Home > Vaccine

หวังวัคซีนหนุนจีดีพีโต ช่วยดึงเศรษฐกิจไทยพ้นวิกฤต

การแพร่ระบาดของ COVID-19 ระลอกใหม่ที่ดำเนินมาตั้งแต่เมื่อเดือนเมษายน 2564 ดูจะเป็นปัจจัยเร่งที่ฉุดให้การเติบโตของเศรษฐกิจไทยทรุดหนักลงไปอีก โดยการคาดการณ์ของจีดีพีไทยในปี 2564 ล่าสุดได้รับการประเมินว่าจะอยู่ในระดับที่เติบโตเพียงร้อยละ 0.8-1.6 ต่อปี หลังจากที่การระบาดระลอกที่ 3 มีแนวโน้มว่าจะก่อให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจมากถึง 5.8 แสนล้านบาท ผลพวงของการระบาดระลอกใหม่ดังกล่าวทำให้กลไกรัฐคงระดับความเข้มข้นของมาตรการควบคุมโรคยาวนานขึ้น ซึ่งส่งผลกระทบต่อการเดินทางท่องเที่ยวในประเทศ ขณะที่แผนการเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ รวมถึงอุปสงค์ในประเทศได้รับผลทางลบค่อนข้างมาก โดยมูลค่าความเสียหายต่อเศรษฐกิจมีแนวโน้มที่จะเพิ่มสูงถึง 4.0-5.8 แสนล้านบาท ซึ่งการระบาดของ COVID-19 ระลอกเดือนเมษายนส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจในประเทศมากกว่า 3 เดือน โดยสถานการณ์การระบาดในประเทศได้แพร่กระจายไปยังหลายคลัสเตอร์ทั่วประเทศ จนเป็นการยากที่จะควบคุมให้ได้ในเวลาอันรวดเร็ว สะท้อนจากจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ที่เพิ่มขึ้นเฉลี่ย 2,000-3,000 คนต่อวัน ข้อมูลที่น่าสนใจในช่วงปลายเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมาอยู่ที่สัดส่วนผู้ที่ได้รับการฉีดวัคซีนที่ยังอยู่ในระดับต่ำที่ร้อยละ 2.3 และกระจุกตัวเพียงบางพื้นที่ ทำให้จำเป็นต้องกลับมาใช้มาตรการควบคุมการระบาดที่เข้มงวดขึ้นอีกครั้ง ซึ่งย่อมกระทบต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจโดยรวมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ก่อนที่การรณรงค์ระดมปูพรมฉีดวัคซีนจะเริ่มขึ้นในช่วงต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา ท่ามกลางความสับสนกังวลต่อปริมาณและการกระจายวัคซีนที่กลไกรัฐดำเนินการอยู่ว่าจะสามารถขยับสัดส่วนการฉีดวัคซีนให้เพิ่มมากขึ้นตามเป้าหมายที่รัฐกำหนดไว้ ปัจจัยสำคัญที่ทำให้หลายฝ่ายประเมินสถานการณ์ทางเศรษฐกิจในทิศทางลบหนักหน่วงมากขึ้น เกิดขึ้นจากรูปแบบการแพร่ระบาดที่มีแนวโน้มรุนแรงและยาวนานกว่าที่คาด ส่งผลให้ต้องคงระดับความเข้มข้นของมาตรการควบคุมโรคให้ยาวนานขึ้น ขณะที่แผนการเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติยังไม่แน่นอนสูงจากการแพร่ระบาดของเชื้อกลายพันธุ์สายพันธุ์อังกฤษและอินเดียในหลายประเทศ และการระบาดครั้งใหม่นี้ทำให้เศรษฐกิจและตลาดแรงงานมีแนวโน้มฟื้นตัวได้ล่าช้ากว่าเดิม การคาดการณ์ผลกระทบต่อเศรษฐกิจในช่วง 4 เดือนระหว่างเมษายนถึงกรกฎาคม คาดว่าอุปสงค์ในประเทศจะเสียหายประมาณ 1.3 แสนล้านบาท หรือประมาณร้อยละ 0.9 ต่อจีดีพี ซึ่งในกรณีที่เลวร้ายกว่านั้นหากยาวนานไปถึง

Read More

“ดีป้า” หนุนโมเดล ภูเก็ตต้องชนะ.com จัดการวัคซีนในพื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพ

"ดีป้า" หนุนโมเดล ภูเก็ตต้องชนะ.com ผลลัพธ์การประยุกต์ใช้ดิจิทัล สู่ระบบจัดการวัคซีนในพื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล สนับสนุนแพลตฟอร์ม ภูเก็ตต้องชนะ.com ผลลัพธ์ความร่วมมือระหว่างรัฐ-เอกชนในการผลักดันให้เกิดการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของประชาชนท่ามกลางวิกฤตโควิด-19 ช่วยบริหารจัดการข้อมูลเพื่อให้ประชาชนได้รับวัคซีนอย่างทั่วถึง พร้อมตั้งเป้าประชาชนในพื้นที่ได้รับวัคซีนครบ 2 เข็มเกิน 70% รองรับการเปิดเมืองรับนักท่องเที่ยว 1 กรกฎาคมนี้ ดร.ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการใหญ่ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ ดีป้า เปิดเผยว่า ตามที่ นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีดีเอส) มีข้อสั่งการให้ ดีป้า ดำเนินการสนับสนุนอย่างเต็มกำลังในการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาประยุกต์ใช้เพื่อช่วยให้ประเทศไทยข้ามผ่านวิกฤตการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) โดยหนึ่งในกุญแจสำคัญคือ แพลตฟอร์ม ภูเก็ตต้องชนะ.com ที่ ดีป้า บูรณาการการทำงานร่วมกับจังหวัดภูเก็ต ดิจิทัลสตาร์ทอัพ รวมถึงภาคเอกชนในพื้นที่เร่งพัฒนาขึ้นตั้งแต่เดือนมีนาคมที่ผ่านมา ทั้งนี้ ดีป้า พร้อมด้วยผู้ให้บริการดิจิทัล (Digital Provider) ตลอดจนหน่วยงานภาครัฐและเอกชนร่วมพัฒนาแพลตฟอร์ม ภูเก็ตต้องชนะ.com ขึ้น เพื่อให้ประชาชน รวมถึงผู้ประกอบการในพื้นที่ได้รับวัคซีนอย่างทั่วถึงและรวดเร็ว

Read More

ท็อปส์ เดลี่ และ แฟมิลี่มาร์ท อาสาช่วยคน กทม. ลงทะเบียนจองสิทธิ์ฉีดวัคซีนโควิด-19 ผ่านเว็บ www.ไทยร่วมใจ.com

ท็อปส์ เดลี่ และ แฟมิลี่มาร์ท ในเครือเซ็นทรัล รีเทล พร้อมช่วยเหลือประชาชนด้วยความห่วงใย ตอบรับความร่วมมือ กับกรุงเทพมหานคร เปิดเป็นจุดบริการรับลงทะเบียนจองฉีดวัคซีนโควิด-19 ในระบบ “ไทยร่วมใจ กรุงเทพปลอดภัย” ที่ร้านท็อปส์ เดลี่ และ แฟมิลี่มาร์ท รวม 316 สาขา ในกรุงเทพมหานคร เพื่ออำนวยความสะดวกให้ประชาชนในพื้นที่กรุงเทพฯ ที่ยังไม่คุ้นเคยกับการใช้ดิจิทัลแพลตฟอร์มได้เข้าถึงการฉีดวัคซีน หยุดเชื้อ เพื่อชาติ ได้ง่ายและสะดวกมากขึ้น ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งในพันธกิจที่ให้ความสำคัญกับการดูแลประชาชน พร้อมให้ความร่วมมือและสนับสนุนการปฏิบัติงานของภาครัฐในการควบคุมการแพร่ระบาดมาโดยตลอด ภายใต้โครงการ “ไทยร่วมใจ กรุงเทพปลอดภัย” จะเปิดให้ผู้ที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร ที่มีอายุตั้งแต่ 18-59 ปี ซึ่งไม่ได้เป็น 7 กลุ่มโรคเสี่ยง ลงทะเบียนจองฉีดวัคซีน โดยพนักงานท็อปส์ เดลี่ และ แฟมิลี่มาร์ท ทั้ง 316 สาขาในกรุงเทพมหานคร พร้อมอาสาลงทะเบียนจองสิทธิ์ฉีดวัคซีนโควิด-19 ให้กับประชาชน ผ่านเว็บไซต์ www.ไทยร่วมใจ.com เริ่มตั้งแต่วันที่

Read More

หวังพึ่งปาฏิหาริย์วัคซีน ปลุกอสังหาริมทรัพย์ฟื้น

การมาถึงของวัคซีนป้องกัน COVID-19 ดูกำลังจะเป็นประหนึ่งยาวิเศษและแก้วสารพัดนึกที่ปลุกให้ภาคธุรกิจอุตสาหกรรมหลากหลายกลับมามีความหวังหลังจากที่ตกอยู่ในภาวะซบเซาต่อเนื่องมานานกว่า 1 ปีนับตั้งแต่เริ่มมีการแพร่ระบาดของโรค แม้ว่าการนำเข้าวัคซีนดังกล่าวจะทำให้ไทยเป็นประเทศแรกในกลุ่มอาเซียนที่มีการนำเข้าวัคซีนเชิงพาณิชย์จากจีน หลังจากที่ประเทศสมาชิกอื่นๆ ได้รับวัคซีนด้วยวิธีอื่นๆ ไปก่อนหน้าแล้วก็ตาม ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์นับเป็นอีกธุรกิจหนึ่งที่มี Multiplier Effect สูงมาก ไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะการซื้อบ้าน ซื้อคอนโด ซื้อทาวน์เฮาส์เท่านั้น หากแต่ยังเกี่ยวเนื่องกับธุรกิจสี ปูนซีเมนต์ เหล็ก เฟอร์นิเจอร์ เครื่องปรับอากาศ หรือเครื่องครัว ซึ่งการฟื้นตัวของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์อาจจะช่วยให้เกิดความต่อเนื่องทางธุรกิจและน่าจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจไปกว้างขวางยิ่งขึ้น หากแต่ในช่วงที่ผ่านมา ภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เป็นอีกธุรกิจหนึ่งที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 โดยดัชนีราคาที่อยู่อาศัยกรุงเทพฯ ลดลงร้อยละ 2 มาอยู่ที่ 197 จุด ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 14 ไตรมาส ขณะที่แนวโน้มราคาและอุปทาน มีทิศทางลดลงต่อเนื่องในช่วงครึ่งปีแรก โดยกำลังซื้อจากผู้บริโภคต่างชาติที่หายไปนาน รวมถึงความไม่แน่นอนทางการเมือง อาจทำให้ตลาดอสังหาริมทรัพย์ ฟื้นตัวช้าลงจากที่คาดไว้ช่วงครึ่งหลังปีนี้ โดยล่าสุด พบว่า COVID-19 ระลอกใหม่ส่งผลให้แนวโน้มราคาอสังหาริมทรัพย์ลดลงต่อเนื่องจากไตรมาส 4 ปีที่แล้ว และจะไม่ปรับตัวเพิ่มขึ้นในช่วงครึ่งปีแรกนี้ ด้านดัชนีอุปทานก็มีแนวโน้มลดลงเช่นกัน เนื่องจากผู้ประกอบการหันมาเร่งระบายสต็อกคงค้างและชะลอการเปิดโครงการใหม่ ขณะที่ความต้องการซื้อก็ถูกดูดซับไปจำนวนมากจากสงครามราคาที่รุนแรงช่วงที่ผ่านมา แม้ว่าสงครามราคาอาจไม่ใช่ปัจจัยสำคัญที่ช่วยกระตุ้นการฟื้นตัว หากแต่มาตรการเยียวยาจากภาครัฐอย่างตรงจุดและความชัดเจนของการฉีดวัคซีนจะเป็นตัวแปรสำคัญที่เร่งการฟื้นตัว ส่วนมาตรการลดภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง

Read More

เมื่อความหวังเดินทางมาถึง และโอกาสของการท่องเที่ยวไทย

ทันทีที่ล้อของเครื่องบินแอร์บัส A350-900 เที่ยวบินที่ TG 675 ที่เดินทางออกจากปักกิ่งแตะพื้นรันเวย์กรุงเทพ นั่นหมายความว่า “ความหวังเดินทางมาถึง” และการรอคอยด้วยใจจดจ่อสิ้นสุดลงเมื่อวันพุธที่ 24 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา เมื่อวัคซีนล็อตแรกจำนวน 200,000 โดสจากทั้งหมด 2 ล้านโดส ส่งตรงจากบริษัท ซิโนแวค ไบโอเทค จำกัด จากสาธารณรัฐประชาชนจีน ถูกส่งถึงจุดหมายปลายทาง นอกจากนี้ ยังมีวัคซีนจากแอสตราเซเนกา จำนวน 117,000 โดส ที่เดินทางมาถึงไทยเช่นกัน โดยวัคซีนล็อตแรกนี้จะถูกฉีดให้แก่บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขด่านหน้าทั้งภาครัฐและเอกชน บุคคลที่มีโรคประจำตัว อาทิ โรคทางเดินหายใจเรื้อรังรุนแรง โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคไตเรื้อรังระยะที่ 5 โรคเบาหวาน โรคอ้วน กลุ่มผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมโรคโควิด-19 ที่มีโอกาสสัมผัสผู้ป่วย เป็นที่ทราบกันดีว่า วัคซีนคือกุญแจสำคัญในการปลดล็อกกิจกรรมทางเศรษฐกิจทั้งในไทยและต่างประเทศ เพราะนอกจากหน้าที่หลักของวัคซีนคือการลดความรุนแรงและโอกาสการติดเชื้อไวรัสโควิดให้แก่ประชาชนแล้ว ยังทำหน้าที่เป็นตัวแปรในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจทั้งระบบ แม้เศรษฐกิจไทยและทั่วโลกจะอยู่ในภาวะชะลอตัวก่อนที่โลกจะได้รู้จักกับความร้ายกาจของโควิด-19 แต่เชื้อไวรัสโควิดกลับสร้างรอยช้ำให้เศรษฐกิจทรุดตัวลงหนักกว่าเดิม โดยในปี 2563 ภาพรวมจีดีพีไทยหดตัวลงถึง 6.1 เปอร์เซ็นต์ หลายอุตสาหกรรมที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยหยุดชะงัก

Read More