Home > Suporn Sae-tang

กองทุนประกันสังคม เม็ดเงินมหาศาล 2 ล้านล้าน

แนวความคิดการประกันสังคมเกิดขึ้นในยุโรปจากการเปลี่ยนแปลงระบบการผลิต มีการค้นคิดเครื่องจักรทำให้มีการจ้างแรงงานมากขึ้น แต่เกิดปัญหาหลายอย่าง รัฐจึงต้องออกกฎหมายให้หลักประกันแก่คนงาน เริ่มจากการประกันด้านการเจ็บป่วย โดยเริ่มขึ้นที่ประเทศเยอรมนีในสมัยเจ้าชายบิสมาร์ค (Prince Otto Von-Bismarck) เป็นนายกรัฐมนตรี หลังจากนั้นขยายการประกันครอบคลุมมากขึ้น กลายเป็นต้นแบบให้ประเทศอื่นๆ ในยุโรปและสหรัฐอเมริกา สำหรับภูมิภาคเอเชีย ญี่ปุ่นเป็นประเทศแรกที่ประกาศใช้กฎหมายประกันสังคมในปี 2454 ด้านประเทศไทย การตั้งกองทุนเงินทดแทนเป็นก้าวแรกของการประกันสังคมไทยที่ให้หลักประกันแก่ลูกจ้างกรณีประสบอันตราย หรือเจ็บป่วยด้วยโรคอันเนื่องมาจากการทำงาน เมื่อปี 2515 ภายใต้การบริหารของสำนักงานกองทุนเงินทดแทน กรมแรงงาน ตามประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 103 ลงวันที่ 16 มีนาคม 2515 ในปีแรกครอบคลุมเฉพาะสถานประกอบการที่มีลูกจ้าง 20 คนขึ้นไปในเขตกรุงเทพฯ แล้วค่อยๆ ขยายจนครบทุกจังหวัดทั่วประเทศเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2531 ต่อมา รัฐบาลจัดตั้งสำนักงานประกันสังคมตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 2 กันยายน 2533 มีนายอำพล สิงหโกวินท์ เป็นเลขาธิการคนแรก แต่กว่าจะไปถึงจุดนั้น กลุ่มผู้นำนักศึกษา นักวิชาการ อดีตอธิบดีกรมแรงงาน กลุ่มผู้นำสหภาพแรงงาน ออกมาเคลื่อนไหวเรียกร้องตั้งแต่ปลายสมัยรัฐบาล พล.อ.เปรม

Read More

บัตรทอง 6 รัฐบาล เป้าเพื่อไทยลุย “30 บาทพลัส”

บัตรทอง 30 บาท เป็นอีกหนึ่งนโยบายที่มีการสานต่อมานานกว่า 22 ปี ผ่านรัฐบาลมาแล้ว 6 ชุด จนถึงรัฐบาลชุดปัจจุบันของนายเศรษฐา ทวีสิน ที่มี นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว นั่งเก้าอี้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข โดยประกาศเดินหน้ายกระดับ 30 บาทพลัส ที่คุยว่าครอบคลุมการดูแลสุขภาพทุกมิติ พร้อมแผนการใหญ่ โรงพยาบาล กทม. 50 เขต 50 โรงพยาบาล และปริมณฑล ก่อนเกิดโครงการบัตรทอง 30 บาท ประเทศไทยมีระบบสวัสดิการและหลักประกันสุขภาพ 5 ระบบ ได้แก่ ระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลของข้าราชการและรัฐวิสาหกิจ ระบบประกันสังคม ระบบประกันสุขภาพโดยสมัครใจ หรือโครงการบัตรสุขภาพเสียเงินรายเดือนหรือรายปี โครงการสวัสดิการประชาชนด้านการรักษาพยาบาล (สปร.) หรือ บัตรอนาถา และระบบประกันสุขภาพของภาคเอกชน ว่ากันว่า ทั้ง 5 ระบบสามารถครอบคลุมประชากรราว 70% แต่ยังเหลืออีกราว 20-30% ที่ยังไม่มีระบบประกันสุขภาพใดๆ รองรับ จริงๆ

Read More

โอบอ้อมคลินิก บุกปั๊ม ปตท. เปิด O2O Hub

“หลังผ่านสถานการณ์โควิด สปสช. ขยายการรักษาโรคทั่วไป 42 อาการผ่านระบบ Telemedicine จึงเกิดไอเดียสร้าง Hub เพราะหลายครั้งก่อนเจอคุณหมอ ต้องตรวจร่างกาย ซึ่ง Telemedicine ตรวจร่างกายไม่ได้ ต้องเดินเข้าคลินิก มีพยาบาลตรวจร่างกายและเผอิญโออาร์ต้องการพาร์ตเนอร์ตรงนี้พอดี....” นีล นิลวิเชียร ประธานกรรมการบริหาร บริษัท คลิกนิก เฮลท์ จำกัด (Clicknic) กล่าวกับ “ผู้จัดการ 360 องศา” ถึงจุด “คลิก” ระหว่างสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ โออาร์ และคลิกนิก เฮลท์ จนเกิดโครงการ “โอบอ้อมคลินิก” ในสถานีบริการน้ำมัน PTT Station แห่งแรก โดยพุ่งเป้าให้บริการผู้ป่วยกลุ่มบัตรทอง แต่จุดแตกต่างจากคลินิกทั่วไป คือ รูปแบบ Omni-channel ผสมผสาน

Read More

วงษ์พาณิชย์กรุ๊ป 50 ปี ปลุกรีไซเคิลแบบบ้านๆ

“โลกนี้ไม่มีขยะ มันเป็นเพียงทรัพยากรที่วางไว้ผิดที่เท่านั้น” “รีไซเคิลคือการทำเหมืองแร่ในเมือง” และ “ขยะคือทองคำ” ดร.สมไทย วงษ์เจริญ ประธานบริหารกลุ่มวงษ์พาณิชย์ กรุ๊ป มักย้ำวรรคทองเหล่านี้กับทุกคนเสมอถึงแนวคิดและวิสัยทัศน์การบุกเบิกธุรกิจรีไซเคิลเมื่อหลายสิบปีก่อน ซึ่งทุกวันนี้กลายเป็นกระบวนการสำคัญของ Circular Economy Network จริงๆ แล้ว สมไทยผ่านมรสุมมากมาย ตั้งแต่ขายยา ขายหอมกระเทียม ขายหนังสือพิมพ์ ขายลอตเตอรี่ โอเลี้ยง แต่เป็นแค่การหาเช้ากินค่ำ จนวันหนึ่งเขามีโอกาสไปกราบพระพุทธชินราชที่วัดพระศรีมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดพิษณุโลก เจอยายคนหนึ่งนั่งหน้าอุโบสถ เก็บขวดพลาสติกไปขายได้เงิน เขาเกิดความคิดว่า ขยะแท้จริงไม่ใช่ขยะ แต่เป็นทรัพยากรที่ถูกวางผิดที่เท่านั้นแถมเป็นของดีมีราคา ถ้าถูกคัดแยกตั้งแต่ต้นทาง มองย้อนเส้นทางกองขยะหนึ่งกองใหญ่ๆ เกิดจากรถเทศบาลสีเหลืองขนมาทิ้งตั้งแต่เช้าสายบ่ายค่ำ รถเทศบาลเก็บมาจากถังเขียวสูงๆ ตามตรอกซอกซอย ตามถนนหนทาง และขยะในถังเขียวมาจากถังขยะเล็กๆ ในบ้านนั่นเอง หลังคิดอยู่นานจนตกผลึก ปลายปี 2516 เขาตัดสินใจลงเงิน 1 พันบาท ออกรถกระบะคันเก่าตระเวนรับซื้อของเก่าตามหมู่บ้านต่างๆ ในจังหวัดพิษณุโลก ตะโกนไปตามทางรับซื้อขวดใช้แล้ว ขวดน้ำปลา ขวดเบียร์ ขวดลิโพ ขวดกระทิงแดง ขวดแก้วแตกๆ เศษเหล็ก เศษนอต

Read More

Waste Buy Delivery ซื้อขยะถึงบ้าน สู้วิกฤตล้นกรุง

โจทย์ข้อใหญ่ของวิกฤตขยะล้นกรุงเทพฯ ปริมาณมากกว่าปีละ 3.17 ล้านตัน หรือเฉลี่ยวันละ 8,000-10,000 ตัน และมีแนวโน้มพุ่งสูงขึ้นไม่หยุด คือ การไม่คัดแยกขยะและถูกทิ้งรวมกัน ทั้งที่เนื้อในอาจมีราคาไม่ต่างจากทองคำ สามารถสะสมสร้างรายได้ซื้อบ้านซื้อรถเสียด้วยซ้ำ ดร.อิทธิกร ศรีจันบาล ประธานกรรมการบริหารบริษัท สถานีรีไซเคิล วงษ์พาณิชย์สุวรรณภูมิ จำกัด กล่าวว่า จริงๆ คนส่วนใหญ่ในยุคปัจจุบันมีความรู้เรื่องแยกขยะ แต่ไม่คัดแยกเพราะขาดแรงจูงใจ ไม่รู้ไปขายที่ไหน ไม่สะดวกขนไปขาย ไม่มีรถ ไม่รู้จะเอาไปอย่างไร ส่วนผู้รับซื้อมีจำนวนน้อยเพราะติดปัญหาไม่มีสถานที่จัดเก็บ ค่าเช่าที่ดินแพง แต่ขยะมีมากจนถูกทิ้งสะสมล้นเมือง ขณะเดียวกัน หลายคนเลือกทิ้งขยะรวมกันเพราะเข้าใจว่า รถเทศบาลจะคัดแยกขยะอีกรอบ ซึ่งจริงๆ ไม่ใช่ และกลายเป็นการสูญเสียทรัพยากร เพราะจากการสำรวจข้อมูลรถเทศบาลหลายแห่งที่เก็บขยะจากบ้านเรือนชุมชนต่างๆ เป็นของดีมีราคามากถึง 70% เช่น กล่องกระดาษ ซึ่งรถเทศบาลไม่คัดเก็บไว้และไม่มีพื้นที่รองรับ ทั้งที่หากคัดแยกกล่องกระดาษและขายรีไซเคิล ราคารับซื้อสูงถึงกิโลกรัม (กก.) ละ 8-10 บาท บางช่วงราคาขึ้นไปถึง 14 บาท แต่ถูกทิ้งอย่างน่าเสียดาย “ผมอยู่ในธุรกิจเก็บขยะมานานกว่า 25 ปี 

Read More

ขยะเปลี่ยนชีวิต อิทธิกร ศรีจันบาล

"เก็บขยะ 1 ชิ้น สะเทือนถึงดวงดาว ทำให้โลกสะอาดสดใส สิ่งแวดล้อมดีขึ้น อากาศดีขึ้น คนเก็บมีรายได้ คนขายต่อมีรายได้ ชีวิตเปลี่ยนได้ทันที..." ดร.อิทธิกร ศรีจันบาล ประธานกรรมการบริหาร บริษัท สถานี รีไชเคิล วงษ์พาณิชย์สุวรรณภูมิ จำกัด กล่าวกับ “ผู้จัดการ 360 องศา” ถึงธุรกิจรีไซเคิลขยะที่กลายเป็นจุดหักเหครั้งใหญ่ในวันที่แทบไม่เหลืออะไร แต่สามารถพลิกผันสร้างสถานประกอบการและกำลังขยายเครือข่ายธุรกิจอย่างใหญ่โต เดิมอิทธิกรอยู่บ้านที่จังหวัดยะลา ช่วยครอบครัวทำสวนยาง สวนทุเรียน สวนเงาะ สวนลองกอง แต่ดูเหมือนรายได้จากการทำสวนต้องขึ้นอยู่กับฤดูกาล น้ำท่า น้ำฝน ผลผลิตได้ราคาดี จึงจะได้เงินเป็นกอบเป็นกำ เขาตัดสินใจออกมาแสวงโชคลงทุนธุรกิจมากมาย ทำร้านซ่อมทีวี ติดตั้งจานดาวเทียม ระบบไฟฟ้า เปิดบริษัทรับเหมาก่อสร้างเร่ร่อนไปเรื่อย ใช้เวลาหลายปีแต่ยังไม่ประสบความสำเร็จ  เพราะอาชีพเหล่านั้นขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ขึ้นอยู่กับสภาพเศรษฐกิจ ขึ้นอยู่กับเสถียรภาพรัฐบาล ดินฟ้าอากาศ และผู้ว่าจ้าง วันหนึ่งมีโอกาสไปดูงานการจัดการขยะรีไซเคิลที่จังหวัดพิษณุโลก และได้พบ ดร.สมไทย วงษ์เจริญ ประธานกรรมการ บริษัท วงษ์พาณิชย์ กรุ๊ป กลายเป็นจุดเปลี่ยนในชีวิต

Read More

แมคคาเฟ่ Truck & Try เจาะคอฟฟี่เลิฟเวอร์กลุ่มใหม่

"แมคโดนัลด์" กำลังเร่งสปีดแมคคาเฟ่ (McCafé) เจาะแนวรบใหม่ หลังซุ่มขยายฐานสร้างการรับรู้มานานกว่าสิบปี โดยเฉพาะล่าสุดเปิดเกมรุก Pricing Strategy อัปไซส์แก้วใหญ่ขึ้น แต่ลดราคาถูกลง พร้อมงัดกลยุทธ์ Experiential Marketing ส่ง Truck & Try เดินสายแจกฟรีตามย่านมหาวิทยาลัยและออฟฟิศต่างๆ หวังจับ Coffee Lover กลุ่มใหม่อย่างนักศึกษาและ First Jobber เหตุผลสำคัญ คือตลาดกาแฟสดในประเทศไทยยังหอมหวน ทั้งในแง่ปริมาณ มูลค่า และอัตราเติบโต เฉพาะปี 2566 ประเมินคร่าวๆ มีมูลค่าเกือบ 65,000 ล้านบาท เนื่องจากแบรนด์ต่างๆ ทั้งไทยและต่างประเทศ รวมถึงธุรกิจขนาดย่อม (SMEs) ต่างเข้ามาทำโปรโมชันดึงดูดใจ กระตุ้นตลาดคึกคักขึ้นจากปีก่อนหลายเท่า ขณะเดียวกัน ศูนย์วิจัยกสิกรไทยระบุภาพรวมตลาดธุรกิจร้านอาหารในไทยมีมูลค่าประมาณ 410,000 ล้านบาท อัตราเติบโตสูงมาก 14% แบ่งเป็น 17 กลุ่มหลักๆ โดยกลุ่มร้านกาแฟ-เครื่องดื่ม มีมูลค่าเม็ดเงินสูงสุดถึง

Read More

Wish Upon A Star เปิดฉากซีรีส์เกาหลี

ละครโทรทัศน์ ซีรีส์เกาหลี เริ่มเข้ามาเจาะตลาดประเทศไทยเมื่อยี่สิบกว่าปีก่อน โดยสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก ช่อง 5 นำเรื่อง ลิขิตแห่งดวงดาว Wish Upon A Star หรือ Star in My Heart ออนแอร์เมื่อปี 2543 ลิขิตแห่งดวงดาว เป็นเรื่องราวของหญิงสาวที่เติบโตในสถานเลี้ยงเด็ก เธอได้รับการอุ้มชูจากเพื่อนรักของพ่อ แต่ภรรยาและลูกขี้อิจฉาวางแผนสืบสาวภูมิหลังของหญิงสาว เพื่อสร้างความอับอายและกำจัดเธอออกจากครอบครัว แม้หญิงสาวมุมานะจนได้เป็นนักออกแบบแฟชั่นอนาคตไกล ท่ามกลางความเกลียดชังนั้นหญิงสาวเจอ 2 ชายหนุ่มที่เข้ามาหลงรักและทำให้เธอต้องเรียนรู้คำว่า “รักแท้” หลายคนพูดถึงซีรีส์เรื่องนี้ถูกจริตคอละครไทย เพราะเป็นเรื่องราวความรักของซินเดอเรลล่ายุคใหม่ โลกแห่งแฟชั่นและดนตรี การทรยศหักหลังและการให้อภัยในแนวคลาสสิก ปี 2544 สถานีโทรทัศน์ไอทีวีนำเสนอเรื่อง รักนี้ชั่วนิรันดร์ (Autumn in My Heart) มีคนดูจนติดงอมแงม เกิดคำพูดฮิต “พี่ชาย” และสามารถเรียกน้ำตาท่วมจอ ตามมาด้วยเรื่อง เพลงรักในสายลมหนาว (Winter Love Song) ในปี 2546 ซึ่งสร้างกระแสโด่งดังมาก มีการเลียนแบบทั้งลักษณะท่าทาง

Read More

Korean Wave แรงส์ เน็ตฟลิกซ์อัดคอนเทนต์ ยอดพุ่ง 6 เท่า

แม้สงครามสตรีมมิ่งแข่งขันด้านราคารุนแรง แต่ “คอนเทนต์” คือตัวชี้ขาดสำคัญ ไม่ว่า Netflix, Disney+, Amazon, HBO Go, viu, iQIYI และ Apple TV+ ซึ่งซีรีส์และภาพยนตร์เกาหลีเป็นหนึ่งจุดขายที่สามารถขยายฐานสมาชิกในตลาดบ้านเราตามกระแส Korean Wave หรือ Hallyu ที่โด่งดังทั่วโลกแถมยาวนานและเหนียวแน่น เมื่อเร็วๆ นี้ บริษัท เน็ตฟลิกซ์ (Netflix) ผู้ให้บริการสตรีมมิ่งภาพยนตร์รายใหญ่ของสหรัฐอเมริการายงานกำไรในไตรมาส 2 ปี 2566 สูงกว่าคาดการณ์ หลังใช้มาตรการห้ามแชร์รหัสบัญชีบริการสตรีมมิ่งโดยกำไรต่อหุ้นในไตรมาส 2/2566 อยู่ที่ 3.29 ดอลลาร์ และรายได้อยู่ที่ 8.19 พันล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 3% จากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน สำหรับจำนวนสมาชิกที่จ่ายค่าบริการสตรีมมิ่งทั่วโลก เพิ่มขึ้น 5.9 ล้านราย หรือประมาณ 8% และคาดการณ์รายได้ในไตรมาส 3/2566 จะอยู่ที่ 8.5

Read More

ปิดฉาก “แฟมิลี่มาร์ท” ในไทย เซ็นทรัลลุย “ท็อปส์เดลี่”

ในที่สุด Family Mart ร้านสะดวกซื้อสัญชาติญี่ปุ่น ประกาศอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 10 สิงหาคมที่ผ่านมา จะถอนแบรนด์ออกจากสมรภูมิร้านสะดวกซื้อเมืองไทย หลังตะลุยสู้ศึกช่วงชิงส่วนแบ่งกับเซเว่นอีเลฟเว่นมานานมากกว่า 30 ปี และสัญญาแฟรนไชส์กับบริษัท เซ็นทรัล รีเทล คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ CRC สิ้นสุดไปแล้วเมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ส่วนร้านสาขาเดิมทั้งหมดจะทยอยพลิกโฉมเปลี่ยนชื่อเป็น Tops Daily ของกลุ่มเซ็นทรัล ฟู้ด รีเทล พร้อมๆ กับการปรับยุทธศาสตร์ใหม่ ปลุกปั้นมินิซูเปอร์มาร์เกตที่มีความเหนือชั้นมากกว่าเจ้าตลาดคอนวีเนียนสโตร์ สำหรับแฟมิลี่มาร์ทเป็นกิจการร้านค้าประเทศญี่ปุ่น ในเครือเซซันกรุ๊ป เจ้าของกิจการห้างสรรพสินค้าเซบุและร้านซูเปอร์สโตร์เซยู เปิดสาขาแรกเมื่อปี 2518 และบุกเข้าสู่ตลาดประเทศไทย โดยบริษัท สยามแฟมิลี่มาร์ท โฮลดิ้ง จำกัด บริษัท แฟมิลี่มาร์ท ประเทศญี่ปุ่น ในเครือเซซัน กรุ๊ป บริษัท อิโตชู ประเทศญี่ปุ่น และบริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน) จับมือเซ็นสัญญาซื้อสิทธิ์ประกอบกิจการค้าปลีก

Read More