Home > โควิด-19

นักวิจัยไทยโชว์เก๋า พัฒนาสเปรย์พ่นจมูกแอนติบอดีหยุดเชื้อโควิด-19

ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2565 เป็นต้นไป กระทรวงสาธารณสุขประกาศให้ยกเลิกโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 จากโรคติดต่ออันตราย และกำหนดให้เป็นโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง เนื่องจากสถานการณ์การระบาดทั่วโลกมีแนวโน้มจำนวนผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงและอัตราการเสียชีวิตลดลง การแพร่ระบาดและความรุนแรงของโรคในต่างประเทศมีแนวโน้มลดลง ประกอบกับจำนวนวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ในประเทศมีเพียงพอกับความต้องการ ขณะที่ประชาชนได้รับวัคซีนในระดับความครอบคลุมสูง มีภูมิคุ้มกันโรคเพิ่มขึ้น ในห้วงเวลาที่โลกตกอยู่ภายใต้สถานการณ์การระบาดของโรคอุบัติใหม่ เหล่านักวิจัย นักวิทยาศาสตร์ ต่างระดมสรรพกำลัง ระดมสมองคิดค้นวิจัย พัฒนาวัคซีน ยา เพื่อมาช่วยป้องกันมนุษย์ให้รอดพ้นจากเชื้อไวรัสโควิด-19 นักวิจัยไทยไม่ได้นิ่งนอนใจ ซุ่มพัฒนานวัตกรรมที่จะมาสู้กับเชื้อไวรัสโควิดเช่นเดียวกัน ล่าสุดเมื่อวันที่ 26 กันยายน ที่ผ่านมา 5 ภาคีรัฐ-เอกชน แถลงข่าวเพื่อประกาศความสำเร็จให้ทั่วโลกได้รับรู้ โดย 5 ภาคีเครือข่ายประกอบด้วย คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) องค์การเภสัชกรรม และบริษัท ไฮไบโอไซ จำกัด (บริษัทย่อยของ บมจ. โรจูคิส อินเตอร์เนชั่นแนล) ร่วมมือพัฒนานวัตกรรมจนสามารถผลักดันงานวิจัยและพัฒนาจนเป็นผลิตภัณฑ์ “สเปรย์พ่นจมูกที่เป็นเกราะป้องกันทางกายภาพที่ช่วยดักจับและยับยั้งอย่างจำเพาะต่อเชื้อโควิด-19 ที่บริเวณโพรงจมูก ภายใต้แบรนด์

Read More

เปิดมุมมองใหม่กับนวัตกรรมการรักษาโควิด-19

สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่อยู่กับเรามากว่า 2 ปี และกลายพันธุ์อย่างรวดเร็วจนตามแทบไม่ทัน ทำให้หลายๆ ฝ่ายทั้งบุคลากรทางการแพทย์ ประชาชน และองค์กรต่างๆ ต้องเร่งปรับตัวเพื่อรับมือกับสิ่งที่เกิดขึ้น ทั้งแนวทางการรักษาและมุมมองโควิด-19 ต่อการปรับตัวสู่ชีวิตวิถีใหม่ ที่ผ่านมามีการจัดประชุมและเสวนาในเวทีต่างๆ ในประเด็นที่เกี่ยวเนื่องกับการแพร่ระบาดของโควิด-19 มาอย่างต่อเนื่อง รวมถึงงานเสวนาล่าสุดที่จัดขึ้นเมื่อต้นเดือนมีนาคมที่ผ่านมาในหัวข้อ “เปิดมุมมองใหม่กับนวัตกรรมการรักษาโควิด-19” เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและข้อมูลเชิงลึกตลอดจนภาพรวมของการรับมือกับโควิด-19 ศาสตราจารย์ แพทย์หญิงศศิโสภิณ เกียรติบูรณกุล หัวหน้าสาขาวิชาโรคติดเชื้อ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล แพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ในการทำการศึกษาวิจัยทางคลินิกและการดูแลรักษาผู้ป่วยโควิด-19 เป็นเวลากว่า 2 ปี เปิดเผยว่า สิ่งที่ท้าทายที่สุดสำหรับบุคลากรทางการแพทย์ คือการต้องทำให้ทุกอย่างเป็นไปได้แม้เป็นเรื่องที่ไม่เคยทำได้มาก่อน รวมทั้งต้องหาข้อมูลใหม่ๆ เพื่อรับมือกับสถานการณ์ให้ได้อย่างทันท่วงที “วัคซีน” และ “ยา” เพื่อป้องกันและรักษาคืออาวุธที่สำคัญ ศ.พญ.ศศิโสภิณ เน้นย้ำว่า ประเด็นสำคัญที่ต้องจับตามองคือ “การกลายพันธุ์ของเชื้อไวรัส” เพราะภายในระยะเวลา 2 ปี โลกต้องต้องเผชิญหน้ากับไวรัสที่กลายพันธุ์ไปถึง 5 สายพันธุ์ ทั้งอัลฟา เบตา แกมมา เดลตา จนมาถึงโอมิครอน เพราะฉะนั้นการมีวัคซีนเพื่อเป็นอาวุธในการต่อสู้กับการกลายพันธุ์ของไวรัสจึงเป็นสิ่งที่สำคัญเป็นอย่างมาก

Read More

ไอเคคร๊าฟพลิกวิกฤตสู่โอกาส สร้างนวัตกรรมเส้นใยฆ่าเชื้อไวรัส

หน้ากากอนามัย หน้ากากผ้า กลายเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการดำรงชีวิตของมนุษย์ในช่วงเวลาที่มีการระบาดของโรคโควิด-19 เพราะสามารถช่วยป้องกันการติดเชื้อ และการแพร่เชื้อในระยะต้นได้เป็นอย่างดี แม้ว่าเปอร์เซ็นต์การปกป้องจะไม่เต็มร้อยเปอร์เซ็นต์ก็ตาม โดยเฉพาะหน้ากากผ้า ที่ทางการแพทย์มักจะแนะนำว่า ผู้ใช้หน้ากากผ้าเพียงอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอต่อการป้องกันการติดเชื้อ จึงจำเป็นที่จะต้องใช้ควบคู่ไปกับหน้ากากอนามัยด้วย วิกฤตของโรคโควิด-19 ก่อให้เกิดการสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ที่เป็นโอกาสครั้งสำคัญให้แก่บริษัท ไอเคคร๊าฟท์ จำกัด ในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านการผลิตสิ่งทอคุณภาพสูง ดร.กฤษณา สุขบุญญสถิตย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไอเคคร๊าฟท์ จำกัด กล่าวว่า “เราประสบความสำเร็จและมีประสบการณ์มาอย่างยาวนานกว่า 30 ปี ในธุรกิจพรมทอมือและผลิตภัณฑ์สิ่งทอของบริษัทแม่ อย่างบริษัท คาร์เปท เมกเกอร์ (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทในกลุ่มบริษัท อินเตอร์ไกร ที่มุ่งเน้นในเรื่องการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์คุณภาพชีวิต และตอบสนองความต้องการของลูกค้าให้ดีขึ้นด้วยนวัตกรรมที่ทันสมัย และมีทีมวิจัยของตัวเอง ทำให้เกิดความชำนาญในตลาดผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ มุ่งมั่นพัฒนานวัตกรรมสิ่งทอ เพื่อสร้างสรรค์สุขภาพ ความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นให้กับชีวิต และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน คือวิสัยทัศน์ของเรา” และในช่วงโควิด บริษัทแม่อย่าง คาร์เปท เมกเกอร์ ได้รับผลกระทบไม่ต่างจากผู้ประกอบการธุรกิจรายอื่นๆ ช่วงเวลานั้นผู้ประกอบการที่อยู่ในธุรกิจผ้าส่วนใหญ่จะหันมาตัดเย็บหน้ากากผ้า ทั้งเพื่อแจกจ่ายให้แก่บุคลากรภายในองค์กร ลูกค้า หรือประชาชนทั่วไป เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการครองชีพที่มาจากการซื้อหน้ากากอนามัยเป็นประจำ ทว่า

Read More

“น้อนบู้บี้ช่วยพี่หมอ” ส่งต่อ PPE 2,000 ชุด ให้บุคลากรด่านหน้าสู้ภัยโควิด-19

ซันโทรี่ เป๊ปซี่โค ประเทศไทย ชูความสำเร็จของโครงการ “น้อนบู้บี้ช่วยพี่หมอ” ส่งต่อ PPE 2,000 ชุด ให้บุคลากรด่านหน้าสู้ภัยโควิด-19 บริษัท ซันโทรี่ เป๊ปซี่โค เบเวอเรจ (ประเทศไทย) จำกัด ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายเครื่องดื่มภายใต้แบรนด์สินค้าของซันโทรี่และเป๊ปซี่โคในประเทศไทย เดินหน้าอย่างต่อเนื่องสนับสนุนการทำงานของบุคลากรทางการแพทย์ ที่ต้องเผชิญกับวิกฤตโควิด-19 ผ่านโครงการ “น้อนบู้บี้ช่วยพี่หมอ ภารกิจแยกขวดช่วยหมอ แปลงร่าง ขวด PET เป็นชุด PPE Level 2” โดยจับมือพันธมิตรเครือข่ายสังคมลดขยะ “Less Plastic Thailand” สามารถเก็บรวบรวมขวด PET ใช้แล้ว ได้ทั้งสิ้นกว่า 38,000 ขวด แปลงเป็นชุด PPE (Personal Protection Equipment) Level 2[1] จำนวน 2,000 ชุด ส่งต่อให้กับทีมแพทย์ พยาบาล

Read More

ท่องเที่ยว-โรงแรม สะดุด ดิ้นปลดล็อกขยายแซนด์บ็อกซ์

4 มกราคมนี้ธุรกิจท่องเที่ยวและโรงแรมต้องลุ้นอีกครั้งว่า รัฐบาลจะตัดสินใจปลดล็อกมาตรการคุมเข้มการระบาดของสายพันธุ์โอมิครอนตามมติของศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) ที่ให้ระงับการลงทะเบียนผู้เดินทางเข้าราชอาณาจักรประเภท Test & Go และแซนด์บ็อกซ์ (Sandbox) เป็นการชั่วคราว หรือไม่ ทั้งหมดขึ้นอยู่กับยอดผู้ติดเชื้อโควิดสายพันธุ์ใหม่ “โอมิครอน” จะพุ่งพรวดตามที่หลายฝ่ายหวั่นวิตกหรือไม่ เนื่องจากจังหวะเวลาไม่ต่างจากช่วงวันหยุดเทศกาลสงกรานต์ปี 2564 หากไม่มีการคุมเข้มตามมาตรการ Covid Free Setting กรณีเปิดสถานประกอบการในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวดมาตรการปลอดภัยสำหรับองค์กร รวมถึงมาตรการ Universal Prevention หรือการป้องกันการติดเชื้อแบบครอบจักรวาลขั้นสูงสุดตลอดเวลาของทุกคน การวมตัวกันเฉลิมฉลองเทศกาลปีใหม่อาจหมายถึงโอกาสเกิดสถานการณ์ซ้ำรอยการระบาดหนักในช่วงปีที่ผ่านมา ทั้งนี้ กระทรวงสาธารณสุขระบุว่า สถานการณ์โควิด-19 มาถึงทางแยกอีกครั้ง เพราะมีโอมิครอนเข้ามา ซึ่งมีการคาดการณ์ฉากทัศน์ 3 แบบ แบบที่ 1 รุนแรงที่สุด อัตราการแพร่เชื้อเพิ่มขึ้นจากการระบาดโอมิครอนในประเทศ มีการฉีดวัคซีนได้ใกล้เคียงกับช่วงเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม แต่ประชาชนให้ความร่วมมือน้อย หรือไม่ให้ความร่วมมือ ไม่มีการป้องกัน ไม่มีมาตรการมาก จะเกิดการระบาดและควบคุมยาก ต้องใช้เวลา 3-4 เดือนควบคุมโรคได้ จะมีผู้ติดเชื้อเฉลี่ย 30,000 รายต่อวัน เสียชีวิต 170-180 คนต่อวัน แบบที่

Read More

สสส. ปรับทัพสู้โควิด พร้อมใช้เทคโนโลยีดิจิทัลช่วยสื่อสาร ล่าสุดหนุนจัดงานไทยแลนด์ อินเตอร์เนชั่นแนล เฮลท์ เอ็กซ์โป 2022

สสส. ปรับทัพสู้โควิด-19 เน้นงานเชิงรุกมุ่งเสริมพลังแก่องค์กรและชุมชน พร้อมใช้เทคโนโลยีดิจิทัลช่วยสื่อสาร-ให้ความรู้ ล่าสุดหนุนจัดงานไทยแลนด์ อินเตอร์เนชั่นแนล เฮลท์ เอ็กซ์โป 2022 สร้างการเรียนรู้ ความเข้าใจในการสร้างเสริมสุขภาพผ่าน สุขภาวะทุกมิติ ดร.สุปรีดา อดุลยานนท์ ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวถึงแนวทางการดำเนินงานในช่วงวิกฤตโควิด-19 ว่า สสส. ได้มีการปรับแนวทางทำงานโดยมุ่งเสริมพลังให้แก่ทั้งองค์กรและชุมชน โดยร่วมกับภาคีเครือข่ายในการดำเนินงาน 3 ด้านสำคัญ คือ การทำงานร่วมกับหน่วยงานในระบบสุขภาพ ผลักดันนโยบายและมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดสู่การปฏิบัติจริง การทำงานร่วมกับชุมชน โดยให้มีส่วนร่วมเฝ้าระวัง ดูแล และฟื้นฟูสุขภาพของคนในชุมชนจัดตั้ง Home Isolation และการพัฒนาระบบการสื่อสารสุขภาพ ให้มีรูปแบบที่เข้าถึงง่าย เหมาะกับทุกกลุ่มเป้าหมาย พร้อมทั้งพัฒนาสื่อรณรงค์ภายใต้โครงการ “ชีวิตวิถีใหม่ ชีวิตดีเริ่มที่เรา” เช่น หนังสือคู่มือชีวิตวิถีใหม่ ชีวิตดีเริ่มที่เรา โปสเตอร์ตลาด วัด บ้าน พร้อมร่วมพัฒนากลไกและองค์ความรู้ เพิ่มความรอบรู้ด้านสุขภาพ ผ่านช่องทางเฟซบุ๊กแฟนเพจ “ไทยรู้สู้โควิด” และแอปพลิเคชัน “หมอพร้อม” ซึ่งในยุคที่เทคโนโลยีหรือนวัตกรรมใหม่ๆ เข้ามามีบทบาทมากขึ้นจนส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตและสังคมมากขึ้น

Read More

เมื่อโควิดทำให้เราโหยหาการเดินทาง

“อยากไปนั่งชิลล์ริมทะเล” “อยากไปเดินป่า” “คิดถึงภูเขา” “เปิดประเทศเมื่อไหร่จะไปญี่ปุ่น” (และนานาประเทศ) รวมถึงการโพสต์ภาพท่องเที่ยวแล้วตบท้ายด้วยคำว่า “เที่ยวทิพย์” และอีกหลากหลายประโยคบนโซเชียลมีเดียที่บ่งบอกถึงการโหยหาการท่องเที่ยว ในยุคที่โควิด-19 ทำให้การเดินทางท่องเที่ยวไม่สามารถทำได้ดั่งใจหวัง เป็นเวลากว่า 2 ปี ที่เราต้องเผชิญกับการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่เป็นภัยพิบัติของทั้งโลก การเดินทางไปมาหาสู่ระหว่างกันถูกระงับเพื่อป้องกันการแพร่ระบาด ไม่ต้องพูดถึงการเดินทางท่องเที่ยว แม้แต่การเดินทางกลับไปเยี่ยมบ้านที่ต่างจังหวัดยังเป็นไปได้ยาก หลายคนต้องกักตัวอยู่ในบ้าน ลดการเดินทาง กิจกรรมที่เคยทำไม่สามารถทำได้ บางคน work from home มาหลายระลอกตั้งแต่การระบาดรอบแรกเมื่อปีที่แล้ว ไม่ได้ออกไปไหนไกล ไม่ได้ไปเที่ยว ต้องอยู่แต่ในบ้าน และยิ่งแล้วใหญ่เมื่อผนวกกับไลฟ์สไตล์คนยุคใหม่ที่นิยมอยู่คอนโดมิเนียม กลายเป็นโดนจำกัดให้อยู่ในห้องสี่เหลี่ยมไปเสียอย่างนั้น ทำให้หลายคนเกิดความรู้สึกเครียด กังวล เบื่อหน่าย และไร้พลัง จนโหยหาการเดินทางท่องเที่ยวเพื่อมาเยียวยาหัวใจและคลายความเครียด การท่องเที่ยวเป็นกิจกรรมที่สร้างความเพลิดเพลิน ผ่อนคลาย เพิ่มความสุข และช่วยให้เราสามารถหลีกหนีจากความเครียดในชีวิตได้ แต่ไม่เพียงเท่านั้น ในทางจิตวิทยาการท่องเที่ยวยังช่วยเสริมประสิทธิภาพการทำงานของสมอง ช่วยพัฒนากระบวนการคิด ส่งผลดีต่อทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ การท่องเที่ยวส่งผลดีต่อหัวใจ การท่องเที่ยวไม่ว่าจะเป็นเที่ยวชมเมืองหรือชมวิวธรรมชาติ ทำให้เราได้เดิน ได้ทำกิจกรรมอื่นๆ ที่ต้องออกแรง เป็นการได้ออกกำลังกายไปในตัว ซึ่งส่งผลดีต่อสุขภาพของหัวใจและสุขภาพโดยรวม เพิ่มสารแห่งความสุขและเติมเต็มรอยยิ้มให้กับชีวิต เพราะการท่องเที่ยวคือความสนุก ยามที่เราได้ออกไปเที่ยว เพลิดเพลินกับการทำกิจกรรมใหม่ๆ พบเจอวิวทิวทัศน์ที่สวยงาม แม้กระทั่งได้กินอาหารอร่อยๆ ร่างกายจะหลั่งสารเอ็นโดรฟิน หรือสารแห่งความสุขออกมา ทำให้เราผ่อนคลายสบายใจ และแน่นอนว่ารอยยิ้มย่อมเกิดขึ้นได้อย่างแน่นอน และยิ่งยิ้มมากเท่าไรชีวิตก็สดใสมากขึ้นเท่านั้น ช่วยเพิ่มประสิทธิผลการทำงาน ความเหนื่อยล้าจากการทำงานเป็นสิ่งที่ประสบพบเจอได้เป็นประจำ

Read More

“กองทุนมิตรผล-บ้านปูฯ” เพิ่มงบช่วยไทยอีก 500 ล้านบาท รวมเป็น 1 พันล้านบาท

“กองทุนมิตรผล-บ้านปูฯ” เพิ่มงบช่วยไทยอีก 500 ล้านบาท รวมเป็น 1 พันล้านบาท แจง 7 หมวดหมู่ความช่วยเหลือ เคียงข้างคนไทยก้าวผ่านวิกฤติ ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในประเทศไทย ที่ยังคงส่งผลกระทบเป็นวงกว้างกับทุกภาคส่วน ไม่ว่ากับผู้ประกอบการ สังคม ชุมชน และประชาชนทั่วไป ‘กองทุนมิตรผล-บ้านปู รวมใจช่วยไทย สู้ภัย COVID-19’ เล็งเห็นถึงความเดือดร้อนที่เกิดขึ้น จึงมุ่งเดินหน้าสานต่อภารกิจเคียงข้างคนไทย ฝ่าวิกฤติโควิด-19 โดยเพิ่มงบประมาณอีก 500 ล้านบาท รวมทั้งสิ้นเป็น 1,000 ล้านบาท พร้อมกลยุทธ์ 7 หมวดหมู่ของการส่งมอบความช่วยเหลือ โดยส่วนหลักจะมุ่งเน้นไปที่การช่วยเหลือภาคประชาชนที่ได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจ ทั้งในเรื่องชีวิตความเป็นอยู่และสุขภาวะ อีกส่วนหนึ่งจัดสรรไว้สำหรับการช่วยเหลือด้านสาธารณสุขในการสนับสนุนอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่จำเป็นเพื่อป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 จนกว่าสถานการณ์ในประเทศจะกลับสู่ภาวะปกติอีกครั้ง ในงานแถลงข่าวออนไลน์ “มิตรผล-บ้านปู เคียงข้างคนไทย เติมพลังใจก้าวผ่านวิกฤติ” กลุ่มมิตรผลและบริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) ยืนยันเจตนารมณ์ของ “กองทุนมิตรผล-บ้านปู รวมใจช่วยไทย สู้ภัย COVID-19” ที่จะสานต่อภารกิจเคียงข้างคนไทย

Read More

41 CEO จับมือร่วมแคมเปญประวัติศาสตร์ “รวมพลังลดใหญ่ พาไทยฝ่าวิกฤต” ส่งสินค้ากว่า 400 รายการ ลดราคาสูงสุดกว่า 60% ลดค่าครองชีพจากผลกระทบโควิด-19

โลตัส จับมือพันธมิตรคู่ค้า 40 บริษัทผู้ผลิตสินค้าแบรนด์ดังและธุรกิจชั้นนำในประเทศ ส่งแคมเปญประวัติศาสตร์ “รวมพลังลดใหญ่ พาไทยฝ่าวิกฤต” ช่วยบรรเทาผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 ลดราคาสินค้าครั้งใหญ่ที่สุดแห่งปี 2021 ตอกย้ำความร่วมมือและความมุ่งมั่นของทุกแบรนด์ในการช่วยลดภาระค่าครองชีพประชาชน อีกทั้งร่วมกันมอบเงินบริจาคสนับสนุนบุคลากรด่านหน้าและผู้ป่วยโควิด-19 นายสมพงษ์ รุ่งนิรัติศัย ประธานคณะผู้บริหาร ธุรกิจโลตัส ประเทศไทย กล่าวว่า “ผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในประเทศไทยส่งผลให้ลูกค้าและประชาชนต้องรัดเข็มขัดเนื่องจากครอบครัวมีรายได้ลดลง ที่ผ่านมาโลตัสก็ได้ช่วยเหลือลูกค้าในการประหยัดค่าครองชีพโดยมีการทำโปรโมชั่นและลดราคาสินค้าที่จำเป็นต่อการดำรงชีพมาโดยตลอด วันนี้เรามีความยินดีที่ได้ผนึกกำลังกับคู่ค้าของเราจาก 40 บริษัทชั้นนำของประเทศไทย ทั้งผู้ผลิตสินค้าแบรนด์ดัง ร้านอาหารและร้านค้าในพื้นที่ศูนย์การค้า ในแคมเปญที่ยิ่งใหญ่ที่สุดแห่งปี “รวมพลังลดใหญ่ พาไทยฝ่าวิกฤต” ลดราคาสินค้าอุปโภคบริโภคครอบคลุมทุกหมวดหมู่ ทั้งอาหารสด อาหารแห้ง เครื่องใช้ไฟฟ้า ของใช้ในบ้าน เสื้อผ้า กว่า 400 รายการ เพื่อช่วยคนไทยประหยัดค่าครองชีพ ความร่วมมือในครั้งนี้แสดงออกถึงความมุ่งมั่นและตั้งใจของทั้ง 41 บริษัท ในการร่วมแรงร่วมใจกันเพื่อช่วยพี่น้องประชาชนให้ผ่านวิกฤตครั้งนี้ไปได้ด้วยกัน นอกจากโปรโมชั่นและการลดราคาสินค้าแล้ว แคมเปญ “รวมพลังลดใหญ่ พาไทยฝ่าวิกฤต” ยังรวมพลังโลตัสและพันธมิตรมอบเงินบริจาคให้กับมูลนิธิที่สนับสนุนบุคลากรด่านหน้าและผู้ป่วยโควิด-19 อีกด้วย” CEO ของทั้ง 41

Read More

นายกรัฐมนตรี ตรวจเยี่ยมโรงพยาบาลสนาม โครงการลมหายใจเดียวกัน 120 เตียง ใหญ่ที่สุดในประเทศ

มุ่งเพิ่มขีดความสามารถรองรับผู้ป่วยโควิด-19 ตั้งแต่ระยะเริ่มต้นถึงขั้นวิกฤต และผู้ป่วยเสี่ยงสูงที่ต้องฟอกไต จากการผนึกกำลังของกลุ่ม ปตท. ภาครัฐ และพันธมิตรทางการแพทย์ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมโรงพยาบาลสนาม ICU สำหรับผู้ป่วยโควิด-19 ระดับสีแดง ในโครงการลมหายใจเดียวกัน กลุ่ม ปตท. บนพื้นที่ 4 ไร่ ด้านหน้าโรงพยาบาลปิยะเวท เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ พร้อมด้วย นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย โดยมี ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.ทศพร ศิริสัมพันธ์ ประธานกรรมการ ปตท. นายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) พญ.เจรียง จันทรกมล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารโรงพยาบาลในเครือบางปะกอก-ปิยะเวท

Read More