Home > Economics

เงินเฟ้ออ่วม โลกเผชิญวิกฤตเศรษฐกิจ ส่องโอกาสที่ไทยคว้าได้

ภายหลังจากที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ หรือ Fed ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 75% สู่ระดับ 1.5-1.75% เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน ที่ผ่านมา นับว่าเป็นการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่ปี 1994 หรือในรอบ 28 ปี ซึ่งรัฐบาลสหรัฐฯ มีเป้าหมายที่จะสกัดภาวะเงินเฟ้อที่กำลังทวีความรุนแรงอยู่ในขณะนี้ ในห้วงยามนี้ทุกประเทศกำลังประสบกับสภาวะเงินเฟ้อ ไม่เว้นแม้แต่ประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจอย่างสหรัฐฯ โดยสถานการณ์เงินเฟ้อในเดือนพฤษภาคมของสหรัฐฯ ยังคงเร่งตัวต่อเนื่องที่ 8.6% และยังไม่มีทีท่าว่าจะชะลอตัว ประกอบกับมีการคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อระยะยาวของภาคครัวเรือนที่จัดทำโดย University of Michigan ยังปรับสูงขึ้นเป็น 3.3% ในเดือนมิถุนายน จึงทำให้ Fed กังวลว่าจะไม่สามารถควบคุมคาดการณ์เงินเฟ้อได้ และจะทำให้ปัญหาลุกลามมากขึ้น นอกจากนี้ คาดการณ์ดอกเบี้ยนโยบายของ Fed ยังบ่งชี้ถึงการปรับขึ้นดอกเบี้ยอีก 1.75% ในปีนี้ โดยคาดว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายสหรัฐฯ จะปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 3.4% ในสิ้นปีนี้ และ 3.8% ในสิ้นปีหน้า ก่อนปรับลดลงสู่ 3.4% ในปี 2024 ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจธนาคารไทยพาณิชย์

Read More

ความเชื่อและความเป็นจริง วิ่งสวนทางในเศรษฐกิจไทย?

ความพยายามของกลไกรัฐไทยที่จะกระตุ้นเร้าความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจของไทยให้กลับมาฟื้นตัวขึ้น ดูจะเป็นสิ่งที่ย้อนทางกับข้อเท็จจริงที่ปรากฏอยู่ในห้วงเวลาปัจจุบัน เพราะแม้รัฐไทยจะพยายามสื่อสารว่าได้ตั้งเป้าหมายและต้องการที่จะผลักดันให้เศรษฐกิจไทยในปี 2564 กลับมาเติบโตที่ระดับร้อยละ 4 โดยจะเร่งการขับเคลื่อนเศรษฐกิจทุกมิติ ทั้งการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของรัฐบาล ซึ่งลงทุนอย่างต่อเนื่อง แม้จะอยู่ในช่วงวิกฤตการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 รวมถึงการเร่งการลงทุนในเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) และการเปิดประเทศต้อนรับนักท่องเที่ยว หากแต่จากการประเมินเศรษฐกิจไทยโดยกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) กลับระบุว่าเศรษฐกิจไทยปี 2564 จะเติบโตอยู่ที่ระดับร้อยละ 2.6 ซึ่งถือว่าอยู่ในระดับเดียวกับที่มีการคาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ที่ระดับร้อยละ 2.5-3.5 โดยไอเอ็มเอฟได้ชี้แนะให้รัฐไทยใช้นโยบายการเงินแบบเจาะจง ซึ่งขณะนี้กระทรวงการคลังอยู่ระหว่างหารือกับธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการรายใหญ่ ด้วยการแก้ พ.ร.ก. ซอฟต์โลน ซึ่งจะขยายไปถึงธุรกิจที่มีขนาดใหญ่กว่าเอสเอ็มอี เช่น ภาคโรงแรม ที่จะเป็นการให้สินเชื่อใหม่ เชื่อมโยงไปกับโครงการโกดังเก็บหนี้ ซึ่งจะให้ธุรกิจที่เดินต่อไปไม่ได้ให้โอนธุรกิจไว้ที่โกดังก่อน และเมื่อมีความสามารถก็ให้กลับมาซื้อคืนในราคายุติธรรม ต้องยอมรับว่าการตั้งเป้าหมายการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ระดับร้อยละ 4 เป็นโจทย์ที่ท้าทายและหวังผลสัมฤทธิ์ได้ยากในภาวะเช่นนี้ หากแต่กลไกรัฐไทยยังคงผูกพันอยู่กับความเชื่อที่ว่าปัจจัยที่จะทำให้เป้าหมายเศรษฐกิจดังกล่าวมีความเป็นไปได้ จะมาจากการส่งออกที่กลับมาฟื้นตัวรับอานิสงส์นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกา 1.9 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ และเมื่อประเทศไทยจะเปิดประเทศเพื่อต้อนรับนักท่องเที่ยวช่วงปลายปี ดังนั้นจึงมีความเป็นไปได้ที่เศรษฐกิจจะขยายตัวเป็นบวก ซึ่งถือเป็นความคาดหวังที่อยู่บนสมมุติฐานของความเชื่อ มากกว่าที่จะอยู่กับข้อเท็จจริง ซึ่งการดูแลเศรษฐกิจไทยให้ฟื้นตัวกลับมาเหมือนเดิมก่อนเกิดวิกฤต COVID-19 อาจต้องใช้เวลาไม่น้อยกว่า 2 ปีขึ้นไป ฐานความคิดที่ว่าเศรษฐกิจประเทศไทยเริ่มส่งสัญญาณฟื้นตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่องของผู้ที่เกี่ยวข้องกับการผลักดันมาตรการทางเศรษฐกิจในกลไกรัฐไทย ในด้านหนึ่งให้น้ำหนักอยู่กับการมาถึงและผลจากการฉีดวัคซีนต้าน

Read More

เศรษฐกิจโลกฟื้น แต่ไทยยังไร้สัญญาณบวก

ความเป็นไปของการแพร่ระบาด COVID-19 ซึ่งส่งผลกระทบไปทั่วโลกและเป็นปัจจัยฉุดรั้งการจำเริญเติบโตทางสังคมเศรษฐกิจ-อุตสาหกรรมอย่างกว้างขวาง หากแต่การคาดการณ์ล่าสุดของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ได้ปรับเพิ่มตัวเลขคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจโลกในปี 2564 จากเดิมที่คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 5.2 มาสู่ระดับที่คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 5.5 ภายใต้ความเชื่อที่ว่าการอนุมัติและฉีดวัคซีนต้าน COVID-19 ในประเทศต่างๆ ในช่วงปลายปีที่ผ่านมาได้ช่วยเกื้อหนุนความหวังที่จะเห็นการยุติการแพร่ระบาดของโรคระบาดในอนาคตอันใกล้ กองทุนการเงินระหว่างประเทศยังประเมินว่าเศรษฐกิจโลกในปี 2563 ที่ผ่านมามีทิศทางที่ดีขึ้นกว่าที่เคยคาดการณ์ไว้เดิม โดยคาดว่าเศรษฐกิจโลกปี 2563 จะหดตัวลดลงที่อัตราร้อยละ 3.5 ซึ่งดีกว่าตัวเลขที่คาดการณ์ไว้ในเดือนตุลาคม ที่ IMF ระบุว่าเศรษฐกิจโลกจะชะลอตัวลดลงที่ระดับร้อยละ 4.4 ตัวเลขทางเศรษฐกิจที่มีแนวโน้มดีขึ้นจากการคาดการณ์ไว้เดิมนี้ ในด้านหนึ่งเป็นผลจากการออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศเศรษฐกิจขนาดใหญ่ ทั้งจีน สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และประเทศในยุโรป ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญต่อการฟื้นฟูเศรษฐกิจโลกในภาพรวม แต่เศรษฐกิจโลกยังคงเผชิญกับความไม่แน่นอน ท่ามกลางการแพร่ระบาดรอบใหม่ และการกลายพันธุ์ของไวรัสที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต การกระเตื้องขึ้นของเศรษฐกิจโลกดำเนินไปท่ามกลางการคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาในปี 2564 จะขยายตัวร้อยละ 5.1 จากเดิมที่คาดว่าจะขยายตัวเพียงร้อยละ 3.1 โดยได้ปัจจัยหนุนจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจวงเงิน 9 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ ตามมาตรการภายใต้อดีตประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ และหากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจวงเงิน 1.9 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐของประธานาธิบดีโจ ไบเดน ผ่านการอนุมัติเห็นชอบของรัฐสภาก็จะส่งผลให้เศรษฐกิจสหรัฐอเมริกามีการขยายตัวเพิ่มมากขึ้นอีก ขณะเดียวกันเศรษฐกิจจีนในปี

Read More

COVID-19 เป็นเหตุ ฉุด FDI ทั่วโลกซบเซา

ผลพวงจากวิกฤตการแพร่ระบาดของ COVID-19 นอกจากจะส่งผลกระทบทั่วโลก และมีผลต่อเศรษฐกิจในระยะสั้นแล้ว ยังเป็นปัจจัยกดดันต่อการลงทุนโดยตรงระหว่างประเทศ (FDI) โดยจากการคาดการณ์ล่าสุดของ UNCTAD เมื่อเดือนมิถุนายน 2020 ระบุว่า Global FDI จะลดลงประมาณร้อยละ-30 ถึง -40 ในปีนี้ ซึ่งเป็นตัวเลขที่ใกล้เคียงกับคาดการณ์ของ OECD ที่มีมาก่อนหน้านี้ สาเหตุหลักที่ทำให้การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศอยู่ในภาวะหดตัวลง ในด้านหนึ่งเกิดขึ้นจากมาตรการปิดเมืองซึ่งทำให้โปรเจกต์การลงทุนประสบความล่าช้าหรืออาจโดนยกเลิก โดยมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดในหลายประเทศ ส่งผลให้โครงการการลงทุนหลายแห่งถูกเลื่อนออกไป หรืออาจถูกยกเลิกจากความเสี่ยงที่โครงการเหล่านั้นจะไม่สำเร็จ ซึ่งจากข้อมูลสถิติของ UNCTAD พบว่าโครงการการเงิน(Project finance) ทั่วโลกในเดือนเมษายนลดลงประมาณร้อยละ -40 จากค่าเฉลี่ยรายเดือนในปี 2019 และลดลงเกือบถึงร้อยละ -50 จากเดือนมีนาคม โดยส่วนใหญ่เป็นการหดตัวจากโครงการการเงินในประเทศกำลังพัฒนา สะท้อนถึงแนวโน้มการหดตัวของโครงการการลงทุน ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของ FDI ในปีนี้ ขณะเดียวกันเศรษฐกิจโลกที่เข้าสู่ภาวะถดถอยทำให้บริษัทมีกำไรลดลง หรือบางบริษัทอาจมีความจำเป็นต้องปิดกิจการ จึงทำให้เม็ดเงินลงทุนมีแนวโน้มลดลงมาก โดยภาวะเศรษฐกิจถดถอยย่อมกระทบถึงกำไรของบริษัท จึงทำให้บริษัทวางแผนการลงทุนที่รัดกุมมากขึ้น ซึ่งจากการเก็บรวบรวมข้อมูลในเดือนกุมภาพันธ์ถึงพฤษภาคมโดย UNCTAD พบว่าบรรษัทข้ามชาติ (Multinational Enterprises :

Read More

แมนพาวเวอร์กรุ๊ป ออกโรงแนะแรงงานรับมือ ฝ่าเศรษฐกิจซบ-จีดีพีโตต่ำ 2%

แมนพาวเวอร์กรุ๊ป ออกโรงแนะแรงงานรับมือ ฝ่าเศรษฐกิจซบ-จีดีพีโตต่ำ 2% ภาคธุรกิจส่งสัญญาณชะลอตัว ผู้ประกอบการรัดเข็มขัด หวั่นสะเทือนตลาดแรงงานปีนี้ จากสถานการณ์เศรษฐกิจของประเทศไทยและทั่วโลกตั้งแต่ปลายปี 62 จนถึงไตรมาสแรกปี 63 เมื่อเทียบกับช่วง 10 ปีที่ผ่านมาอัตราเติบโตเฉลี่ยของเศรษฐกิจไทย อยู่ที่ 3.3% แต่ในปีที่ผ่านมากับปี 63 มีการส่งสัญญาณชะลอตัวโดยมีปัจจัยจากเศรษฐกิจโลกและในประเทศ โดยข้อมูลล่าสุดจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ระบุปัจจัยลบที่ส่งผลต่อเศรษฐกิจประเทศไทยในปีนี้ มี 3 ปัจจัยหนักๆ ได้แก่ การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ หรือ โควิด19 อีกปัจจัยจะเป็นเรื่องภาวะภัยแล้ง และความล่าช้าของงบประมาณปี 63 ทำให้เศรษฐกิจไทยปีนี้อาจขยายตัวต่ำกว่าปีที่ผ่านมา นอกจากนี้ ยังจะต้องติดตามต่ออีกว่าการแพร่ระบาดของ โควิด19 จะกินระยะเวลาอีกนานแค่ไหน หากสถานการณ์ยังยืดเยื้อต่อเนื่องก็จะมีความเสี่ยงที่เศรษฐกิจไทยปีนี้อาจขยายตัวต่ำกว่า 2% สำหรับกลุ่มธุรกิจที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดจากปัจจัยลบโดยเฉพาะโรคระบาดก็คือ ธุรกิจท่องเที่ยวซึ่งในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาประเทศไทยมีรายได้เฉลี่ยปีละ 2.9 ล้านล้านบาทคิดเป็น 20% ของจีดีพีเกี่ยวข้องกับทั้งโรงแรม ภัตตาคาร ค้าปลีก ขนส่ง และอื่นๆ คิดเป็น

Read More

เผาจริงเศรษฐกิจไทยปี 63 กับปัจจัยเสี่ยงฉุดจีดีพีลด

คนไทยเริ่มต้นศักราชใหม่ด้วยความประหวั่นพรั่นพรึงจากหลายเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นทั้งในไทยและต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความหวาดวิตกต่อสถานการณ์ที่จะส่งผลต่อปากท้องของตัวเอง นักวิเคราะห์ด้านเศรษฐกิจและสังคมส่วนใหญ่แสดงความคิดเห็นไปในแนวทางเดียวกันว่า สถานการณ์เศรษฐกิจของไทยที่ยืนอยู่ขอบเหวหรือขาหนึ่งก้าวลงเหวไปแล้วในปี 2562 นั้นเป็นแค่การเผาหลอก แต่ปี 2563 นี่เรียกได้ว่า “เผาจริง” ภาครัฐพยายามดิ้นรนหลายต่อหลายครั้งเพื่อรักษาลมหายใจเฮือกสุดท้ายเอาไว้ให้ได้นานที่สุด หากภาครัฐไม่เข้าข้างตัวเองจนเกินไป และเปิดตามองให้ลึกถึงแก่นแท้ของปัญหา จะเห็นความจริงที่ว่า เศรษฐกิจไทยกำลังเข้าขั้นวิกฤตโดยที่ประชาชนทุกหย่อมหญ้าได้รับผลกระทบ แน่นอนว่าประเทศไทยไม่อาจดำรงและขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศให้ดำเนินไปข้างหน้าได้ด้วยลำพังตัวเอง เมื่อไทยยังต้องคอยรับอานิสงส์จากปัจจัยแวดล้อมจากเศรษฐกิจโลก ทว่า อีกสิ่งหนึ่งที่ไม่อาจปฏิเสธได้คือการแก้ปัญหาของภาครัฐ ที่แม้จะบอกว่าเป็นการหยิบยื่นโอกาสให้แก่ประชาชนที่อยู่ในเศรษฐกิจระดับรากหญ้า ประหนึ่งหยอดน้ำมันลงไปในฟันเฟืองตัวสุดท้าย ด้วยหวังว่าจะให้มีแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจในระดับมหภาค ทว่าการหว่านเม็ดเงินเข้าระบบผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐนั้น ไม่อาจสร้างความยั่งยืนและมั่นคงให้แก่รากฐานของเศรษฐกิจไทยได้ เพราะสุดท้ายแล้วรัฐนาวาจะไม่เห็นความเปลี่ยนแปลงในระบบเศรษฐกิจ นอกเสียจากมือเปล่าที่ยื่นขึ้นมารอคอยความช่วยเหลือจากภาครัฐอีกครั้ง นอกเหนือไปจากเสียงโอดครวญและถ้อยคำบริภาษของประชาชนที่บอกเล่าถึงความยากลำบากในการหาเลี้ยงชีพแล้ว ตัวเลขจีดีพีเป็นอีกสิ่งที่บ่งบอกถึงสถานการณ์ทางเศรษฐกิจได้เป็นอย่างดี แนวโน้มทางเศรษฐกิจในปีนี้ที่มีปัจจัยลบหลายด้านทำให้ ลวรณ แสงสนิท ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เปิดเผยว่า สศค. ได้ปรับลดประมาณการขยายตัวทางเศรษฐกิจหรือจีดีพีปี 2563 ลงจากเดิมที่คาดไว้ว่า เศรษฐกิจไทยจะเติบโต 3.3 เปอร์เซ็นต์ เหลือเติบโตเพียง 2.8 เปอร์เซ็นต์ ขณะที่การส่งออกคาดว่าจะขยายตัวเพียง 1 เปอร์เซ็นต์ จากเดิมที่คาดว่าจะขยายตัวที่ 2.6 เปอร์เซ็นต์ ขณะที่การบริโภคเอกชนลดจาก 3.5 เปอร์เซ็นต์ เหลือ 3.2 เปอร์เซ็นต์ ด้านการนำเข้าในปีนี้จะขยายตัว

Read More

เศรษฐกิจไทยทรุดหนัก หนี้ครัวเรือนโตแซงจีดีพี

นอกจากสถานการณ์ฝุ่นพิษขนาดจิ๋ว หรือ PM2.5 ที่กำลังคุกคามความเป็นอยู่ของผู้คนในสังคมไทยอย่างหนักหน่วงแล้ว ดูเหมือนว่าภัยคุกคามทางเศรษฐกิจลูกใหม่กำลังก่อตัวขึ้นอย่างช้าๆ และพร้อมที่จะสร้างผลกระทบสั่นสะเทือนสังคม เศรษฐกิจไทยในระยะต่อไปไม่น้อยเลย หนี้ครัวเรือนไทยในช่วงปี 2563 หรือระยะนับจากนี้ ได้รับการคาดหมายว่าจะมีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้นในอัตราที่ใกล้เคียงหรือแม้กระทั่งมีโอกาสที่จะเติบโตเร็วกว่าการขยายตัวทางเศรษฐกิจ โดยข้อมูลล่าสุดของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) พบว่าแม้หนี้ครัวเรือนของไทยในไตรมาส 3/2562 มียอดคงค้างที่ 13.239 ล้านล้านบาท ชะลอการเติบโตลงมาที่ร้อยละ 5.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (YoY) ซึ่งนับว่าต่ำที่สุดในรอบ 6 ไตรมาส หากแต่หนี้ครัวเรือนที่ชะลอตัวลงดังกล่าว เป็นผลมาจากฐานเปรียบเทียบที่สูงในช่วงเดียวกันปีก่อน ขณะที่เมื่อเปรียบเทียบไตรมาสต่อไตรมาส ยังคงเห็นยอดคงค้างหนี้ครัวเรือนขยับขึ้นเร็วกว่าการเติบโตของมูลค่ากิจกรรมทางเศรษฐกิจอีกด้วยซ้ำ และมีความเป็นไปได้ที่จะเห็นสัดส่วนหนี้ครัวเรือนในปี 2563 ขยับขึ้นไปอยู่ในกรอบประมาณร้อยละ 80.0-81.5 ต่อจีดีพีเลยทีเดียว สถานการณ์หนี้ครัวเรือนในช่วงที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน เป็นผลทำให้สัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อจีดีพีของไทยขยับไล่ระดับขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 79.1 ในไตรมาสที่ 3/2562 สูงสุดในรอบเกือบ 3 ปี จากระดับร้อยละ 78.7 ในช่วงครึ่งแรกของปี 2562 ซึ่งสภาพการณ์ดังกล่าวสอดคล้องกับผลสำรวจสถานการณ์หนี้สินและเงินออมของครัวเรือนปี 2562 ซึ่งพบว่าร้อยละ 44 ของผู้กู้-ครัวเรือนที่มีหนี้ มีภาระหนี้หรือเป็นหนี้เพิ่มขึ้น แม้ว่าผลสำรวจดังกล่าวจะสะท้อนภาพและมีจุดเน้นอยู่ที่ครัวเรือนในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลเป็นด้านหลัก

Read More

เศรษฐกิจโลกทรุด ต้นเหตุส่งออกไทยติดลบ?

ดูเหมือนว่าฟันเฟืองตัวสำคัญในระบบเศรษฐกิจไทยยากที่จะเข็นขึ้นเสียแล้ว เมื่อการวาดหวังว่าห้วงเวลาสุดท้ายของปี สถานการณ์การค้าระหว่างประเทศของไทยอาจจะกระเตื้องขึ้นบ้าง จะเห็นได้จากบรรยากาศสงครามการค้าระหว่างจีนกับสหรัฐฯ เวลานี้ที่คลื่นลมสงบ นั่นเพราะทั้งสองฝ่ายต่างเห็นว่าการฟาดฟันกันด้วยกลยุทธ์ทางภาษีอาจไม่ใช่หนทางที่ดี และเจ้าหน้าที่ของรัฐบาลทั้งสองฝ่ายต่างพยายามหาทางออกที่เหมาะสม การเว้นวรรคจากการห้ำหั่นกันของสองชาติมหาอำนาจไม่ได้ช่วยให้สถานการณ์ทางเศรษฐกิจของแต่ละประเทศดีขึ้นเท่าใดนัก เมื่อหลายประเทศกำลังประสบกับสภาวะชะงักงันทางเศรษฐกิจ หลายประเทศต้องออกมาตรการและนโยบายด้านการเงินและการคลัง โดยหวังว่าจะช่วยกระตุ้นชีพจรให้เครื่องจักรเศรษฐกิจทำงานได้เต็มประสิทธิภาพมากขึ้น เมื่อลองพิจารณาชาติมหาอำนาจอย่างจีนที่มีอัตราการเติบโตต่ำสุดในรอบเกือบ 30 ปี ตัวเลขการขยายตัวทางเศรษฐกิจต่ำกว่าเป้าประสงค์ของรัฐบาลจีน นั่นเพราะปัจจัยทั้งภายในประเทศที่ทำให้ทางการจีนต้องออกมาตรการเพื่อกระตุ้นให้เศรษฐกิจฟื้นตัวขึ้นมาบ้าง ทว่า คงไม่ใช่แค่ประชากรในประเทศจีนเท่านั้นที่จะต้องติดตามว่ามาตรการทางเศรษฐกิจต่างๆ ที่รัฐบาลจีนนำออกมาใช้จะเพียงพอให้เศรษฐกิจจีนหลุดพ้นจากภาวะชะงักงันได้หรือไม่ เมื่อยังมีความเสี่ยงภาคการเงินจากหนี้ที่อยู่ในระดับสูง ซึ่งนั่นทำให้จีนต้องระวังที่จะใช้นโยบายทางการเงินมากพอสมควร ขณะที่ไทยเองยังต้องติดตามสถานการณ์ทางเศรษฐกิจของจีน นั่นเพราะจีนถือว่าเป็นประเทศคู่ค้าที่สำคัญ และไทยพึ่งพาเศรษฐกิจโลกในสัดส่วนที่สูง ทำให้การส่งออกเชิงดอลลาร์สหรัฐตั้งแต่เดือนมกราคมถึงกรกฎาคม ติดลบ 2.0 เปอร์เซ็นต์ แต่ในรูปเงินบาทหดตัวติดลบ 2.43 เปอร์เซ็นต์ โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทยออกมาคาดการณ์ว่าในไตรมาส 4/2562 ทางการจีนน่าจะออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้นโยบายการคลัง ส่งผลให้อัตราการเติบโตของจีนในไตรมาส 4/2562 น่าจะทรงตัวอยู่ในระดับเดียวกับไตรมาสก่อนหน้าที่ร้อยละ 6.0 และทั้งปี 2562 เศรษฐกิจจีนน่าจะเติบโตที่ร้อยละ 6.2 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันกับปีก่อน อย่างไรก็ดี ท่ามกลางเศรษฐกิจโลกที่มีแนวโน้มอ่อนแรงลง และในปี 2563 จะชะลอตัวต่ำลงกว่าในปีนี้ โดยอาจขยายตัวต่ำกว่าร้อยละ 6 ซึ่ง IMF ได้ปรับลดประมาณการการขยายตัวของเศรษฐกิจจีนเหลือ 5.8 แล้วในปีหน้า โดยความเสี่ยงจากสงครามการค้าที่ยืดเยื้อและประสิทธิผลในการดำเนินนโยบายแบบขยายตัวของทางการจีนที่น่าจะมีจำกัดมากขึ้นจะเป็นประเด็นที่ต้องติดตามต่อไป แม้สงครามการค้าระหว่างจีนกับสหรัฐฯ

Read More

ภาระหนักรัฐบาลใหม่ ผลักดันอนาคตเศรษฐกิจไทย

แม้ว่าการเลือกตั้งทั่วไป 2562 จะผ่านพ้นไปแล้ว และได้เห็นเค้าลางของผู้ชนะผู้แพ้ในสนามเลือกตั้งกันไปพอสมควร หากแต่ทิศทางการเมืองไทยและโฉมหน้ารัฐบาลใหม่ที่จะเข้ามาบริหารประเทศกลับตกอยู่ในภาวะคลุมเครือ และยากที่จะสรุปอย่างชัดเจนว่าจะดำเนินไปอย่างไร ซึ่งอาจเนิ่นนานไปตามกำหนดเวลาของการประกาศรับรองผลการเลือกตั้งอย่างเป็นทางการของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ที่คาดว่าจะมีขึ้นอย่างเร็วที่สุดในช่วงต้นเดือนพฤษภาคมไปแล้ว ความคาดหวังของสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาคธุรกิจเอกชนว่าด้วยความเชื่อมั่นและแรงขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจ ภายหลังการเลือกตั้ง ซึ่งเป็นความคาดหวังที่ผูกโยงอยู่กับทัศนะเชิงบวกและการกระตุ้นปลอบเร้า ด้วยหวังว่ารัฐบาลใหม่จะสามารถเร่งระดมปลุกปั้นเศรษฐกิจไทยให้กลับมาฟื้นคืนและแข็งแกร่งอีกครั้ง ดูจะอ่อนแรงลงไปอย่างช้าๆ เมื่อประเมินจากข้อเท็จจริงที่ว่า ความชัดเจนและระยะเวลาของการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ที่ทอดยาวออกไปกำลังก่อให้เกิด “ภาวะเสียโอกาสซ้ำซาก” ที่อาจฉุดให้เศรษฐกิจไทยต้องตกอยู่ในภาวะชะงักงันไปจนถึงสิ้นสุดไตรมาสที่ 2 และอาจต่อเนื่องไปสู่ไตรมาสที่ 3 ของปีเลยทีเดียว บรรยากาศแห่งความไม่แน่นอนทางการเมืองที่ปกคลุมอยู่ในห้วงเวลาปัจจุบัน กลายเป็นปัจจัยที่พร้อมจะแช่แข็งเศรษฐกิจไทยไปโดยปริยาย แม้ว่าในการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนไทยก่อนหน้านี้จะพบว่าประชาชนในสัดส่วนมากถึงร้อยละ 63.64 แสดงความมั่นใจว่าภายหลังการเลือกตั้ง เศรษฐกิจไทยจะดีขึ้น ในขณะที่กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 32.27 ระบุว่าเศรษฐกิจไทยจะยังดำเนินอยู่ในสภาพที่ย่ำแย่เหมือนเดิม โดยมีอีกร้อยละ 4.09 ประเมินว่าเศรษฐกิจไทยจะแย่ลงกว่าที่เคยเป็นอยู่ในช่วงก่อนมีการเลือกตั้ง ข้อเท็จจริงที่น่าสนใจประการหนึ่งจากการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนก่อนการเลือกตั้งดังกล่าวอยู่ที่ประชาชนส่วนใหญ่ถึงร้อยละ 45.73 ประเมินว่าไม่มีพรรคการเมืองใดเลยที่มีนโยบายในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและปากท้องของประชาชนได้อย่างจริงจัง แม้ว่าจะมีประชาชนบางส่วนชื่นชอบแนวนโยบายเศรษฐกิจของแต่ละพรรคการเมืองในสัดส่วนที่ลดหลั่นกันไป ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าประชาชนจำนวนไม่น้อยตระหนักว่าปัญหาเศรษฐกิจปากท้องของประชาชน ไม่ใช่ปัญหาที่จะแก้ไขได้โดยง่าย ขณะเดียวกันภายใต้สถานการณ์ที่ผลักให้รัฐบาลชุดใหม่มีแนวโน้มที่จะเป็นรัฐบาลผสมหลายพรรค การนำนโยบายเศรษฐกิจที่พรรคการเมืองแต่ละพรรคนำเสนอในช่วงหาเสียงเลือกตั้งมาผนวกผสานเพื่อสร้างให้เป็นกรอบโครงนโยบายสาธารณะของรัฐบาล ดูจะเป็นสิ่งที่ห่างไกลจากข้อเท็จจริงที่ประชาชนจะคาดหวังได้ ความเป็นไปทางการเมืองที่ปรากฏอยู่เบื้องหน้าว่าด้วยการช่วงชิงบทบาทนำในการเป็นแกนกลางในการจัดตั้งรัฐบาลที่กำลังดำเนินอยู่อย่างเข้มข้น ท่ามกลางการเจรจาต่อรองผลประโยชน์ทั้งในมิติของอำนาจและตำแหน่งแห่งที่ในคณะรัฐบาลที่กำลังจะเกิดมีขึ้นในอนาคต ยังเป็นการเน้นย้ำให้เห็นถึงความเปราะบางทางการเมืองของไทยที่ทำให้การผลักดันมาตรการทางเศรษฐกิจสังคมนับจากนี้ ถูกผูกโยงเข้ากับวิถีของการแบ่งปันผลประโยชน์ของผู้มีบทบาททางการเมืองแต่ละส่วน มากกว่าที่จะเกิดขึ้นจากการประสานข้อเด่น-ด้อยของนโยบายที่แต่ละฝ่ายมี มาสกัดและสังเคราะห์ให้เกิดประโยชน์ในทางสาธารณะสำหรับประชาชนซึ่งเป็นผู้ออกเสียงลงคะแนนและเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของสังคมไทยอย่างแท้จริง ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา กลไกภาครัฐพยายามที่จะบ่งชี้ว่า เศรษฐกิจไทยเติบโตขึ้น โดยล่าสุดได้นำเสนอตัวเลขทางเศรษฐกิจไทยรวมทั้งปี 2561 ว่าขยายตัวร้อยละ

Read More

2560 จุดเปลี่ยนประเทศไทย?

  ความเปลี่ยนแปลง นอกจากจะมีลักษณะเป็นอนิจจลักษณ์ที่ยากจะทัดทานต่อการเคลื่อนไปของกาลเวลา บางครั้งยังเป็นสิ่งที่ไม่อาจหยั่งรู้ถึงผลและนำมาซึ่งความแปลกแยกไม่น้อย กรณีว่าด้วยความพยายามของรัฐบาลภายใต้การนำของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. ที่มี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นหัวหน้าคณะ ในการนำเสนอรูปแบบการเปลี่ยนแปลงของสังคมผ่านนโยบายและวาทกรรมว่าด้วย ไทยแลนด์ 4.0 มาอย่างต่อเนื่อง ดูจะเป็นตัวอย่างที่เด่นชัดในประเด็นนี้ เพราะในมิติที่กว้างขวางและลึกลงไปนั้น หลายฝ่ายยังคงตั้งข้อสังเกตและแสดงความห่วงกังวลต่อรูปธรรมของการพัฒนาดังกล่าวไม่น้อย เพราะในขณะที่เยาวชนคนรุ่นใหม่ ซึ่งกำเนิดเกิดขึ้นและมีวิถีชีวิตผูกพันกับยุคสมัยที่เทคโนโลยีก้าวหน้าไปอย่างมาก จนอาจจะเรียกได้ว่า เป็น Native Digital generation พัฒนาการตามแนวนโยบายไทยแลนด์ 4.0 กลับได้รับการกำหนดขึ้นจากกลุ่มผู้มากประสบการณ์ที่สั่งสมภูมิรู้และเติบโตมาจากสังคมในยุคอนาล็อกที่อาจเพิ่งข้ามพ้นเส้นแบ่ง 2G มาสู่ 3G ได้ไม่นาน ขณะเดียวกันประเด็นว่าด้วย ไทยแลนด์ 4.0 ซึ่งได้รับอิทธิพลทางความคิดต่อเนื่องมาจากแนวการพัฒนากระบวนการผลิตใน Industry 4.0 ซึ่งเป็นแนวความคิดหลังยุคแห่งการพัฒนาอุตสาหกรรมมาสู่ยุคของเทคโนโลยีดิจิทัล ก่อให้เกิดคำถามว่าสังคมไทยได้เคลื่อนผ่านกระบวนการผลิตแบบดั้งเดิมที่ใช้ข้อได้เปรียบด้านแรงงาน หรือพัฒนาข้ามเข้าสู่ยุคหลังอุตสาหกรรมแล้วหรือยัง เพราะในขณะที่พัฒนาการทางเศรษฐกิจไทยกว่าร้อยละ 80 ยังดำเนินไปท่ามกลางวิถีการผลิตแบบไทยแลนด์ 1.0 และ 2.0 กล่าวคือ ภาคการผลิตไทยยังดำเนินอยู่ภายใต้วิถีแห่งเกษตรกรรม ขณะที่พัฒนาการของภาคอุตสาหกรรมไทยก็เพิ่งปรับเปลี่ยนโครงสร้างการผลิต จากการผลิตเพื่อทดแทนการนำเข้า มาสู่การส่งเสริมการผลิตเพื่อส่งออก โดยพึ่งพาการหลั่งไหลของทุนและเทคโนโลยีจากต่างประเทศ โดยไม่มีการถ่ายทอดทางเทคโนโลยีการผลิตมากนัก กระนั้นก็ดี ในเอกสารของทางราชการจำนวนไม่น้อยต่างระบุว่าประเทศไทยได้ก้าวเข้าสู่

Read More