วัคซีนต้านไวรัส” เป็นอัศวินขี่ม้าขาว ช่วยกระตุ้นความมั่นใจซื้อบ้าน

แม้ภาครัฐในหลายประเทศแถบอาเซียนจะออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องเพื่อหวังฟื้นความเชื่อมั่นและกระตุ้นกำลังซื้อในประเทศของตนให้กลับมา แต่แน่นอนว่าอิทธิพลจากปัจจัยต่าง ๆ ในตอนนี้ย่อมส่งผลให้ผู้บริโภคยังคงไม่มั่นใจในการใช้จ่ายมากพอ ข้อมูลจากรายงาน “Global Economic Prospects” ฉบับล่าสุดของธนาคารโลก เผยแนวโน้มเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียตะวันออกและแปซิฟิกในระยะสั้นยังคงมีความไม่แน่นอนสูงจากผลกระทบของการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 คาดว่าการฟื้นตัวจะไม่สม่ำเสมอและเปราะบาง ในขณะที่ความเสี่ยงด้านลบที่เพิ่มขึ้นอาจทำให้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจในภูมิภาคไม่เป็นไปตามที่คาดการณ์ไว้ ภาคอสังหาริมทรัพย์ในอาเซียนยังคงได้รับผลกระทบ เนื่องจากการซื้อที่อยู่อาศัยถือเป็นทรัพย์สินที่มีราคาสูงและเป็นภาระทางการเงินระยะยาว เมื่อผู้บริโภคต้องเผชิญความท้าทายทั้งจากสภาพเศรษฐกิจที่ชะลอตัวและได้รับผลกระทบของการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 จึงต้องวางแผนการเงินอย่างเข้มงวดและชะลอแผนการซื้ออสังหาฯ ออกไป ดีดีพร็อพเพอร์ตี้ (DDproperty) เว็บไซต์มาร์เก็ตเพลสด้านอสังหาริมทรัพย์อันดับ 1 ของไทย เผยผลสำรวจความคิดเห็นของผู้บริโภคที่มีต่อตลาดที่อยู่อาศัยในไทย DDproperty’s Thailand Consumer Sentiment Study ฉบับล่าสุด และผลสำรวจจากเว็บไซต์ในเครือ PropertyGuru Group (พร็อพเพอร์ตี้กูรู กรุ๊ป) ในสิงคโปร์ มาเลเซีย และอินโดนีเซีย ชี้ให้เห็นว่าแม้กำลังซื้อผู้บริโภคในอาเซียนจะได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดฯ อย่างต่อเนื่อง แต่ความต้องการที่อยู่อาศัยยังมีแนวโน้มเติบโตในอนาคตแน่นอน เห็นได้จากแผนการใช้จ่ายของผู้บริโภคกลุ่ม Millennials (มิลเลนเนียล) หรือ Gen Y มากกว่าครึ่งในประเทศสิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย และไทยที่ยังคงให้ความสำคัญไปที่การออมเงินเพื่อซื้อบ้านใน 1 ปีข้างหน้า

Read More