Home > ขนส่งพัสดุ

“ขนส่งพัสดุ” แสนล้าน ปณท ซุ่มเปิดศึกแฟรนไชส์

“ขนส่งพัสดุและไปรษณีย์” เป็นหนึ่งธุรกิจแฟรนไชส์ยอดนิยมไม่แพ้ร้านสะดวกซื้อ จากการเติบโตของอีคอมเมิร์ซและการขายของออนไลน์ รวมถึงแฟรนไชส์ร้านสารพัดบริการ One Stop Service มีตั้งแต่ไปรษณีย์เอกชน รับส่งพัสดุ จ่ายบิลออนไลน์ ค่าน้ำค่าไฟ บัตรเครดิต เติมเงินโอนเงิน ถ่ายรูปด่วน ถ่ายเอกสาร จองตั๋วเดินทาง ต่อภาษี ไปจนถึงทำประกัน แน่นอนว่า ไลฟ์สไตล์ของผู้คนเน้นความสะดวกสบาย ลดการเดินทาง ทำให้แฟรนไชส์ทั้งสองรูปแบบเกิดขึ้นมากมาย เอาเฉพาะที่ Thaifranchise center รวบรวมไว้ เช่น เมล์บ็อกซ์ วินเซ็นท์เซ็นเตอร์เซอร์วิส น้องฟ้าเซอร์วิส ควิกเซอร์วิส เก้าหน้าโพสเซอร์วิส กะปุกท็อปอัพ/สยามท็อปอัพ แอร์เพย์เคาน์เตอร์ เพย์พอยท์ เซอร์วิส ชิปป์สไมล์ เซอร์วิส ซุปเปอร์เอส มายเซฟ เดอะ เลตเตอร์โพสต์ เซอร์วิส ส่วนแฟรนไชส์ผู้ให้บริการขนส่งพัสดุอย่างเดียว เช่น แฟลชเอ็กซ์เพรส, J&T Express, ดีเอชแอล อีคอมเมิร์ซ, เบสท์ เอ็กซ์เพรส,

Read More

TVD สยายปีกรุกธุรกิจขนส่งพัสดุ Xpresso ชูบริการรวดเร็ว ทันใจ เริ่มต้น 25 บาท

TVD สยายปีกรุกธุรกิจขนส่งพัสดุ Xpresso บนแอปพลิเคชันและจุดบริการ 58 สาขา ชูบริการรวดเร็ว ทันใจ ฟีเจอร์ใหม่ ผู้ส่งแจ้งรับของล่วงหน้า เริ่มต้น 25 บาท ‘เอบีพีโอ’ หรือ ABPO เครือ บมจ.ทีวี ไดเร็ค แตกธุรกิจขนส่งพัสดุน้องใหม่แบรนด์ ‘Xpresso’ โมบายแอปพลิเคชันและจุดบริการ 58 สาขาทั่วประเทศ ด้วยบริการรับพัสดุถึงหน้าบ้านและส่งถึงปลายทาง (Door to Door) ชูฟีเจอร์ที่ผู้ส่งสินค้าสามารถแจ้งล่วงหน้าให้เข้ารับสินค้า ราคาเริ่มต้นที่ 25บาท เฟสแรกเปิดให้บริการพื้นที่กรุงเทพและปริมณฑล จ่อร่วมทุนสตาร์ทอัพสัญชาติไทย ผู้ให้บริการจองขนส่งพัสดุครบวงจรผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ เสริมศักยภาพธุรกิจให้บริการระบบจัดการคลังสินค้าออนไลน์ (Fulfillment) แบบครบวงจร ตั้งเป้าก้าวขึ้นเป็น Top 10 นายธีระพงษ์ ลิมป์ประเสริฐ หัวหน้าสายงาน Fulfillment และบริหารค้าปลีก บริษัท เอบีพีโอ จำกัด ในเครือบมจ.ทีวี ไดเร็ค (TVD) ผู้ดำเนินธุรกิจให้บริการจัดส่งสินค้าครบวงจร

Read More

พัสดุล้น-ส่งของล่าช้า วิกฤตซ้อนวิกฤตของขนส่งไทย?

ช่วงที่ผ่านมาขนส่งไทยกำลังเผชิญปัญหาและความท้าทายอย่างหนัก ภาพกล่องพัสดุตกค้างที่ไม่สามารถส่งถึงมือผู้รับได้ภายในกำหนดถูกวางกองเต็มโกดัง บางส่วนเป็นผลไม้สดที่กำลังเน่าเสีย ได้ถูกเผยแพร่ลงบนสื่อโซเชียล เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์ พร้อมเสียงสะท้อนของผู้ที่ได้รับผลกระทบเป็นวงกว้าง สร้างแรงสั่นสะเทือนให้กับแวดวงขนส่งไทยไม่น้อย จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ทวีความรุนแรงและมีตัวเลขผู้ติดเชื้อเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้ภาครัฐออกมาตรการคุมเข้มเพื่อลดการแพร่ระบาด สถานประกอบการ ร้านค้า ร้านอาหาร ห้างสรรพสินค้าถูกสั่งปิดชั่วคราว หลายธุรกิจต้องย้ายตัวเองมาอยู่บนออนไลน์ รวมไปถึงผู้ที่ได้รับกระทบจากการเลิกจ้างส่วนหนึ่งต่างผันตัวเองกลายมาเป็นพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์เพื่อประคับประคองให้รอดพ้นจากวิกฤตครั้งนี้ไปได้ ในขณะที่ผู้บริโภคเองก็หันมาสั่งซื้อสินค้าทางออนไลน์มากขึ้น ทั้งจากมาตรการล็อกดาวน์ งดการเดินทาง และเพื่อลดความเสี่ยงจากการติดเชื้อ จนการซื้อของออนไลน์กำลังกลายเป็น New Normal ของผู้คนในปัจจุบันไปแล้ว ซึ่งนั่นย่อมส่งผลให้ธุรกิจอีคอมเมิร์ซและขนส่งพัสดุเติบโตตามไปด้วย ปีที่ผ่านมาธุรกิจอีคอมเมิร์ซไทยเติบโตแบบก้าวกระโดดและนับเป็นธุรกิจที่เติบโตเร็วที่สุด ข้อมูลวิจัย “เศรษฐกิจดิจิทัลในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ประจำปี 2563 จาก Google, Temasek และ Bain & Company ระบุว่า มูลค่าตลาดของอีคอมเมิร์ซพุ่งสูงถึง 9,000 ล้านดอลลาร์ หรือราวกว่า 270,000 ล้านบาท และถือเป็นหนึ่งในตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจในช่วงวิกฤตโควิดอย่างนี้ แต่การแพร่ระบาดล่าสุดที่ขยายเป็นวงกว้างจนมีผู้ติดเชื้อพุ่งสูงถึงวันละ 17,000-18,000 คนต่อวัน ได้ส่งผลกระทบต่อบริษัทขนส่งพัสดุด้วยเช่นกัน พนักงานขนส่งพัสดุบางส่วนติดเชื้อโควิด-19 ทำให้ศูนย์รับและกระจายพัสดุมีพนักงานไม่เพียงพอ และบางสาขาถูกสั่งปิดชั่วคราว ในขณะที่จำนวนพัสดุยังคงหลั่งไหลเข้าสู่ระบบอย่างต่อเนื่อง จนทำให้เกิดความชะงักงันของระบบขนส่ง เกิดปัญหาการคัดแยกและทำให้จัดส่งพัสดุล่าช้าตามมา พัสดุจำนวนมากตกค้างอยู่ภายในโกดังไม่สามารถจัดส่งให้ถึงมือผู้รับได้ตามกำหนด

Read More

ธุรกิจโลจิสติกส์หวังฟื้น หลังผ่านมรสุม COVID-19

การแพร่ระบาดของ COVID-19 ส่งผลกระทบกระเทือนต่อภาคเศรษฐกิจสังคมอย่างกว้างขวางและหลากหลาย ซึ่งหนึ่งในภาคธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 ในช่วงปีที่ผ่านมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ก็คือ ธุรกิจขนส่งพัสดุ หรือโลจิสติกส์ ที่ได้รับผลจากการปิดพรมแดนและการระงับการขนส่งสินค้าและพัสดุทางอากาศในหลายประเทศ ซึ่งทำให้เกิดการหดตัวในธุรกิจโลจิสติกส์นี้มากกว่าร้อยละ 30-40 เลยทีเดียว วิกฤตจากการระบาดของ COVID-19 ส่งผลกระทบต่อธุรกิจโลจิสติกส์ เนื่องจากการขนส่งทั้งทางบกในประเทศ และขนส่งข้ามแดนมีความล่าช้า จากการล็อกดาวน์หลายพื้นที่ ส่วนการขนส่งทางอากาศถูกระงับไปหลังจากที่ธุรกิจการบินไม่สามารถทำการบินได้ ซึ่งทำให้ธุรกิจโลจิสติกส์ได้รับผลกระทบด้านรายได้อย่างหนัก ขณะที่การขนส่งทางเรือได้รับผลกระทบเช่นกัน แต่ยังมีการขนส่งสินค้านำเข้าส่งออกอยู่บ้าง สถานการณ์ดังกล่าวทำให้ธุรกิจโลจิสติกส์ในปี 2563 มีแนวโน้มจะหดตัวลงมากถึงร้อยละ 30-40 ซึ่งแม้ว่าการขนส่งหลายประเภทจะอยู่ในภาวะหดตัว แต่การขนส่งพัสดุ การขนส่งสินค้าถึงบ้านหรือเดลิเวอรี่ต่างๆ กลับมีการเติบโตสูงมาก สวนกระแสตลาดโดยรวม เนื่องจากห้างร้านปิดให้บริการ และการที่ประชาชนได้รับคำแนะนำให้อยู่บ้านเพื่อหยุดโรค ทำให้การใช้บริการสั่งซื้อสินค้าและบริการส่งตรงถึงบ้านปรับตัวสูงขึ้นในช่วงที่ผ่านมา ตัวเลขที่น่าสนใจในธุรกิจโลจิสติกส์อยู่ที่ธุรกิจนี้มีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยตลาดขนส่งพัสดุในไทยเติบโตอย่างก้าวกระโดดจากระดับ 18,000 ล้านบาทในปี 2559 มาสู่ระดับ 25,000 ล้านบาทในปี 2560 และพุ่งทะยานอย่างรวดเร็วมาสู่ระดับ 35,000 ล้านบาทในปี 2561 ก่อนที่จะขึ้นสู่ระดับ 49,000 ล้านบาทในปี 2562 และมาสู่ระดับ 66,000

Read More