Home > ที่อยู่อาศัย

“หนี้บ้าน” มรดกที่ควรได้หรือภาระที่ต้องจ่าย

การกู้ซื้อที่อยู่อาศัยถือเป็นการกู้ที่มีวงเงินสูง และมีระยะเวลาผ่อนชำระสินเชื่อที่ยาวนาน ธนาคารจึงมีหลักเกณฑ์พิจารณาที่เข้มงวดในการอนุมัติสินเชื่อจากความสามารถของผู้ขอสินเชื่อ และหลักทรัพย์ที่นำมาเป็นหลักประกัน นอกจากนี้เพื่อกระจายความเสี่ยงในการค้างชำระหนี้ ธนาคารจะมีการนำเสนอประกันต่าง ๆ ที่มีความคุ้มครองในหลายรูปแบบเพื่อให้ผู้กู้ได้พิจารณาผลประโยชน์ที่ได้รับ ช่วยลดปัญหาการเกิดภาระหนี้จากเหตุสุดวิสัย รวมทั้งแนะนำประกันที่ช่วยลดความเสี่ยงในการผลักภาระการผ่อนชำระนี้ให้เป็นมรดกหนี้ก้อนโตตกทอดไปสู่ทายาทของผู้กู้แบบไม่ได้ตั้งใจ หากเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดกับผู้กู้อีกด้วย ซึ่งช่วยลดความเสี่ยงให้กับธนาคารจากการไม่ได้รับชำระหนี้ด้วยเช่นกัน อสังหาริมทรัพย์ถือเป็นทรัพย์ที่มีมูลค่าเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ในมุมมองผู้บริโภคจึงถือเป็นมรดกชิ้นสำคัญที่พ่อแม่จะส่งมอบให้กับบุตรหลานในอนาคต ข้อมูลจากผลสำรวจ DDproperty’s Thailand Consumer Sentiment Study รอบล่าสุด พบว่า แผนการซื้อที่อยู่อาศัยของกลุ่มมิลเลนเนียลชาวไทยซึ่งอยู่ในวัยทำงาน เกือบครึ่งนึง (49%) ยังต้องการอยู่บ้านเดิมเพื่อดูแลพ่อแม่อย่างใกล้ชิด ตามมาด้วย ยังไม่มีเงินออมเพียงพอสำหรับเช่าหรือซื้อบ้านเป็นของตนเองถึง 43% ในขณะที่อีก 22% มีความตั้งใจจะรับช่วงต่อบ้านหลังเดิมจากพ่อแม่อยู่แล้ว สะท้อนให้เห็นว่าการซื้อบ้านใหม่อาจจะยังไม่ใช่สิ่งจำเป็นมากนักเมื่อประเมินจากสภาพคล่องทางการเงินของผู้บริโภคในเวลานี้ นอกจากนี้ การรับมรดกที่อยู่อาศัยต่อจากพ่อแม่หรือผู้ปกครองก็เป็นความหวังในการมีบ้านเป็นของตัวเองที่หลายคนรอคอยเช่นกัน โดยทั่วไปแล้วผู้บริโภคส่วนใหญ่มักมีภาระในการผ่อนชำระสินเชื่ออื่น ๆ ไปพร้อมกับสินเชื่อที่อยู่อาศัย ทำให้เมื่อประเมินภาระหนี้แล้ว จำเป็นต้องกู้ร่วมกับคู่รักหรือญาติพี่น้องเพื่อให้ได้สินเชื่อบ้านตามวงเกินที่ต้องการ อย่างไรก็ดี ผู้บริโภคต้องไม่ลืมที่จะวางแผนสำรองเพื่อเตรียมรับมือเมื่อเกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิดในระยะยาวด้วย อาทิ ผู้กู้ร่วมอาจประสบปัญหาทางการเงินหรือตกงาน การเลิกรา/หย่าร้างของผู้กู้ร่วมในกรณีที่เป็นคู่รัก หรือการเสียชีวิตของตัวผู้กู้เอง หรือผู้กู้ร่วม ซึ่งล้วนมีผลต่อการผ่อนชำระหนี้โดยตรง อาจทำให้ต้องแบกรับภาระหนี้บ้านเพียงลำพังที่หนักเกินไป นอกจากนี้ยังอาจส่งผลให้เกิดปัญหาด้านกรรมสิทธิ์ของบ้าน/คอนโดฯ ที่เป็นเจ้าของร่วมกันตามมาได้ในภายหลัง ดีดีพร็อพเพอร์ตี้

Read More

คลายข้อสงสัย LGBTQ+ อยากกู้ซื้อบ้าน เผชิญความท้าทาย-โอกาสมากน้อยแค่ไหน?

เดือนมิถุนายนของทุกปีถือเป็นเดือนแห่งความเท่าเทียมทางเพศที่เรียกกันว่า Pride Month ของกลุ่มคนที่มีความหลากหลายทางเพศ (LGBTQ+) โดยมีจุดเริ่มต้นมาจากเหตุการณ์ใช้ความรุนแรงต่อผู้มีความหลากหลายทางเพศที่ประเทศสหรัฐอเมริกาในวันที่ 28 มิถุนายน 1969 ซึ่งนำมาสู่การเรียกร้องสิทธิของชาว LGBTQ+ ทั่วโลก และการเดินขบวนเรียกร้องสิทธิ LGBT Pride March ในปีถัดมา ปัจจุบันสังคมทั่วโลกตระหนักรู้และยอมรับความเสมอภาคทางเพศและได้ให้ความสำคัญไปจนถึงนำเสนอสินค้าหรือบริการที่เจาะกลุ่มคนที่มีความหลากหลายทางเพศมากขึ้น อย่างไรก็ดีผู้บริโภคชาว LGBTQ+ ต้องการการยอมรับจากสังคมด้วยความเข้าใจที่แท้จริง และความต้องการของเขาเหล่านี้ก็ไม่ได้ผิดแผกแตกต่างจากกลุ่มผู้บริโภคที่เป็นเพศชายและหญิงมากนัก แต่สิ่งที่ชัดเจนคือการยอมรับในความเป็นสมาชิกคนหนึ่งในสังคม ข้อมูลจากรายงาน LGBT GDP, WEALTH & TRAVEL DATA 2018 โดย LGBT Capital คาดการณ์ว่าทั่วโลกมีจำนวนประชากรกลุ่ม LGBTQ+ ประมาณ 6.5% หรือประมาณ 496 ล้านคน อยู่ในแถบเอเชียประมาณ 293 ล้านคน โดยประชากร LGBTQ+ ชาวไทยมีถึง 4.5 ล้านคน ซึ่งผู้บริโภคกลุ่มนี้มีกำลังซื้อและพฤติกรรมการใช้เงินในระดับดี มีการประมาณส่วนแบ่งความมั่งคั่งในครัวเรือนของผู้บริโภค

Read More

LPN เสนอขายหุ้นกู้ อายุ 3 ปี แก่นักลงทุนทั่วไป ดอกเบี้ยคงที่ 3.95%

LPN เตรียมออกหุ้นกู้อายุ 3 ปี อัตราดอกเบี้ยคงที่ 3.95% ให้กับผู้ลงทุนทั่วไป เสนอขายระหว่างวันที่ 10 – 12 พฤษภาคมนี้ จ่ายดอกเบี้ยทุก 3 เดือน จองซื้อขั้นต่ำ 1 แสนบาท ผ่าน 4 สถาบันการเงินเป็นผู้จัดการการจัดจำหน่ายหุ้นกู้ นายอภิชาติ เกษมกุลศิริ เจ้าหน้าที่บริหารระดับสูงด้านการเงิน บริษัท แอล.พี.เอ็น.ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) (LPN) เปิดเผยว่า LPN เตรียมเสนอขายหุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีประกัน และมีผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ให้กับผู้ลงทุนทั่วไป อายุหุ้นกู้ 3 ปี อัตราดอกเบี้ยคงที่ 3.95% ต่อปี กำหนดจ่ายดอกเบี้ยทุก 3 เดือน มูลค่าจองซื้อขั้นต่ำ 100,000 บาท และทวีคูณทุก 100,000 บาท กำหนดเสนอขายวันที่ 10

Read More

LPN Wisdom ระบุ 3 เทรนด์ การออกแบบที่อยู่อาศัยในปี 2564

LPN Wisdom ระบุ การออกแบบโดยเพิ่มพื้นที่ใช้สอยที่ใช้งานได้หลากหลายมากขึ้น, ให้ความสำคัญกับสุขอนามัยในการอยู่อาศัย, และการนำเทคโนโลยีเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการออกแบบที่พักอาศัย เป็นเทรนด์ของการออกแบบที่ตอบทุกโจทย์การอยู่อาศัยของคนทุกวัยในปี 2564 นายประพันธ์ศักดิ์ รักษ์ไชยวรรณ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ลุมพินี วิสดอม แอนด์ โซลูชั่น จำกัด (มหาชน) (LPN Wisdom) บริษัทวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ในเครือบริษัท แอล.พี.เอ็น. ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) กล่าวถึงการออกแบบที่อยู่อาศัยในปี 2564 ว่า หลังการแพร่ระบาดของโคโรน่าไวรัสสายพันธ์ใหม่ 2019 (COVID-19) ตั้งแต่ปี 2562 ไปทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทยและต่อเนื่องมาถึงปี 2564 ผนวกกับประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่สังคมของผู้สูงวัย ทำให้พฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไป โดยเฉพาะพฤติกรรมของผู้ซื้อที่อยู่อาศัย ที่หันมาให้ความสนใจในการซื้อบ้านพักอาศัยมากขึ้นจากผลการสำรวจของ LPN Wisdom พบว่าปี 2563 มีการเปิดตัวโครงการบ้านพักอาศัยในเขตกรุงเทพฯ-ปริมณฑล 44,001 ยูนิต คิดเป็นสัดส่วนถึง 63% ของจำนวนโครงการที่เปิดขาย 70,126 ยูนิต

Read More

คอนโดฯ ป่วนยอดติดเชื้อ “บ้านเดี่ยว” มาแรงฮุบตลาด

ข้อมูลผู้ติดเชื้อไวรัส “โควิด-19” ในคอนโดมิเนียมบางแห่งที่มีการส่งต่อกันผ่านสื่อโซเชียลมีเดีย บวกกับกระแสข่าวกลุ่มวัยรุ่นคึกคะนอง นักท่องเที่ยวต่างชาติ แอบรวมตัวกันจัดปาร์ตี้ หลังรัฐบาลประกาศใช้ พ.ร.ก. ฉุกเฉินฯ ตั้งแต่เวลา 4 ทุ่ม-ตี 4 ปิดสถานบันเทิงทุกแห่งทั่วประเทศ สร้างความตื่นกลัวและกำลังเป็นจุดเปลี่ยนทำให้บริษัทอสังหาริมทรัพย์พลิกเกมหันมารุกตลาดบ้านเดี่ยวรองรับมาตรการ Social Distancing มากขึ้น ขณะเดียวกันภาพรวมตลาดอสังหาริมทรัพย์เจอปัจจัยลบเพิ่มขึ้นตั้งแต่ช่วงกลางปี 2562 ทั้งปัญหากำลังซื้อลดลงจากวิกฤตหนี้ครัวเรือนจนถูกธนาคารปฏิเสธสินเชื่อ ภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว มาตรการกำกับดูแลสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย (LTV) ที่เข้มงวดมากขึ้น และปัญหาการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในประเทศต่างๆ ทั่วโลก ส่งผลให้กลุ่มลูกค้าต่างชาติหายไปเกือบ 100% แน่นอนว่า ตลาดคอนโดมิเนียมโดนผลกระทบรอบด้าน โดยเฉพาะในกรุงเทพฯ และปริมณฑล เพราะมีโครงการคอนโดมิเนียมหนาแน่น ซึ่งศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ (REIC) เคยประเมินเมื่อช่วงต้นปี 2563 คาดตลาดอสังหาริมทรัพย์ในกรุงเทพฯ และปริมณฑลน่าจะทรงตัวหรือบวกเพียงเล็กน้อย แต่ล่าสุดฟันธงจะติดลบ 10% โดยคอนโดมิเนียมติดลบมากสุด จากปี 2562 ที่มีหน่วยโอนกรรมสิทธิ์คอนโดมิเนียม 98,000 หน่วย จะลดลงเหลือ 89,000 หน่วย ส่วนที่อยู่อาศัยแนวราบจะใกล้เคียงปีก่อน

Read More